[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 เมษายน 2567 12:08:57



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 เมษายน 2567 12:08:57
UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 17:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานพิเศษจาก 'เบนาร์นิวส์' ระบุสหประชาชาติ (UN) พบผู้ลี้ภัยบางส่วนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด</p>
<p>เบนาร์นิวส์ (https://www.benarnews.org/thai/news/th-un-refugees-03262024013337.html) รายงานว่าจากรายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่เมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 2567 พบว่าถึงแม้ผู้ลี้ภัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ใน 4 ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จะอ้างว่าพวกเขาต้องทุกข์ทรมานจากการถูกเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างที่หลบหนีออกจากประเทศบ้านเกิด กว่าครึ่งยังยืนยันว่า พวกเขาพร้อมที่จะหลบหนีอีกครั้ง</p>
<p>สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) จัดทำแบบสำรวจผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเกือบ 4,800 คน ในทั้งสามประเทศดังกล่าวที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายผิดกฎหมายเพื่อลักลอบเข้าสู่เขตแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานภูมิภาคของ UNODC ในกรุงเทพมหานครกล่าวในรายงาน</p>
<p>รายงาน “การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ระบุว่า พวกเขาถูก “ทหาร ตำรวจ ผู้ลักลอบค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รักษาชายแดน หรือกลุ่มอาชญากร” ข่มเหง ซึ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้มาจากประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ปากีสถาน โซมาเลีย และเวียดนาม รวมถึงชาวโรฮิงญา</p>
<p>“การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานมิใช่การลงมือโดยตั้งใจหรือเป็นทางเลือกที่เสรี แต่เป็นการลงมือด้วยความสิ้นหวังเพื่อเสาะหาความมั่นคง ปลอดภัย หรือโอกาส หรือแม้กระทั่งอิสรภาพจากการลงมือข่มขู่ทำร้าย กดขี่ หรือคดโกงผู้อื่น” นายมาซุด คาริมิ ผู้แทนจากสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าว</p>
<p>“ข้อมูลระบุว่าผู้ลักลอบขนย้ายผู้อพยพเหล่านี้อาจจะเป็นปัจเจกผู้ดำเนินการเพียงลำพัง มีเครือข่ายเชื่อมต่อกับอาชญากรหรือกลุ่มองค์กรอาชญากรรมแบบไม่แน่นแฟ้น ดังนั้นการนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปกป้องผู้ที่กำลังแสวงหาชีวิตที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เขาเอ่ยในแถลงการณ์ที่แนบมากับรายงานที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงทางร่างกาย ขอสินบนหรือขู่กรรโชก ทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต และล่วงละเมิดทางเพศระหว่างที่กำลังเดินทางโยกย้ายถิ่นฐาน </p>
<p>“ความรุนแรงที่ไม่ใช่เชิงกายภาพ (เช่น การคุกคาม) พบบ่อยในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย (18% ของผู้อพยพเพศชายที่มีส่วนร่วมในแบบสำรวจ) มากกว่าผู้หญิง (13%) ส่วนผู้หญิง 11 % และผู้ชาย 6% ให้ข้อมูลว่าเคยมีประสบการณ์โดนล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่ผู้ชาย 9% และผู้หญิง 6% มีประสบการณ์ในการเห็นเหยื่อเสียชีวิต” รายงานระบุ</p>
<p>ส่วนสาเหตุของความต้องการในการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐาน ราวหนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรืออุณหภูมิที่แปรปรวนสูงของโลก กระตุ้นให้พวกเขาออกค้นหาผู้ที่สามารถลักลอบพาตัวเองเข้าไปในเขตแดนใหม่</p>
<p>รายงานระบุอีกว่า ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศมีส่วนเชื่อมโยงกับชาวบังกลาเทศที่ต้องการลักลอบหนีออกนอกประเทศอย่างชัดเจน สามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวบังกลาเทศอ้างว่า ประเด็นเรื่องสภาพภูมิอากาศแปรปรวนหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้พวกเขาตัดสินใจหลบหนีออกนอกประเทศ ในขณะที่กลุ่มผู้อพยพจำนวนใกล้เคียงกันก็กล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ มอบสิ่งของตอบแทน หรือรับใช้พวกเขาตามคำสั่งระหว่างการเดินทาง</p>
<p>รายงานยังระบุอีกว่า ผู้อพยพเหล่านี้เชื่อว่า พวกเขาต้องใช้ผู้ช่วยลักลอบเข้าเขตแดนอื่นเพื่อเป็นกันชนจัดการกับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต” และถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องพบเจอกับการล่วงละเมิดที่รุนแรง จำนวนผู้ลี้ภัยกว่าครึ่ง (48%) ยืนยันว่า ตนเองก็ตัดสินใจที่จะใช้บริการการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐานอยู่ดี ในขณะที่ผู้ลี้ภัย 40% ปฏิเสธที่จะใช้บริการ และอีก 12% ไม่สามารถตัดสินใจได้</p>
<p>สองในสามของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า พวกเขา ครอบครัว หรือเพื่อนเป็นฝ่ายเริ่มติดต่อกับผู้ลักลอบขนผู้ลี้ภัยเข้าเมืองผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทางโทรศัพท์ หรือไปติดต่อพบเจอด้วยตนเอง พวกเขาจ่ายค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 2,380 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 119,291.96 บาท) และเกือบ 90% ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากล่าวกับผู้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาใช้บริการลักลอบย้ายถิ่นฐานเพื่อเดินเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ไทย หรืออินโดนีเซีย</p>
<p>สืบเนื่องจากรายงานฉบับนี้ของ UNODC เบนาร์นิวส์ติดต่อสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาจำนวน 3 ราย ที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจากประเทศเมียนมา</p>
<p>ช็อบเบียร์ ฮุสเซน หนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอายุ 18 ปี เป็นอีกหนึ่งผู้ลี้ภัยจากบรรดาชาวโรฮิงญา 2,000 คนที่พักพิงอยู่ในภูมิภาคอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 เขาเดินทางจากค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ล่องเรือหลายสัปดาห์กว่าจะมาถึงอาเจะห์เบซาร์รีเจนซี่ในวันที่ 10 ธันวาคมพร้อมกับชาวโรฮิงญาราว 130 ราย</p>
<p>ช็อบเบียร์ระบุว่า ครอบครัวส่งเขาออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า</p>
<p>“การใช้ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ บังกลาเทศไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้วเพราะมีการก่อความรุนแรง ลักพาตัวและขู่กรรโชกบ่อยครั้ง แต่กลับกลายเป็นว่าการเดินทางออกมาจากที่นั่นก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ผมคาดหวังอีกเช่นเดียวกัน” เขากล่าว</p>
<p>4 เดือนหลังจากที่เขาเดินทางมาถึงอาเจะฮ์ ช็อบเบียร์เผยว่าชีวิตของเขาไม่แตกต่างไปจากตอนใช้ชีวิตอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศเสียเท่าไหร่ เพราะเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินข้าวและนอนหลับ</p>
<p>“ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทำเลยแม้ว่าผมจะอยากออกไปเรียนหนังสือหรือทำงานก็ตาม”</p>
<p>ช็อบเบียร์กล่าวว่า พ่อของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบค้ามนุษย์เพื่อพาเขาเดินทางขึ้นเรือไม้ล่องไปตามทะเลอันดามันเป็นเวลา 45 วัน เพื่อเดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่พวกเขาให้คำมั่นสัญญาถึงชีวิตที่ดีกว่าในอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย ช็อบเบียร์ไม่ทราบว่าพ่อเขาต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ในการลักลอบย้ายถิ่นฐานครั้งนี้</p>
<p>พ่อ แม่ และพี่น้องอีก 7 คนของเขาใช้ชีวิตอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแสนแออัดยัดเยียดที่ค็อกซ์บาซาร์หลังจากที่ถูกบังคับให้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ ภายหลังการโจมตีอันโหดร้ายของกองทัพเมียนมาในปี 2560</p>
<p>“บ้านของเราถูกเผาและทหารยิงหนึ่งในน้องชายคนเล็กของผมตาย เราถึงได้ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่บังกลาเทศ” เขากล่าว</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์ โมด โฮเซน ผู้ลี้ภัยอีกรายในมาเลเซียกล่าวว่า ครอบครัวของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบเพื่อหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยอันแออัดเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่น เดิมทีเขาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลองในบังกลาเทศหลังจากที่ครอบครัวหลบหนีการถูกดำเนินคดีในเมียนมา โดยครอบครัวของเขาและชาวโรฮิงญาอีกราวหนึ่งล้านคนต้องอยู่ร่วมกันในค่ายผู้ลี้ภัยและตั้งถิ่นฐานอยู่ด้านในและรอบๆ ค็อกซ์บาซาร์</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์เผยว่า เขามองไม่เห็นอนาคตตัวเองจากการอยู่ในค่าย</p>
<p>“มีกลุ่มผู้ร้ายมากมายที่จับคนมาเรียกค่าไถ่ และถ้าครอบครัวของเหยื่อไม่ยอมจ่าย พวกเขาก็ขู่จะฆ่าเหยื่อคนนั้น” ชาฮีดุลลาห์ในวัย 29 ปีบอกกับเบนาร์นิวส์ และยังเสริมอีกว่า กลุ่มผู้ร้ายลงมือวางเพลิงที่อยู่อาศัยของคนในค่ายผู้ลี้ภัยที่เบียดเสียดยามค่ำคืน ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน</p>
<p>ชาฮิดุลเลาะห์กล่าวว่า เขาติดต่อองค์กรเพื่อจัดเตรียมการเดินทางไปยังมาเลเซีย ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน องค์กรดังกล่าวก็เรียกค่าใช้จ่ายจากแม่ของเขาจำนวน 500,000 ตากาบังกลาเทศ (ราว 4,565 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ166,095 บาท) เพื่อส่งเขาไปที่ประเทศมาเลเซีย โดยเขาเดินทางมาถึงมาเลเซียในเดือนกันยายน ปี 2566</p>
<p>“ผมไม่รู้ว่าแม่หาเงินมาได้ยังไง แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ผมก็ถูกส่งให้ขึ้นเรือกับชาวโรฮิงญาอีกราว 100 คน เราใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาหนึ่งเดือน บวกกับการปีนเขาเพื่อข้ามแดนไปยังมาเลเซีย เราไม่มีอาหารกินเลยตลอดเส้นทาง จึงต้องหากินเท่าที่ได้ในพื้นที่ตรงนั้น” เขากล่าว และเสริมว่าผู้ลี้ภัยต้องฝืนกินใบไม้เพื่อประทังชีวิตในระหว่างที่ปีนเขาอยู่ในป่า</p>
<p>การเดินทางของชาฮิดุลลาห์จบลงในเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมาในเมืองอัมปัง ใกล้กับเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเขาถูกส่งตัวไปอยู่ที่ชุมชนชาวต่างชาติโรฮิงญา</p>
<p>ที่บังกลาเทศ หญิงสาวชาวโรฮิงญากลับมาที่ค่ายผู้ลี้ภัยแล้วหลังจากที่พยายามเดินทางไปยังเมียนมาเพื่อเข้าสู่พิธีการแต่งงานที่ถูกจัดตั้งไว้แล้ว จนต้องถูกตัดสินให้จำคุกอยู่ในเรือนจำที่เมียนมาเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี</p>
<p>ฮาลิมา คาตุนเห็นพ่อของเธอถูกกองทัพทหารเมียนมาปลิดชีวิตกับตาในรัฐยะไข่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 แม่ของเธอจึงพาเธอและน้องสาวอีก 2 คนหลบหนีข้ามชายแดนมาอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบังกลาเทศในค่ายเทคนาฟ เวลานั้นฮาลิมาอายุ 18 ปี เธอบอกว่าเธอหลบหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยที่นั่นในปลายปี 2565 เพื่อเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียโดยกลุ่มค้ามนุษย์ เป็นผู้ดำเนินการพาหลบหนี แต่หลังจากนั้นกลับถูกเจ้าหน้าที่เมียนมาจับกุมเนื่องจากเครื่องยนต์เรือเสียหายระหว่างที่เดินทางอยู่ในทะเล  เธอจึงต้องใช้ชีวิต 13 เดือนอยู่ในเรือนจำที่เมียนมา </p>
<p>“ครอบครัวตามหาร่องรอยของฉันไม่เจอเลยในระหว่าง 13 เดือนนั้น พวกเขาจึงได้แต่คิดว่าฉันคงจมน้ำทะเลตายหรือไม่ก็เสียชีวิตด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง” เธอให้สัมภาษณ์กับเบนาร์นิวส์</p>
<p>หลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ฮาลิมาเดินทางกลับบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์จากความช่วยเหลือของญาติชาวเมียนมา</p>
<p>“การแต่งงานของฉันกับฮาบิเบอร์ ราห์มัน ชายหนุ่มชาวโรฮิงญาในมาเลเซียถูกจัดการไว้แล้ว เขาเป็นคนที่พยายามจะติดต่อองค์กร ‘ดาลาล’ เพื่อส่งฉันไปที่นั่น” เธอกล่าว คำว่าดาลาลหมายถึงนายหน้า</p>
<p>“หนึ่งในนายหน้าที่พาฉันเดินทางไปยังมาเลเซียเป็นชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในเมียนมา ส่วนอีกคนเป็นชาวบังกลาเทศ” ฮาลิมากล่าว</p>
<p>กลุ่มค้ามนุษย์เรียกร้องเงินจำนวน 800,000 ทากา (ราว 7,289 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 265,246 บาท) เป็นค่าจัดการเดินทางส่งเธอไปยังประเทศมาเลเซีย ฮาลิมาร่วมเดินทางไปกับหญิงและชายชาวโรฮิงญา และชาวบังกลาเทศอีกหลายราย</p>
<p>“หลังจากที่เดินทางออกมาจากชามิลา (หมู่บ้านในรัฐยะไข่) เราก็ใช้ชีวิตอยู่บนเรือเป็นเวลา 22 วันก่อนที่จะย้ายไปยังเรือที่เล็กกว่าอีก 2 วัน 2 คืน แต่หลังจากที่เครื่องยนต์เรือเสีย พวกลูกเรือก็หลบหนีไป จากนั้น ‘เจ้าหน้าที่ทหาร’ ก็เดินทางมาช่วยเรา และรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ขับพาเรามาขังไว้ที่นั่นเป็นเวลา 12 วัน” เธอให้ข้อมูล</p>
<p>หลังจากที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีที่เรือนจำในเมียนมา ฮาลิมาก็ถูกคุมขังเป็นเวลา 13 เดือน จนกระทั่งเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ฮาลิมาก็จ่ายเงินให้กับนายหน้าเพื่อเดินทางหลบหนีโดยการนั่งเรือข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังกลาเทศ</p>
<p>เธอบอกว่าชายหนุ่มที่เคยสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวโรฮิงญาอีกคนซึ่งมาจากค่ายผู้ลี้ภัยที่บังกลาเทศไปแล้ว และพาหล่อนหนีไปที่ประเทศมาเลเซีย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบนาร์นิวส์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้ลี้ภัย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงานข้ามชาติ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108644