[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 09:04:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จน จนฝันสลาย: นโยบายการศึกษาแบบใดกันที่เรากำลังรอคอย?  (อ่าน 83 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 กันยายน 2566 01:16:14 »

จน จนฝันสลาย: นโยบายการศึกษาแบบใดกันที่เรากำลังรอคอย?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-19 00:02</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ฐานิดา บุญวรรโณ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="margin: 0in 0in 8pt;">ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่จะช่วยหยุดวงจรความยากจนได้อย่างไร? แม้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ที่ได้รับการตรวจพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และเข้าสู่วาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 10-11 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาจะยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเสร็จสมบูรณ์จากกระบวนการทางรัฐสภา แต่เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ก็ถูกตั้งคำถามมากมาย นับตั้งแต่ประเด็นเรื่องความจำเป็นของการออกกฎหมาย การได้ฉันทามติจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน โครงสร้างการบริหารการศึกษา รวมไปถึงการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ลงรายละเอียดในแต่ละช่วงวัยอย่างเคร่งครัดตายตัวจนเกินไป อย่างไรก็ดี ข้อถกเถียงข้างต้นเน้นไปที่ประเด็นเรื่องการจัดการศึกษาซึ่งไปกระทบกับสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู แต่ยังตั้งคำถามน้อยนักต่อสารัตถะของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ว่าจะนำไปสู่การพัฒนากำลังคนของประเทศได้อย่างไรในโลกศตวรรษที่ 21 ในบริบทที่สังคมไทยยังมีประชากรที่จัดอยู่ในกลุ่มจนมากประมาณ 1.36 ล้านคน กลุ่มจนน้อย 3.05 ล้านคนและเกือบจนหรือเสี่ยงที่จะเป็นคนจำนวน 4.82 ล้านคน (กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2565: 4)  ซึ่งปัญหาความยากจนนี้จะส่งผลโดยตรงต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชน รวมไปถึง การตั้งคำถามว่าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่จะช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กจากครัวเรือนยากจนที่เผชิญกับปัญหามากมายอันเนื่องมาจากความยากจนไม่ว่าจะเป็นภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการเรียนรู้ การเข้าถึงโรงเรียนที่ใกล้บ้านและมีคุณภาพ การไม่หลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน รวมไปถึงการได้เรียนหรือได้รับการพัฒนาทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อย่างไร</p>
<p>ผู้เขียนแบ่งข้อถกเถียงหลักของงานเขียนชิ้นนี้เป็นสองส่วน <strong>ส่วนแรกคือ</strong> ความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ และส่วนที่สอง คือ บทวิเคราะห์ว่าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่จะช่วยหยุดวงจรความยากจนได้อย่างไร? ในส่วนแรก หลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติแห่งชาติฉบับใหม่อ้างถึงมาตรา 54 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ประกอบกับมาตรา 258 ข้อ จ.ด้านการศึกษาและมาตรา 261 ที่กำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆรวมทั้งด้านการศึกษาโดยเฉพาะให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง ฯลฯ จึงดูเหมือนว่าการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่นี้จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพราะเป็นเค้าโครงที่ได้ถูกกำหนดไว้แล้วในแผนการปฏิรูปประเทศ และถูกบัญญัติเป็นหมวดใหม่ในรัฐธรรมนูญ คือ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ซึ่งหมวดดังกล่าวไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้จึงเป็นใจความสารัตถะและเจตจำนงของการปฏิรูปประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมถึงสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (เช่น แผนแม่บทประเด็นที่ 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต, แผนแม่บทประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้, แผนแม่บทประเด็นที่ 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม) และต้องสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) อีกด้วย แนวคิดในการปฏิรูปประเทศซึ่งแฝงฝังอยู่ในรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาตินี้ต้องเริ่มต้นเล่าย้อนกลับไปในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2557 ครั้งเมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เสนอเรื่องให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ จนกระทั่งวาระการปฏิรูปประเทศกลายเป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป้าหมายการปฏิรูปประเทศนั้นบัญญัติไว้ในมาตรา 257 และประเด็นการปฏิรูปบัญญัติไว้ในมาตรา 258 ซึ่งในข้อ จ. ด้านการศึกษานั้นต้องปฏิรูปการศึกษาให้ 1) สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 2) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 54 วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (หมายถึงพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561) 3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ไดมีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอนรวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู 4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่</p>
<p>เมื่อพิจารณาจากร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่จะพบว่าเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจัดการศึกษา (คุณสมบัติของบุคลากร องค์ประกอบของคณะกรรมการ หน้าที่ การจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันการศึกษา การเลื่อนวิทยาฐานะ เงินประจำตำแหน่ง ฯลฯ) แต่รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิรูปนั้นจะปรากฏอยู่ในแผนการศึกษาแห่งชาติ หากต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ก็คงจะเป็นความจำเป็นในแง่ที่การปฏิรูปการศึกษาได้ถูกกำหนดไว้หมดแล้วตั้งแต่ก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งเป้าหมายและแผนการปฏิรูปที่จะนำไปปฏิบัติเป็นนโยบายยังถูกแฝงฝังไปยังแผนระดับต่างๆเรียบร้อยหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ ยังไม่นับรวมกฎ ระเบียบ ข้อบังคับปลีกย่อยรายองค์กรมากมายที่เป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตามแบบฉบับแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหากต้องการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ก็มิวายจะต้องกระทบกระเทือนหรืออาจไม่สอดคล้องกับแผนต่างๆที่โยงใยสัมพันธ์กัน</p>
<p><strong>ในส่วนที่สอง</strong> <a name="_Hlk145407250" id="_Hlk145407250">เมื่อต้องวิเคราะห์ว่าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่จะช่วยหยุดวงจรความยากจนได้อย่างไhttps://live.staticflickr.com/65535/53196199952_bb293440a4_o_d.jpg" style="width: 399px; height: 532px;" />
<span style="color:#2980b9;">สภาพบ้านครัวเรือนยากจนและวันที่เด็กน้อยไม่มีเงินไปโรงเรียน 
ถ่ายโดยผู้เขียน
</span></p>
<p>เมื่อกลับไปดูเนื้อหาของมาตรา 8 ของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ที่ระบุการพัฒนา ฝึกฝน บ่มเพาะให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามระดับช่วงวัย หากเทียบกับช่วงวัยของลูกชายคนที่สี่ คือ ช่วงวัยที่สี่ อายุระหว่าง 6-12 ปี ซึ่งร่าง พ.ร.บ.กำหนดว่า “ต้องฝึกฝนให้มีทักษะบริหารจัดการตนเอง ดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตของตนเอง เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตอาสา มีความภาคภูมืใจในความเป็นไทย ซึมซับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รับรู้ถึงความงามของธรรมชาติ มีนิสัยในการสังเกตและใฝ่รู้ มีทักษะในการเรียนรู้ รู้จักและรู้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยีหาความรู้.....” และช่วงวัยของน้องมี คือ ช่วงวัยที่ 5 อายุระหว่าง 12-15 ปี ที่ร่างพ.ร.บ.กำหนดว่า “ต้องฝึกฝนให้รู้จักสุขภาพกาย ควบคุมอารมณ์ เข้าใจพัฒนาการของสมองวัยรุ่น รับผิดชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้ความถนัดและเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เรียนรู้ที่จะตัดสินใจและวางแผนชีวิต ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตที่ซับซ้อน ยึดมั่นในจริยธรรม เชื่อมั่นและเข้าใจการธำรงความเป็นไทย สามารถสื่อสารภาษาไทยที่สมบูรณ์ รู้และเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้......”</p>
<p> จากสาระในมาตรา 8 ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ข้างต้นจะเห็นว่า สารัตถะในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยนั้นเน้นไปที่เรื่องของบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ ทัศนคติ ค่านิยม มากกว่าจะเป็นเรื่องขององค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เด็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปีควรจะได้รับ ซึ่งหากย้อนดูเข้าไปในครอบครัวของนางสาวจริงซึ่งเป็นครอบครัวยากจนเรื้อรังแล้ว การพัฒนามนุษย์ที่จะเป็นไปตามมาตรา 8 นั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง มิหนำซ้ำหลายอย่างก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้จริงเพียงเพราะว่ามีฐานะยากจน ยกตัวอย่างเรื่องพื้นฐานง่ายๆอย่างการให้เด็กดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเอง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานง่านๆสำหรับครัวเรือนอื่นๆ แต่สำหรับสมาชิกในบ้านเช่าหลังนี้ที่แวดล้อมไปด้วยของเก่าที่เก็บมาสะสมเพื่อรอวันขาย หลังคาที่รั่วจนนอนไม่ได้ ส้วมที่ไม่ได้สุขลักษณะ แมลงวันและยุงที่บินว่อนไปทั่วบ้าน อาหารที่ต้องอดมื้อกินมื้อ นมสดที่ต้องอาศัยดื่มจากที่โรงเรียน ฯลฯ อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่อาจทำให้เด็กๆพัฒนาไปตามเนื้อหาของมาตรานี้ได้ มากไปกว่านั้น หากจะวิเคราะห์ลงในสารัตถะอีกสักครั้งก็จะพบว่า นอกจากร่างพ.ร.บ.จะไม่ได้ชี้ว่า เพื่อจะไปให้ถึงสมรรถนะตามช่วงวัยเช่นนั้น จะต้องปฏิบัติการอย่างไรแล้ว รายละเอียดของสมรรถนะตามระดับช่วงวัยดังกล่าวยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องขององค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคนหรือพัฒนาแรงงานที่สอดรับกับการพัฒนาประเทศอีกด้วย</p>
<p>แล้วร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่นี้จะช่วยหยุดวงจรความยากจนได้อย่างไร? ผู้เขียนทดลองเสนอบทวิเคราะห์ดังนี้</p>
<p><strong>ประเด็นแรก</strong> <a name="_Hlk145403801" id="_Hlk145403801">ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับให

<div id="ftn1">
<div class="note-box">
<p class="MsoFootnoteText" style="margin:0in">ฐานิดา บุญวรรโณ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และนักวิจัยในโครงการความยากจนข้ามรุ่นในสังคมไทยภายใต้ความท้าทายเชิงโครงสร้าง (รองศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าโครงการ) สนับสนุนงบประมาณวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)</p>
</div>
</div>
</div>
<p style="text-align: center;"> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105963
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 418 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 433 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 328 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 334 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 249 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤษภาคม 2567 09:35:30