[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 23:12:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยดื่ม “กาแฟ” ตั้งแต่เมื่อใด?  (อ่าน 304 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2332


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2565 15:39:33 »



คนไทยดื่ม “กาแฟ” ตั้งแต่เมื่อใด?

ผู้เขียน  เสมียนอารีย์
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2565


ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า คนไทยเริ่มดื่ม “กาแฟ” กันมาตั้งแต่เมื่อใด?

ในที่นี้ต้องเท้าความไปที่ประวัติความเป็นมาของกาแฟกันสักหน่อย กาแฟมีถิ่นกำเนิดบริเวณทวีปแอฟริกา แล้วแพร่พันธุ์นำมาปลูกในดินแดนอาระเบีย ก่อนจะกระจายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก

ในช่วงที่กาแฟถูกนำไปเผยแพร่ในดินแดนอาระเบียนั้น ดินแดนที่ตอบรับกาแฟเป็นแห่งแรกคือ เยเมน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 15 ในช่วงเวลานั้น กาแฟส่วนใหญ่เป็นของรับประทานสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซูฟี โดยเชื่อว่าการเคี้ยวเมล็ดกาแฟจะใช้ขจัดความง่วงในระหว่างการดำเนินพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงกลางคืน และเพื่อใช้เป็นยาเสริมความสามารถในการเข้าถึงพระเจ้า

ต่อมา กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งคาบสมุทรอาระเบียไปพร้อมกับผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซูฟี ทั้งในไคโร ดามัสกัส และเมกกะ จากนั้นการดื่มกาแฟก็ได้รับความนิยมควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กาแฟจึงน่าจะแพร่เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกถึงกาแฟว่า “อนึ่ง แขกมัวร์ในประเทศสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ และชาวปอรตุเกศนั้นดื่มโกโก้ เมื่อมีส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปญอีกทอดหนึ่ง”

เชื่อว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจมีคนไทยได้ทดลองดื่มกาแฟบ้างแล้วเป็นแน่ แต่คงไม่เป็นที่นิยมมากนัก คงดื่มมากกันในหมู่แขกมัวร์ หรือก็คือชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย (แถบประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) ส่วนเครื่องดื่มของคนไทยสมัยนั้นที่นิยมคือ น้ำเปล่า หรือน้ำบริสุทธิ์อบให้หอม น้ำชาอย่างจีน เหล้า ทั้งที่เป็นเหล้าองุ่น และเหล้าพื้นบ้านที่หมักจากข้าว

ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยังคงปรากฏหลักฐานของกาแฟ อยู่ในบทพระราชนิพนธ์ “อิเหนา” ในสมัยรัชกาลที่ 2 ความว่า

       “บ้างตั้งเครื่องบูชาระย้าแก้ว     เป็นถ่องแถวสดสีไม่มีหมอง

        คลังสมบัติจัดขันน้ำพานรอง    กระโถนทองเหลืองตั้งเป็นแถวทิว

        กรมท่าต้มน้ำชาเร็วรวด          น้ำตาลกรวดลูกกาแฝ่แก้หิว

        ใส่ถ้วยอย่างใหม่ลายริ้วริ้ว        มีหูหิ้วลายทองรองจาน”

จะเห็นได้ว่า น้ำชา (อย่างจีน) ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอยู่ ส่วนกาแฟก็เริ่มมีบทบาทเข้ามาเป็นเครื่องดื่มอีกชนิดในสังคมชนชั้นสูง โดยเฉพาะการใส่ถ้วย “อย่างใหม่” นี้ก็น่าจะสะท้อนถึงถ้วยและจานรองกาแฟแบบตะวันตกที่เข้าสู่สยามแล้ว

แต่ที่มีบันทึกเป็นหลักฐานค่อนข้างแน่ชัดว่า คนไทยโดยเฉพาะขุนนางและชนชั้นสูงเริ่มดื่มกาแฟนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันารีชาวอเมริกันที่เข้ามายังสยามกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ โดยภายหลังจากหมอบรัดเลย์ปลูกฝีสำเร็จ จนได้รับความดีความชอบจากรัชกาลที่ 3 พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ 3 ชั่ง ราว 145 ดอลลาร์ หมอบรัดเลย์เดินทางไปรับเงินพระราชทานที่บ้านของพระคลัง ซึ่งน่าจะเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เจ้าพระยาพระคลังในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ดื่มกาแฟในบ้านของขุนนางผู้ใหญ่แห่งตระกูลบุนนาค ดังที่หมอบรัดเลย์บันทึกว่า

“พระเจ้าอยู่หัวทรงซาบซึ้งพระราชหฤทัยในการทำงานบริการประชาชนของข้าพเจ้า แต่แทบไม่เคยคิดเลยว่าจะได้เห็นในรูปอื่นนอกเหนือจากเป็นวาจาเท่านั้น พระคลังส่งคนรับใช้มาพาข้าพเจ้าไปที่บ้านเพื่อรับพระราชทานเงินหลวงนั้น ข้าพเจ้าทำตาม และได้รับการต้อนรับอย่างให้เกียรติเป็นพิเศษ มีของกินคือกาแฟอย่างดี ซึ่งขณะนั้นเป็นเครื่องดื่มอันหายากในสยาม ตระเตรียมไว้โดยเฉพาะสำหรับข้าพเจ้า พวกผู้ดีและเจ้าขุนมูลนายบางคนกำลังเริ่มกินกาแฟเลียนแบบชาวต่างชาติ พระคลังรู้ว่าข้าพเจ้าชินต่อการกินกาแฟทุกวันจึงจัดหามาไว้ให้”

จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ชี้ชัดว่า กาแฟในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นของหายาก จึงสันนิษฐานได้ว่า กาแฟในสมัยนั้นคงมีราคาสูง และยังไม่เป็นที่นิยมในหมู่ราษฎรโดยทั่วไป

ในยุคแรกคงมีแต่ชนชั้นสูงและขุนนางชาวสยามรวมทั้งชาวต่างชาติเท่านั้นที่ได้ลิ้มรสชาติของกาแฟ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.277 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤศจิกายน 2565 03:15:53