[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 02:29:56



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ตัวแทนประธานศาลฎีการับหนังสือเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 02:29:56
ตัวแทนประธานศาลฎีการับหนังสือเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเมือง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-09 12:59</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ตัวแทนประธานศาลฎีกา รับหนังสือจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและภาคประชาสังคมเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเมือง ยึดหลักสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ ศาลต้องเป็นอิสระ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53576475674_02096c1d31_k_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมได้เดินทางไปยังสำนักประธานศาลฎีกา เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเมือง เพื่อขอให้ประธานศาลฎีกาเร่งดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว การกำหนดหลักประกันและเงื่อนไข การถอนประกันตัว นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกขังก่อนและระหว่างการพิจารณาคดี โดยวันนี้พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และประกายดาว พฤกษาเกษมสุข รองผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นตัวแทนในการยื่นหนังสือดังกล่าวกับหัวหน้าส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักงานประธานศาลฎีกา ตัวแทนประธานศาลฎีกา ซึ่งได้ออกมารับหนังสือ</p>
<p>หนังสือฉบับดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับความห่วงกังวลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่คดียังไม่ถึงที่สุด ซึ่งละเมิดต่อหลักการที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุดว่ากระทำความผิด ซึ่งการขังดังกล่าวขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทย เหตุผลโดยสรุปมีใจความดังนี้</p>
<p>เหตุผลประการแรกคือ การดำเนินคดีไม่เป็นธรรม ผู้ต้องหา/จำเลยซึ่งเป็นแกนนำกิจกรรมทางสังคมการเมืองหลายคนถูกกล่าวหาและดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมจากรัฐบาลเนื่องจากความคิดความเชื่อทางสังคมและการเมืองซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพอันสัมบูรณ์ (Absolute Rights) และการแสดงออกโดยสันติ การดำเนินคดีกับนักกิจกรรมการเมืองเหล่านี้จึงไม่เป็นธรรม</p>
<p>ประการที่สอง ศาลจะต้องเป็นอิสระและมืออาชีพในการใช้อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักนิติธรรม จดหมายฉบับดังกล่าวเรียกร้องให้ศาลซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการทำหน้าที่และใช้อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารอย่างเข้มงวด ต่อการกล่าวหาและการดำเนินคดีนักกิจกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อไม่ให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าศาลเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อปิดปากฝ่ายตรงข้าม (Judicial Harassment)</p>
<p>ประการที่สาม การใช้ดุลยพินิจที่ไม่เป็นธรรม ผู้ต้องหา/จำเลยนักกิจกรรมทางสังคมและการเมือง ถูกปฏิบัติเป็นพิเศษ จากกระบวนการยุติธรรมอันถือเป็นการเลือกปฏิบัติ จากการที่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมยังไม่ได้ยึดถือและปฏิบัติตาม บทบัญญัติมาตรา 29 ในรัฐธรรมนูญไทยอย่างแท้จริง บทบัญญัติดังกล่าวว่าด้วยเรื่อง การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยบริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด การควบคุมหรือคุมขังกระทำได้เท่าที่จำเป็น และคำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการพิจารณา ซึ่งสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง</p>
<p>ประการที่สี่ ผู้ต้องหา/จำเลยนักกิจกรรมทางสังคมและการเมือง ถูกขังหรือถูกถอนประกันทั้งๆ ที่พวกเขาไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี ตรงกันข้ามพวกเขากลับแสดงออกอย่างเอาจริงเอาจังว่าพร้อมต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ต่อสู้เพื่อยืนยันว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางความคิดความเชื่อทางสังคมและการเมือง</p>
<p>ประการสุดท้าย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร เจ้าหน้าที่บางคนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นเจ้าพนักงาน และในชั้นศาล ที่ผู้ต้องหา/จำเลยนักกิจกรรมเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้ได้มีการร้องเรียนแต่หลายกรณีไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยา</p>
<p>มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอเชิญชวนให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจร่วมกันจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าตุลาการจะอำนวยความเป็นธรรมและเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ให้กัยประชาชนเป็นสำคัญ รวมถึงร่วมติดตามและให้กำลังใจผู้ต้องหา/จำเลยนักกิจกรรมทางการเมืองทุกคนที่กำลังถูกคุมขังให้ได้รับสิทธิในการประกันตัวกลับคืนและได้รับการปล่อยตัวโดยเร็ว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูลนิธิผสานวัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้ต้องขังทางการเมือง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระบวนการยุติธรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศาลฎีกา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108364