[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 07:44:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จากฟุตบอลนักเรียนศตวรรษก่อน สู่ “จตุรมิตรสามัคคี” โรงละครแห่งศูนย์กลางอำนาจท  (อ่าน 41 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2566 16:25:38 »

จากฟุตบอลนักเรียนศตวรรษก่อน สู่ “จตุรมิตรสามัคคี”  โรงละครแห่งศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-11-20 16:11</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>การสิ้นสุดลงของวังหน้า การขยายอาณาเขตสนามหลวง และการตัดถนนราชดำเนินเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว มาพร้อมกับภูมิทัศน์แบบสมัยใหม่ใจกลางกรุง ในเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้เกิดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลนักเรียนขึ้นเมื่อปี 2444 ครั้งแรกประกอบด้วยทีมทั้งหมด 9 โรงเรียน คือ โรงเรียนแผนที่ (ก่อตั้งปี 2425<a href="#_ftn1" name="_ftnref1" title="" id="_ftnref1">[1][/url]), โรงเรียนสวนกุหลาบ (ไทย), โรงเรียนสวนกุหลาบ (อังกฤษ) (ก่อตั้งปี 2425)<a href="#_ftn2" name="_ftnref2" title="" id="_ftnref2">[2][/url], โรงเรียนวัดมหรรณพาราม) (ก่อตั้งปี 2427<a href="#_ftn3" name="_ftnref3" title="" id="_ftnref3">[3][/url]), โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ (ก่อตั้งปี 2435<a href="#_ftn4" name="_ftnref4" title="" id="_ftnref4">[4][/url]), โรงเรียนกล่อมพิทยากร (ก่อตั้งปี 2435)<a href="#_ftn5" name="_ftnref5" title="" id="_ftnref5">[5][/url], โรงเรียนสายสวลี (ก่อตั้งปี 2437)<a href="#_ftn6" name="_ftnref6" title="" id="_ftnref6">[6][/url]  และโรงเรียนราชวิทยาลัย (ก่อตั้งปี 2439<a href="#_ftn7" name="_ftnref7" title="" id="_ftnref7">[7][/url])โรงเรียนราชการ (ก่อตั้งปี ราวปี 2442 <a href="#_ftn8" name="_ftnref8" title="" id="_ftnref8">[8][/url]) โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสำคัญที่อยู่แวดล้อมกับอำนาจการศึกษาและกลไกการปฏิรูปประเทศ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง ไกลที่สุดก็น่าจะเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัยที่อยู่บริเวณจวนเดิมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) แถบฝั่งธนบุรีฝั่งตรงข้ามกับปากคลองตลาด-วัดราชบูรณะ การเล่นฟุตบอลและการแข่งขันถือว่าเป็นหนึ่งในการสร้างความเป็นชายและใช้ขัดเกลาความเป็นสุภาพบุรุษ</p>
<p>สนามแข่งขันรายการฟุตบอลแต่แรกยังไม่มีสนามกลางตายตัว มีการเลือกใช้สนามของโรงเรียนที่ร่วมแข่งขันบางแห่ง และท้องสนามหลวงบ้าง หากพิจารณาตามชื่อโรงเรียนที่ส่งเข้าแข่งขัน จะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอำนาจรัฐของโรงเรียนต่างๆ ในยามที่รัฐต้องการผลิตบุคลากรมาป้อนระบบราชการให้เพียงพอกับระบบการปกครองที่พยายามขยายองคาพยพให้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ตัวละครไม่น้อยที่ได้รับการบันทึกในฐานะนักเรียนนักฟุตบอล ได้กลายเป็นข้าราชการสำคัญ เช่น นายบุญจ๋วน บุญยะปานะแห่งประถมสามจีนใต้ ต่อมาคือ พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร (2436-2506) นายบุญชู ศีตะจิตต์แห่งมัธยมพิเศษเทพศิรินทร์ ต่อมาเป็นพระเชฏฐไวทยาการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2490-2497 (2435-2516) นายจร โชติกเสถียรแห่งราชวิทยาลัย ต่อมาเป็นหลวงจรเนาวิเทศ สังกัดกระทรวงการคลัง นายส่าน โชติเสถียร ต่อมาเป็นพระวุฒิศาสตร์เนติญาณ กระทรวงเศรษฐการ<a href="#_ftn9" name="_ftnref9" title="" id="_ftnref9">[9][/url]</p>
<p>การแข่งขันของโรงเรียนต่างๆ จึงมิได้เป็นการส่งทีมเข้าร่วมเฉยๆ แต่แสดงให้เห็นถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับรัฐ หรืออาจกล่าวได้ว่า การแข่งขันฟุตบอลโรงเรียนได้เผยให้เห็นเครือข่ายทางการศึกษาที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของรัฐในยุคนั้นไปด้วย</p>
<p>รัชสมัยต่อมาก็ได้มีการจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยมีสนามแข่งหลักๆ อยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์และสวนกุหลาบวิทยาลัย ในช่วงนี้เริ่มมีการแบ่งการแข่งขันเป็นรุ่นอายุ แต่ก็ยังเป็นการแข่งขันระหว่างโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลัก<a href="#_ftn10" name="_ftnref10" title="" id="_ftnref10">[10][/url] การแข่งขันต่อเนื่องจากปี 2454-2475 น่าจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนต่างๆ ด้านฟุตบอลก่อตัวขึ้นมาอย่างแน่นแฟ้นนำไปสู่การแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีในเวลาต่อมา หลังปฏิวัติ 2475 กรมพลศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการจัดแข่งขันฟุตบอลนักเรียน และเริ่มมีโรงเรียนนอกกรุงเทพฯ มาร่วมแข่งขัน แต่ก็หยุดชะงักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระดับสูงกว่านั้นเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ธรรมศาสตร์และการเมืองเมื่อปี 2477 ในช่วงแรกได้จัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย<a href="#_ftn11" name="_ftnref11" title="" id="_ftnref11">[11][/url] ก็ย่อมสะท้อนถึงเครือข่ายด้านฟุตบอลและสถาบันการศึกษาที่โยงใยถึงกันด้วย</p>
<p>ในที่สุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพฯทั้ง 4 แห่ง ได้ริเริ่มจัดฟุตบอลที่ชื่อว่า "จตุรมิตรสามัคคี" เมื่อปี 2507 ในนามของการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างครู อาจารย์ และนักเรียน ทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์ ว่ากันว่าเกิดจากการประสานงานของอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ได้เชื้อเชิญโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนอัสสัมชัญมาแข่งขันฟุตบอลร่วมกัน<a href="#_ftn12" name="_ftnref12" title="" id="_ftnref12">[12][/url]</p>
<p>นับได้ว่าทั้ง 4 โรงเรียนนี้ นับเป็นโรงเรียนชั้นนำของประเทศในระดับมัธยมศึกษาในขณะนั้น และยังเป็นโรงเรียนที่มีความเก่าแก่ระดับร้อยปี สำหรับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและเทพศิรินทร์ ไม่เป็นเพียงโรงเรียนของรัฐแต่ยังมีอัตลักษณ์ที่ผูกอยู่กับเจ้านายสยามอย่างชัดเจน ขณะที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และอัสสัมชัญเป็นตัวแทนของโรงเรียนคริสต์ที่เก่าแก่ที่เคยมีความโดดเด่นในฐานะเป็นของชาวตะวันตกและมีจุดเด่นที่การสอนภาษาอังกฤษ และทั้งคู่ก็เป็นตัวแทนของทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก</p>
<p>การแข่งขันใช้สนามศุภชลาศัยเป็นสนามแข่งขัน และหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกปี โดยโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งแรก แต่ได้ช่วงที่เว้นการจัดงานก็คือ ปี 2509 และ 2510 เนื่องจากสนามไม่ว่างเพราะถูกเลือกเป็นสถานที่ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ และกีฬาแหลมทอง ช่วงต่อมาคือ ปัญหาการเมืองในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และ6 ตุลาคม 2519 ทำให้ไม่มีการแข่งขันในปี 2518-2520 แต่น่าสงสัยว่าปี 2523-2524 ไฉนจึงไม่มีการแข่งขัน นับตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา จะเป็นการแข่งขันปีเว้นปี อุปสรรคมาอีกครั้งเมื่อถึงปี 2554 ที่ต้องงดแข่งเพราะประสบปัญหามหาอุทกภัยในช่วงดังกล่าว<a href="#_ftn13" name="_ftnref13" title="" id="_ftnref13">[13][/url]  ในปี 2559 เป็นปีที่ต้องเลื่อนไปอีกปี เพราะยังอยู่ในช่วงถวายอาลัยช่วงสวรรคตของรัชกาลที่ 9 เช่นเดียวกับช่วงโควิด 19 ที่ทำให้การแข่งขันถูกระงับเมื่อปี 2564 และเลื่อนการแข่งขันในครั้งล่าสุดปี 2566 จะเห็นได้ว่า ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีได้วางอยู่ในบริบทสังคมการเมืองไทยแบบที่ว่า หากจะทำหนังประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองฟุตบอลจตุมิตรฯ ก็สามารถทำได้อย่างสบายๆ</p>
<p>การที่ฟุตบอลนักเรียนได้รับสิทธิ์ให้ใช้สนามกีฬาแห่งชาติเช่นนี้ ย่อมสะท้อนความไม่ธรรมดาของเครือข่ายที่พวกเขามีไปด้วย นั่นหมายถึงว่า สนามกีฬาอันโอ่อ่าเช่นนี้มีสนามมาตรฐาน พร้อมกับแสตนด์เชียร์ที่ล้อมรอบทั้ง 4 ฝั่ง มีรั้วรอบขอบชิดปิดกั้น สามารถจุผู้ชมนับหมื่น ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่ฝั่งคบเพลิง อันอยู่ตรงข้ามอัฒจันทร์ประธาน ที่สามารถจะใช้สำหรับแปรอักษรแสดงข้อความและภาพต่างๆ อย่างยิ่งใหญ่อลังการ ฟุตบอลจตุรมิตร จึงไม่ได้เป็นการแข่งขันไปตามความสะดวกของโรงเรียนแบบเดิมๆ อีกแล้ว</p>
<p>นอกจากนั้นฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีได้เก็บค่าผ่านประตู โดยรายได้ส่วนหนึ่งของการแข่งขันจะนำทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย<a href="#_ftn14" name="_ftnref14" title="" id="_ftnref14">[14][/url] ดังนั้น ฟุตบอลจตุรมิตรฯ จึงแสดงให้เห็นถึง 3 มิติ ก็คือ การแข่งขันกีฬาที่มีมิติแบบกีฬาการกุศล การอิงอยู่กับชนชั้นนำ และการสร้างพื้นที่ของเครือข่ายทางสังคมในหมู่โรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพฯ</p>
<p>มากไปกว่านั้น รายการฟุตบอลนี้ยังได้รับแอร์ไทม์จากสถานีโทรทัศน์เพื่อทำการถ่ายทอดสดอีกด้วย แม้จะเป็นเพียงแค่การแข่งขันฟุตบอลระดับนักเรียนและเป็นเพียงฟุตบอลของโรงเรียนเพียง 4 โรงเรียนในกรุงเทพฯ เช่น ปี 2534 มีการถ่ายทอดสดผ่านช่อง 9 อ.ส.ม.ท.<a href="#_ftn15" name="_ftnref15" title="" id="_ftnref15">[15][/url] ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในความควบคุมของรัฐบาล และปีนั้นเกิดการรัฐประหารขึ้น ข้อสังเกตคือ หัวหน้าผู้ทำรัฐประหารครั้งนั้นคือ สุนทร คงสมพงษ์ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้ยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ ศิษย์เก่าเทพศิรินทร์</p>
<p>ฟุตบอลรายการนี้ยังดำรงอยู่คู่สังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะแสดงถึงศักยภาพของโรงเรียนดังกล่าวแล้ว ฟุตบอลรายการนี้ยังแสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางอำนาจและเครือข่ายการเมือง-เศรษฐกิจระดับครีมของสังคมไทย ก่อนที่นักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้จะก้าวขึ้นสู่อภิสิทธิ์ชนในอนาคตไม่ว่าจะในตำแหน่งนักการเมืองระดับชาติ นายกรัฐมนตรี ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารระดับสูง หรือกระทั่งผู้ทำการรัฐประหาร ด้วยชื่อเสียงของพวกเขา จึงไม่แปลกที่ 2 โรงเรียนดังจะมีโรงเรียนสาขาหรือแฟรนไชส์ขยายออกไปในพื้นที่ต่างจังหวัดเช่น สวนกุหลาบวิทยาลัย และเทพศิรินทร์<a href="#_ftn16" name="_ftnref16" title="" id="_ftnref16">[16][/url] (แตกต่างจากโรงเรียนในเครือเซนต์คาเบรียล-อัสสัมชัญ และเครือสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทยที่มีระบบบริหารอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีสาขาเช่นกันในต่างจังหวัด)</p>
<p>เว็บไซต์รัฐบาลไทยได้ทำประวัตินายกรัฐมนตรีไว้ เมื่อสืบค้นจะพบว่าเคยศึกษาในโรงเรียนใดมาบ้าง ผู้เขียนลองจำแนกเฉพาะผู้ที่เคยศึกษาในเครือ จตุรมิตรฯ เราจะนับได้ถึง 12 คน ดังนี้<a href="#_ftn17" name="_ftnref17" title="" id="_ftnref17">[17][/url]</p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p style="margin-left: 40px;">พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) : สวนกุหลาบวิทยาลัย, อัสสัมชัญ</p>
<p style="margin-left: 40px;">ควง อภัยวงศ์ : เทพศิรินทร์, อัสสัมชัญ</p>
<p style="margin-left: 40px;">ทวี บุณยเกตุ : สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">เสนีย์ ปราโมช : อัสสัมชัญ, เทพศิรินทร์, สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ : เทพศิรินทร์</p>
<p style="margin-left: 40px;">สัญญา ธรรมศักดิ์ : อัสสัมชัญ</p>
<p style="margin-left: 40px;">คึกฤทธิ์ ปราโมช : สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">ธานินทร์ กรัยวิเชียร :สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">เปรม ติณสูลานนท์ : สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">ชาติชาย ชุณหะวัณ : เทพศิรินทร์</p>
<p style="margin-left: 40px;">อานันท์ ปันยารชุน : กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย</p>
<p style="margin-left: 40px;">สุรยุทธ์ จุลานนท์ : สวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p>จะเห็นว่า นายกรัฐมนตรีเคยศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมากที่สุด มีจำนวนถึง 7 จาก 12 คน รองลงมาเทพศิรินทร์คือ 5 คน น้อยที่สุดคือ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แต่ในกรณีของเสนีย์ ปราโมช ถือว่ามีประสบการในโรงเรียนถึง 3 แห่ง นั่นคือ อัสสัมชัญ เทพศิรินทร์ และสวนกุหลาบวิทยาลัย</p>
<p>จึงไม่แปลกที่ในสูจิบัตรปี 2562 ระดับประธานองคมนตรี อย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ และผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด อย่างพรพิพัฒน์ เบญญศรี ในนามศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มี “สาร” ที่ตีพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดการแข่งขัน ครั้งที่ 29<a href="#_ftn18" name="_ftnref18" title="" id="_ftnref18">[18][/url]</p>
<p>การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ภายใต้ความสนใจในด้านบวกแล้ว ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ที่ตั้งคำถามกับระบบการศึกษา โรงเรียนในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีความไม่น่าไว้วางใจเนื่องด้วยเป็นสถาบันที่มีโอกาสจะใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะประสบการณ์ร่วมกัน จากการร้องเรียน หรือการเป็นข่าวในพื้นที่สื่อ ล่าสุด สัญญา คุณากร พิธีกรชื่อดังก็ออกมาโพสต์โซเชียลเพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับดราม่า การขึ้นแสตนด์เชียร์ในนามของศิษย์เก่าสวนกุหลาบซึ่งมีนัยตอบโต้ ธิษะณา ชุณหะวัณ ส.ส.ก้าวไกลที่ออกมาต่อต้านการแปรอักษรในการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีโดยเขาโพสต์ว่า</p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p><span style="color:#2980b9;">“ผมเป็นคนไม่ชอบมีเรื่องกับใคร แต่ทำไมผมมีความรู้สึกว่า ประโยคที่ได้ยินจากเรื่องนี้มันตรงกับที่รู้สึก ว่า “…(คุณ)อย่า…(มาหาเรื่อง) กับโรงเรียนของ…(ผม)เลย” คุณไม่เคยรับรู้ถึงเกียรติภูมิ ของโรงเรียน ความอดทน ความเสียสละ การภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนที่จะสร้างเยาวชน ที่มีเกียรติ มีรากเหง้า มีกำลังสติปัญญา และมีความเป็นมนุษย์ … ทั้งหมดต้องถูกหล่อหลอมโดยหลายช่องทาง หลายกิจกรรม…มีทั้งยาก และง่าย ทั้งเหน็ดเหนื่อย…และลำบาก โปรดรับรู้ว่า นักเรียนสวนกุหลาบ จะรักษาความถูกต้องจากการแอบแฝงผลใดๆ และจะรักษาเกียรติของโรงเรียนเสมอไป  #ผมคือนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย” </span><a href="#_ftn19" name="_ftnref19" title="" id="_ftnref19"><span style="color:#2980b9;">[19]</span>[/url]</p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p><strong>ตรงกันข้ามกับฟุตบอลนักเรียนระดับชาติที่ได้รับการสนับสนุนน้อยอย่างน่าใจหาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ดังที่มีผู้เขียนข้อเสนอสะท้อนไว้ในวันก่อนกรณีการแข่งขันฟุตบอล 7 สี เปรียบเทียบกับ ฟุตบอลชิงแชมป์ฤดูหนาวของนักเรียนญี่ปุ่น<a href="#_ftn20" name="_ftnref20" title="" id="_ftnref20">[20][/url] การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีเพียง 4 โรงเรียน กลับมีพื้นที่สื่อและการสนับสนุนจากทุนและรัฐอย่างน่าจับตา มันจึงสะท้อนถึงโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันซึ่งไม่ใช่แค่ด้านกีฬา แต่มันหมายถึง โอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนในต่างจังหวัดที่อยู่บนความเหลื่อมล้ำมาอย่างยาวนาน เช่นเดียวกับการรวมศูนย์กลางของโอกาสอยู่ที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไปด้วย.</strong></p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p class="MsoNoSpacing" style="text-align:justify; margin:0in"> </p>
<p><strong>อ้างอิง   </strong></p>
<div>
<div id="ftn1">
<p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1" title="" id="_ftn1">[1][/url]  เจมส์ เอฟ. แมคคาร์ธีผู้ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่สยาม ที่เข้ามาตั้งแต่ปี 2523 มีบทบาทจัดตั้งโรงเรียนแผนที่ฝึกสอนชาวสยาม โดยนำเอานายทหารรักษาพระองค์ 30 นายเข้าเป็นนักเรียนรุ่นแรก แมคคาร์ธีเป็นครูใหญ่ สอนบริเวณตึกแถวกองมหาดเล็ก ข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวัง ดูใน กรมแผนที่ทหาร.  “ประวัติ”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก https://bit.ly/2xf88qW</p>
</div>
<div id="ftn2">
<p><a href="#_ftnref2" name="_ftn2" title="" id="_ftn2">[2][/url] เดิมเรียกว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ตั้งขึ้นเพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์โดยเฉพาะให้เป็นทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้ขยายให้ผู้สมัครจากภายนอกมากขึ้น และใช้บริเวณพระตำหนักสวนกุหลาบที่เคยเป็นคลังที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในปี 2425 แต่แรกมีการฝึกหัดอย่างทหารและแบบสามัญตามโรงเรียน เมื่อมีผู้สมัครเรียนเกินจำนวนตำแหน่งทหารมหาดเล็กจึงเปลี่ยนจากนักเรียนทหารมาเป็นนักเรียนพลเรือน จนต้องสร้างตึกยาวทางพระราชวังด้านให้ใช้เป็นที่เล่าเรียน ต่อมาปี 2436 ได้ขยายไปนอกพระบรมมหาราชวัง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรงเรียนสวนกุหลาบที่ได้แยกเป็น 2 แห่งได้แก่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษ ฝ่ายไทยได้ย้ายไปที่วัดมหาธาตุส่วนหนึ่งและที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวังอีกที่หนึ่ง สวนกุหลาบฝ่ายไทยมีความสัมพันธ์กับกระทรวงธรรมการอย่างน่าสนใจ เนื่องจากเมื่อกระทรวงธรรมการสร้างอาคารใหม่บริเวณวังหน้าเดิม ก็ได้ให้สวนกุหลาบฝ่ายไทยไปใช้ตึกในนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามสวนกุหลาบฝ่ายไทยยังได้ย้ายไปอีกหลายแห่ง เช่น วัดมหาธาตุฝั่งใต้, โรงเลี้ยงเด็กริมคลองมหานาค และในที่สุดก็ไปที่ตึกแถวหลังยาววัดราชบูรณะที่จะกลายเป็นกลับมารวมกันอีกครั้งของฝ่ายอังกฤษ ส่วนฝ่ายอังกฤษนั้น ไม่ได้ย้ายออกนอกพระบรมมหาราชวัง แต่ว้ายไปที่ริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์ ต่อมาได้ย้ายออกไปแถบบริเวณสตรีสวนสุนันทาลัย ปากคลองตลาด จนได้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบสุนันทาลัย ต่อมาสมเด็จพระราชินีได้ขอพระราชทานที่ดินดังกล่าวเพื่อปรับปรุงเป็นโรงเรียนราชินี จึงได้ย้ายมารวมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ไปอยู่ร่วมกับตึกแม้นนฤมิตร จึงได้ชื่อว่าโรงเรียนสวนกุหลาบแม้นนฤมิตร ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษเทพศิรินทร์ จนในปี 2454 โรงเรียนสวนกุหลาบฝ่ายไทยและอังกฤษก็ได้มารวมกันอีกครั้งในปี 2454 ปีเดียวหลังรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต   ดูใน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี.  “ประวัติโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย”. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.skn.ac.th/skn/index.php/2016-09-07-14-40-46/536-2016-09-07-14-26-50</p>
</div>
<div id="ftn3">
<p><a href="#_ftnref3" name="_ftn3" title="" id="_ftn3">[3][/url] ตั้งขึ้นในปี 2427 ดูใน โรงเรียนวัดมหรรณพาราม. “ประวัติโรงเรียน”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก http://www.watmahannapharam.ac.th/datashow_46915</p>
</div>
<div id="ftn4">
<p><a href="#_ftnref4" name="_ftn4" title="" id="_ftn4">[4][/url] ตั้งขึ้นในปี 2435 บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ต.สวนมะลิ ถ.บำรุงเมือง ต่อมาย้ายมาที่บริเวณวังจันทรเกษม ถ.ราชดำเนิน มีบทบาทหน้าที่ผลิตครู ปี 2461 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และปีเดียวกันนั้นเปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) รับนักเรียนจบม.6 และประกาศนียบัตรครูมูล ส่วนครูมัธยมนั้นส่งไปสมทบกับโรงเรียนมัธยมเบื้องปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ และโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา ปี 2499 ย้ายจากวังจันทรเกษมไปบริเวณอ.บางเขน หลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในเวลาต่อมายกระดับเป็นวิทยาลัยครูพระนคร ปี 2509 ดูใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. “ประวัติมหาวิทยาลัย”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก https://www.pnru.ac.th/index.php?op=detail&amp;opid=69</p>
</div>
<div id="ftn5">
<p><a href="#_ftnref5" name="_ftn5" title="" id="_ftn5">[5][/url]  แต่แรกชื่อโรงเรียนวัดพระเชตุพน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนกล่อมพิทยากร และโรงเรียนอุดรพิทยาคม ต่อมาในปี 2442 ได้มีการสร้างอาคารเรียนใหม่และรวมเป็นโรงเรียนเดียวในชื่อโรงเรียนกล่อมพิทยากร ดูใน โรงเรียนวัดพระเชตุพน.  “ประวัติโรงเรียน”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก http://school.bangkok.go.th/watprachetuphon/history.html</p>
</div>
<div id="ftn6">
<p><a href="#_ftnref6" name="_ftn6" title="" id="_ftn6">[6][/url] โรงเรียนสายสวลีสัณฐาคาร สร้างขึ้นบริเวณถนนบำรุงเมือง ตำบลสวนมะลิ ริมคลองมหานาค เดิมเป็นโรงเลี้ยงเด็ก ดูใน สวัสดิ์ เลขยานนท์, ศตวรรษแห่งการกีฬา (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์พระจันทร์,  2520), หน้า 18</p>
</div>
<div id="ftn7">
<p><a href="#_ftnref7" name="_ftn7" title="" id="_ftn7">[7][/url] สร้างขึ้นบนที่ดินจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ตั้งขึ้นในปี 2439 ชาวบ้านนิยมเรียกว่าโรงเรียนฟากขะโน้น หรือโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาได้ย้ายไปบริเวณตำบลไผ่สิงโต ปทุมวัน ข้างสระปทุมวัน ดูใน โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. “ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก http://mattayom.bsru.ac.th/index.php/strory</p>
</div>
<div id="ftn8">
<p><a href="#_ftnref8" name="_ftn8" title="" id="_ftn8">[8][/url] ไม่แน่ใจนักว่าโรงเรียนราชการดังกล่าวใช่โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือนที่ก่อตั้งในปี 2442 หรือไม่ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . “ประวัติจุฬาฯ”. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก https://www.chula.ac.th/about/overview/history/</p>
</div>
<div id="ftn9">
<p><a href="#_ftnref9" name="_ftn9" title="" id="_ftn9">[9][/url] สวัสดิ์ เลขยานนท์, เรื่องเดียวกัน, หน้า 159-160, 167</p>
</div>
<div id="ftn10">
<p><a href="#_ftnref10" name="_ftn10" title="" id="_ftn10">[10][/url] สุนทร แม้นสงวน, พัฒนาการการแข่งขันกีฬานักเรียนในประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสมัยปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533, หน้า 37-38, 41, 43, 45-46, 48-49, 52, 55-56, 59, 61, 64-65, 70, 77-78, 82-83, 87-88, 90-91, 95-96, 101, 104 และ 108  และสิทธิ รัตนราษี, การศึกษากีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540, หน้า17, 18</p>
</div>
<div id="ftn11">
<p><a href="#_ftnref11" name="_ftn11" title="" id="_ftn11">[11][/url] สิทธิ รัตนราษี, เรื่องเดียวกัน, หน้า 33</p>
</div>
<div id="ftn12">
<p><a href="#_ftnref12" name="_ftn12" title="" id="_ftn12">[12][/url] สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 พ.ศ.2562, หน้า 28-29</p>
</div>
<div id="ftn13">
<p><a href="#_ftnref13" name="_ftn13" title="" id="_ftn13">[13][/url] สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 พ.ศ.2562, หน้า 28-29</p>
</div>
<div id="ftn14">
<p><a href="#_ftnref14" name="_ftn14" title="" id="_ftn14">[14][/url] สิทธิ รัตนราษี, เรื่องเดียวกัน, หน้า 40-41</p>
</div>
<div id="ftn15">
<p><a href="#_ftnref15" name="_ftn15" title="" id="_ftn15">[15][/url] Yak136. จตุรมิตรฯครั้งที่ 16 นัดชิง BCC vs AC. Youtube. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v=xhW1aSR8Gv8 (3 เมษายน 2555)</p>
</div>
<div id="ftn16">
<p><a href="#_ftnref16" name="_ftn16" title="" id="_ftn16">[16][/url] ดูการอภิปรายเรื่องโรงเรียนแฟรนไชส์ได้ใน ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. “ชื่อเสียง ‘โรงเรียนแฟรนไชส์’ การเดินสวนทางกับการกระจายอำนาจทางการศึกษา”. ไทยรัฐพลัส. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566 จาก https://plus.thairath.co.th/topic/politics&amp;society/101992 (23 สิงหาคม 2565)</p>
</div>
<div id="ftn17">
<p><a href="#_ftnref17" name="_ftn17" title="" id="_ftn17">[17][/url] รัฐบาลไทย. “ทำเนียบนายกรัฐมนตรี”. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.thaigov.go.th/aboutus/history/index</p>
</div>
<div id="ftn18">
<p><a href="#_ftnref18" name="_ftn18" title="" id="_ftn18">[18][/url] สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 พ.ศ.2562, หน้า 14-15</p>
</div>
<div id="ftn19">
<p><a href="#_ftnref19" name="_ftn19" title="" id="_ftn19">[19][/url] ผู้จัดการออนไลน์. “ “ดู๋ สัญญา” ลั่นไม่ชอบมีเรื่องกับใคร แต่อย่ามาหาเรื่องกับโรงเรียนผมเลย”. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566. จาก <a href="https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000102528 (15 พฤศจิกายน 2566)">https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000102528 (15 พฤศจิกายน 2566)[/url]</p>
</div>
<div id="ftn20">
<p><a href="#_ftnref20" name="_ftn20" title="" id="_ftn20">[20][/url] มฤคย์ ตันนิยม. “ชิงแชมป์ฤดูหนาวญี่ปุ่น : บอล 7 สียังขาดอะไรถึงจะมีศักยภาพเทียบเท่ารายการนี้ ”. Think Curve. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566. จาก https://thinkcurve.co/chingaechmprduuhnaawyiipun-b-l-7-siiyangkhaad-aairthuengcchamiisakyphaaphethiiybethaaraaykaarnii/ (6 พฤศจิกายน 2566)</p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106891
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 417 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 430 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 327 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 333 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 249 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.785 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 พฤศจิกายน 2566 00:12:20