[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 16 พฤษภาคม 2555 19:21:34



หัวข้อ: นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 16 พฤษภาคม 2555 19:21:34


(http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram1_1.JPEG)
พระประธานกับจิตกรรมฝาผนังโบราณในวัดคงคาราม

นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย

วัดคงคาราม ตั้งอยู่ตำบลคลองตาคตเป็นศูนย์กลางของวัดมอญในละแวกนี้ ชื่อเดิมว่าวัดกลางหรือ เกี้ยโต้ ต่อมาสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดคงคาราม" เป็นที่จำวัดของพระครูรามัญญาบดี ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่รามัญ นิกาย เป็นวัดในอุปถัมภ์ของตระกูลจอมมารดากลิ่นในรัชกาลที่ 4 ผู้มีเชื้อสายมอญ ในปี พ.ศ. 2518 วัดคงคารามขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมาแล้ว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถที่งดงาม ยังคงสภาพดี และพระประธานมีแกนในทำด้วยหินศิลาแลงกุฏิเก้าห้อง ในวัดคงคารามเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเป็นเรือนไม้พิพิธภัณฑ์ที่เก็บงานศิลปะโบราณอันทรงคุณค่าและงดงาม เช่น ตู้พระธรรม หีบพระธรรม เครื่องปั้นดินเผา และลุ้งที่สมบูรณ์มีอายุประมาณ 200 ปี เป็น  โลงศพไม้ท่อนเดียวแกะสลักลายดอกพุดตานอย่างสวยงาม ลักษณะด้านหน้าเป็นก้านขดลายลูกฟัก ลายดาว   เพดานตัวหีบ ด้านบนนั้นผายลงมายังส่วนฐานด้านล่างสุดลายกรวยเชิงด้านข้างทำเป็นลายประตู ศพที่บรรจุในลุ้งได้ต้องเป็นพระยามอญ หรือ พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดคงคาราม

        นั่งรถไฟ ไปโพธาราม ชมความงามของสถานที่ท่องเที่ยวและวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงอยู่ พร้อมกับร่วมชมงานนิทรรศการภาพถ่ายสัญจร ซึ่งช่วยแต่งแต้มให้ที่นี้มีความน่าหลงไหลมากยิ่งขึ้น
          
            ที่ไหนเอ่ย ผู้คนจอแจ เดินไปมาวุ่นวาย บ้างนั่ง บ้างนอน รายรอบไปด้วย เสียงหวูด และกลิ่นไอสนิม ที่ยังคงไม่เคยจางไปจากความรู้สึก ใช่แล้ว ที่นี่คือสถานีรถไฟแบบไทยๆ นี่เอง ซึ่งทริปนี้ ตะลอนเที่ยว ได้เก็บกระเป๋าเดินทาง โดดขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง แอบตามทัวร์กะทิกะลา มุ่งหน้ามายังจังหวัดราชบุรี ไปเที่ยวย้อนวันวาน ตามคอนเซปต์ เที่ยวละไม ไปโพธาราม อีก หนึ่งแนวคิดทางการท่องเที่ยวยุคนี้ ที่ดึงจุดเด่นของวิถีชีวิตท้องถิ่นตั้งแต่ครั้งอดีต นำกลับมานำเสนอให้คนกรุงในปัจจุบัน ได้ย้อนรำลึกถึงกันอีกครั้ง

             (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram2.JPEG)  วิกครูทวี โรงหนังเก่าของโพธาราม
        เราใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมงเดินทางจากสถานีหัวลำโพง ไปยังสถานีโพธาราม ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนที่มีกล้องติดตัวไปด้วยคงสนุกสนานกับการถ่า ยรูปวิถี ชีวิตต่างๆ สองข้างทางตลอดจนบนโบกี้รถไฟ ภาพพ่อค้าแม่ค้าเดินขวักไขว่ไปมา อาจเป็นภาพชินตา แต่ก็ดูเหมือนว่าเป็นบรรยากาศแปลกใหม่ทุกครั้งที่ได้พบเจอ เพราะเดินทางมากับคณะทัวร์ จึงมีกิจกรรมสนุกๆ ที่ทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัวอย่างการวาดและเพ้นท์สีกระเป๋าผ้า ซึ่งเด็กๆ นั้นดูจะชื่นชอบเป็นพิเศษ วาดภาพ ละเลงสี ขณะที่รถไฟวิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สุดท้ายก็ได้ผลงานที่ประทับใจของแต่ละคนออกมา
ผลงานศิลปะ บนรถไฟ

        เมื่อเริ่มใช้ สมองกับสองมือ ส่งผลให้ท้องก็เริ่มหิว และได้จังหวะที่มาถึงสถานีนครปฐม ซึ่งมีก๋วยเตี๋ยวห่อจิ๋ว ราคาแค่เพียงห่อละ 5 บาทเท่านั้น ส่วนเรื่องรสชาตินั้น บอกได้แค่ว่าแต่ละคนนั้นทานกันไม่ต่ำกว่าสองห่อ จากนั้นก็กลับมาใช้ชีวิตสนุกสนานบนรถไฟกันต่อ บ้างคุย บ้างหลับ เด็กๆ วิ่งเล่นไปมา จนในที่สุดก็ถึงปลายทางที่สถานีโพธาราม จุดหมายปลายทางในครั้งนี้
ก๋วยเตี๋ยว 5 บาท รสชาติอร่อยบนรถไฟ

        คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง ท่อนแรกของคำขวัญประจำจังหวัด ที่หนุ่มๆ หลายคนคงอยากพบเจอ แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ลงจากรถไฟแล้วเราก็มุ่งหน้ามายังบริเวณตรอกจับกัง ย่านชุมชนเก่าอีกแห่งของที่นี่
        เหตุที่เรียกว่าตรอกจับกังก็เพราะว่า ครั้งในสมัยก่อนนั้นการขนส่งสินค้าทางรถไฟนั้นเป็นที่นิยมกันมา กเพราะสะดวก สบาย และขนส่งได้ครั้งละมากๆ และบริเวณใกล้ๆ สถานีรถไฟโพธารามนี้ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของจับกัง หรือคนที่รับจ้างขนถ่ายสินค้าจากรถไฟ จึงเป็นชื่อเรียกติดปากของชาวบ้านกันมาถึงปัจจุบัน

                    (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram1.JPEG)  ตรอกจับกัง
          เต้าหู้ดำ รสชาติดี เดินเลยตรอกจับกังมาก็ได้กลิ่นหอมของเต้าหู้ต้มลอยมาแต่ไกล ซึ่งเต้าหู้ดำที่โพธารามนี้เป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง มีทั้งรสเค็มและหวาน ส่วนสีดำของเต้าหู้นั้นเกิดจากการที่นำไปต้มกับเครื่องเทศแบบจี น คล้ายๆ ที่เราใช้ต้มพะโล้ ส่วนเคล็ดลับความอร่อยนั้น บอกกันมิได้ แต่เท่าที่เห็นนั้น นักท่องเที่ยวมักจะซื้อกลับไปเป็นของฝาก ปัจจุบันก็จะมีอยู่ 2 ร้าน ที่ยังคงขายเต้าหู้ดำอยู่คือร้านแม่เล็กโพธาราม และร้านเจ๊อั้งโพธาราม ซึ่งเจ้าเต้าหู้นี่สามารถนำไปประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้อีกมากมา ย แล้วแต่ไอเดียใครจะบรรเจิด แต่แค่ลองชิมแบบที่ไม่ได้ปรุงแต่งรสชาติใดๆ ก็อร่อยถูกใจอย่างแน่นอน

                 (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram5.jpg) เต้าหู้ดำแสนอร่อย
        หลังจากชิม เต้าหู้ดำแล้ว เราชวนกันเดินผ่านตลาด มาหยุดอยู่ที่วิกครูทวี โรงหนังเก่าแก่ ที่อยู่คู่โพธารามมานานหลายสิบปี แต่ปัจจุบันนั้นได้ปิดตัวลงไป แต่ในที่สุดวันนี้ วิกครูทวีก็ได้กลับมามีสีสันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทางชมรมอย่าลืมโพธาราม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ร่วมมือกับกลุ่มสห+ภาพ จัดงาน โพธาราม ลืมไม่ลง คงไม่ลืม งานนิทรรศการภาพถ่ายสัญจรซึ่งนำเสนอภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชนดั งที่กล่าวมา และมาวิกครูทวีวันนี้เป็นวันที่เขากำลังจัดงานกันอยู่ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากหลากหลายที่ทยอยกันมาเดินเล่น ถ่ายรูป กับโรงหนังเก่า และบ้านเรือนในระแวกอยู่เยอะพอสมควร

(http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram6.jpg)  ภาพถ่าย แต่งแต้มวิถีชีวิต
        ถือได้ว่าเป็น โชคดีของ  ตะลอนเที่ยว เพราะทางชุมชนโพธารามเองได้เปิดให้เราได้ขึ้นไปดูห้องฉายหนังเก ่า ซึ่งยังคงสภาพเหมือนวันสุดท้ายที่เลิกใช้งาน คาดกันว่าน่าจะปิดตัวไปในช่วงปี พศ. 2541 และเครื่องฉายหนังนั้นเป็นเครื่องในสมัยรุ่นหลังสงครามโลก นับว่าน่าเสียดายที่เราไม่สามารถหลอมรวมวัฒนธรรมใหม่ๆ กับสิ่งมีคุณค่าในอดีตไว้ด้วยกันได้ เพราะอาจจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายที่โรงหนังสมัยใหม่นั้นตอบโจ ทย์ไลฟ์สไตล์ คนในปัจจุบันได้มากกว่า แต่เชื่อได้เลยว่า สิ่งเก่าๆ เหล่านี้จะยังคงมีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าเสมอ

                       (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram7.jpg)  เครื่องฉายหนังโบราณ
      ก่อนจะเดิน ทางกลับสู่ที่พักนั้นได้มีโอกาสชมการแสดงที่ชาวโพธารามนั้นภูมิ ใจนำเสนอ นั่นก็คือการแสดงของหนังใหญ่วัดขนอน ศิลปะการแสดงที่คนเมืองโพธารามภาคภูมิใจ ปะทะโชว์หุ่นละครเล็กจากคลองบางหลวงซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้ชมผิดหวัง เรียกเสียงปรบมือและรอยยิ้มจากทุกคนได้เป็นอย่างดี
        ศิลปะการแสดงทั้งสองเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน ซึ่งนับเป็นโชคดีของชาวโพธาราม ที่มีคนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์การแสดงทั้งสองเอาไว้ โดยเฉพาะกับหนังใหญ่วัดขนอนนั้น ปัจจุบันนอกจากจะโด่งดังไปไกลถึงเมืองนอกเมืองนาแล้ว ยังมีดีกรีพ่วงท้ายด้วยรางวัล 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมจากองค์กรยูเนสโก

หนังใหญ่วัดขนอน  (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram8.jpg)
            ทั้งนี้ศิลปะ การแสดงหนังใหญ่นั้นคาดกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงปัจจุบัน สำหรับวัดขนอนถือเป็น 1 ใน 3 เป็นชุมชนที่หลงเหลือของเมืองไทยที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน การแสดงหนัง ใหญ่เอาไว้ โดยนอกจากการละเล่นหนังใหญ่อันน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว วัดขนอนยังมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนในกุฏิเรือนไทย ที่ภายในจัดแสดงตัวหนังใหญ่แกะสลักอย่างสวยงามจำนวนมาก          
            หลังจบการแสดงหนังใหญ่ปะทะหุ่นละครเล็ก คืนนั้นงานปิดท้ายด้วยเสียงเพลงขับกล่อมจากพี่จุ้ย ศุบุญเลี้ยง ให้ทุกคนกลับไปนอนฝันดี

                           (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram9.jpg)  หุ่นละครเล็กคลองบางหลวง
        เช้าวันใหม่ อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน แต่ทุกคนชวนกันไปปั่นจักรยานลัดเลาะไปตามถนน ชมวิถีชีวิตเมืองโพธาราม ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ว่า เมืองนี้มีมุมสวยๆ ให้ถ่ายรูปเยอะมาก ซึ่งแทบทุกบ้านนั้นยินดีให้เราถ่ายรูปได้ เพียงแค่เอ่ยปากบอกก่อนเท่านั้น

ร้านตัดผมแบบนี้ ก็ยังมีให้เห็นอยู่  (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram10.jpg)
          หลังจากปั่นมาได้สักพักก็มาแวะพักกันที่วัดคงคาราม เป็นวัดมอญ อายุกว่า 200 ปี ภายในโบสถ์มีภาพจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนภาพวาดเกี่ยวกับไตรภูมิตลอดจนความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ซึ่งยังคงสภาพความสวยงามไว้เป็นอย่างดี คาดกันว่าภาพเขียนนี้น่าจะอยู่ในราวรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4

(http://www.chula-alumni.com/forum/uploads/Guest/5DZ_photaram11.jpg)  ร้านกาแฟสวยๆ ทยอยเปิดบริการ
       นอกจากนั้น ด้านหลังพระประธานในโบสถ์นี้ ยังมีพระประธานองค์เก่า ซึ่งหันหน้าไปคนละทางกับองค์ปัจปัจจุบัน สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมหันหน้าพระประธานไปยังทิศที่มีแม่น้ ำ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนพระประธานองค์ใหม่ แต่ก็ยังคงพระประธานองค์เดิมไว้ และฝากสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปถ่ายภาพว่าไม่ควรใช้แฟลชขณะ ถ่ายภาพจิต กรรมฝาผนังตลอดจนวัตถุโบราณต่างๆ เพราะมันอาจเป็นการทำลายสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์ได้

ตัวหนังใหญ่ในพิพิธภัณฑ์วัดขนอน  (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram12.jpg)
            อีกสิ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจภายในวัดก็คือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้โบราณ ทั้งของชาวมอญ ชาวไทย และชาวพม่า ที่หน้าสนใจก็คือโลงศพแบบมอญโบราณ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และตู้เก็บคำภีร์โบราณ ซึ่งรวบรวมคำภีร์ บทสวดมนต์ต่างๆ ไว้กว่า 1,000 เล่ม          
            พระอนุวัตร ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เล่าให้เราฟังว่า ข้าวของเครื่องใช้ที่เก็บรวบรวมเอาไว้นั้นได้มาจากชาวบ้านในชุม ชนซื้อมาถวาย ให้วัดในอดีต ซึ่งก็เหมือนในปัจจุบัน เมื่อเวลาชาวบ้นจัดงานบุญต่างๆ มักจะมาหยิบยืมข้าวของเครื่องใช้จากวัด และหลังจากนั้นก็มีการซื้อมาถวายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจก็ลองแวะมาศึกษาประวัติศาสตร์ได้ที่ วัดคงคาราม แห่งนี้

พระประธานองค์เก่า  (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram13.jpg)
        สำหรับโพธาราม ในวันนี้เต็มไปด้วยภาพถ่ายวิถีชีวิตของคนในชุมชน กระจายตัวอยู่ตามบ้านเรือนและอาคารเก่าต่างๆ ซึ่งจะจัดแสดงกันจนถึงราวปลายเดือนมกราคม 2554ก็เป็นไอเดียที่ดีสำหรับกลุ่มคนรักในการถ่ายภาพต่างๆ ที่จะเข้ามาร่วมส่งเสริมให้ในชุมชนเกิดจุดขายทางการท่องเที่ยวข ึ้นมาอีกทาง หนึ่ง เพราะปัจจุบันนั้น การก้าวเข้าสู่ยุคติจิตอลของกล้องถ่ายรูป ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนสนใจเรื่องการถ่ายภาพมากขึ้น และภาพถ่ายนี้เองก็ทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวได้ดีอย่างไม่น่ าเชื่อ ปัจจุบันในตัวเมืองโพธารามเองก็มีร้านค้า ร้านกาแฟใหม่ๆ ทยอยเปิดตัว เมื่อเริ่มเห็นโอกาสทางการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโต

(http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram14.jpg)  ข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งตู้เก็บคำภีร์
        แต่สำหรับผล กระทบของการท่องเที่ยวนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากกว่าที่จ ะจินตนาการ ได้ มองผิวเผิญนั้น การจัดการการท่องเที่ยวอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ถ้าไม่มีการควบคุมที่ดี รวมทั้งความร่วมมือจากทุกส่วนในชุมชนโดยเฉพาะการให้องค์ความรู้ กับประชาชนใน พื้นที่ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ เหมือนแหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่ง ที่ถูกกระแสวัตถุนิยม อำนาจเงิน เข้ามาแทนที่จิตสำนึกในความรักท้องถิ่น ทำให้วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์อันทรงเสน่ห์ของชุมชนต้องเสียศูนย์ไปอย่าง น่าเสียดาย

โลงศพมอญโบราณ  (http://www.alumnispu.com/userfiles/image/photaram15.jpg)
        การเดินทางมา ยังอำเภอโพธารามนั้นสามารถใช้ทางรถยนต์และรถไฟ ซึ่งจะให้ความสะดวกสบายและประสบการณ์การเดินทางแตกต่างกันไป สำหรับพิพิธภัณฑ์ภายในวัดคงคารามนั้นเปิดตั้งแต่ 9.00 - 16.30 ทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามข้อมูลโทร. 08-1194-3798 (พระอนุวัตร)

(http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi2/images/watsai.jpg)  วัดไทรอารีรักษ์
เป็นวัดมอญตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง กลางเมืองอำเภอโพธาราม
มีหอระฆังไม้อยู่หน้าบริเวณกุฏิเจ้าอาวาส งดงามนักภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน
เขียนขึ้นปี พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

         (http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi2/images/watkanon.jpg)  ภาพจิตรกรรมบนฝาผนังภายในอุโบสถวัดขนอน
วัดขนอน ตั้งอยู่ตำบลสร้อยฟ้าเป็นวัดที่พบหลักฐานเสมาหินรอบพระอุโบสถ จารึกปี พ.ศ. 2327 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นวัดเจ้านายในราชสำนักกรุงเทพฯ  ซุ้มประตู ด้านตะวันออกของระเบียง คดเป็นซุ้มจัตุรมุขทรงไทยปูนปั้นปิดทองที่หน้าบันเป็นรูปมหาพิชัยมงกุฎ ด้านล่างเป็นปูนปั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ       (อันเป็นตราประทับรัชกาลที่ 4) ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ หนังใหญ่เป็นมหรสพเก่าแก่ของคนไทยนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นการแสดงชั้นสูง ประกอบด้วย ศิลปะหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นหัตถศิลป์ นาฏศิลป์       คีตศิลป์  แผ่นหนังใหญ่ทำมาจากหนังวัวมีเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เรือนไม้ (ศาลาการเปรียญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี) จำนวน 131 ตัว อยู่ในสภาพสมบูรณ์

        ที่วัดขนอนจะมีการแสดงหนังใหญ่ให้ชมฟรี เวลา 10.00 -11.00 น. และมีงานเทศกาลหนังใหญ่วัดขอนในวันที่ 13-14 เม.ย. เวลา 15.00-21.00 น. ของทุกปี ส่วนพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เปิดทุกวัน เวลา 8.00 -17.00 น. ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-3223-3386

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
http://www.chula-alumni.com/forum/forum_postpop.asp?FID=3&TID=507&PN=1&TPN=27
และวัดสำคัญที่โพธาราม
http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi2/temple_potaram.htm



หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 พฤษภาคม 2555 18:58:13

อยากไปจัง  (:PING:)