[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 19:01:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ท่านพ่อลี" ช่วยเปลี่ยนใจ "สมเด็จฯ อ้วน" ให้เลิกต่อต้านพระป่าสายหลวงปู่มั่น!!  (อ่าน 1214 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:30:05 »



ลงเอยด้วยดี!! ... "ท่านพ่อลี" ช่วยเปลี่ยนใจ "สมเด็จฯ อ้วน" ให้เลิกต่อต้านพระป่าสายหลวงปู่มั่น!!

ในสมัยที่ "ท่านพ่อลี ธัมมธโร" อยู่จำพรรษากับ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" (อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ นั้น ท่านได้รับความเมตตาจากสมเด็จฯ เป็นอย่างมาก  แต่สมเด็จฯ ท่านไม่ค่อยจะเชื่อน้ำยาของพระป่ากรรมฐานสักเท่าไหร่ และก่อนหน้านี้ก็เคยออกคำสั่งไล่พระกรรมฐานออกจากป่า ซึ่งแม้แต่หลวงปู่มั่นเองก็เคยถูกท่านไล่มาแล้ว

(หมายเหตุ :  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุตในภาคอีสาน เมื่อทราบข่าวว่ามีคณะพระป่ากรรมฐานของหลวงปู่มั่นเดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพานจึงสั่งให้เจ้าคณะแขวงอำเภอพร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญไปทำการขับไล่พระป่าคณะนี้ออกไปให้หมด  ทั้งยังประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น)


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)

ด้วยเหตุนี้ ท่านพ่อลีจึงคิดหาทางที่จะช่วยสมเด็จฯ ให้รู้บ้างว่า "ธรรมของจริง" และ "ผู้รู้จริง" เป็นอย่างไร ...

"สมเด็จฯ ท่านอ่านตำรามาก ชอบวิจารณ์วิจัย  แต่วันๆ ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาพิจารณาสังขาร ทำแต่งานภายนอก

คิดดูแล้วก็น่าสงสาร ... ท่านเป็นผู้มีคุณูปการต่อเรา เราต้องปฏิบัติตอบท่านด้วยธรรมที่รู้เห็นมาตามสติปัญญาที่มี"


เมื่อท่านพ่อลีคิดอย่างนั้น ท่านก็เริ่มปฏิบัติการขั้นต้น โดยกำหนดจิตเพ่ง "กสิณน้ำและไฟ"  บางครั้งเพ่งกสิณน้ำใส่ สมเด็จฯ ก็จะหนาวสะบั้นสั่นเทาเหมือนคนเป็นไข้จับสั่น  บางคราวเพ่งกสิณไฟ กำหนดเป็นไฟไปเผา สมเด็จฯ ก็จะร้อนรนกระวนกระวายไปทั้งร่าง  (แต่การเพ่งกสิณนี้ก็ไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย)

เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยๆ สมเด็จฯ จึงเรียกท่านพ่อลีมาถามว่า

"เอ... วันนี้มันเป็นอะไรกันนะ?  เดี๋ยวร้อนเหมือนถูกไฟเผา เดี๋ยวหนาวจนสะบั้น!!"

ท่านพ่อลีก็เข้าไปหา...ทำทีจับโน่นจับนี่และพูดว่า

"ไหน...ไหน...มันเป็นอะไร?  อากาศร้อนหนาวมันก็เปลี่ยนแปลงบ้างแหละขอรับเจ้าประคุณ!"

พอเป็นหลายครั้งหลายหนเข้าจนผิดสังเกต ด้วยความที่สมเด็จฯ ท่านฉลาดหลักแหลม ช่างสังเกตหาเหตุผลเสมอ ก็เลยเอะใจด้วยความสงสัย เพราะเมื่อใดที่ท่านพ่อลีมาดูอาการ เมื่อนั้นอาการก็จะหายทันที  สมเด็จฯ จึงบอกกับพระใกล้ชิดว่า

"เหตุที่เป็นเช่นนี้ ท่านลีคงทำเราแหละ ... เราเคยดูถูกพ่อของพระกรรมฐานคือพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านลี"

หลังจากนั้นมา สมเด็จฯ ท่านก็เข้าใจพระป่ามากขึ้น มองพระป่าอย่างเป็นมิตรมากขึ้น ทั้งยังอุดหนุนส่งเสริมการสร้างวัดป่ากรรมฐาน เช่น วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญของกองทัพธรรมพระกรรมฐานในสมัยนั้นด้วย

ต่อมา สมเด็จฯ ท่านก็ขอร้องให้ท่านพ่อลีสอนสมาธิให้ทุกวัน  ท่านพ่อลีไปอยู่แห่งหนตำบลใด ท่านก็จดหมายไปตามให้มาทุกครั้ง ... นับว่าท่านพ่อลีเป็นผู้ที่สมเด็จฯ โปรดปรานมาก

ท้ายที่สุด สมเด็จฯ ก็เปิดเผยความในใจว่า

"เราไม่เคยนึกเคยฝันเลยว่า การนั่งสมาธิจะมีประโยชน์มากอย่างนี้  เราเองได้บวชมานานก็ไม่เคยเกิดความรู้สึกอย่างนี้เลย  เมื่อก่อนเราไม่นึกว่าการทำสมาธิเป็นของจำเป็น  แต่บัดนี้เราได้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงอันมีผลปรากฏที่ใจแล้ว!!"


ท่านพ่อลี ธัมมธโร

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้อย่างน่าฟังว่า

"ท่านพ่อลีนี่เองเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะใจสมเด็จฯ ได้  แต่ก่อนนั้นสมเด็จฯ เป็นคนบ้ายศ แล้วเที่ยวขนาบกรรมฐานไปทั่ว เที่ยวไล่พระกรรมฐานที่อยู่ในป่าในเขา ... หลวงปู่มั่นก็เคยถูกไล่"

ในงานเผาศพหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สมเด็จฯ ได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านจึงเดินเข้าไปหาและพูดว่า

"เออ... ท่านมั่น... เราขอขมาโทษ เราเห็นโทษแล้ว ... แต่ก่อนเราก็บ้ายศ"!!

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงนับเป็นผู้ที่มีปฏิปทาอันหาได้ยากยิ่งนัก เพราะสมัยปัจจุบันนี้หวังได้ยากว่าจะพบเจอพระสมเด็จฯ ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ยอมลดตน ลดทิฐิมานะ เพื่อแสวงหาธรรมชั้นสูง ...



ที่มา : "ธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธมฺมธโร" รวบรวมโดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร (www.dharma-gateway.com)
 
จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/202708/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 437 กระทู้ล่าสุด 15 ธันวาคม 2564 20:38:59
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - ส.ผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ ประสานพบ “สี จิ้นผิง” ดันงาน “150 ปีพุฒาจารย์โต สมเด็จฯ คู่แ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 190 กระทู้ล่าสุด 27 ตุลาคม 2565 22:50:45
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - เด็กสาวหนัก 49 กก. แต่ถูกล้อ "อ้วน" ลดน้ำหนัก 14 กก.ในครึ่งปี สุดท้ายเดินไม่ได้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 148 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2566 20:17:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - อึ้งเลย! เจ้าสาวลองชุดวันแรก เจอติ "ไม่สวย-อ้วน-ตัน" วันแต่งจริงแทบไม่เชื่อสาย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 85 กระทู้ล่าสุด 29 ตุลาคม 2566 13:38:47
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - ปิดตำนาน "อ้วน บะกุ๊ดเต๊" ต้นตำรับความอร่อยเจ้าแรกในไทย จากไปด้วยวัย 64 ปี
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 33 กระทู้ล่าสุด 10 เมษายน 2567 05:00:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.417 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 09:14:11