[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: wondermay ที่ 28 กรกฎาคม 2555 20:50:32



หัวข้อ: ที่มาของ “ลอดช่องสิงคโปร์”
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 28 กรกฎาคม 2555 20:50:32
“ลอดช่องสิงคโปร์” คำนี้อายุร่วม 60 ปี


(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1215846)(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1215844)

ลอดช่องสิงคโปร์ที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ แท้จริงแล้ว ชื่อ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศสิงคโปร์แต่อย่างใด
เป็นเพียงชื่อเรียกที่พี่ไทยเรียกผิดเพี้ยนกันมาจนเขาใจกันผิดๆ
(:SR:)

ดังจะยกคำอธิบายจากวิกิพิเดียไทย

อ้างถึง
ส่วนสาเหตุที่ในประเทศไทยใช้ชื่อว่า "ลอดช่องสิงคโปร์" นั้น มาจากการที่ใน พ.ศ. 2504 ร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรี
บนถนนเยาวราช เมื่อผู้คนไปทานจึงมักจะเรียกว่า "ลอดช่องหน้าโรงหลังสิงคโปร์" จนในที่สุดตัดทอนเหลือแต่เพียง "ลอดช่องสิงคโปร์"

ร้านนี้และเจ้าของก็ยังอยู่ดีค่ะ จากหัวข้อข่าวเกี่ยวกับร้านลอดช่องในตำนาน

                “สิงคโปร์โภชนา” เป็นร้านต้นกำเนิดลอดช่องสิงคโปร์ ที่เรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบัน โดยนายณรงค์ จักรธีรังกูร เจ้าของร้านสิงคโปร์โภชนา
ได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า ธุรกิจกิจนี้เป็นของผู้เป็นพ่อ โดยได้รับการถ่ายทอดสูตรมาจากเพื่อนอีกทีหนึ่ง ซึ่งรวมระยะเวลาที่ร้านลอดช่องสิงคโปร์เปิดบริการให้ลูกค้าได้ลิ้มลองก็ประมาณกว่า
60 ปี โดยตั้งที่บริเวณแยกหมอมี ตรงข้ามธนาคาร UOB ถ.เจริญกรุง ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงหนังสิงคโปร์ จนกระทั่งถูกรื้อทิ้ง สร้างใหม่เป็นโรงหนังเฉลิมบุรี


                “การที่ร้านเราสามารถครองใจลูกค้ามาได้ยาวนานถึง 60 ปี เนื่องจากการคงคุณภาพวัตถุดิบ และสูตรของขนมลอดช่องสิงคโปร์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการใช้กะทิ
แบบเข้มข้น เพื่อให้ได้ความหอม มัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ส่วนเส้นของลอดช่อง ก็มีความเหนียวนุ่ม โดยสีที่นำมาใช้จะเป็นสีเขียวของใบเตยและสีผสมอาหาร
ซึ่งหากใช้สีของใบเตยเพียงอย่างเดียวจะทำให้สีไม่สวย สดใส ในขณะที่น้ำเชื่อมก็ไม่หวานจนเกินไปนัก พร้อมใส่ขนุนลงไปในน้ำเชื่อมด้วย ทำให้ลูกค้าในปัจจุบันมีทุกเพศทุกวัย
โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่เคยมารับประทานตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นลูกค้าประจำแม้อายุจะล่วงเลยไปถึง 70-80 ปี แล้วก็ตาม โดยทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
มานั่งกินลอดช่องสิงคโปร์เพื่อมารำลึกความหลัง”


                ร้านลอดช่องสิงคโปร์ โภชนานั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นตำนานบนถนนเยาวราช เพราะไม่เพียงแต่ความเก่าแก่ที่ครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 60 ปีแล้ว
ร้านนี้ยังถูกทางสำนักงานเขตสัมพันธ์วงศ์ขอให้คงอยู่ไว้ เพราะถือว่าร้านนี้กลายเป็นตำนานและเป็นส่วนหนึ่งของเยาวราชที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว



(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/02/COLLECTIE_TROPENMUSEUM_Een_dawet_verkoper_op_de_pasar_te_Malang_Oost-Java._TMnr_60005853.jpg)

เซนดอล (Cendol; /ˈtʃɛndɒl/) เป็นขนมพื้นบ้านที่มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และสิงคโปร์
ในอินโดนีเซียเชื่อว่า เซนดอลมีความเกี่ยวข้องกับคำ jendol ในภาษาชวา ภาษาซุนดาและภาษาอินโดนีเซีย หมายถึง โหนก หรือ โป่ง
ซึ่งมีความหมายโดยนัยหมายถึงเยลลี่ที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน ในเวียดนาม เรียกว่า bánh lọt," ซึ่งเป็นส่วนผสมของขนมที่ชื่อ chè หรือ chè ba màu
ส่วนผสมทั่วไปของลอดช่องสิงคโปร์คือกะทิ แป้งปั้นเป็นรูปแท่งใส่สีเขียว โดยปกติมาจากใบเตย น้ำแข็งปั่นและน้ำตาลมะพร้าว ส่วนผสมเพิ่มอื่นๆได้แก่ ถั่วแดง ข้าวเหนียว
เฉาก๊วย ในซุนดา ลอดช่องสิงคโปร์เป็นขนมทำจากแป้งหรือสาคูปั้นเป็นแท่ง กินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลของต้นหมาก ไม่ใส่น้ำแข็ง ในภาษาชวา
เซนดอล หมายถึงส่วนที่เป็นแป้งสีเขียวเท่านั้น ถ้านำเซนดอลมารวมกับน้ำตาลมะพร้าว และกะทิจะเรียกดาเวต ดาเวตที่นิยมมากที่สุดคือ เอส ดาเวตในชวากลาง
ด้วยอิทธิพลจากสิงคโปร์ และอาหารตะวันตก ทำให้มีลอดช่องสิงคโปร์รูปแบบแปลกๆ เช่น กินกับไอศกรีมวานิลลาหรือทุเรียน


ข้อมูลจากวิกิพิเดีย


หัวข้อ: Re: ที่มาของ “ลอดช่องสิงคโปร์”
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 สิงหาคม 2555 00:29:46
โอย... เปิดมาตอนดึก ท้องร้องจ๊อก ๆ