[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 01:41:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ถอดบทเรียน ‘เติมทรายหาดพัทยา’ กู้คืนหาดทองคำที่หายไปหลายสิบปี  (อ่าน 72 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2566 02:16:14 »

ถอดบทเรียน ‘เติมทรายหาดพัทยา’ กู้คืนหาดทองคำที่หายไปหลายสิบปี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-10-31 14:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรื่อง: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หาดพัทยาดำเนินโครงการเติมทรายเพื่อแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งมาเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว  แม้เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ แต่มีคำถามจากภาคประชาสังคมต่อความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของโครงการ เมื่อพบว่าหาดทรายบางส่วนเกิดความเสียหายเพราะน้ำระบายจากตัวเมือง ทั้งยังมีข้อกังวลจากชาวประมงท้องถิ่นเรื่องแหล่งทำกินบนชายหาดที่หดหาย</p>
<p>ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา หาดพัทยา แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งถึงขั้นวิกฤต จนเหลือความยาวหน้าชายหาดเพียง 3 เมตร ได้มีความพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่นจากถุงกระสอบทราย แต่ก็ไม่ได้ผลและส่งผลต่อทัศนียภาพ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299554068_c25dfa9a12_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">มาตรการเสริมกระสอบทรายเพื่อแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งพัทยา</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">เผยแพร่ครั้งแรกในสกู๊ปจากสำนักข่าวคมชัดลึก  เมื่อปี 2556</span></p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยืนยันตรงกันว่า สาเหตุของปัญหากัดเซาะมีทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างสิ่งกีดขวางรุกล้ำบริเวณชายหาดที่เร่งการกัดเซาะรุนแรง เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน ถนนเลียบชายฝั่ง และกำแพงกันคลื่น ซึ่งล้วนแล้วทำลายเนินทรายธรรมชาติ ทำให้กระแสน้ำทะเลเลี้ยวเบน สะท้อนทรายที่เคยมีอยู่หน้าหาดออกไปและไม่กลับมา </p>
<p>การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยกำแพงกันคลื่นโครงสร้างแข็ง มักถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการป้องกันชายฝั่ง และความเสี่ยงที่จะทำลายระบบนิเวศชายหาด</p>
<p>“ในส่วนของพื้นที่ของพัทยา หากเราทำลักษณะโครงสร้างแข็งก็จะไม่สอดคล้องกับบริบทของการท่องเที่ยว ดูแล้วอาจเป็นทัศนะอุจาดด้วยซ้ำไป เราจึงใช้วิธีการเสริมทรายขึ้นบนชายหาด (Beach Nourishment) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ในระดับนานาชาติที่ใช้พัฒนาบูรณะพื้นที่ชายฝั่งทะเล”</p>
<p>เอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา เล่าว่าก่อนที่จะมีโครงการเติมทราย นักท่องเที่ยวที่อ่าวพัทยาจัดว่าบางตามากทีเดียว พวกเขามักจะมุ่งหน้าสู่เกาะล้าน เพราะมีชายหาดราวๆ 6-7 แห่ง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299811395_611c2cb4ef_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">เอกราช คันธโร </span></p>
<p>เมื่อปี 2560 กรมเจ้าท่าจึงทุ่มงบประมาณราว 430 ล้านบาท นำทรายมาเสริมตั้งแต่พัทยาเหนือถึงพัทยาใต้ เป็นระยะทางทั้งสิ้น 2.8 กิโลเมตร กว้าง 35 เมตร โดยใช้แหล่งทรายจากใต้ท้องทะเลลึกด้านทิศตะวันตกของเกาะรางเกวียน</p>
<p>วิธีการนี้เป็นมาตรการแบบอ่อน (Soft Solution) ที่นำทรายจากแหล่งอื่นมาเสริมบนชายหาดที่มีการกัดเซาะเพื่อขยายพื้นที่ชายหาด หรือสร้างชายหาดใหม่</p>
<p>โครงการดังกล่าวสร้างความพึงพอใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ประกอบการโรงแรมไปจนถึงคนขับรถแท็กซี่เพราะทำให้ชายหาดกลับมามีสภาพใกล้เคียงลักษณะเดิมมากที่สุด การคำนวนความคุ้มทุนพบว่างบประมาณที่ลงทุนไปแต่ละบาทในโครงการ จะได้กลับคืนมาประมาณ 37 บาท </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299336546_cd6cee62c8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หาดพัทยา เมื่อ ส.ค. 2566</span></p>
<p>เอกราชให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า โครงการเติมทรายเป็นวิธีที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในทุกด้าน ทั้งด้านสภาพอากาศ มลภาวะ และผลกระทบต่อทะเล แม้โครงการได้รับการยกเว้นการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แต่ก็มีคณะกรรมการระดับจังหวัดให้ความเห็นชอบ และกำกับควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม</p>
<p>ส่วนเรื่องการติดตามผลลัพธ์และซ่อมบำรุง ยังไม่ถึงขั้นต้องซ่อมใหญ่หรือเติมทรายใหม่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เนื่องจากอัตราการกัดเซาะพื้นที่ยังถือว่าน้อย เฉลี่ยต่อปีประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร</p>
<p>ส่วนการกัดเซาะอย่างมีนัยสำคัญจะเกิดในกรณีมีคลื่นลมแรงหรือพายุใหญ่ ซึ่งก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก</p>
<p>“พัทยาถ้าไม่เติมทราย คลื่นมาถึงถนนมันก็อยู่ไม่ได้ จะสั่งย้ายเมืองก็ไม่ได้ ต้องหารูปแบบที่เหมาะสม” </p>
<p>อีกเสียงจาก ปรานต์ ดิลกคุณากุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นด้วยกับมาตรการเติมทรายเช่นกัน เพราะการทำโครงการพัฒนาต้องคำนึงถึงหลายมิติ ถ้าจะใช้การปักไม้ ก็อาจสร้างปัญหาทางทัศนียภาพ ถ้าใช้การถอยร่นอาคารหรือเวนคืน ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะพื้นที่มีความเป็นเมืองสูง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299813220_7098d51f87_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ปรานต์ ดิลกคุณากุล</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรื่องต้องจับตา</span></h2>
<p>การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นจุดอ่อนเดียวที่ทำให้โครงการเติมทรายหาดพัทยาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากเป็น “โครงสร้างอ่อน” ที่ไม่ต้องทำ EIA  </p>
<p>“พอไม่มีการทำ EIA มันก็ขาดการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างเคสพัทยา คนขายของ ประมงพื้นบ้าน ไม่ได้เข้ามาให้ความเห็นอย่างเต็มที่” </p>
<p>ดร.สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch ซึ่งเป็นกลุ่มประชาสังคมที่จับตาโครงการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า  EIA มีความสำคัญเพราะช่วยคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากการพัฒนาโครงการ และหาทางป้องกันให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299336571_b9de517f54_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สมนึก จงมีวศิน</span></p>
<p>ในอดีต ก่อนจะสร้างกำแพงกันคลื่นต้องผ่านการทำ EIA แต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การสร้างกำแพงกันคลื่นไม่ต้องผ่านการทำ EIA ในปี 2556 ส่งผลให้กำแพงกันคลื่นผุดขึ้นมากกว่า 125 โครงการทั่วประเทศ งบประมาณก่อสร้างก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน</p>
<p>เมื่อเดือน ธ.ค. 2565 กลุ่มภาคประชาสังคม Beach for Life และเครือข่ายอนุรักษ์ชายหาดปักหลักชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยหนึ่งในข้อเรียกร้องคือให้รัฐบาลนำ EIA กลับมาบังคับใช้กับการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น </p>
<p>จนกระทั่งวันที่ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ EIA นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง</p>
<p>อย่างไรก็ดีประกาศกระทรวงดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างแข็งเท่านั้น ยังไม่รวมถึงการเติมทรายที่เป็นโครงสร้างอ่อน</p>
<p>ในกรณีของหาดพัทยา พบข้อมูลในบันทึกการประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้แทนกรมเจ้าท่าให้ข้อมูลต่อ กมธ. ว่า แม้จะไม่ต้องทำ EIA สำหรับโครงการเติมทราย แต่ก็มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโดยเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร รวมทั้งทำมาตรการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งม่านดักตะกอนที่เกิดจากการถมทราย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299811400_448f354c50_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หาดจอมเทียน  อีกหนึ่งหาดใน จ.ชลบุรี ที่มีโครงการเติมทรายโดย กรมเจ้าท่า</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ถ่ายเมื่อ ส.ค. 2566</span></p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีคำถามถึงความยั่งยืนของโครงการ อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach For Life ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ว่าทุกๆ ครั้งที่ฝนตกหนัก น้ำจากเมืองจะไหลลงทะเลผ่านชายหาดลงทะเล ทำให้ทรายที่เติมบนหาดได้รับความเสียหาย เกิดการกัดเซาะเป็นทางน้ำตัดผ่านบริเวณทรายที่เติมทรายไป</p>
<p>โดยเมืองพัทยามอบหมายให้ฝ่ายเครื่องจักรกล สำนักช่างสุขาภิบาล ดำเนินการปรับพื้นที่ชายหาดให้พร้อมสำหรับฤดูกาลนักท่องเที่ยวที่จะมาถึงนี้ </p>
<p>อนุวัตร ทองคำ ผู้อำนวยสำนักการช่างสุขาภิบาล กล่าวว่า ชายหาดเสียหายบ่อยครั้งในช่วงหน้าฝน และการปรับพื้นที่หาดมักทำในเวลากลางคืนเพราะต้องการหลีกเลี่ยงนักท่องเที่ยวในตอนกลางวัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53298442057_a83d54efd5_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ความเสียหายหาดพัทยา เมื่อวันที่ 10 ต.ค. </span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพโดย ทิวากร กฤษมณี</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299896090_af04388791_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">การปรับภูมิทัศน์ฟื้นฟูหาดพัทยาเมื่อ 10 ต.ค. </span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">จากเฟซบุ๊ก สำนักช่างสุขาภิบาล เมืองพัทยา</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสียงจากคนยังชีพริมหาด</span></h2>
<p>“เขาพยายามไม่ให้เราเข้าไปจอดเรือบริเวณเก่า อ้างว่ามันเป็นแหล่งท่องเที่ยว หาดจะไม่สวยงาม รกหูรกตา มีเรือประมงพื้นบ้าน มีอุปกรณ์การทำประมงมาวางเกะกะ”</p>
<p>อมรศักดิ์ ปัญญาเจริญศรี นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน จ.ชลบุรี กล่าวถึงผลกระทบจากโครงการเติมทรายหาดพัทยาและหาดจอมเทียน ทั้งมาตรการจำกัดบริเวณการจอดเรือประมงด้วยเหตุผลทางทัศนียภาพ และระบบนิเวศสัตว์น้ำที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากการขุดทรายในทะเลมาใช้ในโครงการ</p>
<p>“เวลาดูดทรายขึ้นมาน้ำทะเลก็จะสีขุ่น ขุ่นเป็นสีอะไรก็ขึ้นกับตะกอนเลนหรือหาดทรายในพื้นที่นั้น น้ำทะเลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเต้าหู้ หรือน้ำซาวข้าว อันนั้นแหละน่ากลัว แล้วความขุ่นของตะกอนเลนจะส่งผลต่อความโปร่งแสง แสงจะไม่ลงไปกระทบกับหน้าดิน กระทบกับสัตว์น้ำวัยอ่อนอีกเหมือนกัน” </p>
<p>สำหรับชาวประมงท้องถิ่นผู้หากินไม่ไกลฝั่ง ความเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลเปรียบได้กับการทุบบ้านเขาทิ้ง เมื่อเรือไม่สามารถนำขึ้นลงฝั่งแบบเดิม วิถีทำกินก็เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้รายได้ลดลง</p>
<p>เขาเสนอให้ภาครัฐส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประมงเหมือนกับญี่ปุ่น เช่น ทำลานจอดเรือ หรือบริเวณที่อนุญาตให้ดึงเรือขึ้นลงฝั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประมงท้องถิ่นยังชีพได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวก็ได้ซื้ออาหารทะเลราคาถูกจากชาวประมงโดยตรง</p>
<p>ด้าน สมาธิ ธรรมศร นักวิชาการด้านฟิสิกส์ประยุกต์และโลกศาสตร์ กล่าวว่าการเติมทรายบนชายหาด เป็นหนึ่งในวิธีบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ แต่ถ้าทำไม่ถูกหลักวิชาการก็อาจเกิดผลกระทบบางประการตามมาภายหลัง</p>
<p>“การเติมทรายบนชายหาดต้องคำนึงถึงทรายที่อาจไหลลงทะเลไปรบกวนสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น สัตว์ทะเล พืชทะเล ปะการัง เพราะทรายที่ฟุ้งกระจายในน้ำอาจบดบังแสงอาทิตย์ ลดทอนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชทะเล และตกทับถมสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นทะเลได้”</p>
<p>สมาธิ ยังกล่าวด้วยว่า </p>
<p>“การเติมทรายบนชายหาดต้องดำเนินการตามมาตรฐานการคัดเลือกและบีบอัดทราย (selection and compaction) เพราะถ้าทรายที่เลือกมามีขนาดแตกต่างกับทรายเดิมมากเกินไปจะทำให้เกิดการแยกชั้นของทรายใหม่กับทรายเก่า ทรายที่เติมลงไปจึงถูกน้ำกัดเซาะได้ง่ายหรืออาจถูกลมพัดพาไป ต้องคำนึงว่าสีของทรายใหม่เข้ากับทรายเก่าบนชายหาดหรือไม่”</p>
<p>เล็ก – ผู้ประกอบการร่มเตียงริมหาดพัทยา เล่าว่าหลายปีก่อนที่จะมีการเติมทราย คลื่นแรงกัดเซาะขึ้นมาถึงฟุตบาทในบริเวณที่เธอทำมาหากิน แต่ไม่ถึงกับสูญเสียรายได้ เพราะน้ำจะลดลงภายใน 1-2 ชั่วโมง แล้วเธอก็สามารถกางร่มเตียงได้ตามปกติ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53298473142_676dc4fb47_b.jpg" /></p>
<p>ตั้งแต่มีโครงการเติมทราย เธอและคนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากฝุ่นทราย โดยเฉพาะในช่วงที่พายุเข้า วันไหนฝุ่นเยอะก็ทำได้เพียงใส่แมสก์ และไม่แน่ใจว่าในระยะยาวจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร </p>
<p>“ทรายอันนี้จะละเอียดกว่าของเดิม แล้วเวลาลมพัดมามันจะคล้ายเป็นฝุ่น ทรายปนฝุ่น…อย่างป้าเองวันไหนลมแรงฝุ่นเยอะๆ เวลากลับบ้านก็มีเสมหะ ก็จะออกมาเป็นดำๆ เลย”</p>
<p>ขณะที่ รศ. ดร.เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าในขั้นแรกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างฝุ่นในอากาศไปวิเคราะห์ก่อนว่าเป็นฝุ่นจากที่ใด มีความเป็นพิษมากน้อยเพียงใด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53299811420_cd72200fed_b.jpg" /></p>
<p>ถ้าเป็นฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่โครงการเพิ่งสร้างเสร็จ ก็อาจคาดเดาได้ว่าเป็นฝุ่นละอองที่เกิดจากทรายที่นำมาเติมบนหาด เนื่องจากเมื่อนำทรายจากใต้ทะเลขึ้นมาอยู่บนหาด สารอินทรีย์ที่อยู่ในทรายอาจผ่านกระบวนการกัดกร่อนจนหลุดจากการยึดเหนี่ยว (binding) กลายเป็นละอองฝุ่นขนาดเล็ก (particle)</p>
<p>แต่ในปัจจุบันยังคงมีฝุ่นแม้เวลาจะผ่านมาหลายปีแล้ว จึงไม่สามารถเดาได้ว่าเป็นฝุ่นจากที่ใด</p>
<p>“เยียวยาอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ต้องมีมาตรการทางสุขภาพด้วย” </p>
<p>อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการเยียวยาต่อเรื่องดังกล่าว เช่น มีการแจกแมสก์ให้คนที่อยู่ริมหาดเป็นประจำ หรือ มีการตรวจสุขภาพปอดทุกๆ 6 เดือน</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>รายงานพิเศษชุดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Internews’ Earth Journalism Network</strong></span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106591
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 134 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 151 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 185 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 160 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ถอดบทเรียน การผนึกกำลังต่อสู้ของ 'คนจนเมืองเขตหล่ายตายา นครย่างกุ้ง' ภายใต้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 32 กระทู้ล่าสุด 18 มีนาคม 2567 17:38:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.224 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤศจิกายน 2566 07:57:43