[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 23:12:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เตือนภาวะเงินฝืดจีนยืดเยื้อเกิน 6 เดือน กระทบเศรษฐกิจไทยและอาเซียน  (อ่าน 47 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2567 19:27:59 »

เตือนภาวะเงินฝืดจีนยืดเยื้อเกิน 6 เดือน กระทบเศรษฐกิจไทยและอาเซียน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-11 16:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการเตือนภาวะเงินฝืดจีนยืดเยื้อเกิน 6 เดือน กระทบเศรษฐกิจไทยและอาเซียน เร่งรัดพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-เขมร เชื่อมรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินสู่เวียดนาม</p>
<p>11 ก.พ. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มีการคาดการณ์ว่าภาวะเงินฝืดและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงของจีนมีโอกาสยืดเยื้อไปได้อีกเกิน 6 เดือนถึงหนึ่งปี และ ยุคสมัยของความรุ่งเรืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า 10% ของจีนได้จบลงแล้ว จีนอาจไม่ได้เผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยยาวนานเหมือนญี่ปุ่นเคยเผชิญเนื่องจากจีนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่า มีตลาดภายในใหญ่กว่า ตอบสนองต่อพลวัตปัญหาวิฤติฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการลงทุนได้เร็ว และยังมีความพร้อมทางด้านการคลังการเงินในการผ่อนคลายและอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ แม้นหนี้สาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ในสัดส่วนที่สูงก็ตาม </p>
<p>อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดที่ค่อนข้างรุนแรงของจีน โดยมีอัตราเงินเฟ้อติดลบมาอย่างต่อเนื่อง อุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิต ทำให้อุปสงค์ภายในจีนที่ยังอ่อนแอไม่สามารถดูดซับได้ จึงมีการส่งออกสินค้าต่างๆในราคาถูกมากทุ่มตลาดมายังไทยและอาเซียน ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศของไทยและอาเซียน กดดันให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและติดลบในบางประเทศ จีนส่งออกภาวะเงินฝืดผ่านการทุ่มตลาด การที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้เกิดสภาวะ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคชะลอการซื้อเพราะคาดว่าราคาจะปรับลดลงอีก ผู้ผลิตชะลอการผลิตเพราะขายไม่ได้ราคา ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นเมื่อมีอุปทานสูง (มีส่วนเกินของผลผลิตมากจากการลงทุนส่วนเกินหรือลงทุนอย่างไม่ระมัดระวัง) มีอุปสงค์ต่ำ (การบริโภคลดลงมาก) หรือ อุปทานเงินลดลงและดอกเบี้ยสูง ภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อลดต่ำลงดังกล่าวยังเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ผลิตภาพของแรงงานและทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การเปิดเสรีที่ทำให้การแข่งขันมากเกินไป ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ ขณะที่ภาระหนี้แท้จริงของลูกหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าแท้จริงของหนี้สินสูงขึ้น และ เป็นภาวะที่คนที่ถือเงินสดได้ประโยชน์เพราะอาจเกิดโอกาสของการลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำได้มากขึ้น </p>
<p>ดัชนีหุ้น CSI300 ของจีนปรับตัวลดลงแล้วไม่ต่ำกว่า 40% เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในปี พ.ศ. 2564 ทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตล้วนปรับตัวติดลบ ในส่วนของดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา 16 เดือนติดต่อกัน ตัวเลขล่าสุดเดือนมกราคมดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวลดลงติดลบ -2.5% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคาติดลบเป็นเดือนที่สี่เหมือนประเทศไทย โดยจีนมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ -0.8% ไทยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ -1.1% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินฝืดและอัตราเงินเฟ้อติดลบในจีนนั้นย่ำแย่กว่าไทย แม้นติดลบต่อเนื่องสี่เดือนเหมือนกัน แต่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปีที่แล้วของจีนติดลบ ขณะที่ไทยยังคงเป็นบวกอยู่ สถานการณ์เงินเฟ้อจีนติดลบจะส่งผลให้สินค้าราคาถูกมากหลากหลายชนิดทะลักเข้าตลาดไทยและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้กิจการขนาดย่อมและขนาดเล็กที่ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนต้องออกจากตลาดไป  </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าการเจรจาทางเศรษฐกิจ การทำข้อตกลงเศรษฐกิจและการทำความร่วมมือด้านต่างๆระหว่างไทยกับกัมพูชาจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน การขยายตัวตามแนวชายแดนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนมากขึ้น ความสัมพันธ์ที่ดีของสองประเทศจะนำมาสู่การเจรจาเพื่อพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ให้กับทั้งสองประเทศ การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการกับมาเลเซียจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของประเทศในอนาคต สามารถลดราคาพลังงานได้ในระยะยาว ลดต้นทุนภาคการผลิตและการดำเนินชีวิตของประชาชน สามารถทดแทนการนำเข้าพลังงาน ส่งผลบวกต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน หากไม่ตัดสินใจดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน Overlapping Claims Area ตอนนี้แล้ว มูลค่าทรัพยากรพลังงานที่ได้จากพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวจะลดมูลค่าลงไปเรื่อย ๆ ในช่วงสามทศวรรษข้างหน้า จนกระทั่งในที่สุด ทรัพยากรธรรมชาติแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนเหล่านี้อาจไม่คุ้มทุนที่จะสำรวจขึ้นมาใช้ ตนจึงขอเสนอให้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. เสนอให้มีการทำบันทึกความเข้าใจเฉพาะเรื่องการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกัมพูชาเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยแยกเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในเรื่องเขตแดนที่ยังตกลงกันไม่ได้ออกไปก่อน 2. จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศ (ไทยและกัมพูชา) ในการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน 3. เสนอให้มีการจัดจ้างบริษัทเชี่ยวชาญระดับโลกทำการสำรวจทางธรณีวิทยาเพื่อยืนยันศักยภาพทางด้านทรัพยากรปิโตรเลียมของพื้นที่ทับซ้อน 4. เริ่มต้นทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2570-2572 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานและราคาพลังงานถูกลงซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันของสองประเทศ </p>
<p>โลกจะเผชิญวิกฤติภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นตามลำดับ การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกรุนแรงขึ้น และ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีพลังงาน ความก้าวหน้าของพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานปิโตรเลียมในอัตราเร่งเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนให้ดีขึ้น อุปสงค์ต่อพลังฟอสซิลแบบดั้งเดิมจะลดลงอย่างมากในอัตราเร่งในทศวรรษหน้า เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนของข้อตกลงระดับโลกต่างๆ จะทำให้ แหล่งพลังงานดั้งเดิม ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน มีมูลค่าลดลง หากไม่สำรวจและขุดมาใช้ในเวลาที่เหมาะสมจะเกิดการสูญเสียโอกาสการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาโครงการจะลดลงตามลำดับ ภัยคุกคามต่อมนุษยชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อพลวัตของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานในอนาคต จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงขอเสนอให้ใช้ Green New Deal แก้วิกฤติโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ระบบการใช้พลังงาน จากข้อมูลของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) บ่งชี้ตรงกันว่า โลกมีเวลาอีกเพียง 10 กว่าปีเท่านั้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกมีแนวโน้มเกินขีดจำกัด 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปีฐานในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมโดยเกิดขึ้นตลอดทั้งปีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึงมกราคม 2567 ความร่วมมือเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์อย่างแท้จริงนั้นเร่งด่วนกว่าที่เคยเป็นมา ทุกเศษเสี้ยวของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่เพิ่มขึ้นคือสภาพอากาศสุดขั้วที่รุนแรงมากขึ้นและระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน สรรพชีวิตบนโลกและการสูญพันธุ์ของสัตว์และพืช รวมทั้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับครัวเรือนยากจนและประเทศยากจนที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจากระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ภาวะขาดแคลนอาหารจากผลผลิตภาคเกษตรลดต่ำลงมาก</p>
<p>ดร.อนุสรณ์ ได้เสนอความเห็นเพิ่มเติม ว่า ควรจะพลักดันให้เกิดโครงการลงทุนเชื่อมโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินผ่านกัมพูชาสู่เวียดนาม ด้วย รวมทั้ง พัฒนาศูนย์วิจัยและนวัตกรรม สถาบันการศึกษาชั้นสูง การพัฒนาและยกระดับท่าเรือน้ำลึกที่มีอยู่แล้วตามระเบียงเศรษฐกิจจากตะวันตกสู่ตะวันออก สิ่งเหล่านี้จะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค และทำให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ยกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมรองรับอุตสาหกรรม 4.0 และ อุตสาหกรรม New S-Curve ได้ดียิ่งขึ้น                         </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108023
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ยูนิเซฟชี้ทารก 1 ใน 3 คนในไทยได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ต่ำกว่าเป้าหมายโลก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 64 กระทู้ล่าสุด 01 สิงหาคม 2566 11:47:16
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ครม. มีมติ ต่อพรก.ฉุกเฉินชายแดนใต้อีก 1 เดือน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 73 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2566 19:11:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ครป.ตรวจการบ้าน ประเมินผลงาน 3 เดือน 'รัฐบาลเศรษฐา'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 81 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2566 13:24:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กสทช. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทดลองใช้ดาวเทียม Starlink 6 เดือน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 80 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2566 13:53:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - โลกเดือดเกินขีดจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก 12 เดือน วอนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 46 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2567 11:46:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 ชั่วโมงที่แล้ว