[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 00:54:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - Rocket Media Lab สำรวจปรากฏการณ์ทัวร์ลง ครึ่งปีหลัง 202 แค่ชาวเน็ตทะเลาะกัน หรือมากกว่านั้  (อ่าน 183 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2566 22:45:05 »

Rocket Media Lab สำรวจปรากฏการณ์ทัวร์ลง ครึ่งปีหลัง 202 แค่ชาวเน็ตทะเลาะกัน หรือมากกว่านั้น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-08-22 21:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>แม้จะพบทัวร์ลงในหมวดหมู่บันเทิงมากที่สุด แต่ทัวร์กลับมีการใช้แนวคิดทางสังคมหลากหลายในการโต้ตอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ เช่น กรณีของดีเจภูมิกับเรื่องส้มตำจานละ 600 บาทที่ออสเตรเลีย หรือกรณีของโตโน่กับเรื่องการใช้อุโมงค์ว่ายน้ำที่จุฬาฯ</li>
<li>ปรากฏการณ์ทัวร์ลง 177 เรื่องอยู่ในหมวดบันเทิงมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบ จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องทัศนคติทางการเมืองมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่า เรื่องทัศนคติทางการเมืองจึงอาจจะเป็นชนวนถกเถียงที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทัวร์ลงมากที่สุดก็ว่าได้ </li>
<li>ลักษณะคอมเมนต์ที่พบมากที่สุดคือการล้อเลียน/เสียดสี ทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน ซึ่งเป็นการปกป้องตนเองจากการถูกฟ้อง และยังแสดงให้เห็นลักษณะของปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่ไม่ได้นำไปสู่ปฏิบัติการใดๆ อย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่น Cancel Culture </li>
<li>แม้เส้นทางของขบวนรถทัวร์เกิดขึ้นที่ต้นเรื่องมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาจาก ‘การชี้ช่อง’ ทั้ง ทัวร์ลงที่ต้นเรื่องจากการชี้ช่องและทัวร์ลงในพื้นที่ที่มีการชี้ช่องรวมกัน จะเห็นได้ว่ามีจำนวนมากกว่า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์ทัวร์ลงอาจเกิดจากการแพร่กระจายของเนื้อหาโดยการ ‘ชี้ช่อง’ มากที่สุด</li>
</ul>
</div>
<p>ปรากฏการณ์ ‘ทัวร์ลง’ เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นบนสังคมโซเชียลมีเดียทั้งของไทยและโลก อันมาพร้อมกับความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Cancel Culture หรือวัฒนธรรมการ ‘แบน’ ที่เพิ่งจะก่อตัวและแพร่หลายหลังเหตุการณ์ #MeToo ซึ่งเริ่มต้นจากการแสดงออกเพื่อต่อต้านการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในวงการฮอลลีวูด ในไทยเองมีการนิยามคำว่า ‘ทัวร์ลง’ ในวิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรีที่ดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ไว้ว่า “โดนคนรุมแสดงความเห็นเชิงลบในสื่อสังคม” อย่างไรก็ตาม ลักษณะ โครงสร้าง และข้อสังเกตที่น่าสนใจในปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียของไทยยังไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก จากบทความเรื่อง ‘ทัวร์ลง’ ในกรุงเทพธุรกิจ โดย นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ให้นิยามของปรากฏการณ์ทัวร์ลงไว้คร่าวๆ ว่า </p>
<p> </p>
<p>“ทัวร์ลง ซึ่งก็คือการที่ผู้เล่นหรือผู้ใช้สื่อดิจิทัลสมัยใหม่โดยเฉพาะในทวิตเตอร์จำนวนมากเข้ามาโพสต์และ/หรือมาดู รูป วิดีโอ และเขียนความคิดเห็น และเขียนความคิดเห็น ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นที่สนใจในสังคมขณะนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประเด็นที่คนที่อยู่ในกลุ่มรู้สึกไม่พอใจและอยากที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จำนวนของคนที่เข้าไปดู คุยกันหรือคอมเมนต์นั้นจะต้องมีจำนวนมาก และมักจะติดอันดับสูงที่สุด 10 อันดับ ในขณะนั้น ส่วนประเด็นที่เกิดขึ้นก็มักจะเป็นเรื่องทางการเมืองและสังคมที่เป็นเรื่อง Controversy คือมีความเห็นที่แตกต่างกันสูงในสังคมของไทย” </p>
<p>ในขณะที่กล้า สมุทวณิช เขียนบทความ เหรียญสองหน้าของปรากฏการณ์ ‘ทัวร์ลง’ ในมติชน โดยกล่าวว่าปรากฏการณ์ทัวร์ลงเป็นสายธารของสิ่งที่เรียกว่า ‘ดราม่า’ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่น่าสนใจก็คือ </p>
<p>“ปรากฏการณ์ทัวร์ลง ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือ หรืออาวุธของคนตัวเล็กตัวน้อย ประชาชนธรรมดาที่รวมกลุ่มกันได้เป็นกลุ่มใหญ่ โดยไม่ได้นัดหมาย จนมีพลังแรงพอที่จะสอดส่อง ทักท้วง ติติงผู้ใช้อำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐทุกระดับให้ต้องฟังเสียงประชาชนเพื่อทบทวนได้ หรือแม้กระทั่งกับทุนใหญ่หลายเจ้าก็ยังต้องเกรงใจคณะทัวร์ชาวเน็ตนี้</p>
<p>“...อาจจะช่วยป้องปรามการแสดงออกที่ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น หรือไม่เคารพในคุณค่าที่สังคมปัจจุบันยอมรับ เช่นการเล่นตลกทางเพศ การเหยียดผิวเหยียดเพศ (ที่บางครั้งมาในรูปของโฆษณาคิดสั้น) รวมถึงการละเมิดสิทธิของผู้คนในเรื่องต่างๆ หรือการลุแก่อำนาจของผู้มีสถานะและอำนาจเหนือกว่าที่ปกติแล้วไม่เคยถูกตรวจสอบ…”</p>
<p>“...ทัวร์ลง ยังช่วยยับยั้งการกระทำที่ไม่เข้าท่าของคนบางประเภทที่อยากดังด้วยวิธีลัด ก็สร้างคอนเทนต์หรือถ่ายคลิปประเภทเรียกร้องความสนใจ เช่น การกลั่นแกล้งก่อความเดือดร้อนในสังคม หรือแม้แต่การรังแก หรือทารุณกรรมสัตว์เพื่อเรียกยอดไลค์ คอนเทนต์ หรือคลิปประเภทนี้ หากมีคนไปเป็นและแชร์กันจนทัวร์มาเยือน ก็อาจจะทำให้มนุษย์อยากดังพวกนี้ดับอนาถต้องปิดเพจหนี หรืออาจจะถูกดำเนินคดีเลยก็ได้ หากการนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมายอาญาสักเรื่องสักบทหนึ่ง”</p>
<p>เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่นับวันจะมีมากขึ้นจนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย Rocket Media Lab จึงเก็บข้อมูลรวบรวมปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2565 จนถึง 31 ธันวาคม 2565 รวมเป็นเวลา 193 วัน (6 เดือน 10 วัน) และนำมาจัดหมวดหมู่ โครงสร้าง ลักษณะ และแยกรายละเอียดต่างๆ เพื่อสำรวจปรากฏการณ์ที่เรียกว่าทัวร์ลงในโซเชียลมีเดียในไทยให้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น </p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ดูข้อมูลพื้นฐานที่นี่ https://rocketmedialab.co/database-controversial-issue</li>
</ul>
</div>
<p>‘ทัวร์ลง’ ในที่นี้ หมายถึงการที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก หรือจำนวนมากผิดปกติจากที่พื้นที่นั้นเคยมีอยู่ เข้ามาเพื่อคอมเมนต์ในเชิงต่อต้าน ด่าทอ เสียดสีหรือคอมเมนต์ในเชิงลบ ในประเด็นที่มีการโต้เถียงกัน จากผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งที่มีส่วนได้เสียหรือไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นนั้น ที่เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก อินสตาแกรม ยูทูบ และเว็บบอร์ด</p>
<p>ในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล สามารถรวบรวมสิ่งที่เรียกว่า ‘ทัวร์ลง’ ได้ 177 เรื่อง จากนั้นนำเอา 177 เรื่องนี้มาแบ่งหมวดหมู่ของเรื่อง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ </p>
<p>1. หมวดบันเทิง เป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปินดารานักร้อง บุคคลในวงการบันเทิง รวมไปถึงผู้มีชื่อเสียงในโลกโซเชียลมีเดีย </p>
<p>2. หมวดการเมือง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง </p>
<p>3. หมวดสังคม เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต การปฏิสัมพันธ์ และบรรทัดฐานทางสังคมต่อเหตุการณ์ต่างๆ </p>
<p>4. หมวดธุรกิจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการบริการ </p>
<p>5. หมวดการศึกษา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งในสถานศึกษาและแนวคิดทางวิชาการ </p>
<p>6. หมวดวัฒนธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม วัฒนธรรมต่างๆ </p>
<p>7. หมวดวิทยาศาสตร์/การแพทย์ เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข</p>
<p>8. หมวดนโยบายรัฐ เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน แก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น </p>
<p>เมื่อแยกหมวดหมู่ของเรื่องจากทั้ง 177 เรื่องที่ทำการเก็บข้อมูลได้แล้ว จากนั้น Rocket Media Lab ได้สำรวจแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบจากโพสต์ที่โดนทัวร์ลง โดยสามารถจำแนกออกเป็น 16 แนวคิด คือ </p>
<p>1. ทัศนคติทางการเมือง เป็นเรื่องมุมมองด้านทัศนคติทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน เชียร์คนละพรรค หรือเชียร์คนละนโยบาย หมายรวมถึงบุคคลทางการเมืองด้วย </p>
<p>2. ความเหมาะสม เป็นมุมมองต่อการกระทำที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมองว่าเหมาะสมหรือไม่ สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ </p>
<p>3. ความเหลื่อมล้ำ เป็นการถกเถียงเรื่องความไม่เท่าเทียมในสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจ ชนชั้น การศึกษา </p>
<p>4. ปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบ เป็นการแสดงความเห็นปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในแวดวงใดก็ตาม </p>
<p>5. จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นการตั้งคำถามกับความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม ไม่ผิดแก่จรรยาบรรณของตน </p>
<p>6. ทัศนคติทางเพศ เป็นการตั้งคำถามต่อมุมมองทางเพศของบุคคล </p>
<p>7. สิทธิมนุษยชน เป็นการตั้งคำถามต่อมุมมองเรื่องสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน </p>
<p>8. ส่อทุจริต เป็นการตั้งข้อสงสัยถึงความไม่ชอบมาพากลในการประกอบธุรกิจ หรือการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ</p>
<p>9. ความเห็นไม่ตรงกัน เป็นเรื่องการถกเถียงกันของกลุ่มคนที่มีฐานคิดของข้อถกเถียงที่ต่างกันในประเด็นนั้นๆ </p>
<p>10. anti-woke เป็นแนวคิดที่ต่อต้านกระแสการตื่นตัวต่อเรื่องอคติและการเลือกปฏิบัติในสังคม โดยมองว่าเป็นแนวคิดที่ล้นเกิน </p>
<p>11. ความโปร่งใส เป็นการตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการดำเนินกิจกรรมหรือนโยบายของรัฐ </p>
<p>12. ชาตินิยม เป็นการถกเถียงกันภายใต้แนวคิดชาตินิยม </p>
<p>13. ศาสนา/ความเชื่อ/ศีลธรรม เป็นการถกเถียงกันเรื่องศาสนา ความเชื่อ หรือความประพฤติที่มีศาสนามาเกี่ยวข้อง </p>
<p>14. ทัศนคติทางเชื้อชาติ เป็นการถกเถียงต่อการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยแบ่งแยกเชื้อชาติ ในที่นี้รวมไปถึงการแบ่งแยกตามตามภูมิศาสตร์ของประเทศ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง </p>
<p>15. วิทยาศาสตร์ ในที่นี้เป็นการถกเถียงเรื่องของการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สาธารณสุข เรื่องสุขอนามัยต่างๆ</p>
<p>16. สิ่งแวดล้อม ในที่นี้เป็นการถกเถียงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด อาทิ ใช้ให้น้อยแต่คุ้มค่า ใช้ให้เหมาะสม ใช้อย่างมีเหตุผล </p>
<p>จากนั้นก็สำรวจลักษณะคอมเมนต์ที่เกิดขึ้นในโพสต์ที่โดนทัวร์ลงทั้ง 177 เรื่อง โดยสามารถแบ่งลักษณะคอมเมนต์ออกเป็น 4 แบบ คือ </p>
<p>1. ล้อเลียน/เสียดสี หมายถึง การที่ทัวร์เข้ามาคอมเมนต์ในเชิงล้อเลียน เสียดสี ยั่วเย้า หรือประชดประชันต่อผู้ถูกทัวร์ หรือต่อเหตุการณ์นั้นๆ </p>
<p>2. ด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ตำหนิติเตียน หมายถึง การที่ทัวร์เข้ามาด่าทอ ตำหนิ ผู้ถูกทัวร์ด้วยคำหยาบคาย</p>
<p>3. สนับสนุน/ปกป้อง หมายถึงการที่ทัวร์เข้ามาคอมเมนต์ปกป้องบุคคลในเหตุการณ์ หรือคอมเมนต์เชิงสนับสนุนบุคคลในเหตุการณ์ที่มีทัวร์ลงเกิดขึ้น</p>
<p>4.โต้เถียงด้วยเหตุผล/ยกเหตุผลเพื่อมาลบล้างหลักการ หมายถึง การที่ทัวร์เข้ามาโต้แย้งเหตุการณ์ หรือประเด็นนั้นๆ ด้วยเหตุผล หรือหลักการอื่นๆ ที่ไม่ใช่หลักการเดียวกันกับต้นโพสต์ </p>
<p>จากนั้น ยังได้สำรวจปฏิกิริยาของผู้ที่ถูกทัวร์ลง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 แบบ ดังนี้</p>
<p>1.ไม่ได้ทำอะไร หมายถึง ผู้ที่ถูกทัวร์ลงไม่ได้ออกมาชี้แจง อธิบาย หรือแก้ไขใดๆ เพียงปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นและจบลงไปเฉยๆ</p>
<p>2. ออกมาอธิบาย/ชี้แจง หมายถึง ผู้ที่ถูกทัวร์ลง ออกมาเขียนอธิบายหรือชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงการเขียนโพสต์ใหม่เพื่ออธิบายเหตุการณ์โดยเฉพาะ หรือไลฟ์สดอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ</p>
<p>3. ลบ/แก้ไข/ปิดคอมเมนต์ หมายถึง ผู้ที่ถูกทัวร์ลงออกมาลบ แก้ไข และปิดคอมเมนต์โพสต์ที่เป็นต้นตอของสิ่งที่ทำให้เกิดทัวร์ลง </p>
<p>4. ออกมาขอโทษ หมายถึง ผู้ที่ถูกทัวร์ลงออกมาเขียนโพสต์ ไลฟ์สด อัดคลิป หรือแถลงข่าวขอโทษ โดยในที่นี้นับเฉพาะกรณีที่ระบุคำขอโทษ และกรณีที่มีการยอมรับผิด </p>
<p>5. มีการฟ้องร้องกัน หมายถึง ผู้ที่ถูกทัวร์ลงฟ้องร้องคู่กรณี รวมไปถึงถูกจับกุม หรือถูกดำเนินคดีด้วย</p>
<p>6. ยกเลิก/ลาออก หมายถึง เหตุการณ์ที่ถูกทัวร์ลงนั้น มีการยกเลิกงาน หรือมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ</p>
<p>สุดท้าย คือการสำรวจเส้นทางการมาของทัวร์ว่ามีรูปแบบอย่างไร โดยสามารถจำแนกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ </p>
<p>1. ทัวร์ลงที่ต้นเรื่อง หมายถึง บุคคลต้นเรื่องก่อให้เกิดทัวร์ลงด้วยตนเอง โพสต์เอง และภายหลังทัวร์ลงที่โพสต์นั้น </p>
<p>2. ทัวร์ลงที่ต้นเรื่องจากการชี้ช่อง หมายถึง บุคคลต้นเรื่องโพสต์หรือทำบางสิ่งบางอย่าง ต่อมามีบุคคลหรือสื่อนำเรื่องราวไปขยายต่อ ทัวร์จึงกลับมาหาบุคคลต้นเรื่องหรือโพสต์นั้นๆ </p>
<p>3. ทัวร์ลงในพื้นที่ที่มีการชี้ช่อง หมายถึง มีบุคคลหรือสื่อนำเรื่องราวไปรายงาน/เขียนถึงในที่สาธารณะ ต่อมามีทัวร์ไปลงในพื้นที่ที่มีการเขียนรายงานถึง </p>
<p>4. ทัวร์ลงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับต้นเรื่อง หมายถึง มีเรื่องราวหรือเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่ทัวร์ไม่ทราบพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลที่จะถูกทัวร์ลง ต่อมาทัวร์จึงไปลงในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นต้นเรื่องแทน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทัวร์ลงหมวดบันเทิงมากที่สุด แต่ใช่ว่าคนไทยบ้าดารา</span></h2>
<p>หมวดหมู่ทั้งหมดที่พบในปรากฏการณ์ทัวร์ลง จำนวน 177 เรื่อง</p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53134457574_246e073a39_b.jpg" /></p>
<p>จากปรากฏการณ์ทัวร์ลงทั้ง 177 เรื่อง เมื่อนำมาแยกหมวดหมู่พบว่ามีหมวดบันเทิงมากที่สุด จำนวน 61 เรื่อง คิดเป็น 34.46% รองลงมาอยู่ในหมวดการเมือง จำนวน 38 เรื่อง คิดเป็น 21.47% ตามมาด้วยหมวดสังคม 35 เรื่อง คิดเป็น 19.77% โดยหมวดที่น้อยที่สุดที่พบคือเรื่องนโยบายรัฐ พบเพียง 3 เรื่อง คิดเป็น 1.69%</p>
<p>ในหมวดบันเทิงซึ่งมีทัวร์ลงมากที่สุด พบว่าแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบมากที่สุดคือปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบ จำนวน 14 เรื่อง รองลงมาคือ ความเหมาะสม 11 เรื่อง ตามมาด้วย ความเหลื่อมล้ำ 9 เรื่อง โดยแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบน้อยที่สุดคือเรื่องความโปร่งใส จำนวน 1 เรื่อง ศาสนา/ความเชื่อ/ศีลธรรม 1 เรื่อง สิ่งแวดล้อม 1 เรื่อง และสิทธิมนุษยชน 1 เรื่อง</p>
<p>ตัวอย่างทัวร์ลงในหมวดบันเทิงที่ใช้แนวความคิดปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบในการโต้ตอบ เช่น ข่าวอิงฟ้า วราหะ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2022 หนีเที่ยวสิงคโปร์โดยไม่บอกต้นสังกัด โดยหลังจากเจ้าของเวทีมิสแกรนด์ ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ไลฟ์ขอให้ผู้ที่พาอิงฟ้าไปหยุดการกระทำดังกล่าว แฟนคลับของนางงามต่างเข้าไปทัวร์ลงบนอินสตาแกรมของ ติ๊นา ศุภนาฎ จิตตลีลา ซึ่งคาดว่าเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึง ลักษณะคอมเมนต์เป็นการแสดงความไม่พอใจ ตำหนิติเตียนพฤติกรรมของติ๊นาที่พาอิงฟ้าหนีเที่ยวจนดูเหมือนไม่มีความเป็นมืออาชีพและปกป้องอิงฟ้าที่ถูกลากเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องวุ่นวาย เช่น "พักนะคะ ถอยออกมา อย่าไปอะไรกับพี่ฟ้า ขอพี่ฟ้าคืนได้ไหม" อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ทัวร์ลงของติ๊นาจบลงโดยที่ติ๊นาไม่ได้ออกมาอธิบายหรือชี้แจงใดๆ </p>
<p>อันดับสองคือหมวดการเมือง โดยแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบมากที่สุดคือทัศนคติทางการเมือง จำนวน 34 เรื่อง ตามมาด้วยความเหลื่อมล้ำ จำนวน 1 เรื่อง ชาตินิยม 1 ทัศนคติทางเพศ 1 เรื่อง และปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบ 1 เรื่อง ตัวอย่างทัวร์ลงในหมวดหมู่การเมืองที่ใช้ทัศนคติทางการเมืองในการโต้ตอบ เช่น กรณีของแทนคุณ จิตต์อิสระ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในขณะนั้น ถูกทัวร์ลงหลังโพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กว่าส่งลูกชายไปเรียนแคนาดา ขณะที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียคอมเมนต์ถามเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมือง อาทิ “แคนาดาให้ที่พักพิงให้ทุนให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมืองโดยเฉพาะ 112 หลายคนเลยนะคะ” หรือ “ทำไมไม่เรียนเมืองไทย ไม่รักชาติเหรอ” ซึ่งลักษณะข้อความดังกล่าวถูกจัดประเภทว่าเป็นการล้อเลียน/เสียดสี </p>
<p>อันดับที่สามคือหมวดสังคม โดยแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบมากที่สุดเป็นเรื่องความเหมาะสม 11 เรื่อง ตามมาด้วยความเหลื่อมล้ำ 4 เรื่อง สิทธิมนุษยชน  4 เรื่อง และที่พบน้อยที่สุดเป็นเรื่องทัศนคติทางเพศ 1 เรื่อง ศาสนา/ความเชื่อ/ศีลธรรม 1 เรื่อง สิ่งแวดล้อม 1 เรื่องและ anti-woke จำนวน 1 เรื่อง ตัวอย่างทัวร์ลงในหมวดหมู่สังคมที่ใช้แนวคิดเรื่องความเหมาะสมในการตอบโต้ เช่น กรณีของเพจ “ที่นี่ห้วยปริก” ซึ่งโพสต์ข้อมูลประชาสัมพันธ์โครงการการยกระดับเศรษฐกิจ​และสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า “เทคนิคการขายสินค้าออนไลน์ By พี่หลวงกาโตะ” โดยมีรูปนายพงศกร จันทร์แก้ว หรือหลวงพี่กาโตะ อดีตพระนักเทศน์ชื่อดังที่เคยมีคลิปเสียงฉาวและมีความสัมพันธ์กับสีกาในรถ ที่ปัจจุบันสึกและผันตัวมาเป็นพ่อค้าออนไลน์ หลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป มีคนจำนวนมากเข้าไปทัวร์ในเพจ โดยชี้ว่าผู้จัดเลือกคนไม่เหมาะกับงาน เช่น “พิจารณาความเหมาะสมหน่อยครับ อันนี้คือมีชื่อเสียงจากความเสื่อมเสีย ส่วนตัวคิดว่าระดับมหาวิทยาลัยน่าจะหาวิทยากรได้ดีกว่านี้นะครับ” ต่อมา เพจลบโพสต์ดังกล่าวออกแต่ไม่ได้ชี้แจงว่างานนี้จะยังจัดต่อไปหรือไม่</p>
<p>จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า แม้เรื่องทัวร์ลงจะเกิดขึ้นในหมวดบันเทิงมากที่สุด ซึ่งในทางหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนบันเทิงยังเป็นจุดสนใจของคนในสังคมเสมือนดังเช่นข่าวบันเทิงทั่วไป หรือคนบันเทิงที่มีแฟนคลับให้การสนับสนุน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบมากที่สุดในหมวดบันเทิงคือการปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบ ซึ่งก็คือการที่แฟนคลับเป็นตัวการหลักในความเคลื่อนไหวของทัวร์ลงในแต่ละครั้ง </p>
<p>แต่สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบรองลงมาในหมวดบันเทิงคือความเหมาะสม ซึ่งมีจำนวนไม่ห่างจากอันดับหนึ่งมากนัก สะท้อนให้เห็นว่าไม่ใช่แค่คนที่สนใจข่าวดาราหรือแฟนคลับเท่านั้น ที่เป็นตัวการในการขับเคลื่อนทัวร์ลงในหมวดบันเทิง แต่ยังอาจหมายรวมคนทั่วไปที่อาจจะไม่ได้สนใจในเรื่องราวของดาราหรือเป็นแฟนคลับ แต่ขึ้นขบวนรถทัวร์พร้อมกับแนวความคิดเรื่องความเหมาะสม มีเกณฑ์บรรทัดฐานทางสังคมบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมารยาท จริยธรรม ฯลฯ เพื่อตัดสินการกระทำของผู้ที่ถูกทัวร์ลง ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่เกาะเกี่ยวผู้คนทั่วไปกับการทัวร์ลงในหมวดหมู่บันเทิง โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนั้นๆ เป็นการเฉพาะเช่นการเป็นแฟนคลับ</p>
<p>มากไปกว่านั้นก็คือ แม้จะเป็นทัวร์ลงในหมวดหมู่บันเทิง แต่เรายังได้เห็นการโต้ตอบของทัวร์โดยใช้แนวคิดอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ เช่น กรณีของดีเจภูมิกับเรื่องส้มตำจานละ 600 บาทที่ออสเตรเลีย หรือกรณีของโตโน่กับเรื่องการใช้อุโมงค์ว่ายน้ำที่จุฬาฯ ซ้อมว่ายน้ำก่อนจะว่ายจริงในแม่น้ำโขง หรือแม้กระทั่งประเด็นเรื่องความโปร่งใส, ศาสนา/ความเชื่อ/ศีลธรรม, สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแนวความคิดเชิงสังคมที่ถูกนำมาใช้โต้ตอบในขบวนทัวร์ลง แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ของหมวดบันเทิงก็ตาม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทัศนคติทางการเมืองยังเป็นเรื่องที่ใช้โต้ตอบถกเถียงกันมากที่สุด</span></h2>
<p style="margin-bottom:0in; margin:0in 0in 8pt">แนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบ</p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53134253826_77942b2ea1_b.jpg" /></p>
<p style="margin-bottom:0in; margin:0in 0in 8pt"><span lang="TH" style="font-family: &quot;Angsana New&quot;, serif;" xml:lang="TH"><span style="font-size: 14.6667px;"> </span></span>จากปรากฏการณ์ทัวร์ลงทั้ง 177 เรื่อง เมื่อนำมาแยกแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบ จะพบว่ามีการใช้แนวความคิดเรื่องทัศนคติทางการเมืองมากที่สุด จำนวน 43 เรื่อง คิดเป็น 24.29% รองลงมาคือความเหมาะสม 23 เรื่อง คิดเป็น 12.99% ตามมาด้วยความเหลื่อมล้ำ 20 เรื่อง คิดเป็น 11.30% โดยแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบน้อยที่สุดคือทัศนคติทางเชื้อชาติ วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม อย่างละ 3 เรื่อง คิดเป็นเรื่องละ 1.69% เท่ากัน</p>
<p>จากแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบเป็นเรื่องทัศนคติทางการเมืองมากที่สุด จำนวน 43 เรื่อง เมื่อนำมาพิจารณาต่อจะพบว่าอยู่ในหมวดการเมืองมากที่สุด จำนวน 34 เรื่อง ตามมาด้วยหมวดบันเทิง 5 เรื่อง และหมวดสังคม 2 เรื่อง ยกตัวอย่างเช่น กรณีดราม่า #แบนนันยาง ขึ้นแฮชแท็กในทวิตเตอร์หลังโปรโมตรองเท้าแตะช้างดาวพริ้ง แต่โดนโยงการเมือง โดยเรื่องราวเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 วงเกิร์ลกรุ๊ปสัญชาติเกาหลีอย่าง BLACKPINK คัมแบคด้วยเพลง Pink Venom เพจนันยาง Nanyang จึงเขียนโพสต์ว่า “ถ้าเพลงใหม่ #BLACKPINK ยอดวิวถึง 80 ล้านใน 24 ชม. จะผลิตช้างดาวสีชมพูดำ” ปรากฏว่ายอดวิวของเพลงนี้ถึง 80 ล้านวิวใน 24 ชั่วโมงตามที่ระบุไว้ เพจรองเท้านันยางจึงประกาศจะผลิตรองเท้าดังกล่าว ทั้งยังลงรายละเอียดช้างดาวพริ้งไว้ว่า “Fact 24 ข้อก่อนซื้อช้างดาวพริ้ง” ซึ่งในข้อ 20 ระบุว่า “รองเท้าแตะสีชมพูดำจะไม่ผลิตอีกภายใน 8 ปี (พ.ศ. 2573)” ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว กำลังมีประเด็นทางการเมืองว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีหรือไม่ โดยเพจต่างๆ ต่างก็เล่นมุก หรือโปรโมทสินค้าโดยอ้างอิงถึงตัวเลขนี้ เช่น ร้านจ๊อปูบางแสนโพสต์ถึงความอร่อย 8 ปี ดังนั้นชาวเน็ตที่มาทัวร์ลงจึงเชื่อว่านี่คือการแซะเรื่องของการเมืองของนันยาง จนเกิดแฮชแท็ก #แบนนันยาง ขึ้น หลังมีดราม่าออกมา ผู้จัดการทั่วไปของนันยางออกมาชี้แจงว่าตัวเลขไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง “สินค้ารุ่นลิมิตเตดของเรา (ทุกๆ รุ่น) มีคำถามว่า จะผลิตอีกไหม แต่ละรุ่นเราจะไม่ผลิตอีก อย่างที่เราบอกว่าช้างดาวพริ้งจะไม่ผลิตอีก แต่ถ้าเราบอกว่าจะไม่ผลิตสีชมพูกับดำอีก ก็จะเป็นการผูกมัดเลยไป ก็เลยคิดว่าต้องกำหนดเวลา” อย่างไรก็ตามกรณีนี้ชาวเน็ตบางส่วนมองว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของการเปิดขายแบบลิมิเต็ดที่นานๆ จะมีทีทำให้เกิดแฮชแท็กให้กำลังใจนันยางขึ้นมาด้วยแฮชแท็ก #saveนันยาง</p>
<p>แนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบอันดับที่สองคือความเหมาะสม 23 เรื่อง ซึ่งพบในหมวดบันเทิง จำนวน 11 เรื่อง หมวดสังคม 11 เรื่อง และหมวดธุรกิจ 1 เรื่อง ยกตัวอย่างในหมวดบันเทิง เช่น กรณีของลีน่าจัง เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 65 ที่ถูกวิจารณ์ว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุกคามทางเพศและไม่ให้เกียรติ โดยขณะไลฟ์ขายของร่วมกับนักแสดงยุ่น ภูษณุ วงศาวณิชชากร ลีน่าจังดมรักแร้ของนักแสดงหนุ่มโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอม เรื่องนี้ทำให้เกิดแฮชแท็ก #แบนลีน่าจัง ขึ้นในโลกออนไลน์ และเมื่อพิจารณาลักษณะคอมเมนต์ของทัวร์พบว่ามีทั้งด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ตำหนิติเตียนบุคคลในเหตุการณ์ โต้เถียงด้วยเหตุผล/ยกเหตุผลเพื่อมาลบล้างหลักการเพื่อปกป้องบุคคลในเหตุการณ์อย่างดาราชาย รวมไปถึงคอมเมนต์เพื่อปกป้องดาราหนุ่มอีกด้วย </p>
<p>แนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่พบเป็นอันดับสามคือเรื่องความเหลื่อมล้ำ จำนวน 20 เรื่อง ซึ่งพบในหมวดบันเทิงมากที่สุด 9 เรื่อง สังคม 4 เรื่อง ตามด้วยหมวดธุรกิจ 3 เรื่อง เช่น กรณีดราม่า สาวโพสต์ตามหาช่างแต่งหน้า ทำผม เรตราคาหลักร้อยในหมวดสังคม โดยเรื่องเกิดจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเข้าไปโพสต์ในกลุ่ม “หาช่างแต่งหน้า-ทำผม สำหรับงานถ่ายแบบ งานพิธี รับปริญญา งานแต่ง งานอีเว้นท์ฯ” ว่า “ตามหา หาช่างแต่งหน้าหัวละ 300 บาท ช่างทำผม หัวละ 200 บาท งานเลี้ยงบริษัทจำนวน 30-40 คน โดยประมาณ งาน 31 ธันวาคม แถวๆ อยุธยาค่ะ” ในวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งทัวร์ที่เข้ามาลงเพราะมองว่ากดราคา ดูถูกวิชาชีพ ขณะที่บางส่วนใช้วิธีล้อเลียนขบขันโดยบอกว่าให้ไปแต่งหน้ากับ จิ๊ก เนาวรัตน์ ซึ่งเป็นนักแสดงที่มักแต่งหน้าให้ศพ ขณะที่บางคนก็เข้ามาให้กำลังใจเจ้าของโพสต์ ต่อมา เจ้าของโพสต์ได้เขียนชี้แจงถึงเหตุผลที่ต้องประหยัดงบหลังจากถูกทัวร์ลง </p>
<p>นอกจากนี้แนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบที่น่าสนใจที่สำรวจพบคือเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยพบ 10 เรื่อง แบ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย 4 เรื่อง ละเมิดสิทธิ 3 เรื่อง สิทธิคนพิการ 2 เรื่องและสิทธิเด็ก 1 เรื่อง เช่น กรณีที่ทัวร์มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของครูสาวดาวติ๊กต็อกซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคนที่เจอทัวร์ลงหลังอัปคลิปพานักเรียนไปตัดผมซ้ำจนเกรียน โดยครูระบุว่าเป็นหน้าที่เด็กที่ต้องตัดผมให้เรียบร้อย ทั้งยังบรรยายในคลิปว่า “การตัดผมเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่เมื่อเรามาอยู่ในที่ที่มีกฎ ก็ต้องทำตามกฎ ถูกไหม จริงอยู่ที่การตัดผมไม่ได้ทำให้เราเรียนเก่งขึ้น แต่ช่วยฝึกเราให้รู้จักคำว่าหน้าที่หรือเปล่า” เหตุการณ์นี้ถูกเผยแพร่ซ้ำผ่านโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่น ชี้ช่องให้เกิดทัวร์ไปลงครูสาวเพราะมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิเรื่องเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของเด็ก ขณะที่บางส่วนก็มองว่าครูทำตามกฎของโรงเรียน โดยพบคอมเมนต์ในเชิงปกป้อง ทั้งปกป้องเด็กที่โดนตัดผมและบางส่วนก็ปกป้องครูผู้ถูกทัวร์ลง ท้ายที่สุดเหตุการณ์นี้จบลงที่ครูคนดังกล่าวลบคลิปนี้ออกไปจากติ๊กต็อก</p>
<p>จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า แม้ปรากฏการณ์ทัวร์ลง 177 เรื่องที่มีการเก็บข้อมูลนั้นอยู่ในหมวดบันเทิงมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะแนวความคิดที่ทัวร์ใช้โต้ตอบ จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องทัศนคติทางการเมืองมากที่สุด ทำให้อาจจะกล่าวได้ว่า ที่จริงแล้วในการโต้ตอบถกเถียงกันในทัวร์ลงมาจากทัศนคติทางการเมืองที่ไม่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่ เรื่องทัศนคติทางการเมืองจึงอาจจะเป็นชนวนถกเถียงที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทัวร์ลงมากที่สุดก็ว่าได้ </p>
<p>ไม่เพียงแค่นั้น จากข้อมูลยังเห็นได้ว่ายังมีการใช้แนวความคิดทางสังคมอื่นๆ อีกหลากหลายในการโต้ตอบในปรากฏการณ์ทัวร์ลง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องทัศนคติทางเพศ สิทธิมนุษยชน anti-woke ทัศนคติทางเชื้อชาติ หรือแม้แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย           </p>
<p>ซึ่งอาจจะเป็นภาพสะท้อนที่ทำให้เห็นว่าสังคมในปัจจุบันกำลังให้ความสำคัญกับ ‘คุณค่า’ แบบใด และต้องการจะผลักดันแนวความคิดหรือคุณค่าใหม่ๆ ทางสังคมให้กลายเป็นที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐานใหม่ในสังคมที่ทุกคนควรยึดถือหรือให้การเคารพ ผ่านการนำเอาแนวความคิดนั้นๆ มาใช้ในการโต้ตอบในการนำทัวร์ไปลง และทำให้สามารถมองไปได้อีกว่า ในอีกนัยหนึ่งปรากฏการณ์ทัวร์ลงจึงไม่ใช่แค่คนในโซเชียลมีเดียทะเลาะกันจากความเห็นไม่ตรงกัน แต่มันคือปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่กำลังจะขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนทัศนคติและการให้คุณค่าในประเด็นใดประเด็นหนึ่งให้เกิดขึ้นและได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบัน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทัวร์ลงเพื่อถกเถียง หรือลงเพื่อล้อเลียนเสียดสี?</span></h2>
<p>ลักษณะคอมเมนต์ 4 ประเภทของทัวร์ที่มาลงที่พบจากปรากฏการณ์ทัวร์ลง</p>
<p>*1 เหตุการณ์อาจมีลักษณะคอมเมนต์มากกว่า 1 แบบ </p>
<ul>
<li>การล้อเลียน/เสียดสี  115 เรื่อง 29.49%</li>
<li>ด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ตำหนิติเตียน  97 เรื่อง 24.87%</li>
<li>เข้ามาสนับสนุน/ปกป้อง  92 เรื่อง 23.59%</li>
<li>โต้เถียงด้วยเหตุผล/ยกเหตุผลเพื่อมาลบล้างหลักการ 43 เรื่อง 11.03%</li>
</ul>
<p>จากปรากฏการณ์ทัวร์ลงทั้ง 177 เรื่อง เมื่อนำมาแยกลักษณะคอมเมนต์ของทัวร์ จะพบว่าลักษณะที่พบมากที่สุดคือ การล้อเลียน/เสียดสี จำนวน 115 เรื่อง คิดเป็น 29.49% รองลงมาคือด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ตำหนิติเตียน 97 เรื่อง คิดเป็น 24.87% ตามด้วยการเข้ามาสนับสนุน/ปกป้อง 92 เรื่อง คิดเป็น 23.59% และที่พบน้อยที่สุดคือคอมเมนต์ในเชิงโต้เถียงด้วยเหตุผล/ยกเหตุผลเพื่อมาลบล้างหลักการ 43 เรื่อง คิดเป็น 11.03% </p>
<p>ลักษณะคอมเมนต์ของทัวร์ที่เป็นการล้อเลียน/เสียดสี จำนวน 115 เรื่อง นั้นพบมากที่สุดในหมวดการเมือง 33 เรื่อง รองลงมาคือหมวดบันเทิง 32 เรื่อง ตามมาด้วยหมวดสังคม จำนวน 23 เรื่อง และพบน้อยที่สุดในหมวดวิทยาศาสตร์/การแพทย์ เพียง 1 เรื่องเท่านั้น เช่น กรณีของชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้สัมภาษณ์สื่อเรื่องการจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยระบุว่ารัฐบาลทำงานมาตลอด แค่ประชาสัมพันธ์ไม่เก่งเท่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การตัดโควทคำพูดที่ให้สัมภาษณ์แก่สื่อของชัยวุฒิมาพาดหัวข่าวด้วยประโยคนี้ทำให้ทัวร์ลงที่โพสต์ของสื่อมวลชนจำนวนมาก ซึ่งทัวร์มาลงเพราะเรื่องทัศนคติทางการเมืองของนายชัยวุฒิ ทำให้มีผู้เข้ามาคอมเมนต์ในเชิงเสียดสี/ล้อเลียน อาทิ “ถึงจะไม่มีใครเห็นท่านชัยวุฒิทำงาน ก็ไม่เป็นไรนะครับท่าน เพราะผมก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน” “ไม่เข้าใจ ทำไมนักการเมืองชอบแซะ ทำดีสู้ไม่ได้ ทำงานสู้ไม่ได้ หาเรื่องแซะเลย” อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวไม่มีทัวร์ไปลงในพื้นที่ส่วนของนายชัยวุฒิแต่อย่างใด มีเพียงการคอมเมนต์บนพื้นที่ชี้ช่องที่สื่อนำมาลงเท่านั้น และจบล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ไทยรัฐ] - T&B Media Global เปิดตัวยิ่งใหญ่ โครงการ อนันตจักรวาล ทรานส์ลูเซีย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 120 กระทู้ล่าสุด 19 มีนาคม 2566 06:38:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - ไขข้อข้องใจ! ชาเลนจ์ทุบ “ถุงน้ำในข้อมือ” ใน Social Media อันตรายไหม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 107 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2566 22:24:44
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - จากโผ ครม. สู่ ผล ครม. 'Rocket Media Lab' สำรวจพลังต่อรองผ่าน 19 โผ ครม. ที่ปรากฏในสื่อ 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 106 กระทู้ล่าสุด 12 กันยายน 2566 20:52:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - Rocket Media Lab : เผยครูเอาด้วยขอปรับปรุงห้องน้ำ ไม่อยากอยู่เวร เลิกประกันเกรด และเพิ่มเ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 64 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2567 01:30:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - Rocket Media Lab : 5 ปีไรเดอร์ไทย ต้องต่อสู้กับแพลตฟอร์มเรื่องใดบ้าง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 22 มกราคม 2567 19:10:31
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.822 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤษภาคม 2567 03:22:58