[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 19:18:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการชงปรับนโยบาย-กม. ผู้ลี้ภัย ผนวกเข้าสังคมไทย ดึงสร้างประโยชน์ทางเศรษ  (อ่าน 73 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2567 07:09:04 »

นักวิชาการชงปรับนโยบาย-กม. ผู้ลี้ภัย ผนวกเข้าสังคมไทย ดึงสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-07 20:01</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: แฟ้มภาพผู้ลี้ภัย เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 (ที่มา: Karen Information Center-KIC)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เสวนาวิชาการ "กฎหมายและนโยบายเพื่อการคุ้มคร้องผู้ลี้ภัย" บนจุดเปลี่ยนหลังรัฐประหารเมียนมาปี 2564 นักวิชาการชงข้อเสนอ 'Local Integration' ผนวกผู้ลี้ภัยให้อยู่ในสังคม ดึงช่วยเศรฐกิจไทย</p>
<p> </p>
<p>7 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวถ่ายทอดสดออนไลน์ เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ที่ห้องประชุม 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดงานเสวนาวิชาการ "กฎหมายและนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้ลี้ภัย" โดย ผศ.ดร. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และร่วมแลกเปลี่ยนโดย ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่นเดียวกัน</p>
<p>ดรุณี ชวนคิดว่า "กลุ่มผู้ลี้ภัยใหม่" ที่เข้ามาตั้งแต่หลังการทำรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ. 2564 ประเทศไทยควรมีแนวทางจัดการ และมีข้อเสนอแนะเรื่องการคุ้มครองผู้ลี้ภัยอย่างไรบ้าง</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FPrachatai%2Fvideos%2F1110341376980558%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แนวทางการจัดการผู้ลี้ภัยยุคสงครามเย็น</span></h2>
<p>ดรุณี เผยว่า ตั้งแต่อดีตรัฐไทยทราบและรับรู้ว่ามีผู้หนีการประหัตประหารมาจากต่างประเทศ (well-founded fear of persecution) แต่ไม่ได้นิยามหรือให้ความหมายถึงผู้ลี้ภัย แต่เรียกว่าเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน หรือผู้หนีภัยสงครามแทน</p>
<p>การบริหารจัดการผู้ลี้ภัยของรัฐไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคอาณานิคม และยุคสงครามอินโดจีน (2518-2527) ผู้ลี้ภัยจะมาจากประเทศอินโดจีน อย่างกัมพูชา และเวียดนาม และมีเมียนมา โดยนโยบายของรัฐไทยให้ความสำคัญระหว่างนโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศ ควบคู่กัน สุดท้าย การดำเนินนโยบายกลุ่มเฉพาะ เช่น ชาวโรฮีนจา หรือชาวอุย์กูร์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การจัดการผู้ลี้ภัยยุค 'ประยุทธ์'</span></h2>
<p>ดรุณี ระบุต่อว่า รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา (2562-2565) ถือเป็นช่วงหนึ่งที่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดการผู้ลี้ภัย เพราะว่ามีการเซ็น MOU ว่าด้วยการกักตัวเด็กในสถานกักกันคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ มีสาระสำคัญคือ จะมีการเอาเด็กออกมาในที่ที่หนึ่งไม่ให้ถูกขังรวมกับมารดาในห้องกัก และในเวทีผู้ลี้ภัย สหประชาชาติ ประเทศไทยมีการให้คำมั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะเด็ก</p>
<p>ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว (2566) รัฐบาลไทยมีการบังคับใช้ระบบคัดกรองแห่งชาติ หรือ NSM หรือการคัดกรองคนที่กลับประเทศไม่ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ ผู้ที่ผ่านระบบนี้จะได้รับอนุญาตให้อาศัยในไทยได้ชั่วคราว แต่สิทธิเข้าถึงการคุ้มครองด้านต่างๆ ยังคงเป็นคำถาม</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53515012555_a27d679e8d_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และ (ขวา) ศิรดา เขมานิฏฐาไท</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ลี้ภัยเมียนมา (ใหม่) 2564</span></h2>
<p>บริบทการเมืองระหว่างประเทศ ประเทศเมียนมาทำรัฐประหาร เมื่อปี 2564 ทำให้มีประชาชนเมียนมาอพยพหนีการปราบปรามกองทัพเมียนมา และหนีภัยสงครามเข้ามาประเทศไทย ดรุณี เผยว่า เราสามารถแบ่งผู้ลี้ภัยเมียนมา ออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1. ผู้ลี้ภัยที่หนีสงครามเข้ามาพื้นที่ชายแดน และ 2. ผู้ลี้ภัยเมือง และผู้ลี้ภัยทางการเมือง </p>
<p>ดรุณี เผยว่า ผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดน ส่วนใหญ่เป็นชาวชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามบริเวณชายแดน เช่น การปะทะกัน หรือการโจมตีทางอากาศของกองทัพพม่า ยกตัวอย่าง เขตกองพล 5 ของกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ KNLA ตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง จ.แม่ฮ่องสอน หรือการโจมตีเมืองเลเกก่อ รัฐกะเหรี่ยง จ.เมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเดินทางเข้ามาที่บริเวณชายแดนไทย</p>
<p>ส่วนการจัดการของรัฐไทย จะเน้นการเปิดพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยสงครามชั่วคราว หรือ TSA โดยช่วงที่ผ่านมาถูกตั้งคำถามถึงการพยายามผลักดันประชาชนกลับ ทันทีที่เสียงระเบิดสิ้นสุดลง และสถานการณ์ยังไม่สงบเรียบร้อยหรือไม่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ลี้ภัยการเมืองเมียนมา-การเข้าไม่ถึงระบบคัดกรอง</span></h2>
<p>ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์รัฐศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยน เสริมว่า สำหรับผู้ลี้ภัยการเมือง หรือ political exile กลุ่มนี้มีความลำบาก เนื่องจากไม่มีช่องทางกฎหมายในการรับรองสถานะ ปัจจุบันทำให้เขาต้องหาทางเอาตัวรอดในรูปแบบต่างๆ เช่น การเป็นแรงงานข้ามชาติ และแสวงหาบัตรประเภทอื่นๆ บางคนเข้ามาโดยใช้ VISA ที่ไม่ถูกประเภท และพยายามอยู่ต่อ เพราะว่าตอนนี้สถานการณ์ในเมียนมาอยู่ในสภาวะที่ยืดเยื้อ ไม่ว่าจะสงครามกลางเมือง ความขัดแย้งด้านอาวุธ หรือการเมืองระยะยาว </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53514748803_f82b0a6802_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศิรดา เขมานิฏฐาไท</span></p>
<p>อาจารย์รัฐศาสตร์ ได้เสริมข้อมูลเรื่องผู้ลี้ภัยจากตอนในของเมียนมา เช่น รัฐฉานเหนือ ภูมิภาคสะกาย และอื่นๆ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน ผู้ลี้ภัยเดินทางเข้ามาประเทศไทยแบบหลบๆ ซ่อนๆ และอาจจะเข้ามาลงทะเบียนในฐานะแรงงานข้ามชาติ หรือบางคนต้องอยู่ไทยในระยะยาว ก็จะหาหนทางลงทะเบียนประวัติเป็นฐานะที่เป็น 'บุคคลไร้สัญชาติ' กลุ่มนี้เข้ามาในไทยตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร แต่ปัญหาหนักขึ้นหลังรัฐประหารล่าสุด</p>
<p>ศิรดา เสริมว่า ระบบคัดกรองแห่งชาติ มีข้อถกเถียงด้วยว่า ชาวเมียนมาที่เป็นผู้หนีภัยทางการเมืองไม่สามารถเข้าถึง หรือไม่อยากเข้าถึงระบบคัดกรองนี้ เนื่องจากความไม่ไว้ใจรัฐ เพราะเขาต้องถูกสัมภาษณ์เพื่อเช็กพฤติกรรมทางการเมือง ซึ่งมันอ่อนไหวมากๆ แต่มันมีข้ออุปสรรคคือถ้าไม่เข้ามาในกระบวนการนี้ก็จะไม่ได้รับสิทธิการอยู่ในไทยชั่วคราว ดังนั้น เราต้องหาแนวทางในการปฏิบัติจริง และจุดสมดุลที่ส่งผลดีต่อผู้ลี้ภัยทางการเมือง</p>
<p>"เป็นหน้าที่ของรัฐไทยที่จะต้องโอบรับคนเหล่านี้บนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรมอย่างไร ขณะเดียวกัน ต้องปฏิบัติได้จริง ได้ถูกต้อง และประนีประนอมกับสังคมไทย ขณะเดียวกัน รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ลี้ภัย" ศิรดา กล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ การต่อสู้บริเวณชายแดนมีการสู้รบที่ยืดเยื้อ และมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวนมาก ยกตัวอย่าง รัฐกะเรนนี มีปริมาณผู้พลัดถิ่นจำนวน 1 ใน 3 ของรัฐ และมีแนวโน้มการแสวงหาการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการหาที่ปลอดภัยสำหรับเขา อันนี้เป็นโจทย์ของประเทศไทยว่าจะทำอย่างไร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดึงผู้ลี้ภัยสร้างประโยชน์ด้านสังคมและเศรษฐกิจ</span></h2>
<p>อาจารย์นิติศาสตร์ มช. มองว่า นโยบายการจัดการผู้ลี้ภัยของไทยนั้นไม่ต่างจากสากลนัก โดยประเทศไทยจะเน้นเรื่อง การเดินทางกลับโดยสมัครใจ และการส่งต่อประเทศที่ 3 มากกว่าการพยายาม Local Integration หรือการผนวกรวมกับสังคมอย่างไม่เป็นทางการ โดยผ่านนโยบายการเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เข้าถึงระบบสาธารณสุข การทำงาน และอื่นๆ และแนวทางสุดท้ายคือการให้สถานะ "บุคคลไร้สัญชาติ" ซึ่งในอนาคตอาจยกระดับเป็นพลเมืองไทย</p>
<p>ทั้งนี้ นโยบาย 'การให้สถานะบุคคล' เคยถูกใช้ในช่วงสงครามอินโดจีน โดยประเทศไทยจัดทำเอกสารให้กับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในช่วงนั้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มจีนฮ่อ จีนคอมมิวนิสต์ภาคใต้ หรืออื่นๆ ซึ่งภายหลังเขาได้รับสถานะเป็นบุคคลไร้สัญชาติ และไทยยอมรับในฐานะ ‘ชนกลุ่มน้อย’ หรือ 'ชาติพันธุ์' หนึ่งในประเทศไทย และอาจได้รับการยกระดับเป็นพลเมืองไทยในอนาคต</p>
<p>ดรุณี เสนอว่า เธออยากให้รัฐไทยเน้นความสำคัญกับ Local integration มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทย </p>
<div class="note-box">
<p>อนึ่ง สหประชาชาติ เผยแพร่รายงานว่า สังคมสูงวัย Aging Society คือประเทศที่มีประชากร อายุ 60-65 ปีขึ้นไป จำนวนร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรในประเทศ และสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ (complete-aged society) หรือมีประชากรสูงวัยจำนวนร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรของประเทศ และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super-aged society) หรือมีประชากรสูงวัยร้อยละ 21 ของจำนวนประชากรของประเทศ รายงาน Urban Podcast ระบุว่า ในปี 2566 ประเทศไทยอยู่ในสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์แล้ว โดยมีจำนวนผู้สูงวัยคิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 70 กว่าล้านคน</p>
<p>นักวิชาการคาดการณ์ด้วยว่า ภายใน 60 ปีถ้าเราไม่นำเข้าแรงงานย้ายถิ่นเลย ประเทศไทยอาจจะมีกำลังแรงงานเหลือเพียง 33 ล้านคนเท่านั้น และกำลังแรงงานจะยิ่งลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต</p>
</div>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>สรุปปาฐกถาอนาคตแรงงานข้ามชาติในสังคมสูงวัย โดย อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทำได้ทันที</span></h2>
<p>ผู้เข้าร่วมเสวนามีข้อเสนอถึงรัฐไทยหลายประเด็น ประกอบด้วย 1. ต้องดำเนินการจัดทำเอกสารแสดงตัวสำหรับผู้ลี้ภัยอีกหลายกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึง ซึ่งดรุณี ระบุว่า แม้ว่าจะยังไม่เข้าถึงสิทธิการอยู่อาศัย หรือการดำเนินคดีเข้าเมืองผิดกฏหมาย แต่อย่างน้อยก็ได้รับการมองเห็นของรัฐไทย แต่อาจจะต้องกำหนดช่องทางพิเศษ หรือเลข ที่สืบได้ว่าเป็นคนกลุ่มไหนบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53514748818_6a016bcf46_b.jpg" /></p>
<p>อาจารย์นิติศาสตร์ มองว่า 2. การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้า คือไปโรงพยาบาลผู้ป่วยไม่ต้องร่วมจ่าย ผู้ลี้ภัยสามารถเข้าถึงโดยการซื้อบัตรประกันสุขภาพได้ แต่ปัญหาหลักคือสถานพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดขาย อาจจะดูว่าเราจะทำยังไงให้ผู้ลี้ภัยเข้าถึงได้มากขึ้น หรือกำหนดราคาให้เหมาะสม</p>
<p>ดรุณี เสนอต่อว่า 3. ควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมกับการปรับปรุง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และระบบคัดกรองแห่งชาติ หรือ NSM </p>
<p>อาจารย์นิติศาสตร์ ระบุด้วยว่า 4. ควรให้คนที่ยื่นคำร้องขอคัดกรอง NSM ได้สิทธิและสถานะอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว เพราะว่าความเสี่ยงเขายังมีอยู่ แต่ระหว่างที่ยื่นอยู่ในกระบวนการพิจารณาคำร้อง NSM มันไม่มีความมั่นคงปลอดภัยให้เขา สิ่งที่ทำได้เลยคือมาตรการฉุกเฉิน นำ พ.ร.บ.คัดกรองคนเข้าเมือง มาใช้ หรือว่าออกเป็น "Protection VISA" ซึ่งกฎหมายคนเข้าเมืองเปิดช่องให้ออกวีซ่าประเภทนี้ได้</p>
<p>5. สำหรับนโยบายด้านการเข้าถึงสิทธิการทำงานเพื่อดูแลครอบครัว ดรุณี มองว่า กฎหมายของไทยดี ตัวกฎหมาย ตัวกำหนด พ.ร.บ.การจัดการบริหารคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ระบุว่า วางหลักการให้คนหลายกลุ่มสามารถทำงานได้ โดยข้อกฎหมายสามารถนำมาใช้ได้ ถ้าเรามีนโยบายใช้มัน และจะลดประเด็นที่รัฐบาลชอบอ้างว่า เรามีภาระต้องดูแล หรือแม้แต่การผู้ที่อยู่ในห้องกัก เขาติดปัญหาเรื่องราคาประกันตัวที่สูงมาก ถ้าเราลดราคา และให้เขาออกมาทำงาน ก็น่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องความแออัดในสถานกักกันได้ </p>
<p>ดรุณี เสนอทิ้งท้าย 6. ในเชิงความคุ้มครอง รัฐควรมีส่วนสร้างความรับรู้และเข้าใจให้สังคมไทย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยังไงก็ต้องทบทวนกฎหมาย</span></h2>
<p>ศิรดา มีข้อเสนอต่อประเด็นการปรับปรุงนโยบายผู้ลี้ภัยทางการเมืองเมียนมา และนโยบายเชิง "Local Integration" เช่น นโยบายเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข การทำงาน และอาจนำไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็น "บุคคลไร้สัญชาติ" ในอนาคต พื้นฐานคนที่เป็นชาวชาติพันธุ์ชายแดนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและเข้ามาในไทย ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการขึ้นทะเบียนประวัติฝั่งเมียนมาอยู่แล้ว และต้องการเข้ามาอยู่ในระบบบุคคลไร้สัญชาติ และมีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย พวกเขาอยากได้นโยบายรองรับสิทธิด้านต่างๆ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53513690217_c252d2a759_b.jpgฃ" /></p>
<p>ขณะที่นักกิจกรรมการเมืองและข้าราชการ ครู แพทย์ พยาบาล และผู้มีทักษะสูงอื่นๆ มีความหวังที่จะกลับประเทศหลังจากวิกฤตสิ้นสุด ตรงนี้ต้องหารือว่าจะให้เขาอยู่ในไทยอย่างไร เราจะช่วยเหลือ หรือสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับเราได้หรือไม่ เช่น <strong>การยอมให้เขาทำงานในบางพื้นที่ในตำแหน่งงานที่พวกเขาถนัด</strong></p>
<p>"หากรัฐไทยมีความกังวลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลทางการเมือง หรือการสร้างปัจจัยดึงดูด ก็อยากจะให้ลองดูในรายละเอียดว่า ในเรื่องของความอ่อนไหวทางการเมืองมันมี แต่ไม่ใช่ทุกคนทุกกลุ่มที่เข้ามาสร้างผลเสียทางการเมืองโดยเปิดเผยได้ และเราต้องมองด้วยหลักมนุษยธรรมก่อน เพื่อที่จะได้ผลประโยชน์ในประเทศไทยด้วย เช่น การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมไทย เช่นยอมให้เขาทำงานบางพื้นที่ในการช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุขได้</p>
<p>"แนวนโยบายไทยมักจะกลัว 'Pull factor' แต่อยากจะบอกว่า 'Pull factor' ไม่ต้องมี แต่มันก็มี 'Push factor' หรือปัจจัยผลักดันให้เขาเข้ามาในไทยไม่หยุดอยู่แล้ว ดังนั้น รัฐไทยต้องคิดทบทวนกฎหมายเหล่านี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม" อาจารย์รัฐศาสตร์ มช. กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107967
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สส.พรรคเป็นธรรมห่วงการศึกษา 'เด็กไทย-แรงงานข้ามชาติ-ผู้ลี้ภัย' ต้องเท่าเทีย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 52 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2567 17:13:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - นักวิชาการชงปรับนโยบาย-กม. ผู้ลี้ภัย ผนวกเข้าสังคมไทย ดึงสร้างประโยชน์ทางเศรษ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 51 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2567 21:36:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - จากมุมมองของนักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัย 'ไทยพร้อมเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ UN
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 02 มีนาคม 2567 02:52:18
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - จากมุมมองของนักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัย 'ไทยพร้อมเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ UN
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 42 กระทู้ล่าสุด 02 มีนาคม 2567 09:16:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.205 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤษภาคม 2567 05:24:31