[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 03:36:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กมธ.พัฒนาการเมืองฯ สรุปรายงานอนุฯ ศึกษารูปแบบเลือกตั้ง สสร. ต่อสภาฯ ย้ำต้องมาจา  (อ่าน 45 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 มกราคม 2567 21:57:48 »

กมธ.พัฒนาการเมืองฯ สรุปรายงานอนุฯ ศึกษารูปแบบเลือกตั้ง สสร. ต่อสภาฯ ย้ำต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-01-31 21:18</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประธาน กมธ.พัฒนาการเมืองฯ สรุปรายงานอนุฯ ศึกษารูปแบบเลือกตั้ง สสร. ต่อสภาฯ ย้ำสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เปิดโมเดลหลากหลายให้สังคมร่วมพิจารณา ตอบโจทย์เรื่องความเชี่ยวชาญ-ความหลากหลายได้ภายใต้กรอบที่ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด </p>
<p>31 ม.ค. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (31 ม.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการพิจารณารายงานผลการศึกษา เรื่อง “การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง” โดยคณะอนุกรรมาธิการฯ ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน </p>
<p>พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้เป็นผู้อภิปรายสรุปเนื้อหาในรายงานดังกล่าว โดยระบุว่า คณะอนุกรรมาธิการเห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีทั้งความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เปิดกว้างต่อความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย และมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกกลุ่มมากที่สุด หากถูกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการ “เลือกตั้งทั้งหมด” ซึ่งไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่ แต่ถูกเสนอโดยหลายฝ่ายทางการเมืองและภาคประชาชนตั้งแต่ปี 2562 หรือหากมองไปนอกประเทศ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งก็ถูกใช้ในหลายประเทศทั่วโลกที่เป็นประชาธิปไตย และมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา</p>
<p>ทั้งนี้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว วัตถุประสงค์ของคณะอนุกรรมาธิการฯ จึงเป็นการจัดทำข้อเสนอเพื่อเปิดจินตนาการให้เห็นถึงทางเลือกที่แตกต่างหลากหลายในการออกแบบ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53500095446_c61fa2b29b_b.jpg" /></p>
<p>พริษฐ์กล่าวต่อไปว่า กรอบคิดหลักในการออกแบบ สสร. ควรเริ่มต้นด้วยการมองว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องมีประเภทเดียว แต่อาจประกอบด้วย สสร. ที่แบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ สสร. มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และมีพื้นที่ให้กับคนจากหลากหลายกลุ่มมาทำงานร่วมกันได้อย่างผสมผสาน โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งอาจแบ่งออกได้มากที่สุดเป็น 3 ประเภทหลัก ประกอบด้วย ก) สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไป ข) สสร. ประเภทตัวแทนผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ และ ค) สสร. ประเภทตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย ที่ล้วนต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p>ก) สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไป มี 3 โจทย์หลักที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ ประการแรก “จะกำหนดพื้นที่อะไรเป็นเขตเลือกตั้ง” หากใช้จังหวัดหรือพื้นที่ที่เล็กกว่าจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง สสร. ก็จะมีตัวแทนที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ในทุกจังหวัด หรือหากใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ก็จะทำให้ สสร. มีตัวแทนที่ครอบคลุมหลายประเด็นมากขึ้น หรืออาจมี สสร. ตัวแทนพื้นที่มากกว่าประเภทเดียว เช่น ครึ่งหนึ่งอาจจะเป็น สสร. ที่เลือกกันในระดับจังหวัด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งอาจจะเป็น สสร. ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เป็นต้น</p>
<p>โจทย์ประการต่อมาคือ “จะกำหนดจำนวน สสร. ต่อ 1 เขตเลือกตั้งอย่างไร” จะมีจำนวน สสร. เท่ากันในทุกจังหวัด หรือจะมีจำนวน สสร. ในแต่ละจังหวัดที่ต่างกันตามสัดส่วนประชากร เพื่อให้น้ำหนักหรือจำนวนประชากรต่อ สสร. หนึ่งคนมีค่าเท่ากันในทุกพื้นที่ และประการสุดท้าย “จะใช้วิธีใดในการเลือก สสร. ในแต่ละเขตเลือกตั้ง” โดยในกรณีที่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคล ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เสนอวิธีการเลือกตั้ง 5 ทางเลือก ได้แก่</p>
<p>(1) ระบบ Single Non-Transferable Vote หรือ SNTV คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนเลือกผู้สมัครได้ 1 คน ไม่ว่าเขตเลือกตั้งนั้นจะมีจำนวน สสร. ที่จะได้รับเลือกตั้งกี่คน 
(2) ระบบ Multiple Non-Transferable Vote หรือ MNTV คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนเลือกผู้สมัครได้มากเท่ากับจำนวน สสร. ที่จะได้รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เช่น หากเขตเลือกตั้งมี สสร. 3 คน ประชาชนจะเลือกผู้สมัครได้มากสุด 3 คน
(3) ระบบ Approval Vote คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนเลือกผู้สมัครกี่คนก็ได้ที่ตนพร้อมให้การอนุมัติ เช่น หากเขตเลือกตั้งมี สสร. 3 คน ประชาชนจะเลือกอนุมัติผู้สมัคร 1 คน 3 คน หรือ 10 คนก็ได้
(4) ระบบ Single Transferable Vote คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนสามารถเรียงลำดับผู้สมัครตามความชอบ โดยหากผู้สมัครที่ตนเลือกเป็นอันดับ 1 ได้รับคะแนนน้อยมาก และยังไม่มีผู้สมัครคนใดชนะขาด ระบบก็จะมีวิธีในการโอนคะแนนดังกล่าวไปให้กับผู้สมัครที่ตนเลือกเป็นอันดับ 2 หรืออันดับถัดไป เพื่อไม่ให้คะแนนเสียงตกน้ำ
(5) ระบบ Score Vote คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนสามารถให้คะแนนผู้สมัครตามลำดับความชอบ เช่น ให้ 3 คะแนนกับผู้สมัครที่ชอบเป็นลำดับที่ 1 ให้ 2 คะแนนกับผู้สมัครที่ชอบเป็นลำดับที่ 2 และให้ 1 คะแนนกับผู้สมัครที่ชอบเป็นลำดับที่ 3</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53499210297_576920fbdd_b.jpg" /></p>
<p>หรือหากจะกำหนดให้ประชาชนเลือกผู้สมัครเป็นทีมหรือบัญชีรายชื่อ ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ก็ได้เสนอวิธีการเลือกตั้ง 2 ทางเลือก ได้แก่
(1) ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed Party-List) คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนเลือกได้ 1 ทีม โดยจำนวน สสร. ที่แต่ละทีมได้จะขึ้นอยู่กับสัดส่วนคะแนนที่ทีมได้ และผู้สมัครที่จะได้รับเลือกตั้งขึ้นอยู่กับลำดับบัญชีรายชื่อที่ทางทีมได้จัดสรรไว้
(2) ระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (Open Party-List) คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคน เลือกได้ 1 ทีม และสามารถเลือกเจาะจงได้ว่าอยากเลือกผู้สมัครคนใดในบัญชีรายชื่อของทีมดังกล่าว โดยจำนวน สสร. ที่แต่ละทีมได้จะขึ้นอยู่กับสัดส่วนคะแนนที่ทีมได้ ส่วนผู้สมัครคนไหนในทีมจะได้รับเลือกตั้งก็ขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงที่ผู้สมัครแต่ละคนในทีมนั้นได้รับ เปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นในทีมเดียวกัน </p>
<p>อย่างไรก็ตาม พริษฐ์กล่าวต่อไปว่า ในเมื่อ สสร. ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปที่มาจากการเลือกตั้งมีทางเลือกที่หลากหลาย หลายฝ่ายจึงมองว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งจะมีแค่ สสร. ประเภทนี้ประเภทเดียวก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ก็ยังมีบางฝ่ายที่อาจกังวลว่า สสร. ตัวแทนพื้นที่เพียงอย่างเดียวยังไม่ตอบโจทย์ เพราะไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์เข้ามาอยู่ในกระบวนการตั้งโจทย์และการตัดสินใจ รวมถึงบางฝ่ายก็กังวลว่า สสร. ที่มีแค่ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไป ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ที่มักถูกมองข้าม แต่จำเป็นในการสะท้อนเสียงที่หลากหลายทางสังคม</p>
<p>แต่ทั้งนี้ ทางคณะอนุกรรมาธิการยืนยัน ว่าข้อกังวลดังกล่าวไม่ควรนำไปสู่การเสนอให้ สสร. บางส่วนไม่มาจากการเลือกตั้ง แต่ทางออกที่เป็นไปได้ในการคลี่คลายข้อกังวลดังกล่าวอาจเป็นการเพิ่มประเภท สสร. ขึ้นมาอีก 2 ประเภทที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเฉพาะ แต่ยังคงมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด นั่นคือ ข) สสร. ประเภทตัวแทนผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ ที่มาจากการเลือกตั้ง และ ค) สสร. ประเภทตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย ที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน</p>
<p>พริษฐ์ยังระบุด้วยว่า หากตัดสินใจว่าจะมี สสร. ประเภทเหล่านี้เพิ่มขึ้นมาจาก สสร. ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปหรือไม่ จะมี 3 โจทย์หลักที่ต้องพิจารณาในการออกแบบต่อไป ประการแรก “จะกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้สมัคร สสร. ประเภทดังกล่าวอย่างไร” ซึ่งในส่วนของ สสร. ประเภท ข) อาจจะกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น กฎหมาย รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองในระบบ หรือการเมืองภาคประชาชน</p>
<p>เช่นเดียวกับในส่วนของ สสร. ประเภท ค) ก็อาจจะกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นหนึ่งในกลุ่มความหลากหลายต่าง ๆ เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือหากมองว่ากลุ่มความหลากหลายสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มมาก ก็อาจจะเลือกไม่กำหนดหมวดหมู่หรือคุณสมบัติใดเป็นการเฉพาะ แต่เปิดให้ผู้ที่สนใจสมัครรับเลือกตั้งต้องระบุเองในกระบวนการสมัครและการรณรงค์หาเสียง ว่าตนเป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายในมิติใด</p>
<p>โจทย์ประการต่อมา “ใครจะเป็นผู้เลือก สสร. ประเภทดังกล่าว” แน่นอนว่าทางเลือกที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือการรวบรวมรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านคุณสมบัติมาให้ประชาชนเลือกโดยตรง ผ่านการเพิ่มบัตรเลือกตั้งขึ้นมาอีก 1 ใบต่อ 1 ประเภท แต่หากใครกังวลว่าการมีบัตรเลือกตั้งหลายใบมากเกินไปอาจเกิดความสับสน อีกทางเลือกหนึ่งที่ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้พิจารณา คือการให้ สสร. ประเภท ข) และ ค) ถูกเลือกโดย สสร. ประเภท ก) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แม้จะไม่ใช่การเลือกตั้งทางตรง แต่วิธีนี้จะยังคงมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยมากกว่าการปล่อยให้ สสร. ประเภท ข) และ ค) ถูกเลือกโดยคณะรัฐมนตรี รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือคณะกรรมการใด ๆ เนื่องจาก สสร. ประเภท ก. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด และอย่างน้อยที่สุด ประชาชนยังได้รับรู้ในวันเลือกตั้ง สสร. ว่า สสร. ประเภท ก. ที่เขาเลือกเข้าไปโดยตรง จะไม่เพียงแต่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ยังมีอำนาจในการเลือก สสร. ประเภทอื่น ๆ เข้ามาทำงานเพิ่มเติมด้วย</p>
<p>โดยอาจมีการกำหนดกติกาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สสร. ประเภท ก) ต้องแจ้งกับประชาชนก่อนวันเลือกตั้งว่าจะเสนอชื่อใครมาเป็น สสร. ประเภทอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมทำงาน ไม่ว่าจะผ่านกลไกแบบบังคับ เหมือนที่แต่ละพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. ต้องระบุชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค หรือจะใช้กลไกแบบสมัครใจก็ได้</p>
<p>และโจทย์ประการสุดท้าย “จะใช้ระบบเลือกตั้งใดในการเลือก” ซึ่งทางเลือกสำหรับโจทย์นี้จะคล้ายกับที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอไว้สำหรับระบบเลือกตั้ง สสร. ประเภท ก) ก่อนหน้านี้</p>
<p>พริษฐ์กล่าวต่อไปว่า ภายใต้ทางเลือกต่าง ๆ ที่รายงานนี้ได้นำเสนอ จะเห็นว่าการออกแบบ สสร. สามารถทำได้หลายโมเดลมาก เพื่อตอบโจทย์สำคัญต่าง ๆ โดยหากมองว่า สสร. ควรมีแค่ตัวแทนพื้นที่ในทุกจังหวัด ก็อาจจะมีแค่ สสร. ประเภท ก) ที่ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง หรือหากมองว่าไม่จำเป็นต้องมี สสร. ที่เป็นตัวแทนในพื้นที่ต่าง ๆ ก็อาจจะมีแค่ สสร. ประเภท ก) ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หรือหากมองว่า สสร. ควรมีทั้งตัวแทนพื้นที่ในระดับจังหวัด และตัวแทนเชิงประเด็นในระดับประเทศ ก็อาจจะแบ่ง สสร. ประเภท ก) เป็น 2 ประเภทย่อย คือที่ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง คล้ายกับ สส. ที่มีทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ</p>
<p>หรือหากต้องการรับประกันพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางสังคมจริง ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นการเพิ่ม สสร. ขึ้นมาอีก 2 ประเภท เพื่อให้ประชาชนเลือก สสร. ผ่านบัตรเลือกตั้ง 3 ใบ ประกอบด้วย 1 ใบ สำหรับ สสร. จังหวัด 1 ใบ สำหรับ สสร. ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ และ 1 ใบ สำหรับ สสร. ตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย หรือหากกังวลว่าการมีบัตรเลือกตั้ง 3 ใบจะสร้างความสับสนยุ่งยาก ก็อาจกำหนดให้ สสร. ประเภท ข) และ ค) ถูกเลือก โดย สสร. ประเภท ก) ที่ประชาชนเลือกเข้าไป</p>
<p>พริษฐ์กล่าวสรุปว่า สุดท้ายแล้ว สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่ง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดมีได้หลายโมเดลและหลายรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรายงานนี้ไม่ได้ต้องการบอกว่าโมเดลหรือระบบเลือกตั้ง สสร. แบบใดดีที่สุด แต่ต้องการฉายภาพให้ได้เห็นถึงทางเลือกอันแตกต่างหลากหลายที่เป็นไปได้เกี่ยวกับโมเดลหรือระบบเลือกตั้ง สสร. รวมถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก</p>
<p>“หากโมเดล สสร. เป็นเสมือนจานอาหาร และหากคณะอนุกรรมาธิการฯ นี้เป็นเสมือนร้านอาหารที่ขายเฉพาะอาหารที่ใช้สูตรว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมหวังว่ารายงานฉบับนี้ก็จะเปรียบเสมือนเมนูอาหารที่มีอาหารตามสั่งที่หลากหลายเพียงพอให้ประชาชนได้เลือกและปรุงแต่งได้ตามรสชาติที่เขาต้องการ โดยไม่มีใครจำเป็นต้องไปตอบสนองความต้องการของตนเอง ด้วยการเดินไปทานที่ร้านอาหารอีกร้านหนึ่ง ที่ขายอาหารบางจานซึ่งหันเหออกจากหลักการว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด” พริษฐ์กล่าว</p>
<p>ท้ายที่สุด ที่ประชุมสภาฯ มีมติเห็นชอบรายงานของคณะอนุกรรมาธิการฯ และมีมติให้ส่งรายฉบับนี้ไปยังคณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาทุกคน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาและเป็นทางเลือกต่อไป</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107868
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวด่วน] - ปธ.กมธ.พัฒนาการเมืองฯ มองเปลี่ยนสูตรคำนวณ ส.ส.ยึดการเมืองมากกว่า กม.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 159 กระทู้ล่าสุด 08 กรกฎาคม 2565 15:40:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 458 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'สมัชชาคนจน' ร้อง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เรียก ตร.แจงกรณีทำร้าย ปชช.-ห้ามขัดขวางกา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 62 กระทู้ล่าสุด 20 ตุลาคม 2566 02:08:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ลงทะเบียนเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ก่อนหมดเขตสิ้นเดือนนี้ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 112 กระทู้ล่าสุด 27 ตุลาคม 2566 20:59:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘พริษฐ์’ เผยมติ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ เชิญ ‘ชัชชาติ’ หารือทางออกผังเมือง กทม. 18 ม.ค. น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 56 กระทู้ล่าสุด 13 มกราคม 2567 02:13:03
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 08:02:22