[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 05:43:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของ "ลิเก"  (อ่าน 989 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 มกราคม 2566 17:02:45 »




ความเป็นมาของ "ลิเก"

ลิเก” เป็นศิลปะการแสดงที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน มีพัฒนาการโดยนำละครมาผสมผสาน และมีพัฒนาการด้านการแต่งกาย ดนตรี การร้อง การรำ บวกเข้ากับแนวคิดและภูมิปัญญาชาวบ้าน จนกลายเป็นศิลปะการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลิเก มีที่มาจากการสวดของชาวมุสลิม เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์  พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ได้กล่าวถึงลิเกไว้ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือแขกเจ้าเซ็น (ชาวมุสลิมเชื้อเปอร์เซีย) นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  

และมีบันทึกว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่างๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการละเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร

คำว่า ลิเก เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษา ฮิบรู ว่า ซาคูร (Zakhur) หมายถึงการสวดหรือหรือกล่าวสรรเสริญศาสดาในศาสนาอิสลาม ผู้สวดนั่งล้อมเป็นวงโยกตัวไปมา โดยมีการตีกลองรำมะนาประกอบ เมื่อการสวดแพร่หลายเข้ามาทางภาคใต้ในประเทศไทย ก็เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า ดิเก (Dikay) ต่อมาเพี้ยนไปเป็นคำว่า “ยี่เก” (Yikay) หรือ “ลิเก” (Likay) ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก (Jikay)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖  ทรงใช้คำว่า “ลิเก - Likay” ในพระราชอรรถาธิบายการละครของไทยเป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔  และต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศกำหนดใช้คำเกี่ยวกับการแสดงละคร ให้ใช้คำว่า “นาฏดนตรี” แทนคำว่า “ลิเก”  ปรากฏใน ตอนที่ ๗๖ เล่ม ๕๙ ราชกิจจานุเบกสา ๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ พระราชกริสดีกา กำหนดวัธนธัมทางสิลปกัมเกี่ยวกับการแสดงละคอน พุทธสักราช ๒๔๘๕ (พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับการแสดงละคร พ.ศ.๒๔๘๕)  มาตรา ๔ ให้แบ่งการสแดงละคอนออกเปน ๓ ประเภท ดังนี้
(๑) อุปราก
ร (อุปรากร)
(๒) นาตะกัม (นาฎกรรม)
(๓) นาตะดนตรี (นาฎดนตรี)

ซึ่งจะต้องแสดงแบบชายจริงหญิงแท้ เมื่อลิเกถูกสั่งห้ามจึงต้องดัดแปลงให้าเข้ากับนาฏดนตรี จึงเปลี่ยนชื่อ คณะลิเก เป็น คณะนาฎดนตรี แทน  รวมทั้งผู้แสดงทุกคนจะต้องผ่านการสอบรำแม่บาท รำใช้บทอย่างละคร และรำหน้าพาทย์ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับบัตรเทียบเท่าศิลปินจากกรมศิลปากรและประกอบอาชีพศิลปินได้  หลังจากจอมพล ป.  พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วจึงเลิกใช้คำว่านาฏดนตรี และหันมาใช้คำว่า “ลิเก” สืบมาจนถึงปัจจุบัน”

ส่วนประกอบในการแสดง
วิธีแสดง เดินเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน การแสดงเริ่มด้วยโหมโรง ๓ ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง ในอดีตมีการรำถวายมือหรือรำเบิกโรง แล้วจึงดำเนินเรื่อง ต่อมาการรำถวายมือก็เลิกไป ออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรำน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย คงมีเพียงบางคณะที่ยังยึดศิลปะการรำอยู่
 
ผู้แสดง เดิมใช้ผู้ชายล้วน ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ให้บุตรสาวชื่อละออง แสดงเป็นตัวนางประจำคณะ ต่อมาคณะอื่นก็เอาอย่างบ้าง บางคณะให้ผู้หญิงเป็นพระเอก เช่น คณะกำนันหนู บ้านผักไห่ อยุธยา การแสดงชายจริงหญิงแท้นั้น คณะหอมหวล นาคศิริ เริ่มเป็นคณะแรก ผู้แสดงต้องมีปฏิภาณในการร้องและเจรจา ดำเนินเรื่องโดยไม่มีการบอกบทเลย หัวหน้าคณะจะเล่าให้ฟังก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ การเจรจาต้องดัดเสียงให้ผิดปกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลิเก แต่ตัวสามัญชนและตัวตลกพูดเสียงธรรมดา ในยุคหลังจากนั้นก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยการเกิดรายการลิเกทางโทรทัศน์ขึ้นมาเช่น ลิเกรวมดาวของ คุณวิญูญู จันทร์เจ้า โดยมีสมศักดิ์ ภักดี เป็นพระเอกลิเกคนแรกของประเทศไทยที่ได้ออกโทรทัศน์ และต่อมาก็เริ่มมีคณะลิเกรุ่นใหม่ๆ รวมถึงลิเกเด็กเกิดขี้นมาตามลำดับเช่น คณะลิเกไชยา มิตรไชย คณะลิเกกุ้ง สุทธิราช คณะลิเกเด็กวัดสวนแก้ว คณะลิเกศรราม-น้ำเพชร ฯลฯ
 
เพลงและดนตรี ดำเนินเรื่องใช้เพลงหงส์ทองชั้นเดียว แต่ดัดแปลงให้ด้นได้เนื้อความมากๆ แล้วจึงรับด้วยปี่พาทย์ แต่ถ้าเล่นเรื่องต่างภาษา ก็ใช้เพลงที่มีสำเนียงภาษานั้นๆ ตามท้องเรื่อง แต่ด้นให้คล้ายหงส์ทอง ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ได้ดัดแปลงเพลงมอญครวญของลิเกบันตนที่ใช้กับบทโศก มาเป็นเพลงแสดงความรัก
 
การแต่งกาย แต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม เลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ จึงเรียกว่าลิเกทรงเครื่อง บางครั้งก็ลดเครื่องแต่งกายที่แพรวพราวลงไป โดยตัวนายโรงยังแต่งเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ในส่วนที่มิใช่เครื่องต้น เช่น นุ่งผ้ายกทอง สวมเสื้อเข้มขาบหรือเยียรบับ แขนใหญ่ถึงข้อมือ คาดเข็มขัดนอกเสื้อ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ แต่ดัดแปลงเสียใหม่ เช่น เครื่องสวมศีรษะ เครื่องประดับหน้าอก สายสะพาย เครื่องประดับไหล่ ตัวนางนุ่งจีบยกทอง สวมเสื้อแขนกระบอกยาว ห่มสไบปักแพรวพราว สวมกระบังหน้าต่อยอดมงกุฎ ที่แปลกกว่าการแสดงอื่นๆ คือสวมกำไลข้อเท้า สวมถุงเท้ายาวสีขาวแทนการผัดฝุ่นอย่างละคร แต่ไม่สวมรองเท้า
 
สถานที่แสดง ลานวัด ตลาด สนามกว้าง ในโทรทัศน์ ฯลฯ โดยปลูกเพิงสูงระดับตา ด้านหน้าเป็นที่แสดง ด้านหลังเป็นที่พักที่แต่งตัว มีฉากเป็นภาพเมือง วัง หรือป่าเขาลำเนาไพร





การแสดงลิเกเริ่มด้วยโหมโรง ๓ ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ  ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง ในอดีตมีการ
รำถวายมือหรือรำเบิกโรง แล้วจึงดำเนินเรื่อง ปัจจุบันออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรำน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย

ความเป็นมาของการแสดงลิเกในเมืองไทย
มีผู้สันนิษฐานและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเป็นมาของการแสดงลิเกในเมืองไทยไว้มากมาย เช่น
๑. ชาวไทยมุสลิมที่เข้ามารับราชการในราชสำนักอยุธยาได้นำ “ดจิเก” เข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก โดยเป็นนักเทศขันที
๒. ดจิเก อาจเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยชาวมุสลิมจากเปอร์เซียอันเป็นต้นตระกูลบุนนาค
๓. พวกมุสลิมนิกายชีอะห์จากเปอร์เซียนำการสวดลิเก ที่เรียกว่า “ดิกร” เข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระครูศรีมาโพธิคณารักษ์)
๔. มีหลักฐานบันทึกไว้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ พระยาราชภักดี (โค) ได้นำชาวไทยมุสลิมแสดงลิเกถวายหน้าพระที่นั่งในงานพะราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม) โดยการนั่งขัดสมาธิถือรำมะนาล้อมวงสวดเป็นลำนำเข้ากับจังหวะรำมะนาพร้อมโยกตัวไปมา เรียกว่า “ลิเกสวดแขก”
๕. เคยมีลิเกฮูลู (เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้) ในปัตตานีมาจากทางเหนือของรัฐกลันตัน และลิเกบารัตมาจากฝั่งตะวันตกของมาเลเซียเมื่อ ๖๐ กว่าปีเศษมาแล้ว (อรวรรณ ประจวบเหมาะ)
๖. ลิเกมาจากการแสดงสมัครเล่นของชาวไทยอิสลาม นำมาดัดแปลงเป็นจำอวดซึ่งแสดงเป็นอาชีพโดยคนไทยที่มีความตลกเจือหยาบโลน (พระยาอนุมานราชธน)
๗. เห็นแขกชาวเมืองนนทบุรีนั่งขัดสมาธิล้อมเป็นวง ถือรำมะนา เวลานั่งสวดโยกตัวไปมา โดยสวดเป็นลำนำอย่างแขกเข้ากับจังหวะ เป็นทำนองเดียวกับพวกนักสวดคฤหัสถ์ของไทย คือ เอาการสวดธรรมในกุฏิเป็นเค้าไปคิดสวดให้สนุกจนเลยเป็นเครื่องเล่น (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
๘. เจ้าสุริยวงศ์แห่งเชียงใหม่ได้แต่งคร่าวซอเรื่องธรรมหงส์หิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ได้ระบุถึงยี่เกในมหรสพสมโภช เมื่อตอนหกกุมารพาพระเจ้าย่าเข้าเมือง
๙. ก่อน พ.ศ.๒๔๔๙ มีลิเกที่แสดงโดยผู้ชายและเด็กชาย การร่ายรำอ่อนช้อยไม่แพ้เด็กผู้หญิง ซึ่งคงจะหมายถึงผู้แสดงละครรำ (พี.เอ. ทอมสัน)
๑๐. ยี่เก มีรากเหง้ามาจากมาเลย์ ผู้แสดงเป็นผู้ชายและเด็กชาย ลูกคู่และวงดนตรีนั้นไม่สำคัญ สำหรับลูกคู่นั้นไม่ปรากฏเลย  ดนตรีประกอบด้วยกลองใหญ่ๆ หลายใบ ท่าทางที่รำไม่มีความหมายหรือไม่วิจิตรพิสดารแต่อย่างใด การแสดงสีหน้าท่าทางออกมาจากใจไม่มีซ่อนเร้น เรื่องที่เคยแสดงกันมาเป็นนิทานโบราณก็เปลี่ยนเป็นเรื่องสมัยใหม่หรือเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ โดยเน้นที่ความตลกขบขันเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้มักจะหยาบคาย

นอกจากนี้ การเล่นเพลงพื้นบ้านในภาคกลาง ซึ่งให้ปฏิภาณในการด้นกลอนสดโต้ตอบกัน น่าจะมีส่วนสำคัญต่อกำเนิดของลิเกด้วย









ขอบคุณที่มา
- “ลิเก” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธ.ไทยพาณิชย์
- “พรก.กำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับการแสดงละคร พ.ศ.๒๔๘๕” เว็บไซต์ คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
- “ประวัติลิเกในประเทศไทย” เว็บไซต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- “ลิเกฮูลู (ดิเกร์ฮูลู)” เว็บไซต์ .m-culture.go.th/trad
- องค์ความรู้ “ลิเก”เว็บไซต์ m-culture.go.th/nakhonsawan
- “ลิเก” เว็บไซต์ wikipedia.org

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มกราคม 2566 17:10:56 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"Lemon Soup" อาสาส่ง"ทุกวัน"เพลงกระตุ้น"รัก"ที่เมื่อรู้สึกแล้วต้อง"บอก"
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 5281 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2554 10:29:07
โดย มดเอ๊ก
"สามัญชน" ผู้กลายเป็น "ราชินี" และ "เจ้าหญิง" โชคชะตาที่ฟ้าได้ "ลิขิต" ไว้
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 0 8259 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2557 14:13:59
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - "ลาสต์ ไอดอล" ส่ง "EGAO" ปล่อยMV "หน้ากากน้ำตา" ได้ "คลัง-คูณคลัง" ก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 1059 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2565 11:34:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - "ดิโอโก" เหมา 2 "บีจี" ดับ "สุพรรณบุรี" แซง "แบงค็อก" ขึ้นรองฝูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 828 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2565 04:39:18
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - "วิลลา" เปิดรังเชือด "เซาแธมป์ตัน"-"ฟูแลม" บุกตบ "ฟอเรสต์" คาบ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 448 กระทู้ล่าสุด 17 กันยายน 2565 09:14:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.34 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤษภาคม 2567 17:32:59