[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 16:04:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 76 77 [78] 79 80 ... 1126
1541  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - “พี่สาววันเฉลิม” หวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” ทวงถามความคืบหน้าคดีอุ้มหายน้องชาย “บิ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 07:24:32
“พี่สาววันเฉลิม” หวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” ทวงถามความคืบหน้าคดีอุ้มหายน้องชาย “บิ๊กโจ๊ก” รุดเจรจา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 19:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพ แมวส้ม </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“พี่สาววันเฉลิม” ถูกตำรวจสกัดไม่เข้าใกล้ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” เจ้าตัวหวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถามความคืบหน้าคดีอุ้มหาย “วันเฉลิม” ที่กัมพูชา พี่สาววันเฉลิมระบุ เจ้าหน้าตำรวจมีการตะโกนว่า “จับเลย เจอตัวแล้ว” เมื่อพบตนเอง ด้าน “บิ๊กโจ๊ก” รุดเข้าเจรจา รับหนังสือร้องเรียนจากพี่สาววันเฉลิม</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 เวลาประมาณ 10:00 น. สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาว “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหายในกัมพูชาเมื่อปี 2563 พยายามเดินทางไปที่หน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เนื่องจากฮุนเซน อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเดินทางมาเยี่ยมทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี</p>
<p>สิตานันถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดรถ ขณะกำลังเดินทางเข้าไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้า และได้พักทำกิจกรรมที่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนสิรินธร โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบกว่า 50 นาย เฝ้าสถานการณ์</p>
<p>สิตานันกล่าวว่า ตนเองเดินทางมาในวันนี้เพื่อมาทวงถามความเป็นไปและความจริงเกี่ยวกับการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อปี 2563 ที่ประเทศกัมพูชา และยังเคยได้กล่าวว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของทักษิณและฮุนเซน เนื่องจากวันเฉลิมเคยทำงานให้กับพรรคเพื่อไทยมาก่อน</p>
<p>สิตานันท์กล่าวด้วยว่า ขณะที่ตนกำลังขับรถมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหลายนายมาล้อมรถของตนไว้พร้อมถามว่าจะเดินทางไปไหน ตนจึงบอกว่าจะไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เจ้าหน้าที่อีกนายหนึ่งจึงตะโกนว่า “จับเลย เจอตัวแล้ว” ตนจึงตกใจและรีบขับรถออกมา จึงลือกมาปักหลักที่บริเวณด้านหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสิรินธร ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนพลุกพล่าน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114488_2ca6f9b991_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543365155_0757f096dd_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542060792_b7f2caf18b_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543365140_f08f9b6a74_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114438_b5f1b8c1a4_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114433_303ea1a021_b.jpg" /></p>
<p>ต่อมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้เดินทางมาพบสิตานัน ยืนยันว่าไม่มีการสั่งการให้เจอตัวแล้วจับเลย และพยายามสอบถามว่าสิตานันท์จะเดินทางไปทำอะไรที่บ้านจันทร์ส่องหล้า</p>
<p>สิตานัน จึงได้ยื่นหนังสือ ต่อ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เพื่อขอให้มีการติดตามทวงถามกรณีวันเฉลิม หลังจากที่ทางการกัมพูชายื่นรายงานต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่า การหายตัวไปของวันเฉลิมนั้นเกิดขึ้นในกัมพูชาจริง แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐของกัมพูชา รวมถึงร้องเรียนการคุกคามของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อตัวสิตานันด้วย</p>
<p>พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรร ระบุว่า ผู้ที่ถูกอุ้มหายหลายราย มีชะตากรรมไม่ต่างกับวันเฉลิม ซึ่งทางประเทศกัมพูชาต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้ได้ความจริง เพราะกัมพูชาเป็นประเทศในอนุสัญญากับสหประชาชาติ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐไทยโดยเช่นเดียวกันที่จะต้องไปสะกิดอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการสืบสวนสอบสวนในฝั่งกัมพูชา เพราะพวกเขามีข้อมูลเพียงพอในรูปคดีดังกล่าว เราจึงเรียกร้องให้รัฐทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวและผู้ที่ถูกบังคับสูญหาย</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108162
 
1542  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 06:17:51
วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง
         


วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9252914/
         
1543  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'โดนจับ โดนยิง รุมทำร้าย' รวมเคสคุกคามสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 05:53:04
'โดนจับ โดนยิง รุมทำร้าย' รวมเคสคุกคามสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 19:57</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อินโฟกราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>จากกรณีนักข่าวโดนจับ ชวนย้อนดู 6 กรณีคุกคามสื่อมวลชนบางส่วนที่เกิดขึ้นหลังปี 2563 โดยมีทั้งถูกยิงด้วยกระสุนยางจากตำรวจควบคุมฝูงชน , ถูกทำร้ายร่างกายจากกลุ่มที่ระบุตัวเองว่าเป็น “กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์” และถูกจับกุม-ตั้งข้อหาจากการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542646971_84b14e5c02_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2563 นักข่าวประชาไทถูกจับขณะไลฟ์สดเหตุสลายชุมนุมแยกปทุมวัน</strong></span></p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 “กิตติ พันธภาค” ผู้สื่อข่าวประชาไท ถูกควบคุมตัวขณะไลฟ์สดรายงานสถานการณ์สลายชุมนุมแยกปทุมวันฯ  โดยถูกเคเบิลไทร์รัดข้อมือไพล่หลังกว่า 2 ชั่วโมง และถูกตั้งข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ก่อนได้รับการปล่อยตัว</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>กมธ.แจ้งผล สอบ. ตร. ปมจับนักข่าวประชาไทขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวสลายชุมนุม 16 ตุลา</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2564 นักข่าวประชาไทถูก คฝ.ยิงกระสุนยาง เข้าที่หลัง ขณะไลฟ์สดเหตุสลายชุมนุม</strong></span></p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 “ศรายุธ ตั้งประเสริฐ” ผู้สื่อข่าวประชาไท ถูกกระสุนยางจากตำรวจควบคุมฝูงชนยิงเข้าบริเวณหลังบาดเจ็บ ขณะทำการถ่ายทอดสดสถานการณ์ ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมที่บริเวณปากซอยข้าวสาร ใกล้สี่แยกคอกวัว</li>
<li>ทั้งนี้นอกจากการแสดงตัวผ่านการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กแล้ว เจ้าตัวยังห้อยบัตรผู้สื่อข่าวรวมทั้ง มีปลอกแขนผู้สื่อข่าวติดชัดเจน</li>
<li>จนกระทั่งเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2566 “พ.ต.อ.ภัสพงษ์ บุตรไทย” รองผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) ส่งจดหมายตอบกลับผลร้องเรียนกรณีดังกล่าว มีใจความสำคัญระบุว่า ตัวนักข่าวไปอยู่ในพื้นที่ทั้งๆ ที่รู้การปฏิบัติของตำรวจ</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ผู้สื่อข่าวประชาไทถูก ตร.ยิงด้วยกระสุนยางบาดเจ็บขณะถ่ายทอดสดการสลายการชุมนุม</li>
<li>รอง ผบ.คุมฝูงชน ส่งจดหมายตอบ นักข่าวประชาไทถูกกระสุนยางยิง อ้างไปอยู่ในที่เกิดเหตุทั้งที่รู้</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2564 2 สื่อพลเมืองถูกจับขณะไลฟ์สดม็อบที่ดินแดง</strong></span> </p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 “ณัฐพงศ์ มาลี” หรือ “โอปอ” นักข่าวพลเมืองจากเพจที่ใช้ชื่อว่า “สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon “และ “พนิดา เอนกนวน” นักข่าวพลเมืองอีก 1 คน จากเพจที่ใช้ชื่อว่า “ปล่อยเพื่อนเรา” รวม 2 ราย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว ขณะไลฟ์สดสถานการณ์การชุมนุมที่ดินแดง มีการตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายหลังศาลปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์</li>
<li>ในวันเดียวกัน ก่อนที่จะมีการจับกุมสื่ออิสระนั้น “พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย” รองผู้บัญชาการและโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้สัมภาษณ์ทางรายการตอบโจทย์ ทาง Thai PBS โดยอ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากสื่อมวลชนว่า มีกลุ่มผู้ชุมนุมหรือมีผู้แอบแฝงมาเป็นสื่อมวลชนปลอม โดยเฉพาะอ้างตัวว่าเป็นยูทูบเบอร์ สื่อมวลชนที่มีต้นสังกัดชัดเจนและไม่ใช่กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ใช่กลุ่มผู้ที่มาสร้างความแตกแยก หรือไม่ใช่กลุ่มผู้ที่แฝงตัวมาเมื่อทำการตรวจก็จะได้รับการเชิญออกไป ส่วนผู้ที่แฝงตัวเข้ามาหรือสื่อมวลชนปลอมจำนวน 2-3 คน มาดำเนินคดีตามกฎหมาย</li>
</ul>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2565 ยา–ณัฐพล ถูกกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้ายหน้าร้านแมคฯ</strong></span></p>
<ul>
<li>“ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์” สื่ออิสระ ถูกชายไทยในชุดรัดกุม ใส่เสื้อกั๊กจำนวน 4 คน รุมตีด้วยกระบองดิ้ว บริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลางดึกวันที่ 22 เม.ย. 2565 หลังจากทำข่าวกิจกรรม ‘ทัวร์มูล่าผัว’ </li>
<li>ซึ่งก่อนหน้านั้น ชายทั้ง 4 ได้เดินเข้ามาขอดูภาพในโทรศัพท์ของณัฐพล แต่ณัฐพลไม่ยินยอม ชายทั้ง 4 จึงรุมเข้าทำร้ายณัฐพล</li>
<li>ในเวลาต่อมา “เบญภกรณ์ วิคะบำเพิง” หรือ “เบน” อดีตสมาชิกอาชีวะปกป้องสถาบัน ออกมายอมรับว่าทำร้าย ยา–ณัฐพล จริง โดยอ้างว่าเพราะณัฐพลไม่ยอมแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน พร้อมพูดจาหาเรื่อง และเรียกพวกจะมาทำร้ายก่อน</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>2 นักข่าวพลเมืองถูก ตร.คุมตัวขณะรายงานสถานการณ์ชุมนุมที่ดินแดง</li>
<li>สื่ออิสระเล่าวินาทีถูกคนทำร้ายหน้าร้านแมคฯ อนุสาวรีย์ ปชต. หลังทำข่าว #ม็อบ22เมษา65</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2567 กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้าย 2 สื่ออิสระขณะไลฟ์สดที่ BTS สยาม</strong></span></p>
<ul>
<li>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้าย 2 สื่ออิสระ ได้แก่ “ภราดร เกตุเผือก” หรือที่คนรู้จักกันในชื่อ “ลุงดร” และ “เชน ชีวอบัญชา” หรือที่คนรู้จักในชื่อ “ขุนแผน” ที่บีทีเอสสยาม ขณะไลฟ์สดสถานการณ์ที่นักกิจกรรมทางการเมืองชี้แจงกรณีบีบแตรใส่ขบวนเสด็จ</li>
<li>ลุงดร ถูกสมาชิกกลุ่มปกป้องสถาบัน 2 คน เข้ามาทำร้าย คนแรกตบสมาร์ทโฟนที่เขาใช้ถ่ายทอดสดออนไลน์จนร่วงลงไปที่พื้น และใช้มือตบเข้าไปที่ใบหน้า โดยเขาจำไม่ได้ว่าคนที่ตบหน้าเขาเป็นใคร แต่หลังจากนั้น “วสัน ทองมณโฑ” เข้ามาชนจนเขาร่วงลงไปที่พื้น และเอาเข่ากดตัวเขาไว้กับรั้วตรงบ็อกซ์จุดขายตั๋วโดยสาร จนเขาต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตำรวจนำตัวเขาออกจากพื้นที่</li>
<li>ส่วน “เชน” สื่ออิสระ วัย 56 ปี เล่าถึงจังหวะเกิดเหตุว่า ขณะนั้นเขายืนแยกออกมาอยู่ด้านหลังจุดสแกนตั๋วโดยสารบีทีเอสสยาม แล้วจู่ๆ “อานนท์ กลิ่นแก้ว” ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ขว้างขวดน้ำใส่ และปีนข้ามจุดสแกนตั๋วเข้ามา อานนท์เข้ามาจับคอเสื้อ และเงื้อมกำปั้นจะต่อย แต่ยังไม่ทันได้ต่อย มีเจ้าหน้าที่มาห้าม หลังจากนั้น เชนถูกประชาชนอีกคนเข้ามาต่อยจนล้ม และโดนเตะตามลำตัวร่างกาย </li>
<li>ในวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานด้วยว่า ถูกสมาชิกกลุ่มปกป้องสถาบันฯ (ไม่ทราบชื่อ-นามสกุล) ข่มขู่ไม่ให้บันทึกวิดีโอด้วย</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ บุกทำร้ายนักกิจกรรม-2 สื่ออิสระที่ BTS สยาม ขู่ 'ประชาไท' ห้ามถ่ายวิดีโอ</li>
<li>‘ดร’ เล่าเหตุการณ์ถูก ศปปส.รุม เคยโดนคุกคามมาแล้ว 2 ครั้งแต่แจ้งความไปไม่มีความคืบหน้า</li>
<li>ศปปส.คุกคามนักกิจกรรมและนักข่าวหน้าศาลอาญา บานปลายรุมทำร้ายรัวหมัดใส่คนผ่านมาดูด้วย</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/Q82uzhi49yw?si=ALGrzhv8gL0-2fKr" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2567 นักข่าวประชาไท-ช่างภาพสเปซบาร์ถูกจับเพราะไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง</strong></span></p>
<ul>
<li>กรณีล่าสุด เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา “เป้–ณัฐพล เมฆโสภณ” ผู้สื่อข่าวจากประชาไท และ “ยา–ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์” ช่างภาพสื่อออนไลน์ที่ใช้ชื่อว่าสเปซบาร์ ถูกจับกุมจากการไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ด้วยข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ</li>
<li>โดยคืนวันที่ 12 ก.พ. เป้–ณัฐพล ผู้สื่อข่าวประชาไทถูกขังรอส่งศาลที่ สน.ฉลองกรุง ย่านมีนบุรี ส่วน ยา–ณัฐพล ช่างภาพอิสระ ถูกนำตัวไปขังระหว่างรอส่งศาลที่ สน.ทุ่งสองห้อง  </li>
<li>วันรุ่งขึ้น (13 ก.พ.) ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ เป้-ณัฐพล และ ยา-ณัฐพล ประกันตัวได้ โดยต้องวางหลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดคนละ 35,000 บาท โดยไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขประกันตัวไว้</li>
<li>หลังจากที่ได้รับการประกันตัว เป้-ณัฐพล ระบุว่า ก่อนลงจากรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ทางตำรวจมีการขอใส่เคเบิลไทร์รัดข้อมือระหว่างนำตัวผู้ต้องหา (เป้ - ณัฐพล) เข้าไปในอาคาร สน.พระราชวัง</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>นักข่าวประชาไท-ช่างภาพอิสระถูกจับเพราะไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง </li>
<li>'ประชาไท' แจง 5 ประเด็นกรณีนักข่าวถูกจับกุมคดี 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำลายโบราณสถาน</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภราดร เกตุเผืhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108163
 
1544  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 04:19:04
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
<p>แก้ไขเมื่อ 22 ก.พ. 2567 เวลา 01.21 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎร และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ 63 ตารางวา ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>
ชาตรี ประกิตนนทการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาชน" 
ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'
</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลจากสงคราม จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2501</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน เป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย</p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย และการเริ่มเข้าสู่ยุคสนาม 'หวง' มากขึ้น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อรองรับงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น "โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง" โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 โดย เดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย 'ตลาดนัดสนามหลวง' ไปที่ 'จตุจักร' ราวปี 2525 และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516</p>
<div><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย กำหนดเวลาเปิด-ปิด ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน อาทิ แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดินชุมนุมต่อต้านการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก และไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 7 พ.ค.-12 ก.ค. 2556 กปปส. ชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อ 24 พ.ย. 2556 และอื่นๆ </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง ทั้งนี้ ทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7 สุดท้ายกลุ่ม Immortal Thailand ได้เปลี่ยนไปจัดกิจกรรมที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (หลังเก่า) แทน</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>'Immortal Thailand' ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 รายงานสื่อหลายสำนัก ระบุมีชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ เขตพระนคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวซ้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเพิ่ม </p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง คือยังออกกำลังกาย และใช้พักผ่อนหย่อนใจได้ แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>
ชาตรี
เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><font color="#2980b9">เสรีภาพแย่กว่ายุครัตนโกสินทร์ตอนต้น</font></h2>
<p>ชาตรี เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง มองว่าเสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนแย่กว่าช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) เนื่องจากหลักฐานในพงศาวดาร ยังระบุว่าแม้ว่าสนามหลวงจะถูกใช้ในพระราชพิธี แต่ก็เปิดโอกาสให้ไพร่ได้ใช้สถานที่ ยามสนามหลวงว่างเว้นจากงานพระราชพิธี</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตย์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ด้วยว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย พร้อมเผยแนวคิดเรื่อง 'พื้นที่สาธารณะ' ต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>สนามหลวง-สนามราษฎร : พื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์และความทรงจำร่วมของประชาชน โดย 101.world เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563</p>
<p>"สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.157 โดยช่องยูทูบ ประวัติศาสตร์นอกตำรา เผยแพร่เมื่อ 11 ต.ค. 2565</p>
<p>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ โดย ประชาไท เผยแพร่เมื่อ 2563</p>
<p>"สนามหลวง" โบราณสถานสู่พื้นที่ชุมนุมการเมือง โดย Thai PBS เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165
 
1545  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสั เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 03:44:53
ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสัยทำไมเก่งจัง
         


ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสัยทำไมเก่งจัง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ยกย่องพี่วินฮีโร่ ช่วยเหลือเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว วิ่งเข้ามาอย่างกล้าหาญ ระงับเหตุตรงจุด เจ้าตัวเฉลยอาชีพเก่า  
         

https://www.sanook.com/news/9252182/
         
1546  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "ฮุนเซน" โพสต์รูปคู่ "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัม เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 03:35:18
"ฮุนเซน" โพสต์รูปคู่ "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัมพูชาเดือนหน้า
         


&quot;ฮุนเซน&quot; โพสต์รูปคู่ &quot;ทักษิณ&quot; รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน &quot;อุ๊งอิ๊ง&quot; เยือนกัมพูชาเดือนหน้า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"ฮุนเซน" โพสต์ภาพนั่งเคียงข้าง "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพพี่-น้อง 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัมพูชาเดือนหน้า


         

https://www.sanook.com/news/9250462/
         
1547  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 02:28:16
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
<p>แก้ไขเมื่อ 22 ก.พ. 2567 เวลา 01.21 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎร และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ 63 ตารางวา ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>
ชาตรี ประกิตนนทการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาชน" 
ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'
</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลจากสงคราม จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2501</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน เป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย</p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย และการเริ่มเข้าสู่ยุคสนาม 'หวง' มากขึ้น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อรองรับงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น "โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง" โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 โดย เดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย 'ตลาดนัดสนามหลวง' ไปที่ 'จตุจักร' ราวปี 2525 และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516</p>
<div><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย กำหนดเวลาเปิด-ปิด ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน อาทิ แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดินชุมนุมต่อต้านการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก และไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 7 พ.ค.-12 ก.ค. 2556 กปปส. ชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อ 24 พ.ย. 2556 และอื่นๆ </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง โดยทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7 สุดท้ายได้เปลี่ยนไปจัดที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (หลังเก่า)</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>'Immortal Thailand' ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 รายงานสื่อหลายสำนัก ระบุมีชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ เขตพระนคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวซ้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเพิ่ม </p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง คือยังออกกำลังกาย และใช้พักผ่อนหย่อนใจได้ แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>
ชาตรี
เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><font color="#2980b9">เสรีภาพแย่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น</font></h2>
<p>ชาตรี เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง มองว่าเสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนแย่กว่าช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) เนื่องจากหลักฐานในพงศาวดาร ยังระบุว่าแม้ว่าสนามหลวงจะถูกใช้ในพระราชพิธี แต่ก็เปิดโอกาสให้ไพร่ได้ใช้สถานที่ ยามสนามหลวงว่างเว้นจากงานพระราชพิธี</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตย์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ด้วยว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย พร้อมเผยแนวคิดเรื่อง 'พื้นที่สาธารณะ' ต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>สนามหลวง-สนามราษฎร : พื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์และความทรงจำร่วมของประชาชน โดย 101.world เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563</p>
<p>"สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.157 โดยช่องยูทูบ ประวัติศาสตร์นอกตำรา เผยแพร่เมื่อ 11 ต.ค. 2565</p>
<p>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ โดย ประชาไท เผยแพร่เมื่อ 2563</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165
 
1548  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน! เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 01:07:56
รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน!
         


รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ชาวเน็ตตะลึง ลูกอยากได้ครัวโล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบปัญหาความเห็นไม่ตรงกันด้วยการติดประตู 10 บาน!
         

https://www.sanook.com/news/9251498/
         
1549  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สส.ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ ก.แรงงาน ชี้ตั้งใจล้มเลือกตั้ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 00:38:35
สส.ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ ก.แรงงาน ชี้ตั้งใจล้มเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:06</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เซีย' นำทีม สส. ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับกระทรวงแรงงาน ชี้ตั้งใจซ่อนเนื้อร้าย ล้มเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม หวัง ครม. ปกป้องกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กติกาเดินหน้ามาไกล อย่าดึงถอยหลัง</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (21 ก.พ.) ที่รัฐสภา เซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นำทีม สส.ก้าวไกล แถลงข่าวคัดค้านกรณีกระทรวงแรงงานเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ยกเลิกความใน พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มาตรา 8 วรรค 3 ที่กำหนดให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน มาจากการเลือกตั้ง โดยคาดว่าจะบรรจุในวาระ ครม. เพื่อพิจารณาเร็วๆ นี้</p>
<p>เซียกล่าวว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่นี้ เป็นการ “ซ่อนเนื้อร้าย” ทำลายกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนในการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เนื่องจากมีการแก้ไขจากฉบับเดิมหลายมาตรา รวมถึงแก้ไขที่มาของคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตนและนายจ้าง หรือ บอร์ดประกันสังคม ตนในฐานะผู้แทนสัดส่วนผู้ใช้แรงงานและพรรคก้าวไกล ขอคัดค้านและแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่มีการแก้ไขที่มาของบอร์ดประกันสังคม จากเดิมมาจากการเลือกตั้งของผู้ประกันตนโดยตรง 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ เปลี่ยนเป็น “หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” </p>
<p>ในอดีตการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม มาจากการเลือกตั้งของผู้แทนสหภาพแรงงาน 1 สหภาพแรงงานมี  1 เสียง  ไม่ว่าสหภาพแรงงานจะมีสมาชิก 5,000 คน หรือมีสมาชิก 50 คน ก็มี 1 เสียงเท่ากัน ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่สอดคล้องกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของพี่น้องแรงงาน เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพเพียง 1,400 แห่งเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก  และผู้ประกันตนที่อยู่ในสถานประกอบการเหล่านั้น ไม่ได้มีสิทธิมีเสียงใด ทั้งที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุก ๆ เดือน </p>
<p>ทำให้ที่ผ่านมาแรงงานจำนวนมากพยายามเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากผู้ประกันตน คือ 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ จนเมื่อมีการทำรัฐประหารปี 2557 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคมแทนชุดเดิมที่มาจากการเลือกตั้งโดยผู้แทนสหภาพแรงงาน </p>
<p>เซียกล่าวต่อว่า ตนเป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมร่วมกับพี่น้องแรงงาน และเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. ก็ได้ภิปรายติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ว่าสำนักงานประกันสังคมจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงแบบ 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ หลังจากชี้แจงในวันดังกล่าวข่าวเรื่องการเลือกตั้งก็หายไปอีก สำนักงานประกันสังคมไม่เคยสื่อสารเรื่องความคืบหน้าใดๆ ให้ผู้ประกันตนรับทราบ</p>
<p>เซียไล่เรียงลำดับเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมว่า สำนักงานประกันสังคมเริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมในต้นเดือนตุลาคม 2566 โดยให้เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12–31 ต.ค. 2566  ซึ่งผู้ประกันตนทราบเรื่องการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมน้อยมาก ทำให้สำนักงานประกันสังคมต้องขยายระยะเวลาการลงทะเบียนถึงวันที่ 10 พ.ย. 2566 และสุดท้ายมีการจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24  ธันวาคม  2566  และหลังการเลือกตั้งสำนักงานประกันสังคมได้ประกาศผลการอย่างไม่เป็นทางการ ข่าวคราวเกี่ยวกับผู้ชนะเลือกตั้งก็เงียบหายไปอีก จนมีหนังสือรับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ผลกลับปรากฏว่าผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 7 ไม่ใช่คนเดิมเหมือนที่ประกาศหลังเลือกตั้ง  จึงมีคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผลการเลือกตั้ง </p>
<p>พร้อมกันนี้ เซีย ได้ตั้งคำถามต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนอ้างเหตุผลว่าใช้งบประมาณ  เกือบ 100  ล้านบาท แต่คนมาใช้สิทธิไม่ถึงล้านคนจากผู้ประกันตน  24  ล้านคน ว่าสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงานได้สรุปบทเรียนการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ว่าเกิดจากอะไร  การประชาสัมพันธ์น้อยไปหรือไม่  การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์มีปัญหาจริงไหม รวมถึงหน่วยเลือกตั้งที่ไม่อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตน ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถไปใช้สิทธิได้  ปัญหาอุปสรรคต่างๆ เป็นอย่างไรควรนำไปปรับปรุงแก้ไขให้การเลือกตั้งครั้งหน้าดีขึ้นกว่าเดิม  แต่กลับมาแก้ไขกฎหมายถอยหลังลงคลองเพื่อยกเลิกการเลือกตั้ง  </p>
<p>“หรือที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ไม่เคยคิดอยากให้มีการเลือกตั้งในรูปแบบ  1 สิทธิ  1  เสียง และมีใครได้ประโยชน์อะไรจากระบบแต่งตั้งหรือไม่ วันนี้เมื่อกฎกติกาเดินหน้ามาไกลแล้ว ไม่ควรที่จะดึงถอยหลังไปอีกเหมือนเดิม” เซียกล่าว</p>
<p>สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ย้ำว่า วันนี้ตนและพรรคก้าวไกลขอคัดค้านในประเด็นดังกล่าว และหวังว่า ครม. จะร่วมคัดค้าน เพื่อปกป้องกระบวนการการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ไม่ใช่มัวหวาดระแวงต่อผลการเลือกตั้ง ถ้าเป็นเช่นนั้น จะไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108164
 
1550  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สภาคว่ำ 'ร่างพ.ร.บ.รับรองเพศฯ' ฉบับก้าวไกล 'ธัญวัจน์' ยืนยันเดินหน้าต่อ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 23:06:20
สภาคว่ำ 'ร่างพ.ร.บ.รับรองเพศฯ' ฉบับก้าวไกล 'ธัญวัจน์' ยืนยันเดินหน้าต่อ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 21:41</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สภามีมติโหวตคว่ำ “ร่างพ.ร.บ.รับรองเพศฯ” ฉบับก้าวไกล ด้วยคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย 257 เสียง เห็นด้วย 154 เสียง และ งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง สภาระบุต้องรอร่างภาคประชาชน ด้าน “ธัญวัจน์” ยืนยันก้าวไกลเดินหน้าต่อ เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายคำนำหน้านามตามความสมัครใจและอัตลักษณ์ทางเพศ</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกลรายงานต่อสื่อมวลชน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ “ร่าง พ.ร.บ. คำนำหน้านามตามความสมัครใจ” ของพรรคก้าวไกล เสนอโดย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ</p>
<p>ก่อนเข้าสู่วาระ อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นหารือขอให้ธัญวัจน์ถอนร่างฉบับนี้ออกไปก่อน เพื่อรอให้ร่างกฎหมายของภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาพิจารณาร่วมกัน รวมถึงให้มีเวลาทำงานระดมความเห็นและเสียงสะท้อนจากกลุ่มต่างๆ</p>
<p>ประธานในที่ประชุมจึงถามธัญวัจน์ว่าจะถอนร่างหรือยืนยันเสนอร่างต่อไป ธัญวัจน์กล่าวว่า สภาฯ เปิดกว้างอยู่แล้วสามารถสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายได้ผ่านการตั้งคณะกรรมาธิการ รวบรวมกลุ่มที่ผลักดันประเด็นดังกล่าว หากเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วประเทศที่รออยู่ ก็ควรต้องผลักดัน จึงขอสอบถามกลับไปทางคณะรัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความคืบหน้าในการทำร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างไร เรื่องนี้ไม่ได้เพิ่งผลักดันเมื่อตอนที่ตนยื่นกฎหมายเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 แต่ผลักดันมาตั้งแต่ปี 2559 และเรามักมีคำพูดอยู่เสมอว่าสิทธิความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยไปไม่ถึงไหน ดังนั้นวันนี้ถึงจุดที่เราต้องไปถึงไหนเสียที</p>
<p>เมื่อธัญวัจน์ยืนยันว่าไม่ถอนร่าง ประธานจึงให้แถลงหลักการและเหตุผลของการเสนอร่างกฎหมาย ธัญวัจน์กล่าวว่า โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงส่งผลให้เกิดการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะเอกสารของรัฐไทยยังกำหนดให้ใช้คำนำหน้านาม ซึ่งถือตามเพศกำเนิด ได้แก่ เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว และนาง ส่งผลให้บุคคลข้ามเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศอื่น ประสบปัญหาในการแสดงตัวตน การตัดสินใจกำหนดวิถีทางเพศของตน และกระทบต่อการดำเนินชีวิต</p>
<p>อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนสากล ได้รับรองเรื่องความหลากหลายทางเพศ ซึ่งยอมรับเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศที่มีความหลากหลาย ดังนั้นสมควรมีกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองและรับรองสิทธิ์เรื่องการใช้คำนำหน้านาม การระบุเพศของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ</p>
<p>ธัญวัจน์กล่าวต่อว่า Gender คือ เพศสถานะ เป็นสิ่งที่สังคมประกอบสร้างขึ้นมา ที่ผ่านมาสังคมประกอบสร้างการรับรองเพศเพียง 2 เพศคือเพศชายและเพศหญิง จากจุดนั้นเองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นธรรมชาติที่อยู่ร่วมโลกใบนี้ ไม่ได้ถูกมองเห็น โลกของสองเพศออกแบบกฎ ระเบียบ วัฒนธรรม เรื่องเล่าต่าง ๆ ในสังคมจึงสืบสานเพศที่ประกอบสร้างกันเองเพียงสองเพศ รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยและกฎหมายต่าง ๆ ก็พูดถึงชายและหญิงเพียงสองเพศเท่านั้น</p>
<p>เรื่องเพศเป็นทุกลมหายใจของทุกคน ทุกการกล่าวคำทักทาย สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งได้รับการยอมรับเพราะเป็นไปตามมาตรฐานและวัฒนธรรมของสังคม แต่อีกฝ่ายถูกมองว่าเป็นพวกเบี่ยงเบนและผิดปกติ สร้างความตลกขบขันให้สังคม</p>
<p>วันนี้สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการร่วมประกอบสร้างสังคมใหม่ เพื่อแก้ไขกฎหมายให้โอบรับคนทุกเพศ แก้ไขอดีตที่เราออกกฏหมายโดยไม่ได้คำนึงถึงพวกเขา คืนเจตจำนงในการระบุเพศ เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องสำนึกภายใน ที่เขาและเราจะบอกตนเองว่าเป็นเพศอะไร หรืออยากดำเนินชีวิตแบบไหน นี่คือหลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ที่เรียกว่า Self Determination</p>
<p>“วันนี้เวลาที่เราพูดเรื่องเพศในสภาฯ เราจะเข้าใจในเชิงกฎหมายว่าเพศชายเพศหญิงคือเพศทางกายภาพ แต่วันนี้กฎหมายต้องบัญญัติให้พูดถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี เพราะเพศมีคำอธิบายมากกว่าเรื่องทางกายภาพ” ธัญวัจน์กล่าว</p>

<p>สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีนิยามอัตลักษณ์ทางเพศซึ่งรับมาจากประเทศอาร์เจนตินาและมอลตาว่าอัตลักษณ์ทางเพศคืออะไร “อัตลักษณ์ทางเพศ” คือการที่บุคคลหนึ่งรับรู้ต่อตนเองว่าเขาคือใคร เป็นเพศอะไร ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่สังคมกำหนดหรือไม่ก็ได้ หมายรวมถึงการแสดงออกทางเพศ และนี่คือหนึ่งหลักการสำคัญของหลักการยอกยาการ์ตา เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ</p>
<p>ร่างกฎหมายนี้คุ้มครองใครบ้าง กลุ่มแรกคือบุคคลข้ามเพศ (Transgender) ทั้งผู้หญิงข้ามเพศชายและผู้ชายข้ามเพศ จะให้สิทธิในการแสดงเจตจำนงดำรงอัตลักษณ์ทางเพศในสังคม กลุ่มที่ 2 คือคนที่ไม่ได้นิยามตนว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น บุคคลนอนไบนารี่ (Non-binary) บุคคล Intersex กลุ่มนี้แม้มีจำนวนน้อย ประมาณ 900 กว่าคนในประเทศไทย แต่เรื่องหนึ่งที่มีการต่อสู้คือการผ่าตัด ยืนยันโดยแพทย์เลือกเพศให้พวกเขาโดยที่พวกเขาไม่ได้แสดงเจตจำนง สิ่งเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครอง เปลี่ยนวิธีคิดว่าการเลือกเพศต้องเกิดจากพวกเรา ไม่ได้เกิดจากรัฐ</p>
<p>ธัญวัจน์กล่าวว่า ร่างกฎหมายนี้จะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร บางคนอาจไม่เห็นด้วย กังวลว่าจะเกิดการสับสน เกิดการหลอกลวง ข้อกังวลเหล่านี้ไม่ได้เกินความคาดหมาย แต่ต้องยืนยันว่าการกำหนดเจตจำนงเรื่องเพศนั้นเป็นสิทธิมนุษยชน</p>
<p>“การหลอกกันไม่ได้เกี่ยวกับเพศ วันนี้เรามีผู้หญิงหลอกผู้ชาย ผู้ชายหลอกกะเทย บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศหลอกผู้หญิง การหลอกลวงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ แต่ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของคนแต่ละคน” ธัญวัจน์กล่าว</p>

<p>ธัญวัจน์กล่าวต่อว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ประเทศไทยมีข้อมูลผู้ชายผู้หญิง จะดีแค่ไหนถ้ากฎหมายนี้ผ่าน แล้วเราจะมีข้อมูลบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย เพราะจะช่วยในการคาดคะเนงบประมาณสวัสดิการที่อาจมีความจำเพาะในเรื่องเพศ ทำให้รู้ว่าสังคมเรามีการเลือกปฏิบัติมากเท่าไร เราควรออกแบบนโยบายอย่างไรเพื่อโอบรับคนทุกเพศ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าในสังคมอาจมีข้อกังวล มีกฎหมายหลายฉบับที่ต้องแก้ แต่เราสามารถร่วมมือกันในด้านนิติบัญญัติ ร่วมทำแคมเปญให้คนเข้าใจ ยุติความกลัวซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยให้หมดสิ้น เพราะทุกคนคือคนเหมือนกัน ถึงเวลาที่กฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ เรามีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อผลักดันความเท่าเทียมนี้ให้เกิดขึ้น</p>
<p>ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตนประหลาดใจ 2 เรื่อง หนึ่งทำไมอยู่ดีๆ การพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ ถูกทำให้เหมือนร่างลอยมาจากฟากฟ้า ไม่มีการศึกษาใด ๆ มาก่อน ทั้งที่ที่ผ่านมามีรายงานมากมายศึกษาเรื่องเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ปี 2559 ที่มีงานวิจัยฉบับแรกออกมาโดยมาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p>
<p>ความประหลาดใจที่ 2 คือ สส. จากพรรครัฐบาลบอกให้มีการถอนร่าง แสดงความไม่พร้อม แล้วเอาประชาชนมาบังหน้า ท่านต้องกล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา หงายการ์ดเหมือนที่ผ่านมาว่าขออุ้มไปก่อน ส่วนที่บอกว่าขณะนี้ร่างของหน่วยงานรัฐบาลยังไม่มี แต่ทำไมตนมีเอกสารจากกระทรวง พม. วันนี้อย่างน้อยที่สุด รมว.พม. ควรมาตอบคำถาม ว่าความไม่พร้อมที่บอกว่าต้องรอ ตกลงเอาอย่างไรกันแน่</p>
<p>“หากเกรงว่าร่างของภาคประชาชนจะไม่ถูกนำเสนอ ท่านก็เอาร่างของภาคประชาชนมาให้เพื่อน สส. เซ็นชื่อ หรือเอาร่างของภาคประชาชนให้ ครม. ดูว่าหลักการแบบนี้รับได้หรือไม่ ส่งมาเลย หรือขยายจำนวนคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาก็ได้ ถ้าท่านเชื่อว่าในรายละเอียดอาจมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการแก้ไข แต่ผมเชื่อในใจลึก ๆ ว่าท่านอาจไม่ได้เชื่อแบบเรา” ณัฐวุฒิกล่าว</p>

<p>เมื่อถึงการลงมติ ผลปรากฏว่าเสียงข้างมากของที่ประชุมสภาฯ มีมติไม่รับหลักการ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 154 ไม่เห็นด้วย 257 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 1</p>
<p>จากนั้น ธัญวัจน์ และ สส.พรรคก้าวไกล แถลงข่าวหลังทราบมติสภาฯ โดยธัญวัจน์กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ ทำให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถเสนอร่างที่มีหลักการนี้เข้าสภาฯ ได้ภายในสมัยประชุมนี้ แต่ยืนยันจะไม่ถอย พร้อมเสนอในสมัยถัดไป</p>
<p>“วันนี้สมรสเท่าเทียมใครทำก็ได้คะแนนเสียง แล้วเรื่องอื่นที่ทำแล้วไม่ได้คะแนนเสียง คุณจะให้สิทธิบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการที่ต้องออกแบบเฉพาะ กฎหมายที่ต้องโอบรับความหลากหลายอีกหลายฉบับ การขจัดการเลือกปฏิบัติ ท่านจะยังทำหรือไม่ พรรคก้าวไกลยืนอยู่ข้างบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เราเดินต่อแน่นอน เพราะรู้ว่าต้องสู้เพื่อให้ได้มา” ธัญวัจน์กล่าว</p>

<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108166
 
1551  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เพื่อนสนิทเล่าชะตากรรมนุ่น ถูกซ้อมตลอด 2 ปี เผยเหตุผลจากปากทอย ทำไมทำร้ายผู้หญิ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 22:32:57
เพื่อนสนิทเล่าชะตากรรมนุ่น ถูกซ้อมตลอด 2 ปี เผยเหตุผลจากปากทอย ทำไมทำร้ายผู้หญิง
         


เพื่อนสนิทเล่าชะตากรรมนุ่น ถูกซ้อมตลอด 2 ปี เผยเหตุผลจากปากทอย ทำไมทำร้ายผู้หญิง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เพื่อนสนิทเล่าชะตากรรมนุ่น ตลอด 2 ปี ถูกทำร้ายสาหัส เตือนหลายครั้งให้เลิก เผยเหตุผลจากปากทอย ทำไมชอบทำร้ายผู้หญิง
         

https://www.sanook.com/news/9251718/
         
1552  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "บิ๊กโจ๊ก" ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ม.157 ม.149 เส้นทางการเงินโยงเว็บพนันมินนี่ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 21:33:12
"บิ๊กโจ๊ก" ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ม.157 ม.149 เส้นทางการเงินโยงเว็บพนันมินนี่
         


&quot;บิ๊กโจ๊ก&quot; ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ม.157 ม.149 เส้นทางการเงินโยงเว็บพนันมินนี่" width="100" height="100&nbsp;&nbsp; "บิ๊กโจ๊ก" ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ผิดวินัยร้ายแรง ม.157 ม.149 เส้นทางการเงินโยงเว็บพนันมินนี่
         

https://www.sanook.com/news/9250954/
         
1553  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 21:29:20
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎรตั้งแต่ 2475-2520 และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>ชาตรี ประกิตนนทการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาช" ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งที่ 2 และครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน ครั้งที่ 2 และเป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาต่อต้านเผด็จการ จอมพล ถนอม กิตติขจร ในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย  </p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ </p>
<p>เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน และขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น “โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย ‘ตลาดนัดสนามหลวง’ ไปที่ ‘จตุจักร’ และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516 เสียอีก</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย ตามเวลาที่กำหนด 17.00-24.00 น. ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ถึงระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใตรัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง โดยทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>‘Immortal Thailand’ ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 มีรายงานพบชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวอีก</p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>ชาตรี เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>ชาตรี เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง โดยให้ความเห็นว่า เสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนตอนนี้ถือว่าแย่ยิ่งกว่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากในพงศาวดารเคยบรรยายว่า แม้แต่ในยุคจารีต 'สนามหลวง' จะถูกใช้เพื่อประกอบพระราชพิธีเพียงอย่างเดียวก็จริง แต่ในยามว่างเว้นจากพระราชพิธี ก็อนุญาตให้ไพร่เข้าไปใช้สถานที่ได้</p>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย และแนวคิด 'พื้นที่สาธารณะ' ซึ่งต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อยางเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165
 
1554  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดกรุจานกระเบื้อง "ชมพู่ อารยา" น่ารักทุกใบ แต่ละชิ้นราคาไม่ธรรมดาจริงๆ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 20:02:09
เปิดกรุจานกระเบื้อง "ชมพู่  อารยา" น่ารักทุกใบ แต่ละชิ้นราคาไม่ธรรมดาจริงๆ
         


เปิดกรุจานกระเบื้อง &quot;ชมพู่  อารยา&quot; น่ารักทุกใบ แต่ละชิ้นราคาไม่ธรรมดาจริงๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ชมพู่ อารยา เปิดกรุจานกระเบื้องที่สะสมไว้ แต่ละลายน่ารักมาก บอกเลยราคาไม่ธรรมดาจริงๆ
         

https://www.sanook.com/news/9250846/
         
1555  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เก็ท โสภณ' ถูก 'สว.' แจ้งหมิ่นประมาท เหตุแจงใบปลิว เรียกร้อง สว. ฟังเสียงประ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 19:58:06
'เก็ท โสภณ' ถูก 'สว.' แจ้งหมิ่นประมาท เหตุแจงใบปลิว เรียกร้อง สว. ฟังเสียงประชาชน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 13:29</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ตำรวจเข้าแจ้งข้อหา “เก็ท โสภณ” ในเรือนจำ หลังถูก สว. เสรี สุวรรณภานนท์ แจ้งความคดีหมิ่นประมาท จากการทำกิจกรรมแจกใบปลิวเรียกร้องให้ สว. ฟังเสียงประชาชนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2566 ที่ตลาดเสรี 2 โดยเก็ท โสภณ ได้ปฏิเสธไม่ให้การ และไม่ลงชื่อใดๆ ในเอกสารบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงาน เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พนักงานสอบสวนจาก สน.วัดพระยาไกร ได้เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหากับ 'เก็ท' โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรม 'โมกหลวงริมน้ำ' ในคดีที่ถูก เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นผู้ไปกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา-ทำให้เสียทรัพย์-ก่อความเดือดร้อนรำคาญ จากกรณีทำกิจกรรมติดใบปลิวเรียกร้องให้ สว. ฟังเสียงประชาชนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่บริเวณตลาดเสรี 2 เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2566</p>
<p>ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ตำรวจ สน.วัดพระยาไกร ได้ติดต่อทนายความว่าจะเข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อโสภณ ในเรือนจำ จึงได้นัดหมายวันเวลาที่ให้ทนายความไปร่วมฟังการสอบสวนเอาไว้ โดยมี พ.ต.ท.อรุณ เลิศศักดิ์เกษตร และ ร.ต.อ.เดชารุ่ง อภิสุขวงศ์ เป็นพนักงานสอบสวนผู้เข้าแจ้งข้อกล่าวหา</p>
<p>พฤติการณ์โดยสรุประบุว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2566 เวลาประมาณ 18.00 น. โสภณ พร้อมกับเพื่อนนักกิจกรรม ได้ร่วมกันไปที่ตลาดเสรี 2 ถนนเจริญกรุง ซึ่งผู้ต้องหาทราบดีว่าเป็นกิจการค้าของบริษัท หยกสุวรรณมนตรี จำกัด ซึ่งมี เสรี สุวรรณภานนท์ เป็นหุ้นส่วนและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ โดยได้เข้าไปบริเวณที่เกิดเหตุ และร่วมกันกระทำการใดๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ</p>
<p>ข้อกล่าวหาระบุว่า กลุ่มนักกิจกรรมได้เข้าไปติดใบปลิวและติดประกาศ โดยพนักงานตลาดได้ห้ามปรามไม่ให้ติดแล้ว แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.วัดพระยาไกร เข้าไปห้ามปรามด้วย กลุ่มผู้ต้องหาก็ไม่ยอมหยุด ได้มีการติดใบปลิวที่ผนัง เสา อาคารร้านค้าในตลาด รวมทั้งโต๊ะอาหารของร้าน ทำให้เกิดความสกปรกเสียหายตามจุดต่าง ๆ และได้นำใบปลิวไปแจกแม่ค้าและประชาชนที่เข้ามาในตลาด และได้พูดใส่ความผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ว่าไม่ไปลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่เป็นความจริง</p>
<p>และยังติดประกาศจับ ประกาศใส่ความหมิ่นประมาทต่อประชาชนซึ่งเป็นบุคคลที่สามไปทั่วตลาด โดยมีการนำรูปภาพของผู้กล่าวหาและพิมพ์ข้อความว่า “ประกาศจับ สว. รับใช้เผด็จการ หรือทำตามเสียงประชาชน เสรี สุวรรณภานนท์ เคยเป็น สปท. หลังรัฐประหารปี 2557” “‘ผมนิยมเผด็จการประชาธิปไตย แต่ไม่ได้นิยมพวกประชาธิปไตยจอมปลอม’ พูดในที่ประชุม 62”</p>
<div class="more-story">
<p>นักกิจกรรมแจกใบปลิวเรียกร้อง ส.ว. โหวตนายก ตามเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ที่ตลาดเสรี 2</p>
</div>
<p>ผู้กล่าวหาเห็นว่าข้อความเป็นความเท็จทั้งสิ้น เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ต่อหน้าประชาชนที่อยู่ในตลาดและพนักงานของบริษัท เป็นการร่วมกันทำให้ผู้กล่าวหาได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง</p>
<p>พนักงานสอบสวน ได้แจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อหาต่อโสภณ ได้แก่ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา, ทำให้เสียทรัพย์ และร่วมกันกระทำการใดๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ</p>
<p>โสภณได้ปฏิเสธไม่ให้การ และไม่ลงชื่อใด ๆ ในเอกสารบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108157
 
1556  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เปิดเหตุผลศาลคดี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ แม้มีฉากสื่อถึง 6 ตุลาฯ แต่ฉายได้ไม่ทำสั เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 18:27:36
เปิดเหตุผลศาลคดี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ แม้มีฉากสื่อถึง  6  ตุลาฯ แต่ฉายได้ไม่ทำสังคมแตกแยก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 17:20</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เปิดเหตุผลของศาลปกครองสูงสุดในการยกเลิกคำสั่งห้ามฉาย “เชคสเปียร์ต้องตาย” ของกองเซ็นเซอร์ห้ามฉายและยังสั่งให้จ่ายชดเชยค่าเสียหาย 5 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ย ศาลเห็นว่าแม้จะมีฉากที่สื่อถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แต่ศาลกลับเห็นเห็นว่าฉายได้ไม่ได้สร้างความแตกแยกสามัคคี คำสั่งของกองเซ็นเซอร์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย</p>
<p>21 ก.พ.2567 หลังจากเมื่อวานนี้มีการรายงานข่าวถึงศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสั่งให้ยกเลิกคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” และสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (ในรายงานชิ้นนี้จะเรียกว่า กองเซ็นเซอร์) จ่ายค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิเป็นเงินจำนวน 500,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และผู้กำกับ</p>
<p>มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ได้ให้ข้อมูลเป็นเอกสารคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแก่ประชาไททำให้ทราบรายละเอียดของเหตุผลของศาลเพิ่มเติมในการยกเลิกคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ศาล ปค.สูงสุดให้ฉาย‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กองเซ็นเซอร์ต้องจ่าย 5 แสนพร้อมดอกเพราะสั่งห้ามฉาย</li>
<li>แบนต่อเนื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เหตุเนื้อหาสร้างความแตกแยก</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">แบนเพราะมีฉากที่ทำให้รู้ว่าเป็นเหตุการณ 6 ตุลาฯ</span></h2>
<p>คำพิพากษาสรุปได้ว่า เบื้องต้นในคดีนี้ มานิต ในฐานะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้อำนวยการร่วมและเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย”  ได้รับเงินทุนสนับสนุนการสร้างจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเงินจำนวน 3,000,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ เรื่อง มาตรการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2552 และภายหลังจากทั้งสองสร้างภาพยนตร์เสร็จได้ยื่นคำขอตรวจพิจารณาภาพยนตร์ต่อกองเซ็นเซอร์</p>
<p>หลังกองเซ็นเซอร์ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเนื้อหาที่นำเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 มาสอดแทรกไว้ เช่นฉากที่แสดงถึงคนดูละครทำร้ายคณะนักแสดงและจับผู้กำกับละครขึ้นแขวนคอและทุบตีด้วยสิ่งของ ซึ่งเข้าลักษณะก่อให้เกิดความแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติต้องห้ามเผยแพร่ในประเทศ ตามข้อ 7(3) ของกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 และจัดประเภทเป็นภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในประเภท ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง(7) ใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551</p>
<p>แต่ก่อนที่กองเซ็นเซอร์จะมีมติห้ามฉายได้มีการเรียกมานิตและสมานรัชต์เพื่อขอให้แก้ไขฉากดังกล่าวแต่ทั้งสองยืนยันว่าไม่แก้ไขเพราะเป็นการนำเสนอความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 และต่อมากองเซ็นเซอร์ได้มีมติสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ดังกล่าว มานิตและสมานรัชต์จึงดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งของกองเซ็นเซอร์ต่อนายกรัฐมนตรีและประธานของคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ</p>
<p>ต่อมา 11 พ.ค.2555 คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาข้ออุทธรณ์ของผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับแล้วเห็นว่า แม้ภาพยนตร์ดังกล่าวจะมีการดัดแปลงสถานที่ในเรื่องให้เป็นประเทศสมมติแล้วก็ตามแต่ก็สื่อให้เข้าใจได้ว่าหมายถึงสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ และเมื่อกองเซ็นเซอร์ได้สั่งให้แก้ไขเนื้อหาบางส่วนที่เห็นว่าสร้างความแตกสามัคคีแล้วแต่ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสองยืนยันที่จะไม่แก้ไข คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ จึงมีมติยกอุทธรณ์ของผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสอง</p>
<p>มานิตและสมานรัชต์ เห็นว่าคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องคณะกรรมการภาพยนตร์เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ กองเซ็นเซอร์เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเพื่อให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องทั้งสองรายและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก้มานิตและสมานรัชต์ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง มานิตและสมานรัชต์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด</p>
<p>ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่ามีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก การมีคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์และคำสั่งยกอุทธรณ์ของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และประเด็นที่สอง การกระทำของกองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์นั้นถือเป็นการละเมิดต่อมานิตและสมานรัชต์หรือไม่ ถ้าหากเป็นการละเมิดผู้ถูกฟ้องทั้งสองรายจะต้องจ่ายชดใช้ให้แก่ทั้งสองคนหรือไม่และจ่ายเท่าไหร่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หนังไม่สร้างความแตกแยก กองเซ็นเซอร์กำหนดเรต 20+ ฉายแทนห้ามฉายได้</span></h2>
<p>สำหรับประเด็นแรก ศาลได้บรรยายสรุปเนื้อหาของภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนถึงฉากจบของภาพยนตร์ที่ภาพยนตร์เล่าถึงการแสดงละครเวทีซ้อนกับสถานการณ์โลกภายนอกโรงละคร ก่อนจะระบุว่าเนื้อหาในเรื่องแม้จะมีบางส่วนที่สื่อให้เห็นว่าเป็นสังคมไทยและฉากความรุนแรงในช่วงท้ายของเรื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ตามที่กองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ อ้างไว้เช่นกัน</p>
<p>“แต่ภาพยนตร์ดังกล่าวทั้งเรื่องเป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือต้องการสื่อสารกับผู้ชมในแง่มุมของความชั่วร้ายในจิตใจของมนุษย์โดยยกเอากรณีผู้นำประเทศที่งมงายในไสยศสาตร์ มักใหญ่ใฝ่สูงและบ้าอำนาจ ได้ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ชอบธรรมตามบทละครของวิเลีบม เชคสเปียร์ บทดภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้ต้องการจะสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 แต่อย่างใด”</p>
<p>อีกทั้งศาลยังระบุอีกว่า “ส่วนตอนท้ายเรื่องที่มีกลุ่มบุคคลที่คลั่งไคล้ในตัวท่านผู้นำ(ในโลกภายนอกโรงละคร) โกรธแค้นที่มรการแสดงละครล้อเลียนท่านผู้นำ ได้เข้าไปทำร้ายนักแสดงและผู้คนที่กำลังดูละคร รวมทั้งได้ทำร้ายผู้กำกับละคร(ที่แต่งตัวเหมือนเชคสเปียร์) แล้วลากออกไปด้านหน้าโรงละคร จับแขวนคอและทุบตีด้วยเก้าอี้เหล็กพับท่ามกลางกลุ่มคนจำนวนมากที่ส่งเสียงเชียร์ แม้อาจจะเป็นการเลียนแบบมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 ก็ตาม แต่ฉากการแสดงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที ไม่น่าจะทำให้ผู้ชมภาพยนตร์เข้าใจว่าเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 หรือหากผู้ชมเข้าใจว่าเป็นการเลียนแบบเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 ก็เห็นได้ว่าเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวได้ยุติไปนานแล้ว”</p>
<p>นอกจากศาลจะเห็นว่าเนื้อหาที่กล่าวถึงเหตุการณเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 จะเกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นประจำทุกปีและยังมีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ทางสื่อต่างๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบถึงเหตุการณ์ในอดีตเพื่อให้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น</p>
<p>ศาลเห็นว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่น่าจะก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ และหากกองเซ็นเซอร์เห็นว่าภาพยนตร์ดังกล่าวมีเนื้อหารุนแรงมากเกินไปหรืออาจทำให้คนที่ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอในการรับชมจนเกิดความเข้าใจผิด กองเซ็นเซอร์สามารถกำหนดให้เป็นภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดูได้ ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 26 วรรคหนึ่ง(6) ของพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ</p>
<p>ศาลจึงเห็นว่าคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์เป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลไม่เข้าเงื่อนไขเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐและเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดและให้ถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมไปถึงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ที่มีมติให้ยกอุทธรณ์ของมานิตและสมานรัชต์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คำสั่งห้ามฉายเป็นการละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่รวมค่าเสียหายจากการผลิต</span></h2>
<p>ศาลพิจารณาต่อว่าเมื่อคำสั่งของกองเซ็นเซอร์และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วจึงถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อมานิตและสมานรัชต์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 ด้วย</p>
<p>แต่เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้วคำสั่งห้ามฉายแล้ว ผู้สร้างภาพยนตร์สามารถนำไปฉายเผยแพร่ได้แต่จะได้รายได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าชมภาพยนตร์ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการสร้างภาพยนตร์จึงไม่ถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของผู้ถูกฟ้องทั้งสองราย จึงไม่ต้องกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสอง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงพิพากษาให้มานิตและสมานรัชต์ยังได้รับค่าเสียหายจากการออกคำสั่งห้ามฉายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกองเซ็นเซอร์อยู่โดยให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นผู้ชดใช้แทนเนื่องจากเป็นสำนักงานเลขาธิการของกองเซ็นเซอร์ แต่คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ไม่ต้องรวมชดใช้เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นเพียงผู้พิจารณาทบทวนคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่จะออกฉายในประเทศ</p>
<p>ศาลได้กำหนดในคำพิพากษาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวชดใช้แก่มานิตและสมานรัชต์ดังนี้</p>
<ol>
<li>ศาลกำหนดเงินต้นที่ต้องชดใช้ที่ 500,000 บาท</li>
<li>นับตั้งแต่วันที่กองเซ็นเซอร์มีคำสั่งห้ามฉายเมื่อ 3 เม.ย.2555 จนถึงวันที่มานิตและสมานรัชต์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.2555 รวมเป็นเวลา 129 วัน มีดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี คิดเป็นเงิน 13,217.21 บาท</li>
<li>หลังจากฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.2555 จนถึงวันที่ 10 เม.ย.2564 ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจากเงินต้น 500,000 บาท</li>
<li>ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.2564 ให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี บวกอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 2 จากเงินต้น 500,000 บาท</li>
</ol>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108160
 
1557  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เก็บตกงานแต่ง "พริม พริมา" จัดที่เขาใหญ่ ดาราร่วมงานคับคั่ง เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 17:31:54
เก็บตกงานแต่ง "พริม พริมา" จัดที่เขาใหญ่ ดาราร่วมงานคับคั่ง
         


เก็บตกงานแต่ง &quot;พริม พริมา&quot; จัดที่เขาใหญ่ ดาราร่วมงานคับคั่ง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เก็บตกงานแต่ง "พริม พริมา" จัดที่เขาใหญ่ ดาราสวยหล่อร่วมงานคับคั่ง
         

https://www.sanook.com/news/9250662/
         
1558  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ตำรวจปัตตานี ส่งฟ้อง 'สื่ออิสระ-แม่ผู้ตาย' ข้อหาแย่งศพ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 16:57:31
ตำรวจปัตตานี ส่งฟ้อง 'สื่ออิสระ-แม่ผู้ตาย' ข้อหาแย่งศพ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 15:42</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ตำรวจปัตตานีส่งตัว “สื่ออิสระ-แม่ผู้ตาย” ให้อัยการพิจารณาในข้อหาแย่งศพนายฮัยชัม สมาแฮ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกทหารวิสามัญฆาตกรรม สื่ออิสระยืนยันไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ “กลุ่มด้วยใจ” ตั้งข้อสังเกต เป็นการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) ในสามจังหวัดภาคใต้</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 กลุ่มด้วยใจซึ่งทำงานติดตามการฟ้องคดีปิดปากในสามจังหวัดภาคใต้ “SLAPPs” รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา ตำรวจปัตตานีได้ส่งตัวนายอัสมาดี บือเฮง ชาว อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี นักเขียน – สื่ออิสระ และมารดาของนายฮัยชัม สมาแฮ ผู้ตายให้อัยการจังหวัดปัตตานีพิจารณาในข้อหาแย่งศพ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542811603_9b2861bb05_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ กลุ่มด้วยใจ</span></p>
<p>เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่า นายอัสมาดีและมารดาของนายอัยซัมขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่จากกรณีการนำศพนายอัยซัมออกจากโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการพิสูจน์บุคคล เหตุเกิดขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารได้นำศพนายฮัยชัม สมาแฮ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการวิสามัญฆาตกรรม เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 มาที่โรงพยาบาลปัตตานีเพื่อพิมพ์มือศพนายฮัยซัมประกอบสำนวนการสอบสวนในคดี</p>
<p>นายอัสมาดีได้ปฏิเสธว่าในวันและเวลานั้นตนเองไปละหมาดและไม่ได้แต่งกายตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุไว้ว่าเป็นผู้ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>สื่ออิสระปัตตานีงงถูก ตร.กล่าวหาแย่งศพ ยืนยันไม่ได้อยู่ตอนเกิดเหตุ เชื่อเข้าใจผิด</li>
</ul>
</div>
<p>กลุ่มด้วยใจตั้งข้อสังเกตว่า คดีนี้เป็นคดีแรกที่มีการนำเรื่องไปถึงชั้นอัยการ และยังมีอีก 2 คดีที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการของตำรวจ ได้แก่ คดีที่ธารโตและศรีสาคร นอกจากนี้ยังมีกรณีการฟ้องปิดปากนายอาร์ฟาน วัฒนะ ในข้อหาขุดศพที่อัยการเลื่อนนัดมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ทำให้นายอาร์ฟานต้องขี่มอเตอร์ไซด์เดินทางจากสุไหงปาดีไปที่ยังตัวจังหวัดปาตานีกว่า 4 ครั้ง</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108159
 
1559  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ประวัติ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม เด็กถีบสามล้อ สู่ อธิบดี พช. ก่อนถูกโยกกลับไปเป็น ผู้ว เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 15:32:31
ประวัติ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม เด็กถีบสามล้อ สู่ อธิบดี พช. ก่อนถูกโยกกลับไปเป็น ผู้ว่าฯ โคราช
         


ประวัติ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม เด็กถีบสามล้อ สู่ อธิบดี พช. ก่อนถูกโยกกลับไปเป็น ผู้ว่าฯ โคราช" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ประวัติ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม จากเด็กถีบสามล้อ เป็นผู้ว่าฯ ติดดินขวัญใจประชาชน ขึ้นสู่ตำแหน่ง อธิบดี พช. ก่อนถูกโยกกลับไปเป็น ผู้ว่าฯ โคราช
         

https://www.sanook.com/news/9250538/
         
1560  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ฮุนเซน' โพสต์ภาพเยี่ยม 'ทักษิณ' มิตรภาพ 32 ปี ย้ำไม่คุยการเมือง ชวน 'อุ๊งอิ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 15:27:22
'ฮุนเซน' โพสต์ภาพเยี่ยม 'ทักษิณ' มิตรภาพ 32 ปี ย้ำไม่คุยการเมือง ชวน 'อุ๊งอิ๊ง' เยือนกัมพูชาต่อ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 14:27</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“ฮุนเซน” โพสต์ภาพเยี่ยม “ทักษิณ” ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า รำลึก 32 ปีแห่งมิตรภาพ ย้ำไม่มีการคุยเรื่องการเมือง พร้อมชวน “อุ๊งอิ๊ง” เยือนกัมพูชาในวันที่ 14 – 15 มี.ค. นี้ ทิ้งทายขอบคุณพี่ชายและหลานสาวสำหรับสิ่งที่ได้รับในวันนี้ ก่อนเดินทางกลับกัมพูชา</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา “ฮุนเซน” โพสต์ภาพคู่ทักษิณ ชินวัตร และอุ๊งอิ๊ง - แพทองธาร ชินวัตร ผ่านเฟซบุ๊ก “Samdech Hun Sen of Cambodia” หลังเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัวจากกัมพูชามาเยี่ยมทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้า พร้อมเขียนข้อความระบุ ตนเองเดินทางมาเยี่ยมบ้านเพื่อน ณ เมืองกรุงเทพ ทักษิณ แม้จะเจ็บป่วยแต่ต้อนรับด้วยความเป็นพี่น้องกัน อุ๊งอิ๊งลูกสาวคนเล็กและหัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างความผูกพันของมิตรภาพ ตนเองได้ชวนอุ๊งอิ๊งไปเยือนกัมพูชาในวันที่ 14 – 15 มี.ค. นี้ พร้อมย้ำอดีตนายกฯ สองคนพบกันไม่มีการคุยเรื่องการเมือง 32 ปีแห่งมิตรภาพตั้งแต่ปี 1962 ขอบคุณพี่ชายและหลานสาวสำหรับสิ่งที่ได้รับในวันนี้</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53541722417_c9d966655c_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542779208_139fe4d5d8_b.jpg" /></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108158
 
หน้า:  1 ... 76 77 [78] 79 80 ... 1126
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.121 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 13 ตุลาคม 2565 14:28:56