[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 23:44:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความศักดิ์สิทธิ์ของนักบวชสตรีและภิกษุณีสงฆ์ : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)  (อ่าน 1275 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559 19:16:34 »



คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : ความศักดิ์สิทธิ์ของนักบวชสตรีและภิกษุณีสงฆ์

ผมเพิ่งเดินทางไปจังหวัดพะเยาพร้อมมิตรสหายตามคำเชิญของมูลนิธิโครงการตำราฯ เพื่อไปพูดคุยเรื่องอินเดียกับอุษาคเนย์

นอกจากประเด็นอินเดียในห้องของผมแล้ว ยังมีประเด็นด้านศาสนาที่รวมเอานักวิชาการ “ตัวจี๊ดๆ” อย่างอาจารย์สุรพศ ทวีศักดิ์, วิจักขณ์ พานิช, อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย ฯลฯ ไว้

ในงานนี้ผมได้มีโอกาสพบหลวงแม่ (ท่านภิกษุณีธัมมนันทาแห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี ผู้ที่ผมติดตามอ่านงานท่านในมติชนสุดฯ มาโดยตลอด) ซึ่งท่านรับนิมนต์มาด้วย ระหว่างพัก วิจักขณ์ก็ชวนผมและอาจารย์สุรพศไปนั่งคุยกับหลวงแม่

แม้จะพอทราบมาก่อนว่าภิกษุณีในเมืองไทยได้รับการปฏิบัติอย่างไรบ้าง แต่การได้พูดคุยกับหลวงแม่ยิ่งได้ทราบอะไรอีกมากซึ่งทำให้รู้สึกสะเทือนใจไม่น้อย


 

หลายท่านคงทราบว่า ภิกษุณีไทยไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์เถรวาทไทย และไม่ได้รับสถานะนักบวชตามกฎหมาย

นั่นแปลว่าภิกษุณีไม่ได้รับสิทธิอะไรของนักบวชทั้งสิ้น แต่นั่นไม่น่าสะเทือนใจเท่าการที่คณะสงฆ์ตั้งแง่รังเกียจ (รวมทั้งรังเกียจพระภิกษุที่ให้การสนับสนุนภิกษุณี) และไม่แม้แต่จะมาสนทนาทำความเข้าใจพูดคุย ทั้งที่เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยกันแท้ๆ

เพื่อนผมและหลวงแม่พูดอะไรที่น่าสนใจมากว่า เรื่องนี้คนให้ความสำคัญกับ “วินัย” มากกว่า “ธรรม” ทั้งๆ ที่พุทธะท่านให้ความสำคัญกับ “ธรรมวินัย”

คือโดยธรรมแล้วพุทธเจตนารมณ์ย่อมต้องการให้พื้นที่กับสตรีเป็นนักบวช เพราะพุทธศาสนายืนยันเสมอคือไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็เข้าถึงการตรัสรู้ได้ทั้งนั้น

ทำไมถึงไม่ควรมีภิกษุณีเล่า

 

จะบอกว่า ในเมื่อใครๆ ก็ตรัสรู้ได้ ผู้หญิงจะขวนขวายบวชพระทำไม ก็ต้องย้อนกลับไปว่า ถ้างั้นจะบวชพระภิกษุทำไมด้วยเช่นกัน

การบวชเป็นรูปแบบที่เกื้อต่อการปฏิบัติสำหรับผู้มุ่งไปทางตรง เป็นระบบ “ชุมชน” ที่ออกแบบไว้ช่วยให้ปัจเจกประคับประคองตนไว้ในทางโดยมีกัลยาณมิตรช่วยเหลือ ไม่ต้องพะวงชีวิตทางโลกแบบฆราวาส ซึ่งควรต้องเปิดกว้างต่อทุกคน ทุกเพศทุกวัย

พระธรรมคำสอนและพระวินัยนั้นเป็นสิ่งที่ต้องตีความ การตีความนี้เป็นสิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ เหตุด้วยกาลเวลานั้นย่อมล่วงเลยไปและคำสอนย่อมแพร่ไปในบริบททางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆ ใครจะรู้ว่าในสมัยพระศาสดาเป็นอย่างไร ก็ต้องตีความกันทั้งนั้น

แต่แปลกที่เขาตีความให้ไม่ยอมให้มีภิกษุณี ทั้งๆ ที่จะตีความให้มีก็ได้ ไม่งั้นพระพุทธเจ้าจะตั้งภิกษุณีสงฆ์ทำไม

สุดท้ายขึ้นอยู่กับตีความด้วยหัวใจแบบไหน เปิดกว้างและเมตตา หรือคับแคบและกีดกัน

 

ที่อ้างว่าภิกษุณีขาดสูญไปนั้น ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าวงศ์ของภิกษุณีนั้นไม่ขาดสูญ ไปเจริญในฝ่ายมหายานซึ่งอยู่ในฝ่ายที่เคยใช้วินัยเดียวกับเถรวาท แถมโดยหลักแล้ว การบวชภิกษุณีย่อมสำเร็จในข้างภิกษุสงฆ์เป็นสำคัญ ถ้าพระภิกษุสงฆ์ยอมรับก็ย่อมมีขึ้นได้

มีข่าวว่า ทางฝ่ายวัชรยานซึ่งเดิมมีสามเณรีอยู่แล้ว องค์กรรมปะที่สิบเจ็ดประมุขของนิกายกาจูร์ มีพระดำริให้มีการรื้อฟื้นการบวชภิกษุณี นี่คือวิสัยทัศน์ผู้นำทางศาสนาที่เห็นความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่

การคุยกับหลวงแม่วันนั้นทำให้ทราบว่า ปัจจุบันมีภิกษุณีสงฆ์จำนวนมากแล้วในเมืองไทย เฉพาะในสายลังกาคือเถรวาทมีทั้งที่เกาะยอสงขลา ทางอีสานและวัตรทรงธรรมของหลวงแม่ และฝ่ายมหายานอีก รวมๆ หลายร้อยรูป

ไม่ว่าทางกฎหมายหรือมหาเถรสมาคมจะว่าอย่างไร ก็ห้ามการมีอยู่ของสังฆะผู้หญิงไม่ได้อีกแล้ว


ผมพยายามนึกว่า นอกจากการกีดกันผู้หญิงด้วยข้ออ้างต่างๆ แล้ว เรามีปัญหาพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับการมองผู้หญิงทางวัฒนธรรมและความเชื่อ การมีภิกษุณีในบ้านเราจึงยากเย็น

ศาสนาเดิมของเราเป็นศาสนาผีของผู้หญิง ต่อมาศาสนาผีที่ไปผสมกับพุทธและพราหมณ์แล้วจึงค่อยๆ โอนถ่ายความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจไปสู่ผู้ชายเช่นเดียวกับนักบวชในศาสนาทั้งสอง

เมื่อผีกลับไปอยู่ฉากหลัง พระซึ่งเป็นนักบวชของพุทธศาสนาจึงเข้ามาทำหน้าที่แทนนักบวชเดิมของศาสนาผี (แม่มดหมอผี) ด้วย เช่น ปัดเป่าเสนียดจัญไร รักษาโรคภัยโดยพิธีกรรมต่างๆ ในอุษาคเนย์

ความศักดิ์สิทธิ์แบบผี คือความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจดลบันดาลให้ดีหรือร้ายก็ได้ เหนือเหตุนอกผล เป็นอำนาจเร้นลับที่มีสิทธิ์ขาด จึงถูกโอนถ่ายมายังพระ

พระจึงกลายเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์พิเศษในสังคมอุษาคเนย์ และความศักดิ์สิทธิ์แบบนั้นนำมาซึ่งสมบัติอำนาจสมณศักดิ์ต่างๆ แก่พระ จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนาเป็นอีกแบบ คือความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเมตตาคุณ ด้วยปัญญาคุณ ซึ่งไม่ได้นอกเหตุเหนือผล แต่ไม่ใช่อำนาจเร้นลับดำมืดที่จะบงการให้เกิดสิ่งต่างๆ

แต่เป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่จะดลบันดาลให้บุคคลกระทำการต่างๆ ด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยพลังได้

เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่อ่อนโยนอย่างยิ่ง ซึ่งหายไปแล้วหรือหาแทบไม่พบจากพุทธศาสนาในเมืองไทย

โดยไม่รู้ตัว เราชาวพุทธสัมพันธ์กับความศักดิ์สิทธิ์แบบผีในพื้นที่พุทธศาสนาทั้งสิ้น

 

ผมว่าทางหนึ่ง การกีดกันภิกษุณี ลึกๆ แล้วเพราะพระส่วนหนึ่ง คงไม่อยากแบ่งความศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งมาพร้อมอำนาจและทรัพย์สมบัติ) แบบนี้ให้กับผู้หญิง ซึ่งกว่าจะได้มาไม่ใช่ง่าย

และด้วยเหตุนั้น ผมกลับมีความหวังต่อภิกษุณีสงฆ์อย่างยิ่ง ในบางประเทศ เช่น ไต้หวัน ภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ และดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ฉือจี้ หรืออารามภิกษุณีอื่นๆ

ความเป็นผู้หญิงของภิกษุณีที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยกว่าที่จะเข้าสัมพันธ์ด้วย รวมทั้งงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนซึ่งต้องยอมรับว่าภิกษุณีมีศักยภาพด้านนี้จริงๆ

อีกทั้งภิกษุณีสงฆ์เพิ่งเริ่มประดิษฐานใหม่ๆ ไม่ถูกกลืนกลายหรือครอบงำโดยผีและพราหมณ์มากนัก และยังไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนาจของพระ พระผู้หญิงหรือภิกษุณี จึงยังคง “ความศักดิ์สิทธิ์” แบบพุทธศาสนาเอาไว้ได้มากพอสมควร

และความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา คือเมตตา กรุณาและปัญญา เป็นสิ่งที่สังคมไทยในเวลานี้ต้องการมากที่สุด

มิใช่ความศักดิ์สิทธิ์แบบอื่น

จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_17880

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
‘พระพิฆเนศวร์’ ที่อินเดียไม่รู้จัก : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 1454 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2559 16:03:27
โดย มดเอ๊ก
‘พระพิฆเณศวร์’ เทพแห่งศิลปวิทยา? : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 1513 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2559 16:21:21
โดย มดเอ๊ก
‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย’ : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ จิบกาแฟ
มดเอ๊ก 0 1701 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 12:29:26
โดย มดเอ๊ก
ความเข้าใจ(ผิด)เกี่ยวกับ “รามายณะ” : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 1 4226 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2559 20:48:12
โดย มดเอ๊ก
พระพุทธะผู้หญิง โดย เชฟหมี คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1127 กระทู้ล่าสุด 10 ธันวาคม 2560 18:59:41
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มีนาคม 2567 00:54:16