[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 06:53:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนรอยกำเนิดงานศิลปะ  (อ่าน 2911 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2334


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 มีนาคม 2558 19:48:08 »

.

ย้อนรอยกำเนิดศิลปะ


ภาพ : 39,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : นักวิทยาศาสตร์ขูดตัวอย่างจากเพดานถ้ำหลากสีสันในถ้ำอัลตามีราของสเปนเพื่อนำไปตรวจหาอายุ ถ้ำแห่งนี้เต็มไปด้วยภาพเขียนสิงสาราสัตว์
ที่วาดขึ้นระหว่าง 19,000 ถึง 15,000 ก่อน สัญลักษณ์นามธรรมบนเพดานถ้ำวัดอายุได้เก่า แก่กว่านั้นอย่างน้อย 20,000 ปี


ทางเข้าถ้ำให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังเดินเข้าสู่ลำคอของสัตว์ขนาดใหญ่ยักษ์ ทางเดินโลหะดูประหนึ่งลิ้นที่ตวัดลงสู่ความมืดมิดเบื้องล่าง เพดานถ้ำเตี้ยลง มีหลายจุดที่ผนังถ้ำทึบตันบีบแคบจนแตะไหล่ผม จากนั้น ผนังหินปูนที่ขนาบอยู่กลับเปิดกว้างขึ้น และเราก็ก้าวเข้าสู่คูหาถ้ำกว้างใหญ่ที่เปรียบได้กับท้องของเจ้าสัตว์ยักษ์ตัวนั้น

เหล่าสิงโตถ้ำอาศัยอยู่ที่นี่

แล้วยังมีแรดขนปุย แมมมอท และไบซัน รวมกันเป็นสวนสัตว์ป่าดึกดำบรรพ์ซึ่งมีทั้งที่กำลังแตกตื่นวิ่งหนี ต่อสู้ และแอบย่องล่าเหยื่อ ภายนอกถ้ำ พวกมันสูญพันธุ์ไปหมดสิ้นแล้ว แต่นี่หาใช่โลกแห่งความเป็นจริง ในถ้ำแห่งนี้ พวกมันยังมีชีวิตอยู่ตามผนังมืดทึบและแตกร้าว

ย้อนหลังไปราว 36,000 ปีก่อน ใครคนหนึ่งเดินจากปากถ้ำเข้าสู่คูหาที่เรายืนอยู่ในตอนนี้ และเริ่มลงมือวาดรูปบนผนังถ้ำอันว่างเปล่าโดยอาศัยแสงวูบวาบจากเปลวไฟ เป็นภาพสิงโตถ้ำ ฝูงแรดและแมมมอท ไบซันงดงามหนึ่งตัว และสัตว์ในจินตนาการตัวหนึ่งที่ครึ่งบนเป็นไบซันส่วนครึ่งล่างเป็นผู้หญิง ภาพเหล่านี้วาดขึ้นบนแผงหินทรงกรวยขนาดใหญ่ที่ทิ้งตัวลงมาจากเพดานถ้ำ ในคูหาอื่นๆ มีภาพม้า ไอเบกซ์ และวัวป่าออร็อก นกฮูกตัวหนึ่งบนผนังหินวาดด้วยโคลนโดยใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียว ไบซันมหึมาอีกตัววาดด้วยลายพิมพ์มือจุ่มดินเทศ (ocher)  แล้วยังมีหมีถ้ำที่เยื้องย่างอย่างสบายอารมณ์ราวกับมาองหาที่จำศีลระหว่างฤดูหนาวอันยาวนาน ภาพเหล่านี้มักวาดโดยการลากเส้นต่อเนื่องอย่างชำนิชำนาญเพียงเส้นเดียว

รวมแล้ว เหล่าศิลปินวาดภาพสัตว์ทั้งสิ้น 442 ตัวตลอดช่วงเวลาอาจจะหลายพันปี โดยใช้พื้นผิวถ้ำ 36,000 ตารางเมตรต่างผืนผ้าใบ สัตว์บางตัวอยู่เพียงลำพัง หรือแม้กระทั่งซ่อนอยู่ตามซอกหลืบ แต่ส่วนใหญ่มักรวมฝูงเป็นภาพโมเสกแผงใหญ่เช่นภาพที่ผมมองอยู่ตอนนี้ภายในส่วนลึกที่สุดของถ้ำ

ถ้ำซึ่งถูกหินถล่มปิดทับมานานถึง 22,000 ปีแห่งนี้มีโอกาสเห็นแสงเดือนแสงตะวันอีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1994 ระหว่างที่นักสำรวจถ้ำสามคน ได้แก่ เอเลียต บรูเนล, คริสเตียง อิลแลร์, และชอง-มารี โชเว ปีนป่ายไปตามรอยแยกแคบๆ บนหน้าผา แล้วโรยตัวลงสู่ทางเข้าอันมืดมิด นับแต่นั้นเป็นต้นมา กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศสก็ปกปักรักษาถ้ำซึ่งปัจจุบันรู้จัก   กันในชื่อ โชเว-ปง-ดาร์ก (Chauvet-Pont-d'Arc) อย่างหวงแหนยิ่ง

ความล้ำเลิศเชิงศิลปะจากฝีมือมนุษย์เช่นนี้บังเกิดขึ้นได้อย่างไรเมื่อนานมาแล้ว และดูเหมือนจะไม่มีแบบอย่างมาก่อน กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ยังเชื่อกันว่าภาพเขียนที่พบตามผนังถ้ำยุคหินเก่าตอนปลายในแถบยุโรปใต้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอย่างถ้ำอัลตามีรา ถ้ำลาสโก และถ้ำโชเว เป็นการแสดงออกของมนุษย์สายพันธุ์ที่เจริญกว่า นั่นคือมนุษย์สมัยใหม่อย่างพวกเราที่เดินทางมาถึงทวีปนี้ แล้วขับไล่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลผู้ป่าเถื่อน ไร้ความคิดเชิงศิลปะ ซึ่งอาศัยและวิวัฒน์อยู่ในแถบนั้นมานานนับแสนปีออกไป

เอาเข้าจริงกลับกลายเป็นว่า เรื่องราวซับซ้อนกว่านั้นมาก แถมยังน่าสนใจกว่านั้น เรื่องราวนี้เริ่มต้นขึ้นที่แอฟริกา เช่นเดียวกับเรื่องราวส่วนใหญ่

คริสโตเฟอร์ เฮนชิลวูดจ้องมองไปทางมหาสมุทรอินเดีย  เขายืนอยู่ ณ ปลายติ่งทางใต้สุดของทวีปแอฟริกาและหากไม่นับโขดหินมหึมาที่ถูกคลื่นลมกัดกร่อนทิ้งตัวลงไป 24.5 เมตรสู่เบื้องล่าง ก็นับว่าไม่มีอะไรขวางกั้นระหว่างรองเท้าบู๊ตของเขากับทวีปแอนตาร์กติกา นอกเสียจากท้องทะเลปั่นป่วนจนคลื่นแตกฟองที่ทอดยาว 2,400 กิโลเมตร

เฮนชิลวูดจากมหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สแรนด์ในแอฟริกาใต้ และมหาวิทยาลัยเบอร์เกนในนอร์เวย์ กับเพื่อนร่วมงาน ช่วยกันขุดค้นตรงจุดนี้มาตลอดช่วงเช้าในแหล่งโบราณคดีคลิปดริฟต์เชลเตอร์ และพบเครื่องมือหินจำนวนหนึ่ง รวมทั้งวัตถุใหม่ๆ อื่นๆ ซึ่งช่วยตอกย้ำหลักฐานที่หนักแน่นขึ้นเรื่อยๆ ว่า มนุษย์สมัยใหม่เคยอยู่อาศัยตามเนินเขาและถ้ำตื้นๆ ในแถบนี้เป็นช่วงๆ ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 165,000 ปี กระนั้น การค้นพบอันตราตรึงที่สุดของเขาบางส่วนกลับมาจากถ้ำบลอมบอสที่อยู่ห่างจากคลิปดริฟต์ออกไป 45 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก วันหนึ่งเมื่อปี 2000 ทีมงานของเขาขุดพบก้อนดินเทศแกะลายขนาดเล็กกว่าโทรศัพท์มือถือเล็กน้อยก้อนหนึ่ง ดินเทศเป็นวัสดุที่พบได้ทั่วไปในแถบนี้ของแอฟริกา และใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่เป็นสีเขียนเนื้อตัวไปจนถึงเป็นสารถนอมอาหารมาตลอดหลายพันปี  แต่ดินก้อนนี้ไม่เหมือนใคร ย้อนหลังไปราว 75,000 ปีก่อน คนหัวใสคนหนึ่งสลักลวดลายเป็นเส้นไขว้ทับกัน เส้นขนาน และเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมไว้บนดินก้อนนี้

ไม่มีใครรู้ความหมายของลายเส้นเหล่านั้น ซึ่งนับจากนั้นก็มีการค้นพบลวดลายลักษณะเดียวกันบนดินเทศอีก 13 ชิ้น เป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นลายเซ็น หรือเป็นการคำนวณอะไรสักอย่าง หรือจะเป็นรายการของชำยุคดึกดำบรรพ์ ไม่ว่าจุดประสงค์ที่ไม่แน่ชัดนี้จะเป็นอะไรกันแน่ แต่ลวดลายเหล่านี้ก็มีอายุเก่าแก่กว่าหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์ทุกชิ้นที่มีการสรุปอย่างแน่ชัดในยุคนั้นถึง 35,000 ปี

การโต้แย้งลดทอนความน่าเชื่อถือของการการค้นพบดังกล่าวในตอนแรก นักวิทยาศาสตร์บางคนโจมตีเจ้าดินก้อนน้อยนี้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ส่วนลวดลายก็อาจเป็นเพียงการขีดขูดเรื่อยเปื่อย "พวกเขาบอกว่า ดินก้อนนี้ไม่ได้สื่อความหมายอะไรเลย" เฮนชิลวูดเล่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักวิชาการคนอื่นๆ ก็เริ่มยอมรับว่า การค้นพบนี้อาจเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะตัวอย่างเก่าแก่ที่สุดของการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของมนุษย์

ในเวลาต่อมา นักวิจัยพบสมบัติล้ำค่าจากถ้ำบลอมบอสอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องมือกระดูกที่แกะสลักและตกแต่งอย่างประณีต รวมทั้งหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เมื่อกว่า 100,000 ปีมาแล้ว ผู้อาศัยในถ้ำแห่งนี้บดดินเทศเป็นผงละเอียด ก่อนนำไปผสมกับส่วนผสมอื่นๆ จนมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก แล้วบรรจุไว้ในเปลือกหอยเป๋าฮื้อซึ่งเป็นภาชนะเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เรารู้จัก และอาจใช้เป็นสีตกแต่งสำหรับเขียนตามเนื้อตัว ใบหน้า  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หรือเสื้อผ้า ในปี 2009 เฮนชิลวูดรายงานว่าพบก้อนดินเทศและหินสลักลายตารางซึ่งทำขึ้นอย่างจงใจเพิ่มเติมอีกโดยมีอายุเก่าแก่ถึง 100,000 ปีเช่นกัน

เมื่อเทียบกับความงามชวนตะลึงของงานศิลปะที่สรรค์สร้างขึ้นที่ถ้ำโชเวในอีก 65,000 ปีต่อมา ศิลปวัตถุเหล่านี้อาจแลดูพื้นๆ ก็จริง แต่การขีดเขียนรูปทรงง่ายๆ รูปหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้เป็นเครื่องหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง หรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากความคิดของคนคนหนึ่งที่คนอื่นๆร่วมรับรู้ความหมายได้นั้น  คือเครื่องหมายบ่งบอกการก้าวข้ามจากอดีตในฐานะสัตว์ของเรามาสู่สิ่งที่เราเป็นในวันนี้ นั่นคือสายพันธุ์ที่ใช้ประโยชน์จากสัญลักษณ์สารพัดรอบตัว ตั้งแต่ป้ายจราจรบนทางด่วน ไปจนถึงแหวนแต่งงานบนนิ้วนาง และไอคอนต่างๆ บนสมาร์ตโฟนของเรา




ภาพ : 35,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : รูปสลักวีนัสจากถ้ำโฮฮ์เลเฟิลส์ในเยอรมนีเป็นงานศิลป์แสดงรูปลักษณ์มนุษย์อย่างไร้ข้อโต้แย้งชิ้นเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ
ห่วงขนาดเล็กเหนือลำตัวบ่งชี้ว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นจี้ห้อยคอ ฮิลเดอ เจนเซน, TŰBINGEN UNIVERSITY, เยอรมนี



ภาพ : 25,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ประติมากรรม “เลดีออฟบราสซองปุย” (Lady of Brassempouy) ที่แกะสลักจากงาช้างแมมมอทอย่างประณีต
ค้นพบเมื่อปี 1894 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ถือเป็นศิลปะสื่อรูปลักษณ์ใบหน้ามนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง
AT MUSÉE D'ARCHÉOLOGIE NATIONALE (เดิมชื่อ MUSĖE DES ANTIQUITĖS NATIONALES, ฝรั่งเศส



ภาพ : 100,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ถ้ำบลอมบอสซึ่งตั้งอยู่ใกล้ปลายติ่งด้านใต้สุดของทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
ที่เก่าแก่ที่สุดจำนวนหนึ่ง รวมถึงลูกปัดเปลือกหอย ดินเทศสลักลาย และชุดเครื่องมือผลิตสีดินเทศ อายุเก่าแก่ถึง 100,000 ปี



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆ ของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : คริสโตเฟอร์ เฮนชิลวูด ผู้ได้รับทุนของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และทีมงาน ขุดหาเบาะแสต้นกำเนิดของพฤติกรรมมนุษย์สมัยใหม่
ที่คลิปดริฟต์เชลเตอร์ มนุษย์สมัยใหม่อาศัยอยู่ทั่วภูมิภาคแถบนี้ ย้อนหลังไปไกลถึง 165,000 ปีก่อน



ภาพ : 65,000 | 75,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ดินเทศสีแดงก้อนหนึ่งที่พบในถ้ำบลอมบอสเมื่อปี 2000 มีลวดลายเส้นตัดขวางและเส้นขนาน สลักโดยมือมนุษย์ผู้หนึ่งเมื่อ 75,000 ปีก่อน



ภาพ : 65,000 | 75,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : เฮนชิลวูดถือ “ดินสอ” ดินเทศสีแดงชิ้นหนึ่งที่ขุดพบเมื่อปี 2013 ในคลิปดริฟต์เชลเตอร์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน
"ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นที่นี่ครับ" เฮนชิลวูดบอก



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆ ของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : หญิงสาวเผ่าฮิมบาชโลมผมให้เพื่อนด้วยดินเทศบนริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของนามิเบีย
ดินเทศซึ่งให้สีแดงเข้มถือเป็นของมีค่า ใช้ตกแต่งร่างกายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่มนุษย์ดึกดำบรรพ์เคยใช้



ภาพ : 36,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : แผงภาพรูปม้า (The Horse Panel) และงานศิลป์น่าทึ่งอื่นๆ ที่พบภายในถ้ำโชเว-ปง-ดาร์ค เมื่อปี 1994
กอปรกันขึ้นเป็น "ประจักษ์พยานอันน่าอัศจรรย์แห่งย่างก้าวแรกๆ ของมนุษย์ในการผจญภัยทางศิลปะ" เฟลอร์ เปลเลอแรง รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กล่าวไว้



ภาพ : 36,000 ปีก่อน
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ศิลปินยุคหินเก่าตอนปลายวาดภาพสัตว์กินพืชเป็นส่วนใหญ่ แต่เหล่าจิตรกรที่ถ้ำโชเวมักวาดสัตว์นักล่าที่ดุร้าย
เช่นที่ปรากฏบนแผงภาพเกรตแพเนล (Great Panel) หรือ “แผงภาพยิ่งใหญ่” อันโด่งดัง
เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2014 องค์การยูเนสโกประกาศให้ถ้ำโชเวเป็นแหล่งมรดกโลก ภาพพปริทัศน์ประกอบขึ้นจากภาพถ่าย 8 ภาพ



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ศิลปินในยุคหินเก่าตอนปลายบางครั้งเลือกที่จะฝากผลงานของพวกเขาไว้บนผนังในซอกหลืบแคบๆ
เช่น ซอกหินขนาดพอๆ กับตู้เสื้อผ้าขนาดเล็กที่เห็นนี้ในถ้ำลัสชีเมเนอัส ใกล้ถ้ำเอลกัสตีโย มาโคร กราเซีย ดิแอซ
แห่งมหาวิทยาลัยบาสก์เคาน์ทรีพุ่งเป้าศึกษางานศิลป์ “ส่วนตัว” เหล่านี้



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ด้วยความช่วยเหลือจาก ซันส์ ปาโลเมรา (ซ้าย) ดริก ฮอฟฟ์แมนน์และอะลิสแตร์ ไพก์ สองนักวิจัยช่วยกันเก็บตัวอย่าง
เพื่อนำไปตรวจหาอายุจากซอกหลืบแคบๆ ของถ้ำอาร์โกเบในกังทาเบรีย เห็นได้ชัดว่าภาพวาดบนผนังถ้ำซึ่งมีทั้งรูปกวาง แพะป่า
และสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ได้ทำขึ้นเพื่อให้คนภายนอกเข้ามาชื่นชม



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆ ของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : ในสตูดิโอของเขาที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส จีล โตแซลโล จำลองภาพวาดจากเกรตเพเนลหรือแผงภาพใหญ่
ที่พบในถ้ำโชเว แผงภาพที่ทำขึ้นนี้จะถูกนำไปติดตั้งในแบบจำลองที่สมบูรณ์ของถ้ำโชเวซึ่งสร้างขึ้นใกล้กับสถานที่จริง
และจะเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในฤดูใบไม้ผลิปี 2015



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติคือ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังงานศิลป์ชิ้นแรกๆ ของโลกเหล่านี้



ภาพ : ศิลปินคนแรกๆ ของโลก
ภาพโดย : สตีเฟน อัลวาเรช
คำบรรยายภาพ : นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติคือ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังงานศิลป์ชิ้นแรกๆ ของโลกเหล่านี้


ขอขอบคุณ - ngthai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มีนาคม 2558 19:50:09 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.456 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 พฤษภาคม 2567 06:48:23