[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 พฤษภาคม 2567 13:02:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สื่อพลเมือง-ทางเลือกภาคอีสาน กับการฟ้องปิดปาก จับตา คุกคาม ข่มขู่ สารพัดวิธีจำ  (อ่าน 103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2566 09:07:38 »

สื่อพลเมือง-ทางเลือกภาคอีสาน กับการฟ้องปิดปาก จับตา คุกคาม ข่มขู่ สารพัดวิธีจำกัดเสรีภาพ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-01 14:45</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>โยษิตา สินบัว : รายงาน</p>
<p>รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในซีรีย์ ชุดสื่อพลเมือง-ทางเลือกภายใต้การคุกคาม (Alternative and Thai citizen media under threat) เป็นหนึ่งในซีรีส์ของโครงการวารศาสตร์ที่สร้างสะพานหรือ Journalism that Builds Bridges </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div>
<div class="summary-box">
<p>รายงานสัมภาษณ์ หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการบริหารเดอะอีสานเรคคอร์ด ถึงสถานการณ์สื่อพลเมือง-ทางเลือกภายใต้สถานการณ์ฟ้องปิดปาด จับตา คุกคาม ข่มขู่ สารพัดวิธีจำกัดเสรีภาพสื่อ สร้างสังคมหวาดกลัว ประชาธิปไตยถดถอย พร้อมย้อนอ่านเรื่องราวของจามร ศรเพชรนรินทร์ อดีตนักข่าวพลเมือง ThaiPBS ที่ถูกบริษัทเหมืองแร่ จ. เลย ฟ้องปิดปาก จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพเพื่อทำสารคดี สะท้อน</p>
</div>
</div>
<p>วิชาชีพสื่อ มีบทบาทในการตรวจสอบหรือติดตามความเป็นไปในสังคม พร้อมส่งเสียงให้ประชาชนรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ทั้งมีอิทธิพลทางความคิดผ่านการทำให้สังคมมองเห็นความสำคัญในแต่ละประเด็นและเกิดการถกเถียงพูดคุย นอกจากนั้น สื่อมวลชนยังเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคมอีกด้วย ดังนั้น การที่สื่อมวลชนจะสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบหรือติดตามความเป็นไปในสังคมพร้อมเผยแพร่สู่สาธารณะนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาความเป็นประชาธิปไตยในสังคม</p>
<p>อิทธิพลของสื่อที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้บางครั้งสื่อก็ถูกมองเป็นภัยคุกคามจากคนบางกลุ่ม เพราะหลายครั้งผู้มีอำนาจหรือนายทุนล้วนไม่ต้องการให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลบางอย่างที่สื่อนำเสนอสู่สาธารณะ โดยเฉพาะข้อมูลที่อาจสั่นคลอนอำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขา บางครั้งกลุ่มคนเหล่านั้นก็ต้องการให้ประชาชนรับรู้แค่ในเรื่องที่พวกเขาอยากให้รู้เท่านั้น ทำให้หลายครั้งผู้ประกอบวิชาชีพสื่อถูกคุกคามทั้งทางกายภาพหรือการใช้กระบวนการทางกฎหมายในการสร้างภาวะกดดันให้ผู้ถูกกระทำหยุดนำเสนอประเด็นเหล่านั้น</p>
<p>รายงานสัมภาษณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ชุดสื่อพลเมือง-ทางเลือกภายใต้การคุกคามที่ก่อนหน้านี้พาไปดูสถานการณ์ทั้งสื่อพลเมือง-ทางเลือกในพื้นที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในกรุงเทพฯ ภาคเหนือและชายแดนใต้หรือปาตานีมาแล้ว ชิ้นนี้จะชวนอ่านเรื่องราวของสื่อพลเมือง-ทางเลือกในพื้นที่ภาคอีสานที่เป็นพื้นที่ความขัดแย้งเข้มข้นทั้งการเมืองและโครงการพัฒนาของบริษัทเอกชนที่กระทบต่อชุมชน ผ่านบทสัมภาษณ์ หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการบริหารเดอะอีสานเรคคอร์ด รวมทั้งเรื่องราวของจามร ศรเพชรนรินทร์ อดีตนักข่าวพลเมือง ThaiPBS และผู้สื่อข่าวอิสระ ที่ถูกบริษัทเหมืองแร่ อ. วังสะพุง จ. เลย ฟ้องปิดปาก จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพเพื่อทำสารคดี</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'LIVE REAL-ขุนแผน แสนสะท้าน' 2 สื่อพลเมืองที่เกิดขึ้นท่ามกลางภัยคุกคาม   </li>
<li>SLAPP in the Northern: ฮับสื่อได้ ฮับความจริงบ่าได้    </li>
<li>The Motive เมื่อคนใน 'ชายแดนใต้/ปาตานี' ลุกขึ้นมาสื่อสารหวังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสันติภาพ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">จากเหมืองวังสะพุงสู่การใช้กฎหมายขัดขวางการทำงานสื่อ</span></h2>
<p>หนังสือ SLAPP ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก โดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่กรณีศึกษาที่ผู้สื่อข่าวถูกคุกคามโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายมาขัดขวางการทำงานของสื่อ หรือเรียกว่า SLAPP  ย่อมาจาก Strategic Lawsuit against Public Participation</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/4519/24884171198_0a1f16e8e7_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">จามร ศรเพชรนรินทร์ อดีตนักข่าวพลเมือง ThaiPBS</span></p>
<p>จามร ศรเพชรนรินทร์ อดีตนักข่าวพลเมือง ThaiPBS และผู้สื่อข่าวอิสระ ผู้สนใจทำสารคดีอิสระด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะนักข่าวพลเมืองกับไทยพีบีเอส เคยถูกบริษัทเหมืองแร่ อ. วังสะพุง จ. เลย ฟ้องปิดปาก จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพเพื่อทำสารคดี หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าจะเดินทางไปทำกิจกรรมที่ปากเหมือง</p>
<p>เมื่อถึงบริเวณทางเข้าก่อนปากหลุมก็พบการกั้นด้วยประตูเหล็กพร้อมป้ายไวนิลติดว่าเป็นพื้นที่ของเหมือง ห้ามคนภายนอกเข้า แต่ชาวบ้านและทนายต่างยืนยันว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ของ ส.ป.ก. เหมืองหมดอายุสัมปทานไปแล้ว ไม่มีสิทธิมาอ้างสิทธิในพื้นที่ จามรจึงขึ้นเข้าไปบนเหมืองพร้อมกับชาวบ้าน เมื่อลงมาก็เห็นเจ้าหน้าที่เหมืองอยู่ด้านล่างเหมือนมีปากเสียงทะเลาะกับชาวบ้าน จามรจึงบันทึกภาพเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ตามสัญชาตญาณความเป็นสื่อ แต่เจ้าหน้าที่กลับหันมาชี้หน้าถามว่า ‘มึงเป็นใครมาจากไหน’ ก็บอกเขาไปว่าเก็บภาพทำสารคดีให้ไทยพีบีเอส เขาบอกว่า ‘ได้ ๆ ไทยพีบีเอส เดี๋ยวเจอกัน เดี๋ยวฟ้อง’</p>
<p>สองสัปดาห์ต่อมาชาวบ้านถูกฟ้องจากเหมืองฐานบุกรุกและสู้คดีเกือบสองปี จากนั้นศาลยกฟ้องเนื่องจากบอกว่า เหมืองไม่มีสิทธิอ้างสิทธิในพื้นที่ จามรคิดว่าเรื่องนี้จบแล้วจนกระทั่งวันหนึ่งเขาต้องไปทำสารคดีที่พม่า ระหว่างรออยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง จามรได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาพร้อมหมายจับในคดีที่จบไปแล้วนั้น ทำให้จามรถูกขังอยู่สองคืนทั้งที่ตามหลักเขาสามารถประกันตัวได้ เมื่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ว่าทำไมถึงไม่มีหมายมาที่เขาเลย เจ้าหน้าที่ก็ให้คำตอบว่าคดีร่วมกันบุกรุกมากกว่า 5 คน โทษหนักถึง 5 ปี จึงไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียก และสามารถออกหมายจับได้เลย แต่การไม่มีหมายส่งมาที่บ้านของจามรทำให้เขาไม่ได้เข้าสู่กระบวนการตั้งแต่ต้น </p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>จับสื่ออิสระด้านสิทธิชุมชน คาดถ่ายภาพมุมสูงรณรงค์ปิดเหมือง จ.เลย ปี 58  </li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">จับตา-คุกคาม-ข่มขู่ เจ้าหน้าที่รัฐกับการพยายามเซ็นเซอร์สื่อ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53301840791_cee4d77238_b.jpg" style="width: 1024px; height: 683px;" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ หทัยรัตน์ พหลทัพ โดย The Isaan Record  </span></p>
<p>หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการบริหารเดอะอีสานเรคคอร์ด สื่อท้องถิ่นที่เสนอข่าวเชิงลึก ตามติดประเด็น โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในภาคอีสาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2554 เล่าว่า ตนเองไม่เคยถูกฟ้องร้องแต่เคยถูกข่มขู่คุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากการรายงานข่าวนักศึกษาและกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกเอาผ้าถุงไปคลุมอนุสาวรีย์สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันสตรีสากล 8 มี.ค. 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองค่อนข้างคุกรุ่น ช่วงเวลานั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่รู้จักเดอะอีสานเรคคอร์ดและคิดว่าเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะเป็นช่วงที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเยอะในช่วงตั้งแต่ปี 2563 ทำให้มีตำรวจมาด้อม ๆ มอง ๆ อยู่บริเวณออฟฟิศ ตนรู้สึกไม่ปลอดภัยเลยสั่งให้น้องในออฟฟิศปิดประตูรั้วและโพสต์เรื่องราวเหล่านี้ลง Facebook ส่วนตัว ทำให้เป็นข่าวอยู่ช่วงหนึ่ง</p>
<p>“เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เรารู้เลยว่า การอยู่ในประเทศนี้หรือการทำข่าวไม่ได้มีเสรีภาพเลย มันให้ความรู้สึกเหมือนเราอยู่ในโลกที่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ มีตำรวจสันติบาลเอาเอกสารมาให้เซ็น เหมือนเขามาปรับทัศนคติเรา เขาบอกว่า คุณจะออกมาเคลื่อนไหวหรือทำข่าวนักศึกษาช่วงนี้ไม่ได้... ซึ่งเราไม่ได้เคลื่อนไหวอยู่แล้ว เราทำแค่รายงานการเคลื่อนไหว” หทัยรัตน์กล่าว</p>
<p>ก่อนหน้านั้น เคยมีประเด็นการยกเลิกสัญญาจ้าง เดวิด สเตร็คฟัสส์ นักวิชาการอิสระ ผู้ดูแลและที่ปรึกษาสำนักข่าวเดอะอีสานเรคคอร์ด หลังเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน จัดขึ้นที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 12-14 ก.พ. 2564 โดยในงานมีการเชิญนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และนักกิจกรรม แต่ก็มีผู้พบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามเข้ามาในงานด้วย จากนั้นมีการเพิกถอนวีซ่าการทำงานโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ เป็นผู้อำนวยการโครงการแลกเปลี่ยนเพื่อการศึกษานานาชาติ (CIEE)</p>
<p>สุดท้ายทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เพิกถอนวีซ่าเดวิดด้วยเหตุผลทางการเมืองแต่เพิกถอนเพราะเห็นว่าโครงการ CIEE ไม่มีกิจกรรมแล้ว เนื่องจากตอนนั้นเป็นช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้ามา จึงมีการโอนย้ายวีซ่าทำงานของเดวิดมาเป็นที่ปรึกษาบริษัท Buffalo Bird Productions เนื่องจากเดิมเดวิดก็เป็นที่ปรึกษาของเดอะอีสานเรคคอร์ดอยู่แล้ว</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li style="text-align: justify;">'สื่ออีสานเรคคอร์ด' ถูกชายนิรนามคล้าย 'นอกเครื่องแบบ' จับตา-บันทึกภาพสำนักงาน</li>
<li style="text-align: justify;">ชายแต่งกายคล้าย จนท.นอกเครื่องแบบ วนหาออฟฟิศอีสานเรคคอร์ดหลายรอบ โดยไม่ทราบสาเหตุ </li>
<li style="text-align: justify;">นักวิชาการอเมริกันผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ม.112 ถูก มข. ยกเลิกวีซ่าทำงาน</li>
</ul>
</div>
<p>หลังจากเดวิดได้วีซ่าทำงานใหม่แล้วสถานการณ์ก็เริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่เนื่องจากหทัยรัตน์ได้แต่งงานกับเดวิดทำให้บางครั้งเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถแยกการคุกคามออกจากสื่อได้เพราะเดวิดเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่อง มาตรา 112 จึงมีครั้งหนึ่งที่เดวิดอยากกลับอเมริกา แต่ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในรัฐบาลทหารไม่ออกว่า ถ้าเดวิดเดินทางออกนอกประเทศจะได้กลับเมืองไทยหรือไม่ หทัยรัตน์จึงนัดคุยกับสันติบาลชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งเพื่อประเมินสถานการณ์การเมืองและถามถึงเรื่องวีซ่า ปรากฏว่า การเจรจาครั้งนั้นกลายเป็นการเปิดทางให้เจ้าหน้าที่รัฐข่มขู่คุกคามซึ่งหน้า </p>
<p>“เขาข่มขู่เราว่า ถ้าคุณไม่หยุดรายงานข่าวเกี่ยวกับ 112 เขาจะประกาศเป็นศัตรูกับเราตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป จะทำลายเราทุกวิถีทางไม่ให้เรามีที่ยืนในแผ่นดินนี้ และคุณเดวิดก็ต้องออกนอกประเทศ วินาทีนั้นเราก็มีอีโก้ เราก็รู้สึกว่าเราทำข่าวเพื่อเสรีภาพของนักข่าว ทำข่าวเพื่อเสรีภาพของนักวารสารศาสตร์ เราเลยตอบไปว่าขอคิดดูก่อนได้มั้ยคะ เขาจึงโกรธมาก” หทัยรัตน์</p>
<p>หทัยรัตน์ไม่ได้บันทึกวิดีโอหรือเสียงที่ถูกคุกคามไว้ เพราะการเจรจาครั้งนั้นเป็นการเจรจาเพื่อสอบถามเกี่ยวกับวีซ่าและการกลับอเมริกาของเดวิด จึงไม่คิดว่าจะเกิดการข่มขู่ซึ่งหน้าขนาดนี้ หทัยรัตน์รู้สึกพะอืดพะอมกับสถานการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากแยกย้ายกับเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่ถูกข่มขู่และยังคงรายงานสถานการณ์ทางการเมืองและการเคลื่อนไหวของประชาชนต่อไป  </p>
<p>เนื่องด้วยในภาคอีสานก็มีกลุ่มนักศึกษาที่เคลื่อนไหวในประเด็นปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และการแก้มาตรา 112 จำนวนมาก เช่น ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา กลุ่มดาวดิน กลุ่มทะลุฟ้า เป็นต้น ประจวบกับหลังการเจรจากับเจ้าหน้าที่สันติบาลครั้งนั้น ก็ได้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มทะลุ มข. คือ การชุมนุมในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริเวณใกล้หอประชุมและมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยการเผาชุดครุย ซึ่งเดอะอีสานเรคคอร์ดก็รายงานข่าวนั้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51744371904_8305eeacf8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพบัณฑิต มข. เผาชุดครุย  </span></p>
<p>จากนั้น หทัยรัตน์ได้ถูกข่มขู่จากเจ้าหน้าที่อีกครั้งว่าจะมีการเพิกถอนวีซ่าของเดวิดภายในสิ้นปี2564 เพราะมองว่าการรายงานข่าวการเผาชุดครุยนั้นเป็นการไม่เชื่อฟังและท้าทายอำนาจ ทำให้หทัยรัตน์รู้สึกไม่ปลอดภัยจึงติดกล้องวงจรปิด ทั้งที่บ้านและออฟฟิศ พร้อมบอกพนักงานที่ออฟฟิศว่า อย่าไปไหนมาไหนคนเดียวเพราะเราไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้เนื่องจากเป็นช่วงที่การเคลื่อนไหวมันค่อนข้างสวิง คือ เป็นช่วงที่นักศึกษาและนักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้เริ่มโดนจับเยอะมาก พร้อมตกลงกันว่าช่วงนี้จะงดการรายงานข่าวเกี่ยวกับการเมืองไปก่อน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กระบวนการรัฐ (ไม่) ช่วยปกป้องสิทธิประชาชน</span></h2>
<p> หลังจากที่จามรถูกจับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของพม่าและอยู่ในห้องขัง 2 คืน จากนั้นเขาได้ประกันตัวและคดีของเขาก็ไปสู่ชั้นอัยการ ซึ่งช่วงนั้นเขาอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่ต้องเดินทางไปรายงานตัวต่ออัยการที่จังหวัดเลยทุกเดือนและไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการพิจารณาในแต่ละเดือนมีการเลื่อนหรือสั่งฟ้องหรือไม่ แม้โทรศัพท์สอบถามได้แต่ก็รู้ล่วงหน้าเพียงวันเดียวเท่านั้น และทำให้จามรไม่สามารถจัดการตารางชีวิตตนเองได้</p>
<p>สุดท้ายทนายได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมและอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากเป็นคดีที่จบไปแล้ว แต่จามรยังต้องพบกับอุปสรรคจากการมีหมายจับค้างคาอีกครั้งเมื่อเขาจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศลาว ทั้งชื่อของจามรยังคงอยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เขาไม่สามารถสมัครเป็นพนักงานขนส่งสินค้าได้ ทั้งที่หากคดีสิ้นสุดตามกฎหมายและจำเลยไม่ผิดจะต้องถอนชื่อของเขาออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรรม เมื่อกระบวนการยุติธรรมไม่ทำงานตามระบบที่ควรจะเป็น จามรจึงจำเป็นต้องดำเนินการขอเอกสารไม่สั่งฟ้องจากทางอัยการมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยตนเอง</p>
<p>“กฎหมายอาจจะเป็นแบบหนึ่ง แต่ความจริงหลักการทำงานกลับเป็นอีกแบบหนึ่ง กฎคือต้องถอนหมายแล้ว แต่ในความเป็นจริง หมายยังค้างอยู่ ผมถามไปที่สถานีตำรวจภูธรต้นทางว่าเป็นเพราะอะไร สิ่งที่ผมได้ยินคือคนที่่คีย์ข้อมูลออกไปอบรม 3 เดือน นี่เป็นความจริงที่ว่า ทั้งสถานีตำรวจมีคนคีย์ข้อมูลได้คนเดียวเหรอ แล้วคุณออกไปทำงาน 3 เดือนคุณไม่มอบหมายงานต่อให้ใครเลยเหรอ นี่คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้น นี่คือเคสหนึ่งที่เป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่” จามรกล่าว</p>
<p>เมื่อถูกคุกคามและข่มขู่ต่อเนื่องตลอดปี 2564 หทัยรัตน์จึงตัดสินใจรวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์การสหประชาชาติ (UN) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งกรรมการสิทธิก็ส่งคนเข้ามาพูดคุยกับเราในภายหลังและพึ่งออกผลสรุปเมื่อปี 2565 ว่าไม่มีหลักฐานในการเอาผิดผู้ข่มขู่คุกคามเนื่องจากเราไม่มีหลักฐานชั้นต้น เช่น เทปเสียง แต่สิ่งที่ยังคงคาใจหทัยรัตน์ คือ การวินิจฉัยครั้งนี้เป็นการวินิจฉัยโดยปราศจากการเชิญคู่กรณีมาให้ปากคำ ตนจึงคิดว่าหากกรรมการสิทธิได้สอบสวนข้อมูลจากอีกฝ่ายผลการตัดสินจะยังคงเป็นเช่นนี้อยู่หรือไม่</p>
<p>“เป็นสถานการณ์ต่อเนื่องถึง 2 ปี ที่ตกอยู่ภายใต้ความกลัว หากดูเดอะอีสานเรคคอร์ดก็จะมีเนื้อหาการนำเสนอคล้ายประชาไท คือ มาตรา 112 การเคลื่อนไหวของนักศึกษา การคุกคามใดๆ แต่ต้องยอมรับว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ และอีสานนั้นต่างมีสปอตไลท์ไม่เท่ากัน ทำให้มีความเหลื่อมล้ำทางข้อมูลประมาณหนึ่ง”</p>
<div class="note-box">
<p><strong>รายงานผลการตรวจสอบกรณีเดวิดและหทัยรัฐร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจคุกคาม นักวิชาการและสื่อมวลชนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : </strong></p>
<p style="text-align: center;"> <img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53301840826_afffedf881_3k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53301840836_9e4a518238_3k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53301840831_c82667412a_3k.jpg" /></p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป็นกระบอกเสียงให้ประชาชนแล้ว ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพกาย-ใจ </span></h2>
<p>ตลอดระยะเวลาที่เดอะอีสานเรคคอร์ดถูกคุกคามอย่างหนักทำให้หทัยรัตน์ได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์คุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านการทำความรู้จักกับทนายหรือนักกฎหมายเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ และการเรียนรู้เกี่ยวกับ safety &amp; security ทางดิจิทัล เพราะปัจจุบันการเผยแพร่เนื้อหาใดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ล้วนเป็น digital footprint ทั้งสิ้น</p>
<p>หทัยรัตน์มองว่า ทุกครั้งที่เราเผยแพร่เนื้อหาใดก็ตามบนโซเชียลมีเดียเปรียบเหมือนการเปิดประตูให้หน่วยงานความมั่นคงสามารถหยิบจับเนื้อหาเหล่านี้มาเชื่อมโยงกัน ซึ่งการเชื่อมโยงเหล่านั้นล้วนเป็นการจับแพะชนแกะ คือ ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นการสร้างให้เราเป็นปีศาจพร้อมด้อยค่าเราผ่าน social media อยู่เสมอ </p>
<p>นอกจากนั้น ยังมีมาตรการรับมือกับการถูกทัวร์ลงจากการทำข่าวที่ทำให้เกิดการถกเถียงในสังคม เราก็จะมานั่งคุยกันว่าเกิดอะไรขึ้นและจะรับมือกับสิ่งนั้นอย่างไร โดยหทัยรัตน์ได้พยายามกระตุ้นให้ทุกคนทำ social detox เพราะช่วงที่มีทัวร์หรือปฏิบัติการ IO นั้น เป็นช่วงที่ต้องรับข้อมูลข่าวสารเยอะมากไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่</p>
<p>“การถูกคุกคามนั้นส่งผลต่อสภาพจิตมาก ๆ ตอนที่ถูกคุกคามซึ่งหน้ามันส่งผลต่อเรามาก ๆ คือ สมองมันช็อค เป็นใครไม่เจอคงไม่รู้ เราถูกเขย่าขวัญผ่านการประกาศเป็นศัตรู เลยเรียนรู้ประสบการณ์ มาสอนน้อง ๆ ว่าเราต้องการเป็นกระบอกเสียงหรือปากเสียงให้ประชาชนก็จริง แต่สุดท้ายเราก็ต้องหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองกันด้วย คือ ช่วยกันเยียวยาหรือเลียแผลกันไป อันนี้คือสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดช่วงเวลาที่ถูกคุกคามใน 2-3 ปี ที่ผ่านมา” หทัยรัตน์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">SLAPP และ การข่มขู่ ส่งผลเชิงลบทั้งการทำงาน การใช้ชีวิต และสุขภาพจิต</span></h2>
<p>จากกรณีของจามรทำให้เห็นถึงปัญหาของการฟ้องปิดปากมากกว่าผลกระทบโดยตรงที่ส่งผลต่อการทำงานด้านสื่อมวลชนแล้ว กระบวนการยุติธรรมที่ควรเป็นขั้นตอนในการรักษาสิทธิและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนนั้นก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและกลายเป็นการผลักภาระให้ประชาชนในท้ายที่สุด</p>
<p>ด้านหทัยรัตน์คิดว่าการถูกฟ้องปิดปากยังดีกว่าการถูกอุ้มหาย คือ การฟ้องปิดปากเหมือนการสู้ซึ่งหน้าแต่การถูกอุ้มหายนั้นทำให้เราไม่มีโอกาสได้สู้เลย เพราะอย่างน้อยการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ. หมิ่นประมาท ยังมีโอกาสให้ได้ตั้งตัว จัดเตรียมข้อมูลหรือทนาย แม้จะเป็นการใช้กฎหมายอย่างไม่บริสุทธิ์ใจ สุดท้ายจะสู้แล้วแพ้ การฟ้องปิดปากเป็นการสร้างให้กลัวโดยกฎหมายแต่การข่มขู่คุกคามลับหลังนั้นมีความน่ากลัวกว่าการใช้นิติสงคราม</p>
<p>“อย่างที่บอกแหละว่าอย่าอุ้ม อย่าฆ่า จากที่เห็นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นกรณีวันเฉลิมหรือการพบศพที่แม่น้ำโขง ทำให้เรารู้สึกว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นกับเราได้ ยิ่งเราอยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงหรือต่างจังหวัดแบบนี้ยิ่งมีโอกาสสูง เลยรู้สึกว่าถ้างั้นก็ฟ้องเราเถอะ เรายอมขึ้นศาล แม้มันจะทำให้น่ารำคาญหรือเครียด แต่การถูกฟ้องทำให้เครียดน้อยกว่าการกลัวว่าตัวเองจะถูกทำให้หายไป” หทัยรัตน์ กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เลือกตั้งครั้งใหม่แต่ประชาธิปไตยถดถอย สังคมไทยกำลังถูกปกครองด้วยความกลัว</span></h2>
<p>หทัยรัตน์กล่าวว่า ตั้งแต่สิ้นสุดการเลือกตั้ง 2566 และมีการจัดตั้งรัฐบาล แต่เห็นได้ชัดว่าการจัดตั้งรัฐบาลนี้ไม่ได้มาโดยเสียงข้างมากของประชาชน มันทำให้เราตั้งคำถามว่า เสียงที่เป็นอำนาจที่มองไม่เห็นนั้นเข้าคุกคามจนทำให้การจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น พร้อมมองว่าประเทศไทยกำลังถูกปกครองด้วยความกลัวอีกแล้ว บรรยากาศเสรีภาพ การพูดคุย ถกเถียง หรือบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตย ไม่ได้กลับมาพร้อมผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะสถานการณ์ที่เหมือนการไล่ล่าคนที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งกรณีที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่ายมาตรา 112 และตอนนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถูกวิจารณ์อีกต่อไป</p>
<p>“ดังนั้น สิ่งที่อยากเรียกร้อง คือ อยากให้รัฐบาลคืนเสรีภาพให้ประชาชนและคืนเสรีภาพให้สื่อมวลชนแบบที่ควรจะเป็น รวมถึงบรรยากาศการเมืองของเราไม่ควรตกอยู่ในความกลัวอีกต่อไป มันเหมือนเรากลับไปอยู่ในสภาพเดิมเพราะช่วงปี 2563-2564 เรารู้สึกว่าบ้านเมืองของเรามาไกลมาก เราสามารถถกเถียงในเรื่องต้องห้าม แต่ปัจจุบันเรื่องต้องห้ามเคยขึ้นมาบนดิน ตอนนี้กลับไปอยู่ใต้ดินอีกแล้ว” หทัยรัตน์กล่าว</p>
<p>นอกจากนั้น หทัยรัตน์ยังมีข้อเสนอแนะต่อองค์กรสื่อและสื่อมวลชน คือ เชื่อว่า สื่อแต่ละองค์กรมีแนวทางการนำเสนอประเด็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่าการนำเสนอข่าวนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องเสรีภาพอยู่ด้วย ดังนั้น หากองค์กรสื่ออยากให้ตัวเองมีเสรีภาพมากกว่านี้จึงจำเป็นต้องช่วยกันพูดและสื่อสาร ไม่ใช่ปล่อยให้ใครถูกจับหรือปล่อยให้ใครถูกอุ้ม ปล่อยให้ใครเสี่ยงอยู่เพียงลำพังแล้วตัวเองตักตวงเสรีภาพหลังการสู้รบ </p>
<p>หากย้อนไปช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงการเมืองกระแสสูงและทำให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาและเป็นบรรยากาศการถกเถียงอย่างมีวุฒิภาวะ ทำให้เชื่อว่าเมื่อไหร่ที่ประเทศมีเสรีภาพให้สื่อมวลชน ประชาชนก็จะมีความกล้าหาญในการพูดคุยประเด็นต่าง ๆ</p>
<p>“การที่ประเทศมีเสรีภาพและการถกเถียงนั้นจะทำให้มันก้าวหน้ามากขึ้น เราเลยเชื่อว่าเสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน... การถกเถียงอย่างมีเสรีภาพมันจะมีประโยชน์ต่อประชาธิปไตยมากกว่า”</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106605
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - การ์ดสมัชชาคนจน โวยพบ ตร.คุกคาม แอบถ่ายภาพผู้ชุมนุมกำลังอาบน้ำ ตร.รับไปเตือนให
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 62 กระทู้ล่าสุด 22 ตุลาคม 2566 00:59:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - การ์ดสมัชชาคนจน โวยพบ ตร.คุกคาม แอบถ่ายภาพผู้ชุมนุมกำลังอาบน้ำ ตร.รับไปเตือนให
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 105 กระทู้ล่าสุด 22 ตุลาคม 2566 02:40:00
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - การ์ดสมัชชาคนจน โวยพบ ตร.คุกคาม แอบถ่ายภาพผู้ชุมนุมกำลังอาบน้ำ ตร.รับไปเตือนให
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 48 กระทู้ล่าสุด 22 ตุลาคม 2566 04:12:32
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - นักกิจกรรมเยาวชน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ก่อนชม ‘สัปเหร่อ’ ร้องสอบปม จนท.พม.คุกคาม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 113 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2566 02:38:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'กลุ่มกรุงเทพศึกษา' ออก จม.ถึงนายกฯ เผยเดินทัวร์ประวัติศาสตร์ข้างทำเนียบฯ ถ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 11 ธันวาคม 2566 14:37:26
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.256 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 05:25:20