[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 พฤษภาคม 2567 04:08:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักกับ “พระประจำวันเกิด” แบบรู้ลึก รู้จริงกันดีไหม  (อ่าน 3447 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2559 23:45:41 »



มารู้จักกับ “พระประจำวันเกิด” แบบรู้ลึก รู้จริงกันดีไหม

แม้ว่า “การกราบไหว้บูชาพระพุทธรูป” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าจะไม่ใช่การบูชาที่เทียบได้กับการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่เรียกกันว่า “ปฏิบัติบูชา” แต่บางครั้งพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ก็เป็นดั่งเครื่องน้อมนำศรัทธาของชาวพุทธที่สนใจในธรรมระดับเบื้องต้น ให้สนใจใคร่รู้ในธรรมขั้นสูงต่อไป

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยนิยมบูชาพระประจำวันเกิดกันเป็นจำนวนมาก แต่น้อยคนที่จะศึกษาถึงที่มาที่ไปของพระประจำวันเกิดนั้น ๆ ทำให้ไม่มีโอกาสได้รับทราบข้อธรรมที่ปรากฏอยู่ในพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

Secret จึงขอนำความรู้เหล่านี้มาแบ่งปัน 

   
 

วันอาทิตย์ พระพุทธปฏิมาปางถวายเนตร

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองประสานที่พระเพลา (ตัก)

เหตุครั้งพุทธกาล : หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงเสด็จจากร่มไม้นั้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ทรงยืนกลางแจ้ง แล้วทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน สถานที่ดังกล่าวปัจจุบันมีชื่อว่า “อนิมิสเจดีย์”

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : เพื่อระลึกถึงธรรมะในพระพุทธศาสนา ในข้อกตัญญูกตเวทิตาคุณ อันมีพระบรมศาสดาทรงเป็นแบบอย่างจากที่ทรงระลึกถึงบุญคุณของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระองค์อาศัยร่มเงาจนได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางถวายเนตรว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงนั่งสมาธิเป็นเวลานาน จึงได้ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถจากท่านั่งมาเป็นท่ายืนเงยพระพักตร์และเพ่งพระเนตรจ้องดูดวงอาทิตย์อย่างสงบนิ่ง พร้อมทั้งทรงหาเหตุและผลตามหลักธรรมชาติเพื่อนำมาเทียบกับธรรมของพระองค์ ซึ่งได้ความว่าดวงอาทิตย์มีทั้งขึ้นและลงหมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละวัน เปรียบได้กับชีวิตของมนุษย์เมื่อเกิดมาแล้วก็มีดับไป ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็โลดแล่นไปตามทางของตน มีทุกข์มีสุขปะปนกันไป เมื่อถูกกิเลสเข้ามาครอบงำก็ทำให้จิตใจเศร้าหมอง พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ยึดปฏิบัติตามธรรมของพระองค์เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย





วันจันทร์ พระพุทธปฏิมาปางห้ามญาติ

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถยืนห้อยพระหัตถ์ซ้าย ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ (หน้าอก) ฝ่าพระหัตถ์หันออกไปข้างหน้า

เหตุครั้งพุทธกาล : ในสมัยพุทธกาลพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์และพระญาติฝ่ายพุทธมารดาคือกรุงเทวทหะซึ่งอาศัยอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อนำไปเพาะปลูก ถึงขนาดจะยกทัพทำสงคราม พระพุทธองค์จึงเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ ห้ามพระญาติไม่ให้ฆ่าฟันกัน โดยทรงแสดงโทษคือความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์ ไม่สมควรที่พระราชาจะต้องมาล้มตาย ทำลายเกียรติของตน เพียงเพราะแย่งน้ำกันทำนาเพียงเล็กน้อย ที่สุดพระญาติทั้งสองฝ่ายก็ทำความเข้าใจกันได้ และหันมารักใคร่สามัคคีกัน

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : พระหัตถ์ขวาที่ยกเสมอพระอุระนั้นเป็นบุคลาธิษฐานแสดงว่า ให้มีสติระงับยับยั้ง อย่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเปลี่ยนแปลง ให้ยึดหลักธรรมของพระบรมศาสดาไว้ในจิตใจแล้วชีวิตจะได้พบกับความสุขสงบโดยไม่ต้องสงสัย

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางห้ามญาติมีอยู่ว่า ระหว่างที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนธรรมแก่ญาติโยมนั้น ได้มีเหตุเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่ปฏิบัติกับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติสาเหตุมาจากฝ่ายหนึ่งเชื่อในคำสั่งสอนของพระองค์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อ ต่างฝ่ายต่างใช้เหตุผลของตนถกเถียงกันจนเกิดโทสะเข้าทำร้ายทุบตีกัน พระองค์ทรงเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จึงลุกขึ้นยืนยกพระหัตถ์ขึ้นห้ามทั้งสองฝ่าย แล้วชี้แจงหลักธรรมว่า ขอให้ละโมหะโทสะนั้นเสียเพื่อจะได้เห็นผิด ถูก ชั่ว ดี โมหะคือกองกิเลสฝ่ายต่ำ ทำให้มืดมองอะไรก็ไม่เห็นเมื่อมองไม่เห็นก็ทำได้ทุกอย่างแม้แต่การฆ่าแกงกัน ส่วนโทสะนั้นก็มีแต่ทุกข์ตามมา



วันอังคาร พระพุทธปฏิมาปางไสยาสน์

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ

เหตุครั้งพุทธกาล : เมื่อพระพุทธองค์รับสั่งให้พระจุนทเถระปูอาสนะลงระหว่างต้นรังคู่หนึ่งแล้ว ก็บรรทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยว่าจะไม่ลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททปริพาชกจนได้เป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศกร่ำไห้ถึงพระองค์พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระจึงได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชนเหล่านั้น

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : พระพุทธลักษณะเช่นนี้เป็นพระอิริยาบถที่พระองค์ทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท 4 มีใจความว่า บุคคลที่ปฏิบัติตนตามพระองค์แล้ว ให้เข้าใจในอิริยาบถของธรรมซึ่งมีอยู่ 4 อย่าง คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่สงบสำรวม ไม่มีความสะดุ้งหวาดกลัวในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จคือมรรคผลนิพพาน หากผู้ใดเพียรทำ ย่อมได้รับผลอย่างแน่นอน

สำหรับปางนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกนัยหนึ่งว่าครั้งที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร “อสุรินทราหู” หรือ “พระราหู”ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับคำสรรเสริญถึงพระศาสดาจากเทพยดาทั้งหลาย จึงปรารถนาจะไปเข้าเฝ้า แต่ติดตรงที่ได้คิดคำนึงไปเองว่าพระวรกายของพระพุทธเจ้าเล็กกระจ้อย-ร่อยเมื่อเทียบกับร่างอสูรอย่างตน เวลาเข้าเฝ้าก็ต้องก้มมองด้วยความลำบาก อีกทั้งตนก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร คิดแล้วจึงไม่ไปเฝ้า

แต่แล้ววันหนึ่งพระราหูก็เปลี่ยนใจพระพุทธเจ้าทราบด้วยญาณว่าพระราหูคิดอย่างไร จึงเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่าพระราหูหลายเท่าแล้วบรรทมรอ ดังนั้นแทนที่พระราหูจะต้องก้มมองพระพุทธเจ้าขณะเข้าเฝ้า กลับต้องแหงนหน้า จึงเกิดความอัศจรรย์ใจ ลดทิฏฐิมานะ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า “ข่าวลือหรือเรื่องใด ๆ หากไม่เห็นด้วยตนเอง หรือยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ก็ไม่ควรติชมไปก่อน” ซึ่งข้อธรรมนี้ก็เป็นอีกข้อที่เหมาะจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน



วันพุธ (กลางวัน)  พระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถยืนพระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

เหตุครั้งพุทธกาล : เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติเพื่อให้ละจากทิฏฐิแล้วจึงได้เทศนาธรรมเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก หลังจากแสดงธรรมจบ บรรดาสมาคมพระญาติที่มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงเป็นประธาน ก็พากันปีติแซ่ซ้องสาธุการแล้วกราบทูลลาคืนสู่พระราชฐาน โดยไม่ได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้า ด้วยไม่ทรงทราบว่าสมณะนั้นจะต้องได้รับอาราธนา จึงจะมารับบิณฑบาตในเคหสถานของประชาชนทั่วไปได้ และยังเข้าใจผิดคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นราชโอรส คงต้องเสวยภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์อย่างแน่นอนแต่พระพุทธองค์กลับพาพระสาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงเพื่อโปรดเวไนยสัตว์อันเป็นกิจของสงฆ์ และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงพากันแซ่ซ้องด้วยความปีติ แต่ปรากฏว่าพอพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก็เข้าใจผิดหาว่าพระพุทธเจ้าออกไปขอทานชาวบ้านไม่เสวยภัตตาหารที่เตรียมไว้ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่าการออกบิณฑบาตเป็นการไปโปรดสัตว์ ไม่ใช่การขอทานพระองค์ปฏิบัติตามพุทธวงศ์ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทีปังกรเป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่ยังชีพด้วยการบิณฑบาต จากนั้นได้ตรัสพระธรรมสอนพระบิดาไม่ให้อยู่ในความประมาทและให้ประพฤติธรรม ในที่สุดพระเจ้าสุทโธทนะก็สำเร็จโสดาบัน

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : เมื่อรับอาหารที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาใส่บาตรแล้วพระพุทธองค์จะเสวยด้วยความมีเมตตาโดยการแบ่งอาหารออกเป็น 3 กอง กองที่หนึ่งพระองค์ทรงนำมาเสวย กองที่สองให้ทาน ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ กองที่สามพระองค์ทรงส่งไปให้แก่ญาติโยมผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อเสวยเสร็จก็จะสอนพระธรรมมีความว่า “อันศรัทธาคือความเชื่อถ้าเรายึดมั่นก็เป็นทางที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ โดยอาศัยศรัทธาเป็นที่ตั้ง เราจะศรัทธาสิ่งใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือศรัทธาจิต หมายถึงทำให้จิตใจผ่องใสแล้วจะมีความสุขกายสุขใจตามมา”

นอกจากนั้นยังมีความเชื่อว่า การบูชาพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรก็เพื่อให้บุคคลที่เกิดวันพุธซึ่งเกิดในดาวแห่งวาจา ได้ระลึกว่าในการทำสิ่งใดต้องใช้ทั้งความอดทน มีขันติและใช้วาจาควบคู่กันไปด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ


จา่ก http://www.secret-thai.com/article/dharma/8628/birthday-buddha/

http://suadmondaily.blogspot.com/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2559 23:46:26 »




วันพุธ (กลางคืน) พระพุทธปฏิมาปางปาลิไลยก์

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายคว่ำบนพระเพลา (ตัก) แบพระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) ด้านข้างนิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งเป็นลิงถือรวงผึ้งถวาย

เหตุครั้งพุทธกาล : ขณะพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระภิกษุเกิดแตกความสามัคคี ไม่ปรองดองกันพระองค์จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวในป่าที่ชื่อว่า “ปาลิไลยกะ” โดยมีพญาช้างที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าชื่อ “ปาลิไลยกะ” มาคอยพิทักษ์รักษาไม่ให้สัตว์ร้ายมากล้ำกราย พระพุทธองค์จึงประทับอยู่ในป่านั้นอย่างสงบสุข ครั้นพญาลิงเห็นพญาช้างปรนนิบัติพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพก็เกิดกุศลจิตทำตามบ้างต่อมาบรรดาชาวบ้านเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองโกสัมพีแต่ไม่พบ และได้ทราบสาเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าจาริกไปอยู่ป่าจึงพากันตำหนิติเตียนและไม่ทำบุญกับพระที่แตกแยกเหล่านั้น พระภิกษุจึงสำนึกผิดและขอให้พระอานนท์ไปทูลเชิญพระพุทธเจ้ากลับมา ในวันที่เสด็จกลับ ช้างปาลิไลยกะก็มาส่งเสด็จด้วยความเศร้าเสียใจจนหัวใจวายล้มตายลง ด้วยกุศลผลบุญจึงได้ไปเกิดเป็น“ปาลิไลยกเทพบุตร” ต่อมาป่านั้นได้ชื่อว่า“รักขิตวัน”

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : หมู่ใดหรือคณะใดหากขาดความสามัคคีแล้วทุกคนย่อมหาความสุขได้ยาก ดังนั้นจึงควรน้อมนำคำสอนนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิต ทั้งในครอบครัวและสังคม เพื่อนำความผาสุกมาสู่ตนเองและผู้คนรอบข้าง
 

เหตุผลที่แยกพระพุทธรูปประจำวันเกิดเป็นวันพุธกลางวันกับวันพุธกลางคืน

                เหตุเพราะตามหลักโหราศาสตร์ได้แบ่งทักษาเป็นภูมิต่าง ๆ 8 ภูมิ แต่วันในสัปดาห์มีอยู่เพียง 7 วัน ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงคิดนำเอาวันพุธซึ่งอยู่กลางสัปดาห์พอดีมาแบ่งเป็นกลางวันกับกลางคืน โดยนับตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นวันพุธกลางวัน และหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นอีกวันเป็นวันพุธกลางคืน ส่วนผู้ที่จำวันเกิดไม่ได้ ทางโหราศาสตร์กำหนดให้ถือพระเกตุแทน เนื่องจากพระเกตุเป็นเทพนพเคราะห์ที่มีพลังแห่งปาฏิหาริย์ จึงสามารถคุ้มครองคนทุกคนที่ไม่มีเทพองค์อื่นคุ้มครองไม่ว่าจะเกิดวันอะไร




วันพฤหัสบดี พระพุทธปฏิมาปางสมาธิ

ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

เหตุครั้งพุทธกาล : เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราทรงเกิดปีติสุข มีพระทัยชุ่มชื่นเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง สภาวจิตเข้าสู่ความละเอียดสุขุมเป็นลำดับ ฉับพลันก็เกิดพระโพธิญาณและตรัสรู้ในที่สุด

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : พระพุทธรูปปางนี้มีไว้เตือนใจพุทธบริษัท 4 ให้หมั่นเพียรในการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส กล่าวได้ว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีชัยชนะใดจะเสมอเหมือน ดุจดาวพฤหัสบดีเทพที่ไม่มีดาวดวงใดในห้วงจักรวาลเทียบได้อีกประการหนึ่ง พระพุทธรูปปางสมาธิเป็นบุคลาธิษฐาน เพื่อให้คนเกิดวันพฤหัสบดีได้ประพฤติตนให้อยู่ในทำนองคลองธรรมอย่าให้กิเลสใด ๆ ในโลกมาทำให้มัวหมอง



วันศุกร์ พระพุทธปฏิมาปางรำพึง

  ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

เหตุครั้งพุทธกาล : ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไทร (อชปาลนิโครธ)ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยรำพึงว่าจะมีสักกี่คนที่เข้าใจธรรมะของพระองค์ ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหมต้องมากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมและกล่าวว่า ในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบางพอฟังธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธองค์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย อีกทั้งทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลก จึงได้น้อมพระทัยที่จะแสดงธรรมตามคำอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะดำรงพระชนมชีพอยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่าต่อไป

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องใช้ความเพียรพยายามในการสั่งสอนธรรม พุทธบริษัทจึงควรระลึกถึงพระพุทธคุณ น้อมนำธรรมะของพระองค์มาปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น



วันเสาร์ พระพุทธปฏิมาปางนาคปรก

  ลักษณะพระพุทธรูป : พระในอิริยาบถประทับขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิแต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมประหนึ่งเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

เหตุครั้งพุทธกาล : เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธได้ 7 วันแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้ชื่อมุจจลินท์ วันนั้นสายฝนพรำไม่ขาดสาย พญามุจจลินทนาคราช7 เศียรจึงถวายการอารักขาด้วยการทำขนดล้อมพระวรกายเสมือนเป็นเศวตฉัตร (ร่ม)บังลมฝน เหลือบ ยุง ริ้น และสรรพสัตว์มิให้มากล้ำกรายพระพุทธองค์ได้ ครั้นฝนหายแล้วพญามุจจลินทนาคราชจึงคลายขนด จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเปล่งอุทานว่า

“ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายและความเป็นคนปราศจากความกำหนัดคือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก ความขาดซึ่งอัสมิมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้ เป็นสุขอย่างยิ่ง”

นัยทางธรรมที่นำมาใช้ในชีวิต : พระพุทธปฏิมาปางนาคปรกซึ่งเป็นนาค 7 เศียรนี้น่าจะเป็นตัวแทนสื่อถึงโพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 ประการ คือสติ ธัมมวิจยะ (การวินิจฉัยธรรม) วิริยะปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบ) สมาธิ อุเบกขานอกจากนั้นยังมีผู้ตีความว่าพญานาคน่าจะหมายถึงกิเลสอันชั่วร้าย อันมีโลภ โกรธหลงที่พระพุทธเจ้าสามารถเอาชนะได้แล้วอีกด้วย

 

ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ “พระพุทธรูปบูชา วิธีสังเกตลักษณะพระพุทธรูปของไทย” โดยพินิตย์ นิลวิเชียร หนังสือ “นามานุกรมพระบูชาฉบับสมบูรณ์” โดยอาจารย์แม้น รอดเอี่ยม

ภาพ วรวุฒิ วิชาธร



จา่ก http://www.secret-thai.com/article/dharma/8628/birthday-buddha/

http://suadmondaily.blogspot.com/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มารู้จักกับ " ลูกใต้ใบ " สมุนไพรชั้นเลิศ สรรพคุณเพียบ
สุขใจ อนามัย
▄︻┻┳═一 2 3849 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2553 20:58:43
โดย ▄︻┻┳═一
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.532 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤษภาคม 2567 08:49:25