[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 04 มิถุนายน 2564 19:54:03



หัวข้อ: หมอตำแย ทำคลอด
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 มิถุนายน 2564 19:54:03

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83225352110134_194205066_1046958972378473_560.jpg)
จิตรกรรมฝาผนัง ภาพหมอตำแยทำคลอด ภายในพระวิหารพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
กราบขอบคุณเพจ "เล่าเรื่องวัดบวรฯ" (ที่มาภาพประกอบ)

หมอตำแย ทำคลอด
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ

หมอตำแย หมายถึง หญิงผู้ทำคลอดตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ในภาษาไทย คำว่า "ตำแย" มาจากชื่อของพระมหาเถรเจ้ารูปหนึ่ง ผู้ชื่อว่า "ตำแย" เป็นผู้แต่งตำราว่าด้วยวิชาคลอดอันเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปฐมจินดา  คัมภีร์นี้สืบเนื่องมาจากตำรับอายุรเวทของสำนักตักกสิลา ในอินเดีย มีความเก่าแก่เป็นพันปี หมอทำคลอดรุ่นหลังคนไหนมาใช้คัมภีร์ประถมจินดาของพระเถระตำแยผู้นี้ในการออกลูกของผู้คน จะต้องบูชาบวงสรวงพระมหาเถระตำแยก่อน จึงจะทำงานได้สำเร็จ

ในสมัยโบราณ การแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนกับยุคปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องใช้บริการหมอตำแยในการทำคลอด ทายว่า หากท่อนฟืนยาวจะได้ลูกชาย แต่หากท่อนฟืนสั้นจะได้ลูกผู้หญิง และเมื่อถึงเวลาคลอด จะต้องจุดธูปไหว้พระภูมิเจ้าที่เพื่อขอขมาลาโทษ

เมื่อหมอมาต้องจัดขันข้าวสารใส่หมาก พลู ธูปเทียน เงินติดเทียนตามธรรมเนียม โดยจัดไว้อย่างละ ๓ ให้เป็นเลขคี่ แต่กล้วยเอาหวีเดียว จากนั้นหาคนมาหนุนหลังเพื่อคอยช่วยคัดท้องไม่ให้เด็กดิ้น ถ้าหนุนต่ำไปจะหนุนบนปากโอ่งก็ได้ ถือหัวตะไคร้เอาไว้ ถ้าหากเป็นลมจะได้ขยี้ให้ดม เมื่อหัวเด็กโผล่หมอตำแยจะเอาเกลือตัวผู้ เลือกที่มีแง่มีคมกรีดฝีเย็บให้ขาด พร้อมกับข่มท้องให้ลูกทะลักออกมา เด็กที่คลอดลงมาถึงพื้น เรียกว่าตกฟาก หมอตำแยจะรีบเอาผ้าห่อทันที แล้วควํ่าเด็ก ล้วงควักเอาเมือกออกจากปากเด็ก และทำให้เด็กร้อง ก่อนทำพิธีตัดรก เอาน้ำอุ่นอาบตัวล้างเลือดทำความสะอาดเด็กแรกเกิดเพราะตอนคลอดมีเลือดติดตามร่างกายเด็ก จนเป็นสำนวน “อาบน้ำร้อนมาก่อน” ซึ่งหมายถึง เขาเกิดก่อน ผ่านโลกมาก่อน จึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆ มากกว่า

อุปกรณ์ทำคลอดของหมอตำแย มีสมุนไพร กรรไกรตัดสะดือ ผ้าขาวม้า น้ำร้อนก็จะสั่งให้เจ้าบ้านต้มรอไว้ให้เรียบร้อย เพื่อฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการในการทำคลอด (เช่น กรรไกรตัดสายสะดือ)  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11872712191608_D01_696x441_Copy_.jpg)
อยู่ไฟหลังออกลูก จิตรกรรมจากวัดห้วยริน ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ขอขอบคุณเว็บไซต์ "ศิลปวัฒนธรรม" (ที่มาภาพประกอบ)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45790582564141_D02_Copy_.jpg)
ทำคลอดของไทยโบราณ จิตรกรรมจากผนังอุโบสถ วัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี
ขอขอบคุณเว็บไซต์ "ศิลปวัฒนธรรม" (ที่มาภาพประกอบ)

อ้างอิงข้อมูล :
- ไทยรัฐออนไลน์
- ศิลปวัฒนธรรม
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- topicstock.pantip.com


หัวข้อ: Re: การอยู่ไฟ (แม่หลังคลอด)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 กรกฎาคม 2565 15:38:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60988172681795_109673594_299583658059255_2038.jpg)

การอยู่ไฟ (แม่หลังคลอด)

วิธีการอยู่ไฟที่ถูกต้อง 'ในอดีต' นั้น หญิงผู้อยู่ไฟ จะต้องนอนบนกระดานแผ่นเดียวในห้องมิดชิด ห้ามเปิดประตูและหน้าต่าง และต้องนอนตะแคงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้แผลผสานได้เร็วขึ้น

ข้อห้ามที่สำคัญคือ ภายในห้องต้องไม่เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อกันไม่ให้ลมเข้า ส่วนไฟก็ต้องระวังไม่ให้ดับ ภายในห้องจึงร้อนและอบมาก

การแพทย์แผนไทยเชื่อว่าจะดีกับแม่ เพราะช่วยขับน้ำคาวปลาออกจนหมด ซึ่งทำให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วขึ้น เมื่อเลือดไม่ดีถูกขับออกไปหมดก็จะทำให้ไม่เกิดเลือดเป็นพิษ น้ำนมก็จะไม่เป็นอันตรายต่อลูก

การอยู่ไฟนี้กินเวลาประมาณ ๑๕-๓๐ วัน

หมอบรัดเลย์เดินทางมาถึงเมืองไทยใน พ.ศ.๒๓๗๘ และเสียชีวิต พ.ศ.๒๔๑๖ ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ และ ๔

หมอบรัดเลย์ได้นำความรู้ทางการแพทย์ตะวันตกมาใช้จนเป็นที่ประจักษ์ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และยังได้พิมพ์หนังสือ "ครรภ์รักษา" อันเป็นตำราแพทย์แบบตะวันตก ซึ่งกล่าวถึงการตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งมีหลักการที่ขัดกับการอยู่ไฟชัดๆ อย่างที่ระบุในตำราว่า "ต้องให้เขา (แม่หลังคลอด) นอนในห้องที่สงัดมีลมพัดเย็นๆ อย่าให้อยู่ไฟเลย ความร้อนของไฟนั้น มักให้จับไข้ ให้ผิวหนังแห้งเหี่ยวไป ไม่เป็นปกติ ให้เกิดโรคต่างๆ"

โดยต่อมา สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็มีนโยบายชักชวนให้เลิกการอยู่ไฟ ด้วยทรงเห็นว่าเป็นวิธีทรมาน และทรงเรียกว่าเป็น "อาชญากรรมอันโหดร้ายทารุณ และโง่เขลาเบาปัญญาที่ผู้หญิง ต้องทนอยู่ในสภาพแบบนี้" ซึ่งแม้จะมีข้อคัดค้าน หรือความเห็นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่เหล่าผู้หญิงในราชสำนักก็ยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับและยังคงอยู่ไฟกันต่อไป

ล่วงมาจนรัชสมัยราชการที่ ๕  เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประสูติพระราชโอรส ใน พ.ศ.๒๔๓๒ พระองค์ทรงมีไข้ จนพระองค์ตัดสินพระทัยเลิกการอยู่ไฟและให้หมอรักษาตามวิธีตะวันตก ซึ่งปรากฏผลดี ตั้งแต่นั้นมาก็ทรงสนับสนุนให้เลิกการอยู่ไฟ ทำให้ผู้หญิงในราชสำนักเริ่มทำตาม

โรงพยาบาลศิริราชตั้งขึ้นในปี ๒๔๓๑ ในระยะแรกผู้ที่คลอดในโรงพยาบาลมักขอให้ใช้วิธีดั้งเดิมในการคลอด  คือให้วงสายสิญจ์และแขวนยันต์รอบห้อง พร้อมขอให้มีการอยู่ไฟหลังคลอด แม้ว่าหมอและพยาบาลจะชักชวนให้ใช้วิธีแผนใหม่ แต่ก็ไม่มีใครยอม เมื่อทราบถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระองค์ได้ทรงประทานอนุญาตให้กรมพยาบาลอ่านกระแสรับสั่งแก่ผู้ที่มาคลอดว่า พระองค์ได้ทรงใช้วิธีอยู่ไฟมาก่อน ภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้วิธีใหม่ พบว่าสบายกว่ามากจึงมีพระราชประสงค์จะให้ราษฎรได้รับความสุขด้วย จึงทรงแนะนำให้ทำตามพระองค์และถ้าใครทำตามจะพระราชทานเงินทำขวัญลูกที่คลอดคนละ ๔ บาท ยังผลให้เริ่มมีคนสมัครใจรับการรักษาพยาบาลตามมากขึ้นเรื่อยๆ

และต่อมาจึงมีการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ตามแบบตะวันตกขึ้นในศิริราช เปิดทำการในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ปัจจุบันก็ยังมีการอยู่ไฟอยู่ แต่ก็ไม่ได้งาม ไม่ได้ผ่อง มีน้ำมีนวล ผอมไว หรือช่วยให้หุ่นดี


ขอขอบคุณ เพจบรรณาลัย (ที่มาเรื่อง/ภาพ)