[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:21:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าเมืองระนอง คอซูเจียง  (อ่าน 9644 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 เมษายน 2553 15:53:50 »

   
   

เจ้าเมืองระนอง คอซูเจียง
โดย นพวรรณ สิริเวชกุล

จะว่าไปคนจีนที่อพยพเข้ามาใช้ชีวิตหากินในแผ่นดินสยามนั้น มีแทบทุกรุ่นทุกสมัยนะคะ อย่างต้นตระกูล ณ ระนองที่ถือเป็นคนจีนที่บุกเบิกอุตสาหกรรมแร่ดีบุกในเมืองระนอง ตระกูลแรกในเมืองไทย และยังได้รับพระบรมราชโองการให้มีบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งจางวางเมืองระนองในเวลาถัดมา แถมคนในตระกูลนี้ ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มนำต้นไม้ชนิดหนึ่งมาปลูกในพื้นดินทางจังหวัดภาคใต้ของไทย จนกระทั่งกลายเป็นไม้เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับผู้คนแถวนั้นมานานวัน นั่นก็คือต้นยางพารานั่นเองนะคะ

ซู้เจียง แซ่คอ คือคนจีนคนแรกที่เข้ามาในเมืองไทย คนทั่วไปเรียกท่านว่า คอซู้เจียง ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ในตำแหน่งจางวางเมืองระนอง ซึ่งเทียบเท่าเจ้าเมืองไทยสมัยนั้น

คอซู้เจียงเป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดในบ้านจิวหู แขวงเมืองเจียงซิวฮู ในประเทศจีน ในวัยเบญจเพส คอซู้เจียงเดินทางจากเมืองจีนมากับพี่ชาย และเขาก็เหมือนกับชาวฮกเกี้ยนคนอื่นที่มุ่งหน้าไปยังเกาะหมากหรือปีนังก่อนที่อื่น เพราะที่นั่นมีชาวจีนเชื้อสายเดียวกันอาศัยและทำมาค้าขายอยู่อีกทั้งปีนังยังถือเป็นตลาดการค้าที่สำคัญอย่างยิ่งของคนไทยและต่างชาติอีกด้วย

ที่เกาะหมาก เริ่มแรกคอซุ้เจียงทำงานเป็นคนแบกหาม และเก็บสะสมเงินค่าจ้างไว้กระทั่ง สามารถมีกิจการเป็นของตัวเอง ในยุคนั้นที่เกาะหมาก ชาวฮกเกี้ยนหลายคนเติบโตและมีเงินทุนมากกว่าเขา อาศัยและทำกิจการค้าที่นั่น คอซุ้เจียงเห็นว่าตัวเขานั้นมีทุนน้อยกว่าและไม่มีความชำนาญทางการค้าเช่นคนอื่น จึงตัดสินใจเดินทางมาเสี่ยงโชคต่อยังเมืองไทย

ที่แรกที่เขาเหยียบแผ่นดินไทยก็คือภูเก็ต เขาเห็นว่าภูเก็ตแม้จะเป็นตลาดใหญ่ของแร่ดีบุก แต่สภาพทั่วไปของจังหวัดที่เล็กเป็นเพียงเกาะๆหนึ่ง ที่มีทั้งคนไทยและต่างชาติทำมาหากินอยู่แล้ว ประกอบกับเขามีทุนรอนที่น้อยนิด ไม่อาจหาญสู้กับคนอื่นๆ ที่ทำอยู่ก่อนแล้วได้

เขาจึงหาที่พึ่งเพื่อแสวงหาช่องทางทำกิน ที่พึ่งของเขาในเวลานั้นก็คือเจ้าเมืองภูเก็ตนั่นเอง ต่อมาเขาได้เริ่มต้นทำการค้าและออกสำรวจไปยังเมืองต่างๆ ก่อนจะไปปักหลักมีครอบครัวและสร้างฐานะอยู่ที่เมืองพังงา กิจการค้าขายของคอซู้เจียงขยายตัวอย่างดี เขามีเรือกำปั่นใบลำหนึ่งแล้วล่องเรือไปค้าขายสินค้าที่เกาะหมากและตามหัวเมืองชายทะเลตะวันตกกระทั่งถึงเมืองระนอง

จากการเดินทางท่องเที่ยวเช่นนี้เองที่ทำให้ คอซุ้เจียงเห็นว่าเมืองระนองเป็นเมืองที่มีภูเขา และดีบุกมาก ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนที่ขุดหาแร่ดีบุกจริงๆ ก็มีน้อย เขาจึงคิดจะตั้งกิจการค้าดีบุกให้เป็นเรื่องราว โดยที่ไม่ต้องแย่งชิงกับผู้ใด คอซุ้เจียงจึงเข้ามาขอผูกอากรดีบุกเมืองระนองและย้ายครอบครัวมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่นี่

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คอซูเจียงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรัตนเศรษฐี ตำแหน่งอากรในเมืองระนอง ต่อมาอีกหลายรัชสมัย คอซูเจียงก็ได้เลื่อนยศจนกระทั่งมีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ระนอง นับแต่นั้น

ตำแหน่งสุดท้ายของคอซู้เจียงคือ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ตำแหน่งจางวางกำกับเมืองระนองเมื่ออายุ 86 ปี ท่านได้จากโลกนี้ไปด้วยการอาการป่วยเป็นวัณโรค ประกอบกับอายุที่มากและตลอดทั้งชีวิตทั้งตรากตรำทำงานหนักมาตลอดจึงไม่อาจยืดชีวิตต่อไปได้...

ปัจจุบันเมืองระนองยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือจวนเจ้าเมืองระนอง ที่สร้างโดยบุตรชายคนที่สองของคอซู้เจียง เริ่มสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2420 หลังเหตุการณ์กุลีจีนก่อกบฎ สิ่งที่สำคัญของที่นี่คือ ป้ายหน้าศาลบรรพบุรุษ ที่เขียนเป็นภาษาจีนและมีความหมายว่า ดวงตะวันอันสูงส่ง บ้านนี้มากด้วยขุนนาง บ้านนี้มากด้วยแก้วแหวนเงินทอง

และสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งคือ สุสานเจ้าเมืองระนอง ที่สร้างในปี 2426 เป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ตระกูล ณ ระนอง

Credit by : ผู้จัดการออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2553 16:11:02 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 16:02:51 »


   

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อวันพุธ เดือน 5 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400  เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ พระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง) จีนฮกเกี้ยน ที่ได้รับบรรดาศักดิ์เลื่อนฐานะจากพ่อค้าเป็นขุนนาง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มีมารดาเป็นชาวนา ชื่อกิ้ม มีพี่ชายต่างมารดา 5 คนดังนี้

                1. คอซิมเจ่ง (หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
                2. คอซิมก๊อง (พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร)
                3. คอซิมจั๋ว (หลวงศักดิ์ศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
                4. คอซิมขิม (พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ช่วยราชการเมืองกระบุรี)
                5. คอซิมเต๊ก (พระยาจรูญราชโภคากรณ์ ผู้ช่วยราชการเมืองหลังสวน)

        พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เริ่มรับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2425 โดยพี่ชายคือ พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง)  เจ้าเมืองระนองขณะนั้นเป็นผู้นำตัว ไปถวายเป็นมหาดเล็ก และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ หลวงบริรักษ์โลหะวิไสย ผู้ช่วยเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นที่ พระวัษฎงคตทิศรักษา เจ้าเมืองกระบุรี

        เมื่อพ.ศ. 2428 ได้แสดง ความสามารถ สร้างบ้านบำรุงเมืองให้เป็นที่ปรากฎ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในปี พ.ศ. 2433 และในปี พ.ศ. 2455  โปรดเกล้าให้เป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

        พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีบทบาทที่สำคัญหลายประการดังนี้

                1. ด้านการปกครอง กุศโลบายหลักในการปกครองของท่านคือ หลักพ่อปกครองลูก ทำนองเดียวกับที่ใช้ในยุคสุโขทัย นอกจากจะยึดหลักพ่อปกครองลูกแล้ว ยังยึดหลักในการแบ่งงาน และความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังจะเห็นได้จาก การริเริ่มจัดตั้งที่ว่าการกำนันขึ้นเป็นแห่งแรก ที่มณฑลภูเก็ต และได้จัดระเบียบการประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอให้เป็นที่แน่นอน

                2. ด้านการส่งเสริมอาชีพราษฎร อาจจะเป็นเพราะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เกิดในตระกูลพ่อค้า ท่านจึงมีโลกทรรศน์ ต่างจากขุนนางอื่น ๆ คือ มีอุปนิสัยบำรุงการค้า เมื่อเป็นเจ้าเมืองตรังได้ย้ายจากตำบลควนธานีไปอยู่ตำบลกันตังด้วยเหตุผลที่ว่า มีทำเลการค้าที่ดีกว่า เรือกลไฟ เรือสินค้าใหญ่ สามารถเข้าถึงได้สะดวก เหล่านี้เป็นต้น

                3. ด้านการคมนาคม พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ให้ความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะการสร้างถนน

                4. ด้านการรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้สร้างความคิดใหม่ขึ้นในหมู่ราษฎร กล่าวคือ ราษฎรทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่โดยเพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะทอดธุระให้แก่เจ้าพนักงาน บ้านเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้

                5. ด้านการศึกษา แม้พระยารัษฎานุประดิษฐ์จะเขียนหนังสือไม่ได้ แต่ท่านก็ประจักษ์ในคุณประโยชน์ของการศึกษา ได้พยายามสนับสนุนในทุกทาง เริ่มแรกให้ใช้วัดเป็นโรงเรียน จัดหาครูไปสอน บางครั้งก็นิมนต์พระสงฆ์ไปสอน นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกบุตรหลานข้าราชการ ผู้ดีมีสกุลในจังหวัดต่าง ๆ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ปีนัง เป็นต้น

                6. ด้านการสาธารณสุข นอกจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จะรณรงค์เรื่องความสะอาด บังคับให้ราษฎรดูแลบ้านเรือน ให้สะอาดเรียบร้อย

                ผลงานของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นับได้ว่าเป็นเลิศกว่านักปกครองคนอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน ท่านได้รับการยกย่อง แม้ในหมู่ชาวต่างประเทศและตลอดแหลมมลายูยุคนั้นว่า เป็นผู้มีความสามารถสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทั้งนักปกครอง และนักพัฒนาในเวลาเดียวกัน

                เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูต่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ราษฎรและข้าราชการ จังหวัดตรังจึงได้สละทรัพย์สมทบ สร้างอนุสาวรีย์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีขึ้นที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในวันที่ 10 เมษายน ของทุก ๆ ปีซึ่งเรียกกันว่า "วันพระยารัษฎานุประดิษฐ์" จะมีการวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์


 ยิ้ม  http://www.lib.ru.ac.th/trang/tranginfo/interestman.html
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 16:23:53 »

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 เมษายน 2553 20:23:23 »


http://img297.imageshack.us/img297/6880/54686189.jpg
เจ้าเมืองระนอง คอซูเจียง


 อายจัง  ฝันดีนะคะน้อง"บางครั้ง"

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องของผัว - เมียละเหี่ยใจ
สุขใจ ตลาดสด
sometime 1 3634 กระทู้ล่าสุด 23 พฤษภาคม 2553 19:41:05
โดย หมีงงในพงหญ้า
" คำทำนาย ชะตาเมืองไทยของสมเด็จโต"
คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
เงาฝัน 2 7391 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2553 00:41:17
โดย ▄︻┻┳═一
ชี้แจงเรื่องการย้ายข้อมูลจากเวบเก่ามาเข้าสุขใจ ไม่ทันการแน่
สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
หมีงงในพงหญ้า 4 6886 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2553 10:15:11
โดย หมีงงในพงหญ้า
นิทานเซน เรื่อง ลอยเท้งเต้ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 1 2798 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2553 20:00:25
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เจ้าทึ่ม 14 13023 กระทู้ล่าสุด 19 กรกฎาคม 2554 16:04:30
โดย เจ้าทึ่ม
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.375 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 ตุลาคม 2567 11:43:57