หัวข้อ: ปากเหม็น ใครคิดว่าไม่สำคัญ - กลิ่นปากบอกโรคร้าย เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 09 มีนาคม 2553 21:14:32 ปากเหม็น เรื้อรังลางบอกเหตุโรคร้าย
(http://campus.sanook.com/story_picture/b/05792_002.jpg) ปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญอย่าง ‘กลิ่นปาก’ ที่หอบเอาลมหายใจเหม็น ๆ ออกมาจากช่องปากทุกยามที่คุณปริปากนั้นเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจไม่ใช่น้อย เพราะเคยทำให้ใครหลายคนพยายามสงวนคำพูด ลดโอกาสการสนทนา ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากให้คู่สนทนาได้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แถมยังบั่นทอนบุคลิกภาพที่ดีลงไป ทว่าคุณจะเห็นเรื่องกลิ่นปากเป็นเรื่องเล็ก เพราะยามที่เริ่มส่งกลิ่นเหม็นเมื่อไหร่ ก็หยิบลูกอม หมากฝรั่ง ยัดใส่ปาก หรือไม่ก็ขอเวลานอกไปกลั้วปากบ้วนน้ำ แปรงฟัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูก โดยวิธีดังกล่าวเป็นการขจัดปัญหากลิ่นปากที่อาจเกิดจากการรับประทานอาหารบางชนิด แต่ถ้าสาเหตุของกลิ่นนั้นมาจากปัญหาอื่น ไม่นานกลิ่นปากก็จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าตำราเรื้อรัง 'ศูนย์ทันตกรรม Dentalis โรงพยาบาลเวชธานี' ที่เปิดให้การรักษาปัญหากลิ่นปากพบว่าร้อยละ 80-90 ของผู้ที่มีปัญหากลิ่นปากเรื้อรังมักมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในช่องปาก ที่มีทั้งลิ้นเป็นฝ้า ร่องเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์หรืออวัยวะรอบฟันอักเสบ แผลในช่องปาก ฟันผุ ฟันคุด ฟันซ้อนเก ฟันปลอมหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ใส่เพื่อจัดแต่งฟันไม่สะอาดมีเศษอาหารติดค้าง ส่วนปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดกลิ่นปากคือ อาหาร แม้จะไม่ใช่ตัวการก่อกลิ่นที่เรื้อรัง คุณก็ควรรู้ไว้ว่าการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนสูง อย่าง กระเทียม เครื่องเทศ หัวหอม รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ จะนำพากลิ่นตุ ๆ ให้เกิดขึ้นในปาก รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วย นอกจากสองปัจจัยที่กล่าวไปแล้ว กลิ่นปาก อาจเกิดขึ้นเพราะร่างกายส่งสัญญาณบอกความเจ็บป่วยจากอวัยวะภายใน เช่น ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ อาทิ การอักเสบหรือมะเร็งในโพรงจมูก ไซนัส ทอนซิล คอหอย กล่องเสียง หรือปอด โรคของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ การอักเสบของหลอดอาหาร โรคกระเพาะ โรคลำไส้ ทั้งนี้ยังมีการวิจัยพบว่า โรคกรดไหลย้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ มีผลให้น้ำมูกข้นเหนียวกว่าปกติ และจะไหลลงลำคอด้านหลังจมูก (Post Nasal Drip) ซึ่งเป็นอาการเดียวกับผู้ที่ทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง ยังมีการป่วยด้วยโรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน ที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้อีก โดยสามโรคตอนท้ายนี้จะมีกลิ่นเฉพาะของแต่ละโรค ที่มา: Sanook Health |