[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 13:50:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๓๓ การันทิยชาดก : ผู้ให้ศีลพร่ำเพรื่อ  (อ่าน 46 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 119.0.0.0 Chrome 119.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 08:10:45 »





พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๓๓ การันทิยชาดก
ผู้ให้ศีลพร่ำเพรื่อ

          เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ในครั้งนั้นได้มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อ การันทิยะ ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์แห่งสำนักศิลปศาสตร์ในเมืองตักสิลา
          อาจารย์ทิศาปาโมกข์แห่งสำนักศิลปศาสตร์ เป็นคนที่ชอบให้ศีลแก่คนทั้งหลาย ทั้งๆ ที่เพิ่งพบเห็นกันและทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ขอ บางทีให้ศีลแก่ชาวประมง คนเหล่านั้นเมื่อรับศีลไปแล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม อาจารย์บ่นไม่พอใจกับลูกศิษย์อยู่เสมอๆ
          วันหนึ่งพวกลูกศิษย์ได้เสนอแนะอาจารย์ว่า “การที่ชาวบ้านรับศีลแล้วไม่ปฏิบัติตาม กลับละเมิดศีลเสียอีกด้วย ก็เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการจะรับศีล แต่อาจารย์ยัดเยียดให้เขาเอง ทางที่ดีอาจารย์ควรจะให้ศีลเฉพาะคนที่เขาต้องการ คือ เมื่อมีคนมาขอศีล จึงค่อยให้เขา อย่าให้แก่คนที่ไม่ได้ขอเลย”
          อาจารย์ฟังแล้วไม่พอใจ ไม่เชื่อคำแนะนำ ยังคงให้ศีลไม่เลือกหน้าเหมือนเดิม
          ต่อมามีชาวบ้านจากหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ส่งคนมาเชิญอาจารย์ไปทำพิธีสวดที่บ้าน แต่อาจารย์ไปไม่ได้ จึงสั่งให้นันทิยะศิษย์ที่เป็นพี่ใหญ่พาศิษย์น้องจำนวนหนึ่งไปแทน และสั่งด้วยว่าเมื่อสวดทำพิธีเสร็จแล้วให้รับเอาไทยธรรมที่ชาวบ้านเขาให้เรามาด้วย
          ฝ่ายการันทิยะ ก็ได้นำพราหมณ์หนุ่มจำนวนหนึ่งไปทำพิธีให้ชาวบ้านแทนอาจารย์ ขากลับได้แวะพักที่บริเวณช่องเขาแห่งหนึ่ง
          ระหว่างนั่งพักอยู่ การันทิยะคิดห่วงใยอาจารย์ว่าท่านอาจารย์ชอบให้ศีลพร่ำเพรื่อ แม้แต่คนที่ไม่ขอก็ให้ แล้วต้องมากลุ้มใจเปล่าๆ ทำอย่างไรหนอเราจะช่วยอาจารย์ในเรื่องนี้ได้ ขณะครุ่นคิดเขาก็ขว้างก้อนหินเข้าไปในซอกเขาข้างล่างตลอดเวลา ด้วยอาการของคนจมอยู่ในห้วงแห่งความคิด หรือจมอยู่ในภวังค์
          พวกพราหมณ์หนุ่มๆ สงสัยในการกระทำของพี่ใหญ่ จึงเข้าไปถามไถ่
          การันทิยะไม่ได้ตอบคำถามของน้องๆ เพราะกำลังอยู่ในภวังค์ เพียงว่าหยุดขว้างหยุดโยนก้อนหินเข้าไปในซอกเขา กลับถึงสำนัก พวกพราหมณ์หนุ่มๆ ได้เล่าเรื่องที่การันทิยะพี่ใหญ่ขว้างโยนก้อนหินเข้าไปในซอกเขาให้อาจารย์ฟัง อาจารย์จึงถามการันทิยะว่า “เจ้าโยนก้อนหินเข้าไปในซอกเขาไปเพื่ออะไร?”
          การันทิยะถูกอาจารย์ถามเช่นนั้น ก็เกิดความคิดแว๊บขึ้นมาทันที ตอบอาจารย์ว่า “ที่ผมขว้างก้อนหินเข้าไปในซอกเขาลึกเบื้องล่าง ก็เพื่อจะทำให้พื้นแผ่นดินตรงนั้นสูงขึ้นจนราบเรียบเสมอกัน”
          อาจารย์ฟังแล้วก็หัวเราะออกมา พร้อมกับกล่าวสอนศิษย์อย่างมั่นใจว่า “การินทิยะ! ไม่มีใครจะทำให้แผ่นดินราบเรียบเสมอกันดังฝ่ามือได้หรอก เจ้าจะถมซอกเขาให้เต็มก็คงตายเสียก่อน เป็นการกระทำที่เสียเวลาเปล่า”
          การันทิยะได้โอกาสจึงเอ่ยขึ้น “ท่านอาจารย์! ถ้าไม่มีใครสักคนทำให้แผ่นดินราบเรียบเสมอกันได้ ฉันใด ท่านอาจารย์ก็คงไม่อาจทำให้ผู้คนซึ่งมีความคิดเห็นต่างกัน รับศีลไปรักษาได้เสมอเหมือนกันฉันนั้น ศิษย์อยากให้ท่านอาจารย์ให้ศีลแก่คนที่ต้องการศีลเท่านั้น ใครไม่ต้องการก็อย่าไปให้เขาเลย”
          อาจารย์ฟังเช่นนั้น สติก็มา ปัญญาก็เกิดขึ้นฉับพลัน แล้วกล่าวขึ้น “การันทิยะ! เจ้าได้บอกความจริงอย่างย่นย่อแก่เราแล้วเป็นจริงดังว่า ไม่มีใครสามารถทำให้แผ่นดินราบเรียบเสมอกันได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำให้คนรับศีลเอาไปรักษาได้หมด ฉันนั้น”
          กล่าวจบ อาจารย์ก็รับปากการันทิยะว่าจะให้ศีลเฉพาะแก่คนที่ต้องการเท่านั้น พร้อมกับกล่าวชมเชยการันทะยิที่รู้จักใช้ปัญญาแนะนำอาจารย์ไม่ให้ปฏิบัติอย่างผิดๆ   
     

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“การทำอะไรไปแบบหว่านดะ เหวี่ยงแห ไม่ได้ผลแท้จริง”
“การทำโดยไม่คิด ย่อมไม่สัมฤทธิ์ผล”


พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา
คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข (๒๗/๔๖)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดย ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๑๙ เภริวาสชาดก : ช่างตีกลองกับบุตรชาย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 771 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:06:56
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๒๐ วัณณุปถชาดก : ความเพียรของพ่อค้า
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 1547 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:09:53
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๓๙ เจติยราชชาดก : พระเจ้าเจติยราช
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 732 กระทู้ล่าสุด 05 พฤศจิกายน 2563 20:50:13
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๐ กายนิพพินทชาดก : ชายขี้โรคบวชไม่สึก
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 602 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:55:41
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๑ กัสสปมันติยชาดก : บิดาชรากับบุตรน้อย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 679 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:58:21
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.297 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 15:11:31