[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 22:23:51



หัวข้อ: มหาธรรม เรื่อง ความว่างนำไปสู่ปัญญา ปัญญาบอกกิจใดควรทำกิจใดควรเว้น
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 22:23:51


(http://www.mahasukhavati.com/spaw2/uploads/images/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202.jpg)

มหาธรรม เรื่อง ความว่างนำไปสู่ปัญญา ปัญญาบอกกิจใดควรทำกิจใดควรเว้น


ความว่างไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่ความว่าง แต่ความว่างเป็นมรรค เป็นทางที่จะทำให้เราเข้าใจถึงนิพพานได้ โดยไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง แท้จริงแล้ว จิตเราถ้ามีพัฒนาการสูงมากๆ สามารถรู้ถึงนิพพานได้ คือ กำลังจิตระดับมหาโพธิสัตว์ หรือกำลังจิตระดับเซียนที่พร้อมบรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า อันนี้ จิตมีกำลังญาณสูง ถึงนิพพานได้ทั้งสิ้น แต่สำหรับจิตของพระสาวกนั้นไม่ถึง รู้ถึงนิพพานด้วยตนเองไม่ได้ จิตของพระสาวก จะมีบุญบารมีเท่ากับเทวดาชั้นที่สามคือ ชั้นยามา แต่เพราะศรัทธาในพระพุทธเจ้า จึงเชื่อและปฏิบัติตามท่านจึงบรรลุถึงนิพพานได้นั่นเอง เมื่อจิตผู้หนึ่งผู้ใดจะหยั่งถึงพระนิพพานได้นั้น เขาจะต้องทำจิตให้ว่าง บริสุทธิ์จากการยึดมั่น ปรุงแต่งใดๆ ก่อน เหมือนหลอดทดลองที่ต้องสะอาดจริงๆ การทดลองจึงจะให้ผลได้ถูกต้องออกมานั่นเอง

บางคนไปยึดมั่นความว่าง คิดว่าความว่างกับนิพพานเป็นหนึ่งเดียวกันก็มี เช่น ปฏิบัติจิตจนว่างหมด แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่ทราบว่ากิจใดที่ตนยังต้องทำ ต้องชำระให้สิ้นไปบ้าง หรือกิจใดที่ตนควรละเว้น ไม่ควรกระทำอีกแล้วบ้าง (ศีล) เพราะยึดมั่นในความว่างจึงไม่เกิดปัญญา เมื่อไม่เกิดปัญญาอย่างแท้จริง จึงไม่ทราบว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ การทำจิตให้ว่างเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่ง ที่เตรียมพร้อมจิตก่อนจะเกิดปัญญาเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีบางที่สอนว่าให้ละตัวรู้ ละจิตรู้ ละปัญญาเสียอีก อันนี้ แย่ไปใหญ่ ปัญญาไม่ใช่ของให้ยึดก็จริง แต่ไม่ใช่ของให้ยึดว่าต้องละ ต้องทิ้ง ไปยึดเอาว่าต้องละทิ้งปัญญานั้นเป็นความหลง เป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง ทำให้คนโง่ลง มืดลง ทึบลงได้

สิ่งที่ต้องละ ต้องเว้นนั้นคือ “ศีล” ต่างหาก คำว่าศีล คือ กิจที่ควรละเว้นให้ได้เป็นปกติวิสัย อันเป็นปกติวิสัยของผู้ที่จะได้นิพพานเขาจะไม่ทำกัน จึงเรียกว่าศีล แต่ปัญญาไม่ใช่ของละเว้น เป็นสิ่งชี้นำ ส่องสว่าง ให้ทางแก่เรา จนถึงนิพพานแท้จริง คนเราแม้ว่าบรรลุธรรมไม่ใช่ว่าจะได้นิพพานในทันทีก็หาไม่ ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกว่าจะละสังขารถึงจะถึงเวลาละสังขารปรินิพพานได้ เมื่อเรายังมีกายสังขารอยู่ ก็ให้ทราบเถิดว่าเรายังมีกิจใดค้างอยู่กับโลกเป็นแน่แท้ เราจึงยังเหลือชีวิตอยู่ เราต้องเอะใจแล้ว และสติปัญญาของเราจะสว่างโพล่งออกมาเองว่าเราเหลือกิจใดค้างต่อโลก กรรมใดเราก่อไว้ยังชำระไม่หมด เลยยังไม่ตาย และกิจใดบ้างที่ไม่ใช่กิจเราแล้ว เราละแล้ว เว้นแล้ว ถึงจะได้นิพพาน นี่คือปัญญาจริงๆ มีแค่นี้แหละ

ปัญญาทางธรรมไม่ได้บอกอะไรมากมาย แต่ปัญญาญาณตัวอื่นๆ เช่น ญาณหยั่งรู้อดีต, อนาคต, รู้ใจคนอื่น ฯลฯ อันนั้นยังไม่ใช่ “อาสวขยญาณ” ไม่ใช่ปัญญาญาณที่นำสู่นิพพาน ดังนั้น ถ้าท่านนั่งยึดความว่างอยู่ เทศน์อยู่แต่ว่าให้ว่าง ให้ละ อะไรก็ไม่ใช่ แต่ท่านเองกลับบอกไม่ได้ว่ากิจใดที่ท่านค้างอยู่ กรรมใดที่ท่านยังไม่ได้รับ ไม่ได้ชำระและกิจใดบ้างที่ท่านควรละเว้นแล้ว หรือลูกศิษย์ของท่านควรละเว้นหรือควรทำกิจอะไร ท่านบอกเขาไม่ได้ แสดงว่าปัญญาท่านไม่มีจริง ท่านได้แค่ความว่าง อย่างที่ท่านยึดนั่นแหละ อันนี้เป็นความว่างอันนำไปสู่ “นิพพานลวงโลก” ยังไม่ใช่นิพพานจริงๆ หรอก



(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:A29ei0CkT7xT_M)




หัวข้อ: Re: มหาธรรม เรื่อง ความว่างนำไปสู่ปัญญา ปัญญาบอกกิจใดควรทำกิจใดควรเว้น
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 22:28:54



“นิพพานสุก” ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่อรหันต์ แต่ทันทีที่อรหันต์ เราเข้าใจถึงนิพพาน และทราบมรรควิธีถึงนิพพานเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร คำตอบคือ อริยสัจสี่ คือ รู้ว่าทุกข์หนีไม่ได้ แต่หาทางหลุดพ้นได้ รู้ว่าจะหลุดพ้นทุกข์ต้องแก้ที่เหตุคือใจเราเอง รู้ว่าทางหลุดพ้นไม่ใช่การยึดมั่นอะไรสักอย่างเลย ต้องปล่อยวางความยึดถือทั้งหมดก่อน และรู้ว่ามรรควิธีถึงนิพพานคืออะไร ซึ่งขณะนั้นเรายังไม่ได้นิพพานสุกในทันที เราได้นิพพานแบบดิบๆ ไปก่อน คือ กิเลสนิพพาน

ทำให้เราเห็นธรรมตามจริง รู้ว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่พ้นทุกข์ได้ เราจะพ้นทุกข์ได้จริงคือพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือ สิ้นไปจากขันธ์ทั้งห้า และกิเลสทั้งปวง ตอนนี้กิเลสสิ้นลงแล้วจริง แต่ขันธ์ห้ายังครองอยู่ แสดงว่ายังไม่ได้นิพพานยังมีอะไรอีกหนอที่ยั้งเราทำให้เราไม่นิพพานเมื่อนั้นเอง พระพุทธเจ้าก็ทราบต่อว่าเพราะท่านตั้งความปรารถนามาเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลกและแล้วท่านก็พิจารณาละความปรารถนานั้นเสียด้วยว่าสัตว์โลกนั้นไม่อยู่ในวิสัยจะโปรดได้ เมื่อนี้เองที่จิตท่านใสแท้จริง ไม่เหลืออะไรเลย จนท้าวมหาพรหมต้องลงมาทูลเชิญฯ โปรดสัตว์

ที่เล่าละเอียดอย่างนี้เพื่ออะไร? ก็เพื่อบอกว่านิพพานไม่ใช่ของที่มาพร้อมอรหันต์ ไม่ใช่ของแถมหรือขายพ่วง หรือของอันเดียวกัน คนละอย่างกัน เหมือนคุณเห็นปลายทางเดินของคุณ

แล้ว นั่นคือ อรหันต์ แต่คุณยังเดินไปไม่ถึงก็คือยังไม่นิพพาน ดังนั้น มีได้เป็นได้ที่คนเราจะเห็นปลายทางเร็วคือ บรรลุอรหันต์ แต่ยังเวียนว่ายตายเกิดต่อไปได้อีก เพราะเขาไม่ได้เดินตรงต่อไป แต่อาจวกกลับไปช่วยคนอื่นๆ ก่อนก็ได้ นั่นคือ ภาวะของอรหันตโพธิสัตว์แตกต่างจากอรหันตสาวก เช่นกันกำลังบอกท่านว่าพระอรหันต์ทุกรูปจะนิพพานได้นั้น ไม่ใช่ได้ทันที แน่นอนแล้วเมื่อบรรลุอรหันต์ อรหันต์กับนิพพานก็คนละอย่างกัน เหมือนผู้เดินทางที่เห็นปลายทางแล้ว (อรหันต์) กับปลายทางนั้น มันก็คนละอย่างกัน ดังนี้ ก็มีพระอรหันต์จำนวนมากในประเทศไทย ที่มีกรรมเก่า ทำให้ไม่ได้นิพพาน คิดว่าตนได้นิพพานแล้วแน่ๆ เพราะถูกเจ้ากรรมนายเวรหลอกเอา ให้หลงอย่างนั้นแล้วพาไปทำกิจนั่นโน่นนี่เต็มไปหมด

ไม่มีปัญญารู้เลยว่ากิจใดควรละเว้น กิจใดตนยังค้างอยู่ต้องไปทำบ้าง อันนี้ไม่ใช่อรหันตสาวกแล้ว เป็นอะไรหันก็ไม่รู้ (หมูหันมั้ง) ขอให้ท่านได้สติบ้างเสียทีเถิด อย่าหลงมาก กับบุญบารมีที่ท่วมหัวหลอกท่านอยู่ ผู้เขียนหวังดี ไม่ได้ต้องการทำลายอะไรท่านเลย อนึ่ง การที่ท่านจะบำเพ็ญเป็นอรหันตโพธิสัตว์ก็ไม่ผิด ดีเลยชาติก็ต้องการอยู่มาก อย่างครูบาศรีวิชัยนั่น ท่านกล้าหาญตรงไปตรงมา บอกเลยตรงๆ ยังไม่นิพพาน ท่านบำเพ็ญบารมี แต่ที่หลงๆ กันอยู่นี่ แม้แต่จะได้ตรัสรู้ก็ไม่ได้ตรัสรู้กับเขา เพราะหลงนั่นแหละ จะกลายเป็นอรหันต์มหาโพธิสัตว์อยู่สุขาวดีนั่นยาวนานนัก




หัวข้อ: Re: มหาธรรม เรื่อง ความว่างนำไปสู่ปัญญา ปัญญาบอกกิจใดควรทำกิจใดควรเว้น
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 22:34:46


ความว่างกับการบรรลุธรรม มีขั้นตอนดำเนินไป ดังนี้

๑) จิตว่างจากใดๆ ไรๆ ทั้งปวงก่อน หรือว่างฉับพลัน

ที่เรียกว่าการทำจิตว่าง หรือทำจิตให้ว่างก่อน นี่เป็นแค่ขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่นิพพานในบัดดลดังใจอยาก เป็นการเตรียมพร้อมจิตให้บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งใดปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเหนี่ยวรั้งปัญญาญาณ การหยั่งรู้ไว้ ทำให้ปลดปล่อยรัศมีจิต ญาณหยั่งรู้ทะลวงไปถึงที่สุดได้

๒) จิตได้รับการปลดปล่อย รัศมีจิตหยั่งแจ้งถึงนิพพาน

ขั้นนี้คือ หลังจากเคลียร์ทุกอย่างให้ใสสะอาด ไม่ยึด ไม่ติด ไม่มีอะไรสักอย่าง ว่างดีแล้ว กำลังจิตหยั่งไปด้วยอาการได้รับการปลดปล่อยอย่างเต็มที่ รัศมีกำลังจิตก็ถึงซึ่งนิพพานอันไกลได้ ทะลุทะลวงผ่านเทวโลก มารโลก พรหมโลก สุขาวดีโลก ถึงซึ่งนิพพาน ก็รู้ได้ทันทีว่าที่สุดคืออะไร เข้าใจนิพพานในบัดดล ทราบถึงทางหลุดพ้นทุกข์ว่ามีอยู่จริง

๓) ปัญญาจะบอกว่ากิจใดค้างต้องทำ กิจใดควรละเว้น

ในขั้นนี้ จิตจะบอกท่านว่าสิ่งใดควรไปชำระก่อนจึงนิพพานได้ สิ่งใดควรละเว้นครบถ้วน เมื่อท่านทราบว่ากิจใดควรละเว้นโดยถ้วนถี่แล้ว ท่านย่อมละโดยไม่ต้องสงสัย ท่านย่อมมีศีลขึ้นเองเป็นปกติ ท่านย่อมละเสียมากกว่า ๒๒๗ อย่างด้วยซ้ำไป มันมากมายนับไม่ถ้วนดอกที่พระอรหันต์ท่านละเว้นนั้น แต่จะให้อธิบายหมดก็คงไม่ไหว มันเยอะเกิน ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงไม่ได้เอามาตราไว้ทั้งหมด แค่ดูหมู่ภิกษุก่อน ว่าทำอะไรเพี้ยนไป ไม่เหมาะก็เอามาวางไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ ว่าไม่ใช่กิจที่ภิกษุจะทำ แต่เป็นกิจที่ควรละเว้น ดังนี้ ศีลก็เกิดขึ้นเองโดยเป็นปกติ โดยธรรมชาติ ดังนี้ ศีลกับธรรมก็เกิดจากสิ่งเดียวกัน

๔) ทำกิจที่ค้าง ละกิจที่ควรละเว้น จนดับขันธปรินิพพาน

เมื่อท่านทราบโดยแจ้งชัดแล้ว ก็ทำในสิ่งที่ค้างและต้องทำนั่นเสีย และละเว้นสิ่งที่ควรละเว้นนั่นเสีย เมื่อทำได้อย่างนี้ ก็จะได้ดับขันธปรินิพพานได้ แล้วท่านก็ไปชำระเสีย ไปใช้หนี้เขาเสีย ถ้ายังใช้หนี้ไม่หมด ก็ยังนิพพานไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระอาจารย์ของพระนาคเสน นี่ก็จะเข้านิพพานไม่ได้ ถ้าไม่รอโปรดพระนาคเสนก่อน, พระอุปคุต นี่ก็ต้องลงไปจำศีลรอใต้บาดาล กว่าจะได้ทำกิจร่วมกับพระเจ้าอโศกมหาราช ถ้าไม่ได้ทำกิจนี้ ก็ยังนิพพานไม่ได้อีก เพราะกิจที่ต้องทำ ยังคั่งค้างอยู่ ยังทำไม่เสร็จ ยังไม่ได้ชำระนั่นเอง


ท้ายสุด ขอสรุปว่า ความว่างเป็นเพียงมรรควิธีขั้นต้นในการเตรียมจิตเท่านั้น ยังไม่ใช่ได้นิพพานทันใจหมาย ก็เมื่อเกิดปัญญาแล้ว ตัวท่านเอง จึงทราบว่าต้องทำอย่างไร



 ที่มา : http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=585&ss= (http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=585&ss=)