[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 พฤษภาคม 2567 09:24:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นครสรลวงสองแฅว เมืองพระพิศณุโลกย์  (อ่าน 3411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2559 16:19:31 »

.



นครสรลวงสองแฅว เมืองพระพิศณุโลกย์
บัญชา พินิจอุปพันธ์ ภย.๒๐๒๖๐ : ค้นคว้าเรียบเรียง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก : พิมพ์เผยแพร่
ขอขอบคุณ คุณบัญชา พินิจอุปพันธ์ (ผอ.กองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ที่อนุญาตให้นำผลงานออกเผยแพร่ ในเว็บไซต์ sookjai.com มา ณ ที่นี้ค่ะ

ดินแดนสุวรรณภูมิหรือบริเวณแหลมอินโดจีนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศคือ ทิศเหนือติดจีนและลาว ทิศตะวันตกติดพม่าและมหาสมุทรอินเดีย ทิศใต้ติดมาเลเซีย และทิศตะวันออกติดลาวและกัมพูชา  หากนับรวมเอาประเทศทั้งหมดแล้ว ดินแดนส่วนนี้คือแหลมทองหรือแหลมอินโดจีน หมายความถึงแผ่นดินที่ตั้งอยู่ระหว่างคาบมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีน นั่นเอง

ในโลกยุคดึกดำบรรพ์หลายร้อยล้านปีนั้น สภาพของแผ่นดินในแถบนี้ก็คงมีสภาพเดียวกับแผ่นดินอื่น ตั้งแต่มีการกำเนิดโลกในระบบสุริยะของดาราจักร และสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งในการหยั่งรู้ได้ แต่ข้อสันนิษฐานและทฤษฏีของผู้รู้ที่ศึกษาเรื่องธรณีวิทยาและจักรวาลวิทยาหลายคน ได้ทำให้รู้ว่าโลกนี้มีอายุการการกำเนิดยาวนานมากกว่าสองหมื่นล้านปี

โลกในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นเพียงกลุ่มก๊าซที่หลุดออกมาจากวงจรของดวงอาทิตย์ เมื่อกลุ่มก๊าซภายนอกเย็นตัวลงเป็นเปลือกโลกที่ห่อหุ้มก๊าซที่ยังร้อนอยู่ภายใน เปลือกโลกในระยะแรกนั้นเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน  ต่อมาก๊าซภายในรั่วออกมาจากรอยแตกของผิวโลกและการระเบิดของภูเขาไฟ ได้ปล่อยให้ก๊าซมีเทน (methane) คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และไอน้ำ ขึ้นมาบนโลก อุกกาบาตจากอวกาศได้พุ่งชนโลกโดยเสียดสีอากาศไหม้เป็นทางลงมาชั้นบรรยากาศของโลก ก้อนหินร้อนแดงได้กระทบหินละลายอยู่บนโลก พร้อมกับนำเอาคาร์บอนในรูปสารอินทรีย์มาสู่โลกจำนวนหลายล้านตัน จนโลกสั่นสะเทือนและหินละลายนั้นได้แตกกระจายอย่างน่ากลัว เช่นเดียวกับดาวหาง ซึ่งเป็นหินที่ฝังตัวอยู่ในน้ำแข็งก้อนขนาดใหญ่หลายตันจากนอกโลกก็พุ่งชนโลกพร้อมกับน้ำมาให้โลก แต่โลกยังร้อนจนน้ำนั้นระเหยกลายเป็นไอน้ำไป แม้จะรวมตัวเป็นฝนตกก็ระเหยเช่นกัน ต่อให้มีไอน้ำรั่วออกมาจากโลกก็ไม่เพียงพอที่จะเกิดทะเลหรือมหาสมุทรได้

จากการสำรวจเรื่องราวของมนุษย์ดึกดำบรรพ์นั้น ได้พบว่าในสมัยไพลสโตซีนเมื่อ ๒ ล้านปีนั้น มีมนุษย์คล้ายวานรเกิดขึ้นมากมาย และพบว่าทวีปแอฟริกานั้นเป็นแหล่งของมนุษย์คล้ายวานรในยุคเก่า ในเวลาต่อมามนุษย์ดึกดำบรรพ์กลุ่มนี้ได้เดินทางต่อไปยังทวีปยุโรป จีน และเอเชีย จนถึงเกาะชวา

ต่อมาเมื่อประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ปี บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบันคือ โฮโม ซาเปียน (HOMO SAPIEN) เกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการจนเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน แต่มนุษย์ปัจจุบันนั้นคือมนุษย์พันธุ์ซาเปียน (SAPIEN) เป็นมนุษย์โดยตรงคือมนุษย์นีอัลเดอร์ธัลและมนุษย์โครมันยอง จึงไม่ใช่โฮโม อิเลคตัสในกลุ่มคล้ายวานต

มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์นั้น เรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่บนโลกจากธรรมชาติ  รู้จักใช้เครื่องมือหินและภาชนะดินเผา รู้จักเครื่องมือเหล็ก การเพาะปลูกและก่อไฟ ต่อมามนุษย์กลุ่มนี้ได้แยกย้ายอพยพเผ่าพันธุ์ไปในพื้นที่ต่างๆ มีลักษณะปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างบ้านแปงเมือง ทำให้เกิดมนุษย์เชื้อชาติต่างๆ ในทวีปและประเทศต่างๆ

สำหรับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกครั้งแรก ทำให้มนุษย์เชื่อถือเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพากันนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าหรือเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่นั้นมา



เรื่องของชนชาติไทย
ความเชื่อของชนชาติเอเชียนั้นได้อ้างว่า มนุษย์นั้นกำเนิดจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกันหรือมีตำนานในลักษณะว่าผู้คนเหล่านั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่แหล่งเดียวกัน

ในตำนานของจีนได้กล่าวถึงผู้สร้างโลกว่า คือ พานกู๊ เมื่อทำการสร้างโลกแล้วก็เกิดหลงใหลโลกอยู่นานถึง ๑๘,๐๐๐ ปี  “พานกู๊” (กู๊ แปลว่า เก่าหรือโบราณ)  ส่วนคำว่า “พาน” นั้น ออกเสียงใกล้เคียงกับ แผน (แถน) เป็นคำไทโบราณ แปลว่า พรหมผู้สร้างโลก หากเป็นเช่นนี้ก็เชื่อว่า ทั้งพาน แผน และ แถน (พญาแถนหรือผีแถน) นั้นเรียกคล้ายกัน โดยมีความหมายให้รู้กันว่าคำนี้ หมายถึง พรหม ผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์

คติความเชื่อเรื่อง พรหมผู้สร้างโลกนั้น ในตำนานสิงหนวัติกุมาร กล่าวถึงพระเจ้าพรหมผู้ขับไล่ศัตรูที่มารุกรานดินแดนโยนก มีช้างเผือกชื่อ พานคำ เป็นพาหนะ เหตุที่ช้างเผือกเชือกนี้มีชื่อว่า พานคำ นั้น เนื่องจากเทวดาให้เอาพาน (พังลางหรือผางลาง – ลักษณะคล้ายฆ้องหรือระฆัง) ทำด้วยทองคำไปตีประโคมที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทำให้งูใหญ่ (พญานาค) ในแม่โขงกลายร่างเป็นช้างเผือกมาคู่บุญบารมี สำหรับให้พระเจ้าพรหมใช้ปราบข้าศึกศัตรู ดังนั้น พาน (ฆ้อง) ที่ทำด้วยโลหะ (ทองแดง ทองคำ สำริด) จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจ เช่นเดียวกับช้างเผือก ดังนั้น ช้างเผือกและพาน (พังลาง-ฆ้อง) จึงถือว่าเป็นสมบัติคู่บารมีของผู้นำของชนชาติโยนก

ในตำนานเรื่องท้าวฮุ่ง (ลาวเรียก ขุนเจือง) ก็มีเรื่องของช้างพานคำ เช่นเดียวกันคือ เมื่อท้าวฮุ่ง (ขุนเจือง) ยังเยาว์วัยนั้นกลุ่มผู้คนที่ภักดีเลื่อมใสได้พากันนำสิ่งของวิเศษมาบรรณาการ โดยมีช้างเผือกชื่อพานคำ กับช้างหลายเชือก ต่อมาพวกข่า (พวกพางคำ) ที่อยู่บนภูเขาสูง ได้นำดาบเหล็กชื่อ ดาบฮางเซ็ง เป็นดาบที่นำแร่เหล็กจากเขาภูซางมาตีเป็นดาบ กับฆ้องเงินคู่หนึ่งมามอบให้เป็นของคู่บารมี และในตำนานมีเรื่องเล่าอีกว่า ขุนเจือง (ท้าวฮุ่ง) นั้นต้องเอาฆ้องทองคำไปตีให้กังวาน จึงจะจับช้างเผือกเชือกนี้ได้ เป็นการแสดงถึงอำนาจของพาน (ฆ้อง)

บริเวณที่พบช้างเผือกนั้นมีชื่อว่า เวียงพานคำ (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย)

ดังนั้น เรื่องพานกู๊ในตำนานของจีนจึงมีการถ่ายทอดต่อลงมา จะหมายถึงช้างเผือก พานคำ หรือพานทองคำที่เป็นฆ้อง หรือหมายถึงอำนาจของพระเจ้าพรหมหรือพรหมก็ได้ ล้วนมีเค้าเรื่องมาจากแหล่งเดียวกัน

พระเจ้าพรหม และท้าวฮุ่ง (ลาวเรียก ขุนเจือง) นี้ เป็นชื่อผู้นำชนชาติคนสำคัญคือ พระเจ้าเป็นผู้นำของพวกไทยใหญ่ และท้าวฮุ่ง (ขุนเจือง) เป็นผู้นำของชนชาติลาวจกหรือลัวะ ต่างตั้งบ้านเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงมาก่อนทั้งสิ้น และโดยชนชาตินี้ต่างมี พาน (ฆ้อง) เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและมีบทบาทในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (เช่นเดียวกับมโหระทึกที่เกิดในยุคโลหะ เมื่อ ๓,๐๐๐ ปี

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของขุนบรมปรากฏในตำนานอีกว่า พญาแถนหลวงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ขุนบรม (บูฮม) ขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งมีเครื่องกษัตริยาสำหรับการเป็นกษัตริย์นั้นได้มีฆ้องวิเศษนี้อยู่ด้วย มีโคลงกล่าวถึงฆ้องใบนี้ว่า “เสียงหน่วยฆ้องปานฟ้าผ่าสุเมรุ” ต่อมาเมื่อขุนบรมแบ่งสมบัติให้ลูกชายเจ็ดคนนั้น ได้กล่าวว่า ขุนลอได้รับฆ้องเป็นเครื่องยศ

ดังนั้น ชนชาติตั้งบ้านเรือนอยู่ทางเหนือจึงเป็นชนชาติที่มีรากทางวัฒนธรรมเดียวกันคือ ถือเอาพาน (ฆ้อง) เป็นสัญลักษณ์ประจำชนเผ่าของตน ในตำนานจีนโบราณกล่าวถึง พานกู๊ ผู้สร้างโลก (พระพรหม) ซึ่งถูกนำมาเล่าเป็นตำนานชนชาติของตน

ต่อมาประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปี มนุษย์ (สมัยก่อนประวัติศาสตร์) ได้รวมกลุ่มสร้างชุมชนที่มีหัวหน้า มีคำเรียกคนที่เป็นหัวหน้ามนุษย์หรือชุมชนนั้น ว่า สามเจ้า-สานอว่าง หรือ ซำอ๋วง (คล้ายๆ เรียกไตรภูมิ) ชื่อหัวหน้าคือชื่อ เจ้าฟ้า เจ้าหล้า เจ้าคน (เหมือนกับจะบอกหน้าที่ของหัวหน้าว่าเป็นหัวหน้าท้องฟ้า หัวหน้าแผ่นดินและหัวหน้ามนุษย์)

ก่อนพุทธกาล ๒,๓๐๙ ปี (บางแห่งว่า ๒,๓๑๐ ปี) นั้น ได้มีกษัตริย์ฟูฮี ครองบ้านเมืองดูแลราษฎร สมัยนี้จีนเรียกสมัย วู้ติ๊หรือหงอเต้ คือ ห้ากษัตริย์ ที่ได้ครองเมืองมาถึงก่อนพุทธกาล ๑,๖๖๒ ปี จึงสิ้นราชวงศ์ ต่อมาเป็นสมัยของ สานไต๋ (กษัตริย์สามราชวงศ์) ได้แก่ ราชวงศ์เหีย ราชวงศ์บ่าง และราชวงศ์จิว ซึ่งมีกษัตริย์แต่ละราชวงศ์ครองเมืองต่อเนื่องมาตามลำดับ

พระเจ้าอู๋เต้ นั้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์เหีย ครองราชย์ก่อนพุทธกาล ๑,๖๖๒ ปี พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการสำรวจอาณาเขตเพื่อเขียนแผนที่ เรียกว่าอู๊ก้องกิวเจียว แปลว่า แผนที่ส่วยเก้าแคว้นของอู๊ ซึ่งปรากฏมีแคว้น (เมืองใหญ่) ต่างๆ อยู่ ๙ แห่ง คือ
๑.แคว้นกี เมืองหลวง
๒.แคว้นชิง
๓.แคว้นเอียน
๔.แคว้นฉู
๕.แคว้นอยี
๖.แคว้นอย่ง
๗.แคว้นเหลียง
๘.แคว้นกิง
๙.แคว้นอย่าง

บรรดาแคว้นเหล่านี้ไม่ได้กำหนดเขตแดนให้แน่นอนในแผนที่จึงกำหนดไว้แต่เส้นทางที่ใช้ติดต่อกัน





ในช่วงที่กษัตริย์ราชวงศ์จิวครองราชย์ เมื่อก่อนพุทธกาล ๕๗๙-๒๘๘ ปีนั้น ได้เกิดเหตุการณ์รบพุ่งแย่งชิงกันเป็นใหญ่ในแคว้นต่างๆ

อาณาเขตของจีนโบราณในสมัยนี้จึงมี ๑๑ แคว้น (เดิมมี ๙ แคว้น) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นเมื่อรวมกันเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใหญ่แล้ว สามารถแบ่งได้ ๓ ส่วน คือ จี๋น ฌ้อ และจิว เป็นเมืองหลวง รวมกับแคว้นอื่นอีก ๘ แคว้น ภายหลังแคว้นเหล่านั้นได้พากันตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงทำให้เกิดแคว้นที่สำคัญคือ แคว้นลู้ แคว้นไงว่ แคว้นฉี่ แคว้นจิ้น แคว้นฌ้อและแคว้นจี๋น

แคว้นที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล มีไพร่พล เสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแคว้นอื่นๆ คือแคว้นฌ้อ กับแคว้นจี๋น ต่อมานั้นแคว้นจี๋นได้เข้าปราบแคว้นฌ้อได้ จึงทำให้แคว้นจี๋นสามารถรวบรวมเอาแคว้นจิว เมืองหลวง และแคว้นอื่นๆ มารวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ง่าย เมื่อ พ.ศ.๒๘๘

ดังนั้น แคว้นจี๋น จึงมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยแคว้นอื่นๆ ๑๑ แคว้น ภายหลังแคว้นจี๋น นั้นได้แผ่อำนาจเข้าไปยังดินแดนต่างๆ จนมีอำนาจในมณฑลฮกเกี้ยน (หมัน) เหยาะและเปอะอูต มณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางไซ ขยายเขตออกไปจนถึงเขตญวน ตังเกีย มารวมไว้ในอาณาจักร เรียกรวมแผ่นดินนี้ว่า จี๋น คือ ประเทศจีน ปัจจุบันนี้

สำหรับแคว้นขึ่นม่าน ประกอบด้วยมณฑลกุยจิว และมณฑลยูนนานนั้น อยู่ด้านตะวันตกมีอาณาเขตตั้งแต่ทิศเหนือจนถึงทิศใต้นั้นจดทะเลใหญ่ (มหาสมุทร) มีเมืองหล่งซี เมืองจก เมืองป่า และดินแดนของพวกอูต อยู่บ้านเมืองเรียงรายกันตามชายแดน ส่วนดินแดนที่อยู่นอกอาณาเขตออกไปอีกนั้นเป็นดินแดนของชาติเกียงอยู่ติดต่อทางเหนือมีชาติม่านติดต่อทางทิศใต้และมีชาติดีติดต่อทางทิศตะวันตก

แคว้นขึ่นม่าน นี้ คำว่า ขึ่นม่าน แปลว่า งูใหญ่ จึงเป็นกลุ่มมนุษย์มีการนับถืองู (หรือพญานาค หรือมังกร) เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคนเป็นนัยให้เข้าใจว่ามนุษย์กลุ่มคือกลุ่มนาคพันธุ์ ที่มีความชำนาญการในการตั้งถิ่นฐานอยู่ตามน้ำและนับถืองูใหญ่

ในยุคสามก๊ก (พ.ศ.๗๖๓) นั้น เกียงอุย แม่ทัพของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (เป็นบุตรของเล่าปี่) อยู่ที่เมืองจก ได้นำทหาร ๘๐,๐๐๐ คนไปตั้งกองทำนาปลูกข้าวที่เมืองหล่งซี (ในสามก๊กเรียกหล่งเส) ต่อมาใน พ.ศ. ๑๑๗๒ กษัตริย์ราชวงศ์ถัง ได้ทำการยกฐานะเมืองหล่งซีขึ้นเป็นแคว้น (เมืองใหญ่) รียกว่าหล่งเหยา

สมัยที่พระภิกษุฟาเหียน (พระถังซัมจั๋ง) ไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดียนั้น ได้บันทึกเส้นทางเดินว่า ได้เดินทางออกจากเมืองเชียงอาน (เมืองซีอาน)  ผ่านหลงเหยา (LUNG หรือ LAN-CHOW) ก่อน แคว้นหลงเหยานี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหนองใหญ่ คือทะเลสาบ ซี-อว่าง-มู้ (ปัจจุบันเรียกชิงฮ้าย)

บริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่นั้น ชนชาติจี๋นได้ตั้งเมืองฮามเอียง (ฮูหยง) เป็นเมืองเอกของแคว้นจี๋น ต่อมาเมื่อชนชาติจี๋นมีอำนาจสามารถขยายอาณาเขตไปยังแคว้นต่างๆ และได้พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นกษัตริย์ครองแผ่นดินบริเวณดังกล่าว จึงยกเมืองฮามเอียง ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีน ภายหลังนั้นเมืองฮามเอียงนี้ ได้เปลี่ยนเป็นเมืองเชียงอาน (ปัจจุบันคือ เมืองซีอานหรือซีอัน –
XIAN)


ภาพวาด ต้นผลไม้โบราณ

ประวัติเมืองฮามเอียงนั้น เล่าว่า สมัยเมื่อครั้งแผ่นดินห้องสิน ยูเลียม และออกไลขุนนางสองพี่น้องในราชสำนักของพระเจ้าติวอ๋อง เห็นว่าพระเจ้าติวอ๋องจะพ่ายแพ้แก่พระเจ้าบูอ๋อง กษัตริย์ราชวงศ์จิว จึงได้ลักเอาตราหยกของพระเจ้าติวอ๋องไปถวายแก่พระเจ้าอ๋อง แต่เกียงจูแหย แม่ทัพของพระเจ้าบูอ๋องนั้นไม่ชอบสองขุนนางที่อกตัญญูต่อฮ่องเต้ของตน จึงให้ฆ่ายูเลียมและออกไลเสีย ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าเฮาอ๋องนั้น เองหยู ซึ่งเป็นหลานของยูเลียมได้เข้ารับราชการในกองทหารม้า เองหยูนั้นได้ฝึกม้าเป็นอย่างดีและบำรุงจนม้าสมบูรณ์อ้วนพี ทำให้มีความชอบเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเฮาอ๋อง พระองค์จึงพระราชทานเมืองฮูหยงให้เองหยูไปครองเป็นเจ้าเมือง โดยเปลี่ยนชื่อเมืองฮูหยง เป็น เมืองจี๋น ต่อมาเมื่อตั้งแคว้นจี๋นขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่ จึงตั้งเป็นเมืองเอก ของแคว้นจี๋น และได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชนชาติจี๋นต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองเชียงอาน ดังกล่าว

ในตำนานน่านเจ้าของชาวเสฉวนนั้น ว่า เมื่อครั้งที่กษัตริย์ราชวงศ์หนึ่งปกครองแผ่นดิน ชนชาติที่อยู่ในรัฐน่านเจ้า ซึ่งเรียกว่า ม่าน (จาก ขึ่นม่าน) นั้นต่างอยู่บริเวณที่ราบเขากิ่วลง ซึ่งอยู่ใต้เมืองยงเชียง เมืองนี้อยู่ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำอิระวดีทางตอนเหนือของเมียนมาร์

เรื่องชนชาติม่านนี้ ก็คือ “งอ้าย-ลาว” (ไทยเรียกชนชาติอ้ายลาว) นี้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐน่านเจ้า และอยู่กระจัดกระจายไปถึงตังเกี๋ย บริเวณถันหาว แง่อาน และกวางไตร ซึ่งต่อมาชนชาตินี้ได้พากันอพยพลงมาตามเส้นทางแม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำโขงลงมาทางดินแดนสุวรรณภูมิตั้งเป็นดินแดนของชนชาติมอญและชนชาติขอมในที่สุด

ส่วนชนชาติไต หรือได หรือไท (TI-DI) ไม่มี (ยังมีชนชาตินี้อยู่ในจีนตอนใต้) ที่มีแหล่งกำเนิดตามตำนานนั้น น่าจะเป็นกลุ่มเดียวกับเป็นชนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว) เมื่อก่อนพุทธกาล ๔,๕๐๐ ปี ถึง พ.ศ.๒๐๕ นั้น มีอาณาจักรไทยมุง ตำนานน่านเจ้าได้กล่าวถึง ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ถังนั้น เจ้าตระกูลเมือง (มุง) ได้เป็นใหญ่ปกครองรัฐน่านเจ้า

เจ้าตระกูลเมือง (มุง) นี้เป็นคำเรียกสำหรับบุคคลที่เป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองที่ครองเมืองโดยหมายเอาคำว่า “มุง หรือ เมือง” (MONG-MUANG) เป็นหลัก นัยความหมายถึงมุง หรือเมืองตามคำที่จีนเรียกชนชาติมงโกลว่า โม๊ง-กู๊ (กู๊ แปลว่า เก่า) นั่นคือชนชาติไทยมีความเกี่ยวพันกับชนชาติมงโกล หรือเป็นชนชาติที่แยกสาขามาจากกลุ่มมงโกล แต่คงไม่ได้หมายว่ามีถิ่นฐานอยู่ที่แถบเดียวกับพวกมงโกลเลียน หรือแถบภูเขาอัลไต ซึ่งไกลเหลือกำลังมนุษย์จะเดินทาง การขุดค้นทางโบราณคดีของเอ็ม ไอ อาทาโมนอฟ นักโบราณคดีชาวรุสเซีย ได้พบว่าเทือกเขาอัลไตนั้นเป็นภูเขาน้ำแข็ง ไม่มีร่องรอยของคนไทอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีแต่ความแห้งแล้ง ติดกับทะเลทรายโกบี

ดังนั้น บ้านเมืองของชนชาติที่มีเชื้อสายมงโกล (มงโกล-คนผิวเหลือง) น่าจะอยู่ในบริเวณรัฐน่านเจ้าที่รู้จักกันคือ กลุ่มชนชาติม่านหรือ งอ้าย-ลาว นั่นเอง โดยมีเมืองที่เจ้าตระกูลมุงหรือเมืองปกครองดูแลคนกลุ่มนี้อยู่ มีชื่อเมือง หลงซี หรือ หลงเส (หนองแส-ตาลีฟู) และชื่อ เจ้าม่งเส ดูจะสอดคล้องกับมีเจ้าตระกูลเมือง ครองบ้านเมืองของชนชาติไท กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า ไทมุง-ไทเมือง-ไทโม๊ง

ผู้ครองเมืองหรือผู้เป็นใหญ่เหนือตนนั้น พวกม่านเรียกว่า “เจ้า” ดังนั้นในตำนานน่านเจ้า ได้เล่าถึง เจ้าตน (เหมือนเรื่องพระเจ้าหกตน) ครองดินแดนแต่ละแคว้นว่า มี ๖ แคว้น เจ้าตระกูลเมือง (มุง) นั้นมีอำนาจมากกว่าเจ้าตระกูลอื่น จึงสามารถชิงเอาแคว้นอื่น ๕ แคว้น มารวมเป็นอาณาจักร เรียกว่า ไท-โม๊ง-โกวะ (แปลว่าประเทศเมืองไท)

ไทโม๊งโกวะ หรืออาณาจักรไทมุง มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ (พ.ศ.๑๑๖๑-๑๓๗๐) ซึ่ง
พอจะมองเห็นเรื่องราวของชนชาตินี้และถิ่นฐานที่อยู่ทางเหนือชัดเจนขึ้น

ชื่อง หล่งซี หรือหลงเส หรือหล่งเหยา ซึ่งเป็นชื่อของแคว้นเดียวกันนี้ ออกเสียงคล้ายหนองแส  นักประวัติศาสตร์เข้าใจว่าเมืองตาลีฟู ซึ่งอยู่ในรัฐน่านเจ้า (ปัจจุบันอยู่มณฑลยูนนาน) นี้คือ หนองแส เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวนั้นมีหนองน้ำเออร์ฮ้ายและทางทิศใต้ของหนองน้ำนี้ มีแคว้นที่มีคนในตระกูลเมือง (ตระกูลเจ้าเมือง) ครองอยู่คือ เจ้าม่งเส จึงกำหนดว่าม่งเส นี้ คือ หนองแส

สำหรับเมืองจกนั้นในสมัยสามก๊ก (พ.ศ.๗๖๓) เรียกว่า จก ต่อมาภายหลังได้เรียกว่า ชีฉวน หรือเสฉวน เป็นเมืองที่เล่าปี่ได้มาตั้งตนเป็นเจ้าครองเมืองจก ด้วยเหตุที่เล่าปี่นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น จึงพากันเรียกว่าจกฮั่น ชนชาติจกนี้มีบ้านเมืองอยู่ระหว่างเมืองหล่งซี เมืองปา เมืองเกียง เมืองม่าน

ในพงศาวดารเหนือ ได้เล่าถึงเรื่อง “ปู่เจ้าลาวจก ลงมาจากแถนโดยเกริ่นเงินสร้างเมืองลงใกล้แม่น้ำละว้านัทธี (แม่น้ำสาย) ชื่อเมืองหิรัญเงินยาง คือ เมืองเชียงแสนและเป็นผู้มีชื่อร่วมงานตั้งจุลศักราชในปีกัดไก๊ เอาปีกุนเป็นเอกศกยามรุ่งแจ้งวันจันทร์ขึ้น ๒ ค่ำเดือนห้า เป็นกำหนด ตรงกับพุทธศักราช ๑๑๘๒ เวลานั้นเมืองหริภุญไชยและเมืองสุโขทัยมีอยู่แล้ว แต่มิได้ออกแก่กันและกัน ปู่เจ้าลาวจกผู้นี้น่าจะเป็นเชื้อนรบดีของชาติจก

ปา เป็นชนชาติหนึ่งที่อยู่คู่กันกับจก จีนเรียก ปา-จก ควบกัน โดยหมายเอาว่า เป็นชื่อเดิมของเสฉวนในสมัยเจี๋ยนโกวะ คือ เมืองจกอยู่ภายนอกทางทิศตะวันตกถัดเข้ามาตอนกลางก็เป็น เมืองปา อยู่ระหว่างเมืองหล่งซี กับเมืองจี๋น เมืองฌ้อ เมืองจก และขึ่นม่าน ชนชาติปานั้นมีดินแดนกว้างขวางแต่ไม่ได้เป็นเมืองอิสระ จีนจึงเรียกดินแดนของชนชาติปาว่าเป็นแดนผี ในตำนานเลียดก๊กนั้น เมืองปาเคยสู้รบกับฌ้อ และตีฌ้อจนพ่ายแพ้ ครั้นเมื่อเล่าปี่เป็นใหญ่ตั้งตัวเป็นเจ้าครองเมืองจก จึงรวมเอาเมืองปาไปอยู่ด้วย (จีนจึงเรียกปา-จกควบกัน) เมืองปาเป็นอิสระในนามเมืองจกภายหลังเมืองปานี้ได้เป็นเขตของแคว้นจี๋นไป (ตามชื่อที่เขียนแผนที่)

เมืองปานั้นมีภูเขาสำคัญอยู่ลูกหนึ่งชื่อ ปาซาน อยู่ตอนกลาง (จีนเรียก ซัวปา) ดังนั้น ชนชาติปาจึงอาศัยอยู่บริเวณปาซานนี้ เป็นชาวชนบทห่างไกล (เรียกว่า ซัวปานั้ง) ในสามก๊กนั้นมีเมือง ปาตง ปาเส ซึ่งหมายถึงเมืองปาตะวันออก เมืองปาตะวันตกของชนชาติปา

อูต (เรียกเหมือน ออสโตรเอเชียติค ซึ่งเป็นกลุ่มมอญ-ขอม) เป็นชนชาติที่อยู่ทางทิศใต้ของเมืองปา ชนชาติอูตกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลกวางไช (เรียกอูตไช) มณฑลกวางตุ้ง (เรียกว่า อูตตุง) ในมณฑลกุยจิว และมณฑลยูนนานก็มีอยู่บ้าง คำว่าอูต และ เหยาะ นั้นน่าจะถูกใช้เรียกในความหมายเดียวกัน กล่าวคือ อูตในเลียดก๊กนั้น ออกเสียง อวด แต่ญวน (ยวน?) นั้นออกเสียง เวียด ส่วนจีนนั้นใช้คำว่าเหยาะ หมายถึง ยวน และไทยใช้คำว่า ยวนหมายถึง โยนก

ดังนั้น อูต ที่อยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางไซ และประเทศญวนนั้นได้ถูกจีนเรียกว่า อูต อวด และเหยาะ (คือเรียก หมัน-เหยาะ-มณฑลฮกเกี้ยน  เปอะ-อูต-มณฑทลกวางตุ้ง และมณฑลกวางไซ) มาตั้งแต่ครั้งกษัตริย์ราชวงศ์จิว ดังนั้น การที่จีนเรียกขึ่น-ม่าน-มณฑลกุยจิวและมณฑลยูนนานนั้น คำว่า ม่าน ก็ดูจะมีความหมายถึงกลุ่มไทยใหญ่ พม่า หรือเมียนม่าร์ด้วย

การศึกษาเดิมเรื่องชนชาติไทยหรือไท เมื่อ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น ชนชาตินี้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง หว่าง-ห่อ

ต่อมา ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชนชาติจี๋น (จีน) ได้พากันมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่ โดยจีนนั้นมาจากบริเวณทะเลสาบคัสเปียน โดยเดินทางผ่านทะเลทรายโกบีข้ามแม่น้ำเหลือง ซึ่งไหลโอบแม่น้ำไอว่อยู่รอบนอก ชนชาติจี๋นจึงเดินทางบุกผ่านบ้านเมืองของชนชาติไทยที่ตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เข้ามาจนถึงแม่น้ำไอว่ เป็นแม่น้ำสาขาที่แยกออกไปจากแม่น้ำเหลือง หว่าง-ห่อ

ดินแดนของชนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จีนตอนใต้นั้น จึงมีชื่อเรียกอาณาจักรหลายชื่อดังกล่าว ชื่อที่รู้จักกันอย่างดี คือ น่านเจ้า จนเชื่อกันว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติไทพวกพม่า ในน่านเจ้าจึงเป็นบรรพบุรุษของชนชาติไท (ทางเหนือ) ส่วนจะเป็นชนชาติพวกเดียวกับชนชาติสยามที่มีชื่ออยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ (บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) หรือไม่นั้นเป็นข้อศึกษาต่อไป



การตั้งชุมชนเมืองของชนชาติไทย
การกำเนิดของชนชาติต่างๆ ที่อยู่บริเวณแหลมอินโดจีนนั้น ในตำนานมีเรื่องราวกล่าวว่า ชนชาติมอญ-ชนชาติขอม เป็นต้นแบบของตระกูลมนุษย์ที่อาศัยในแถบอินโดจีนก่อนที่จะเข้าผสมผสานกับคนพื้นเมืองจนเป็นชนกลุ่มอื่นต่อไป

เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑ คือ ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล กลุ่มคนที่มีชาติพันธุ์มอญ-ขอมหรือกลุ่มออสโตรเอเชียติค (อยู่แถบจีนตอนใต้?) ได้พากันเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มชาติพันธุ์มอญได้อพยพลงมาตามลำน้ำสาละวินลงมาทางดินแดนของเมียนมาร์แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นตามลุ่มแม่น้ำนี้ ในที่สุดก็จัดตั้งอาณาจักรมอญของตนขึ้นที่เมืองสุธรรมวดีคือเมืองสะเทิมอยู่ทางตอนใต้ของเมืองมาร์

ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ขอมนั้นได้อพยพมาตามลำน้ำโขง ลงมาทางตอนใต้ สร้างบ้านแปงเมืองจนในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในดินแดนปากแม่น้ำโขง คือบริเวณของประเทศเขมรในปัจจุบัน

สรุปแล้วทั้งชาติมอญและชนชาติขอมนั้น เดิมต่างมีถิ่นฐานอยู่ทางจีนตอนใต้แหล่งเดียวกัน ต่อมาต่างก็พากันแยกย้ายอพยพลงมาตามลุ่มแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขงลงมาสร้างอาณาจักรของตนขึ้น

ตำนานสิงหนวัติ (ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑) ตำนานเก่าที่มีเรื่องราวสืบต่อมาถึงชนชาติไทย มีความกล่าวไว้ว่า  เมื่อก่อนพุทธกาลประมาณ ๑๔๘ ปี เจ้าชายสิงหนวัติ พระโอรสองค์ที่ ๒ ของกษัตริย์กรุงราชคฤห์ในอินเดีย ต่อมาพระเจ้าภาติยะ พระโอรสองค์โตได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงราชคฤห์ (พระภาติยะ องค์นี้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในยุคเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

เจ้าชายสิงหนวัติโอรสองค์ที่สองนั้น ได้รับสมบัติแบ่งเมืองครองโดยมาตั้งบ้านเมืองบนที่ราบเชียงแสน ชื่อเมืองโยนกนคร มีรัชทายาทสืบราชวงศ์กษัตริย์ครองเมืองโยนกสืบมา ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชนชาติพื้นเมือง พระองค์ได้ปราบปรามพวกขอม (ขอมดำ) ชนพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณที่ราบเชียงแสนนี้มาก่อน ทำให้มีอำนาจและเป็นใหญ่อยู่ในดินแดนล้านนา มีเชื้อพระวงศ์ครองเมืองต่อมาจนถึงกษัตริย์ผู้เป็นบิดาของพระเจ้าพรหม (ประสูติประมาณ พ.ศ.๙๐๔) พวกขอมได้เข้ามายึดเอาเมืองโยกนกนคร ได้ตกเป็นเมืองขึ้นอยู่หลายปี เมื่อพระเจ้าพรหมเติบโตเป็นใหญ่จึงได้ทำการปราบปรามพวกขอม (ขอมดำ) จนพ่ายแพ้ไป พระเชษฐาของพระเจ้าพรหมได้ครองเมืองโยนกนครและมีเชื้อสายครองเมืองนี้ต่อมา ๒ องค์ จนถึงพระเจ้ามหาไชยชนะ  ส่วนพระเจ้าพรหมนั้นได้แยกออกมาตั้งเมืองใหม่บนฝั่งแม่น้ำกก ชื่อเมืองไชยปราการ (อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย)  เมื่อพระเจ้าพรหมสิ้นพระชนม์ พระเจ้าไชยศิริ พระโอรสได้ครองเมืองสืบต่อมาและถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมยกทัพมาโจมตี ทำให้พระเจ้าไชยศิริต้องอพยพพาผู้คนทิ้งเมืองหนีลงทางใต้ไปสร้างเมืองใหม่ (อยู่ในบริเวณเมืองกำแพงเพชร)

ประมาณก่อนพุทธศักราช ๑๑๘๑ เมืองโยนกนครในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ  มีคนหาปลาได้จับปลาไหลเผือกตัวใหญ่ได้ จึงนำมาทำอาหารแบ่งกันกินทั้งเมือง ครั้นถึงเวลากลางคืน เมืองได้ถล่มจมหายลงกลายเป็นหนองน้ำ (เรียกว่าหนองหล่ม)  แต่มีหญิงชราคนหนึ่งไม่ได้กินปลาไหลเผือกกับชาวเมืองด้วย จึงรอดชีวิตเหลืออยู่คนเดียวมาเล่าถึงเวียงล่มที่จมหายเป็นหนองหล่ม

ในขณะนั้น ลวจักราช  ผู้เป็นเทพยดาได้จุติจากสวรรค์มาถือกำเนิดเป็นมนุษย์ มีอำนาจแถบบริเวณที่ราบเชียงแสนในราวพุทธศักราช ๑๑๘๑ และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่จนกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา

พื้นที่สุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีนแห่งนี้ มีกลุ่มมนุษย์อาศัยอยู่หลายเชื้อชาติและมีสาขาของชาวไทแยกออกไปมากมาย จนมีมนุษย์อยู่หลายเผ่าพันธุ์ พอจะรวมเลือดเนื้อเชื้อชาติไทยไว้เป็นข้อมูลสำคัญให้ได้ศึกษา ดังนี้

บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือบริเวณที่เป็นดินดอนรูปสามเหลี่ยม อันเกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายอื่นๆ ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง มีอาณาบริเวณตั้งต้นจากจังหวัดนครสวรรค์ จดอ่าวไทย ทางด้านตะวันตก จดจังหวัดเพชรบุรี และเชื่อกันว่า สมัยก่อนพุทธกาลประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พื้นที่นี้สามารถเดินเรือจากอ่าวไทยเข้าไปถึงเมืองสรรค์บุรี

อาณาเขตดังกล่าวมีความสำคัญที่สุดของประเทศ จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีวัฒนธรรม มีเครื่องมือเครื่องใช้ ปรากฏในหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี ลพบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี อุทัยธานี และนครสวรรค์  ในสมัยประวัติศาสตร์ได้พบร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่และขนาดเล็กหลายยุคสมัย ตั้งแต่สมัยอยุธยาทับซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจัดเป็นบริเวณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย

บริเวณนี้คือดินแดน “สุวรรณภูมิ” ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า ไครเส้ (CHRYSE) หรือที่เอกสารจีนเรียก กิมหลิน หรือ จินหลิน (CHIN-LIN)  โดยมีหลักฐานทางวัฒนธรรมที่น่าเชื่อว่าดินแดนนี้เป็นถิ่นเดิมของมนุษย์เผ่าพันธุ์ไทยอย่างแท้จริง ตามทฤษฎีใหม่ที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมทางวัตถุของ ศจ.ประกิต บัวบุศย์ ซึ่งได้สำรวจและค้นคว้าเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๑๘ มีเหตุผลที่พอจะเชื่อถือได้ว่า มนุษย์เผ่าพันธุ์ไทย เริ่มในตอนเหนือของลุ่มน้ำเออร์ทิส (IRTYSH) แถบภูเขาอัลไต หรือลุ่มน้ำฮวงโห แถบมณฑลเชนสีและชานสี ประเทศจีน  โดยเป็นมนุษย์ในเผ่าพันธุ์ ออสตราลอยด์ (AUSTRALIODS) ที่จัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของชนชาติละว้า ที่อินเดียเรียกว่า “สยาม” ให้เป็น “เซียมมวยด์” (SIAMOID) เผ่าพันธุ์ใหม่ของมนุษย์ชนชาตินี้


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2559 15:09:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2559 16:24:42 »

.




ราชวงศ์กษัตริย์ของอาณาจักรสยาม
การตั้งอาณาจักรของชาวไทยหรือชนชาติสยามนั้น มีความปรากฏในโยนก ว่า พระเจ้าพรหมได้รับเอาแผ่นดินในดินแดน (ปัจจุบันคือภาคเหนือ) เมื่อราว พ.ศ.๑๔๐๐ และส่วนเมืองฝางขึ้นเป็นเมืองของชนชาติไทยตั้งแต่นั้นมา จนถึง พ.ศ.๑๖๐๐ ชาวสยามหรือคนไทยได้ตั้งต้นอพยพมาอยู่ตามเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ซึ่งขอมยังคงมีอำนาจอยู่ จนมีชาวไทยพากันมาอยู่ในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยามากขึ้น เมื่อพระเจ้าอนุรุธสามารถตีได้ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจากขอมและทำให้หมดอำนาจลง พม่า เมืองพุกาม จึงมีอำนาจปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาต่อมา

เมื่อชาวไทยอพยพลงมามีจำนวนมากขึ้น สมทบกับผู้ที่อพยพมาก่อนแล้ว ก็สามารถรวมกันปราบปรามทั้งพวกขอมและพม่าชาวพุกามจนสามารถครองแผ่นดินแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ในที่สุด ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ.๑๖๕๐ เศษ จนถึง พ.ศ.๑๘๕๐ จึงมีความกล่าวว่าชาวไทยที่อยู่เมืองเดิมในฮูนหนำ ได้เสียบ้านเมืองแก่กุบไลข่าน ทำให้พวกมองโกลได้ครองดินแดนจีน  และพม่าเสียพุกาม เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๗ ทำให้พวกไทยน้อยพากันอพยพลงมาจนสามารถเป็นอิสรภาพในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปตลอดถึงแหลมมลายู และยังได้ขยายอาณาเขตไปยังดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงด้วย

ต่อมาภายหลังได้มีการวิเคราะห์ว่า หลังจากจักรพรรดิกุบไลข่าน พิชิตอาณาจักรต้าหลีได้แล้วเมื่อ พ.ศ.๑๗๙๖ ก็ไม่ได้มีเหตุอื่นใดที่บีบบังคับกดดันให้ชนชาติไทยต้องอพยพลงมาทางใต้อย่างขนานใหญ่ในสมัยหยวน (สมัยหงวน) ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบว่าชนชาติไทยนั้นอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์

สรุปแล้ว ชนชาติไทยในดินแดนพายัพต่างพากันแยกย้ายลงมาทางตอนใต้ เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อู่ทอง นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ไชยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น  คนไทยที่เข้ามายังพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยา แม่น้ำโขง และเลยไปทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิระวดี ล้วนแต่นับถือพุทธศาสนาด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังคงนับถือพราหมณ์เป็นครูอาจารย์ จึงพากันนับถือศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์นั้นด้วย

ด้านลาวนั้น ก็ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองเชียงแสนมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๖๐๐ ในตำนานกล่าวถึงผู้เป็นต้นวงศ์ของลาว ว่า ลาวจก หรือลวจักกราช เป็นเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ลวจักกราช ราชวงศ์เชียงแสน มีเจ้าแผ่นดินจากราชวงศ์นี้ขึ้นครองเมือง ปกครองมณฑลพายัพสืบต่อมาหลายองค์ ต่อมาพวกไทยต่างก็พากันอพยพลงมาครอบครองบ้านเมืองในพายัพและตั้งอาณาจักรล้านนาไทยขึ้น

อาณาจักรล้านนาไทยนั้น เดิมมีเมืองขนาดเล็กที่มีอิสระต่อกัน ๓ เมือง ได้แก่ เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) เป็นลูกหลวงของขอมละโว้ มีฐานะเป็นราชธานีปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ อยู่ในอำนาจขอม มีพระนางจามเทวีเป็นปฐมราชวงศ์ครองเมืองหริภุญชัยร่วมกับเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง)   เมืองเงินยาง (เมืองเชียงแสน) มีเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เชียงแสนครองเมืองเช่นกัน ภายหลังเมืองพะเยาได้รวมเข้าอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทย

เจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งชื่อขุนเจืองเป็นผู้มีอานุภาพเข้มแข็งสามารถตีได้เมืองหลวงพระบางถึงเมืองญวน แล้วสิ้นพระชนม์ในสงคราม  ราชวงศ์ของขุนเจืองมีเชื้อสายสืบรวมถึงขุนเม็งรายผู้สร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ และขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ต่างเป็นอิสระร่วมสมัยเดียวกันกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย

ส่วนการที่เมืองแพร่ เมืองน่าน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาณาจักรล้านนาไทยนั้น เนื่องจากเมืองทั้งสองเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับกรุงสุโขทัย

เรื่องราวของราชวงศ์แผ่นดินพายัพนั้น ยังเล่าว่า เดิมมีราชวงศ์สิงหลวัติ กษัตริย์เชียงแสน ราชวงศ์เดียวที่ปกครองและมีเชื้อสายเป็นกษัตริย์ถึง ๓๘ พระองค์ สมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์เชียงแสนพระองค์นี้ได้ครองเมืองหลวง คือ เวียงชัยบุรี  ครองโดยพระเจ้าพังคราชและพระเจ้าทุกขิตต พระโอรสองค์ใหญ่ เวียงชัยปราการ ครองโดยพระเจ้าพรหมมหาราช มีพระโอรสชื่อ พระเจ้าชัยศิริ ครองโดยพระเจ้าเรือนแก้ว ผู้เป็นพระอนุชา และเวียงพังคำ (หรือเวียงสีทอง) มีพระญาติซึ่งเป็นสตรีมาครอง

ภายหลังเชื้อสายของกษัตริย์จากสี่เวียงหรือราชวงศ์นี้ ได้พากันยกไพร่พลมาครองเมืองต่างๆ มีอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองศรีสัชนาลัย เป็นเมืองของพระนางประทุมเทวี พระมเหสีของพระเจ้าเมืองสุโขทัย ภายหลังขุนบางกลางหาวกับขุนผาเมือง จากราชวงศ์ชัยบุรีได้ร่วมกันต่อสู้อำนาจขอมทำการตั้งอาณาจักรสุโขทัย ได้เมืองไตรตรึงษ์ (เมืองแพรกศรีราชา อยู่ใน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท) เมืองเพชรบุรี ครองโดยพระพนมทะเลศรีวรเชษฐา ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริชัย เมืองนครศรีธรรมราชครองโดยพระพนมวัง โอรสของพระพนมทะเลศรีบวรฯ ซึ่งแต่งงานกับพระนางสะเดียง ธิดาจากเวียงพังคำ และเมืองสองพันบุรี

โดยเฉพาะเมืองสองพันบุรีหรือเมืองสุพรรณภูมินั้น เมื่อกษัตริย์สวรรคตลงก็ขาดรัชทายาทสืบต่อ พระยาสร้อยหล้าแห่งเวียงชัยนารายณ์ทราบเรื่องจึงจัดขบวนไพร่พลเมืองศรีสัชนาลัยมาเมืองดังกล่าว บรรดาขุนนางเมืองสองพันบุรีเห็นท่าทีมีบุญจึงเชิญเป็นกษัตริย์ครองเมืองสองพันบุรี และเสด็จประทับที่เมืองอู่ทอง จึงเรียกนามว่าพระเจ้าอู่ทอง (สร้อยหล้า) ถือเป็นต้นราชวงศ์ชัยนารายณ์ และสถาปนาราชวงศ์กษัตริย์ขึ้นเป็นราชวงศ์สุวรรณภูมิ

แต่อีกความกล่าวว่า พ.ศ.๑๗๓๑ พระเจ้าผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้าพรหมได้ครองเมืองและแผ่อาณาจักรได้พายัพมาจนถึงเชลียง ต่อมารามัญได้ยกทัพมาตีเมืองฝาง พระเจ้าชัยศิริสู้ไม่ได้จึงอพยพหนีลงมาทางใต้ พบเมืองร้างชื่อเมืองแปบจึงขึ้นครองเมือง ต่อมาทิวงคต และมีเชื้อสายมาครองเมืองต่อมาอีก ๔ องค์ จนล่วงมาได้ประมาณ ๑๖๐ ปี จึงปรากฏมีพระเจ้าอู่ทองขึ้น

เรื่องของพระเจ้าชัยศิรินี้ ในหนังสือพงศาวดารสังเขปเล่าว่า ราชธิดาของเจ้าเมืองแปบ (เมืองไตรตรึงษ์) ประสูติกุมารองค์หนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นบิดา จึงมีการสืบสวนเสี่ยงทายกันว่ากุมารจะรับของผู้ใด ปรากฏว่ากุมารนั้นรับข้าวก้อนจากชายผู้หนึ่ง ซึ่งได้ความว่าบิดานั้นเป็นคนทุคตะ ชื่อนายแสนปม ไม่ได้เป็นราชตระกูล เจ้าเมืองแปบเกิดละอายพระทัย จึงขับพระธิดากับกุมารนั้นไปกับนายแสนปมผู้เป็นบิดา นายแสนปมไปสร้างเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๒ และขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน และได้นำทองคำมาทำอู่ให้กุมารนั้นนอน จึงให้นามว่าพระเจ้าอู่ทอง  พระเจ้าชัยศิริเชียงแสนครองราชย์สมบัติเมืองเทพนครอยู่ ๒๕ ปีก็เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ พระเจ้าอู่ทองจึงได้ครองราชย์สมบัติต่อมา

แต่มีความเรื่องพระเจ้าอู่ทองในพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า เมื่อพระยาแกรกสวรรคตแล้วได้มีเชื้อพระวงศ์ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบมา ๓ ชั่วอายุคน ก็เกิดมีแต่ราชธิดาที่จะสืบราชวงศ์ ทำให้โชฎึกเศรษฐี อภิเษกกับราชธิดานั้นครองเมือง ไม่ปรากฏชื่อเมือง อยู่ได้ ๖ ปี ก็เกิดห่าลงเมืองจนพระเจ้าอู่ทองต้องมาสร้างกรุงศรีอยุธยาที่หนองโสน

สรุปกันว่า พระเจ้าอู่ทองนี้เป็นพระราชบุตรเขยของพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ได้รับราชสมบัติสืบพระวงศ์ทางพระมเหสี ครองราชย์สมบัติยู่ ๖ ปี เกิดโรคห่าขึ้นในพระนคร จึงย้ายมาตั้งราชธานีที่เมืองอยุธยา (จากพระราชนิพนธ์ของ ร.๔ ที่ลงโนไจนีสเรโปสิตอรี พ.ศ.๒๓๙๔)

แม้ว่าตำนานการสร้างเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเล่าขานตำนานโบราณหลายแห่ง เช่น พระยากงพระยาพาน ตำนานเมืองนครปฐม พระพันวสา ตำนานสุพรรณบุรีและเมืองกาญจนบุรี ท้าวแสนปม เมืองไตรตรึงษ์ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง และพระร่วงส่วยน้ำเมืองสุโขทัย เป็นต้น ถือว่าเป็นข้อมูลจากนิทานมากกว่าใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

อาณาจักรสยาม (กรุงสุโขทัย) ตอนบนนั้นจีนเรียกว่า “เสียมก๊ก” หรือ “เสียม” อาณาจักรสยามตอนล่าง (กรุงศรีอยุธยา) จีนเรียกว่า “หลอฮกก๊ก” ดังนั้นเมื่อมีการครองอาณาจักรสยามตอนบนและตอนล่างเป็นหนึ่งเดียวกัน จีนจึงเรียกอาณาจักรนี้ว่า “เสียม”

ด้วยเหตุนี้การจัดตั้งสยามเป็นอาณาจักรเดียวกัน จึงได้มีพวกไทยใหญ่ได้มีอำนาจครองเมืองพุกามและเป็นใหญ่ในดินแดนพม่า ทางดินแดนตอนใต้มีมะกะโท รามัญผู้ครองเมืองสุโขทัยแล้วไปตั้งตนเป็นใหญ่ครองอาณาจักรรามัญหรือดินแดนมอญมารวมราชวงศ์ของพระเจ้าราชาธิราช  สำหรับอาณาจักรสยามที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น มีเรื่องของพระเจ้าอู่ทอง เป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์อยู่ที่นี่ โดยเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ด้วยมีเมืองอู่ทองอยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน ผู้ครองเมืองนี้เรียกพระเจ้าอู่ทองทุกพระองค์

กษัตริย์ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองอู่ทองสืบต่อมาจนถึงพระเจ้าอู่ทอง พระองค์ที่ ๓ พระองค์มีพระโอรสชื่อ ขุนหลวงพะงั่ว (ต่อมาได้เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา) และพระธิดาไม่ปรากฏพระนาม ต่อมา พ.ศ.๑๘๗๖ พระธิดาผู้นี้ได้อภิเษกกับเจ้าราม รัชทายาทจากเมืองเทพนครชัยศิริ เมื่อพระเจ้าอู่ทอง (ผู้เป็นพ่อตา) สวรรคตประมาณ พ.ศ.๑๘๗๘ เจ้ารามผู้นี้ได้ครองเมืองนามว่า พระเจ้ารามราชา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าพระเจ้าอู่ทอง (เจ้าราม) ครองเมืองอยู่ เอกาทศรถ (พระบิดาของเจ้าราม) นั้น หลังจากครองเมืองเทพนครศิริชัยได้ ๒๕ ปี สวรรคตในปี พ.ศ.๑๘๘๖ พระเจ้าอู่ทอง (เจ้าราม) จึงได้ครองราชย์ที่เมืองเทพนครชัยศิริ ขุนหลวงพะงั่วซึ่งเป็นพี่พระมเหสีเดิมครองเมืองสองพันบุรีอยู่นั้นขึ้นไปครองเมืองอู่ทอง

ต่อมา พ.ศ.๑๘๙๐ เส้นทางน้ำในเมืองอู่ทองเปลี่ยนเส้นทางเดินทำให้เกิดโรคระบาดในเมือง จึงย้ายมาครองเมืองสองพันบุรีตามเดิม ส่วนพระเจ้าอู่ทอง (เจ้าราม) เห็นว่าเสนาราชนคร (น่าจะเป็นอโยธยา) ซึ่งเป็นเมืองท่าของเมืองละโว้ เหมาะที่จะเป็นราชธานี จึงได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ที่ตำบลหนองโสน เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ โดยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์แรก ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ครองราชย์สืบเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์สืบต่อมา

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง ประสูติก่อนพระองค์จะขึ้นครองราชย์ (หากกรณีพระเจ้าอู่ทองเป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริเชียงแสน ราชวงศ์เชียงแสน พระมเหสีผู้นี้น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ทางเหนือด้วย) เมืองกรุงศรีอยุธยา มีอำนาจหัวเมืองทางเหนือ จึงได้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระโอรสองค์นี้ก็ได้อภิเษกกับสตรีเชื้อสายของราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือ และมีโอรสด้วยกัน คือ พระชัยราชา    

พระชัยราชานี้ จึงเป็นกษัตริย์ที่มีเชื้อสายทางเหนือด้วย และมีฐานะเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (เจ้าอาทิตย์วงศ์)  ต่อมาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าราชาธิราช

คำว่า ราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือเดิมนั้น ปรากฏว่าคือ ราชวงศ์เชียงแสน (เมืองเงินยาง-และเจ้าชัยศิริ) น่าจะเป็นวงศ์เดียวกับราชวงศ์เชียงราย (จากพระยาเม็งราย) และเมื่อราชวงศ์นี้ได้ครองสุโขทัย จึงเป็นราชวงศ์สุโขทัย (เชื้อสายของพระร่วง)

พระเจ้าชัยศิริเชียงแสน ที่ปรากฏในตำนานว่าเป็นบิดาของพระเจ้าอู่ทองนั้น หากเชื่อว่าเป็นพระเจ้าครองเมืองชัยศิริหรือศิริชัยอย่างพระนามพระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าอู่ทองแล้ว หมายความได้ว่า พระเจ้าชัยศิรินี้น่าจะตั้งอยู่ที่เมืองชัยศิริ หรือศิริชัย คือเมืองนครปฐม หรือเมืองนครปฐมนั้นร้างมาเกือบ ๑๐๐ ปี ตั้งแต่พระเจ้าอนุรุธตีเอาเมืองและกวาดต้อนขึ้นไป (จากพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตเลขา)  ดังนั้น พระเจ้าอู่ทองได้ครองเมืองและเมืองนครปฐม ก็ดูจะเหมาะสมเด้วยอยู่ใกล้กันมากกว่าเมืองเทพนคร (อยู่ใต้เมืองกำแพงเพชรลงมา)

ดังนั้น เมื่อ พ.ศ.๑๗๓๑ ราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองที่อพยพลงมาครองเมืองอู่ทอง (หรือเมืองนครปฐม) สืบพระวงศ์ต่อกันมาถึง ๑๖๐ ปี คือ พ.ศ.๑๘๙๓ จึงเกิดพระเจ้าอู่ทอง ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้น ในระหว่างนี้ (ช่วง ๑๖๐ ปี) อาณาจักรสุโขทัยก็มีพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์พระร่วงครองราชย์แล้ว ๔ พระองค์ โดยได้สร้างเมืองนครชุม (เมืองกำแพงเพชร) ขึ้นเป็นราชธานีฝ่ายตะวันตกริมแม่น้ำพิง (หรือไตรตรึงษ์ เมืองที่สร้างใต้กำแพงเพชร)

สรุปแล้ว ดินแดนสยามประเทศนั้น มีการรวมตัวเป็นใหญ่ตั้งตนเป็นอิสระอยู่ ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรสยามที่มีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และอาณาจักรล้านนาไทยหรือหริภุญชัย มีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี จนถึง พ.ศ.๑๘๙๓ จึงเกิดอาณาจักรสยามที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา  ดังนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน นั่นคือสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสนนั่นเอง แต่ได้ครองเมืองอู่ทองจึงเป็นราชวงศ์อู่ทอง หรือราชวงศ์สุพรรณภูมิในฐานะราชบุตรเขยได้อีกทางหนึ่ง

บุคคลในราชวงศ์ที่สืบต่อจากพระเจ้าอู่ทองนี้ได้เป็นกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีกหลายพระองค์ และได้มีการแย่งชิงอำนาจและสับเปลี่ยนราชวงศ์กษัตริย์กันต่อมาจนถึง พ.ศ.๒๓๑๐ จึงมีเหตุการณ์สงครามและเสียกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีการกู้ชาติตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรีศรีสมุทรและกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ




ภาพจาก : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย

๑.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว)
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่วง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วงนักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๗๖๒ (คนอำเภอนครไทย เรียก พ่อขุนบางกลางท่าว)

เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอมและการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราว พ.ศ.๑๗๙๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาจักรสยามที่เมืองสุโขทัย ทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ.๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบางเมืองต่อไป

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” (เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดารวม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์  โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนาม ด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สองคือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่า พระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏพระนาม

การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้น แม้สามารถขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตาม ขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสีคือนางสิขรมหาเทวี ซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอมเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๗  ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาว รับเอาพระนาม “ศรีบดินทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมืองมาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นาน ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย

ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่า พระรามราช) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วย

การสู้รบ ได้มีการทำยุทธหัตถีกันระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชน และ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดา จนมีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือ รามคำแหง

ระยะแรก เมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี เนื่องจากเมืองสุโขทัยเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองเหล่านั้นไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่างๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม

ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคงและสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วยคือพระยาคำและพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้บวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว พ.ศ.๑๘๒๒ ขุนบางเมืองหรือพญาปาลราช โอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา



กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (ภาพฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ ๖)


นางเสือง

๒.พ่อขุนบานเมือง (ขุนปาลราช)
พ่อขุนบานเมืองหรือขุนปาลราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) บางแห่งระบุชื่อว่า ขุนบางกลางเมือง ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าขุนบานเมือง ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สวรรคตประมาณ พ.ศ.๑๘๒๒ แล้วครองเพียง ๑ ปีจึงสวรรคต หากสันนิษฐานว่าขุนบางเมืองครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๗๘๑ ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์คือ พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๑ (๑๙ ปี) ก็หมายความว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นสวรรคตประมาณ พ.ศ.๑๗๘๑ ด้วย ทำให้ช่วงเวลาของรัชกาลนี้มีระยะเวลานานถึง ๔๑ ปี เป็นเวลานานพอที่จะมีการสร้างวัดหรือโบราณสถานหรือมีเหตุการณ์สำคัญบ้าง แต่รัชกาลนี้ไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนัก จึงเชื่อว่าขุนผู้นี้น่าจะครองเมืองสุโขทัยในระยะเวลาสั้น

ด้วยเหตุนี้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงน่าจะครองเมืองสุโขทัยเป็นเวลานานประมาณ ๑๙-๒๒ ปี คือ พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองสุโขทัยวางรากฐานอาณาจักรและขยายอาณาเขตให้กว้างไกลเป็นระยะเวลาที่ยังมีการปราบปรามหัวเมืองต่างๆ บางแห่งอยู่บ้าง

ดังนั้น หลังจาก พ.ศ.๑๗๘๑ จนถึงปีครองราชย์ของพ่อขุนบานเมือง คือ พ.ศ.๑๘๒๒ รวม ๔๑ ปี อาณาจักรของเมืองสุโขทัยไม่ปรากฏว่า เป็นช่วงเวลาว่างกษัตริย์ หรือเป็นช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๐๐-๑๘๒๒ (๒๒ ปี) มากกว่า เพราะดูจะสมกับระยะเวลาครองราชย์ และขุนบานเมืองนั้นครองราชย์ได้ ๑ ปี ใน พ.ศ.๑๘๒๒


๓.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระอนุชาของขุนบานเมือง ได้ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา ประมาณก่อน พ..๑๘๒๐ บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๔๒

พ่อขุนผู้นี้ทรงทำนุบำรุงอาณาประชาราษฎร และปกครองไพร่ฟ้าประชาชนแบบพ่อปกครองลูกและโปรดให้แขวนกระดิ่งอันหนึ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนเดือดร้อนก็สามารถสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหงให้ออกมาตัดสินปัญหาได้

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงให้สร้างพระแท่นมนังคสิลาบาตรด้วยขดารหินชนวนที่นำมาจากภูเขาใกล้เมืองสุโขทัยโดยตั้งไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์นั่งเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ไพร่พร้าประชาชนในวันพระ ปัจจุบันพระแทนมนังคศิลาบาตรนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ

พ.ศ.๑๘๒๕ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปยังดินแดนใกล้เคียง โดยมีความสัมพันธ์กับเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองกาว เมืองลาว ชุมชนคนไทบริเวณแม่น้ำอูและแม่น้ำโขง

ในประวัติศาสตร์กัมพูชาบันทึกว่า กองทัพสยามนั้นเข้ารุกรานกัมพูชา และจดหมายเหตุญวนก็บันทึกว่า กองทัพสยามไปรุกรานจามปา สรุปแล้วในรัชกาลนี้อาณาจักรของชาวสยามมีอาณาเขตกว้างขวางไปยังดินแดนกัมพูชาและอาณาจักรจามปาด้วย

แต่พ่อขุนรามคำแหงนั้น ไม่ขยายอาณาเขตไปทางดินแดนเหนือ เนื่องจากขุนผู้นี้ทรงมีพระสหายสนิทเป็นผู้นำของชาวสยามเช่นกัน กล่าวคือ พ่อขุนเม็งราย (พระยาเม็งราย) ผู้ครองเมืองเชียงราย และพ่อขุนงำเมือง (พระยางำเมือง) ผู้ครองเมืองพะเยา (เมืองภูกามยาว) ขุนผู้นี้เป็นโอรสของขุนมิ่งเมือง ประสูติ พ.ศ.๑๗๘๑ สืบเชื้อสายจากเจ้าขอมผาเรียง เมื่ออายุได้ ๑๔ พรรษา ได้ศึกษาอยู่กับสำนักสุกทันตฤษีที่เมืองละโว้ รวมอาจารย์กับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กลับครองเมืองจนถึง พ.ศ.๑๘๐๑ ซึ่งทั้งสามพ่อขุนนี้ได้มีสัมพันธไมตรีต่อกันเป็นอย่างดี อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้นยังมีความสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ด้วยคืออาณาจักรสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ส่วนด้านตะวันตกนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองฉอดและเมืองหงสาวดี

พ.ศ.๑๘๒๕ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้มีสัมพันธไมตรีกับชาติจีน ในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่า กุบไลข่านหรือพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ได้ส่งคณะทูตเดินทางมาแคว้นสุโขทัย แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึง เพราะในระหว่างการเดินทางนั้นคณะทูตจีนได้ถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิตเสียก่อน

การประดิษฐ์ลายสือไท
ในพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ อักษณพราห์มี สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นตัวอักษรที่ถูกนำมาใช้เผยแพร่และเป็นต้นกำเนิดของอักษรสันสกฤต (อักษรคฤนถ์) ในสมัยราชวังศ์ปัลลวะที่ใช้กันเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓ จนมีการนำอักษรสันสกฤตสมัยราชวงศ์ปัลลวะ มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาอักษรสันสกฤตนี้ได้เป็นต้นกำเนิดของอักษรขอม อักษรขอมไทย ที่คนไทยใช้คัดลอกคัมภีร์พุทธศาสนาและตำราวิทยาการที่มาจากอินเดียโบราณ



กระดิ่งหน้าวัง (จำลอง)
เมื่อประชาชนเดือดร้อนก็สามารถสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุน
ภาพจาก : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ต่อมา พ.ศ.๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ลายสือไทหรืออักษรไทยขึ้นจากอักษรโบราณดังกล่าว แล้วโปรดให้ทำการจารึกไว้ในแท่งศิลาหินชนวนสี่เหลี่ยมสูง ๑๑๑ เซนติเมตร ในปี พ.ศ.๑๘๓๕ มีข้อความปรากฏในตอนหนึ่งว่า “ใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึงมีพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้” แปลเป็นความได้ว่า “แต่ก่อนนี้อักษรภาษาไทยยังไม่มี เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้มีความสนใจประดิษฐ์อักษรภาษาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น แล้วพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงให้จัดทำอักษรไทยใส่ไว้ในศิลาจารึกนี้” (ปัจจุบันศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ นี้ เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ)

นอกจากนี้ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังมีข้อความที่กล่าวถึง คนไทกลุ่มอื่นที่มีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย คือ “ชาวอู ชาวของ” ซึ่งหมายถึงชนชาติที่อยู่ลุ่มแม่น้ำอู แม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังกล่าวถึง บ่อน้ำในตระพังโพยกลางกรุงสุโขทัย ว่า “สีใสกินดีเหมือนน้ำโขงเมื่อแล้ง” แสดงว่าชาวสุโขทัยสมัยนั้นได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำอูและแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด

ในสมัยขุนผู้นี้มีมอญชื่อว่า “มะกะโท” ได้เดินทางเข้ามาทำราชการอยู่ในเมืองสุโขทัย โดยเป็นตะพุ่นหญ้าให้ช้าง ต่อมาได้พาพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชออกไปตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองรามัญ ด้วยการสนับสนุนของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยพระราชทานนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่ว และมีความว่า ใน พ.ศ.๑๘๒๔ มะกะโทสามารถเอาชนะอลิมาง ตีได้เมืองเมาะตะมะซึ่งอยู่ในอำนาจของเมืองสุโขทัย ทำให้เชื่อว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยมาก่อน พ.ศ.๑๘๒๔ แล้ว คือ ประมาณ พ.ศ.๑๘๒๒ ในศิลาจารึกยังกล่าวอีกว่า เมืองหงสาวดีเป็นเมืองขึ้นสุโขทัยมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหง

สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้ทำการขยายอาณาจักรสุโขทัยอย่างกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
ทิศเหนือ ได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดจนเมืองชวา (เมืองหลวงพระบาง) ไว้ในพระราชอาณาจักร
ทิศตะวันออก ได้เมืองสระหลวง (โอฆบุรี-เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันตก) เมืองแคว (เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันออก) เมืองลม (เมืองหล่มเก่า) เมืองบาจาย (ในลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา (น่าจะเป็นเมืองบาจาย ในลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา (น่าจะเป็นเมืองหนองหาน-สกลนคร) รวมไปถึงฝั่งแม่น้ำโขงถึงเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงคำ (อยู่ในเมืองเวียงจันทน์ ยังไม่รู้ว่าที่ใด)
ทิศใต้ ได้เมืองคณที (เข้าใจว่าเมืองพิจิตร) เมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) เมืองแพรก (เมืองสรรคบุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราชจนถึงทะเลหน้านอกเป็นอาณาเขต
ทิศตะวันตก ได้เมืองฉอด และเมือง...(ศิลาจารึกลบ แต่คาดว่าเป็นเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองตองอู) เมืองหงสาวดี จนถึงเมืองสมุทรห้า คือ อ่าวเบงกอล เป็นอาณาเขต

เมืองขึ้นของเมืองสุโขทัย มีประเทศราชอยู่หลายเมือง ที่รู้แน่ชัดมีอยู่ ๗ เมือง คือ เมืองชวา (หลวงพระบาง) เมืองน่าน เมืองอู่ทอง เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี เมืองตองอู เมืองเหล่านี้ล้วนมีเจ้าครองเมืองและเกี่ยวดองกับราชวงศ์สุโขทัย นับว่าสมัยของขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสมัยที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงขยายอาณาเขตเข้าไปครอบครองเมืองต่างๆ โดยรอบและสร้างความสัมพันธ์กับเมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น และพระองค์ยังได้รวบรวมกำลังผู้คนและจัดตั้งเมืองบริวารให้อยู่ดูแลรอบอาณาเขต ดังจารึกว่า
ขุนรามคำแหงไปตีหนังวังช้าง และไปที่บ้านที่เมือง ได้ช้าง ได้ลวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง ก็ทรงนำมาถวายแด่พระบิดา ทำให้มีชนชาติไทย-ลาว เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองสุโขทัยเป็นอันมาก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2559 14:49:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2559 15:00:45 »

.

อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย
อาณาเขตของแคว้นสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่ามีเมืองสำคัญ คือ เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ดินแดนทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน (เมืองพลัว) ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงหลวงพระบาง (ชะวา) ดินแดนด้านทิศใต้ถึงคณที (บ้านโคน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ) สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช) จรดฝั่งทะเลดินแดนด้านทิศตะวันออก ถึงสรลวง (พิจิตร)

สินค้าที่อาณาจักรสุโขทัยส่งออกไปค้าขายในจีน ได้แก่ ของป่า ไม้สัก ไม้ฝาง และข้าว  ส่วนสินค้านำเข้าจากจีนได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม และภาชนะเคลือบดินเผา

ในบันทึกของสำนักพระราชวังของจีน สมัยจักรพรรดิกุบไลข่าน ได้กล่าวไว้ว่า “แผ่นดินจี่หงวน ปีที่ ๒๘ ซินเบ๊าจับหง้วย (ตรงกับ เดือน ๑๒ ปีเถาะ จุลศักราช ๖๒๕ พ.ศ.๑๘๓๔) หลอฮกก๊กอ๋องให้ราชทูตนำราชสาส์นอักษรเขียนด้วยทองกับเครื่องบรรณาการคือ ทองคำ งาช้าง นกกะเรียน นกแก้วห้าสี ขนนกกระเต็น นอแรด อำพันทอง มาถวาย” (จากจดหมายเหตุเรื่องพระราชไมตรีในระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีน พระเจนจีนอักษรแปล)

ในปี พ.ศ.๑๘๓๖ จักรพรรดิหงวนเสงจงฮ่องเต้ พระเจ้ากรุงจีน ส่งทูตจีนเชิญพระราชสาส์นมาขอให้อาณาจักรเสียนข่านมู่ตึง Hisien (เสียน หมายถึงสุโขทัยหรือสุพรรณบุรี) Kan Mu Ting (หมายถึงชื่อกษัตริย์) อย่าได้รุกราน หลอหู (คือ ละโว้) และดินแดนมลายู



๔.พระยาไสสงคราม (ปู่ไสสงคราม)
พระยาไสสงครามหรือปู่ไสสงคราม เป็นพระโอรสอีกองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหง มีข้อสันนิษฐานว่าปู่ไสสงคราม แม้จะได้ครองราชย์ก็ยังไม่ได้ราชาภิเษก ครั้งเมื่อพระยาเลอไท ซึ่งเป็นพระเชษฐากลับมาจากเสด็จเมืองจีนใน พ.ศ.๑๘๔๒ จึงได้ถวายราชสมบัติคืนให้พระยาเลอไท ผู้เป็นรัชทายาทที่มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ต่อมา

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสิ้นพระชนม์ลง ได้ทำให้บรรดาเมืองต่างๆ ที่มีพ่อขุนครองเมืองได้พากันแยกตัวเป็นอิสระ ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากการรวมเมืองต่างๆ เป็นอาณาจักรนั้น ได้รวมขึ้นด้วยความศรัทธาในความสามารถของพ่อขุนองค์เดียว ครั้นเมื่อพ่อขุนสิ้นพระชนม์ลง เมืองต่างๆ จึงตั้งตนเป็นอิสระ รวมถึงราชวงศ์กษัตริย์ที่จะครองเมืองสุโขทัยก็เกิดการขัดแย้งกัน จึงเป็นเหตุให้พระยาไสสงคราม ได้มีโอกาสเข้ามาครองเมืองสุโขทัย ส่วนจะครองราชย์ปีเดียวหรือเป็นเวลาเท่าใดนั้นไม่ปรากฏข้อมูล

แต่มีข้อมูลระบุว่า พระยาเลอไทเสด็จกลับมาจากประเทศจีน ใน พ.ศ.๑๘๔๒ ปู่ไสสงครามจึงได้คืนเมืองให้ครองราชย์ต่อมา พระยาไสสงครามสิ้นพระชนม์ภายหลังใน พ.ศ.๑๘๖๖ พระยาเลอไทโอรสพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ครองราชย์ต่อมา




๕.พระยาเลอไท (พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐ์สุริวงศ์)

พระยาเลอไทย หรือพระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐ์สุริวงศ์ (ในไตรภูมิพระร่วงว่าพญาเลลิไทย) เป็นโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระเชษฐาของพระยาไสสงคราม ในจารึกขอมเรียกว่า พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐ์สุริวงศ์ และในชินกาลมาลินีก็ว่า อุทกโชตถตราช (แปลว่าพระยาจมน้ำ) ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๘๔๒ (บางแห่ง พ.ศ.๑๘๖๖)

เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๑ สมัยพระยาเลอไทย กองทัพสุโขทัยอ่อนแอไม่เข้มแข็ง ทำให้พวกมอญต่างแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย และชาวสยามทางภาคกลาง เมืองละโว้และเมืองสุพรรณบุรี ภายใต้การนำของของพระเจ้าอู่ทองได้อพยพผู้คนมาตั้งอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่กรุงศรีอยุธยา

มีเรื่องเล่าว่า สมัยพระยาเลอไทย เมื่อ พ.ศ.๑๘๗๓ เมืองรามัญเป็นกบฏหลังจากที่พระเจ้าแสนเมืองมิ่งสิ้นพระชนม์ พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ ได้ยกกองทัพไปปราบปรามไม่สำเร็จ จึงเป็นเหตุให้เมืองรามัญแข็งเมืองตั้งแต่นั้นมา

แม้ว่าในพงศาวดารพม่าจะกล่าวถึงไทยตีได้เมืองทวาย เมืองตะนาวศรีมาเป็นเมืองขึ้น เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นเรื่องของกษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยามากกว่า ด้วยขณะนั้นอาณาจักรสยามด้านใต้ได้สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีแล้ว และต่อมาพม่าได้ตั้งเมืองหลวงที่เมืองตองอู ริมแม่น้ำสะโตง เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๐

พระยาเลอไทยหรือพระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐาฯ ครองราชย์สมบัติสืบมา ๓๖ ปี สวรรคตใน พ.ศ.๑๘๘๒ (บางแห่งว่า พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๘๔ รวม ๑๔ ปี)



๖.พระยางั่วนำถม

พระยางั่วนำถมหรือพญางั่วนำถุม เป็นอนุชาของพระยาเลอไทย ครองเมืองสุโขทัยช่วงระหว่าง พ.ศ.๑๘๘๒-๑๘๙๒ (๑๐ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๐ (๖ ปี) ไม่มีรายละเอียดว่าได้ครองเมืองสุโขทัยอย่างไร โดยเฉพาะกรณีพระยาลิไทย โอรสของพระยาเลอไทยซึ่งมีตำแหน่งพระมหาอุปราช ครองเมืองเชลียงอยู่นั้นไม่ได้ครองเมืองสุโขทัยต่อจากพระราชบิดา แต่กลับเป็นพระยางั่วนำถม จึงมีการสันนิษฐานว่า พระยาลิไทยน่าจะยังมีพระชนมายุน้อยอยู่ หรือเป็นรัชทายาทที่ยังเยาว์วัย หรือครองอยู่เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)

ดังนั้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแผ่นดิน หรือพระยาเลอไทยทรงประชวร อำนาจของเมืองสุโขทัยซึ่งเป็นที่รวมศรัทธาของเมืองต่างๆ ในอาณาจักรได้อ่อนแอลง ทำให้เมืองต่างๆ พยายามแยกตัวเป็นอิสระ ด้วยเหตุนี้การทำให้เมืองสุโขทัยสามารถรักษาฐานอำนาจให้เมืองอื่นมีความศรัทธานับถือได้ จึงทำให้พระยางั่วนำถม พระอนุชาของพระยาเลอไทยขึ้นครองเมืองสุโขทัยแทน

ต่อมาเมื่อพระยางั่วนำถมสิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน พระยาเลอไทยน่าจะยังประชวรอยู่ ใน พ.ศ.๑๘๙๗ ทำให้เมืองสุโขทัยเกิดปัญหาในการครองเมืองสุโขทัยต่อไป จนเกิดการแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่มเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง เพื่อแย่งราชสมบัติครองเมืองสุโขทัย จนพระยาลิไทยต้องเสด็จออกจากเมืองเชลียงเข้ามาทำการปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย

ดังนั้น การปกครองอาณาจักรที่มีรูปแบบ “พ่อขุน” หรือ “พระยา” จึงได้มีการปรับรูปแบบเพื่อสร้างอาณาจักรสุโขทัยให้มั่นคงขึ้น โดยมีการนำเอาพุทธศาสนาเข้ามาสร้างความเป็นปึกแผ่นจนอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุโขทัยจึงมีรูปแบบของการเป็น “พระธรรมราชา” ดังนั้น เมื่อพระยาลิไทยเสด็จออกมาจากเมืองเชลียงมาขึ้นครองเมืองสุโขทัย จึงมีพระนามเป็น พระมหาธรรมราชาองค์แรก



๗.พระมหาธรรมราชาลิไทย ๑ (พระยาลิไทย)

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระยาลิไทย เป็นพระโอรสของพระยาเลอไทย ในจารึกปรากฏพระนามว่า “พระธรรมราชา” แต่ในศิลาจารึกภาษาขอม (ศิลาจารึกหลักที่ ๔) มีนามว่าพระบาทกมรเดง (กมรเตง) อัญศรีสุริยพงษราม มหาธรรมราชาธิราช (หมายถึง พญาลิไทยมหาธรรมราชา) มีความว่า เมื่อปีกุน พ.ศ.๑๘๗๐ (จ.ศ.๗๐๙) พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ (พระยาเลอไทย) ได้แต่งตั้งให้พญาลิไทยอันได้รับพระนามบัญญัติว่า พระศรีธรรมราช เป็นมหาอุปราชไปครองเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) ต่อจากนั้นมา ๓ ปี คือ พ.ศ.๑๘๙๒ (จ.ศ.๗๑๒) ปีขาล พระเจ้าอู่ทองจึงได้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรสยามขึ้นทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

พระศรีธรรมราช หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) อยู่ ๗ ปี จนถึงปีมะเมียจุลศักราช ๘๑๖ (พ.ศ.๑๘๙๗) พระยาเลอไทยหรือพระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ พระบิดาทรงประชวรหนัก ในขณะนั้นเจ้าเมืองต่างๆ เช่นเมืองเชียงทอง เมืองปานพราน เมืองบางขลัง เมืองคณฑี เมืองพระบาง ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงต่างแก่งแย่งกันชิงอำนาจกันเพื่อจะครองเมืองสุโขทัย พระองค์จึงยกพยุหเสนามาจากเมืองศรีสัชนาลัยถึงเมืองสุโขทัย เมื่อวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ.๑๘๙๗

เหตุการณ์ตอนนี้มีความเล่าในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาขอม พ.ศ.๑๙๐๔) ว่า พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทัดเข้าประตูเมืองทิศพายัพปราบศัตรูหมู่ปัจจามิตร ประหารผู้คิดมิชอบเสร็จแล้วก็เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาที่สวรรคต พระองค์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทกมรเดงอัญศรีสุริยพงศ์ราม มหาธรรมมิกราชาธิราช ในหนังสืออื่นเรียก พระยาลิไทยบ้าง พระมหาธรรมราชาลิไทยบ้าง เป็นพระนามพระองค์เดียวกัน

ส่วนศักราชการครองราชย์นั้นน่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๐-๑๙๑๒ (๒๒ ปี) โดยนับรวมเวลาที่พระยาลิไทยครองราชย์ในเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๐-๑๘๙๗ (๗ ปี) ด้วย ดังนั้น การที่พระยางั่วนำถมได้ครองเมืองสุโขทัยก็น่าจะเป็นช่วงเวลาที่พระยาเลอไทยทรงประชวรอยู่ หรือพระยาลิไทยยังทรงพระเยาว์อยู่ โดยเป็นพระมหาอุปราชครองอยู่เมืองศรีสัชนาลัย การที่พระยาลิไทยยกกองทัพเข้าเมืองสุโขทัยจึงน่าจะเกิดในช่วงเวลาที่พระยางั่วนำถมสิ้นพระชนม์ลงมากกว่า

การครองราชย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย นั้น  พระองค์ทรงพยายามรวบรวมหัวเมืองสร้างอาณาจักรสุโขทัยให้มั่นคง เพื่อแสดงพระราชอำนาจโดยชอบธรรมตามการสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบิดา ด้วยขณะนั้นบริเวณรอบอาณาจักรของเมืองสุโขทัย ได้มีการตั้งอาณาจักรขนาดใหญ่ ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรหงสาวดี  ส่วนอาณาจักรอยุธยาที่ตั้งขึ้นทางตอนใต้ ไม่มีหลักฐานว่าอาณาจักรสุโขทัยได้มีสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอยุธยามาก่อน  ภายหลังสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาทางเมืองชัยนาทแล้วตีเมืองชายแดนของอาณาจักรสุโขทัยเสมอ และยึดได้เมืองนครพังคา เมืองแสงเชรา และเมืองชากังลาว

ในปลายปี พ.ศ.๑๙๐๖ พระมหาธรรมราชาลิไทย จึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เพื่อดูแลหัวเมืองทางด้านใต้ ได้แก่ เมืองนครสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น เหตุที่ให้พระมหาธรรมราชาลิไทย เสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลกตอลดมาจนสิ้นพระชนม์ (ประมาณ พ.ศ.๑๙๐๖-๑๙๑๒ รวม ๗ ปี) ครั้งนั้นได้มีการสร้างพระราชวังจันทน์ขึ้น ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงสนพระทัยในพุทธศาสนา พระองค์จึงเผยแพร่ไตรภูมิพระร่วงและทำนุบำรุงพุทธศาสนสถานหลายแห่ง ดังเช่น ในพ.ศ.๑๙๐๕  พระองค์ทรงโปรดให้จำลองรอยพระพุทธบาทจากลังกามาสร้างสำหรับประดิษฐานตามสถานต่างๆ หลายแห่งในเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์)

อาณาจักรสุโขทัย จึงมีความเจริญทางด้านพุทธศาสนา  จนทำให้ ใน พ.ศ.๑๙๑๓ พระยากือนา (พ.ศ.๑๘๘๙-๑๙๒๘) กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ได้มีพระราชสาส์นขอให้พระองค์ส่งพระสงฆ์ไปช่วยปรับปรุงพุทธศาสนา พระองค์ทรงมีพระราชานุญาตให้ พระสุมนเถระ พระสังฆราชเมืองสุโขทัย เดินทางไปปรับปรุงคณะสงฆ์ในอาณาจักรล้านนา ทำให้สองอาณาจักรมีสัมพันธไมตรีที่ดีสืบต่อกันมา อาณาจักรสุโขทัยสุโขทัยมีความเจริญสุขสำราญร่มเย็นถ้วนหน้า ไม่มีทาสในเมืองสุโขทัย และไม่มีข้าศึกศัตรูเข้ามารุกรานหรือเบียดเบียน ด้วยพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงครองแผ่นดินด้วยธรรมานุภาพเช่นเดียวกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระมหาธรรมราชาลิไทยสวรรคตปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานกันว่าพระองค์สวรรคตประมาณ พ.ศ.๑๙๑๒ (บ้างว่าประมาณ พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๑๗ ด้วยมีข้อความระบุว่า ในปี พ.ศ.๑๙๑๗ พระมหาธรรมราชาลิไทยได้สวรรคตไปแล้ว บางแห่งว่าพระองค์อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี คือประมาณ พ.ศ.๑๘๙๗-๑๙๑๙)  พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกจนสิ้นพระชนม์  และช่วงนั้นเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองที่มีบุคคลเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์สุโขทัยพากันมาประทับอยู่เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระราชวังที่ประทับ (พระราชวังจันทน์) และสร้างพระพุทธชินราช สำหรับประดิษฐานในวัดประจำพระราชวังแห่งนี้

จากข้อความในศิลาจารึก กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงมีพระโอรสหลายพระองค์และประสูติต่างพระมารดากัน กล่าวคือ พระยาลือไทย ประสูติแต่พระมหาเทวี พระธรรมราชา และพระอโศกประสูติแต่พระศรีจุฬาลักษณ์

พระยาลือไทย โอรสของพระองค์นั้นได้อภิเษกกับพระธิดาของพระยาคำตัน เจ้าครองเมืองน่าน ต่อมามีโอรสพระนามว่า พระยาไสลือไทย ส่วนพระอโศก พระโอรสอีกองค์หนึ่งได้ออกบวชบำเพ็ญธรรม



๘.พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พระยาลือไทย)

พระมหาธรรมราชาที่ ๒ หรือ พระยาลือไทย เป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาลิไทย ประมาณว่าครองราชย์เป็นกษัตริย์เมื่อ พ.ศ.๑๙๑๒ (บ้างว่า พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๑๗) จนถึง พ.ศ.๑๙๔๒ ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ด้วยเหตุที่มีความสมพันธ์กับราชวงศ์เมืองน่าน คือมีพระมเหสีเป็นพระธิดาเมืองน่าน และเป็นไมตรีกับอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่รัชกาลก่อน  จึงทำให้อาณาจักรอยุธยามีความหวั่นเกรงว่าหากเมืองสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาแล้ว ภายหน้าหากอาณาจักรล้านนาคิดทำการสงครามขยายอาณาเขตลงมาตอนใต้ ด้วยเหตุที่มีเส้นทางเดินทัพทั้งทางบกและทางน้ำสะดวกเช่นนี้ก็จะเป็นอันตรายต่ออาณาจักรอยุธยา และเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นราชธานีสำรอง ก็ไม่อยู่ในฐานะเข้มแข็งพอที่จะต่อต้านกองทัพใหญ่ได้ ดังนั้น อาณาจักรอยุธยาจึงจำต้องหาหนทางที่จะชิงเอาเมืองต่างๆ ของอาณาจักรสุโขทัยมาไว้ในอำนาจเสียก่อน แต่การจะยกกองทัพไปชิงเมืองสุโขทัยหรือเมืองพิษณุโลกโดยตรงก็จะทำให้อาณาจักรล้านนาส่งกองทัพลงมาช่วยเหลือ ด้วยสองอาณาจักรผูกสัมพันธไมตรีต่อกันอยู่   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑) จึงได้ยกกองทัพเข้าไปรุกรานหัวเมืองต่างๆ ของอาณาจักรสุโขทัย เหมือนลองท่าทีของอาณาจักรล้านนา และสู้รบกับกำลังของเมืองสุโขทัยด้วย ดังปรากฏเหตุการณ์ชิงเมือง ดังนี้

 พ.ศ.๑๙๑๔ กองทัพจากอาณาจักรของเมืองอยุธยาโดยการนำของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีชัยชนะหัวเมืองเหนือทั้งปวง ต่อมาในปีรุ่งขึ้น พ.ศ.๑๙๑๕ กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกกำลังเข้าตีเอาเมืองนครพังคาและเมืองแสงเชราได้ พ.ศ.๑๙๑๖ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกไปตีเมืองชากังราว พระยาไสแก้วกับพระยาคำแหงทำการสู้รบป้องกันเมืองอย่างสุดความสามารถ ทำให้กองทัพกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้ในที่สุด พระยาไสแก้วได้เสียชีวิตในการสู้รบ และครั้งหลังสุด พ.ศ.๑๙๑๙ กองทัพกรุงศรีอยุธยายกกองทัพไปตีเมืองชากังราวอีก ครั้งนี้พระยาผากอง เจ้าเมืองน่านได้ยกกำลังมาช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถต้านกำลังของอาณาจักรอยุธยาได้ พระยาผากองจึงถอยทัพกลับไปทำให้กองทัพอยุธยาไล่จับทหารเมืองน่านได้จำนวนมาก

กองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีหัวเมืองต่างๆ ของเมืองสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๑๙ ทำการสู้รบกัน ๖ ปี จนพ.ศ.๑๙๒๑ กรุงศรีอยุธยาจึงตีเอาเมืองชากังราว ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยได้ จากจารึกวัดช้างล้อม กล่าวไว้ว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ได้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ แต่เมื่อเห็นว่าไม่สามารถทำการสู้รบต่อไปได้แล้ว จึงออกมาถวายบังคมยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) จึงโปรดให้พระมหาธรรมราชาลิไทยครองอาณาจักรสุโขทัยต่อไปในฐานะประเทศราชขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา  ต่อมา พ.ศ.๑๙๓๑ อาณาจักรสุโขทัยแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ จึงยกกองทัพมาตีเอาเมืองชากังลาวอีก แต่กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตเสียก่อนระหว่างทาง

พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (น่าจะประทับที่เมืองพิษณุโลก) เสด็จสวรรคตเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ประมาณว่าพระองค์ครองราชย์ได้ ๙ ปี (พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๑) บางแห่งว่าพระองค์ครองราชย์ได้ ๒๒ ปี ทำให้ศักราชดูแตกต่างกันมาก



๙.พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (พระยาไสลือไทย)

พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไทย เป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พระยาลือไทย) บางแห่งว่าเป็นพระนัดดา ในพระราชพงศาวดารเรียกพระนามว่า พระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๑๙-๑๙๒๐ เพียงปีเดียว บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.๒๙๔๓ (บางแห่งว่า พ.ศ.๑๙๔๒) และสวรรคต พ.ศ.๑๙๖๒ รวมครองราชย์ประมาณ ๒๐ ปี    พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีฝีมือเข้มแข็ง ได้ขยายอาณาเขตเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง นัยว่าในรัชกาลของพระองค์มีการทำสงครามกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ในอำนาจ ทำให้เมืองฝ่ายเหนือต้องขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เมื่อสอบศักราชแล้วไม่น่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันได้ น่าจะเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์อื่น

ในตำนานพื้นเมืองของเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า พ.ศ.๑๙๓๓ กษัตริย์เมืองสุโขทัยขอเป็นไมตรีกับเมืองเชียงใหม่ โดยขอกองทัพจากเมืองเชียงใหม่ไปป้องกันเมือง อ้างว่าเกิดผิดใจกับกษัตริย์อยุธยา  แต่เมื่อกองทัพเมืองเชียงใหม่ยกไปช่วยเมืองสุโขทัยแล้ว เมืองสุโขทัยเกิดเปลี่ยนใจนำกำลังเข้าโจมตีกองทัพเมืองเชียงใหม่จนพ่ายแพ้ ใน พ.ศ.๑๙๔๕  เหตุการณ์นี้เหมือนว่าเมืองสุโขทัยลวงให้เมืองเชียงใหม่ยกทัพมาช่วยแล้วกลับช่วยกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าทำการสู้รบจนเมืองเชียงใหม่พ่ายแพ้ในที่สุด ต่อมา พ.ศ.๑๙๕๔ ท้าวยี่กุมกาม เจ้าเมืองเชียงราย เกิดผิดหวังที่ไม่ได้ครองอาณาจักรล้านนาจึงหนีมาพึ่งเมืองสุโขทัย   พระยาไสลือไทยจึงได้ยกกองทัพไปตีเมืองต่างๆ ของอาณาจักรล้านนา จากนั้นได้ยกกองทัพไปตีเอาเมืองพะเยาแต่ไม่สำเร็จ จึงยกทัพต่อไปตีเอาเมืองเชียงราย และเมืองฝาง  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสองเมืองนี้ได้มีการสู้รบกัน  สันนิษฐานว่า ท้าวยี่กุมกามเคยเป็นเจ้าเมืองเชียงรายมาก่อนจึงไม่ได้ต่อสู้หรือเข้าครองเมืองได้ กองทัพเมืองสุโขทัยจึงยกทัพเข้าล้อมเมืองเชียงใหม่ แต่ตีไม่ได้ จึงถอยทัพกลับและทำการกวาดต้อนครอบครัวชาวเชียงราย เชียงใหม่ ไปอยู่ที่เมืองสุโขทัย

เมื่อสมเด็จพระอินทรราชา ซึ่งมาจากเมืองสุพรรณบุรีได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุธยา พระองค์ให้ยกกองทัพปราบปรามเมืองสุโขทัย จนในที่สุดทำให้พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไทยต้องย้ายจากเมืองสุโขทัยมาประทับอยู่ที่เมืองสองแควหรือเมืองพิษณุโลก  พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกจนสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.๑๙๖๒ ส่วนเมืองสุโขทัยนั้นก็เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ



๑๐.พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (พระยาปาลราช)

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ หรือพระยาปาลราช หรือพระบรมปาล  เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ ครองราชย์อยู่ที่เมืองสองแคว หรือเมืองพิษณุโลก  ประมาณ พ.ศ.๑๙๖๒-๑๙๘๑ รวม ๑๙ ปี

เมื่อครั้งพระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไทยสวรรคต ได้มีเหตุการณ์ชิงราชสมบัติครองอาณาจักรสุโขทัย ระหว่างพระยาบาลกับพระยาราม โอรสของพระองค์จนสมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์อยุธยาได้ถือโอกาสยกกองทัพขึ้นมาชิงอำนาจ และจัดการให้อาณาจักสุโขทัยที่ยอมอ่อนน้อมอยู่ในอำนาจ ยอมให้จัดการบ้านเมืองโดยแบ่งเอาเมืองในอาณาจักรสุโขทัยให้พระยาทั้งหลายครอง คือ พระยาบาล แต่งตั้งให้เป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ มีพระนามว่า “พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาล มหาธรรมราชาธิราช” ครองเมืองพิษณุโลก  พระยารามครองเมืองสุโขทัย  พระยาเชลียง ครองเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย และแสนสอยดาว ครองเมืองกำแพงเพชร  การแบ่งเมืองให้พระยาครองเช่นนี้เป็นกุศโลบายที่อาณาจักรอยุธยาต้องการจะลดทอนอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยที่มีอยู่เดิมลงเป็นเมืองธรรมดา แม้ว่าจะยังคงให้มีพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ก็ไม่ได้ยกให้เป็นราชธานีสำรองเช่นเดิม แล้วเมืองทั้ง ๔ นี้ก็ให้ขึ้นครองกับอาณาจักรอยุธยาด้วย

ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามีการเปลี่ยนแผ่นดินโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ขึ้นครองเป็นกษัตริย์อยุธยา ใน พ.ศ.๑๙๖๗ ฐานะอาณาจักรของเมืองสุโขทัยก็ยังไม่สามารถที่จะฟื้นสถานภาพเป็นอาณาจักรอย่างเดิมได้อีก จวบจนพระมหาธรรมราชที่ ๔ สิ้นพระชนม์ลงเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๙๘๑ ความเป็นอาณาจักรสุโขทัยจึงสิ้นสุดราชวงศ์กษัตริย์ครองอาณาจักรนี้ต่อไป

แม้ในเมืองพิษณุโลกและเมืองสุโขทัย จะยังมีเชื้อสายกษัตริย์สุโขทัยอยู่ก็มีฐานะเป็นเพียงเจ้าครองเมือง ดังนั้น พระยายุทธิษเฐียร โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ จึงได้เป็นผู้ครองเมืองพิษณุโลกต่อมา แม้ว่าพระยายุทธิษเฐียรจะเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระราเมศวร คือมีพระมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยเช่นเดียวกัน  ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) นั้น ได้โปรดให้พระราเมศวร พระราชโอรสขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลก  เมื่อพระราเมศวรขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ.๑๙๑๙ พระยายุทธิษเฐียร ซึ่งตั้งความหวังแต่เดิมไว้ว่ากษัตริย์อยุธยาพระองค์นี้จะคืนความเป็นอาณาจักรสุโขทัยกลับคืนโดยไม่แบ่งเมืองออกเป็น ๔ เมืองดังกล่าว ในฐานะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย แสดงว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ทรงมีพระมเหสีเป็นคนเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย และเป็นพระราชชนนีของพระราเมศวร

เมื่อพระยายุทธิษเฐียรไม่ได้รับการสนับสนุนตามที่คาดหวัง จึงทำให้เกิดน้อยใจและผิดหวัง จึงนำไพร่พลไปสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ของอาณาจักรล้านนา จนเป็นเหตุให้เกิดสงครามยืดเยื้อกันระหว่างอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ.๑๙๙๔  ส่วนเมืองพิษณุโลก ภายหลังพระราชชนนีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองเมืองพิษณุโลกต่อมา จนพระนางสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.๒๐๐๖ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงโปรดจะเสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานาน  

ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยจึงต่างพากันมาอาศัยหรือพำนักในเมืองพิษณุโลกมากขึ้น เมื่อมีการรวมอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกันแล้ว เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์สุโขทัยในเมืองพิษณุโลกจึงพากันลงไปรับราชการและติดต่อไปมาหาสู่กับกรุงศรีอยุธยา ราชธานีของอาณาจักรสยามที่ตั้งขึ้นใหม่ทางตอนใต้มากขึ้น โดยเฉพาะพระธิดาหรือหญิงสาวจากเชื้อพระวงศ์นี้ได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของกษัตริย์อยุธยาและมีพระโอรสเป็นเชื้อสายกษัตริย์อยุธยา

เมื่อพระโอรสผู้มีพระมารดาเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์สุโขทัยได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ครองราชย์ในอาณาจักรอยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราเมศวร) สมเด็จพระชัยราชาธิราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ขุนพิเรนทรเทพ) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย เป็นต้น  สรุปแล้ว เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยได้กลับมามีอำนาจเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรสยามตอนใต้ มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่ช่วงสมัยหนึ่ง


หมายเหตุ : ศักราชการครองราชย์ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย มีความแตกต่างกัน จึงสรุปชัดเจนไม่ได้


กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง แคว้นสุโขทัย

แคว้นสุโขทัยหรืออาณาจักรสุโขทัย มีพ่อขุนหรือกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยสืบเนื่องมาหลายรัชกาล เมื่อมีการชำระตามหลักฐานที่มีการพบใหม่นั้น ได้มีการลำดับรัชกาลของกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วงใหม่ คือ

อาณาจักรสยาม ในยุคที่มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีพ่อขุนหรือกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย มีพระนามดังนี้
     ๑.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) เสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๑ พระองค์สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย โดยการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ออกไปจากเมือง เมื่อ พ.ศ.๑๗๖๒ ไม่ปรากฏปีสวรรคต บ้างว่า พ.ศ.๑๗๘๑ และบ้างว่าครองราชย์ พ.ศ.๑๘๐๐
     ๒.พ่อขุนบานเมือง เป็นพระโอรสองค์โตของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไม่ปรากฏปีครองราชย์ สวรรคตราว พ.ศ.๑๘๒๒
     ๓.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระโอรสองค์รองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๔๒ พระองค์ทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไท (อักษรไทย) ขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๖๒
     ๔.พระยาไสสงคราม (ปู่ไสสงคราม) เชื่อว่าน่าจะเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นเชื้อพระวงศ์ที่ครองราชย์แทนรัชทายาทใน พ.ศ.๑๘๔๒ จึงยังไม่ได้ราชาภิเษก ครั้นเมื่อพระยาเลอไท ผู้เป็นรัชทายาทเสด็จกลับมาจากเมืองจีนแล้ว จึงได้เวนคืนเมืองให้ครองราชย์ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๑๘๔๒  พระยาไสสงครามน่าจะสิ้นพระชนม์เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๖๖
     ๕.พระยาเลอไทย พระโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระเชษฐาของปู่ไสสงคราม เมื่อเสด็จกลับจากเมืองจีนจึงครองราชย์เมื่อ พ.ศ.๑๘๔๒-๑๘๘๔ (บางแห่งว่าครองราชย์ถึง พ.ศ.๑๘๔๒-๑๘๘๒)
     ๖.พระยางั่วนำถม โอรสพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระอนุชาของพระยาเลอไทย ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๐ (บางแห่งว่า พ.ศ.๑๘๘๒-๑๘๙๒)
     ๗.พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทย บางแห่งใช้ชื่อว่า พระยาสุริยพงศ์ราม มหาธรรมราชาธิราช) โอรสของพระยาเลอไทย ครองราชย์ พ.ศ.๑๘๙๐-๑๙๑๒ (บางแห่งว่าสวรรคตปีหนึ่งในระหว่าง พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๑๒) พระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาและมีวรรณกรรมสำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วง แต่งเมื่อ พ.ศ.๑๘๘๘ ใช้สั่งสอนอาณาประชาราษฎร์
     ๘.พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พระยาลือไทย) โอรสของพระมหาธรรมราชาลิไทย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๑๒ และสวรรคตเมื่อ พ.ศ.๑๙๔๒ (บางแห่งว่า พ.ศ.๑๙๔๓)
     ๙.พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (พระยาไสลือไทย) พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (บางแห่งว่าเป็นพระนัดดา) เสวยราชย์ พ.ศ.๑๙๔๓-๑๙๖๒
    ๑๐.พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (พระบรมปาล บางแห่งใช้ชื่อว่าพระยาสุริยวงศ์บรมปาลธรรมมิกราช) โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๙๖๒-๑๙๘๑

ราชวงศ์พระร่วงคนสุดท้าย ปรากฏชื่อ พระยายุทธิษเฐียร โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2559 15:07:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.867 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 09:27:43