[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 05:38:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระบรมรูปและศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อ.เมือง จ.ตาก  (อ่าน 155 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 มิถุนายน 2566 17:08:30 »


พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระอิริยาบถประทับบนพระราชอาสน์ พระแสงดาบพาดบนพระเพลา
ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อ.เมือง จ.ตาก




พระบรมรูปและศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ถนนจรดวิถีถ่อง  อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นสัญลักษณ์ของเมืองตาก ที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่ผ่านเมืองตากต้องระลึกถึงประวัติศาสตร์ของชาติไทยสมัยหนึ่ง   เดิมนี้แต่เดิมเป็นศาลเล็กๆ อยู่บนดอยวัดเขาแก้วทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับตัวเมืองตากในปัจจุบัน  ต่อมาชาวเมืองตากเห็นว่าศาลเดิมนั้นไม่สมพระเกียรติ จึงได้บอกบุญเรี่ยไรเพื่อหาเงินมาสร้างศาลหลังใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง และได้ให้กรมศิลปากรหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพระอิริยาบถประทับบนพระราชอาสน์ พระแสงดาบพาดบนพระเพลา มีจารึกไว้ที่ฐานพระบรมรูปนี้ว่า พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงสมภพเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๗ สวรรคต ๒๓๒๕ รวม ๔๘ พรรษา  ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๒  และต่อมาศาลที่ประดิษฐานพระบรมรูปซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ มีขนาดคับแคบ มีประตูเข้าออกเพียงทางเดียว ประชาชนที่เข้าไปทำความเคารพสักการะจะต้องเบียดเสียดยัดเยียดกันไม่สะดวก คณะกรรมการจัดงานตากสินมหาราชานุสรณ์จึงได้ดำริว่า สมควรจะสร้างขยายใหม่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้รวบรวมเงินรายได้จากการจัดงานประจำปีสะสมไว้ เงินจากการสร้างพระบรมรูปเพื่อให้ประชาชนมีไว้บูชาและเงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค แล้วจึงสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นใหม่ดังปรากฏในปัจจุบันนี้ และทุกๆ ปี จะมีงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่ ในราวปลายเดือนธันวาคม




พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้มีคฤหบดีชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า ไหฮอง เป็นขุนพัฒน์นายอากรบ่อนเบี้ย มีภรรยาชื่อ นางนกเอี้ยง ทั้งสองได้เข้าไปพึ่งบารมีอาศัยอยู่หน้าบ้านเจ้าพระยาจักรีมาช้านานจนภรรยาตั้งครรภ์มีกำหนดได้ ๑๐ เดือน คลอดบุตรออกมาเป็นชาย ณ วันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ (คำจารึกที่ฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ศาลภายในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ ว่า พระราชสมภพ วันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗)  กล่าวกันว่า กุมารนั้นมีลักษณะเป็นจัตุรัสกาย คือ วัดตั้งแต่เท้าถึงศูนย์สะดือ เป็นมัชฌิมกายได้ส่วนหนึ่ง และวัดตั้งแต่ศูนย์สะดือถึงผมตกแห่งหน้าผากเป็นส่วนหนึ่ง และวัดตั้งแต่ศูนย์อุระราวถันออกไปถึงนิ้วมือข้างซ้ายส่วนหนึ่ง ข้างขวาส่วนหนึ่ง ทั้ง ๔ ส่วนนั้นยาวเสมอเท่ากัน ไม่ก้ำเกิน เป็นที่น่าอัศจรรย์แปลกกว่าคนธรรมดาสามัญชน   อนึ่ง ยังปรากฏว่าที่สะดือนั้นเป็นหลุมลึกลงไปพอจะบรรจุผลหมากสงทั้งเปลือกได้  ฉะนั้น ลักษณะกายดังกล่าวมาจึงเป็นลักษณะจัตุรัสกาย คือ รูปสิริกายเป็นรูปสี่เหลี่ยม  

ขณะกุมารคลอดออกจากครรภ์มารดาได้เกิดอสุนีบาต ฟ้าผ่าลงมาที่ตรงเสาเรือนแห่งห้องกุมารคลอดนั้น ทั้งๆ ที่ไม่มีเค้าว่ามีเมฆหมอกฝนฟ้าจะตกเลย แต่กุมารนั้นเล่าหาได้รับอันตรายแต่ประการใดไม่ นับว่าเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ประการหนึ่ง ครั้นกุมารคลอดได้ ๓ วัน ในเวลาพลบค่ำปรากฏว่ามีงูเหลือมใหญ่ตัวหนึ่ง ไม่ทราบว่ามาจากไหนเข้าไปขดเป็นทักษิณาวรรตอยู่ในกระด้งรอบกายกุมารซึ่งนอนนิ่งเงียบอยู่  ดูดุจคล้ายกับคอยพิทักษ์รักษากุมารนั้น โดยมิได้ทำอันตรายแต่ประการใด จึงนับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกคำรบหนึ่ง ฝ่ายบิดามารดาของกุมารได้เห็นงูเหลือมใหญ่เข้าไปขดในกระด้งของบุตรนั้น ก็มีความกังวลและกลัวภัยอันตรายต่างๆ จะบังเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า เพราะตามธรรมเนียมจีนในสมัยโบราณถือว่าหากมีเหตุภัยร้ายเกิดขึ้นเช่นนี้ ฝ่ายบิดามารดาย่อมนำเอาบุตรนั้นไปฝังเสียทั้งเป็น เพื่อป้องกันภัยพิบัติของตนอันอาจจะเกิดขึ้นภายหลัง  แต่เหตุการณ์ทั้งนี้เกิดในเมืองไทย ซึ่งประเพณีแตกต่างกับจีน ทางจีนอาจจะถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอัปมงคล แต่ตรงกันข้ามกับทางไทยอาจจะถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิริมงคลก็ได้ ด้วยเหตุฉะนี้จีนไหฮอง ผู้เป็นบิดา จึงไม่กล้านำบุตรไปฝังตามธรรมเนียมจีน คิดว่าควรจะต้องนำบุตรไปทิ้งเสียให้พ้นบ้านจึงจะพ้นภัยอันตราย  ครั้นเวลาเช้าท่านเจ้าพระยาจักรีลงมาถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ที่หน้าบ้านของท่านได้ทราบเรื่องราวดังกล่าว ก็เกิดมีจิตเมตตาคิดสังเวชและสงสาร ประกอบกับเป็นบุญบารมีอภินิหารของกุมารน้อยยังไม่ถึงกาลมรณะ  ทั้งจะได้ดำรงพระมหาเศวตฉัตรเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปในภายภาคหน้า เทพยเจ้าจึงดลให้ท่านเจ้าพระยาจักรีขอกุมารน้อยกับจีนไหฮอง จีนไหฮองก็ยอมยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแต่โดยดี

ตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้รับกุมารมาเป็นบุตรบุญธรรม ก็มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองได้ลาภและทรัพย์สมบัติพัสถานเป็นจำนวนมากขึ้นๆ เพื่อเป็นนิมิตดีเจ้าพระยาจักรีจึงตั้งชื่อกุมารนั้นว่า นายสิน  พออายุได้ ๙ ขวบ ก็ไปฝากไว้ในสำนักพระอาจารย์ทองดีมหาเถระ ณ วัดโกษาวาศน์ (โกษาวาสน์หรือโกษาวาส) นัยหนึ่งว่าวัดคลัง ครั้นนายสินเรียนหนังสือขอมไทยได้จบบริบูรณ์แล้วก็เรียนคัมภีร์พระไตรปิฎกสมควรแก่คุณานุรูปชำนาญแล้ว จนอายุได้ ๑๓ ปี  นายสินคิดสนุกอยากร่ำรวยจึงตั้งบ่อนการพนันโดยเป็นเจ้ามือถั่วขึ้นในอาราม แล้วชักชวนเด็กวัดมาแทงถั่ว เมื่อพระอาจารย์ทราบก็จับตัวมาลงโทษ เฉพาะนายสินพระอาจารย์ลงโทษโดยมัดมือคร่อมกับบันไดน้ำ แช่น้ำไว้ตั้งแต่เวลาพลบค่ำซึ่งเป็นเวลาตรงกับน้ำขึ้นด้วย แล้วพระอาจารย์ก็ไปสวดมนต์จนลืมไป ครั้นเลิกสวดมนต์แล้วเป็นเวลาประมาณยามเศษจึงนึกขึ้นได้ จึงพร้อมด้วยพระสงฆ์พากันไปดูยังท่าน้ำก็เห็นน้ำท่วมตลิ่งแล้ว แต่นายสินหาเป็นอันตรายไม่ เว้นแต่มือยังมัดติดกับบันไดซึ่งถอนหลุดขึ้นมาตามน้ำที่เอ่อขึ้นๆ เรื่อยๆ  พระสงฆ์เห็นดังนั้นก็ช่วยกันแก้เชือกที่มัดนายสินออกมาพาตัวมายังบนบก เป็นอันว่านายสินรอดตายมาได้อย่างน่าอัศจรรย์และปาฏิหาริย์ที่สุด เพื่อเป็นสิริมงคลและเรียกขวัญให้แก่นายสิน พระอาจารย์และพระสงฆ์ทั้งหลายก็นำตัวนายสินไปในพระอุโบสถ แล้วพระสงฆ์ทั้งหลายก็สวดชัยมงคลคาถาให้  

เนื่องจากนายสินเป็นผู้ปรีชาเฉลียวฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชการต่างๆ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานด้วยข้อราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทยและกรมวังศาลหลวง ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็ก ได้มีราชการ มีความดีความชอบ ประจวบกับหลวงยกกระบัตรเมืองตากว่างเปล่ามาช้านานแล้วเพราะคนเก่าถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินดำรงตำแหน่งยศเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ขึ้นไปช่วยราชการพระยาตาก ครั้นกาลล่วงมาไม่ช้าพระยาตากและปลัดเมืองตากได้ถึงแก่กรรมลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งยศเลื่อนหลวงยกกระบัตรสินให้เป็นพระยาตากแทนคนเก่า

ขณะพระยาตากปกครองเมืองตาก พระยาตากได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนเนินดิน มีลำน้ำปิงและห้วยแม่ท้อไหลผ่านตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก  วัดนี้ชื่อว่า วัดดอยเขาแก้ว แต่เรียกกันตามธรรมดาว่า วัดพระเจ้าตากสิน มีโบสถ์ซึ่งมีใบเสมาคู่ วิหาร พระเจดีย์ และพระพุทธบาทจำลองอยู่ในโบสถ์ด้วย ที่หน้าโบสถ์ได้ก่อเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ ใช้บรรจุอังคารมารดาและบิดาพระยาตาก

ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาตากสินให้เป็นพระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรสืบต่อไป

ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ พระเจ้าอังวะส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ๒ ทาง ทางหนึ่งเข้าทางเมืองทวาย ผ่านเมืองสุพรรณบุรี  อีกทางหนึ่งเข้ามาทางเมืองเชียงใหม่ และล่องตามลำแม่น้ำพระยา เวลานั้นไทยเราอ่อนแอมาก พม่ามาถึงไหนก็ไม่มีกำลังไทยต่อสู้ป้องกัน มีแห่งเดียวที่บางระจัน ซึ่งราษฎรพร้อมใจกันต่อสู้พม่าอยู่ถึง ๕ เดือน

การศึกครั้งนี้ได้ทำกันอยู่นานเกือบ ๒ ปี เวลาที่การศึกติดพันอยู่นั้น พระยาตากสินเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ได้ทำการต่อสู้พม่ามีความดีความชอบหลายครั้ง ครั้งหนึ่งถูกพิจารณาโทษเรืองยิงปืนใหญ่ เพราะพวกท้าวนางข้างในวังตกใจกลัวเสียงปืน  ข้างในกรุงได้ตั้งเป็นข้อบังคับว่า ใครจะยิงปืนใหญ่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลาลูกขุนเสียก่อน พระยาตากสินยิงโดยไม่ขออนุญาต เกิดเรื่องจนจวนถูกประหารชีวิต หากแต่มีบำเหน็จความชอบ จึงได้รับกรุณาเพียงภาคทัณฑ์ไว้  พระยาตากสินเห็นว่าไม่มีทางที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ได้ จึงชวนพรรคพวกตีฝ่าพม่าออกไปทางด้านวัดพิชัย เพื่อไปรวบรวมกำลังที่อื่นแล้วยกมาสู้พม่าใหม่  กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้กวาดต้อนผู้คน ขนทรัพย์สมบัติไปแล้วให้สุกี้เป็นนายกองตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น เพื่อควบคุมคนไทยเหมือนอย่างเป็นเมืองขึ้น ในเวลานั้นคนไทยที่ทรยศต่อชาติไปเข้าข้างพม่าก็มาก สุกี้ได้ตั้งให้พวกทรยศเหล่านี้ควบคุมคนไทยด้วยกันเอง ทางเมืองธนบุรีสุกี้ตั้งคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งพงศาวดารว่าชื่อทองอิน แต่จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่าชื่อบุญส่ง เป็นเจ้าปกครองเมืองธนบุรี

พระยาตากสินเมื่อตีฝ่าพม่าออกไปแล้ว เดินทางไปจนถึงเมืองจันทบุรีรวบรวมกำลังผู้คนได้มากพอแล้ว ก็ยกเป็นทัพเรือเข้ามาทางอ่าวไทย พอถึงเมืองธนบุรีก็ได้รบพวกของเจ้าทองอิน เมื่อปราบเจ้าทองอินได้แล้ว ก็ยกไปตีค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้นายกองพม่าตายในที่รบ  ครั้นแล้วจึงยกกลับมาตั้งราชธานีใหม่ที่ธนบุรี  ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๑

การรบชนะที่ค่ายโพธิ์สามต้น เป็นการกู้อิสรภาพ กระทำให้ไทยพ้นมือพม่า แต่ประเทศไทยในเวลานั้นยังแตกแยกกันอยู่เป็นหลายก๊ก เนื่องจากบ้านเมืองเป็นกลียุค อำนาจของกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอ ผู้ครองเมืองสำคัญต่างๆ เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองนครศรีธรรมราช และอื่นๆ ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นตามลำดับกัน  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบปรามก๊กต่างๆ รวบรวมประเทศไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงแสวงหาอาหารมาแจกจ่ายแก่พลเมืองที่อดอยาก ทรงส่งคนไปเที่ยวป่าวร้องให้พลเมืองซึ่งเที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ในที่ต่างๆ กลับเข้ามาทำมาหากินในภูมิลำเนาเดิม  อนึ่ง ในเวลาที่เสียกรุงมีภิกษุบางรูปไปเข้าข้างพม่า บอกที่ฝังทรัพย์ของไทยให้พม่า และยุยงให้พม่าฆ่าฟันคนไทยด้วยกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้เอาตัวมาชำระตามโทษานุโทษ แล้วเที่ยวเสาะแสวงหาพระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิ์ มาตั้งเป็นพระราชาคณะ ทรงอัญเชิญพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราช เพื่อจำลองไว้สำหรับพระนคร แล้วอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังเมืองนครศรีธรรมราชดังเดิม และทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ให้ได้ดำรงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองต่อไป

เมื่อพม่ารู้ว่าไทยกลับตั้งตัวได้ ก็ส่งกองทัพมารบอีกหลายครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกรบด้วยพระองค์เองเป็นส่วนมาก  ในการรู้รบนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงออกหน้าเสมอ ทรงทำการทุกอย่างเหมือนทหารทั่วไป แม้เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ก็ทรงออกหน้าทำการรบจนถูกปืนบาดเจ็บที่เมืองพิชัย  เมื่อเรือล่มครั้งยกกองทัพมาจากเหนือ ทรงว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วทรงพระดำเนินลัดป่าจนถึงค่ายหลวง โดยไม่ยอมให้ใครแบกหาม  ไทยได้อิสรภาพสมบูรณ์บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นเรียบร้อย ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข เชียงใหม่เข้ามารวมอยู่กับไทยจนกระทั่งถึงบัดนี้  อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพผู้มีฝีมือที่สุดของพม่าในครั้งนั้นได้ประกาศว่า แต่นี้ต่อไปพม่าคงจะไม่สามารถรบชนะไทยอีก

ในการกู้ประเทศชาติและแผ่อำนาจของไทยให้ไพศาลออกไปนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ทรงอาศัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเป็นกำลัง ประหนึ่งพระกรซ้ายและขวา

สมเด็จพระเจ้าตากสินน ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ล้ำเลิศพระองค์หนึ่งของไทย แต่คงเป็นเพราะทรงตรากตรำในพระราชภาระกู้บ้านสร้างเมือง กับต้องทรงผจญกับการสะเทือนพระทัยหลายเรื่อง ระยะหลังจึงทรงใฝ่พระทัยในวิปัสสนากรรมฐาน จนมีพระอาการพลุกพล่าน ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงฟั่นเฟือนไปบ้างบางครั้ง แต่มิใช่บ้าคลั่งดังที่พงศาวดารกล่าวไว้

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี เกิดจลาจลในพระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ครั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต้องรีบเสด็จยกกองทัพจากเขมร เหล่าขุนนางประชาราษฎร์กราบบังคมอัญเชิญปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรับในความผิด และถูกพิพากษาให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕






ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อ.เมือง จ.ตาก










ประชาชน ศรัทธาและเดินทางเข้าสักการะ เข้ามาขอพร บนบาน...แต่เช้าตรู่


เมื่อได้สำเร็จสมประสงค์แล้วก็จะมาแก้บน โดยนำรูปปั้นทหาร ช้าง ม้า มาถวาย






ภาพจิตรกรรมแสดงพระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ในการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช






ขอขอบคุณ (ที่มาข้อมูล)
บุคคลในประวัติศาสตร์ : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙)
เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตาก
กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิถุนายน 2566 17:23:36 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ข้าวหมกไก่ เมือง มัณฑเลย์
สุขใจ ไปเที่ยว
sithiphong 0 3090 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 19:41:54
โดย sithiphong
ปี 2010 จานผีลึกลับแวะมาเที่ยวจีนถึง 10 เมือง
เรื่องราว จากนอกโลก
มดเอ๊ก 3 4009 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2554 01:47:43
โดย wondermay
หลวงพ่อทองเพชร จันทโชโต วัดชลธาราราม บ้านท่าแพ ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1798 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560 20:15:38
โดย ใบบุญ
เมือง “กบิลพัสดุ์”
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 603 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2564 20:12:00
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - น้ำท่วมสตูลล่าสุดคลี่คลายแล้วหลายอำเภอ เหลือที่ อ.ละงู กับบางจุดใน อ.เมือง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 83 กระทู้ล่าสุด 03 กรกฎาคม 2566 13:07:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.488 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 เมษายน 2567 03:21:13