[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: phonsak ที่ 11 กันยายน 2553 13:15:24



หัวข้อ: พระพุทธเจ้าสอนให้เกาะอัตตา(นิพพาน)เป็นที่พึ่งให้แน่นที่สุด
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 11 กันยายน 2553 13:15:24
พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้เกาะอัตตาเป็นที่พึ่งแห่งตนไว้ให้แน่นๆ แน่นที่สุด


noohmairu :เกาะอัตตาไว้ให้แน่นๆ นะน้อง

ตอบ

เกาะอัตตา(ทิฏฐิ)ไว้แน่น ย่อมไม่มีทางห็นอัตตาแท้จริง เห็นแต่อัตตาทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน
เมื่อไม่เกาะอัตตาทิฏฐิ ย่อมเห็นอนัตตา เมื่อเห็นอนัตตา สุดท้ายก็เห็นอัตตาแท้จริง

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน (อัตตา)ของเรา = อนัตตลักขณสูตร

หมายความว่า ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวรนเป็นธรรมดา ต้องเห็นตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน (อัตตา)ของเรา

1. "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน"

2. (บาลี มหา.ที. ๑๐/๑๑๘ /๙๓) (บาลี มหาวาร สํ. ๑๙/๒๐๕/ ๗๑๒-๓)
"อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง กายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ... มีสติ.... เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรม ฯลฯ

อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า มี อัตตา เป็นเกาะ มี อัตตา เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง"


พระพุทธองค์ตรัสเองว่า ให้เกาะอัตตาเป็นที่พึ่งแห่งตนไว้ให้แน่นๆ แน่นที่สุด และอย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง ปัญหาคือ ท่านหาอัตตาแท้จริงของท่านเองเจอหรือยัง? จะหาอัตตาแท้จริงเจอ ต้องหาอัตตาทิฏฐิ และหาอนัตตาให้เจอก่อนนะ


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าสอนให้เกาะอัตตา(นิพพาน)เป็นที่พึ่งให้แน่นที่สุด
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 11 กันยายน 2553 13:23:25
ผมเข้าใจว่า คุณนักดาบพเนจร น่าจะเป็นคนที่ถูกมารสิง เพื่อมาให้ทำการก่อการร้าย-ลบกระทู้ต่างๆของผม  สังเกตได้จากคุณนักดาบพเนจร กล่าวว่า:

แม้มีการกล่าวอ้างพุทธพจน์อยู่ก็ตาม แต่พยายามจะส่อให้เป็นไปในทางที่เข้าใจ
ว่าสัจธรรมสูงสุดของพุทธศาสนาคือ "อัตตา"
ฯลฯ  โดยเฉพาะไปเชื่อมารรุ่นพี่
และมารรุ่นพ่อ ในเว็บพลังจิต เว็บธรรมจักร เว็บพันทิพย์  พวกนี้ชั่วๆทั้งนั้น  แต่ผม
คงไม่โต้เรื่องนี้  เพราะไร้สาระ  ผมมาเพื่อสืบอายุพุทธศาสนาให้พ้นจากเงื้อมมือ
มาร ผมไม่ได้มาเพื่อต่อยตีกับมาร

ผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ  อัตตา อนัตตา มาถก  เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป

1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ  บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย

วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.  


2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น  พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"


อนัตตลักขณสูตร

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร

จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

4.  จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา[/color]

ถ้าพระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า 

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณนักดาบพเนจร ช่วยตอบให้ชื่นใจแทนปัญจวัคคีย์หน่อเถิดครับ

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

สรุป


ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณนักดาบพเนจร ตอบว่า

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

อัตตาจึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา


แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุยังไงล่ะที่นักดาบพเนจร  ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ


ลักษณะของอสังตธาตุ

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าสอนให้เกาะอัตตา(นิพพาน)เป็นที่พึ่งให้แน่นที่สุด
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 11 กันยายน 2553 13:30:53
[COLOR="Purple"]พระอริยะสงฆ์ต่างสอนให้ใช้อัตตา(นิพพาน)เป็นที่พึ่ง[/COLOR]


เปมงฺกโร ภิกฺขุ ชี้ว่า ตัวธรรม(พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เป็นอสังขตะ เป็นอัตตา


ในโลกทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความจริง เกิดขึ้นแล้วสลายหมด เท็จทั้งสิ้น เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา

ส่วน สันตินิพพาน เป็นตัวสัจจะธรรม เที่ยงตรงมั่นคงอยู่เสมอ เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุ ไม่นอกไปจากจิตบริสุทธิ์ถึงขีดสุด เป็น ตัวธรรมที่รวมพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นอตฺตาตัวตนแท้ ......... ..........

พระพุทธภาษิตว่า
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนของตนเองเป็นที่พึ่งของตน
ตนในที่นี้หมายถึง จิตบริสุทธิ์
ความไม่บริสุทธิ์ไม่ใช่ตัวตนพึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้ โดยประการดังนี้ฯ


อดีตสมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)  ชี้ว่าจะเจออัตตาได้อย่างไร


" สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา


พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร:


.... (จิต)ท่านว่ามันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน จิตของเรา จิตของเราถ้ามันเที่ยง ไม่แปรผันโยกย้ายไปมา, ก็พึ่งพาอาศัยได้.

นี่มันพึ่งไม่ได้จิตใจของเรา. ให้ตั้งอยู่นี่.,ไปโน้น. ให้ตั้งตรงโน้นไปตรงนี้ = อนัตตา

สรุป

จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ = ไม่ใช่ตัวตน  มันเป็นอนัตตา
จิตเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ = ตัวตน(อัตตา) พึ่งพิงได้ = จิตบริสุทธิ์