[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 28 กันยายน 2566 02:08:18



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: "6 ตุลา" คืออะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 28 กันยายน 2566 02:08:18
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: "6 ตุลา" คืออะไร?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-27 23:38</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผมครุ่นคิดถึงเรื่อง "6 ตุลา" อยู่นาน ยิ่งคิดก็ยิ่งมีปัญหาว่า การ "รำลึก 6 ตุลา" ในระยะไม่กี่ปีนี้ ผิดฝาผิดตัว</p>
<p>กล่าวโดยสรุป ถ้าให้เด็กรุ่นใหม่ (ที่ตามมาจากรุ่น 6 ตุลา) ก็จะพูดว่า "6 ตุลา" เป็นการก่ออาชญากรรมของรัฐที่ไม่ถูกลงโทษ พูดอีกอย่างคือเป็นการต่อเนื่องมายังจากเหตุการณ์อย่าง "พฤษภา 53" เป็นต้น</p>
<p>แต่ถ้า "6 ตุลา" เป็นอาชญากรรมที่ไม่ถูกลงโทษ ถ้าเช่นนั้น การ "เอาคืน" ติดต่อกันหลายปีของกองกำลัง พคท.ที่มีนักศึกษาร่วมด้วยคืออะไร???</p>
<p>เพราะถ้านับ "6 ตุลา" เป็น "อาชญากรรม" #การใช้อาวุธสู้กับรัฐก็ต้องเป็นอาชญากรรมเหมือนกัน
เราจะถือเอา "6 ตุลา" เป็น "อาชญากรรม" อย่างเดียว โดยไม่ถือการต่อสู้ด้วยอาวุธเข้าห่ำหั่นคนของรัฐเป็น "อาชญากรรม" ไม่ได้</p>
<p><strong>ผมคิดว่า การเอาเรื่องนี้เข้าเชื่อมโยงกับเรื่องยุคหลังเป็นเรื่องผิดพลาดแต่ต้น</strong></p>
<p>ถ้า 6 ตุลา เป็น "อาชญากรรม" ของรัฐ การตอบโต้ของฝ่ายนักศึกษาที่เข้าป่าจับอาวุธก็ต้องเป็น "อาชญากรรม" เช่นกัน ยกเว้นแต่เราจะมีมาตรการวัดอาชญากรรมไม่เหมือนกัน</p>
<p>ยิ่งกว่านั้น นี่เพียงสมมติว่า นักศึกษาเมื่อ 6 ตุลา เป็นเยาวชน ไม่มีอาวุธเลย และไม่มีใครเป็นคอมมิวนิสต์เลย</p>
<p>เหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลานั้นผ่านมานานแล้ว ถ้าเราต้องการศึกษามันจริงๆ ก่อนอื่นต้องถามคำถามพื้นฐานก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น</p>
<p>การเชื่อในคำโฆษณานั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใด ทั้งของฝ่ายที่บุกเข้าไป และฝ่ายที่ต้านทานการบุก</p>
<p>ถ้ากำลังของนักศึกษา ถึงที่สุดแล้ว เป็นกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เหตุการณ์ 6 ตุลาก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง</p>
<p><strong>"6 ตุลา" คือส่วนหนึ่งของ "สงครามกลางเมือง" ระหว่าง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐไทย</strong></p>
<p>นี่เป็นข้อสรุปที่หากซึ่อตรงต่อตัวเอง และซื่อตรงต่อหลักฐานร่วมสมัยทั้งหลายต้องยอมรับ
ขบวนการนักศึกษา เมื่อถึงปี 2519 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ พคท.แล้ว ลองให้ผู้ปฏิบัติงานสักคนบอกปัญหาที่มองขณะนั้น เขาก็จะบอกเป็นสูตรเลยว่า ประเทศไทยเป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ยังไม่มีเอกราช ไม่มีประชาธิปไตย ฯลฯ หากจะมี "ความหลากหลาย" ก็เรียกว่าหาแทบไม่มี อยู่นอกขบวนนักศึกษามากกว่า ซึ่งมีน้อยมาก</p>
<p>(สมัยหนึ่ง นานมาแล้ว เกษียรเคยพยายามเถียงว่ามี "ความหลากหลาย" เถียงไปเถียงมา ต้องมายอมในรับในภายหลังว่า เขาเองก็พูดเป็นสูตรเหมือนกัน ผมหวังว่าเราก็แก่ๆ กันแล้ว เขาจะยอมรับความจริงนี้ก่อนจะลาโลกไปด้วยกัน)</p>
<p>สมัยนั้นเรามีคำขวัญ "ความคิด การเมือง การจัดตั้ง" สองอันแรกไม่มีปัญหาเลย เป็นของ พคท.แน่นอน ทีนี้พูดถึงการจัดตั้ง พูดง่ายๆ คือเป็นมีคนของพรรคเท่าไร?</p>
<p>ไม่มาก แต่ก็ไม่น้อย ทีนี้มาถึง "ปัญหา" ละ ถ้าคนของพรรคมีไม่มาก ไม่ถึงขนาดสามพันคนขึ้นไปในธรรมศาสตร์เช้าวันนั้นแน่ ทำไมจึงกล่าวว่าการโจมตีเป็นการต่อสู้กับ พคท.?</p>
<p>เวลากำลังรัฐบาลบุกเข้าโจมตีฐานที่มั่นสักแห่งหนึ่ง แล้วตีแตก เราไม่เรียกการโจมตีว่าการโจมตีคอมมิวนิสต์หรือ? ในฐานที่มั่น มีคอมมิวนิสต์ ในความหมายที่เป็นสมาชิกพรรคทุกคนหรือ? เราถือว่าเขตนี้เป็นของคอมมิวนิสต์ หมายความว่าทุกคนเป็นสมาชิกพรรคหรือ? ไม่เลย ในทุกๆ แห่งสมาชิกจริงๆ ย่อมเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น</p>
<p>ทีนี้กำลังในธรรมศาสตร์เช้าวันนั้น เป็นกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแน่นอน เช้าวันนั้น ศัตรูไม่ได้โจมตีผิด</p>
<p>การที่เหตุการณ์แบบ 6 ตุลาเกิดขึ้นได้ เพราะเราประเมินไม่ถึงว่า ฝ่ายศัตรูจะระดมกำลังตำรวจมามากขนาดนั้น ที่สำคัญคือตำรวจพลร่มตระเวนชายแดน ที่อยู่ภายใต้การนำของผู้ใกล้ชิดในหลวงภูมิพล ตำรวจพลร่มตะเวนชายแดนได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพลเวลาตีหนึ่ง ปกติถ้าเป็นการยิงก่อกวนของกระทิงแดง กำลังรักษาความปลอดภัยของเรารับอยู่ "เราไม่ได้เตรียมอาวุธหนักไว้รับมือพวกนั้น" ผมได้รับการบอกจากหน่วยรักษาความปลอยภัยผู้หนึ่ง การที่เราสามารถต้านไว้นานพอสมควรเพราะเหตุนี้ ไม่ใช่เราไม่มีอาวุธ แต่มีไว้ป้องกันการก่อกวน</p>
<p>(ความจริงผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัย "คุณชูศิลป์" ก็เปิดเผยเร็วๆ นี้ว่า เขาได้เข้าพรรคตั้งแต่ก่อน 6 ตุลา)</p>
<p>ขบวนการนักศึกษาตั้งแต่ก่อนหน้า 6 ตุลาแล้ว เป็นขบวนการของพรรคฯ และทำงานเพื่อประสานงานกับพรรคในชนบท อันที่จริง การต่อสู้ของชาวนาที่นักศึกษาเข้าไปนำก็เพื่อประสานกับงานชนบทของพรรค เมื่อเร็วๆ นี้ น่าเสียดายว่านักวิชาการทั้งฝรั่งและนิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ยังอุตส่าห์เข้าใจเรื่องนี้ผิด (ตรงข้ามกับภาพลักษณ์ในหมู่คนนิยมเขา นิธินั้นรู้เรื่องการเมืองร่วมสมัยน้อย)</p>
<p>เราต้องถามตัวเองว่า จะปล่อยให้ประวัติศาสตร์บิดเบี้ยวอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือ? อีกไม่กี่ปี คนที่เคยผ่านเหตุการณ์นั้นมา ก็จะตายหมด ถึงตอนนั้นจะยิ่งยากเข้าไปอีกที่จะทำความกระจ่าง</p>
<p>ผมลองเปิดๆ ดูแบบผ่านๆ แทบทุกอันพูดเหมือนกันหมด "6 ตุลา เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถูกเผด็จการเข่นฆ่า..." บลา บลา</p>
<p>ตอนที่เริ่มการรำลึกครั้งนี้ ธงชัย วินิจจกูลเคยพูดทำนองว่า ถือเป็นการรำลึก โดยที่ไม่ต้องสนใจว่า พวกที่ตายวันนั้น #ตอนนั้น คิดอย่างไร (เราได้อ่านงานเขียนเรื่อง 6 ตุลาจำนวนมากจากเขา ในขณะที่เขาไม่เคยปฏิเสธว่า สมัยนั้นพวกเราเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่เคยพูดเน้นจุดนี้ และปล่อยให้มันผ่านไป เข้าใจผิดไม่เป็นไร)</p>
<p><strong>แต่จะได้หรือ? ประวัติศาสตร์ไม่มีความหมายอะไรหรือ? ขอเพียงแต่ให้เขียนให้สอดคล้องความต้องการของเรา #ในขณะนี้ ก็พอ?</strong></p>
<p>"6 ตุลา เป็นสงครามกลางเมือง ระหว่างกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับ รัฐ"
เราไม่ใช่ไม่มีอาวุธ มี แต่เราประเมินผิดว่าพวกเขาไม่ใช้กำลังอาวุธหนักมา</p>
<p>จริง! 6 ตุลา เต็มไปด้วยความสยดสยอง และการสอบสวนว่า อันใดเป็นการกระทำที่ผิด สามารถทำได้ แต่ขณะเดียวกัน การกระทำของฝ่ายเราเพื่อตอบโต้ฝ่ายรัฐ ก็นำความสูญเสียส่วนหนึ่งมาสู่กำลังของรัฐเช่นกัน</p>
<p><strong>นี่คือ "สงครามกลางเมือง"</strong></p>
<p>เลิกมอง "6 ตุลา" เป็นอะไรที่หลุดลอยเสียที</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%B8%E0%B8%B86-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2519" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ุุ6 ตุลาคม 2519[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106111