[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 06:20:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำข้าวกล้อง ได้ข้าวซ้อมมือ เหตุใดจึงเรียก “ข้าวซ้อมมือ” ?  (อ่าน 307 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:22:41 »


ตำข้าวกล้อง ได้ข้าวซ้อมมือ เหตุใดจึงเรียก “ข้าวซ้อมมือ” ?



        ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวซ้อม ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถาน ว่า “ข้าวกล้องที่นำมาตำ เยื่อรำจะหลุดไป เหลือแต่เมล็ดข้าว”  ก่อนที่จะมาเป็นข้าวซ้อมมือ เป็นข้าวกล้องมาก่อน.....ข้าวกล้อง ก็คือข้าวที่ตำหรือสีเอาเปลือกออกครั้งแรก ยังมีจมูกข้าวและเยื่อสีแดง ๆ หุ้มเมล็ดข้าวอยู่ โดยในอดีตเมื่อยังไม่มีโรงสี ชาวบ้านต้องเปลี่ยนข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยการตำในครกตำข้าว ซึ่งมีทั้งชนิดตำด้วยสากมือถือ กับสากติดคานกระเดื่อง หรือที่เราเรียกกันว่า ครกกระเดื่อง

         การตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารนั้น พอใส่ข้าวเปลือกลงไปตำ จะทำให้เปลือกเมล็ดข้าวถูกกะเทาะ ต่อจากนั้นจึงตักข้าวใส่กระด้งไปฝัด เปลือกของข้าวที่กะเทาะออกแล้วลอยหลุดตกจากกระด้ง เรียกว่า แกลบ ส่วนเมล็ดข้าวที่หนักกว่าซึ่งตกลงยังกระด้งดังเดิม เรียกว่า ข้าวกล้อง แต่ข้าวกล้องนี้ยังมีส่วนของเปลือกข้าวปนอยู่ จึงต้องนำมาตำอีกครั้ง และการตำซ้ำรอบที่สามก็เป็นที่มาของคำว่า ข้าวซ้อมมือ

         เรื่องนี้ วีระพงศ์ มีสถาน อธิบายไว้ในบทความ “ข้าวกล้อง” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2554) ว่า “ข้าวกล้องตามความหมายแต่เดิมมา จะนำมานึ่งหรือหุงกินไม่ได้ (เว้นเสียแต่จะโปรยให้นกให้ไก่กิน) จึงต้องมีการตำรอบสองและรอบสาม ในวัฒนธรรมลาวสอนกันไว้เลยว่า ตำรอบสองเรียกว่า ต่าว (ในภาษาไทยภาคกลางเรียกว่า ทวน ซึ่งมีความหมายว่า หวนคืน กระทำอีกครั้ง) ส่วนตำรอบสามเรียกว่า ซ้อม ในภาษาไทยก็เรียกเช่นนี้เหมือนกัน ดังที่จะคุ้นหูจากการเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ…

         คําผญาลาวมีบทที่กล่าวถึงการตำครั้งที่สามหรือซ้อมว่า ‘มีครกบ่มีสากซ้อม ตำได้ข้าวบ่ขาว’ (ครก และข้าว เขียนอย่างภาษาไทยภาคกลาง) การตำทวนหรือตำต่าวนี้ เพื่อให้ข้าวเปลือกที่ประสมเป็นข้าวกล้องนั้นลดจำนวนลง ให้เป็นเมล็ดข้าวสารมากขึ้น เปลือกข้าวถูกตำ ถูกกระแทกประสมอยู่กับเมล็ดข้าวและเมื่อฝัดแล้วจะได้รำแก่เก็บไว้ใช้เลี้ยงหมู ส่วนการตำซ้อม เพื่อทำให้ข้าวขาวขึ้น เมื่อฝัดแล้ว นอกจากจะได้เนื้อเมล็ดข้าวสารที่ขาวกว่าเดิมแล้ว ยังได้รำอ่อนและปลายข้าวอีกด้วย“

         การตำข้าวหรือสีข้าวจำนวนครั้งมาขึ้นจะทำให้เส้นใยและจมูกข้าวบางส่วนหลุดไป หากตำหรือขัดสีข้าวซ้อมมืออีกหลายครั้ง ก็จะกลายเป็น “ข้าวขาว” ซึ่งปัจจุบันมีความนิยมรับประทานข้าวกล้องมากกว่า เพราะอุดมด้วยคุณประโยชน์มากกว่าข้าวขาว


           


           ...ผู้เขียน     หนุ่มบางโพ
           ...เผยแพร่    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.256

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 08:30:13