[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 พฤษภาคม 2567 21:04:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'ละครไทย' ในแดนมังกร จังหวะก้าวสำคัญพา 'ที-ป๊อป' สู่ระดับสากล  (อ่าน 2018 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5080


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2554 21:02:37 »



















อาจจะดูไม่ใช่เรื่องใหม่มากนัก สำหรับกระแสละครไทยที่กำลังเป็นที่คึกคักอยู่ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า 'ไทยวินด์ หรือ ที-วินด์’ (T-Wind) ที่สื่อจีนบางสำนักเคยขนานนามให้กระแสละครไทยที่เข้าไปสู่ตลาดจีนว่า เหมือนกับสายลมที่พัดมาแล้วผ่านไปอย่างรวดเร็ว
       
       แต่ใครจะไปนึกว่า ผ่านมาหลายปี สายลมที่พัดไปนั้นดูท่าจะเป็นที่ติดอกติดใจของชาวแดนมังกรยิ่งนัก เพราะยิ่งพัดก็ยิ่งดู ยิ่งมีละครหลายเรื่องมาให้ก็ยิ่งติดกันงอม จนกลายเป็นกระแสที่เรียกว่า ‘ที-ป็อป’ (T-Pop : Thai pop culture) เทียบชั้นกับความบันเทิงของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เคยเข้ามาสร้างปรากฏการณ์ ‘เจ-ป็อป’ (J-Pop : Japanese pop culture) และ ‘เค-ป็อป’ (K-Pop : Korean pop culture) ในบ้านเราและที่ประเทศจีนก่อนหน้านี้ยังไงยังงั้น
       
       แต่อย่างว่า ปัญหาหนึ่งที่เชื่อว่าคงสร้างความฉงนสงสัยให้เกิดขึ้นในใจของผู้ชมละครมานานแสนนานอย่างหนึ่ง ก็คืออะไรกันหนอที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ละครไทยสามารถยืนทัดเทียบกับละครจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียได้เช่นนี้ เพราะต้องยอมรับความจริงว่า สำหรับมุมมองคนไทยที่มีต่อละครไทยส่วนใหญ่แล้ว ต่างก็เห็นเป็นมุมเดียวกัน ละครไทยนอกจากจะทำหน้าที่คลายเบื่อ คลายเหงาแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะยืดเยื้อ เรื่องไม่ไปไหน ชนิดลืมดูไป 10 ตอนก็ยังเข้าใจเรื่องได้ไม่ยาก จนหลายคนถึงกลับบอกเป็นเสียงเดียวว่า
       
       'ละครไทยน้ำเน่าสุดๆ'
       
       เพราะฉะนั้นการการประสบความสำเร็จนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่มีความน่าสนใจไม่น้อย และดีไม่ดีนี่อาจจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ตลาดละครไทยก้าวไปสู่ตลาดบันเทิงในระดับนานาชาติอีกด้วย
       
       เหตุใดจึงติดละครไทย
       
       หากให้พูดถึงมูลเหตุที่ละครไทยได้รับความนิยมเช่นนี้ในประเทศจีน คงต้องย้อนกลับไปไกล เมื่อปี 2547 ที่บริษัทแอ็กแซ็กต์ จำกัด และบริษัทซีเนริโอ จำกัด ได้นำละครของตัวเอง อย่าง 'เลือดขัตติยา' เข้าไปฉายทางสถานีโทรทัศน์อานฮุย แน่นอนว่าแม้ตอนนั้นจะไม่โด่งดังเท่าที่ควร เนื่องจากกระแสละครเกาหลีกำลังได้รับความนิยมอยู่มาก แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่ทำให้คนจีนได้มีโอกาสได้สัมผัสกับละครไทย
       
       และหลังจากนั้นอีก 5 ปีละครไทยอย่าง 'สงครามนางฟ้า' ของผู้ผลิตเจ้าเดียวกัน ซึ่งว่ากันว่ามีบทและฉากที่หวือหวาและเน้นความสัมพันธ์แบบชิงรักหากสวาท ก็สามารถเอาชนะใจชาวแดนมังกรได้ในที่สุด และเป็นประตูสำคัญที่ทำให้ละครเรื่องอื่นๆ ของไทยที่ฉายผ่านทีวีจีน ไม่ว่าจะเป็น ‘รอยอดีตแห่งรัก’ ‘พรุ่งนี้ก็รักเธอ’ ‘บ่วงรักกามเทพ’ ‘แก้วล้อมเพชร’ ‘ดอกรักริมทาง’ และ ‘แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา’ ฮิตติดลมบนในเวลาต่อมา
       
       โดยจุดเด่นที่สำคัญที่ถูกสำคัญที่สุด ก็คือความหลากหลายของโครงเรื่องซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดในละครไทย ขณะเดียวกัน สิ่งที่คนไทยมักจะคิดว่าเป็นจุดอ่อน อย่างความน้ำเน่าของละคร ที่มักจะมีบทประเภทชิงรักหักสวาท ตบตีด่าทอด้วยความรุนแรง ความรักที่ผิดหวัง หรือการทำลายร่างกายประเภทตบจูบ กลับกลายมาเป็นจุดเด่นที่สำคัญเวลาที่มาฉายในประเทศจีน เพราะบทเหล่านี้เป็นเครื่องสะท้อนภาพได้อย่างดีว่า ละครไทยนั้นไม่ซับซ้อนและเข้าใจได้ง่าย
       
       “เท่าที่ดูมาละครเกาหลีคอนเซ็ปต์มันจะหนีไม่พ้นเรื่องอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเป็นโรค รักษาไม่ได้ แต่คนจีนจะรู้สึกว่า ละครไทยแตกต่างออกไป โดยจุดเด่นที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องแง่มุมความรักมันดูหักมุมดี พล็อตไทยส่วนใหญ่ ผู้หญิงโหด ผู้หญิงจะไม่อ่อนหวาน แก่นๆ มีบทลักพาตัว บทร้ายๆ ต่างจากเกาหลีกับญี่ปุ่น พูดง่ายๆ คือดูแล้วได้อารมณ์กว่า แถมฉากละคร หน้าตาดารา การเเต่งหน้า มันให้ความรู้สึกเป็นเอเชียมาก” พิรญาณ์ แสงปัญญา นักศึกษาไทยที่ไปอยู่ในประเทศจีนอธิบายถึงภาพลักษณ์ของละครไทยที่เพื่อนๆ ชาวจีนเล่าให้ฟัง
       
       ขณะที่ ผศ.วันชัย ธนะวังน้อย อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมว่า ความสำเร็จตรงนี้มาจากความสามารถของผู้จัดละครและสถานีโทรทัศน์บ้านเราที่ชอบทำละครที่เน้นความสนุก และความบันเทิงเป็นหลัก
       
       “ประเด็นนี้ก็ต้องทำความเข้าใจ ละครที่ไปฮิตที่โน่น ในบ้านเรามันก็ฮิตเหมือนกัน คือต้องดูว่าลักษณะที่ทำให้คนชอบนั้นมันอยู่ตรงไหน ผมมองว่าละครบางช่องนั้นเข้าใจรสนิยมคนไทยในภาพรวม เขาจึงทำละครในแบบนั้นอยู่ เขารู้ตลาด จะมองว่ามันเรียบง่าย ดูให้เป็นความบันเทิงของชีวิตก็ได้ คนเครียดมาทั้งวันดูละครก็อยากจะดูเรื่องที่ง่ายและสบายๆ จะให้มานั่งลึกซึ้งก็คงจะเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน”
       
       อีกจุดเด่นที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือหน้าตาของนักแสดง ที่ต้องยอมรับว่าแม้ดาราบางคนจะไม่ได้เป็นที่กล่าวขานมากนักในประเทศไทย แต่รับรองว่าหาก ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ หรือ บี้-สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว ตัดสินใจก้าวย่างเข้าไปในดินแดนมังกรเมื่อใด ต้องมีสาวๆ มาเรียงรายกรี๊ดกร๊าดอยู่รอบตัวเทียบชั้นดาราระดับซูเปอร์สตาร์ของจีนอย่างแน่นอน เพราะอย่างที่ทราบว่าหน้าตาของดาราไทยนั้นดูแปลกตาและมีเสน่ห์ในการดึงดูดอย่างเหลือเชื่อ
       
       อย่างคำบอกเล่าของ พิช-วิชญ์วิสิฐ์ หิรัญวงษ์กุล นักร้องนำวงออกัส และนักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่อง 'รักแห่งสยาม' ซึ่งแม้จะไม่เคยแสดงละครมาก่อน แต่ก็เป็นที่รู้จักของชาวจีนเป็นอย่างดี โดยปกติชาวหน้าตาของชาวจีนจะมีลักษณะเป็นอาตี๋ อาหมวย แต่ดาราไทยนั้นถือว่าแตกต่างออกไป เพราะคนไทยจะมีความคม มีความหลากหลายที่ผสมผสานกัน ก็เลยทำให้ดูแปลกและสวยงามสำหรับมุมมองของคนที่นั่น
       
       ขณะเดียวกัน ปัจจัยในเรื่องของฝีมือการแสดงและความสามารถด้านอื่นๆ ก็ถือเป็นเครื่องมัดใจที่สำคัญของชาวจีนเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะภาพยนตร์หรือละครที่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของคนเรา ดังนั้นการถ่ายทอดของตัวละครที่ออกมาจึงมีผลต่อความรู้สึกของผู้ชมที่นั่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พูดง่ายๆ หากเล่นดีก็คนก็ชอบมากขึ้น หากเล่นไม่ดีคนดูก็อาจจะไม่ชอบก็ได้
       
       ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ปัจจุบันนี้ละครไทยจะเกิดการขยายตัวอย่างมาก ดูอย่างจำนวนสถานีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดละครนั้นก็มีอยู่ด้วยถึง 3 แห่งทีเดียว คือสถานีโทรทัศน์อานฮุย สถานีโทรทัศน์เจียงซู และ สถานีโทรทัศน์กลางแห่งชาติจีน ช่อง 8 (CCTV8) ซึ่งส่วนมากจะเซ็นสัญญากับบริษัทแอ็กแซ็กท์ จำกัด เอาไว้
       
       ส่วนละครจากค่ายอื่นๆ ก็ใช่จะไม่มี เพราะคนที่นี่ เขาก็อาศัยดูผ่านเว็บไซต์ http://tv.tudou.com ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มที่ดีกว่าการฉายผ่านโทรทัศน์เสียอีก เพราะเว็บไซต์นี้มีการทำงานเหมือน Youtube.com ซึ่งคนไทยคุ้นเคยทุกประการ แถมยังรวบรวมละครไทยจากทุกสถานีโทรทัศน์มากกว่า 100 เรื่อง แถมยังมีการทำคำบรรยายภาษาจีน เพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้าสุดๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะมียอดผู้เข้าชมมากว่า 400 ล้านครั้งเลยทีเดียว
       
       “จริงๆ แล้วแฟนละครคนจีนเขาจะชอบรับชมละครผ่านทางเว็บไซต์ชมวิดีโอมากกว่าทางโทรทัศน์เยอะ เพราะสะดวก เข้าถึงได้ง่ายและที่สำคัญก็คือ ละครมีความหลากหลายกว่า คือมีทุกช่อง ทุกแนว เพราะอย่างในทีวีจะมีแต่ของแอ็กแซ็กท์เท่านั้น แต่อันนี้จะมีของค่ายอื่นๆ ด้วย โดยละครที่ดังสุดๆ ตอนนี้คือ ‘รักในม่านเมฆ’ (ฉายทางช่อง 7) แล้วก็ ‘วนิดา’ (ฉายทางช่อง 3) ถัดๆ มาก็เป็น เงาอโศก เมียแต่ง ค่าของคน ฯลฯ” พิรญาณ์กล่าว
       
       การรุกคืบของบริษัทบันเทิงไทย
       
       เมื่อช่องทางเปิดซะขนาดนี้ คำถามต่อมาก็คือ แล้วบริษัทผู้ผลิตละครในบ้านเราจะทำอย่างไรต่อกันดี เพราะอย่างที่ทราบว่า ถึงช่วงน้ำขึ้นก็ควรจะรีบตักเสีย ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่มีให้ตัก และถ้าจะว่าไปแล้ว ปัจจุบันนี้อาจจะเรียกว่าได้ละครไทยที่ฉายอยู่ในประเทศจีนเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ต่างละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากเป็นการดูผ่านเว็บไซต์ ไม่ได้มีการเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ เว้นแต่ของบริษัทแอ็กแซ็กต์ที่มีการทำสัญญาและฉายผ่านโทรทัศน์เท่านั้น
       
       ซึ่งในมุมของ นิพนธ์ ผิวเณร ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต บริษัทแอ็กแซ็กท์ จำกัด อธิบายว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่และค่อนข้างถือว่าท้าทายกับวงการตลาดบ้านเรามาก เพราะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เนื่องจากการทำตลาดละครนั้นมีปัจจัยมากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นตัวเนื้อหาละครเองที่จะค่อนข้างดีและสนุกถูกใจคนไทยก่อน ขณะเดียวกัน ก็ยังเรื่องการติดต่อธุรกิจกับบริษัทในประเทศจีน รวมไปถึงปัจจัยทางด้านการเมือง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น ณ วันนี้จึงเปรียบเสมือนผลพลอยได้เท่านั้น
       
       “ส่วนใหญ่แล้วเอเยนซี่เขาก็จะมาดูว่าเรื่องไหนที่เหมาะที่จะฉายบ้านเขามากกว่า แล้วรัฐบาลจีนไม่ต้องการให้เกาหลี และญี่ปุ่นมีบทบาทมากในการเอาละครหรือเพลงเข้าไปฉายในเมืองจีน ดังนั้นโควตาละครของเมืองไทยมันก็เลยเยอะขึ้น อย่างที่จีนจะมีช่องหนึ่งที่ทำไว้สำหรับละครไทยโดยเฉพาะ นี่ก็อีกเหตุผลทำไมหนังไทยเลยได้ไปฉายมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับการโปรโมตละครไทย แต่ในเชิงธุรกิจแล้ว ผมคิดว่ายังไม่สามารถเพิ่มให้เป็นประเด็นหรือเป็นโจทย์ในการคิดงานได้แต่ว่าในการสร้างชื่อเสียงหรือการเผยแพร่
       
       “แต่อย่างว่าของแบบนี้ มันรายละเอียดเยอะ ทั้งอุปสรรคเรื่องการสื่อสาร เรื่องบทภาษา รวมถึงค่าแรงต่างๆ แล้ว ตลาดคนดูที่ไม่เหมือนกันของคนไทยกับจีนอีก ฉะนั้นวิธีการง่ายสุดที่ตอนนี้เขาทำ ก็จะเป็นการดูว่าเรื่องไหนที่เขาสนใจสุดเขาก็จะเอาไปฉาย เราก็ทำของเราไป ในการสร้างไม่ได้เป็นการตั้งเป้าว่า เราจะพุ่งไปตลาดจีน ไม่ใช่เลย เพราะจริงๆ แล้ว เงินมันไม่ได้เยอะเพียงแต่ว่างานเราออกไปเยอะ ซึ่งต่อตอนมันไม่ได้ทำเงินมากเลย แค่มีนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง ตรงนี้เขาก็ซื้อเราเป็นตอนแต่ตอนละไม่เท่าไหร่ มันก็ไม่ได้มาก เราจึงคิดว่าทำตลาดไทยเป็นหลัก เพราะว่าไปฉายแล้วไม่ใช่ได้ตัวเลขที่ใหญ่โตมาก”
       
       จากความยากเช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทต่างๆ ที่มีละครอยู่ในมือและกำลังได้รับนิยม (ผ่านการดูในเว็บไซต์) ถึงไม่ได้ลงมาเล่นในสนามนี้มากนัก อย่างเช่น สมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 3 ที่ระบุว่า ทุกวันนี้ทางสถานีไม่ได้มีโครงการหรือกิจกรรมอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้แม้แต่น้อย รวมทั้งไม่ได้คาดหวังจะเข้าไปเจาะตลาดในประเทศจีนเลย
       
       “เราทำละครก็เพื่อคนในประเทศ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันไปดังที่โน้นได้ยังไง และเราก็ไม่ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการทำตลาดจีนด้วย จึงไม่รู้ว่าเขานิยมอะไรยังไง ก็แปลกใจเหมือนกันว่ามันเป็นไปได้ยังไง เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราทำเพื่อให้ได้ตลาดในบ้านเรา”
       
       กระบวนการต่อยอด
       
       อย่างไรก็ดี ก็ใช่ว่าสุดท้ายแล้วเรื่องนี้จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะตัวอย่างจากประเทศในเอเชียก็มีให้เห็นเต็มไปหมด ซึ่งหากไปพลิกโมเดลอย่างของเกาหลี หรือญี่ปุ่นก็จะเห็นว่า เบื้องหลังความสำเร็จนั้นมีที่มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลกันทั้งนั้น
       
       เพราะฉะนั้นหน้าที่ตรงนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะของผู้รับผิดชอบโดยตรงก็ควรจะต้องทำหน้าที่ส่งเสริม ซึ่งในเรื่องนี้ ปรารพ เหล่าวานิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแนวทางพัฒนาและส่งเสริมละครไทยสู่ตลาดจีนในเบื้องต้นว่า เท่าที่ดูแล้วละครไทยมีโอกาสเติบโตที่เมืองเซี่ยงไฮ้เยอะ เพราะฉะนั้นเวลามีเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ทางรัฐบาลก็จะถือโอกาสนำละครไทยไปร่วมออกบูทเพิ่มขึ้นด้วย เพราะถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนต่างชาติได้รับรู้ถึงศักยภาพของคนไทย
       
       “ในปีต่อไปเราจะเอาปริมาณภาพยนตร์ไปโชว์มากยิ่งขึ้น จากคราวที่แล้วเราจัดเป็นเรื่องๆ ก็จะเปลี่ยนจัดเป็นประเภทให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นละครประเภทครอบครัว ละครประเภทดราม่า ซี่รี่ส์ สรุปโดยรวมเรามีแผนพัฒนา 2 แผน หนึ่งในเรื่องของคณะกรรมการและวีดีทัศน์แห่งชาติเราจะมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์เกิดขึ้น ในกองทุนจะมีการให้เงินสนับสนุนกับละครที่ส่งเสริมวัฒนธรรม สามารถสร้างซื้อเสียงให้ประเทศไทย และสองจัดเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อโปรโมทภาพยนตร์และละครไทย แต่ขณะนี้เรายังไม่ได้รับงบประมาณ มีเพียงกองทุนซึ่งกำลังของบประมาณจำนวน 200 ล้านบาท”
       
       ที่สำคัญเรื่องไม่ใช่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้นที่จะต้องใส่ใจ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตเองก็ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย โดยนิพนธ์มองว่า สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก่อนเป็นลำดับแรกก็คือ การสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักแสดงชาวไทยกับผู้ชมให้ได้มากที่สุด จากนั้นก็อาจจะมีการขยายไปสู่การร่วมมือระหว่างบริษัทไทยกับจีน เพื่อต่อยอดธุรกิจออกไปให้ไกลกว่า
       
       “ตอนนี้มันเป็นระยะเริ่มแรกที่จะปลูกรากฐาน โดยการใช้นักแสดงของไทยเป็นตัวนำหลัก คิดว่าตอนนี้ก็ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในอนาคตจะมีการรวมตัวกันระหว่างไทย-จีน นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มันก็อาจจะเป็นไปได้ ซึ่งก็ต้องมาดูในรายละเอียด ซึ่งทางผมคิดว่า ก็อาจจะมี แต่มันยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะทางจีนเขาก็ส่งบทมาให้อยู่ว่าอยากจะให้ บี้ หรือป้องเล่น บทแบบนี้ จะมีการทำเป็นยังไงจะถ่ายที่ไหน มันทำได้ไหม ซึ่งมันต้องดูรายละเอียดที่เยอะมาก ยังไม่เกิดขึ้นง่ายๆ เชื่อว่าในอนาคตอาจจะมีก็ได้ มันต้องใช้เวลา เพราะเงินมันก็มหาศาลเหมือนกันในการลงทุน”
       .........
       
       แม้ตอนนี้อาจจะกล่าวได้ว่า ละครไทยนั้นกำลังบูมสุดๆ ในประเทศจีน แต่การจะบอกว่าสุดท้ายเราจะสามารถหยิบชิ้นปลามัน และช่วงชิงเอาเม็ดเงินจากตรงนี้กลับเข้าประเทศได้หรือไม่นั้น คงเป็นจะเป็นคำตอบที่ยากเหลือเกินเพราะเอาเข้าจริงแล้ว ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่า ผู้ผลิตและผู้มีอำนาจรัฐออกมาเคลื่อนไหวเชิงรุกให้เห็นมากนัก
       
       สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ ก็คงจะต้องรอผู้ที่เห็นโอกาส และพาอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ไทยตรงนี้ ให้ไปขยายตัวมากกว่าที่อยู่ ไม่เช่นนั้นสุดท้ายละครก็จะเป็นได้เพียงแค่ธุรกิจที่ทำกันเอง ดูกันเองในประเทศ บวกกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและกัมพูชาก็เท่านั้นเอง
       >>>>>>>>>>>
       ………
       เรื่อง : ทีมข่าว CLICK

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000099920

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.571 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 เมษายน 2567 14:35:51