[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 07:50:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 67 68 [69] 70 71 ... 1127
1361  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - จากมุมมองของนักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัย 'ไทยพร้อมเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ UN เมื่อ: 02 มีนาคม 2567 02:52:18
จากมุมมองของนักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัย 'ไทยพร้อมเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ UN หรือยัง'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-02 01:45</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>ภาคประชาสังคม จัดงาน "ไทยกับเก้าอี้คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มุมมองจากสถานการณ์การคุ้มครองแรงงานและประชากรข้ามชาติ" พร้อมส่งข้อเสนอถึงรัฐบาลไทย</li>
<li>การปาฐกถาจาก 'วิทิต มันตาภรณ์' ฉายภาพรวมปัญหาด้านการคุ้มครองสิทธิ แรงงานข้ามชาติ แรงงานไทย ผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ และข้อเสนอถึงรัฐไทยจากมุมมองนักนิติศาสตร์</li>
<li>ภาคประชาสังคมอ่านแถลงการณ์ข้อเสนอถึงรัฐไทย หนุนทางการให้สัตยาบัน ILO 87 และ 98 เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มสามารถตั้งสหภาพฯ และรวมตัวต่อรองกับนายจ้าง พัฒนาระบบคัดกรองแห่งชาติ และมีแผนรับมือสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา </li>
</ul>
</div>
<p> </p>
<p>1 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (1 มี.ค.) ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย หรือ FCCT กรุงเทพฯ เครือข่ายองค์การด้านประชากรข้ามชาติ (MGW) องค์กร "The Solidarity Center" มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ร่วมด้วยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ไทยแลนด์ ร่วมจัดงาน "ไทยกับเก้าอี้คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มุมมองจากสถานการณ์การคุ้มครองแรงงานและประชากรข้ามชาติ"</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FHRDFThailand%2Fvideos%2F1555195645274818%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>กำหนดการภายในงานจะมีการปาญกฐาหัวข้อ "ไทยและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อเจนด้าภาคสอง ?" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานเสวนาหัวข้อ "สถานการณ์การคุ้มครองแรงงานและผู้อพยพ เมื่อไทยประกาศลงชิงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ" และการอ่านแถลงการณ์ข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลไทย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">บทบาทหน้าที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</span></h2>
<p>เพ็ญพิชชา จรรย์โกมล จากมูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา พิธีกร ระบุว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 23 ส.ค. 2566 เริ่มมีการรับสมัครสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะมีวาระตั้งแต่ พ.ศ. 2568-2569 จะมีการเลือกตั้งในเดือน ต.ค. 2567 สำหรับบทบาทของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ มีบทบาทสอดส่องตรวจตราการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงการสร้างบรรทัดฐานส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ก่อนหน้านี้ ประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2553 จนถึง 2556 แต่ปี 2556-2560 ประเทศไทยมีการสมัครไว้แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในคณะมนตรีชุดนี้ และร่วม 10 ปีที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีชุดนี้ การลงสมัครเลือกตั้งคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนของไทย แสดงให้เห็นเจตจำนงของไทยที่ต้องการพัฒนาด้านนี้ แต่ในด้านสิทธิแรงงาน ผู้ลี้ภัย บุคคลไร้รัฐ และแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทยพร้อมเข้าเป็นสมาชิกหรือยัง สามารถร่วมหาคำตอบได้ในงานนี้ </p>
<p>เวลา 17.45 น. ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ไทยและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อเจนด้าภาคสอง?"</p>
<p>วิทิต กล่าวปาฐกถาระบุว่า ก่อนหน้านี้ เขาเคยเรียกร้องให้ทางการไทยไม่มีการดำเนินคดีอาญากับเยาวชนที่แสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ 280 ราย หรือหากต้องใช้กฎหมาย ขอให้ใช้กฎหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายอาญา </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53561839943_30dcfecb09_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">วิทิต มันตาภรณ์</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไทยและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อเจนด้าภาค 2</span></h2>
<p>วิทิต ระบุว่า เขาจะขอแบ่งหัวข้อการพูดออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ 1. กลุ่มผู้ลี้ภัย 2. ผู้ไร้รัฐไร้สัญชาติ 3. แรงงานไทย และ 4. แรงงานข้ามชาติ และแต่ละกลุ่มจะมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเพื่อปูพื้น ประกอบด้วย กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายและการปฏิบัติในไทย และอุปสรรคและการแก้ไขเพื่ออนาคต</p>
<p>วิทิต กล่าวว่า สำหรับกลุ่มที่ 1 ผู้อพยพลี้ภัย หรือผู้ที่หลบหนีภัยในการประหัตประหาร หรือภัยสงครามเข้ามา เมื่อมองใน 3 หัวข้อ คือ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายการปฏิบัติในประเทศ และอุปสรรคนั้น ต้องบอกว่าไทยไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาผู้ลี้ภัย ไทยเป็นภาคีอนุสัญญา 7 ฉบับ ใช้เพื่อคุ้มครองผู้อพยพลี้ภัยได้บ้าง เช่น มาตรา 13 อนุสัญญาว่าด้วยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กำหนดว่าห้ามส่งคนต่างด้าวออกจากประเทศพลการ รวมถึงผู้อพยพลี้ภัย </p>
<p>นอกจากนี้ ประเทศไทยเคยให้คำมั่นสัญญาช่วงสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 8 ข้อ หนึ่งในนั้นคือการพยายามกลั่นกรองและพัฒนากระบวนการคัดกรองผู้ลี้ภัย (NSM) เพื่อให้เขาอยู่ต่อได้ ถ้าเขาผ่านกระบวนการ </p>
<p>อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ระบุว่า เมื่อมาถึงกระบวนการภายในประเทศ สิ่งที่มากระทบมากที่สุด คือการใช้กฎหมายคนเข้าเมืองกับผู้ที่เข้ามา ซึ่งบางครั้งยืดหยุ่นให้เข้ามาได้ แต่บางครั้งก็ไม่ ซึ่งกฎหมายคนเข้าเมืองมีปัญหาทั่วโลก เนื่องจากกฎหมายนี้สันนิษฐานว่า ผู้ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเป็นผู้ที่รัฐต้นทางปกป้องไว้ก่อน และเมื่อถูกจับจะถูกส่งกลับ แต่กฎหมายนี้มีปัญหาเมื่อถูกบังคับใช้กับผู้อพยพลี้ภัยที่รัฐต้นทางไม่ได้ปกป้อง ซึ่งต้องมาทบทวนว่าจะทำยังไง</p>
<p>วิทิต มองว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นคือการมี พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมาน และบังคับสูญหาย โดยมาตรา 83 กำหนดว่า ห้ามส่งใครก็ตามกลับประเทศต้นทางที่อาจจะเป็นภัยต่อชีวิตของเขา ซึ่งอันนี้ต้องบังคับใช้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎหมายอื่นๆ มีหลายส่วนที่ขจัดการเลือกปฏิบัติเช่นกฎหมายการศึกษา ซึ่งเปิดให้กับเด็กอพยพลี้ภัย ถึงแม้ว่าหลวมไปหน่อยในทางปฏิบัติ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชงข้อเสนอช่วยผู้ลี้ภัย 4 กลุ่ม</span> </h2>
<p>สำหรับข้อเสนอ วิทิต แบ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ 1. กลุ่มผู้ลี้ภัยเดิม 9 หมื่นคน ที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา เขาขอชื่นชมว่า ประเทศไทยทำงานได้ดีพอสมควร แต่ขอให้ดีขึ้นอีก ให้ผู้ลี้ภัยเดิมได้เรียนอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เอกสารต้องชัดและรับรองเอกสารในการศึกษาด้วย </p>
<p>วิทิต เสนอให้ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้สามารถทำงานได้ ทำให้เขาต้องแอบทำงาน และเรียกร้องให้เขามีโอกาสได้ทำงาน เพราะตอนนี้เราขาดแรงงาน เขาอยู่เฉยๆ มา 30 ปีแล้ว และคนที่ได้ผลประโยชน์จริงๆ คือคนในชุดยูนิฟอร์ม</p>
<p>2. ผู้ลี้ภัยจากการหนีภัยสงคราม การทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบของกองทัพพม่า หลังจากรัฐประหารเมื่อปี 2564 ตามชายแดน วิทิต มีข้อเสนอ 3 อย่าง ให้เขาเข้ามาชั่วคราวอย่างน้อย 2. ไม่ผลักดันกลับ และ 3. ต้องเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน เช่น เรื่องข้าว น้ำ และการสาธารณสุข เป็นต้น</p>
<p>3. กลุ่มผู้ลี้ภัยกัมพูชา วิทิต เสนอว่า ไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย สามารถอาศัยในประเทศไทยชั่วคราว และต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน และวิทิต ระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ที่รัฐบาลไทยเคยผลักดันกลับไปประเทศต้นทาง ตอนนี้ถูกควบคุมตัวในเรือนจำ </p>
<p>4. ผู้ลี้ภัยเมืองซึ่งมีหลายสัญชาติ กลุ่มนี้อยู่ได้ชั่วคราวในทางปฏิบัติ และตอนนี้ประเทศไทยกำลังบังคับใช้กฎหมายคัดกรองแห่งชาติ หรือ NSM ให้เป็นผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง และเกณฑ์ล่าสุดคือ ห้ามแรงงานข้ามชาติเข้ากระบวนการนี้ ต้องเป็นคนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นเท่านั้น ดังนั้น วิทิต ระบุว่าอยากให้บังคับใช้อย่างเร่งด่วน และอยากให้มีการทำงานประสานงานร่วมกันกับ ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ให้สัญชาติ ผู้ไร้รัฐ และบุคคลไร้สัญชาติ ที่เกิดในไทย </span></h2>
<p>อาจารย์จากคณะนิติฯ จุฬาฯ ระบุว่า สนธิสัญญาเกี่ยวกับคนไร้รัฐ และไร้สัญชาติ มี 2 ฉบับ คือเมื่อปี 1954 และ 1961 ไทยไม่ได้เป็นภาคี และภายใต้สนธิสัญญานี้ใครที่ไร้สัญชาติไร้รัฐ จะต้องได้สัญชาติของรัฐที่เขาเกิด แต่ไทยไม่ได้เป็นภาคี อย่างไรก็ดี ไทยเป็นภาคีในอนุสัญญา 7 ฉบับจาก 9 ฉบับ ซึ่งช่วยในเรื่องการศึกษาอย่างไม่เลือกปฏิบัติ แต่ประเด็นปัญหาคือ ไทยมีกฎหมายเยอะเหลือเกิน เช่น กฎหมายสัญชาติ กฎหมายคนเข้าเมือง และอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องแต่มีแนวโน้มที่ดี มีแคมเปญรณรงค์ให้สัญชาติ ซึ่ง 3 ปีก่อน มีสถิติล่าสุดคือประมาณ 5 แสนคนในไทยไม่มีสัญชาติ</p>
<p>ข้อเสนอคือ 1. เด็กที่เกิดในไทยที่ไม่มีสัญชาติ ง่ายที่สุดคือให้สัญชาติไทย 2. กลุ่มที่ไม่ได้เกิดในไทย แต่ไร้สัญชาติ ให้สถานะ ‘residency’ เพื่อให้เขาทำงานได้ และอย่าใช้กฎหมายคนเข้าเมือง 3. สภาผู้แทนราษฎร เพิ่งรับหลักการกฎหมายเรื่องสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ที่ตกหล่นจะต้องได้สัญชาติไทย และนอกจากนั้น สภาฯ จะเป็นปากเสียงและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อพวกเขาได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ต้องช่วยแรงงานนอกระบบ และแรงงานแพลตฟอร์ม</span></h2>
<p>วิทิต ระบุว่า เราเป็นภาคีอนุสัญญาแรงงาน 20 ฉบับ จาก 190 ฉบับ ขององค์การแรงงานสากล หรือ ILO และใน 190 ฉบับ จะมี 8 ฉบับ จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่เราเป็นภาคี 6 จาก 8 ฉบับ ใน 8 ฉบับ มีห้ามบังคับใช้แรงงาน ต้องยกเลิกบังคับใช้แรงงาน ห้ามเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ปกป้องคุ้มครองแรงงานเด็ก ป้องกันเอาเด็กมาเหยื่อโสเภณี และอื่นๆ </p>
<p>วิทิต ระบุต่อว่า ที่ไม่เป็นภาคี ซึ่งจะได้ยินอีกเรื่อง freedom association หรือการสมาคม ตั้งสหภาพแรงงาน และการร่วมเจรจา นี่คือสนธิสัญญา 87 และ 98 ฉบับ</p>
<p>อาจารย์คณะนิติฯ ระบุว่า ข้อเสนอคือกฎหมายคุ้มครองแรงงานต้องครอบคลุมกลุ่มที่เป็นแรงงานนอกระบบ หรือ informal economy ควรต้องมาอยู่ในกรอบการคุ้มครอง อย่างแรงงานภาคการเกษตร หรือแรงงานยุคใหม่คือแรงงานแพลตฟอร์ม ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีสิทธิการรวมกลุ่ม </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ต้องคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานบนดินหรือใต้ดิน</span></h2>
<p>วิทิต ระบุว่า ไทยเป็นภาคี 6 ฉบับจาก 8 ฉบับตามที่กล่าวข้างต้น แต่เมื่อพูดถึงสนธิสัญญาระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ เราไม่ได้เป็นภาคี อย่างไรก็ดี ไทยร่วมกับ Global Compact on Migration และที่สำคัญ ไทยมีข้อตกลงร่วมกับ MOU ในประเทศข้างเคียง ซึ่งเป็นการเช็กการเข้า-ออกของแรงงานข้ามชาติจากประเทศข้างเคียงทั้งหลาย ซึ่งอยากให้มันคล่องมากขึ้น ลดกระดาษ และกระบวนการราชการ ซึ่งทำให้การขับเคลื่อนประเด็นเหล่านี้ยากมากยิ่งขึ้น</p>
<p>อาจารย์จุฬาฯ ระบุต่อมาว่า แรงงานถูกกฎหมาย และแรงงานผิดกฎหมาย ต้องได้รับการคุ้มครองปกป้องจากการเอารัดเอาเปรียบเขา อย่าใช้กฎหมายเรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตามต้องปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ทำร้ายเขาไม่ได้ เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ไม่ได้ และต้องจ่ายค่าแรงเทียบเท่ากัน ไม่เกี่ยวกับผิดหรือถูกกฎหมาย </p>
<p>วิทิต อยากเสนอให้ MOU คล่องตัวมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่เรา ตลาดของเราต้องการแรงงานมากในอนาคต </p>
<p>สุดท้าย วิทิต เสนอว่า มาตรฐานสากลโดยเฉพาะสนธิสัญญาสากลเป็นสิ่งที่สำคัญ และคำมั่นสัญญาที่ไทยน่าจะให้คือ การเป็นภาคีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะได้ชัดขึ้นเรื่องมาตรฐาน และมีการมอนิเตอร์เรื่องความโปร่งใส 2. การบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ดี และกฎหมายที่มันแย่ อย่าบังคับใช้นัก กฎหมายอาญาอื่นๆ และกฎหมายคนเข้าเมือง 3. ต้องมีการร่วมมือระหว่างกระทรวงทั่งหลาย 4. การร่วมมือกับ NGO และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 5. การมีส่วนร่วมของผู้อพยพลี้ภัย คนไร้สัญชาติ แรงงาน และแรงงานข้ามชาติ ไทยต้องมองว่าเขามีสิทธิต่างๆ ไม่ใช่ถูกมองเป็นวัตถุ และถูกเอารัดเอาเปรียบ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">MGW อ่านแถลงการณ์ข้อเสนอแนะถึงรัฐไทย</span></h2>
<p>เมื่อเวลา 19.50 น. อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน องค์กรด้านประชากรข้ามชาติ หรือ Migrant Working Group - MGW อ่านแถลงการณ์ข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลไทย 4 ประการ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53562087720_62677fc3af_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อดิศร เกิดมงคล</span></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รายละเอียดแถลงการณ์ </span></h2>
<p style="text-align: center;"><strong>แถลงท่าทีและข้อเสนอแนะของเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติต่อรัฐบาลไทยก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong>1 มีนาคม 2567</strong></p>
<p>ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 รับทราบการลงสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติของประเทศไทย (United Nations Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025-2027 (พ.ศ. 2568-2670) ซึ่งมีกำหนดเลือกตั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2567 โดยในกระบวนการสมัครนั้นตามข้อมติสหประชาชาติที่ 60/251 ไทยจัดทำเอกสาร คำมั่นโดยสมัครใจที่จะดำเนินการให้เกิดความก้าวหน้าในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ</p>
<p>คำมั่นโดยสมัครใจของไทยจำนวน 10 ข้อ พบว่าเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน อยู่หลายกรณี เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน คือ อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families : ICRMW) การพัฒนาแก้ไข กฎหมาย หรือนโยบายให้มีความสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี การปฏิบัติตามข้อแนะนำของ สมาชิกองค์การสหประชาชาติในกระบวนการจัดทำรายงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ตามกระบวนการพิเศษ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ และกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review : UPR) การ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการส่งเสริมแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในระยะที่ 2 ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านการคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย ยังมีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติและครอบครัว อาทิ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทยในปัจจุบันยังคงปิดกั้นเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการสมาคม โดยไม่อนุญาตให้แรงงานข้าม ชาติมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม อันไม่สอดคล้องต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR) ที่ไทยเป็นรัฐภาคี ความพยายามในการ แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง ซึ่งมีแนวโน้มว่าแรงงานประมงจะเผชิญกับความเสี่ยงของการเป็นแรงงานบังคับมากขึ้น การให้มีเด็กเข้าสู่กระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีอันตราย เช่นในอุตสาหกรรมประมง การเลือกปฏิบัติด้านการเข้าถึงด้าน สิทธิประโยชน์ทางสังคมของกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านและภาคเกษตร และความไม่ชัดเจนด้านการคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัย โดย เฉพาะที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความไม่สงบทางการเมืองทำให้มีนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้ได้รับผลกระทบทางการขัดแย้งต้อง หนีเข้ามายังชายแดนไทยและมีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีตามกฎหมายคนเข้าเมืองและการบังคับส่งกลับโดยไม่สมัครใจ อันขัดต่ออนุสัญญาต่อต้านกาทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ไทยเป็นรัฐภาคี ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยในภาวะสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเครื่องชี้วัดความความตั้งใจในการจะปกป้องคุ้มครองและการยึดมั่นต่อหลักสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย และความเชื่อมั่นของประชาคมโลกต่อการที่ประเทศไทยจะมีความเหมาะสมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>ทางเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และภาคีภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน มีข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยในการพัฒนามาตรการในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยดังนี้</p>
<ol>
<li>พิจารณารับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย ได้แก่ การให้การรับรองอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว, อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย, อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 98 การรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกัน และเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนากฎหมายภายในประเทศให้รองรับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัย</li>
<li>ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มียุทธศาสตร์การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ การมีแผนรองรับผลกระทบสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า</li>
<li>พิจารณาดำเนินการทบทวนกลไกการคัดกรองบุคคลที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ ซึ่งยังพบปัญหาการต้องให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องการได้รับการคุ้มครองจากประเทศไทยต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายคนเข้าเมืองก่อน ซึ่งถือว่าทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำซ้อน รวมถึงการพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อบริหารจัดการและกำหนดสถานะให้แก่ผู้ลี้ภัยและแสวงหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ</li>
<li>จัดทำกลไกการคัดกรองก่อนการผลักดันส่งกลับผู้อพยพที่อาจจะมีความเสี่ยงต่ออันตรายต่อชีวิตและภัยการประหัตหาร เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการผลักดันส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพไปเผชิญภัยอันตรายต่อตนเอง </li>
</ol>
<p>ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกันและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาคมโลกว่า ประเทศไทยมีความจริงใจและยืนยันในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่ม และเป็นหลักประกันสำหรับแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ และประชาชนไทย ว่าจะได้รับการคุ้มครองและดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อให้ประเทศไทยได้ยืนอยู่ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิ
 </p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/hrdf" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">HRDF[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/the-solidarity-center" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">The Solidarity Center[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108275
 
1362  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 1 ปี พรบ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ (1) : ตร.-อัยการ-ปกครอง สะท้อนปัญหา หลังใช้กฎหมายมา 1 ปี เมื่อ: 02 มีนาคม 2567 01:17:42
1 ปี พรบ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ (1) :  ตร.-อัยการ-ปกครอง สะท้อนปัญหา หลังใช้กฎหมายมา 1 ปี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 17:45</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ตัวแทนจากตำรวจ อัยการและฝ่ายปกครอง รวมถึงกรมคุ้มครองสิทธิแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานและอุ้มหาย หลังจากบังคับใช้มาแล้ว 1 ปี ยังเจอปัญหาระบบรับแจ้งจับกุมไม่เหมือนกัน การตีความกฎหมายที่ ยังต้องจัดหาอุปกรณ์กล้องและระบบเก็บไฟล์เพิ่มเติม ฝั่งอัยการคนที่สืบสวนได้มีไม่พอ</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>9 เดือน หลังพ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ บังคับใช้ พบ 4 หน่วยงานยังไม่ฟ้องใคร แม้เข้าข่ายผิดเพียบ</li>
<li>นักกฎหมายชี้กรณี ศาล รธน.ปัดตก พ.ร.ก.เลื่อนพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานรัฐบาลต้องรับผิดชอบ</li>
</ul>
</div>
<p>29 ก.พ.2567 ที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ จัดเสวนาวิชาการชุด “ 1 ปี พ.ร.บ.ซ้อมทรมานฯ ข้อท้าทายและความคาดหวัง” จัดโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสถาบันนิติวัชร์ ของสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม มูลนิผสานวัฒนธรรม สมาคมเพื่อการป้องกันการทรมานและ TIJ ซึ่งในงานแบ่งการเสวนาเป็นสามช่วง โดยมีหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากและทำงานเกี่ยวข้องการป้องกันการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย มาร่วมในทั้งสามเวที</p>
<p>สำหรับเวทีแรกเป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว โดยมีตัวแทนจากฝ่ายอัยการ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม</p>
<p>นรีลักษณ์  แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  กล่าวถึงการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหายที่ผ่านมาแล้ว 1 ปีว่า ตั้งแต่ก่อนกฎหมายจะประกาศใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อร่างกฎระเบียบต่างๆ เพื่อรอรองรับการใช้กฎหมายและเดินสายคุยกับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้เพื่อทำความเข้าใจและทำให้หน่วยงานภายใต้กฎหมายมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อถึงวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ก็มีการตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายขึ้นมาและตั้งอนุกรรมการชุดต่างๆ ตามมาอีก</p>
<p>โดยอนุกรรมการ 2 ชุดแรกเป็นเรื่องการออกกฎหมายลำดับรองระเบียบต่างๆ  ที่เกี่ยวกับการบันทึกเสียงและภาพวิดีโอระหว่างการจับกุมควบคุมตัวที่ประกาศใช้ไปแล้วเมื่อ 11 ก.ย.2566 ส่วนชุดที่สองเป็นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายจากการซ้อมทรมานที่คาดว่าจะประกาศใช้ในวันที่ 20 มี.ค.2567 ซึ่งการออกกฎหมายลำดับรองเหล่านี้มีขึ้นเพื่อเป็นการสร้างกลไกขึ้นมารองรับ</p>
<p>นรีลักษณ์กล่าวต่อว่าภายหลังจากกฎหมายเริ่มบังคับใช้แล้วทางกรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนมาแล้ว 13 กรณี แบ่งเป็นซ้อมทรมาน 6 กรณี การกระทำที่โหดร้ายย่ำยีศักดิ์ศรี 7 กรณี แต่ยังไม่มีกรณีอุ้มหายร้องเรียนเข้ามา ทั้งนี้หน่วยงานที่จะต้องดำเนินการต่อเพื่อติดตามข้อเท็จจริงคือ ตำรวจ อัยการ กรมสอบสวนคดีพิเศษและฝ่ายปกครอง  และยังมีกรณีที่ขอให้ตรวจสอบการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว 316 คดี แต่เมื่อทำการตรวจสอบแล้วกรณีส่วนใหญ่ก็เป็นการตายตามธรรมชาตีส่วนน้อยที่เป็นการตายผิดธรรมชาติที่จะต้องมีการดำเนินการต่อ</p>
<p>ทั้งนี้ ผอ.กองสิทธิมนุษยชนฯ ยังกล่าวถึงปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายมีอยู่มากและเป็นเรื่องของการตีความกฎหมายคือการกระทำแบบใดที่นับเป็นการควบคุมตัว และเมื่อเป็นการควบคุมตัวแล้วต้องทำการบันทึกวิดีโอและเสียงหรือไม่เพราะกฎหมายคลุมไปถึงพนักงานตรวจแรงงาน เทศกิจ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพราะหน่วยงานเหล่านี้ต่างก็มีอำนาจตามกฎหมายในการจับกุมควบคุมตัวเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐในบางพื้นที่ยังไม่ได้รับรู้ถึงเนื้อหาของกฎหมาย หรือเมื่อเกิดการจับกุมแล้วแจ้งแค่ฝ่ายปกครองหรืออัยการแค่ฝ่ายเดียวทำให้สถิติการจับกุมจากทั้งสองหน่วยงานที่ต้องรับแจ้งการจับกุมตามกฎหมายมีไม่เท่ากัน</p>
<p>นรีลักษณ์ยังกล่าวถึงปัญหาที่ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ เองก็ไม่มีอำนาจสืบสวน แต่เมื่อรับเรื่องมาแล้วก็ต้องลงสืบเบื้องต้นโดยที่เจ้าหน้าที่ของกรมไม่มีประสบการณ์หรือความรู้มากพอในการสืบสวนสอบสวนเหตุที่เกิดด้วย</p>
<p>พ.ต.อ.วีร์พล ใหญ่อรุณ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักกฎหมายและคดี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่าตำรวจถือเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวกับการจับกุมควบคุมตัว การบังคับใช้กฎหมายนี้ถือว่าค่อนข้างฉับพลันสำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ทางหน่วยงานก็มีการเตรียมความพร้อมในหลายส่วน ทั้งการให้ความรู้ ฝึกอบรมกำลังพลและจากการประเมินเจ้าหน้าที่ในบางพื้นที่ก็มีความเข้าใจและใช้ได้ดี</p>
<p>ตัวแทนจาก ตร. กล่าวถึงปัญหาด้วยว่า เมื่อกฎหมายบังคับให้แจ้งอัยการและฝ่ายปกครอง รวมถึงให้บันทึกภาพและเสียงตลอดการจับกุมจนถึงปล่อยตัว จึงต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ฉุกละหุกมาก แม้ว่าเดิมทีจะมีการเตรียมอุปกรณ์ไว้บ้างแล้วแสนกว่าเครื่องแต่ไม่ได้ใช่เพื่อบันทึกการจับกุมโดยตรงก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ในภารกิจนี้ทันที ทำให้ต้องสั่งถึงหน่วยต่างๆ ใช้งบของตนจัดซื้อกันเองไปก่อนซึ่งรวมถึงฮาร์ดไดรฟ์ขนาดประมาณ 5 เทระไบต์สำหรับเก็บรวบรวมไฟล์เอาไว้ในแต่ละหน่วย</p>
<p>พ.ต.อ.วีร์พล กล่าวว่าตอนนี้มีการตั้งงบประมาณไว้ 400 ล้านบาทเพื่อไว้ซื้อกล้องอีกจำนวน 40,000 กว่าตัว และอีก 91 ล้านบาทเพื่อซื้อจัดซื้อกล้องในภารกิจปราบจลาจล ซึ่งมีการประกวดราคาเมื่อธันวาคม 2566 ทั้งนี้ที่ต้องจัดซื้อเพราะอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ตอนนี้ระบบก็ยังไม่เสถียรมากนัก นอกจากนั้นยังต้องทำระบบคลาวด์ที่เมื่อเจ้าหน้าที่ถ่ายแล้วสามารถอัพโหลดเข้าศูนย์ตามระเบียบของกระทรวงยุติธรรมเพื่อใช้ในกรณีต้องเรียกดูตรวจสอบการจับกุมกรณีมีข้อร้องเรียนในการจับกุมเข้ามาแต่ในส่วนนี้ได้งบมาจาก ปปส.มา 45 ล้านบาทได้ดำเนินการและมีความพร้อมในการใช้งานแล้วแต่ก็ยังมีความเป็นห่วงเรื่องรูปแบบในการอัพโหลดไฟล์เข้าระบบ แต่ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมก็ทำระบบสำรองไว้เป็นอีกส่วน</p>
<p>แต่นอกจากส่วนที่มีการจัดซื้อไปแล้วก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องของงบประมาณและการซ่อมบำรุงที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องใช้ทั้งหมดเท่าไหร่</p>
<p>นอกจากนั้นทาง ตร.เองยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองโดยต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายรอบเพราะเมื่อ ยธ.ออกระเบียบกลางมา ตร.ก็ต้องออกคำสั่งตามเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบกลางของ ยธ.</p>
<p>ทั้งนี้พ.ต.อ.วีร์พลกล่าวว่าในเรื่องของการแจ้งหลังจับกุมยังคงมีปัญหาเรื่องระบบการแจ้งที่หน่วยงานที่ต้องรับแจ้งอย่างฝ่ายปกครองและอัยการใช้ระบบแตกต่างกัน ที่ฝ่ายปกครองมีระบบหน้าเว็บไว้รับแจ้งที่เรียกว่า Arrest DOPA แต่ของอัยการยังให้ใช้วิธีส่งอีเมล์อยู่</p>
<p>นรีลักษณ์ตอบเสริมในเรื่องระยะเวลาการเก็บไฟล์วิดีโอและเสียงว่าถ้าเป็นการจับกุมควบคุมตัวที่ไม่ได้มีเรื่องที่น่าสงสัยเลยก็จะเก็บไว้ 180 วัน แต่ถ้าเป็นกรณีมีการร้องเรียนก็จะเก็บไว้ 2 ปี และหากเป็นคดีความก็จะเก็บไว้จนกว่าจะสิ้นสุดคดีความ</p>
<p>รัฐวิช จิตสุจรติวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนการสอบสวนคดีอาญา กรมการปกครอง กล่าวว่าฝ่ายปกครองถือเป็นหน่วยงานที่ต้องใช้กฎหมายนี้เยอะที่สุดเกือบทุกมาตราเพราะเป็นทั้งผู้จับกุมและยังเป็นผู้รับแจ้งการจับกุมด้วย ทางกรมการปกครองจึงมีการเตรียมความพร้อมและให้ความสำคัญเป็นเรื่องแรกๆ ของหน่วยในฝ่ายปกครองตลอดปี 2566</p>
<p>ตัวแทนจากฝ่ายปกครองกล่าวว่าทางกรมเองจัดตั้งศูนย์รับแจ้งทั่วประเทศ 879 หน่วยตามอำเภอต่างๆ และหน่วยกลางที่นางเลิ้งเพื่อรับแจ้งการจับกุมร่วมไปถึงรับเรื่องร้องเรียนด้วย และทางกรมการปกครองได้ทำระบบเว็บไซต์เพื่อรับแจ้งการจับกุมจากทุกหน่วยงานที่มีอำนาจจับกุมในชื่อ Arrest DOPA ซึ่งศูนย์รับแจ้งจะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง ปีที่ผ่านมาได้รับแจ้งการจับกุมกว่า 2 แสนกรณี แต่มีเรื่องเรียนเข้ามา 16 เรื่องมีการดำเนินการแล้วบางส่วน และมีบางเรื่องที่ยุติไปแล้วเนื่องจากไม่ตรงกับข้อกฎหมาย</p>
<p>อังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กล่าวว่าหลังจากกฎหมายออกมาทางหน่วยงานก็ต้องกลับมาทบทวนรูปแบบการทำงานทั้งการให้ความรู้และศึกษากฎหมายฉบับนี้ และจัดหาอุปกรณ์แต่ก็ทำได้ง่ายกว่า ตร.เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เยอะมากนัก และทางกรมเองก็เข้ามารับเรื่องร้องเรียนตรวจสอบด้วยแม้ว่าจะไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับแจ้งการจับกุมอย่างฝ่ายปกครองและอัยการ ซึ่งตอนนี้ทางกรมรับเรื่องร้องเรียนมาแล้ว 11 กรณีตั้งแต่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ 1 ใน 11 คดีนี้มีคดีของลุงเปี๊ยกที่เป็นกรณีถูกจับกุมเพราะตกเป็นต้องสงสัยทำร้ายป้ากบเสียชีวิตด้วย</p>
<p>ตัวแทนจาก DSI ยกกรณีการทำงานในกรณีของลุงเปี๊ยกว่า เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ.ซ้อมทรมานฯ ที่ยังเป็นกฎหมายใหม่มีการตีความหลากหลาย DSI จึงมีหนังสือไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและกรมการปกครองเพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาร่วมทำงานในคดีลุงเปี๊ยกด้วยเพื่อช่วยกันตีความกฎมหายและข้อเท็จจริง ซึ่งเขามีความคาดหวังว่าการทำงานตรงนี้จะทำให้เกิดการตีความตรงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย</p>
<p>อย่างไรก็ตาม อังศุเกติ์ก็มองว่า กฎหมายนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น แต่ก็ทำให้เจ้าหน้าที่เองใช้ในการป้องกันตัวเองเมื่อต้องมีการยืนยันข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่และการเข้าจับกุมของเจ้าหน้าที่เองด้วย</p>
<p>สุริยนต์ ประภาสะวัต อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 1 สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุดกล่าวว่าพอกฎหมายออกมาใช้ทางฝั่งอัยการก็มองเห็นแล้วว่างานตามกฎหมายใกล้เคียงกับงานของสำนักงานการสอบสวนที่สุด แต่ก็ยังถือว่าเป็นงานใหม่จึงมีการเตรียมการ ทั้งเรื่องภาพที่จะต้องส่งเข้ามาในฐานะที่อัยการเป็นผู้รับแจ้งก็มีการเขียนระบบขึ้นมาให้สามารถใส่วิดีโอเข้ามาในคลาวด์ได้ แล้วอัยการเองเมื่อรับแจ้งเข้ามาแล้วก็ยังมีงานส่วนอื่นอีกเพราะหากเป็นการซ้อมทรมานอัยการก็ต้องเป็นผู้ดำเนินคดีจึงต้องมีการพิสูจน์ว่ากรณีที่เข้ามาในระบบเป็นซ้อมทรมานหรือไม่</p>
<p>นอกจากนั้นทางฝั่งอัยการเองก็มีการออกระเบียบมาใช้ แต่เมื่อคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมายออกระเบียบต่างๆ มา ช่วงแรกระเบียบที่ออกมาอาจจะขัดกันบ้างกับของอัยการก็ต้องมาปรับเข้าหากันกัน เช่น ระเบียบกลางอาจจะบอกว่าผู้จับกุมไม่ต้องส่งวิดีโอส่งเฉพาะรูปภาพให้อัยการแต่ระเบียบของอัยการบอกให้ส่ง ซึ่งก็มีคำถามว่าถ้าผู้จับกุมไม่ส่งให้แล้วอัยการจะดูรายละเอียดจากอะไร</p>
<p>นอกจากนั้นยังเจอปัญหาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ในกรณีอุ้มหายที่กฎหมายเขียนไว้ว่าต้องทำการสืบสวนสอบสวนจนกว่าจะพบผู้ที่หายไปแล้วคดีไม่มีอายุความ แต่ไทยก็ติดกับดักตัวชี้วัด เช่น กรณีของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่คณะกรรมการป้องกันซ้อมทรมานฯ ให้อัยการสูงสุดเป็นคนหาข้อเท็จจริง กรณีวันเฉลิมก็เป็นกรณีหนึ่งที่ไปติดกับดักตัวชี้วัดแล้วยังไปติดเรื่องขอเอกสารจากต่างประเทศด้วย  ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ค้นหาเลยจริงๆ ก็คืออัยการแต่ก็มีเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนได้มีไม่เยอะ ซึ่งนิติกรและเจ้าพนักงานตามคดีทำไม่ได้ทำได้แค่ช่วยอัยการ และยังติดปัญหาในการขอเอกสารข้อมูลจากต่างประเทศด้วยถ้าสุดท้ายแล้วประเทศปลายทางไม่ให้ความร่วมมือก็จะทำให้คดีจบไม่ลง</p>
<p>สุริยนต์กล่าวต่อว่าเมื่อปฏิบัติงานตามกฎหมายมาได้แล้วหนึ่งปีก็ต้องเก็บข้อบกพร่องปัญหาที่เกิดขึ้นมาใช้วิเคราะห์ต่อ ซึ่งพ.ร.บ.ซ้อมทรมานฯ ก็เปิดไว้ให้เสนอแก้กฎหมายได้ ด้วย และข้อมูลวิดีโอต่างๆ ก็ต้องเอามาใช้ประกอบในคดีด้วยไม่ใช่เก็บกันไว้เฉยๆ</p>
<p>ตัวแทนจากอัยการกล่าวถึงอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามกฎหมายด้วยว่า มีทั้งเรื่องกำลังคนและเรื่องแนวคิดวิธีการที่ไม่ตรงกัน เช่น คนที่ไปดูงานที่สหรัฐฯ มาก็บอกว่าวิดีโอที่ถ่ายมาแล้วก็แค่โยนเข้าคลาวด์เอาไว้ไม่ต้องมีคนมารอรับแจ้งตลอด 24 ชั่วโมง แต่ของร่างกฎหมายของไทยก็กำหนดไว้ว่าต้องมีคนรอรับแจ้งตลอดเวลาก็ต่างกัน ทั้งที่อนุสัญญาก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องใช้กลไกอะไรหรือจะต้องมีการแจ้งฝ่ายปกครองแจ้งอัยการหลังจับกุม แค่ระบุว่าป้องกันไม่ให้มีคนถูกอุ้มหายไม่มีคนถูกซ้อมทรมาน แต่อัยการก็มีระบบรับแจ้ง 24 ชั่วโมงด้วยโดยระบบหลักคือให้ส่งเป็นอีเมลและมีระบบสำรองเป็นกลุ่มไลน์</p>
<p>สุริยนต์กล่าวว่าสำหรับเรื่องรับแจ้งการจับกุมนี้ เขาเห็นว่าอยากปรับให้ใช้ระบบเดียวกันไปเลยคือ Arrest DOPA  ของกรมการปกครองเลย แต่ก็ยังต้องไปตามดูว่าที่เสนอไปจะออกมาเป็นอย่างไร</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108270
 
1363  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยลาววันนี้ 1 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร เมื่อ: 02 มีนาคม 2567 00:43:41
หวยลาววันนี้ 1 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาววันนี้ 1 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 28/02/67 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 1 มี.ค. 67
         

https://www.sanook.com/news/9268434/
         
1364  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เรืองไกร' ร้อง ‘ป.ป.ช.’ สอบ 399 สส.เขต ตั้งข้อสังเกตยื่นค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเท็จ เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 23:46:37
'เรืองไกร' ร้อง ‘ป.ป.ช.’ สอบ 399 สส.เขต ตั้งข้อสังเกตยื่นค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเท็จ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 19:46</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ' ร้อง ‘ป.ป.ช.’ สอบ 399 สส.เขต ปมแจ้งรายรับ-รายจ่าย ที่ใช้ในการเลือกตั้งในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. หรือไม่ ตั้งข้อสังเกตส่อยื่นเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริง</p>
<p>1 มี.ค. 2567 หลายสื่อ อาทิ กรุงเทพธุรกิจ TOPNEWS และเดลินิวส์ รายงานตรงกันว่านายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นเอกสารถึงประธานคณะกรรมการป.ป.ช. ผ่านไปรษณีย์ เพื่อตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ของ สส.แบบแบ่งเขตทั้งหมด ว่า รายรับรายจ่ายที่ต้องแจ้งต่อ กกต. ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 67 นั้น สส.แบบเขต ได้นําบัญชีรายรับรายจ่ายมาแจ้งต่อ ป.ป.ช. ถูกต้องครบถ้วนด้วยหรือไม่ หากไม่แจ้งเข้าข่ายเป็นการจงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ </p>
<p>นายเรืองไกร ระบุว่านายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง สส. เมื่อ 4 ก.ค. 2566 โดยแจ้งรายได้ไว้ส่วนหนึ่งว่ามีรายได้เป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรให้ของพรรคการเมือง จำนวน 600,000 บาท และมีรายจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง พ.ค. 2566 จำนวน 1,335,430.50 บาท</p>
<p>นายเรืองไกร กล่าวว่า การแจ้งบัญชีรายได้รายจ่ายของนายชัยทิพย์ น่าจะเป็นการถูกต้อง เพราะตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา67 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ภายในกําหนดเก้าสิบวันนับจากวันเลือกตั้งผู้ สมัครแต่ละคนและหัวหน้าพรรคการเมือง ที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการกําหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้จ่ายไปแล้ว และที่ยังค้างชำระ รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง และผู้สมัครหรือหัวหน้าพรรคการเมือง แล้วแต่กรณี ต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วน ของบัญชีรายรับและรายจ่าย </p>
<p>นายเรืองไกร กล่าวว่า จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินละหนี้สินของสส.แบบเขตเลือกตั้งรายอื่นๆ ที่ปรากฏในเว็บไซต์ของ ป.ป.ช. พบว่า สส. เกือบทั้งหมดไม่มีใครยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายที่ต้องแจ้งต่อ กกต. เลย กรณีจึงมีเหตุต้องขอให้ ป.ป.ช. เรียกบัญชีรายรับรายจ่ายของ สส.เขตรวม 399 คน จาก กกต. มาเป็นหลักฐานในการตรวจสอบว่า สส.แต่ละคนแต่ละเขตได้แจ้งบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกกต. โดยครบถ้วนตามกฎหมายหรือไม่ และถ้ายื่นต่อกกต.ถูกต้องครบถ้วนแล้ว สส.ทั้ง 399 คน ก็ต้องนํารายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 มาแจ้ง ป.ป.ช. ด้วย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108273
 
1365  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - [Live] มองอนาคต ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับ #ทำงานพักผ่อนใช้ชีวิต เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 22:13:07
[Live] มองอนาคต ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับ #ทำงานพักผ่อนใช้ชีวิต
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 21:28</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/HnV8Mt00-Vk?si=Z-HMS40Yu8eleIzk" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p> </p>
<p>บันทึกถ่ายทอดสดสนทนากับ ธนพร วิจันทร์ นักสหภาพแรงงานจากเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ชวนมองอนาคต ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล หรือ ฉบับ  #ทำงานพักผ่อนใช้ชีวิต หลังเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิฯร่วมกับเครือข่ายสหภาพแรงงาน 95 องค์กร รวมตัวที่รัฐสภา ชวน สส.ฝ่ายค้าน-รัฐบาล โหวตหนุนวาระ 1 รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายเดิมล้าสมัยใช้มาตั้งแต่ปี'41 ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมมองว่าใช้กลไกสภาฯ หาทางออกร่วมกัน ยกระดับการจ้างงานที่มั่นคงให้คนทำงาน โดยที่ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวสภาเลื่อนการพิจารณาไปวันที่ 6 มี.ค. นี้ และประกบร่าง ครม.</p>
<p>ทั้งประเมินสถานการณ์ความการพยายามยื่นแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยเฉพาะกรณีที่มี่กระแสข่าวจะเปลี่ยนจากระบบเลือกตั้งบอร์ดกลับมาเป็นแต่งตั้ง และอัพเดทผลการยื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด เมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาที่เครือข่ายเรียกร้องให้ให้ยุติการดำเนินคดีทางการเมือง มาตรา 112  
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108274
 
1366  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวกำลังหลับ จู่ ๆ มือถือของสามีผู้ล่วงลับดังขึ้น เห็นข้อความทำจุกอก ความจริงท เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 22:13:06
สาวกำลังหลับ จู่ ๆ มือถือของสามีผู้ล่วงลับดังขึ้น เห็นข้อความทำจุกอก ความจริงที่ได้รู้
         


สาวกำลังหลับ จู่ ๆ มือถือของสามีผู้ล่วงลับดังขึ้น เห็นข้อความทำจุกอก ความจริงที่ได้รู้" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;แม่ลูก 2 กำลังนอนหลับ จู่ ๆ มือถือของสามีที่เสียชีวิตไป ดังขึ้นกลางดึก เมื่ออ่านข้อความในนั้น ทำเอาจุกอกกับความจริงที่เพิ่งรู้
         

https://www.sanook.com/news/9268566/
         
1367  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 20:39:39
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 19:10</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ ขณะห่วงการสื่อสาร ขอทำความเข้าใจประชาชนให้ชัด ป้องกันเกิดความขัดแย้ง</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53561023271_a448c61195_k_d.jpg" /></p>
<p>เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ว่านายปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมของ กมธ.ซึ่งมีวาระสำคัญ คือการพิจารณาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จให้สมพระเกียรติและรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม </p>
<p>โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำเสนอลำดับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 และยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีการรับมือต่อเหตุการณ์ตามหลักปฏิบัติงาน และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพระบรมวงศานุวงศ์หรือขบวนเสด็จแต่อย่างใด พร้อมชี้แจงบทบาทในการสนับสนุนภารกิจการถวายความปลอดภัยตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 ที่ย้ำถึงหลักการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดและสมพระเกียรติ คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชนอยู่เสมอ </p>
<p>ภายหลังรับฟังข้อมูล กมธ.มีข้อเสนอแนะและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารต่อสังคมถึงลำดับเหตุการณ์ ขั้นตอนการรับมือต่อเหตุการณ์ และกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หากมีความไม่ชัดเจนจะทำให้กลายเป็นความเข้าใจผิด เกิดข้อถกเถียง ความขัดแย้งภายในสังคมได้ ประเด็นความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาและกล่าวโทษในคดีที่มีความรุนแรงอย่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยขอเจ้าหน้าที่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบบนพื้นฐานความยุติธรรม และขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำชับผู้กำกับการสถานีตำรวจแต่ละพื้นที่ จัดสรรกำลังพลตามแต่สมควรในการสนับสนุนภารกิจถวายความปลอดภัย คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนร่วมด้วย </p>
<p>นายปิยรัฐ กล่าวต่อว่า กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ จะติดตามผลการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชนต่อไป </p>
<p>นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... ซึ่งนายปิยรัฐ จงเทพ และคณะ เป็นผู้เสนอ ภายหลังการพิจารณาร่างดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนและสอบถามความเห็นกับตัวแทนจากแต่ละพรรคการเมือง พบว่าทุกพรรคการเมืองเห็นปัญหาด้านการขาดความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐในกระบวนการสืบเสาะ แสวงหาข้อเท็จจริงของ กมธ. อีกทั้งตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองพร้อมให้การสนับสนุนรับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการทุกคณะ ในการหาข้อมูลข้อเท็จจริงและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ที่ประชุม กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ มีมติรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... โดยพร้อมสนับสนุนผลักดันร่างฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108272
 
1368  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ผีน้ำมันพรายอาฆาต เจ้าของตลับขี้ผึ้งสิ้นแล้ว เป็นศพที่ 5 หมอปลายังไม่ทันได้ทำพ เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 19:42:55
ผีน้ำมันพรายอาฆาต เจ้าของตลับขี้ผึ้งสิ้นแล้ว เป็นศพที่ 5 หมอปลายังไม่ทันได้ทำพิธี
         


ผีน้ำมันพรายอาฆาต เจ้าของตลับขี้ผึ้งสิ้นแล้ว เป็นศพที่ 5 หมอปลายังไม่ทันได้ทำพิธี" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ผีน้ำมันพรายอาฆาต เจ้าของตลับขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นต้นเรื่องทั้งหมด เสียชีวิตแล้ว นับเป็นศพที่ 5 ของครอบครัว หมอปลายังไม่ทันได้ทำพิธี
         

https://www.sanook.com/news/9268542/
         
1369  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เศรษฐา' เยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ยืนยันจะยกระดับความเป็นอยู่ชาวมุสลิมให้ด เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 19:07:31
'เศรษฐา' เยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ยืนยันจะยกระดับความเป็นอยู่ชาวมุสลิมให้ดีขึ้น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 18:46</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เศรษฐา' เยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ยืนยันรัฐบาลจะทำงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ระบุหลังลงพื้นที่ชายแดนใต้ได้มองเห็นศักยภาพ สามารถสร้างโอกาส เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ - 'รอมฎอน' สส.ก้าวไกล ประเมินเศรษฐาลงพื้นที่ชายแดนใต้ จงใจโชว์ภาพสวยงาม แต่ไม่พูดปัญหาความยุติธรรม ชี้จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การพูดคุยสันติภาพต้องเป็นหัวใจ ผู้นำต้องมีเจตจำนงทางการเมืองแน่วแน่</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53560133822_5f91185e7a_o_d.png" /></p>
<p>1 มี.ค. 2567 เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่าเวลา 16.30 น. ณ สำนักจุฬาราชมนตรี ถนนคลองเก้า เขตหนองจอก กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าเยี่ยมคารวะนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดในกิจการของศาสนาอิสลามคนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยมีนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และนายประสิทธิ์ มะหะหมัด เลขานุการจุฬาราชมนตรี เข้าร่วมด้วย นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้</p>
<p>การเข้าเยี่ยมคารวะฯ ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีกับนายอรุณ บุญชม ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี พร้อมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 - 29 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้นำรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากลงพื้นที่ได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถสร้างโอกาส เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะมีการส่งเสริม สนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การปรับปรุง ขยายด่านบริเวณชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและการขนย้ายสินค้าข้ามชายแดน นอกจากนั้น จะมีการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงถนนให้สะดวกสบาย ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น </p>
<p>นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องความมั่นคง ในปีที่ผ่านมาปัญหาความไม่สงบลดน้อยลงมาก ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดี ส่งผลให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น อีกทั้ง นายกรัฐมนตรีได้รับฟังข้อเสนอและปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งเงินทุน กฎหมายต่าง ๆ ที่บังคับใช้ในพื้นที่ โดยจะนำการพูดคุยวันนี้ไปพูดคุยกับคณะทำงานว่าจะใช้ช่องทางในการช่วยเหลือได้หรือไม่ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีขอบคุณเสียงตอบรับจากชาวมุสลิม พร้อมย้ำจะทำงานแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาว 3 จังหวัดชายแดนใต้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'รอมฎอน' สส.ก้าวไกล ประเมินเศรษฐาลงพื้นที่ชายแดนใต้ จงใจโชว์ภาพสวยงาม แต่ไม่พูดปัญหาความยุติธรรม</span></h2>
<p>ทีมสื่อพรรคก้าวไกล แจ้งข่าวว่าที่รัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลง Policy Watch หัวข้อ “ตรวจสุขภาพชายแดนใต้ในมือนายกฯ เศรษฐา” โดยระบุว่าตนมี 3 เรื่องที่ต้องการสื่อสารต่อสาธารณะและต่อนายกรัฐมนตรี รวมถึงอีก 3 บุคคลที่จะมีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำและกำหนดจังหวะก้าวของรัฐบาลเศรษฐาต่อสถานการณ์ความไม่สงบและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือ “ปาตานี” คือ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช, ภูมิธรรม เวชยชัย และ ทักษิณ ชินวัตร</p>
<p>รอมฎอนกล่าวว่า เรื่องแรก คือการลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ของนายกฯ เมื่อวันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภาพที่สื่อสารออกมาเน้นเรื่องเศรษฐกิจปากท้องและการท่องเที่ยว ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่เราเห็นตรงกัน แต่สิ่งที่ต่างกันและมีความสำคัญ คือรายละเอียดของการเดินทาง</p>
<p>สำหรับตน มองสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เหมือนคน การเดินทางลงไปครั้งนี้ เปรียบเหมือนคนที่ภายนอกดูมีร่างกายสมบูรณ์ดี แต่จริงๆ แล้วเป็นคนอมโรคอยู่พอสมควร เรื่องแรกที่ต้องพูดถึงและเป็นเสียงสะท้อนจากพื้นที่ คือเรื่องด่านและจุดตรวจ การเดินทางลงไปของนายกฯ ครั้งนี้มีนัยสำคัญมาก เพราะหลายด่านถูกทำให้หายไปชั่วคราว แต่ตอนนี้หลายคนบอกว่าด่านกลับมาแล้ว เรื่องนี้สำหรับคนภายนอก อาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กหรือเป็นเรื่องปกติในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง แต่ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา นี่คือจุดสำคัญมากที่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีประสบการณ์ในการถูกเจ้าหน้าที่ซักไซ้ไล่เรียง ถูกตรวจสอบสอดส่องโดยอำนาจรัฐ เป็นภาพติดตาประชาชน</p>
<p>ข้อมูลจาก กอ.รมน. ที่ชี้แจงต่อ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ พบว่ามีด่านตรวจอยู่ถึง 2,392 ด่านใน 3 จังหวัดและ 4 อำเภอ เฉลี่ยอำเภอละประมาณ 65 แห่ง ดังนั้น สำหรับคนใน ด่านเป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจที่เกินเลยต่อประชาชน</p>
<p>แต่กลายเป็นว่าการที่นายกฯ โชว์ภาพด้านบวกสวยงาม สื่อสารให้เห็นว่ามีโอกาสที่จะพัฒนาในทางเศรษฐกิจ กลายเป็นภาพที่เป็นผิวเปลือกเท่านั้น เพราะชะตากรรมหรือชีวิตปกติของผู้คนในสามจังหวัดต้องเผชิญกับการถูกตรวจสอบการถูกคุกคามโดยตลอด นี่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้การวินิจฉัยโรคหรือการประเมินสถานการณ์ของนายกฯ บิดเบี้ยวบิดเบือนไป</p>
<p>ยิ่งเมื่อดูจากการสื่อสารของนายกฯ ก็เหมือนมีความตั้งใจว่าบางเรื่องจะทำเป็นมองไม่เห็นหรือไม่พูดถึง โดยตลอดการแถลงข่าวระหว่างลงพื้นที่ มีคำสำคัญ 3 คำที่นายกฯ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก คือความเสมอภาค ความเท่าเทียม และโอกาส แต่สิ่งที่ขาดไปเลยและเป็นคำสำคัญของสันติภาพชายแดนภาคใต้ คือเรื่องความยุติธรรม ซ้ำร้ายยังพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่อดกลั้นและอ้างว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าจะเข้าสู่เดือนรอมฎอน เรียกร้องให้ประชาชนยกโทษให้แก่กันและกัน</p>
<p>ตนไม่แน่ใจว่านายกฯ หมายถึงเหตุการณ์ตากใบเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วหรือไม่ เพราะเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอนเหมือนกัน ในปฏิทินปกติเหตุโศกนาฏกรรมนี้เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม แต่ในปฏิทินอิสลามจะอยู่ที่วันที่ 11 เดือนรอมฎอน ซึ่งในปีนี้จะครบรอบอีกครั้งราว ๆ วันที่ 21 หรือ 22 มีนาคม เหตุการณ์ในอดีตเหล่านี้คือเหตุการณ์บาดแผลสำคัญ ซึ่งในความเห็นของตนและพรรคก้าวไกลเหตุการณ์ที่อำนาจรัฐใช้กำลังทำให้ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมหาศาลแบบนี้ ต้องมีการฟื้นคืนความยุติธรรมผ่านกลไกต่างๆ</p>
<p>“ผมไม่แน่ใจว่าที่ท่านนายกพูดถึงประเด็นนี้และเรียกร้องให้เราในฐานะประชาชนในพื้นที่ลืมและให้อภัย คือเหตุการณ์ตากใบหรือไม่ ถ้าท่านคิดอย่างนั้นจริงก็ถือว่าน่าเสียดาย เพราะความเสมอภาคความเท่าเทียมและโอกาสในทางเศรษฐกิจจะไม่มีความหมายเลย ถ้าปมในใจของประชาชนยังอยู่ และเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุดคือความยุติธรรม การรื้อฟื้นผลักดันคดีตากใบขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่เรายังไม่เห็นรัฐบาลมีท่าทีต่อเรื่องนี้”</p>
<p>สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า เรื่องที่ 2 คือกระบวนการสันติภาพที่หากพิจารณาหมุดหมายสำคัญในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบการลงนามในเอกสารสำคัญมากเมื่อ 11 ปีที่แล้วในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ นั่นคือเอกสาร “ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยการพูดคุยสันติภาพ” (General Consensus on the Peace Dialogue Process) ที่มีการลงนามที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และตัวแทนจากขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญต่อพัฒนาการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในชายแดนภาคใต้</p>
<p>ทั้งนี้ในช่วงรัฐบาลประยุทธ์ มีการฟื้นคืนการพูดคุยกับบีอาร์เอ็น เห็นพ้องกันหลายครั้งแต่ไม่มีการลงนามเลย รวมถึงเอกสารสำคัญอีกฉบับที่ลงนามในเดือนมีนาคม 2565 นั่นก็คือหลักการทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ (General Principle on Peace Dialogue Process) มาถึงยุครัฐบาลเศรษฐา ได้แต่งตั้งรองเลขา สมช. เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย ตอนนี้มีข้อตกลงจำนวนมากเรื่องแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติภาพแบบองค์รวม (JCPP) แต่สิ่งที่ต้องกังวลและนายกฯ ยังให้ความใส่ใจไม่มากพอ คือท่านไม่พยายามมองประเด็นที่เป็นปัญหาในระหว่างการลงพื้นที่</p>
<p>เรื่องที่ท่านอาจมองไม่เห็นคือบรรยากาศในการแสดงความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกจำกัดมาก กมธ. หลายชุดได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินคดีฟ้องปิดปากประชาชนในพื้นที่ เป็นการสร้างบรรยากาศให้อึมครึม เป็นบริบทที่ไม่เอื้อให้กระบวนการสันติภาพมีสุขภาพที่ดี</p>
<p>เมื่อเราวินิจฉัยโรคแล้ว สถานการณ์ในปัจจุบันต้องเรียกว่าเป็นการแก้ไขปัญหาหรือการสร้างสันติภาพแบบลูกผสม ระหว่างแบบเสรีกับแบบอำนาจนิยม รัฐบาลเศรษฐาทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน คือด้านหนึ่งให้มีการพูดคุย อีกด้านหนึ่งให้จำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น พูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ไม่พูดถึงประเด็นความยุติธรรม</p>
<p>รอมฎอนกล่าวว่า เรื่องสุดท้าย คือวาระการทำงานของรัฐบาลเศรษฐาจะครบ 6 เดือน ตนเป็นคนหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์การแถลงนโยบายของรัฐบาลว่าไม่มีการระบุตรงๆ ถึงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 อย่าง คือไม่แยแสเลย หรือไม่กล้าแตะอาณาบริเวณที่ฝ่ายความมั่นคงดูแลอยู่</p>
<p>โดยตนมีข้อสังเกต ประการที่หนึ่ง ที่ผ่านมาดูเหมือนนายกฯ ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย เพราะการตีโอบหรือจำกัดบทบาทของมาเลเซีย เป็นหนึ่งในหนทางการแก้ไขปัญหาภายในประเทศ และประเด็นที่สอง การพูดถึงบรรดาการบังคับใช้กฎหมายพิเศษต่างๆ ทำไปอย่างมะงุมมะงาหรา สำคัญที่สุดคือรัฐบาลยังไม่แตะกฎอัยการศึกเลย</p>
<p>“จะเป็นไปได้อย่างไรที่เราจะพัฒนาการท่องเที่ยวหรือพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่แตะเรื่องหัวใจสำคัญแบบนี้ พื้นที่นี้ถูกตีกรอบว่าต้องใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่ปี 2547 เราจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างที่นายกฯ คาดหวังได้อย่างไร ถ้าบรรดากฎหมายพิเศษเหล่านี้ยังประกาศอยู่ สถานทูตยังมีคำเตือนต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์”</p>
<p>รอมฎอนกล่าวว่า โดยสรุปตนเห็นว่าตอนนี้คือปี 2567 แต่ภาพที่เกิดขึ้นทำให้ตนนึกย้อนไปก่อนหน้าปี 2547 ในช่วงรัฐบาลทักษิณ ตอนนั้นรัฐบาลดูเบาสถานการณ์ความขัดแย้ง ประเมินต่ำมากว่าสิ่งที่เคยเป็นข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ข้อเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกดินแดนหรือการปกครองพื้นที่ที่ต้องมีกลไกพิเศษในการบริหารจัดการ ได้ผ่านไปแล้ว นายกฯ ทักษิณมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งถ้ารัฐบาลเศรษฐามองอย่างนั้นจริง ก็หมายความว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่คือการประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่</p>
<p>ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเศรษฐาจึงไม่กล้าปะทะกับปัญหาใจกลางความขัดแย้งของจังหวัดชายแดนภาคใต้และมองข้ามไป คือเรื่องการปกครองที่ชอบธรรม ตนต้องย้ำว่าเราไม่สามารถควบคุมจากกรุงเทพฯ ส่งทหารไปแล้วอยู่กันอย่างนี้ได้อีกแล้ว แต่ต้องแบ่งสรรปันอำนาจ ต้องฟังเสียงประชาชน มีแต่หนทางนี้ที่ทำให้คนที่ใช้กำลังจะไม่สามารถระดมคนหรือความสนับสนุนได้</p>
<p>“นี่คือแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ต้องคุยกันว่าเราจะสร้างโครงสร้างการปกครองที่ชอบธรรม ที่ผู้คนยอมรับได้อย่างไร แต่สิ่งนี้ดูเหมือนนายกฯ เศรษฐาจะละเลยไป ประหนึ่งหลับตาเดินข้ามถนนโดยทึกทักคิดเอาเองว่ารถจะไม่ชน รถจะไม่มี”</p>
<p>รอมฎอนกล่าวว่า เจตจำนงทางการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมากในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท้ายสุดแล้วเราต้องการฝ่ายบริหารที่มุ่งมั่นแน่วแน่ว่าจะแก้ปัญหาในทางการเมือง ไม่ใช่ผู้นำที่พยายามหลีกเลี่ยงปัญหา วันนี้เราไม่เห็นการจัดตั้งกลไกที่เตรียมพร้อมสำหรับการแก้ไขปัญหาทางการเมือง รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงก็ไม่มี คณะกรรมการกำกับทิศทางการพูดคุยสันติภาพก็ไม่เห็น</p>
<p>“ต้องขอเตือนนายกฯ เศรษฐา ให้ทบทวนสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เสียใหม่ ถ้าดูเบาสถานการณ์เกินไปแล้วมอบหมายงานเหล่านี้ให้ฝ่ายความมั่นคงเพียงอย่างเดียว เกรงว่าในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร ผู้นำของรัฐบาลพลเรือน ท่านจะตัดสินใจทางการเมืองผิด” รอมฎอนกล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108271
 
1370  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สิ้นสุดลงทะเบียนหนี้นอกระบบ ลงทะเบียนรวม 151,175 แสนราย มูลหนี้ 11,732 ล้านบาท เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 17:37:13
สิ้นสุดลงทะเบียนหนี้นอกระบบ ลงทะเบียนรวม 151,175 แสนราย มูลหนี้ 11,732 ล้านบาท
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 16:46</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สิ้นสุดการเปิดรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบของ มท. เมื่อ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา ประชาชนลงทะเบียนรวม 151,175 แสนราย มูลหนี้ 11,732 ล้านบาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 18,509 ราย มูลหนี้ลดลง 771 ล้านบาท เดินหน้ากระบวนการไกล่เกลี่ยให้ครบ 100%</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="748" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fprmoithailand%2Fposts%2Fpfbid0JhfuPbXK9kvmvXzsA9x66VYVeFwipgqMypvnRbBjAYt9yyvnZxqK3nyNfAwZsFSbl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>เพจกระทรวงมหาดไทย PR รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ว่านายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงผลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ วันที่ 91 โดยสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ได้รายงานผลการลงทะเบียนพบว่า มีประชาชนลงทะเบียนแล้ว 151,175 ราย มูลหนี้รวม 11,732.506 ล้านบาท เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 125,081 ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 27,348 ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ 125,302 ราย มีพื้นที่/จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้ 1. กรุงเทพมหานคร ยังคงมีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด 10,091 ราย เจ้าหนี้ 9,047 ราย มูลหนี้ 1,065.464 ล้านบาท 2. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ลงทะเบียน 6,115 ราย เจ้าหนี้ 5,887 ราย มูลหนี้ 425.187 ล้านบาท 3. จังหวัดสงขลา มีผู้ลงทะเบียน 5,570 ราย เจ้าหนี้ 4,589 ราย มูลหนี้ 383.455 ล้านบาท 4. จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ลงทะเบียน 5,273 ราย เจ้าหนี้ 4,443 ราย มูลหนี้ 489.563 ล้านบาท และ 5. จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ลงทะเบียน 4,412 ราย เจ้าหนี้ 3,364 ราย มูลหนี้ 438.838 ล้านบาท ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ลงทะเบียน 250 ราย เจ้าหนี้ 251 ราย มูลหนี้ 16.274 ล้านบาท 2. จังหวัดระนอง มีผู้ลงทะเบียน 351 ราย เจ้าหนี้ 267 ราย มูลหนี้ 24.415 ล้านบาท 3. จังหวัดสมุทรสงคราม มีผู้ลงทะเบียน 406 ราย เจ้าหนี้ 316 ราย มูลหนี้ 18.819 ล้านบาท 4. จังหวัดสิงห์บุรี มีผู้ลงทะเบียน 474 ราย เจ้าหนี้ 383 ราย มูลหนี้ 28.483 ล้านบาท และ 5. จังหวัดตราด มีผู้ลงทะเบียน 479 ราย เจ้าหนี้ 364 ราย มูลหนี้ 21.487 ล้านบาท</p>
<p>“สำหรับข้อมูลการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบทั่วประเทศพบว่า มีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว 28,725 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 18,509 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนการไกล่เกลี่ย 2,626.784 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 1,855.474 ล้านบาท มูลหนี้ลดลง 771.309 ล้านบาท และจังหวัดที่สามารถนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้มากที่สุดยังคงเป็นจังหวัดนครสวรรค์เช่นเดิม โดยมีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 3,373 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 518 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย 287.587 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 53.511 ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ลดลง 234.076 ล้านบาท สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือกระทั่งไม่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหนี้และลูกหนี้มีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ได้ส่งต่อเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจในพื้นที่แล้ว 310 คดี ใน 43 จังหวัด” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว</p>
<p>นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในเรื่อง “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนอยู่ในปัจจุบัน โดยให้คำจำกัดความว่าคนที่เป็นหนี้นอกระบบเปรียบเสมือนเป็น “ทาสยุคใหม่” จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง เราจึงได้มีช่องทางในการรวบรวมข้อมูลโดยการเปิดรับลงทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 จนถึง 29 ก.พ. 2567 ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการรับลงทะเบียนแล้ว ข้อมูลของประชาชนทุกคนที่มาลงทะเบียนจะเป็นฐานข้อมูลของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ในฐานะหัวหน้าศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจังหวัด/อำเภอ จะได้บูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งอัยการ ทหาร ตำรวจ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือในเรื่องหนี้นอกระบบ อำนวยความสะดวกทำให้ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ในอัตราที่เป็นธรรม และเข้าสู่ระบบของสถาบันการเงินของรัฐ โดยมีการชำระเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้พี่น้องประชาชนได้มีแหล่งเงินทุนในการชำระหนี้ และได้มีเงินไปเลี้ยงดูครอบครัวได้</p>
<p>“ในส่วนของกระบวนการไกล่เกลี่ย จากการดำเนินการมาตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ ซึ่งมาตรการในระยะสั้นเราได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาพูดคุยตกลงกัน สามารถลดต้นลดดอกของหนี้ได้ ทำให้เราสามารถช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบกลุ่มแรกได้สำเร็จ ในส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการต่อไป อาจต้องใช้เวลาในการนำลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกัน ในส่วนของข้อมูลเจ้าหนี้ที่มีพฤติการใช้ความรุนแรง ข่มขู่ ในการทวงหนี้ จำนวนกว่า 5 หมื่นราย ทางกระทรวงมหาดไทยได้ส่งข้อมูลให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีต่อไป สำหรับมาตรการระยะยาว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีนโยบายในการช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับลูกหนี้นอกระบบ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ โดยบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้นอกระบบเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมแนวทางให้ลูกหนี้สามารถลดรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและการเลี้ยงสัตย์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ตลอดจนส่งเสริมแนวทางจัดทำบัญชีครัวเรือน ลดความฟุ่มเฟือย หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การเล่นพนัน และรวมไปถึงการขยายโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพต่อไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว</p>
<p>นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันสิ้นสุดการรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบ แต่เป็นวันเริ่มต้นในการสะสางปัญหาหนี้ให้กับผู้ที่มาลงทะเบียน เพราะกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบยังไม่สิ้นสุด และเราจะเดินหน้าต่อจนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยครบ 100% อย่างไรก็ตามประชาชนยังคงลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ https://debt.dopa.go.th ภายในเวลา 24.00 น. ของวันนี้ โดยหลังจากที่ปิดรับลงทะเบียนแล้วหากมีประชาชนผู้ที่เดือดร้อนจากหนี้นอกระบบประสงค์จะขอความช่วยเหลือ สามารถโทรสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสามารถเดินทางไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด/อำเภอ เพื่อให้ทางราชการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเราไม่ได้ช่วยเหลือแค่หนี้นอกระบบแต่ยังเป็นการช่วยเหลือในทุกด้าน อาทิ การศึกษา ยาเสพติด ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค หรือปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง เพราะทุกปัญหามีทางออก จึงขอให้ทุกท่านอย่าได้ลังเลใจที่จะขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางของรัฐ ผ่านทางศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวงมหาดไทย ที่จะเป็นช่องทางที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยมีไว้เพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108269
 
1371  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ปุ้มปุ้ย" พา "น้องไซอัลบลู" ไปดูโลมา ช็อตฟีลสิ่งที่ลูกกับแม่เห็น ต่างกันม เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 17:10:42
"ปุ้มปุ้ย" พา "น้องไซอัลบลู" ไปดูโลมา ช็อตฟีลสิ่งที่ลูกกับแม่เห็น ต่างกันมาก
         


&quot;ปุ้มปุ้ย&quot; พา &quot;น้องไซอัลบลู&quot; ไปดูโลมา ช็อตฟีลสิ่งที่ลูกกับแม่เห็น ต่างกันมาก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;จุดนี้ทำเอา ปุ้มปุ้ย เก็บอาการไม่อยู่เลย ไม่รู้ว่าคุณแม่หรือคุณลูกที่แอปปี้กว่ากัน
         

https://www.sanook.com/news/9268206/
         
1372  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - แรงงานถูกเลิกจ้างที่ปทุมธานียื่นคำร้องพนักงานตรวจแรงงาน หวั่นไม่ได้รับเงินช เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 16:02:40
แรงงานถูกเลิกจ้างที่ปทุมธานียื่นคำร้องพนักงานตรวจแรงงาน หวั่นไม่ได้รับเงินชดเชย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 15:09</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและ สส.ก้าวไกล นำอดีตพนักงานบริษัท โฟเซร่า จำกัด ใน จ.ปทุมธานี ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หวั่นไม่ได้รับเงินชดเชยหลังถูกเลิกจ้าง</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="714" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpermalink.php%3Fstory_fbid%3Dpfbid0oPGb653JqvsxRL1V18htHL2bD9cdX3ZFyh1YRtDEQZuCkAGP9SrGuC4TdTnfxbc7l%26id%3D100064877343323&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>1 มี.ค. 2567 ประชาไทได้รับแจ้งว่าเมื่อเวลา 8:00 น. ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง นายเซีย จำปาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ปีกแรงงานของพรรคก้าวไกล นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ สส. แบบแบ่งเขต จ.ปทุมธานี พรรคก้าวไกล นำอดีตลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหลังเมื่อวานนี้ (29 ก.พ. 2567) บริษัท โฟเซร่า จำกัด ได้รับหนังสือบอกเลิกจ้างพนักงานทุกคนจำนวน 53 คน โดยมีผลในวันนี้ (1 มี.ค. 2567)</p>
<p>อดีตลูกจ้างจำนวน 32 คน กังวลว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย เพราะหนังสือบอกเลิกจ้างไม่ได้ระบุว่าจะจ่ายเงินชดเชยภายในวันใด ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยทันที</p>
<p>บริษัท โฟเซร่า จำกัด มีโรงงานผลิตระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครัวเรือน ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โดยสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเยอรมนี </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108263
 
1373  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ตรวจหวย 1/3/67 ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจลอตเตอรี่ 1 มี.ค. 67 เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 14:40:08
ตรวจหวย 1/3/67 ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจลอตเตอรี่ 1 มี.ค. 67
         


ตรวจหวย 1/3/67 ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจลอตเตอรี่ 1 มี.ค. 67" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ตรวจหวย 1/3/67 ผลหวยออกวันที่ 1 มีนาคม 2567 ตรวจรางวัลที่ 1 ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล Lottery ตรวจลอตเตอรี่ แสดงผลหวยทุกรางวัล
         

https://www.sanook.com/news/9268258/
         
1374  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เปิดประวัติศาสตร์การเผาตัวเองประท้วง หลังทหารอเมริกันเผาตัวเองประท้วงสงคราม เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 14:30:38
เปิดประวัติศาสตร์การเผาตัวเองประท้วง หลังทหารอเมริกันเผาตัวเองประท้วงสงครามอิสราเอลบุกปาเลสไตน์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 13:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ภาพฟุตเทจวิดีโอ แอรอน บุชเนล กำลังจุดไฟเผาตัวเองประท้วงสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เผยแพร่บนแพลตฟอร์ม X เมื่อ 26 ก.พ. 2567 ของผู้ใช้บัญชี "@KimDotcom"</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เปิดหน้าประวัติศาสตร์การเผาตัวเองประท้วงทางการเมืองทั้งในไทยและเทศ หลังล่าสุดทหารอเมริกันรายหนึ่งเผาตัวเองประท้วงหน้าสถานทูตอิสราเอลจนเสียชีวิต เพื่อประท้วงสงครามที่อิสราเอลโจมตีปาเลสไตน์</p>
<p> </p>
<p>กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยว่า แอรอน บุชเนลล์ ทหารอเมริกัน ที่จุดไฟเผาตัวเอง เพื่อประท้วงสงคราม เสียชีวิตแล้ว บุชเนลล์ เป็นทหารอากาศกองทัพสหรัฐฯ ที่ทำการจุดไฟเผาตัวเองเมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อประท้วงการที่อิสราเอลโจมตีชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่า สาเหตุของจากเสียชีวิตมาจากการบาดเจ็บจากการจุดไฟเผาตัวเอง</p>
<p>บุชเนลล์ จุดไฟเผาตัวเองที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงวอชิงตัน ดีซี พร้อมกับถ่ายวิดีโอไลฟ์สดผ่านโซเชียลมีเดีย “Twitch” (ทวิตช์) โดยระบุว่าจะไม่ยอมมีส่วนร่วมกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่อิสราเอลกระทำต่อปาเลสไตน์อีกต่อไป รวมถึงมีการตะโกนซ้ำๆ ว่า "ปลดปล่อยปาเลสไตน์"</p>
<p>หลังการเสียชีวิตของ บุชเนลล์ ก็มีผู้ประท้วงต่อต้านสงครามปาเลสไตน์ทำการไว้อาลัยให้กับบุชเนลล์ ที่หน้าสถานทูตฯ อิสราเอล มีการวางดอกไม้และพวงหรีด บรรยากาศเป็นไปอย่างสงบนิ่ง โดยที่ยังคงมีการวางป้ายและถือป้ายประท้วงสงคราม</p>
<p>นี่ไม่ใช่การเผาตัวตายเพื่อประท้วงสงครามปาเลสไตน์ครั้งแรก ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2566 มีหญิงไม่ทราบชื่อรายหนึ่งเผาตัวเองประท้วงที่หน้าสถานกงสุล เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย หลังจากที่เธอทำการประท้วงที่หน้าสถานทูต โดยที่มีธงปาเลสไตน์ตกอยู่ในสถานที่ประท้วง ตำรวจระบุว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นการก่อการร้าย แต่ "น่าจะเป็นการประท้วงทางการเมืองแบบสุดขั้ว"</p>
<p>การเผาตัวเองประท้วงนี้มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และยังเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง แม้แต่ในยุคหลังคริสต์ทศวรรษที่ 2020 โดยมีหลายประเด็นและข้อเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บแค้นจากการถูกกดขี่ปราบปรามทางการเมือง ความลำบากยากแค้นทางเศรษฐกิจ การต่อต้านสงครามอย่างเช่นสงครามเวียดนาม การประท้วงการถูกกีดกันเลือกปฏิบัติ การประท้วงความไม่เป็นธรรมในสังคม ไปจนถึงการประท้วงเรื่องโลกร้อน</p>
<p>กรณีที่มีชื่อเสียงมากและจุดชนวนการเป็นการประท้วงใหญ่ในหลายประเทศในภูมิภาคแถบนั้นคือกรณีของ โมฮัมเหม็ด บูอาซีซี คนขายผลไม้ผู้จุดไฟเผาตัวเองประท้วงรัฐบาลตูนีเซีย จนทำให้เกิดแรงบันดาลใจในประเทศใกล้เคียงให้พวกเขาลุกฮือประท้วงต่อต้านรัฐบาลของตนเองจนกลายเป็นปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" ในปี 2554</p>
<p>ถึงแม้ว่าการเผาตัวเองประท้วงจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับศาสนาฮินดู และประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ ที่ย้อนกลับไปได้หลายพันปีก่อน แต่หนึ่งในการเผาตัวเองประท้วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ คือ กรณีพระเวียดนาม ทิก กว่าง ดึ้ก (Thich Quang Duc) เผาตัวเองประท้วงที่เมืองไซ่ง่อน ในปี 2506 เพื่อประท้วงการปราบปรามพุทธศาสนาโดยรัฐบาลเวียดนามใต้ในยุคนั้นที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐฯ จากนั้น ก็มีพระหลายรูปที่ประท้วงตามด้วยวิธีเดียวกัน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53560875263_b9502588ec_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พระทิ๊ก กว่าง ดึ๊ก เผาตัวเองประท้วงรัฐบาลเวียดนาม เมื่อปี ค.ศ. 1963 หรือ พ.ศ. 2506</span></p>
<p>ภาพการประท้วงของ ทิก กว่าง ดึ้ก กลายเป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่ตราตรึง และหลอกหลอนอยู่ในสำนึกของผู้คนมากที่สุดภาพหนึ่ง ไมเคิล บิกก์ส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด กล่าวว่า ในขณะที่ชาวอเมริกันทั่วไปจะบอกว่าพวกเขาต่อต้านคอมมิวนิสต์สนับสนุนประชาธิปไตย พอพวกเขาเห็นภาพพระที่ประท้วงรัฐบาลอเมริกันด้วยการพลีชีพตัวเองแบบนี้แล้ว มันก็จะทำให้พวกเขารู้สึกสะพรึง</p>
<p>ในยุคสมัยสงครามเวียดนามก็เคยมีชาวอเมริกันชื่อ นอร์มัน มอร์ริสัน เผาตัวเองประท้วงหน้าเพนทากอน เพื่อประท้วงสงครามเวียดนาม </p>
<p>อีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นสิบกว่าปีที่ผ่านมา คือกรณีพระทิเบตจุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงการที่จีนใช้อำนาจปกครองทิเบต จนนำมาซึ่งการประท้วงใหญ่ในทางตะวันตกของจีน มีพระรวมแล้วมากกว่า 100 รูป ที่เผาตัวเองประท้วงตลอดช่วงเวลาหลายปีถัดจากนั้น</p>
<p>สำหรับในไทยนั้นเคยมีกรณีของ สังเวียน รักษาเพ็ชร (ป้าสังเวียน) เกษตรกรที่มาร้องเรียนเรื่องหนี้สินกับรัฐบาลเผาตัวเองประท้วงเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2557 และก่อนหน้านี้ก็เคยมีกรณีการจุดไฟเผาตัวเอง เพื่อประท้วงทางการเมืองอื่นๆ เช่น กรณี แมน ตรวจมรรคา เมื่อปี 2551 และกรณี ธนาวุฒิ คลิ้งเชื้อ นักศึกษารามคำแหง ในปี 2533 ที่จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงผู้นำรัฐบาลในสมัยนั้นคือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในการชุมนุมรำลึกครบรอบ 17 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>The History of Self-Immolation as Political Protest, Time, 26-02-2024</p>
<p>https://time.com/6835364/self-immolation-history-israel-hamas-war/</p>
<p>Demonstrators Rally Outside Israeli Embassy Following Self-Immolation Protest of US Airman, Voice of America, Youtube, 28-02-2024</p>
<p>https://www.youtube.com/watch?v=gF0WGKglU_Q</p>
<p>Protester sets self on fire outside Israeli consulate in Atlanta, suffers critical burns, PBS, 02-12-2023</p>
<p>https://www.pbs.org/newshour/nation/protester-sets-self-on-fire-outside-israeli-consulate-in-atlanta-suffers-critical-burns</p>
<p> </p>
<p><strong>ข้อมูลบางส่วนจาก</strong></p>
<p>"ทหารอเมริกัน" เสียชีวิต หลังจุดไฟเผาตัวประท้วงสงครามกาซา, ไทยพีบีเอส, 27-02-2024</p>
<p>https://www.thaipbs.or.th/news/content/337466</p>
<p>ป้าสังเวียนเผาตัวประท้วงหน้าทำเนียบ-เสียชีวิตแล้วหลังรับการรักษา 5 เดือน</p>
<p>https://prachatai.com/journal/2015/03/58411</p>
<p>https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_political_self-immolations</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108260
 
1375  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยสัญจรสงขลา รวมเลขเด็ดเลขดังประจำจังหวัด แนวทางหวยงวดนี้ 1/3/67 เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 12:09:20
หวยสัญจรสงขลา รวมเลขเด็ดเลขดังประจำจังหวัด แนวทางหวยงวดนี้ 1/3/67
         


หวยสัญจรสงขลา รวมเลขเด็ดเลขดังประจำจังหวัด แนวทางหวยงวดนี้ 1/3/67" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คอหวยจดให้ไว หวยสัญจรงวดนี้ 1/3/67 ออกรางวัลที่สงขลา เผยเลขเด็ด-เลขดังประจำจังหวัด
         

https://www.sanook.com/news/9258638/
         
1376  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ส่องเลย "เป็ด เชิญยิ้ม" โชว์เลขจากหางประทัด ตรงเป๊ะมา 3 งวดติดแล้ว เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 09:37:29
ส่องเลย "เป็ด เชิญยิ้ม" โชว์เลขจากหางประทัด ตรงเป๊ะมา 3 งวดติดแล้ว
         


ส่องเลย &quot;เป็ด เชิญยิ้ม&quot; โชว์เลขจากหางประทัด ตรงเป๊ะมา 3 งวดติดแล้ว" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เป็ด เชิญยิ้ม โชว์เลขเด็ดจากหางประทัด บรรดาคอหวยรอเลย เอ็มมี่ แม็กซิม บอกให้มาติดๆ 3 ตัวตรง 3 งวดแล้ว


         

https://www.sanook.com/news/9268186/
         
1377  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: ชีวิตสำคัญกว่า เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 08:27:27
กวีประชาไท: ชีวิตสำคัญกว่า
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-29 23:24</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>คนไทยเดิ้ง เซิ้งกวี</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>แม้มุ่งมั่น หันเชิดหน้า สู้ฟ้ากว้าง
แม้อาทิตย์ ยากคิดขวาง เส้นทางฝัน
แม้ต่อต้าน ตามวิถี “ทานตะวัน”
แม้เดิมพัน ด้วยชีวิต คิดท้าทาย</p>
<p>อีกไม่นาน กาลเวลา พาเปลี่ยนแปลง
ยอดกำแพง แห่งสังคม จะล่มสลาย
ไม่จำเป็น ต้องเซ่นแลก ด้วยความตาย
เก็บใจกาย ลมหายใจ ไว้รอวัน</p>
<p>เป้าหมายใหญ่ ชัยชนะ จะไร้ค่า
หากเพื่อนสู้ ด้วยกันมา ต้องอาสัญ
ถ้าชนะ ก็จะคว้าชัย ไปด้วยกัน
ความสำคัญ สัมพันธภาพ เหนือสิ่งใด</p>
<p>จุดมุ่งหมาย ปลายทางฝัน นั้นคงอยู่
แต่ก็รู้ ที่จะถอย ค่อยเริ่มใหม่
“..จักยอมแพ้ ขอแค่เพื่อน ยังหายใจ
ถึงปราชัย ก็ใช่ว่า สยบยอม..”
</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108253
 
1378  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "โก๊ะตี๋" ติดหนี้ 20 ล้านบาท ย้อนเล่าอดีต ชีวิตรักกับภรรยาเกือบไม่ได้ไปต่อ เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 07:06:07
"โก๊ะตี๋" ติดหนี้ 20 ล้านบาท ย้อนเล่าอดีต ชีวิตรักกับภรรยาเกือบไม่ได้ไปต่อ
         


&quot;โก๊ะตี๋&quot; ติดหนี้ 20 ล้านบาท ย้อนเล่าอดีต ชีวิตรักกับภรรยาเกือบไม่ได้ไปต่อ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;โก๊ะตี๋ ควงภรรยาสาว กวาง สุภัค ออกมาเปิดใจ เคยติดหนี้ 20 ล้าน อีกทั้งชีวิตรักยังเกือบไม่ได้ไปต่อ
         

https://www.sanook.com/news/9266554/
         
1379  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: แลนด์สไลด์ เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 06:55:51
กวีประชาไท: แลนด์สไลด์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-29 23:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>ผืนแผ่นดินสิ้นเหลื่อมล้ำนำรอยจูบ
ปฏิรูปที่ดินคงสิ้นหวัง
ส.ป.ก.4-01 หึ่งอีกครั้ง
ก็คงยังเหยิงยุ่งอีนุงตุงนัง</p>
<p>ตั้งแต่สมัยชัยหลีกพวนทบทวนถึง
ที่ครั้งหนึ่งนั่งนายกหมกความหลัง
จะแก้ไขความจนยากฉากชิงชัง
ภูเก็ตครั้งกระนั้นถึงขั้นยุบสภา</p>
<p>"ลุงกำนัน" พลันโด่งดังจากครั้งนั้น
ประวัติพลันบันทึกผนึกหน้า
แจกส.ป.ก.แก่เศรษฐีมีศักดา
ความเป็นมา"ลุงกำนัน"ไม่บันเบา</p>
<p>เปิดกูเกิ้ลพาเจริญเชิญชวนค้น
ข้อมูลความสัปดนคนรุ่นเขา
รับผิดชอบปฏิรูปที่ดินสิ้นลำเนา
"กำนัน"เอาแจกเศรษฐีภูเก็ต เกษตรกร?</p>
<p>พื้นที่ป่าสงวนสมบูรณ์สูญโปร่งใส
เพราะไม่ใช่เกษตรกรจน ผลเดือดร้อน
ฝ่ายค้านจะอภิปรายเสี่ยหนีเสียก่อน
ไม่รอดสันดอนชัยหลีกพวนด่วนยุบสภา</p>
<p>เรื่องราวนี้ปี 2537 ภูเก็ตโฉ่ฉาว
เรื่องคาว ๆ ของเศรษฐีรุ่นพี่เศรษฐา
"ลุงกำนัน"พลันโด่งดังแต่ครั้งนั้นมา
ก่อนหน้าเป็นเลขา กปปส.เร่ขอทาน</p>
<p>ครั้นถึงปี 2567 ภูเก็ตโมเดล
แผลฝีหนองกรรมเวรมีซอมบี้พล่าน
หมุด ส.ป.ก.บุกรุกไล่เขาใหญ่อุทยาน
ทับซ้อนยันทับลานบ้านสัตว์ไพร</p>
<p>ปฏิรูปที่ดินไยไปบุกป่า
ไยไม่กล้าหรือกลัวเจ้าสัวใหญ่!
ที่เจ้าสัวเบียร์ช้างมีกี่แสนไร่ ฯลฯ ?
ช้างชื่อไอ้ "ด้วน" ออกมาชวนไปดู...</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108254
 
1380  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: กฎหมายหมิ่นศาสนามีไว้ทำไม เมื่อ: 01 มีนาคม 2567 05:16:57
สุรพศ ทวีศักดิ์: กฎหมายหมิ่นศาสนามีไว้ทำไม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-29 23:47</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ส.พรรคประชาชาติเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และมาตรา 206/2 โดยมีสาระสำคัญว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กรณีการลบหลู่ หรือเหยียดหยามในประการที่ “น่าจะ” ทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา </p>
<p>ผมคิดว่าถ้ามีกฎหมายหมิ่นศาสนา จะเกิดปัญหาสำคัญตามมา คือ</p>
<p><strong>1. อะไรคือหมิ่นศาสนา </strong>ในประวัติศาสตร์ โสกราตีสถูกศาลแห่งเอเธนส์ตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาชักนำเยาวชนไปในทางที่ผิด และนำเสนอเทพเจ้าองค์ใหม่ เยซูคริสต์ถูกตรึงกางเขนด้วยข้อหากบฏและ “ดูหมิ่นพระเจ้า” ทั้งสองกรณีมีความพัวพันระหว่างการเมืองและการใช้ข้อหาหมิ่นศาสนาเป็นเครื่องมือขจัดคนคิดต่าง แต่ผลก็คือข้อกล่าวหาทำนอง “หมิ่นศาสนา” ที่ผู้กล่าวหาตีความว่า “น่าจะ” ทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย เป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการประหารชีวิตนักปรัชญาและศาสดาคนสำคัญของโลก แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว โสกราตีสก็ไม่ได้ทำอะไรให้ศาสนาของชาวเอเธนส์ “เสื่อมเสีย” ได้จริง และเยซูกลับเป็นผู้ให้กำเนิดศาสนาคริสต์ที่คนส่วนใหญ่ในโลกนับถือ </p>
<p>นายสุพจน์ อาวาส โฆษกพรรคประชาชาติได้อธิบายลักษณะของการกระทำที่เป็นการ “ดูหมิ่นศาสนา” เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวว่า </p>
<p><span style="color:#2980b9;">“ปัจจุบันมีบุคคลและกลุ่มบุคคลบางกลุ่มใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนเองก่อให้เกิดความแตกแยก ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จมีลักษณะ ลบหลู่ และเหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่มีหมู่ชนจำนวนมากเลื่อมใสศรัทธาเคารพนับถือ</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเกลียดชังกันหมู่ของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นในการนับถือศาสนา และการประกอบพิธีกรรมตามหลักความเชื่อตามหลักการทางศาสนาของตน</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลดังกล่าว มีการเจตนาเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ใส่ความ บิดเบือนเกี่ยวกับเนื้อหาคำสอนของศาสดาของศาสนาบางศาสนา การเผยแพร่ข้อความอันเป็นความเท็จดังกล่าวทำให้ประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารนั้นหลงเชื่อ ทำให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ถูกใส่ความ บิดเบือน ลบหลู่ หรือ เหยียดหยามได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ของประชาชนภายในประเทศ เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ ประกอบกับประมวลกฏหมายอาญาซึ่งเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก
</span> (ดู https://www.matichon.co.th/politics/news_3193941)</p>
<p>ผมอ่านหลายรอบก็ยิ่งเห็นชัดเจนว่า นี่เป็นข้อกล่าวหาแบบ “การล่าแม่มด” ในยุคโบราณและยุคกลางเลย เพราะคำว่า “หมิ่นศาสนา” สามารถตีความได้ครอบจักรวาล ไม่ต่างจากข้อกล่าวหาที่เคยใช้กับโสกราตีส, เยซู, กาลิเลโอ, และคนอีกเป็นแสนๆ ในยุคกลาง หรือในรัฐศาสนาอย่าง “รัฐอิสลาม” ในปัจจุบัน </p>
<p><strong>2. ถ้ามีกฎหมายหมิ่นศาสนาจะมีหลักประกันอะไรว่า จะไม่มีการใช้กฎหมายหมิ่นศาสนาแบบการใช้มาตรา 112</strong> เพราะนิยามของ “การหมิ่นศาสนา” ตามที่โฆษกพรรคประชาชาติอธิบายมันครอบจักรวาลเหมือนหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามที่มีการใช้มาตรา 112 เลย </p>
<p>ปัญหาสำคัญของการมีและการใช้มาตรา 112 คือ ทำให้มีการใช้กฎหมายนี้กดปราบประชาชนที่คิดต่างทางการเมือง หรือใช้กฎหมายนี้กลั่นแกล้งกันในทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย แทนที่ 112 จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ให้ดำรง “ความเป็นกลางทางการเมือง” กลับทำให้มีการอ้างเรื่องปกป้องสถาบันกษัตริย์เพื่อใช้ 112 ปิดปากฝ่ายคิดต่าง ดังนั้น การใช้ 112 จึงเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งทางการเมืองตามที่เป็นมาและเป็นอยู่ </p>
<p>เช่นเดียวกัน การอ้างว่ามีกฎหมายหมิ่นศาสนาแล้วจะแก้ปัญหาความขัดแย้งแตกแยก แต่ความจริงแล้วอาจนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะนิยามการหมิ่นศาสนาที่ครอบจักรวาล ย่อมทำให้ง่ายต่อการใช้กฎหมายหมิ่นศาสนากดปราบคนคิดต่าง และสร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชน เท่ากับกฎหมายนี้เป็นเงื่อนไขให้มี “การนำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง” เพราะกฎหมายหมิ่นศาสนาอาจนำปสู่การใช้กลั่นแกล้งกันในทางการเมือง และปิดปากคนคิดต่างได้ง่ายดาย ไม่ต่างอะไรกับการใช้ 112 เพราะเป็นการนำเอาศาสนาที่ควรเป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ไปผูกกับรัฐหรือความมั่นคงของรัฐ ซึ่งเป็นหลักคิดแบบ “รัฐศาสนา” มากกว่าจะเป็นหลักคิดแบบ “รัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่” หรือรัฐเสรีประชาธิปไตย </p>
<p><strong>3. กฎหมายหมิ่นศาสนาขัดหลักความยุติธรรมสาธารณะในระบอบเสรีประชาธิปไตย</strong> เพราะหลักความยุติธรรมสาธารณะในระบอบเสรีประชาธิปไตย ต้องเป็นหลักความยุติธรรมที่มี “ความเป็นธรรม” (fairness) แก่พลเมืองทุกคน ไม่ว่าจะถือศาสนาใดๆ หรือไม่ถือศาสนาก็ตาม </p>
<p>ดังนั้น ตามหลักความยุติธรรมสาธารณะ รัฐต้อง “เป็นกลางทางศาสนาและความเชื่อที่ไม่ใช่ศาสนา” โดยรัฐต้องประกันเสรีภาพ, ความเสมอภาคทางศาสนา และให้การศึกษาที่ส่งเสริมให้พลเมืองมีความเคารพและอดกลั้นระหว่างกลุ่มคนที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างกัน และกลุ่มคนไม่มีศาสนา รัฐจะไม่ออกกฎหมายใดๆ เพื่อ “อภิสิทธิ์ทางศาสนา” (religious privileges) เช่น กฎหมายบัญญัติศาสนาประจำชาติ กฎหมายอุปถัมภ์ศาสนา กฎหมายห้ามหมิ่นศาสนา การบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนของรัฐ การให้งบฯ อุดหนุนศาสนา เป็นต้น </p>
<p><strong>4. บทบาทของสถาบันต่างๆ ในรัฐเสรีประชาธิปไตย</strong> เช่น บทบาทของรัฐบาล พรรคการเมือง กองทัพ ศาล หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามและปกป้อง “คุณค่าหลัก” (core values) ของระบอบเสรีประชาธิปไตย เช่น หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน หลักเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพปัจเจกบุคคล เสรีภาพทางศาสนา หรือเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก การชุมนุมโดยสงบ เป็นต้น  </p>
<p>ทำไมสถาบันต่างๆ ในรัฐเสรีประชาธิปไตยต้องปฏิบัติตามและปกป้องคุณค่าหลักของระบอบเสรีประชาธิปไตย ก็เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ประชาธิปไตยมั่นคงได้ ถ้าละเมิดคุณค่าหลัก เช่น ทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมมนุญก็เท่ากับทำลายคุณค่าหลัก และประชาธิปไตย หรือการออกกฎหมายใดๆ ที่ขัดหลักเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพปัจเจกบุคคล หรือกฎหมายที่ง่ายต่อการถูกใช้เป็นเครื่องมือลิดรอนเสรีภาพดังกล่าว ย่อมทำให้ประชาธิปไตยไม่มั่นคง </p>
<p>การพูดถึง “ความมั่นคงของชาติ” โดยไม่พูดถึง “ความมั่นคงของหลักเสรีภาพและประชาธิปไตย” ย่อมเป็นการพูดที่ไร้ความหมาย เพราะ “ชาติ” คือ “ประชาชน” และประชาชนมีอำนาจอธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้จริง ก็ต่อเมื่อประชาธิปไตยมั่นคง</p>
<p><strong>5. ปัญหาของพรรคการเมืองมุสลิมและกลุ่มเคลื่อนไหวชาวพุทธ </strong>คือการเป็นพรรคการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อ้างหลักศาสนาของกลุ่มตนในทางที่ขัดกับหลักความยุติธรรมสาธารณะ หรือคุณค่าหลักของระบอบเสรีประชาธิปไตย</p>
<p>เช่น กรณี ส.ส.พรรคประชาชาติอ้างหลักศาสนาอิสลามคัดค้านการออกกฎหมายสมรสเท่าเทียม และการเสนอร่างกฎหมายหมิ่นศาสนา เป็นต้น ทั้งๆ ที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นการให้หลักประกัน “สิทธิเท่าเทียม” แก่คนทุกคนศาสนาและคนไม่มีศาสนาสามารถ “เลือกได้” ว่าจะสมรสเพศเดียวกันเพื่อให้มีสิทธิอื่นๆ เท่าเทียมกับเพศชาย-หญิงเท่านั้น ไม่ใช่กฎหมายที่ “บังคับ” ให้ชาวมุสลิมหรือชาวศาสนาไหนๆ ต้องสมรสเพศเดียวกันแต่อย่างใด ถึงมีกฎหมายเช่นนี้ชาวมุสลิมก็มีสิทธิ์เลือกที่จะไม่สมรสเพศเดียวกันได้อยู่แล้ว การทำหน้าที่ ส.ส.ของพรรคประชาชาติในกรณีนี้จึงขัดกับหลัก “สิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียม” ของระบอบเสรีประชาธิปไตย ทำให้เกิดคำถามว่าคุณเป็น “ผู้แทนของชาวมุสลิมเท่านั้น” หรือ “เป็นผู้แทนปวงชน” ไม่ว่าจะเป็นชาวมุสลิม ชาวศาสนาไหนๆ รวมทั้งคนไม่มีศาสนาด้วย </p>
<p>อีกกรณีคือ กลุ่มชาวพุทธที่ประกอบด้วยพระสงฆ์และฆราวาสเคลื่อนไหวเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็น “ศาสนาประจำชาติ” ในรัฐธรรมนูญ และเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐออกกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาเป็นต้น รวมทั้งชาวมุสลิมเรียกร้องการออกฎหมายพิเศษทางศาสนาของกลุ่มตน ล้วนแต่สวนทางกับการพัฒนาไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยโลกวิสัยทั้งสิ้น กลุ่มชาวพุทธและมุสลิมเหล่านี้ “เล่นการเมือง” เพื่ออภิสิทธิ์ทางศาสนาของกลุ่มตนอย่างขัดหลักความยุติธรรมสาธารณะ หรือคุณค่าหลักของระบอบประชาธิปไตย</p>
<p><strong>6. หยุดทำให้ศาสนาขัดแย้งกับศีลธรรม</strong> ประวัติศาสตร์ของการมีและการใช้กฎหมายหมิ่นศาสนาล่าแม่มด กดปราบคนคิดต่าง คือประวัติศาสตร์ของ “การทำให้ศาสนาขัดแย้งกับศีลธรรม” เพราะขณะที่พระศาสดาสอนให้ “รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง, จงให้อภัยแก่ศัตรู” แต่ในยุคกลางศาสนจักกลับใช้ข้อหาหมิ่นศาสนาที่ตีความได้ครอบจักรวาลจับผู้คนนับแสนๆ มาขังคุกทรมาน แขวนคอ และเผาทั้งเป็น </p>
<p>ปัจจุบันประเทศที่ยังเป็นรัฐศาสนา ก็ใช้กฎหมายหมิ่นศาสนาลงโทษรุนแรงอย่างขัดหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งล้วนแต่เป็นการทำให้ศาสนาขัดแย้งกับคำสอนพระศาสดา หรือขัดแย้งกับ “พระเจ้า” และเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์</p>
<p>ในสังคมสมัยใหม่มีแนวคิดศีลธรรมที่เป็นอิสระจากศาสนา คือ “ศีลธรรมโลกวิสัย” หรือ “ secular morality” ที่ถือว่า “แก่น” ของศีลธรรมคือการที่ปัจเจกบุคคลมี “autonomy” คือมีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการกำหนดตนเอง การมีเสรีภาพทำให้เราแต่ละคนกำหนดกฎศีลธรรมขึ้นมาใช้สำหรับตนเองและใช้ร่วมกันกับทุกคนได้ เช่นเดียวกับเรามีเสรีภาพกำหนดกฎกติกาทางสังคมและการเมืองขึ้นมาใช้ร่วมกันได้บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน </p>
<p><strong>ดังนั้น ศีลธรรมสมัยใหม่จึงสอดคล้องไปกันได้กับหลักความยุติธรรมสาธารณะหรือคุณค่าหลักของระบอบเสรีประชาธิปไตย การมีกฎหมายหมิ่นศาสนาจึงเป็นการทำให้ศาสนาเป็นปฏิปักษ์ต่อศีลธรรมสมัยใหม่ ซึ่งย่อมขัดแย้งกับกระแสเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยของคนรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญด้วย</strong></p>
<p>ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พรรคการเมือง และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวพุทธและชาวมุสลิมในไทย จะเกิด “การเรียนรู้” และ “ตื่นรู้” เสียทีว่า พุทธศาสนาและศาสนาอิสลามสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าต่อบุคคลหรือกลุ่มคนผู้ศรัทธาควบคู่กับการปกป้องรักษาหลักความยุติธรรมสาธารณะ หรือคุณค่าหลักของระบอบเสรีประชาธิปไตยได้ </p>
<p><strong>หรือตื่นรู้เสียทีว่า ศาสนาไม่จำเป็นต้องขัดแย้ง หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อศีลธรรมสมัยใหม่ แล้วเลิกเคลื่อนไหวเรียกร้องการบัญญัติกฎหมายใดๆ เพื่ออภิสิทธิ์ทางศาสนาของกลุ่มตน ซึ่งขัดหลักการประชาธิปไตยโลกวิสัย และขัดกับคำสอนของพระศาสดา หรืออาจขัดหลักธรรมะ และพระประสงค์ของพระเจ้าเสียเอง!  </strong></p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มาภาพ </strong>https://siamrath.co.th/n/320868</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108255
 
หน้า:  1 ... 67 68 [69] 70 71 ... 1127
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.86 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 20 สิงหาคม 2566 08:47:01