[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 07:51:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: สหภาพขยายบทบาทสู่แรงงานแพลตฟอร์ม การปรับตัวขององค์กรแ  (อ่าน 58 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 มกราคม 2567 22:26:11 »

เมื่อโรงงานคือท้องถนน: สหภาพขยายบทบาทสู่แรงงานแพลตฟอร์ม การปรับตัวขององค์กรแรงงานยุคใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-28 19:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พฤกษ์ เถาถวิล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศตวรรษที่ 20 จบลง พร้อมกับทิ้งคำถามต่อขบวนการแรงงานว่า สหภาพแรงงานในขอบข่ายทั่วโลก ซึ่งถดถอยลงทั้งทางปริมาณและคุณภาพ จะยังคงมีอยู่หรือไม่? หรือจะยังคงความสำคัญได้อย่างไร? บทความนี้นำเสนอประสบการณ์ การพยายามฟื้นตัวของสหภาพแรงงานในต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายบทบาทของสหภาพออกมาสนับสนุนแรงงานกลุ่มอื่นๆนอกรั้วโรงงาน โดยเฉพาะแรงงานแพลตฟอร์ม  การขยายบทบาทของสหภาพได้ทำให้ขบวนการแรงงานที่ถูกแบ่งแยก กลับมาคึกคักและได้บทเรียนใหม่ๆ </p>
<p>บทความเริ่มจาก ทบทวนสถานการณ์ถดถอยของสหภาพแรงงานทั่วโลกในภาพรวม จากนั้นนำเสนอรูปแบบความร่วมมือระหว่างสหภาพกับแรงงานแพลตฟอร์มในภาพรวมจากหลายประเทศ ตอนท้ายขยายความกรณีศึกษาในประเทศเกาหลีใต้ อินโดนิเชีย และยูกันดา</p>
<p>นับจากทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) สหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นฐานกำลังสำคัญของขบวนการแรงงานได้อ่อนแรงลงเป็นลำดับ สัดส่วนสมาชิกสหภาพเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนแรงงานทั้งหมดในภาพรวมทั้งโลก ลดลงจาก 36% ในปี 1990 เหลือ 18% ในปี 2016 หากพิจารณาเฉพาะทวีปยุโรปในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า สัดส่วนสมาชิกสหภาพลดลงจากประมาณ 58% เหลือ 25% ส่วนอเมริกาเหนือลดลงจากประมาณ 24% เหลือ 12%<a href="#_edn1" name="_ednref1" title="" id="_ednref1">[1][/url]</p>
<p>การลดลงของสมาชิกสหภาพเกิดจากหลายสาเหตุ นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและการจ้างงาน จากอุตสาหกรรมไปสู่ภาคบริการ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมลดขนาด โรงงานอุตสาหกรรมเล็กลง กระจัดกระจาย สหภาพอุตสาหกรรมซึ่งเป็นฐานกำลังสำคัญอ่อนแรง ในขณะที่แรงงานภาคบริการมีมากขึ้น แต่สภาพการจ้างไม่เอื้อต่อการรวมตัว หรือรวมตัวเป็นสหภาพแต่อำนาจต่อรองลดลง; การลดลงของการจ้างงานตามมาตรฐาน ไปสู่การจ้างงานระยะสั้น งานชั่วคราว การจ้างเหมาช่วงงาน</p>
<p style="margin-top:12.0pt; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ (informal economy, ประเทศไทยเรียนคนงานในเศรษฐกิจประเภทนี้ว่า “แรงงานอกระบบ”) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในประเทศกำลังพัฒนา; การขยายตัวของแรงงานย้ายถิ่น ซึ่งมีข้อจำกัดในการจัดตั้งสหภาพ; การเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้หญิงมากขึ้น แต่มีข้อจำกัดทางวัฒนธรรมในการร่วมกิจกรรมกับสหภาพ; การศึกษาภาคบังคับที่ยาวนาน ทำให้คนหนุ่มสาวเข้าสู่ตลาดแรงงานช้าลง, ภาพลวงตาของการเป็นผู้ประกอบการ และการหันหลังให้กับสถานะแรงงานและสหภาพแรงงานของคนยุคใหม่; การเปลี่ยนโครงสร้างครอบครัว ทำให้คนยุคใหม่ต้องทำงานพิเศษ (กินข้าว) หรือทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน; การขยายตัวของงานกิ๊ก (gig work) ที่แบ่งซอยแรงงานออกเป็นปัจเจก และถูกจัดให้เป็นผู้รับจ้างอิสระ<a href="#_edn2" name="_ednref2" title="" id="_ednref2">[2][/url]    <span style="font-size:11pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">  </span></span></span></span></span></span></p>
<p style="margin-top:12.0pt; text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">ในภาวะถดถอยของสหภาพแรงงานจากหลายปัจจัยรุมเร้า งานวิจัยเสนอว่า<a href="#_edn3" name="_ednref3" title="" id="_ednref3">[3][/url] สหภาพควรปรับยุทธศาสตร์ไปสู่การขยายสมาชิกและความร่วมมือออกไปนอกขอบเขตเดิม เช่น การรับคนหนุ่มสาวเข้าสู่สหภาพ ด้วยการเข้าไปขยายความคิดสหภาพแรงงานในสถาบันการศึกษา การเพิ่มจำนวนสมาชิกและบทบาทของผู้หญิง และแรงงานย้ายถิ่นในสหภาพ การสร้างพันธมิตรกับภาคประชาสังคม เพื่อเป็นสะพานไปสู่การทำงานกับแรงงานภาคไม่เป็นทางการ แรงงานย้ายถิ่น และแรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็กที่ยังไม่มีสหภาพ หรือมีสมาชิกจำนวนน้อย การออกไปสนับสนุนแรงงานแพลตฟอร์มในการจัดตั้งองค์กร หรือผนวกองค์กรแรงงานแพลตฟอร์มเข้าสู่สหภาพ การใช้ช่องทางสื่อสารใหม่ๆทางออนไลน์เพื่อขยายฐานสมาชิกและการสนับสนุน <span style="font-size:11pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"> </span></span></span></span></span></span></p>
<p>งานวิจัยการปรับตัวของสหภาพแรงงานยุคทุนนิยมดิจิทัลอีกชิ้นหนึ่ง<a href="#_edn4" name="_ednref4" title="" id="_ednref4">[4][/url] พยายามหาคำตอบว่าในยุคที่เทคโนโลยีใหม่เข้ามาจัดระบบงานและควบคุมแรงงาน ดังที่บริษัทแพลตฟอร์ม มักอ้างว่าตัวเป็นตัวกลางระหว่างแรงงานกับผู้ว่าจ้าง จัดวางให้แรงงานเป็นผู้รับจ้างอิสระ ทำให้แรงงานถูกแบ่งแยก และแข่งขันกันเอง ในขณะที่เทคโนโลยีของแพลตฟอร์มควบคุมการทำงานของแรงงานอย่างเข้มงวด เช่นนี้แล้ว แรงงานแพลตฟอร์มจะสามารถโต้ตอบ และสหภาพแรงงานจะมีความหมายอยู่หรือไม่</p>
<p>การวิจัยได้ข้อค้นพบสำคัญที่ยืนยันว่า การเปลี่ยนเทคโนโลยีการควบคุมแรงงาน อาจทำให้ทุนแก้ไขปัญหาบางอย่าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัยคือ การควบคุมแบบใหม่ ก่อให้เกิดการต่อต้านของแรงงานรูปแบบใหม่ด้วย กรณีศึกษาจากหลายประเทศในซีกโลกเหนือและใต้ ทำให้พบว่าได้เกิดนวัตกรรมเชิงองค์กร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรแรงงานแพลตฟอร์มกับสหภาพแรงงาน คือแรงงานแพลตฟอร์มโดยทั่วไป – ซึ่งกฎหมายไม่รับรองการจัดตั้งสหภาพ -  มักรวมกลุ่มเป็นองค์กรไม่เป็นทางการ และองค์กรได้ร่วมมือกับสหภาพแรงงานดั้งเดิมในรูปแบบต่างๆ ตามบริบทเศรษฐกิจการเมือง และเงื่อนไขทางกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศ</p>
<p>ความร่วมมือระหว่างองค์กรแรงงานแพลตฟอร์มกับสหภาพแรงงาน (platform unionism) แบ่งเป็น 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ <strong>การร่วมมือกับสหภาพแรงงาน (union cooperation)</strong> ในประเทศเบลเยียม องค์กรแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารร่วมมือกับสมาพันธ์แรงงาน แต่ยังรักษาความเป็นอิสระขององค์กร คล้ายกับที่เยอรมัน แรงงานแพลตฟอร์ม Youtube ก่อตั้งสหภาพ และได้เข้าร่วมกับสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง โดยรักษาความอิสระของตน ขณะที่ในเนเธอร์แลนด์ องค์กรแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหาร ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์แรงงานเก่าแก่ โดยสลายความเป็นองค์กรของตน (integrated) เช่นเดียวกับที่เกาหลีใต้ เจ้าของรถขนส่งสินค้าได้จัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยผนวกเข้าเป็นสาขาหนึ่งของสหภาพแรงงานด้านการขนส่งที่เข้มแข็ง</p>
<p><strong>กลุ่มไม่เป็นทางการหลายรูปแบบ (variety organized informal group)</strong> เป็นลักษณะเด่นของแรงงานแพลตฟอร์มในโลกใต้ ซึ่งการจัดตั้งสหภาพแรงงานตามกฎหมายมีเงื่อนไขและอุปสรรคมาก เช่น ในอินโดนิเชียมีการรวมกลุ่มหลายรูปแบบ ดังกรณี ชุมชนคนขับ (driver community) เป็นกลุ่มไม่เป็นทางการเพื่อช่วยเหลือกันในการทำงาน สมาคมคนขับ (driver association) เป็นการจดทะเบียนในรูปแบบสมาคมกับทางการ รวมทั้งมีความริเริ่มของสหภาพแรงงานการขนส่ง สนับสนุนการเจรจาระหว่างตัวแทนแรงงานแพลตฟอร์มกับบริษัทเรื่องสภาพการจ้างที่เป็นธรรม  และสนับสนุนให้องค์กรแรงงานแพลตฟอร์มจดทะเบียนเป็นสหภาพ</p>
<p> <strong>การพัฒนาเป็นสหภาพแรงงาน (unionization)</strong> ดังกรณีของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นประเทศที่ขบวนการแรงงานเข้มแข็ง คนขับรถส่งอาหารในสังกัดแพลตฟอร์ม เห็นว่าไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากบริษัท องค์กรไม่เป็นทางการของคนขับจึงได้รวมตัวกันเรียกร้องให้บริษัทปรับสภาพการจ้าง เมื่อบริษัทไม่ตอบรับ การต่อสู้จึงยกระดับไปสู่การเรียกร้องให้รัฐรับรองการจัดตั้งสหภาพของคนงานแพลตฟอร์ม และด้วยการหนุนช่วยของสหภาพแรงงานเก่าแก่ ในที่สุดทางการได้บัญญัติกฎหมายรับรองการจัดตั้งสหภาพของแรงงานส่งอาหารภายใต้แพลตฟอร์ม</p>
<p style="margin: 0in 0in 10pt;">และรูปแบบที่สี่ <strong>สหภาพที่ขยายฐานสู่สมาชิกหลายกลุ่ม (union’s hybridization)</strong> ดังกรณีประเทศยูกานดา สหภาพแรงงานของแรงงานขนส่งและแรงงานทั่วไป กำลังประสบปัญหาสมาชิกสหภาพลดน้อยลง จึงได้ปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ โดยรับแรงงานขนส่งในภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ (informal economy) เข้าเป็นสมาชิกสหภาพ ในสถานการณ์ที่แรงงานในเศรษฐกิจไม่เป็นทางการกำลังขยายตัว การรวมเอาแรงงานกลุ่มนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพทำให้สหภาพแรงงานฟื้นความเข้มแข็งขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของแรงงานกลุ่มใหม่นี้ด้วย  <span style="font-size:11pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">        </span></span></span></span></span></span></p>
<p>ท่ามกลางความร่วมระหว่างองค์กรแรงงานแพลตฟอร์มกับสหภาพดั้งเดิมหลายรูปแบบ ต่อไปนี้จะขยายความ ความร่วมมือกรณีที่สหภาพแรงงานมีบทบาทที่น่าสนใจ ดังที่เกิดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ อินโอนิเชีย และยูกันดา </p>
<p><strong>เกาหลีใต้</strong> อุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางถนนเป็นเส้นเลือดเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ โครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นระบบเหมาช่วงงานหลายชั้น (multi-layer subcontract) โดยบริษัทขนส่งขนาดใหญ่ทำสัญญาเหมาช่วงกับบริษัทขนาดเล็กเป็นชั้นๆ และที่ปลายสุดของการว่าจ้างคือเจ้าของรถบรรทุกซึ่งเป็นคนขับ (owner-operators) ในโครงสร้างแบบนี้เจ้าของรถบรรทุกมักเผชิญสภาพการทำงานและค่าตอบแทนที่เลวร้าย </p>
<p>กลุ่มเจ้าของรถบรรทุกซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์กรไม่เป็นทางการ ได้ประสานงานกับสหพันธ์แรงงานขนส่งสินค้าแห่งเกาหลี (Korean Cargo Transport Workers Federation, KCTWF) ซึ่งมีนโยบายขยายฐานสมาชิกไปสู่บรรดาแรงงานในงานไม่มั่นคงอยู่ก่อนแล้ว ด้วยการสนับสนุนของสหพันธ์ องค์กรเจ้าของรถบรรทุก สามารถจัดตั้งสหภาพเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ในนาม Cargo Truckers’ Solidarity Union (TruckSol) นับตั้งแต่ปี 2002</p>
<p>ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ในองค์กร การมีกิจกรรมร่วมกับสหพันธ์ และการร่วมรณรงค์ “Safe Rates” ซึ่งเป็นการทำให้สังคมรับรู้ว่า การได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ทำให้คนขับรถบรรทุกไม่จำเป็นต้องโหมงานหนัก ค่าตอบแทนที่เหมาะสม จะทำให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน ทั้งต่อคนขับรถบรรทุก และผู้ใช้รถใช้ถนน กระบวนการเรียนรู้ได้ทำให้เจ้าของรถบรรทุกเกิดสำนึกความเป็นแรงงาน (แทนที่จะเป็นผู้ประกอบการ) และเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นแรงงาน แม้ TruckSol ยังมีสัดส่วนสมาชิกจำนวนน้อยจากจำนวนเจ้าของรถบรรทุกทั้งหมด แต่การร่วมกับสมาพันธ์ทำให้มีอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง</p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 10pt">ในช่วงหลัง TrackSol ได้ขยายฐานสมาชิกไปสู่แรงงานขนส่งภายใต้แพลตฟอร์ม ในเวลาเดียวกับที่แรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารซึ่งได้ต้นแบบจาก TrackSol ได้จัดตั้งสหภาพไรเดอร์ และเข้าร่วมรณรงค์ Save Rates ในปี 2018 สหภาพไรเดอร์รณรงค์ให้คนขับรถส่งอาหารได้รับการประกันค่ารอบขั้นต่ำ และมีสถานะเป็นลูกจ้างของบริษัท ในช่วงโควิด-19 TrackSol ร่วมกับสหภาพไรเดอร์ รณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยของไรเดอร์ ซึ่งเกิดจากความเร่งรีบส่งอาหาร การเปลี่ยนทัศนะคติของผู้บริโภคสามารถทำให้อุบัติเหตุลดลงได้<a href="#_edn5" name="_ednref5" title="" id="_ednref5">[5][/url] <span style="font-size:11pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"> </span></span></span></span></span></span></p>
<p><strong>อินโดนิเชีย</strong> การขยายตัวของรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์รับจ้าง ภายใต้แอปพลิเคชั่นเรียกรถโดยสาร ขยายตัวอย่างรวดเร็วในอินโดนิเชียนับจากปี 2015 ก่อให้เกิดการรวมตัวของคนขับใน 2 รูปแบบคือ ชุมชนคนขับ (driver community) และสมาคมคนขับ (driver association) รูปแบบแรกเป็นการรวมกลุ่มของคนขับในย่านที่ทำงานเดียวกัน รูปแบบที่สองเป็นการรวมตัวกันของชุมชนคนขับหลายกลุ่ม เป็นเครือข่ายข้ามพื้นที่ ทั้งสองแบบมีจุดร่วมกันคือเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันในการทำงาน เยียวยาอุบัติเหตุ ช่วยกันเมื่อกระทบกระทั่งกับคนขับรถรับจ้างระบบเดิม (ไม่ได้ใช้แอป) หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ในขณะที่กลุ่มแรก ยังคงรักษาสถานะเป็นองค์กรไม่เป็นทางการ กลุ่มแบบที่สอง ได้จดทะเบียนกับทางราชการ เพื่อให้มีสถานภาพทางกฎหมายรองรับ</p>
<p>ท่ามกลางองค์กรคนขับหลากหลายกลุ่ม มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของสหภาพแรงงาน แผนกการบินและการขนส่งแห่งสหพันธ์สหภาพแรงงานโลหะแห่งอินโดนีเซีย (The Aerospace and Transportation Workers division of the Federation of Indonesian Metal Workers’ Union (Serikat Pekerja Digantara dan Transportasi Federasi Serikat Pekerja Metal Indonesia, SPDT-FSPMI) ซึ่งมุ่งมั่นจะยกระดับสภาพการจ้าง สิทธิ และสวัสดิการของคนงานขนส่งทั้งมวล ในปี 2016 สมาพันธ์มีนโยบายสนับสนุนให้คนขับรถภายใต้แอปที่กำลังขยายตัว ได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับแรงงานขนส่งอื่นๆ พยายามส่งเสริมให้กลุ่มคนขับยกระดับองค์กรเป็นสหภาพ และเข้าร่วมกับสหพันธ์     </p>
<p>ฝ่ายจัดตั้งของสมาพันธ์ ทำกิจกรรมเชิงกลยุทธ์หลายอย่างเพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนและสมาคมคนขับ เช่น โครงการอำนวยความสะดวกการเข้าถึงการบริการสุขภาพของรัฐ โดยอาสาสมัครของสมาพันธ์ให้คำแนะนำเรื่องสิทธิที่ได้รับและช่วยให้เข้าถึงแก่สิทธิคนขับ โครงการสหกรณ์ออมทรัพย์สำหรับคนขับเพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น โครงการทำงานต่อเนื่องกับสมาชิกสหภาพ ที่ถูกกลั่นแกล้ง ปลดออกเลิกจ้าง จากงานประจำ แล้วหันมาเป็นคนขับใต้แอป โครงการส่งนักจัดตั้งไปทำงานร่วมกับชุมชนคนขับ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่</p>
<p>การริเริ่มได้ประสบความความสำเร็จขั้นต้น เมื่อ SPDT-FSPMI สามารถผลักดันให้ชุมชนคนขับในจังหวัด Riau จดทะเบียนเป็นสหภาพแรงงาน แม้มีอุปสรรคจากกฎหมาย และการขัดขวางของบริษัทแพลตฟอร์ม แต่ในที่สุดสามารถจดทะเบียนสหภาพได้ โดยดำเนินตามเงื่อนไขบางประการ ในปี 2020 สหภาพไรเดอร์แห่งแรกได้เกิดขึ้น จากสมาชิกเริ่มต้น 300 คน ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,700 คน เป็นคนขับจากหลายแอปพลิเคชั่น<a href="#_edn6" name="_ednref6" title="" id="_ednref6">[6][/url]</p>
<p><strong>ยูกันดา</strong> เป็นประเทศในอัฟริกาตะวันออก สหภาพการขนส่งและคนงานในกิจการทั่วไปแห่งยูกันดา (Uganda’s Amalgamated Transport and General Workers’ Union, ATGWU) เคยมีสมาชิกสหภาพลดลงถึงขั้นวิกฤต เมื่อเกิดโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การขนส่งสาธารณะซึ่งดำเนินการโดยภาครัฐเป็นหลัก เปลี่ยนไปสู่การแข่งขันของภาคเอกชน สมาชิกสหภาพซึ่งเป็นคนงานขนส่งภาครัฐลดลง หันไปทำงานขับรถขนส่งผู้โดยสารซึ่งเป็นงานในเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ ในสถานการณ์นี้ ATGWU ได้ปรับตัวทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่เพื่อให้สหภาพยังคงความสำคัญ</p>
<p>ท่ามกลางการขนส่งสาธารณหลายระบบ รถแท็กซี่ และรถมอเตอร์ไซค์ส่งผู้โดยสาร เป็นการขนส่งที่สำคัญในตัวเมือง รถสาธารณะทั้งสองมีผู้ขับซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เช่ารถหรือรถมอเตอร์ไซค์ จากของซึ่งให้เช่ารถเป็นธุรกิจ โดยเสียค่าเช่ารายวัน โดยสภาพการทำงานเช่นนี้ คนขับรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ส่งผู้โดยสาร มีสถานะเป็นแรงงานในภาคไม่เป็นทางการ แข่งขันกันสูง ไร้สิทธิและสวัสดิการ แท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ส่งผู้โดยสาร ไม่เพียงเป็นอาชีพของคนจำนวนมาก แต่ทำให้เกิดอาชีพต่อเนื่อง เช่น พนักงานติดต่อลูกค้า ไกด์ทัวร์ คนยกกระเป๋า ช่างเครื่องยนต์ ปะยาง หุ้มเบาะ อะไหล่ยนต์ พนักงานล้างรถ คนขายโทรศัพท์ คนขายอาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ</p>
<p>ด้วยการถกเถียงกันอย่างหนัก กรรมการ ATGWU ตัดสินใจสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยรวมแรงงานภาคไม่เป็นทางการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพ แทนที่จะเปิดรับสมัครรายบุคคล ATGWU เชื้อเชิญกลุ่มและสมาคมแท็กซี่และรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างซึ่งมีอยู่ทั่วไป เข้าเป็นสมาชิกสหภาพ ในปี 2515 สมาคมใหญ่ของแท็กซี่ (The Kampala Operational Taxi Stages Association, KOTSA) และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง (Kampala Metropolitan Boda-Boda Association, KAMBA) ซึ่งเป็นสองสมาคมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้เข้าร่วมกับ ATGWU ทำให้มีสมาชิกสหภาพเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คน</p>
<p>การเข้าร่วมของสองสมาคมใหญ่ทำให้ต้องผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ การสัมมนาหลายครั้ง นำไปสู่การออกแบบกฎระเบียบ และโครงสร้างองค์กร เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยและธรรมภิบาลในองค์กร และทำให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของแรงงานทุกกลุ่ม สหภาพยุติการใช้คำว่า คนงานทางการ/ไม่เป็นทางการ (formal/informal) ไปใช้คำว่า คนงาน/สมาชิก (workers/members) สิ่งยืนยันความสำเร็จของสหภาพคือ ทำให้คนขับไม่ถูกถูกข่มขู่คุกคามจากจากหน้าที่ หรือผู้ให้เช่ารถ หรือมีปัญหาลดลง และลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทได้รับการปฏิบัติที่ดีจากนายจ้าง มีความราบรื่นในการยื่นข้อเรียกร้องและการเจรจากับนายจ้างมากขึ้น</p>
<p>ในยุคดิจิทัล สหภาพปรับตัวด้วยการใช้ระบบออนไลน์ ในการรับสมัครสมาชิก และสื่อสารกับสมาชิก อีกด้านหนึ่ง ขณะที่กำลังมีการขยายตัวของคนขับภายใต้แอปเรียกรถโดยสารของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ซึ่งคนขับรถใต้แอปเผชิญกับงานที่ยากลำบาก ไร้สิทธิและสวัสดิการ สหภาพได้จัดทำแอปพลิเคชั่นเรียกรถโดยสาร เพื่อให้เป็นทางเลือก ซึ่งพบว่าได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ คือคนขับในแอปของบริษัทยอดนิยมคงที่หรือลดลง และที่มีผู้เข้ามาใช้แอปของสหภาพมากขึ้นเป็นลำดับ<a href="#_edn7" name="_ednref7" title="" id="_ednref7">[7][/url]</p>
<p>กรณีตัวอย่างที่กล่าวมา แสดงให้เห็นการปรับตัวของสหภาพ จากสหภาพตามแบบแผนเดิม ก้าวข้ามขอบเขตโรงงาน  อุตสาหกรรม สภาพการจ้าง ออกไปสู่การจัดตั้ง สนับสนุน สร้างแนวร่วม กับแรงงานกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าแรงงานภาคไม่เป็นทางการ แรงงานแพลตฟอร์ม แรงงานต่างชาติ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การสนับสนุนบทบาทของผู้หญิง คนหนุ่มสาว คนต่างชาติในองค์กร รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคม พรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม</p>
<p>ในบทความนี้จะเห็นถึง ด้านหนึ่งคือการปรับตัวของสหภาพแรงงานดั้งเดิม อีกด้านหนึ่งคือการรวมตัวอย่างกระตือรือล้นของแรงงานแพลตฟอร์มเป็นองค์กรไม่เป็นทางการ การร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ช่วยปลุกความสำคัญของสหภาพ เป็นประโยชน์แก่แรงงานแพลตฟอร์ม และขบวนการแรงงานโดยรวม</p>
<p><strong>แน่นอนว่า การปรับตัวของสหภาพ และการยกระดับองค์กรแรงงานแพลตฟอร์ม ย่อมขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและกฎหมายของประเทศ แต่บทเรียนที่กล่าวมา น่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้กับสหภาพดั้งเดิมและแรงงานแพลตฟอร์มไทย ซึ่งอยู่ในสถานการณ์คล้ายคลึงกัน.</strong></p>
<div>
<div id="edn1">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"> </p>
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">อ้างอิง</span></span></span></span></p>
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[1]</span></span></span></span></span></span></span><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Visser, J.</span></span> <span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">(2019a). Can unions revitalize themselves? International Journal of Labour Research; Geneva, 9.1/2: 17-48. น. 20-21</span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn2">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref2" name="_edn2" title="" id="_edn2"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[2]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">เพิ่งอ้าง. น. 21-33.</span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn3">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref3" name="_edn3" title="" id="_edn3"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[3]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">เพิ่งอ้าง และ ดู </span></span><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Visser, J. (2019b). Trade unions in the balance. Geneva, ILO.</span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn4">
<p style="margin-bottom:0in; margin:0in 0in 10pt"><span style="font-size:11pt"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref4" name="_edn4" title="" id="_edn4"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[4]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Basualdo, V., Dias, H., Herberg, M., Schmalz, S., Serrano, M., &amp; Vandaele, K. (2021). Building Workers' Power in Digital Capitalism: Old and New Labour Struggles. Berlin: Friedrich-Ebert Stiftung.</span></span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn5">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref5" name="_edn5" title="" id="_edn5"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[5]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Yun A. (2020). Safety for the public, rights for the driver. South Korea’s transport workers campaign for safe rates. Berlin, Friedrich-Ebert Stiftung.</span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn6">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref6" name="_edn6" title="" id="_edn6"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[6]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Panimbang F., Arifin S., Riyadi S. and Septi Utami D. (2020) Resisting exploitation by algorithms. Drivers’ contestation of app-based transport in Indonesia. Berlin, Friedrich-Ebert-Stiftung.</span></span></span></span></p>
</div>
<div id="edn7">
<p class="MsoEndnoteText" style="margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><a href="#_ednref7" name="_edn7" title="" id="_edn7"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif"><span class="MsoEndnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:16.0pt"><span style="line-height:115%"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">[7]</span></span></span></span></span></span></span>[/url]<span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">Manga E., Hamilton P. and Kisingu S. (2020) Riding on a union app. Uganda’s public transport workers’ digital response to platforms. Berlin, Friedrich-Ebert-Stiftung.</span></span></span></span></p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107828
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 347 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: ออฟฟิศซินโดรมกลางแจ้ง วิกฤตสุขภาพของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 60 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2566 23:05:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: อำนาจต่อรองของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2567 03:30:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: เป็นแรงงาน = สูญเสียความอิสระจริงหรือ ?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 26 กระทู้ล่าสุด 18 มีนาคม 2567 23:50:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน : “อาชีพอิสระ” V.S. “แรงงาน” การต่อสู้ทางความคิดในโซเชียลมี
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 40 กระทู้ล่าสุด 14 เมษายน 2567 00:05:31
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.223 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 เมษายน 2567 05:24:38