[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 มกราคม 2556 16:25:40



หัวข้อ: วัดโลกโมฬี Wat Lokmolee เชียงใหม่ : วัดโบราณที่มีความงดงามแบบล้านนา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 มกราคม 2556 16:25:40
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68981611728668_2.JPG)
วัดโลกโมฬี (Wat Lokmolee)
ถนนมณีนพรัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดโบราณที่มีความงดงาม แบบล้านนา

วัดโลกโมฬี เป็นวัดเก่าแก่ของเชียงใหม่ มีความหมายว่าเป็นวัดสูงสุดของโลก มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา ตั้งอยู่นอกคูเมืองและกำแพงโบราณด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูหัวเวียง (ช้างเผือก) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔๐๐ เมตร  บนถนนมณีนพรัตน์  ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยพญากือนา (King Kuena) กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย  ช่วงปี พ.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๓๑ (ค.ศ. ๑๓๖๗-๑๓๘๘)  ส่วนองค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งตระห ง่านเด่นสง่าเป็นจุดเด่นของวัดนี้  น่าจะสร้างขึ้นในภายหลัง  

วัดโลกโมฬี สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่และถูกทอดทิ้งให้เป็นวัดร้างอยู่บ่อยครั้ง    ช่วงที่เป็นวัดร้างปี พ.ศ. ๒๓๑๘-๒๓๓๙  ก่อนที่พญากาวิละ (King Kawila) จะกลับมาฟื้นฟูเมือง  บริเวณที่แห่งนี้ยังเป็นป่าดิบ ขาดผู้คนอยู่อาศัย เป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายนานาชนิด  มีเสือและช้างป่า เป็นต้น  วัดโลกโมฬีช่วงนั้นถูกทอดทิ้งปล่อยให้องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางป่าพนาสัณฑ์

ต่อมาในสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ (Chao Intawarorose Suriyawongse) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ (ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๕๒)  และเจ้าแก้วนวรัฐ (Chao Keo Nawarat) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ (ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๘๒)  วัดโลกโมฬีได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และในสมัยของพระองค์วัดโลกโมฬีมีเจ้าอาวาสติดต่อกัน ๔ รูป คือ ตุ๊เจ้าพวง  ตุ๊เจ้าคำ  ตุ๊เจ้าแดง  และตุ๊เจ้าตื้อ  หลังจากเจ้าอาวาสทั้ง ๔ รูปนี้แล้ว วัดโลกโมฬีก็กลับกลายเป็นวัดร้างอีก  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91201477332247_6.JPG)

ผู้ฟื้นฟูวัดโลกโมฬีคนแรก

ในอดีต กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายหลายพระองค์ เข้ามาทำนุบำรุงวัดโลกโมฬีอยู่ตลอด  พญาเมืองเกศเกล้า หรือ พญาเกศเชษฐราช (King Muangketklow or Phaya Ket Chetharaj) กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ หรือ ๑๔  แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ ๒ ครั้ง)  ก็เป็นอีกพระองค์หนึ่งที่เข้ามาดูแลเอาใจใส่วัดโลกโมฬีมากเป็นพิเศษ  โดยพระองค์ได้ทรงเจริญรอยตามวิถีทางแห่งบูรพกษัตริย์อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั่นคง  โดยเฉพาะวัดโลกโมฬี

พญาเกศเชษฐราช ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๐๖๘  จากนั้นไม่นาน พระองค์ก็ขึ้นไปบูรณะองค์พระธาตุดอยสุเทพ  โดยขยายให้ใหญ่ขึ้นคือจากเดิม เป็นสูง ๑๑ วา กว้าง ๖ วา  ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๖๙  พระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ๑ องค์  ตั้งชื่อว่า พระเจ้าล้านทอง (Phrachao Lanthong)  ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  นอกจากนั้นในปี พ.ศ.๒๐๗๐  พระองค์ได้ยกมอบบ้านหัวเวียงให้เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของวัดโลกโมฬี  และในปีต่อมา พ.ศ. ๒๐๗๑  พระองค์ได้สร้างมหาเจดีย์และวิหารขึ้นในวัดโลกโมฬีอีก  ด้วยเหตุดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าพระองค์เป็นผู้ฟื้นฟูวัดโลกโมฬีเป็นคนแรก  

พญาเกศเชษฐราช เป็นพระอนุชาของพญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย  และทั้ง ๒ พระองค์ต่างก็เป็นพระโอรสของพญายอดเชียงราย  กษัตริย์องค์ที่ ๑๐  พญาเกศเชษฐราช ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ล้านนาองค์ที่ ๑๒ ในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. ๑๕๒๕)  พระองค์มีพระโอรส ๑ พระองค์  พระธิดา ๓ พระองค์ ดังต่อไปนี้
๑. พระนางยอดคำทิพย์  เป็นมเหสีของพระเจ้าโพธิสาราช  แห่งล้านช้าง (หลวงพระบาง)  พระโอรสของพระองค์ชื่อว่า ไชยเชษฐา  กษัตริย์ล้านนา องค์ที่ ๑๖ (ช่วงปี พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๐)
๒. พระนางจิรประภา กษัตรีย์แห่งล้านนา องค์ที่ ๑๕ (ช่วงปี พ.ศ. ๒๐๘๘-๒๐๘๙) และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วัดโลกโมฬี
๓. ท้าวทรายคำ  กษัตริย์แห่งล้านนา องค์ที่ ๑๓  ขึ้นครองราชย์ด้วยการก่อกบฏต่อพระราชบิดา
๔. พระนางวิสุทธิเทวี  เป็นมเหสีของพระเจ้าบุเรงนอง แห่งตองอู  และต่อมาได้เป็นกษัตรีย์ องค์ที่ ๑๘ แห่งราชวงศ์มังราย (ช่วงปี พ.ศ. ๒๑๐๗-๒๑๒๑) และเป็นองค์สุดท้าย


ผู้สร้างวัดโลกโมฬี

ในอดีตไม่ได้มีการบันทึกเรื่องราวของวัดโลกโมฬีโดยละเอียดเป็นการเฉพาะไว้  จึงไม่มีหลักฐานแสดงชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด  แต่ก็สันนิษฐานว่าวัดโลกโมฬีนี้ สร้างในยุคราชวงศ์มังราย  โดยมีเหตุผลประกอบการสันนิษฐานไว้ดังนี้

ในปี พ.ศ. ๑๙๑๐ พญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ทรงประสงค์จะฟื้นฟูและปรับปรุงพระพุทธศาสนาในล้านนาให้เจริญและมั่นคง พระองค์จึงได้ส่งผู้แทนไปยังเมืองพัน ประเทศมอญ (ปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศพม่า)  เพื่อขอนิมนต์พระมหาอุทุมพร บุปผมหาสวามี ผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เพื่อให้มาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในล้านนา   เนื่องจากพระมหาอุทุมพร บุปผมหาสวามีชราภาพมากแล้ว ท่านจึงได้ส่งพระอนันตเถระ พร้อมกับพระลูกศิษย์อีก ๑๐ รูป มายังล้านนา (เชียงใหม่)  พญากือนาจึงได้จัดวัดโลกโมฬีไว้รับรองแขกเมือง เนื่องจากวัดโลกโมฬีตั้งอยู่ใกล้วัง จึงสะดวกสบายและง่ายต่อการดูแลปรนนิบัติมวลพระเถระเหล่านั้น  

ส่วนอีกประการหนึ่งคือในช่วงสมัยของพญาติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๙  พระองค์ได้จัดประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกของโลก ครั้งที่ ๘ ที่วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด)  ในปี พ.ศ. ๒๐๒๐   โดยได้นิมนต์พระเถระที่แตกฉานในพระไตรปิฎกจากวัดต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมาเข้าร่วมประชุม  ซึ่งต้องใช้เวลาประชุมและแก้ไขประมาณ ๑ ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ  พญาติโลกราช ได้จัดให้บรรดาพระเถระที่มาร่วมประชุมครั้งนั้น พักอยู่ที่วัดโลกโมฬี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73708184229003_3.JPG)
วัดโลกโมฬีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม
นักท่องเที่ยวที่มาเชียงใหม่จะถือโอกาสแวะเข้ามาชมองค์พระเจดีย์รูปทรงระฆัง
ที่สวยงามตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนามีอายุกว่า ๖๐๐ ปี
และยังเชื่อว่าวัดนี้ถูกทอดทิ้งมานานตั้งแต่สมัยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า  
แม้ในระยะหลังพญากาวิละจะได้มาฟื้นฟูแต่ก็พัฒนาได้ไม่มากนัก  
เพราะภาวะเศรษฐกิจในยุคนั้นยังไม่เอื้ออำนวยให้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19617162520686_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56125043456753_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65004319697618_11.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54137510102656_23.JPG)
พระอุโบสถวัดโลกโมฬี ก่อสร้างจากไม้แกะสลักเกือบทั้งหลัง
มีเพียงพื้นที่ทำจากอิฐปูน เป็นงานฝีมืออันปราณีตของช่างล้านนา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19527568875087_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58869377813405_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76676863514714_10_2_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87647376582026_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61819461236397_10.JPG)