[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2555 21:16:13



หัวข้อ: ทางลัด ทางรอด สังโยชน์ ๑๐ และบารมี ๑๐
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2555 21:16:13


(http://img100.imageshack.us/img100/2512/aaresize.jpg)

ทางลัด ทางรอด สังโยชน์ ๑๐ และบารมี ๑๐

      สังโยชน์
แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง
๑.สักกายทิฏฐิ  เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ ๕)
๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
๓.สีลัพพตปรามาส  รักษาศีลแบบลูบๆ คลำๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
๔.กามฉันทะ   มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์

๕.พยาบาท  มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
๖.รูปราคะ  ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
๗.อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
๘.มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
๙.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
๑๐.อวิชชา  มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
 
      บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี ๑๐ ทิศ มีดังนี้
๑.ทานบารมี จิตพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ  - การให้ เป็นการตัดความโลภ
๒.ศีลบารมี จิตพร้อมในการปฏิบัติศีล - ศีล เป็นการตัดความโกรธ และความหลง
๓.เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ
เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช -เนกขัมมะ เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
๔.ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป -ปัญญา ตัดความโง่

๕.วิริยบารมี จิตมีความเพียรทุกขณะ  - วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
๖.ขันติบารมี มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ - ขันติ ตัดความไม่รู้จักอดทน
๗.สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง
ในด้านของการทำความดี - สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
๘.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ - อธิษฐาน ตั้งจิตไว้ให้สมบูรณ์
๙.เมตตาบารมี สร้างความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร
มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น -เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
๑๐.อุเบกขาบารมี ช่วยจนถึงที่สุดแล้วจึงวางเฉย - วางเฉยไว้ในเรื่องของกายเรา มันเป็นเช่นนั้นเอง


(http://www.thaipoem.com/forever/img/storymember/2948-10988.jpg)

ขอบพระคุณที่มาจาก คุณนริศรา
lek  http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4871.0.html