[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:21:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์  (อ่าน 11784 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.54 Chrome 101.0.4951.54


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2565 13:43:28 »



นกจาบคาหัวเขียว

นกจาบคาหัวเขียว (Blue-tailed bee-eater) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus เป็นนกในตระกูล Meropidae จัดเป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง มีแหล่งผสมพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งอาจถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์เดียวกับนกจาบคาแก้มฟ้า (Merops persicus) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก

นกชนิดนี้มีรูปร่างเพรียว มีสีสันสวยงาม โดยจะมีสีเขียวเด่นเป็นพิเศษ บริเวณใบหน้ามีแต้มสีฟ้าเล็กๆ และมีแถบยาวสีดำอยู่ตรงดวงตา ขนที่คอเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล หางเป็นสีห้า และจะงอยปากสีดำ สามารถเจริญเติบโตได้ยาว ๒๓-๒๖ เซนติเมตร โดยรวมความยาวของขนหางตรงกลางสองเส้นที่ยาวกว่าบริเวณอื่นด้วย

นกจาบคาหัวเขียวมีแหล่งผสมพันธุ์ในพื้นที่ชนบทกึ่งเขตร้อน อย่างเช่นในไร่ สวน นาข้าว หรือสวนสาธารณะ มักพบได้บ่อยครั้งบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กินแมลงชนิดต่างๆ เป็นอาหารเหมือนนกจาบคาชนิดอื่น โดยเฉพาะผึ้ง ต่อ และแตน โดยจะโผลบินพุ่งออกจากที่พักเกาะไปจับเหยื่อกลางอากาศ เหยื่อจะถูกจับกลับไปที่พักเกาะ แล้วใช้จะงอยปากจิกเหยื่อจนตายและเปลือกแข็งที่ห่อหุ้มร่างกายแตกออก สำหรับนกจาบคาชนิดนี้ พบว่าเหยื่อที่ล่ามีทั้งผึ้งและแมลงปอในปริมาณที่มากพอๆ กัน

นกจาบคาหัวเขียวชอบสร้างรังอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ตามริมฝั่งแหล่งน้ำที่เป็นทรายหรือพื้นที่ราบเปิดโล่ง รังมีลักษณะเป็นเหมือนอุโมงค์ค่อนข้างยาว นกชนิดนี้จะวางไข่ทรงกลมสีขาวครั้งละ ๕-๗ ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยกัน นอกจากนี้ เวลาออกหากินหรือพักเกาะตามที่สูง ก็มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเช่นกัน


ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)
- Facebook (ต้นแบบภาพ)
750/22 - 450-12
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2565 14:47:01 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.67 Chrome 101.0.4951.67


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2565 14:48:43 »



นกบลูเจย์

สีฟ้า jay (Cyanocitta cristata) เป็นนกในครอบครัวอีกาพื้นเมืองภาคตะวันออกของทวีปอเมริกา มันอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา  นิวฟันด์แลนด์ แคนาดา ประชากรทางทิศตะวันออกอาจมีการอพยพ

นกบลูเจย์มีขนาด ๒๒-๓๐ ซม. (๙-๑๒ นิ้ว) หนัก ๗๐-๑๐๐ กรัม โดยมีปีกกว้าง ๓๔-๔๓ ซม. มีหงอนเด่นชัดบนหัว มงกุฎขนนก ซึ่งอาจยกขึ้นหรือลดลงตามอารมณ์ของนก เมื่อตื่นเต้นหรือก้าวร้าว หงอนจะยกขึ้นเต็มที่ เมื่อตกใจ หงอนจะสะบัดออกด้านนอกเหมือนพู่กัน เมื่อนกกินอาหารท่ามกลางนกอื่นๆ หรือพักผ่อน หงอนจะแบนบนหัว

มีขนเป็นสีน้ำเงินลาเวนเดอร์ถึงกลางสีน้ำเงินที่ยอด หลัง ปีก และหาง และหน้าเป็นสีขาว ด้านล่างเป็นสีขาวนวล คอปกมีสีดำยาวไปถึงด้านข้างของศีรษะ ปีกและหางสีดำ สีฟ้า และสีขาว ตาเป็นสีดำทั้งหมด ตัวผู้และตัวเมียเกือบจะเหมือนกัน แต่ตัวผู้จะใหญ่กว่าเล็กน้อย มีขนสีดำที่ต้นคอ ใบหน้า และลำคอของมันแตกต่างกันไป เชื่อกันว่าจะช่วยในการรับรู้

นกบลูเจย์กินเมล็ดพืชและถั่วเป็นหลัก เช่นลูกโอ๊คซึ่งอาจซ่อนกินในภายหลัง ผลไม้อ่อน สัตว์ขาปล้อง และบางครั้งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก โดยปกติแล้วจะเก็บอาหารจากต้นไม้ ไม้พุ่ม และพื้นดิน และบางครั้งเหยี่ยวแมลงจากอากาศ

มันสร้างรังเปิดบนกิ่งก้านของต้นไม้ ไข่สองถึงเจ็ดฟองซึ่งมีสีน้ำเงินหรือสีน้ำตาลอ่อนมีจุดสีน้ำตาล หลังจากฟักออกจากไข่ พวกเขาอาจอยู่กับพ่อแม่ได้หนึ่งถึงสองเดือน


ที่มา : hmong.in.th/wiki/Blue_jay

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2565 14:47:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.5005.61 Chrome 102.0.5005.61


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2565 15:47:40 »



ไก่ฟ้าสีทอง

ไก่ฟ้าสีทอง (Golden pheasant, Red golden pheasant) ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysolophus pictus เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมาก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางส่วนในปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี

ไก่ฟ้าสีทอง ตัวผู้จะมีหลายสี (๕ สี) แต่ถ้าเป็นสีทองส่วนของอกจะมีสีแดง ส่วนหลังมีสีเหลืองและปีกมีสีน้ำเงิน นัยน์ตาจะเป็นวงแหวนนสีน้ำเงิน สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลพื้นธรรมดา นัยน์ตาไม่มีวงแหวน เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ กรัม มีรูปร่างป้อม และไม่มีหงอน

ไก่ฟ้าสีทอง สามารถแยกแยะเพศออกได้เมื่อมีอายุ ๓ เดือน ดูความแตกต่างที่วงแหวนของดวงตา ส่วนสีขนจะค่อยๆ ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวเต็มวัย เฉลี่ยประมาณ ๑.๕-๒ ปี จึงจะมีสีเหมือนกับไก่ตัวเต็มวัย โตเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ ๒ ปี ออกลูกในช่วงฤดูร้อนเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกไข่ครั้งละ ๕-๖ ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ ๒๑-๒๓ วัน

ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นฟาร์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างเสรี เนื่องจากไม่จัดว่าเป็นสัตว์ที่จะจัดอยู่ในสถานะคุ้มครองตามกฎหมายแต่ประการใด โดยการเลี้ยงในแบบฟาร์ม สามารถทำให้ไก่ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วปีละถึง ๒๐-๓๐ ฟอง มีอายุขัยในที่เลี้ยงประมาณ ๑๕ ปี โดยมีราคาขายในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงามถึงราคาคู่ละ ๖,๐๐-๗,๐๐๐ บาท (อายุ ๑.๕ ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับอายุของไก่ที่ขายและสายพันธุ์ โดยราคาสูงอาจไปถึงคู่ละ ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐-๐๐๐ บาท ในอดีตราว ๒๐ ปีก่อน (นับจาก พ.ศ.๒๕๕๕) ไก่ฟ้าสีทองมีราคาขายเพียงคู่ละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น
...วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี-ที่มาข้อมูล

750/15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2565 14:47:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.5005.63 Chrome 102.0.5005.63


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2565 16:10:15 »



นกสีชมพูสวน

นกสีชมพูสวน / Scarlet-backed Flowerpecker (Dicaeum cruentatum)

นกสีชมพูสวน เป็นนกขนาดเล็ก ความยาว (ปลายปากถึงหาง) ประมาณ ๙ เซนติเมตร มีเสียงร้องแหลมสูง และสั้น บางครั้งฟังเหมือนเสียงร้องคำว่า ดิ๊กๆ ตามลำตัวมีสามสี ถ้าเป็นตัวผู้จะสังเกตได้ง่าย จากสีที่กลางหลัง เพราะเป็นแถบยาวสีแดง ส่วนด้านท้องจะเป็นสีขาว และข้างๆ เป็นสีดำ - น้ำตาล ส่วนตัวเมียมีสีอ่อนกว่า และแถบสีแดงด้านหลังจะสั้นกว่า มีอยู่บริเวณโคนหางเท่านั้น นกชนิดนี้มีลักษณะป้อม และหางสั้น วัยเด็ก (Juvenile) ยังไม่มีสีแดงที่ด้านหลัง และสีอ่อนกว่าวัยโตสามารถพบเห็นได้ง่ายในประเทศไทย

ลักษณะ
นกสีชมพูสวนเป็นนกขนาดเล็กหางสั้น ยาว ๙ ซม. หนัก ๗-๘ กรัม สองเพศมีลักษณะต่างกัน ตัวผู้มีหน้า ปีก และหางสีน้ำเงินเข้ม มีแถบกว้างสีแดงสดจากกระหม่อมถึงหางส่วนบน ตัวเมียส่วนใหญ่มีสีเขียวมะกอก หางสีดำ และมีสีแดงบริเวณโคนหางและตะโพก ทั้งสองเพศมีด้านล่างสีครีม ตาและขาสีดำ ปากโค้งสีเทาเข้ม นกวัยอ่อนมีสีคล้ายตัวเมียแต่มีปากสีส้มและไม่มีสีแดงที่ตะโพก

นกจิ๋วชนิดนี้ เป็นกลุ่ม “นกกาฝาก (Floverpecker)” เพราะมีอุปนิสัยที่มักกินน้ำหวานและผลไม้จากต้นไม้ตระกูลกาฝาก–พืชเบียน (parasite) ขึ้นเกาะบนกิ่งของต้นไม้ชนิดอื่น อาศัยดูดอาหารจากต้นที่มันเกาะ เมื่อนกกินผลกาฝากจนอิ่มแล้ว มันจะถ่ายเมล็ดกาฝากที่มียางเหนียวหนืดราวกับกาวน้ำออกมา นกกาฝากจึงต้อง “เช็ดก้น” กับกิ่งไม้ให้อุจจาระหลุดจากก้น เมล็ดในมูลนกจะงอกและโตเป็นกาฝากต้นใหม่ต่อไป

ชื่อนกในภาษาอังกฤษเรียกตามแถบสีแดงสดตลอดแนวกลางหลังของนกตัวผู้ ตัดกับลำตัวสีดำขลับที่เมื่อต้องแสงจะเหลือบสีน้ำเงิน ส่วนนกตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล มีสีแดงแค่เพียงบริเวณตะโพกเท่านั้น ลำตัวด้านล่างของทั้งสองเพศสีขาว นกวัยเด็กมีลำตัวสีน้ำตาลเหมือนตัวเมีย แต่มีโคนปากสีส้ม นกตัวผู้วัยเด็กมีขนสีแดงแซมตามกระหม่อมและหลัง

“เจ้าเล็กบินเร็ว” ชนิดนี้ ปรับตัวอยู่อาศัยตามสวนและในเมืองได้ดี พบได้ง่ายมากทั่วทุกภาค ตามต้นตะขบบ้านที่ออกผลหรือตามต้นกาฝากที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่




ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพ : เว็บไซท์ ชมรมอนุรักษ์นก
750/15
450/15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2565 14:48:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.0.0 Chrome 102.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2565 15:54:03 »



นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด ๒๖ ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา

ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ ๒-๔ ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ ๑๓-๑๕ วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร

สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด ๑๕ ชนิด ได้แก่ ๑.นกโพระดกหนวดแดง   ๒.นกตั้งล้อ  ๓.นกโพระดกธรรมดา  ๔.นกโพระดกหูเขียว  ๕.นกโพระดกเคราเหลือง  ๖.นกโพระดกหลากสี  ๗.นกโพระดกคางแดง  ๘.นกโพระดกคางเหลือง  ๙.นกโพระดกคิ้วดำ  ๑๐.นกโพระดกคอสีฟ้า  ๑๑.นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ  ๑๒.นกโพระดกหัวเหลือง  ๑๓.นกโพระดกหน้าผากดำ  ๑๔.นกตีทอง  ๑๕.นกจอกป่าหัวโต





ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพ : Fb.
750/20
450/15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2565 14:48:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.0.0 Chrome 102.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2565 13:49:36 »



นกกระจิบหญ้าอกเทา

นกกระจิบหญ้าอกเทา (GREY-BREASTED PRINIA) D PRINIA) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prinia hodgsonii

ลักษณะ : คล้ายนกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แต่คิ้วขาวเฉพาะหัวตา ปากบางกว่า ปีกสีน้ำตาลแกมแดงน้อยกว่า คอขาว อกเทาจางๆ

ตัวผู้ชุดขมผสมพันธุ์ : หัวเทาเข้ม ไม่มีคิ้วขาว สีเทาที่อกเข้มขึ้น

ขนาด : ๑๐-๑๒ เซนติเมตร

เสียงร้อง : “ทิ-สวี-ทิ-สวี” หรือ “ที-ชิ ทิ-ชู”

ถิ่นอาศัย : ทุ่งหญ้า ริมชายป่า พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ที่ราบถึงที่ราบสูง ๑,๖๗๕ เมตร นกประจำถิ่น พบบ่อย


ที่มาตัวอย่างภาพ : FB. - pajon501
750-20
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2565 13:52:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0 Chrome 103.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2565 14:38:51 »



นกกระติ๊ดสีอิฐ

นกกระติ๊ดสีอิฐ (นกปากตะกั่ว)  ชื่อสามัญ Chestnut Munia ชื่อวิทยาศาสตร์ Lonchura วงศ์ Estrilidae

ลักษณะทั่วไป ขนาดตัวประมาณ ๕ นิ้ว ตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวและคอดำ ปากสีเทา ส่วนลูกนกจะมีสีน้ำตาล ส่วนใต้ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน เวลาบินตีปีกเร็วคล้ายแมลงตัวใหญ่ๆ เป็นนกไม่อยู่นิ่ง วางไข่คราวละ ๔-๘ ฟอง สีขาว ขนาดประมาณ ๑๖ x ๑๑ มม.

รัง มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ มีทางเข้าด้านข้าง สร้างขึ้นด้วยหญ้าเส้นบางๆ คลุมไว้ด้วยหญ้าเส้นหยาบๆวางอยู่ตามกอหญ้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย ส่วนมากพบนกชนิดนี้อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย พบตามทุ่งนา พงหญ้า กินเมล็ดพืช อยู่กันเป็นฝูง เวลาเกาะตามต้นหญ้าและใบหญ้า จะเกาะเรียงกันลงมา


ขอขอบคุณ
- http://neethai.blogspot.com/ (ที่มาข้อมูล)
- เพจชมรมนักดูนก (ที่มาตัวอย่างภาพ)

750/16
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0 Chrome 103.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 16:07:09 »




นกจับแมลงจุกดำ

นกจับแมลงจุกดำ (Black-naped Monarch) เป็นนกที่สีสดสวย  มีหางยาว บางครั้งมันก็แพนหางออกเล็กน้อยคล้ายกับนกอีแพรด (Fantail)และมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเกาะกิ่งไม้ในแนวนอน อีกทั้งยังมีปากกว้างและแบน มีขนแข็งๆ ที่มุมปาก แต่มันไม่เกาะเป็นแนวตั้งเหมือนญาติใกล้ชิดของมันอย่างนกแซวสวรรค์ (Paradise-Flycatcher

ขนาด: ประมาณ ๑๗ เซนติเมตร เสียงร้อง : “วิด-วิด-วิด” ๕-๗ พยางค์ เสียงเตือนภัย แหบ “แอ่ช-แอ่ช”

ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีฟ้า ใต้ท้องเป็นสีขาว มีกระจุกขนและแถบคาดคอเป็นสีดำ

ตัวเมียมีหัวเป็นสีฟ้าทึมกว่า มีหลังและหางเป็นสีน้ำตาล เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่จะมีจุกที่หัวและ“สร้อยคอ”สีดำตามหลักทั่วไปที่สัตว์ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย ทั้งสองเพศมีแถบสีดำที่มุมปาก นอกจากขนที่เป็นสีฟ้าสวยงามแล้ว จะงอยปากและขาของนกชนิดนี้ก็เป็นสีฟ้าด้วย แถมผิวด้านในปากของนกชนิดนี้ยังอุตริเป็นสีเหลืองสดอีกต่างหาก เช่นเดียวกับนกอื่นๆ ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันอย่างนกแซวสวรรค์

นกอีแพรด และนกแซงแซว (Drongo) นกจับแมลงจุกดำทำรังเป็นรูปทรงถ้วยที่สร้างจากเปลือกไม้และเส้นใยของพืช ยึดติดไว้ตามง่ามไม้ด้วยใยแมงมุม รังมีพืชขนาดเล็กและเปลือกไข่แมงมุมประดับอยู่รอบๆ ทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมจนสังเกตเห็นได้ยาก ในช่วงทำรังวางไข่และเลี้ยงลูก มันจะป้องกันอาณาเขตจากสัตว์นักล่าและนกชนิดเดียวกันด้วยการขับไล่อย่างก้าวร้าว

นกจับแมลงจุกดำเป็นนกที่มีทั้งประชากรที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบได้ง่ายในแหล่งอาศัยทุกประเภทที่มีไม้ยืนต้นขึ้นไม่น้อยจนเกินไป ส่วนนกประจำถิ่นพบเฉพาะในป่าที่มีระดับความสูงไม่เกิน ๑,๕๒๐ เมตรจากน้ำทะเล มักส่งเสียงหวีดร้องดังให้ได้ยินเสียงก่อนเห็นตัว เป็นขาประจำที่แทบจะขาดไม่ได้ใน bird wave รวมนกหลากชนิดซึ่งเป็นความตื่นเต้นของการดูนกป่าโดยแท้

นกจับแมลงจุกดำมีถิ่นแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศอินเดีย ไต้หวัน ทั่วทั้งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่ในประเทศไทยก็สามารถพบนกชนิดแพร่กระจายอยู่มากมาย ตามอุทยาทหรือที่ต่างๆ เนื่องจากพวกมันได้อพยพกันมานั้นเอง

อุปนิสัย : หากินเดี่ยวๆ ชอบหลบซ่อนตัวและหากินแมลงอยู่ในระดับกลางและระดับล่างของ ต้นไม้ที่มีใบร่มครึ้ม กระโดดหากินไปตามกิ่งไม้ ไม่ชอบบินไกลๆ

การผสมพันธ์ุ : เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่นกจับแมลงจุกดำจับคู่ ทำรัง วางไข่ โดยจะสร้างรังจากวัสดุจำพวกหญ้าใบยาวเปลือกไม้เส้นใยมอสนำมาพันและยึดเข้าด้วยกันด้วยใยแมงมุม ทำเป็นรูปถ้วยทรงกรวย มักพรางตาศัตรูด้วยการใช้มอส ไลเคนส์ ต้นกล้วยไม้เล็กๆ หรือ พืชเถา จำพวกกระดุมพระอินทร์ สายสะพายพระอินทร์ เป็นต้นที่ยังมีชีวิตมาติดข้างรัง ทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติรอบด้าน

นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง และเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ ๑๒ วัน ลูกนกจะยังคงอยู่ในรังประมาณ ๗-๑๐ วัน จึงทิ้งรังแต่ยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งจึงจะแยกตัวออกไปหากินเอง


ขอขอบคุณ
- เพจ Kanashii (ที่มาข้อมูล)
- เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาตัวอย่างภาพ)

750/16
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2566 15:32:31 »



ภาพระบายสีไม้

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน (Blue–eared Kingfisher)

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน (Blue–eared Kingfisher)
เป็นนกเล็กที่มีสีสันสวยงามและหาชมได้ยากมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย  
นกน้อยนี้หากินเก่งมาก จับปลาได้อย่างว่องไวดุจสาบฟ้าแลบ






750
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 20 เมษายน 2566 19:18:25 »



นกกินปลีอกเหลือง

ก่อนอื่นต้องเท้าความกันสักนิดว่า นกกินปลี (Sunbirds) และ Hummingbirds นั้นเป็นนกคนละกลุ่มกันโดยสิ้นเชิง แต่มีหน้าตาที่ดูเผินๆ คล้ายกัน เพราะต่างก็เป็นนกขนาดเล็กที่วิวัฒน์มาให้มีปากยาว เหมาะสำหรับการจิ้มเข้าไปในช่อดอกไม้เพื่อใช้ลิ้นเลียกินน้ำหวานเหมือนกัน ถึงกระนั้นนกกินปลีบางชนิดก็อาจมีปากค่อนข้างสั้นและหนา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของอาหารหลัก แต่เจ้ากินปลีอกเหลืองนับว่าเป็นชนิดที่มีปากเรียวยาว ดูคล้ายพวก hummingbirds มาก

นกกินปลีอกเหลืองเป็นหนึ่งในนกกินปลีที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางที่สุด พบได้ตั้งแต่จีนตอนใต้ไปจนถึงออสเตรเลีย (ที่ซึ่งมีนกกินปลีเพียงชนิดเดียวอาศัยอยู่) เพศเมียไม่มีสีน้ำเงินเข้มที่คอเหมือนเพศผู้ และมีแถบคิ้วสีเหลือง แต่เพศผู้ในชุดขนหลังจับคู่ผสมพันธุ์ (eclipse plumage) มีเพียงแถบสีน้ำเงินแคบๆ ที่คอเท่านั้น ขณะเกี้ยวพาราสีจะเห็นกระจุกขนสีแดงที่บริเวณรักแร้ของเพศผู้

นกกินปลีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า มีเพียงนกกินปลีอกเหลืองและอีกไม่กี่ชนิดที่พบได้ตามบ้านคนที่ห่างไกลป่า ในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคอีสาน จะสามารถพบนกกินปลีดำม่วง (Purple Sunbird) ที่เพศเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันเพียงแค่นกกินปลีดำม่วงมีสีเหลืองที่ก้นจางกว่า ส่วนตามที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคใต้ก็มี นกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated Sunbird) ซึ่งตัวใหญ่และปากสั้นกว่าด้วย


เว็บไซท์ "คมชัดลึก" (ที่มาข้อมูล)

750
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 21 เมษายน 2566 16:29:26 »




นกแต้วแล้วธรรมดา (นกกอหลอ)
Blue-winged Pitta (Pitta moluccensis)

ชื่อภาษาไทย / นกแต้วแล้วธรรมดา (นกกอหลอ)
ชื่อภาษาอังกฤษ / Blue-winged Pitta
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ / Pitta moluccensis

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันที่ขนาดตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเต็มวัยมีหัวสีดำ เหนือตามีลายพาดขนาดกว้างสีน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเขียว ขนคลุมขนปีกด้านบนตะโพกและขนคลุมโคนหางด้านบนเป็นสีน้ำเงินสด ลำตัวด้านล่างเป็นสีเนื้อถึงน้ำตาลแดง คอหอยสีขาว ตรงกลางท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดง ตัวไม่เต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำเงิน ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่ไม่มีสีแดงที่ท้องและขนคลุมโคนหางด้านล่าง

ถิ่นอาศัย : พบในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบที่ค่อนข้างโปร่ง ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัว ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง ๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อาจพบระหว่างอพยพได้ในสวนและป่าโกงกาง ในประเทศไทยพบได้ที่ภาคเหนือและภาคใต้ทั้งหมด เทือกเขาของภาคตะวันออกและเทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณและขอบป่าฟื้นตัว

อาหาร : ไส้ดือน ตัวหนอน แมลง และสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามผิวดิน หรือใต้ดิน หรือใต้ใบไม้

พฤติกรรม : พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ปกติหากินตามพื้นดิน แต่จะเกาะหลับนอนตามกิ่งก้านของต้นไม้ ซึ่งสูงจากพื้นดินไม่มากนัก มักกระโดดลักษณะคล้ายกับพวกนกกะรางในช่วงตอนหากิน ใช้ปากจิกและพลิกใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน หรือใช้ปากขุดดินเพื่อหาอาหาร หากมีสิ่งรบกวนจะตกใจบินหนี บางครั้งก็ใช้วิธีบินซุกตามพุ่มไม้ที่รกทึบ ในขณะที่เกาะตามกิ่งไม้จะส่งเสียงร้องดัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยเสียงร้องจะออกเป็นเสียง "แต้ว-แล้ว" หรือชาวบ้านทางใต้ฟังเป็นเเสียง "กอ-หลอ"

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน หรือระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งในช่วงนี้จะได้ยินเสียงร้องของนกประจำ รังเป็นรูปทรงกลม หรือกลมรี ขนาดกว้างประมาณ ๑๕ ซม. ยาว ๒๐ ซม. มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านหน้า วางรังตามพื้นดินบริเวณโคนของต้นไม้ หรือตามกอพืชต่างๆ บางครั้งก็วางรังตามง่สมของต้นไม้ ที่สูงจากพื้นดิน ๑.๐-๒.๐ เมตร ในแต่ละรังมีไข่ ๔-๖ ฟอง ไข่สีขาว มีลายจุดหรือลายขีดสีม่วงเข้มห่างๆ ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ช่วยกันฟักไข่ โดยใช้ระยะเวลา ๑๔-๑๕ วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน

ขนาดและน้ำหนัก : มีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
... องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ที่มาข้อมูล)


750
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2566 17:32:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2566 17:46:24 »


                        นกพญาปากกว้างหางยาว


พญาปากกว้างหางยาว            ชื่อสามัญ : Long-tailed Broadbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Psarisomus dalhousiae
ลักษณะ : หัวดำคล้ายใส่หมวกกันน็อค มีหางสีฟ้ายาวกว่านกพญาปากกว้างชนิดอื่น และสีสันสดใสมาก ปากและขาสีเหลืองอมเขียว
             กระหม่อมและท้ายทอยสีดำ กลางกระหม่อมมีแถบสีฟ้า และมีแถบสีเหลืองตรงข้างกระหม่อม  หน้าและคอสีเหลืองสด
             ลำตัวสีเขียว ปีกสีดำและมีแถบสีฟ้า ปีกมีแถบกลมสีขาวเห็นชัดขณะบิน
พฤติกรรม : มักพบบริเวณกลางลำต้น ขณะเกาะชอบขยับหางและส่งเสียงดัง
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ จากที่ราบไปจนถึงยอดสูง ๒,๐๐๐ เมตร นกประจำถิ่นพบค่อนข้างบ่อย บางครั้งรวมกันเป็นฝูงใหญ่หลายสิบตัว


"ดูนกและสัตว์ป่าเมืองไทย" (ที่มาข้อมูล)
750/28
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2566 16:37:38 »

.


                        นกแต้วแล้วนางฟ้า


นกแต้วแล้วนางฟ้า                   ลักษณะทั่วไป ขนาด ๑๖-๑๙ ซม. คล้ายกับนกแต้วแล้วธรรมดา ปากแหลมสีดำ หัวสีน้ำตาล คิ้วแคบสีน้ำตาลอ่อนพาดจากโคนปากบนถึงท้ายทอย หน้าสีดำ ลำตัวด้านบน ขนคลุมหลังและไหล่สีเขียว ขนคลุมปีกแถวบนสีฟ้า ลำตัวด้านล่าง คางสีขาวเชื่อมต่อขึ้นไปเป็นวงรอบคอ ท้องช่วงบนสีน้ำตาลอ่อน กลางท้องช่วงล่างถึงก้นสีแดง แข้งและตีนสีชมพูอ่อน ขณะบินมองเห็นแถบ สีขาวที่กลางขนปีกมีขนาดเล็กกว่านกแต้วแล้วธรรมดา ถิ่นอาศัย ป่าละเมาะ ป่าโปร่งบนเกาะในทะเล

* สถานภาพการถูกคุกคามของ “นกแต้วแล้วนางฟ้า” อ้างอิงตาม IUCN Red list เนื่องจากไม่มีรายชื่ออยู่ในหนังสือ สรุปชนิดพันธุ์ ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย : สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕๖๐ *


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง

750-26
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤษภาคม 2566 15:23:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2566 15:29:40 »

.


                                  นกแต้วแล้วลาย (เพศเมีย)


แต้วแล้วลาย (เพศเมีย)                                     “นกแต้วแล้วลาย” เป็นนกประจำถิ่น พบได้เฉพาะในป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย และกระจายเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกแต้วแล้วลาย ขนาด ๒๑-๒๔ เซนติเมตร เป็นนกแต้วแล้วขนาดกลาง ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน แต่สวยงามกันคนละแบบ คิ้วสีเหลืองสดขับเน้นปลายคิ้วด้วยสีแดงชาด กระหม่อมคาดแถบดำ คอขาวแบบปุยหิมะ ใบหน้าเข้มดุดันด้วยแถบดำคาดตาด สีข้างลาย และปีกสีน้ำตาล คาดด้วยแถบขาวยาวตลอดแนวโดดเด่น และหางสีฟ้า ตัวผู้ต่างจากตัวเมียที่อก และท้องเป็นสีน้ำเงินเข้ม ไม่มีลาย ลูกนกคล้ายตัวเมีย แต่สีจืดชืดกว่ามาก

การสร้างรังจะสร้างเหนือพื้นดิน ซึ่งอาจจะสูงถึง 3 เมตรจากพื้น รังซุกตามง่ามไม้กลุ่มปาล์ม เช่น หวาย นกใช้รากไม้ และกิ่งไม้แห้งขัดสานเป็นโครง แล้วบุด้วยใบไม้แห้ง ตัวเมียวางไข่ ๓-๔ ใบ ซึ่งหากอยากจะเห็น “นกแต้วแล้วลาย” อัญมณีเม็ดงามตัวนี้ สามารถลองไปเดินดูนกตามเส้นทางในเขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ.พังงา  

ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์



750-26
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2566 14:00:12 »

.


                        นกแต้วแล้วอกเขียว


นกแต้วแล้วอกเขียว                                    นกแต้วแล้วอกเขียว (Hooded Pitta) Pitta Sordida เป็นนกในตระกูล Pittidae พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ในป่าหลายประเภทตลอดจนในพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เพาะปลูกอื่นๆ เป็นนกสีเขียวมีหัวสีดำและมงกุฎเกาลัด ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกันมาก มีหน้าผาก กระหม่อม ท้ายทอยเป็นสีน้ำตาลเข้ม หน้าจนถึงคอเป็นสีดำ ปากหนาสีดำ ลำตัวเป็นสีเขียวกลมกลืนกับสภาพป่า ขนคลุมท้องดำต่อด้วยสีแดงถึงก้น ขนคลุมโคนหางด้านบนและตะโพกสีฟ้าสดใสเป็นมัน ขนหางสั้น ขาและนิ้วเท้ายาว นกชนิดนี้เป็นนกที่หวงอาณาเขตมาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือไม่ นอกฤดูผสมพันธุ์ เราจะพบนกแต้วแล้วอกเขียวหากินอยู่ตัวเดียว มันหากินบนพื้น อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่แมลงและตัวอ่อนของพวกมัน และยังกินผลเบอร์รี่อีกด้วย


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง

750-26
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2566 15:50:10 »

.


                        นกกินแมลงคอดำ


นกกินแมลงคอดำ
                                   
นกกินแมลงคอดำ (Black-throated.jpg)
วงศ์ : Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachyris nigricollis (Temminck) 1836.
ชื่อสามัญ  :Black-throated Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-throated Tree Babbler, Blacknecked Tree Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris nigricollis ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro หรือ niger แปลว่าสีดe และ coll, -i หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “คอสีดำ” พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ ๑ ชนิดย่อยคือ Stachyris nigricollis nigricollis (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : ในไทย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (๑๕ ซม.) ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมแดงเข้ม หัวและลำตัวด้านล่างสีเทา คิ้วและแก้มสีขาว คอหอยและอกตอนบน สีดำ อกมีสร้อยคอสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้นและป่าพรุในระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง ๔๕๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกกินแมลงในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในฤดูฝนระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังเป็นรูปโดมอยู่ตามพื้นดิน รังมีไข่ ๒ ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาว มีขนาด ๑๓.๗-๑๔.๒x๒๑.๓ ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก จนกระทั่งพบบ่อยและปริมาณปานกลางในบางท้องที่ พบเฉพาะในบางแห่งทางภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง
750-26
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2566 16:53:05 »

.




                        เป็ดปากแดง

เป็ดปากแดง - Red-crested Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Netty

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ ๕๖ เซนติเมตร ตัวผู้ขอบปีกสีขาว ส่วนตัวเมียขอบปีกสีน้ำตาล ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปากสีแดงและมีหัวกลมใหญ่สีส้มถึงน้ำตาลแดง กระหม่อมสีน้ำตาลเหลือง คอสีดำ ลำตัวด้านล่างสีดำ สีข้างสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ สีสันทั่วไปคล้ายตัวเมียแต่ปากยังคงเป็นสีแดง ส่วนตัวเมียหัวครึ่งบนตั้งแต่บริเวณใต้ตาขึ้นไปถึงกระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับสีขาวของแก้มและคอหอย ปากสีเทามีแถบสีแดงใกล้ปลายปาก ปลายปากสีดำ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ส่วนลำตัวด้านล่างสีจางกว่าด้านบนเล็กน้อย
 
ถิ่นอาศัย, อาหาร : อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์  : อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ เป็นต้น พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดปากแดงหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำลึก ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมากมันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ ปกติเป็ดปากแดงจะตกใจง่าย เมื่อมีสิ่งรบกวนหรือได้ยินเสียงผิดปกติมันจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที (ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย)

สถานภาพปัจจุบัน : เป็ดปากแดงเป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะภาคกลางบางแห่งเท่านั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕

สถานที่ชม : สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา



ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ dooasia.com/
750-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2566 17:03:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 18:48:00 »


นกจาบคาหัวสีส้ม - ภาพวาด ระบายสีไม้

นกจาบคาหัวสีส้ม

นกจาบคาหัวสีส้ม เป็นนกประจำถิ่น พบได้บ่อยตามป่าโปร่งและชายป่าทั่วทุกภาค ทั้งในที่ราบและตามภูเขาสูง เช่นเดียวกับนกจาบคาอื่นๆ ที่หลายครอบครัวขุดรูทำรังใกล้กันเป็นกลุ่มในพื้นดินทราย พ่อแม่นกจาบคาหัวสีส้มแต่ละรังก็มักมีผู้ช่วยเลี้ยงลูก

นกจาบคาหัวสีส้มเป็นนกจาบคาขนาดเล็กชนิดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีขนหางคู่กลางยื่นยาวคล้ายเข็ม ถึงกระนั้นยามจำแนกชนิดก็ควรระวังนกจาบคาชนิดอื่นในวัยเด็กหรือขณะผลัดขนหางด้วย โดยเฉพาะนกจาบคาเล็ก (Little Green Bee-eater) ซึ่งวัยเด็กมีลำตัวโดยรวมสีเขียวและคอสีเหลืองเช่นกัน นกโตเต็มวัยมีกระหม่อมและหลังสีส้มเข้ม ที่คอมีแต้มสีดำ ปีก หางสีฟ้าอมขียว และมีตะโพกสีฟ้าอ่อน

นกจาบคาหัวสีส้ม
ชื่ออังกฤษ  Chestnut-headed Bee-eater, Bay-headed Bee-eater
ชื่อวิทยาศาสตร์ Merops leschenaulti (Vieillot, 1817)
วงศ์ (Family) Meropidae (วงศ์นกจาบคา)
อันดับ (Order) Coraciiformes (อันดับนกตะขาบ นกกะเต็น และนกจาบคา)
 ขอขอบคุณ "คมชัดลึก ดอท เน็ต" (ที่มาข้อมูล)






750/35 - 450/14

ขอขอบคุณ Fb.ชมรมนักดูนก (ภาพถ่ายต้นแบบของการวาด/ระบายสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2566 18:49:48 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2566 18:27:30 »

1



                        นกกินปลีคอสีม่วง
 
นกกินปลีคอสีม่วง
ชื่ออังกฤษ : Van Hasselt’s Sunbird
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocoma brasiliana (Gmelin, 1788
วงศ์ : (Family) Nectariniidae (วงศ์นกกินปลีและนกปลีกล้วย) 
อันดับ : (Order) Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน)


นกกินปลีคอสีม่วง มีถิ่นกำเนิดในเขตสัตวภูมิศาสตร์ซุนดา (Sunda zoogeographic subregion) ถิ่นฐานหลักของพวกมันได้แก่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และบางส่วนของอินโดนีเซีย เหตุที่พบทางภาคตะวันออกของไทยด้วย น่าจะเป็นเพราะมันอยู่อาศัยมาตั้งแต่ราวๆ ยุคน้ำแข็ง ซึ่งระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบันมาก และเกาะต่างๆ ในเขตซุนดาถูกเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน แหล่งอาศัยในไทยที่อยู่บนเส้นรุ้งเหนือเขาใหญ่ของนกชนิดนี้เห็นจะมีเพียงบริเวณริมแม่น้ำโขงทางอีสานตะวันออก
 
หลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อ Van Hasselt’s Sunbird และรู้จักมันในชื่อเดิมว่า Purple-throated Sunbird ซึ่งนักปักษีวิทยาหลายสำนักเห็นด้วยกับการแยกเป็นคนละชนิด พบได้เฉพาะในฟิลิปปินส์เท่านั้น คณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกไทยเองก็ใช้ตามข้อมูลนี้เช่นกัน Purple-throated Sunbird ของแท้จึงไม่ใช่นกไทยอีกต่อไป “นกกินปลีคอสีม่วง” ในเขตซุนดาบัดนี้ถูกเปลี่ยนไปใช้ชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวดัทช์นามว่า Johan Coenraad van Hasselt
 
เพศผู้ของสองชนิดมีสีสันต่างกันชัดเจน ชนิดในฟิลิปปินส์มีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ไม่เป็นสีดำเหมือนในไทย อกและท้องสีแดงสด แต่บริเวณใต้ท้องและขนคลุมโคนหางจะเป็นสีนวลไปจนถึงเหลือง ในขณะที่นกกินปลีคอสีม่วงของเรานั้นจะมีก้นสีเทาเข้มเกือบดำ ทั้งสองชนิดมีกระหม่อมสีเขียวเหลือบ และคอสีม่วงสะท้อนแสง แม้จะเป็นนกตัวเล็กที่มีสีสันบาดตา แต่หากมันไปเกาะในจุดที่แสงแดดไม่ตกกระทบ ดูเผินๆ ก็อาจเห็นเป็นเพียงนกตัวดำๆ ตัวหนึ่ง มักหากินน้ำหวานดอกไม้ตามเรือนยอด พบได้ในป่าหลายประเภท เพศเมียมีลำตัวสีเขียวไพล มีรอยตัดจางๆ ระหว่างคอสีตุ่นๆ และอกสีเหลืองนวล จำแนกจากเพศเมียของชนิดอื่นๆ ได้ยาก หากไม่คุ้นเคย


 
ขอขอบคุณ
     - "นกป่าสัปดาห์ละตัว : นกกินปลีคอสีม่วง"  เว็บไซต์ คม ชัด ลึก (ที่มาข้อมูล)
     - PHOTO BY CHUKEAT CHANTHABURI BIRDS  (ภาพถ่ายต้นแบบของการวาด/ระบายสี)

 
750/30
 
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 17:40:33 »





                               กระเต็นจิ๋วสีฟ้า


นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ ๑๓-๑๖ เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง ๔๑ เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ

เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง ๑/๕๐ วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่งๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสายๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้

โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ ๔-๕ ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง ๒-๓ รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว



ขอขอบคุณ :
        - เจ้าของภาพถ่าย "เต็นสีฟ้า" ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
        - วิกิพีเดียสารานุกรมฯ (ที่มาข้อมูล) 
750/28
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.22 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤศจิกายน 2567 02:24:32