[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:23:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระจันโทปมคุณมุนี (ชื่น หตฺถิปาโล) พระเถระที่ดำรงมั่นในวิปัสสนาธุระ  (อ่าน 1370 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 ตุลาคม 2564 19:32:43 »



พระจันโทปมคุณมุนี (ชื่น หตฺถิปาโล)

พระจันโทปมคุณมุนี (ชื่น หตฺถิปาโล) นี้ เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๓  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐ เมื่อมีอายุได้ ๒๒ ปีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสมอราย (ต่อมาคือ วัดราชาธิวาสวิหาร) โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ (ภายหลังคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นพระอุปัชฌายะ และพระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก) (ภายหลังลาสิกขา และรับราชการมีบรรดาศักดิ์ที่ พระยาศรีสุนทรโวหาร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ในปีพุทธศักราช ๒๓๙๙ ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดโสมนัสวิหาร เมื่อครั้งขึ้นพระอารามแห่งนี้ใหม่

ในปี พุทธศักราช ๒๔๐๑ ที่วัดบวรนิเวศวิหารได้มีการจัดงานบำเพ็ญกุศลฉลองครึ่งยุค คือ งานบุญเมื่อครั้งที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ (ภายหลังคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) ครองวัดมาเท่ากับครึ่งหนึ่งของที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัด  คราวนั้นปรากฏบัญชีรายนามพระเถระที่มาร่วมงาน ซึ่งล้วนเป็นพระเถระศิษย์หลวงเดิม คือ เหล่าพระเถระที่เป็นสัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาร่วมบำเพ็ญกุศลในครั้งนั้น รวมทั้งสิ้น ๔๖ องค์/รูป แลปรากฏนามพระจันโทปมคุณมุนี (ชื่น) เป็นลำดับที่ ๔๓ ว่า “หัตถีปาละ” ด้วยองค์ท่านมิได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม หรือเป็นเปรียญในเวลานั้น  สันนิษฐานว่าองค์ท่านมุ่งในทางวิปัสสนาธุระเป็นสำคัญ

ในปี พ.ศ.๒๔๐๘ มีการบำเพ็ญกุศลฉลองยุค เมื่อครั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ครองวัดมาเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปรากฏนามพระจันโทปมคุณมุนี (ชื่น) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระฐานานุกรมในพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระปลัดชื่น”  พระปลัดฐานานุกรมในพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) เพราะต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดมกุฏกษัตริยารามแล้วเสร็จ ได้ทรงโปรดให้แห่พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) จากวัดบวรนิเวศวิหาร ให้มาครองวัดมกุฏกษัตริยารามเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๑ สันนิษฐานว่า พระปลัดชื่นในเวลานั้นย้ายมาอยู่ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามด้วย

ต่อมาเมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม เบญจศก ตรงกับวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น “พระครูจันโทปมคุณ” ได้รับพระราชทานพัดพุดตาลพื้นกำมะหยี่หักทองขวาง พร้อมนิตยภัตเดือนละ ๖ บาท

พระครูจันโทปมคุณ (ชื่น หตฺถิปาโล) นับว่าเป็นสิทธิวิหาริกรูปสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ยังคงหลงเหลือด้วย ด้วยปรากฏมีหนังสือกระทรวงธรรมการ เลขที่ ๒๔/๗๔๗๓ ที่พระยาภาสกรวงศ์ กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ระบุความตอนหนึ่งว่า ...พระครูจันโทปมคุณ มีพรรษาอายุมาก แลเป็นสัทธิงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าเปนที่สุด ขอรับพระราชทานเลื่อนยศบันดาศักดิ์เปนพระราชาคณะทั้ง ๒ รูป ได้จดนามลงบาญชีนั้นแล้ว...”

เป็นเหตุให้ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะสามัญที่ “พระจันโทปมคุณมุนี” รับพระราชทานพัดแฉกพื้นกำมะหยี่หักทองขวาง พร้อมนิตยภัตเดือนละ ๑๒ บาท เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ร.ศ.๑๑๓

พระจันโทปมคุณมุนี นับเป็นเถระที่ดำรงมั่นในวิปัสสนาธุระ จนสำเร็จวิชา “สรตะโสฬศ” เป็นวิชาชั้นสูงทางศาสนา ซึ่งได้แก่ภิกษุผู้สำเร็จญาณวิเศษ บรรลุโสฬสญาณ ๑ ปรีชามรรคผลญาณ ๑ ญาณทั้งสองประการนี้ ภิกษุผู้ใดสำเร็จ ก็สามารถจัดพยัญชนะ ๓๔ ตัว ให้เข้ากับเลขประจำวัน อันเป็นต้นกำเนิดของโสฬศพยัญชนะได้ และวันที่ประกอบด้วยเวลา ๒๔ ชั่วโมงนี้ ท่านแบ่งเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต วันในอดีต มีตัวพยัญชนะกำกับ ๑๔ ตัว วันในอนาคตมีพยัญชนะกำกับ ๑๔ ตัว ดังปรากฏมีผู้รวบรวมรายนามพระเถระที่บรรลุคุณวิเศษโสฬสญาณ มีเพียง ๑๓ องค์/รูป อาทิ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร, พระธรรมกิติสารมุนี วัดรังษีสุทธาวาศ และพระจันโทปมคุณมุนี เป็นต้น

พระจันโทปมคุณมุนีดำรงสมณศักดิ์นี้มาได้ ๙ พรรษา ก็อาพาธด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ศิษยานุศิษย์จึงได้หาแพทย์เชลยศักดิ์มาประกอบยารักษา ก็มีอาการทรงกับทรุด แลถึงแก่มรณภาพในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๖ เวลายามเศษ สิริอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๖


เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดย เพจ เล่าเรื่อง วัดบวรฯ
(เรียบเรียงโดย ศรัณย์ ม.)
(ขอบคุณภาพจาก บุญตา แอนทิค)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Mark Wilkinson
นักโพสท์ระดับ 1
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Philippines Philippines

กระทู้: 3


ระบบปฏิบัติการ:
Mac OS X 10.15.7 Mac OS X 10.15.7
เวบเบราเซอร์:
Chrome 94.0.4606.81 Chrome 94.0.4606.81


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2564 14:31:51 »

ฉันสงสัยว่าโครงกระดูกในภาพเกี่ยวกับอะไร? เป็นไปได้มากที่สุดเพราะฉันไม่เห็นสถานการณ์ใดที่พวกเขาวางโครงกระดูกไว้ที่นั่น ในทำนองเดียวกัน มันอาจจะเป็นของปลอมก็ได้เพราะฉันไม่คิดว่าการทิ้งโครงกระดูกในที่สาธารณะนั้นเหมาะสม และดูสะอาดเกินไป
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.518 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 02:50:02