[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 13:50:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทิพยอำนาจ : บทที่ ๑๒ วิธีสร้างทิพยอำนาจ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป  (อ่าน 1864 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5076


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2559 23:16:52 »



ทิพยอำนาจ

พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)

วัดป่าเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น

เรียบเรียง



บทที่ ๑๒

วิธีสร้างทิพยอำนาจ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป



ทิพยอำนาจข้อนี้ หมายถึงปรีชาญาณสูงสุด ซึ่งสามารถรู้จักมูลเหตุของทุกข์ถูกถ้วน และรู้จักวิธีทำให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาด เป็นความรู้สามารถปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและกรรม บรรลุถึงภูมิที่มีอิสรภาพทางจิตใจเต็มที่ มีเอกราชโดยสมบูรณ์ ถึงความเป็นไทยอย่างเต็มเปี่ยม.

ความรู้ชั้นนี้จัดเป็นพระพุทธปรีชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ผู้จะก้าวขึ้นสู่ภูมิพระพุทธปรีชาสูงสุดนี้ได้ต้องได้ผ่านการเจริญวิปัสสนาญาณมาตามลำดับขั้นอย่างละเอียดลออ ที่เรียกว่าเจริญญาณทัสสนะ ฉะนั้น จะแสดงวิธีเจริญวิปัสสนาไว้ในเบื้องต้น แล้วจึงจะแสดงวิธีเจริญอาสวักขยญาณในเบื้องปลาย พอเป็นแนวทางของผู้ปฏิบัติ.

ผู้จะปฏิบัติพึงแก้ปัญหาขั้นต้นให้ตกเสียก่อน มิฉะนั้นจะเกิดความลังเลสองจิตสองใจในขณะที่ปฏิบัติร่ำไป ปัญหาขั้นต้นนั้นคือจะดำเนินชีวิตไปตามทางทุกข์ หรือจำดำเนินชีวิตไปตามทางสุข หรือจะดำเนินชีวิตไปตามทางกลาง ซึ่งเป็นทางสิ้นสุดของสุขและทุกข์ในอวสาน ข้าพเจ้าจะชี้ลักษณะทางทั้ง ๓ นี้พอมองเห็น เพื่อสะดวกในการพิจารณาตัดสินใจ เมื่อเรามองดูชีวิตอย่างกว้างๆ และถ้วนถี่จะพบว่าทุกชีวิตล้วนแต่ประสบสิ่งไม่สมหวัง หรือสิ่งไม่ปรารถนา ไม่ว่าชีวิตนั้นจะอยู่ในรูปลักษณะดีประณีตเพียงไรก็ตาม ความไม่สมหวังก็คืบคลานเข้ามาสู่ชีวิตร่ำไป สิ่งนั้นคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกเศร้าเหี่ยวแห้งใจ ความพิไรรำพัน ลำบากกาย ความคับใจแค้นใจ ไม่มีชีวิตใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ไปได้สักชีวิตเดียว เมื่อสืบสาวราวเรื่องดูอย่างละเอียดก็จะเห็นได้ว่า ทุกข์หรือสิ่งไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ ย่อมมีมาแต่ชาติคือกำเนิดกายขึ้นเป็นตัวตนนั่นเองถ้าไม่มีกำเนิดกายแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีที่ปรากฏ เมื่อสืบสวนต่อไปว่าชาติมาจากอะไร? ก็จะทราบว่ามาจากกรรมดังกล่าวไว้ในจุตูปปาตญาณนั่นเอง สัตว์จะเกิดขึ้นเป็นรูปกายในกำเนิดใดๆ ย่อมอาศัยกรรมเป็นผู้แต่งทั้งสิ้น กรรมดีแต่งกำเนิดดี กรรมเลวแต่งกำเนิดเลว เมื่อสืบสวนต่อไปอีกก็จะทราบว่า กรรมย่อมกำเนิดจากความรู้สึกแห่งใจ ความรู้สึกแห่งใจนั้นมี ๓ ประเภทคือ

๑. ความรู้สึกฝ่ายกิเลส.

๒. ความรู้สึกฝ่ายคุณธรรม.

๓. ความรู้สึกกลางๆ.

ความรู้สึกเหล่านี้เกิดจากความเร้าของอารมณ์ คือ เมื่ออารมณ์มาสัมผัสจะเกิดความรู้สึกและสะเทือนใจขึ้นเป็นสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ แล้วเร้าใจให้เกิดกิเลสหรือคุณธรรมขึ้นอีกทีหนึ่ง เมื่อดำเนินตามทางของกิเลสย่อมก่อกรรมเลวขึ้นใส่ตัว ได้รับทุกข์เป็นผลสืบเนื่องไป เมื่อดำเนินตามทางของคุณธรรมย่อมก่อกรรมดีใส่ตัว ได้สุขเป็นผลสืบเนื่องไปในกำเนิดฝ่ายดี ซึ่งมีทุกข์โดยธรรมชาติเจือปน ไม่พ้นไปจากทุกข์เด็ดขาดได้ เมื่อดำเนินไปตามทางกลางคือทางแห่งความรู้สึกเป็นกลาง ย่อมไม่ก่อกรรมใดๆ ใส่ตัว เป็นทางสิ้นสุดแห่งสุขและทุกข์ในอวสาน ตรงจุดศูนย์กลางคือใจนั่นแหละมีทางสามแยกอยู่แล้ว เราจะเดินไปทางไหนก็จงรีบตัดสินใจแล้วเดินไป ตั้งต้นจากจุดศูนย์กลางนั่นเองเรื่อยไป จิตใจเป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดตั้งต้นของทางทุกข์ ทางสุข และทางนิพพาน หรือจะว่าเป็นจุดตั้งต้นของทางนรก ทางสวรรค์ และทางนิพพานก็ได้ ถ้าจะเปรียบทางทุกข์เหมือนทางซ้าย ทางสุขเหมือนทางขวา และนิพพานก็เป็นทางกลาง มีอยู่แล้วที่จุดศูนย์กลางคือจิตใจ พระบรมศาสดาทรงพบว่า ทางกลางเป็นทางตรงไปสู่ความปราศจากทุกข์เด็ดขาดในบั้นปลาย จึงทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายนั้นขึ้น เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา เมื่อรวมกำลังใจดำเนินเป็นกลางในทางสายกลางเรื่อยไป ก็จะบรรลุถึงปลายทางคือสภาวะไม่มีทุกข์ ที่เรียกว่า พระนิพพาน ในอวสาน บรรดาทาง ๓ สายนี้ ท่านจะเดินตามทางสายไหนจงรีบตัดสินใจแต่บัดนี้ ถ้าท่านตัดสินใจเดินตามทางสายทุกข์ ท่านก็จะดิ่งไปสู่นรก ข้าพเจ้าไม่มีคำแนะนำให้ได้ ถ้าท่านตัดสินใจเดินตามทางสายสุข ท่านก็จะตรงไปสู่สวรรค์ ข้าพเจ้าได้กล่าวแนะนำไว้มากแล้ว ถ้าท่านจะตัดสินใจไปตามทางสายกลาง ท่านก็จะตรงดิ่งไปสู่สภาวะไม่มีทุกข์ในเบื้องปลาย ข้าพเจ้าพร้อมที่จะให้คำแนะนำต่อไปนี้ทีเดียว ก่อนแต่จะให้คำแนะนำในวิธีเดินทางสายกลาง ข้าพเจ้าจะวาดภาพพระนิพพานอันเป็นภูมิที่สุดทุกข์ และจะวาดภาพทางสายกลางอันเป็นทางดำเนินไปสู่พระนิพพานนั้น พอให้นึกเห็นภาพไว้บ้าง ดังต่อไปนี้ณ ที่สุดแห่งทางสายกลางนั้น บริบูรณ์ไปด้วยสภาวะสมปรารถนาทุกประการ เมื่อประมวลแล้วเป็นดังนี้ คือ

(๑) เอกภาพไพศาล ได้แก่มีความเป็นเอกราชสิทธิ์ขาดในการประกอบกรณียะทุกประการไม่มีอำนาจอื่นใดเข้ามาสอดก้าวก่ายได้

(๒) เสรีภาพสมบูรณ์ ได้แก่มีสิทธิ์อำนาจในการดำรงอยู่ตามใจประสงค์ของตนอย่างเต็มที่ไม่มีกฎหมายหรืออำนาจใดจำกัดสิทธิ์ได้แม้แต่ประการใด.

(๓) อิสรภาพเต็มเปี่ยม ได้แก่มีความเป็นตนของตนเต็มที่ พ้นจากอำนาจของกิเลสและกรรมเด็ดขาด กิเลสและกรรมไม่มีอำนาจบังคับบัญชาได้อีกต่อไป.

(๔) สมภาพไพบูล ได้แก่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในความเป็นแก้ว (=รัตนภาวะ) ไม่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในลักษณะที่เรียกว่า ข้า จ้าว บ่าว นาย แม้แต่ประการใด.

(๕) เอกีภาพไพบูล ได้แก่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงๆ ไม่มีความแตกต่างระหว่างแก้วด้วยกัน ไม่มีความรู้สึกแก่งแย่งแข่งดีใคร ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบใคร ไม่มีความรู้สึกริษยาใครมีน้ำใจพร้อมที่จะอภัย และให้โอกาสแก่ผู้อื่นเต็มที่ ไม่ขัดขวางใคร ในกรณีย์ใดๆ มีความรักอย่างเป็นธรรมในสรรพสัตว์ มีความเป็นสุภาพชนเต็มที่ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อและมีใจเที่ยงธรรม ไม่นำความลำบากเดือดร้อนมาสู่ตนและคนอื่นสัตว์อื่นโดยประการใดๆ.

(๖) สันติภาพถาวร ได้แก่มีความสงบราบคาบ ไม่มีเหตุทำให้เกิดการปั่นป่วน ไม่มีความโกลาหลวุ่นวายประการใด เพราะเป็นสันตบุคคล ผู้บริบูรณ์ด้วยความเกลียดกลัวบาป มีความประพฤติทางกายวาจาใจขาวสะอาด มีความเป็นคนดีพร้อมทุกประการ และมั่นอยู่ในสันติธรรมทุกเมื่อ ถึงความเป็นเทพเจ้าผู้บริสุทธิ์แล้ว.

(๗) เอกันตบรมสุข ได้แก่มีความบรมสุขส่วนเดียว ปราศจากสภาวะที่เรียกว่า เกิด แก่เจ็บ ตาย ทุกข์กายคับแค้นใจ และร่ำไรรำพันเพ้อโดยประการทั้งปวง มีแต่สภาวะตรงกันข้ามกับทุกข์ดังกล่าวนั้น มีความอิ่มเต็มสิ้นหิวกระหายแล้ว มีความสมปรารถนาทุกประการแล้ว สภาวะดังกล่าวมาโดยสังเขปนี้ มีในที่ใด ที่นั้นแหละเรียกว่าพระนิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักทางพระพุทธศาสนา.

ส่วนปฏิปทาเพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดนั้น เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา เมื่อจะวาดภาพพอให้มองเห็นเป็นแนวทาง ก็จะเป็นดังนี้ คือ

(๑) เป็นทางสว่างไสว ไม่มืดมัว ไม่คดค้อม เป็นทางตรงลิ่วแลสุดสายตา.

(๒) เป็นทางปลอดโปร่ง ปราศจากเสี้ยนหนามหลักตอ.

(๓) เป็นทางสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกโสมม.

(๔) เป็นทางราบเรียงเดินสบาย.

(๕) เป็นทางลาดสูงขึ้นไปโดยลำดับ.

(๖) เป็นทางร่มรื่นปลอดภัยจากแดดฝนและสัตว์ร้าย.

(๗) เป็นทางที่มีอากาศสดชื่นมีดอกไม้นานาพันธุ์ส่งกลิ่นตลบอบอวล มีผลไม้โอชารสนานาชนิด มีสุธาโภชนะรสเลิศต่างๆ พอได้กลิ่นก็หายหิวทันที มีประกายแสงสว่างรุ่งเรืองสดใส ทำให้รู้สึกเบิกบานใจยิ่งขึ้นในเมื่อจวนถึงที่สุดทาง

มัชฌิมาปฏิปทามีลักษณะดังภาพที่วาดขึ้นนี้ เป็นทางที่น่าดำเนินที่สุด และจะไม่เป็นทางด้วนซึ่งทำให้ผู้ดำเนินผิดหวังแต่ประการใด เมื่อได้ทราบลักษณะสภาพของพระนิพพานและทางกลางพอสมควรเช่นนี้แล้ว สมควรที่จะเตรียมพร้อมเพื่อดำเนินต่อไป.

ความลังเลใจมักจะเกิดขึ้นแก่ผู้จะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ว่าจุดหมายที่มุ่งจะไปให้ถึงนั้นมีแน่หรือ? ฉันใด บุคคลผู้จะไปสู่พระนิพพานก็มักจะลังเลใจฉันนั้นเหมือนกัน เพื่อช่วยให้ผู้จะไปเกิดความมั่นใจ แน่ใจว่า พระนิพพานมีจริง จึงวางหลักอนุมานและอุปมาไว้พอเป็นหลักคิดดังต่อไปนี้.

หลักอนุมาน คือ ทุกสิ่งย่อมมีสภาวะตรงกันข้ามเสมอ เช่น มีนอกย่อมมีใน มีหน้าย่อมมีหลัง มีซ้ายย่อมมีขวา มีเย็นย่อมมีร้อน มีมืดย่อมมีสว่าง มีไม่แน่ย่อมมีแน่ มีทุกข์ย่อมมีปราศจากทุกข์ มีอนัตตาคือความไม่เป็นตนของตน ย่อมมีอัตตาคือความเป็นตนของตน มีความไม่สมปรารถนา ย่อมมีความสมปรารถนา มีสุขไม่สมบูรณ์ ย่อมมีสุขสมบูรณ์ มีกิเลสย่อมมีปราศจากกิเลส ฯลฯ เป็นสภาพที่ตรงกันข้ามเสมอไป พระบรมศาสดาได้ทรงใช้หลักอนุมานนี้ ทำความแน่พระหฤทัยในการเสาะแสวงหาพระนิพพานมาแล้ว เป็นหลักที่ไม่นำไปสู่ความผิดหวัง แม้ความเห็นของผู้ก้าวขึ้นสู่ทางกลางจริงจังขั้นแรก คือพระโสดาบันก็ตรงกับหลักอนุมานนี้ คือเห็นว่า ทุกสิ่งมีเกิดต้องมีดับ ไม่มีหนทางใดจะฝ่าฝืนกฎธรรมดานี้ได้ และในนัยตรงกันข้ามท่านก็เห็นชัดอีกว่า ทุกสิ่งเมื่อไม่มีเกิดก็ต้องไม่มีดับ ไม่มีหนทางใดจะไปบังคับให้เปลี่ยนแปลงกฎความจริงอันนี้ได้เช่นเดียวกัน ผู้เห็นแจ้งชัดเช่นนี้ย่อมมั่นใจว่าพระนิพพานคือภูมิพ้นทุกข์เด็ดขาด ไม่มีเกิดดับนั้นมีแน่นอน จึงเกิดอุตสาหะยิ่งขึ้น เดินตามทางสายกลางนั้นไปโดยไม่ยอมถอยหลังเลยแม้แต่ก้าวเดียวแล้วก็บรรลุถึงภูมิพ้นทุกข์เด็ดขาดเข้าจริงๆ ในอวสานด้วย ผู้เดินทางสุดสายแล้วย่อมยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า พระนิพพานมีจริง.

ส่วน หลักอุปมา คือ ธรรมดาไฟเผาไหม้ ณ ที่ใด ย่อมทำที่นั้นให้ร้อน เมื่อดับไฟ ณ ที่นั้นแล้วที่นั้นย่อมหายร้อนกลายเป็นที่เย็นฉันใด ธรรมดากิเลสเผาลนใจย่อมทำใจให้ร้อน เมื่อดับกิเลสที่ใจได้แล้ว ใจย่อมหายร้อนกลายเป็นใจเย็นฉันนั้น น้ำที่หลั่งไหลมาตามลำธารจากที่สูงถึงที่ต่ำ ย่อมมีต้นน้ำคือแหล่งขังน้ำฉันใด ความสุขหรือความทุกข์ที่ปรากฏแก่คนเราอยู่ทุกวันนี้ ก็ย่อมมีต้นคือแหล่งที่เกิดฉันนั้น กิเลสและทุกข์ย่อมแสดงตัวอยู่ที่จิตใจ เมื่อดับกิเลสอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว ใจก็ปราศจากกิเลสและทุกข์ กลายเป็นใจเย็น มีสุขสมบูรณ์สมปรารถนา มัชฌิมาปฏิปทาย่อมกลมกลืนกับพระนิพพาน คือมีความเป็นกลางในทางกลางเรื่อยไป ก็จะถึงสภาพที่เป็นกลางที่สุดคือพระนิพพานในอวสาน ไม่มีทั้งทุกข์ไม่มีทั้งสุขในลักษณะโลกในพระนิพพานนั้น แต่เป็นสุขในลักษณะที่ไม่มีอะไรก่อความเดือดร้อนให้แม้แต่ประการใดๆ มีแต่ดำรงอยู่ในสภาพที่เรียกว่าสุขสมบูรณ์หรือสุขโดยส่วนเดียวจริงๆ ความข้อนี้ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้กล่าวเปรียบเทียบให้เห็นว่า คนที่สมบูรณ์ไปด้วยกามสุขทุกสิ่งนั้น ย่อมมีทุกข์เกิดขึ้นมาแทรกทำให้เสียความสุขไป คนผู้เข้าฌานตั้งแต่ชั้นต่ำๆ ขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุดยังมีปัจจนิกธรรมเกิดแทรกขัดขวางความสุขในฌานนั้นๆ เนืองๆ ส่วนผู้บรรลุถึงอาสวักขัยแล้วจะไม่มีทุกข์เกิดแทรกแซงประการใด จึงเป็นอันว่าพระนิพพานเป็นบรมสุขจริงแท้ ในเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขในด้านอื่นๆ แล้ว เมื่อพิจารณาตามหลักอุปมานี้ย่อมได้ความชัดว่า ใจที่ปราศจากกิเลสสิ้นเชิงนั่นแหละพระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้พระนิพพานจึงมิใช่สถานที่ หรือภูมิจิตใจชั้นต่ำ แต่เป็นภูมิจิตใจชั้นสูงสุด ซึ่งไม่มีทางที่จะขึ้นสูงไปกว่านี้ได้อีก ภูมิจิตใจอันสูงสุดนี้มีผู้บรรลุถึงมาแล้ว จึงมิใช่ภูมิที่เกินวิสัยสามารถของมนุษย์ เป็นภูมิที่มนุษย์อาจปฏิบัติบรรลุได้ ธรรมชาติที่เป็นกลางและอาจทำให้เป็นกลางได้ก็คือจิตใจ ทุกคนก็มีจิตใจอยู่แล้ว จึงไม่เป็นการยุ่งยากที่จะไปค้นหา ลงมือปฏิบัติอบรมใจของตนไปให้ดีที่สุดจะดีได้ ก็จะประสบลักษณะที่เป็นกลางเข้าเอง เมื่อลักษณะเป็นกลางปรากฏเด่นที่ใจเมื่อไรชื่อว่าพบทางพระนิพพานที่แท้จริงเมื่อนั้น เมื่อดำเนินตามทางนั้นไปไม่หยุด ก็ย่อมจะถึงที่สุดของทางเข้าสักวันหนึ่ง เมื่อถึงที่สุดทางแล้วย่อมหมดปัญหาที่จะถามว่าอะไรคือพระนิพพาน และพระนิพพานอยู่ที่ไหน? ภูมิที่หมดสงสัยนั่นแหละคือพระนิพพาน โบราณาจารย์พูดไว้ว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ พระนิพพานอยู่ที่ไหน ก็ที่ใจนั่นเอง” ดังนี้ ก็เพื่อยุติปัญหาที่ว่าพระนิพพานอยู่ไหนนั่นเอง และเพื่อปลดเปลื้องความเข้าใจผิดที่ว่า “พระนิพพานเป็นบ้านเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมีสุขสมบูรณ์สมปรารถนาทุกประการ ผู้ปฏิบัติทางพระนิพพานตายแล้วจึงจะไปอยู่อย่างมีชีวิตชีวาเสวยสุขารมณ์ในพระนิพพานนั้น” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดกับความจริงอย่างลิบลับ ราวฟ้ากับดินทีเดียว.

ยังมีปัญหาสืบไปว่า เมื่อพระนิพพานหมายถึงภูมิจิตใจอันสูงสุด หรือจิตใจอันบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสโดยประการทั้งปวงเช่นนี้แล้ว เมื่อชีวิตยังมีอยู่ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่เมื่อร่างกายนี้สลายแล้วจิตใจเช่นนั้นเป็นอย่างไรต่อไป? ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งที่สุดในหมู่พุทธบริษัท แม้ในสมัยพุทธกาลปัญหานี้ก็ได้มีแล้วเหมือนกัน.

พระบรมศาสดาตรัสว่า คน ๒ จำพวกไม่เห็นพระนิพพาน คือ

พวกติดภพ ยินดีในภพ พอใจในภพ อาลัยในภพ เมื่อได้ฟังธรรมว่า พระนิพพานคือธรรมชาติดับภพ ไม่มีภพ ย่อมถอยหลังไม่ติดใจในพระนิพพาน โดยเข้าใจว่าเมื่อไม่มีภพจะมีสุขได้อย่างไร พระนิพพานก็คือความสูญเปล่านั่นเอง.

อีกพวกหนึ่ง คือ พวกแล่นเลยไป เมื่อได้ฟังว่าพระนิพพานคือธรรมชาติดับภพดับชาติ ก็เข้าใจไปว่าเมื่อตายแล้วก็สิ้นเรื่องกันแค่นั้น สภาวะที่ไม่มีอะไรอีกนั้นเป็นสภาวะสงบประณีตจริงแท้ พวกนี้เข้าใจว่า ความไม่มีอะไรเป็นพระนิพพาน คนเกิดมาเพียงชาติเดียว ตายแล้วก็จบเรื่องทุกข์ร้อนเพียงนั้น พวกเห็นว่าตายสูญนี้เป็นพวกเลยธง ไม่พบพระนิพพานที่จริงแท้.

พวกติดภพก็ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเลยธงก็ไม่เห็นพระนิพพานเช่นกัน ส่วนพวกที่เห็นพระนิพพานได้คือ พวกมีตา รู้ว่าอะไรเป็นภพและมิใช่ ตามความเป็นจริง เมื่อได้ฟังว่าพระนิพพานเป็นธรรมชาติดับภพ ย่อมเข้าใจถูก เห็นถูกว่าพระนิพพานเป็นธรรมชาติปราศจากทุกข์ ปล่อยวางความอาลัยติดพันในภพได้เด็ดขาด แล้วพอใจดำเนินทางปล่อยวางเรื่อยไป ก็บรรลุถึงสภาวะที่ปราศจากทุกข์สมประสงค์ จิตใจย่อมดำรงอยู่ในสภาพปราศจากทุกข์เรื่อยไป เมื่อร่างกายยังดำรงอยู่ จิตใจก็ดำรงอยู่ในสภาพต่างหากจากกายแล้วแม้เมื่อตายไป จิตใจก็ย่อมดำรงอยู่ต่างหากจากกายได้เช่นเดียวกัน ความเป็นพระอรหันต์มิใช่รูปกายและนามกาย ซึ่งเป็นสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัยและสลายเป็นเลย จิตใจอันบริสุทธิ์นั่นต่างหากเป็นพระอรหันต์ สิ่งนั้นไม่สลาย เมื่อกายสลายแล้วเทวดาและมนุษย์สามัญย่อมไม่เห็น แต่ผู้บรรลุถึงภูมิสูงสุดด้วยกันย่อมเห็นกันได้เสมอไป จิตใจที่พ้นพิเศษเช่นนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นอย่างอื่นอีก ย่อมดำรงความเป็นเช่นนั้นตลอดไป เป็นภูมิที่ปราศจากทุกข์ชั่วนิรันดร สมกับคำที่ว่า พระนิพพานเป็น อมตํ คือตายไม่เป็น เที่ยงแท้ถาวรตรงกันข้ามกับโลกโดยประการทั้งปวง.

ทีนี้ยังมีปัญหาข้อหนึ่ง ซึ่งมักมาเป็นอารมณ์ขัดขวางผู้จะเดินทางพระนิพพานเสมอๆ ถ้าเกิดขึ้นในใจตนเองก็เป็นไปในรูปที่ว่า การดำเนินทางพระนิพพานมิเป็นการตัดช่องน้อยเอาตัวรอดไปหรือ? ถ้าเกิดขึ้นในใจผู้อื่นก็จะมาถึงผู้ดำเนินทางพระนิพพานในรูปลักษณะคำขู่ขวัญ เหมือนคำพญามารขู่พระบรมศาสดาคราวตัดสินพระทัยจะเสด็จออกบรรพชา แสวงหาโมกขธรรมคือพระนิพพานว่า “ท่านเป็นคนเห็นแก่ตัว เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่ช่วยเหลือผู้อื่น เอาแต่ตัวรอด ไม่เห็นแก่ผู้อื่น ไม่เห็นแก่หมู่คณะ ฯลฯ แต่บางทีก็มาในรูปลักษณะคำลวง เป็นต้นว่า รอก่อน ยังไม่ถึงเวลาจะรีบร้อนไปไหน สมบัติวิเศษหรือยศศักดิ์อย่างนั้นๆ กำลังรอท่านอยู่ มิช้ามินานก็จะมาถึงเสวยสมบัติเห็นปานนั้นให้อิ่มหนำสำราญก่อนเถิด จึงค่อยไป ฯลฯ” เพื่อแก้ปัญหาข้องใจอันนี้ให้ตกไป ข้าพเจ้าจะเยืองความให้เห็นเหตุผลพอเป็นแนวคิดดังต่อไปนี้.

การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือช่วยหมู่คณะ ย่อมมีทางหลายทางมิใช่ทางเดียว แม้ผู้ปฏิบัติทางพระนิพพานก็ทำได้ และอาจทำได้ดีกว่าเสียอีก ไม่เห็นจะขัดข้องที่ตรงไหน มนุษย์ย่อมต้องการความช่วยเหลือในสิ่งซึ่งเขามองไม่เห็นมากกว่าในสิ่งที่เขามองเห็น ทางข้างหน้านั้นมนุษย์ส่วนมากมองไม่เห็น จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้มีตามองเห็น แม้แต่ในระยะชั่วชีวิตหนึ่งเขาก็ต้องพึ่งผู้มีตา อย่างต่ำก็วิ่งไปหาหมอดูให้ช่วยทำนายทายทักให้ ไฉนเล่าในกรณีย์ที่ไกลกว่านั้นเขาจึงจะไม่พึ่งผู้มีตา เป็นการแน่นอนที่สุดที่มนุษย์จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้มีตาวันยังค่ำ ผู้ดำเนินทางพระนิพพานนั้นเป็นบุคคลผู้มีตา ย่อมรู้จักข้างหน้าข้างหลังและปัจจุบันได้ดีกว่าคนสามัญธรรมดา จึงอาจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในด้านนี้ได้ดี ในทางแนะนำให้เขาประกันภัยภายหน้าของเขาเอง และในบางคราวก็อาจต้องนำเขาออกจากภัยภายหน้านั้น แผ่คุณความดีให้เขา ดังพระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดีด้วยกรสารีบุตร ได้ช่วยเปรตให้พ้นจากความเป็นเปรตมาแล้วเป็นตัวอย่าง ส่วนในการช่วยเหลือหมู่คณะที่ตนมีส่วนสัมพันธ์อยู่นั้นเล่า ก็ย่อมทำได้เช่นเดียวกัน แม้จะอยู่ห่างไกลกันตั้งแสนโยชน์ก็อาจช่วยเหลือกันได้ ไม่จำเป็นจะต้องคลุกคลีในหมู่คณะเสมอไป พระมหากัสสปเถระถืออยู่ป่าเป็นวัตร ท่านก็สามารถนำหมู่คณะในทางพระธรรมวินัยได้ดี เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้วท่านก็ได้เป็นหัวหน้าทำปฐมสังคายนาพระธรรมวินัย เป็นแบบฉบับที่ยั่งยืนมาถึงทุกวันนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระหลบหนีจากความวุ่นวายไปอยู่ในถ้ำแห่งอโธภาคบรรพต ปากน้ำคงคาเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี เมื่อคราวจำเป็นแห่งพระพุทธศาสนา หมู่คณะต้องการตัวท่านมาเป็นหัวหน้าทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ท่านก็ไปทำได้เป็นอย่างดี และดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปยังนานาประเทศนอกชมพูทวีป สุวรรณภูมิ คือแหลมทองก็ได้รับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติบ้านเมืองมาแต่ครั้งนั้น ท่านที่ออกนามมาแล้วก็ปฏิบัติทางพระนิพพาน ปลีกตนออกห่างจากหมู่ที่วุ่นวาย ทำไมท่านจึงทำประโยชน์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และหมู่คณะได้เล่า? ท่านทำได้ดีกว่าผู้วุ่นวายเหล่านั้นมิใช่หรือ? ส่วนข้อที่มารลวงด้วยคำหวานหว่านล้อม ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะพูดมาก ถ้าท่านยังอาลัยอยู่ในกามสมบัติคือยศศักดิ์ศฤงคารบริวารลาภสักการะท่านก็ปฏิบัติตามทางพระนิพพานไม่ได้ เพราะทางพระนิพพานกับทางให้เกิดลาภยศเป็นคนละสาย มิใช่ทางเดียวกัน ท่านควรพิจารณาและตัดสินใจเองว่าจะเอาความสุขชั่วแล่น หรือความสุขถาวร ถ้าจะเอาความสุขชั่วแล่นก็จงทำตามคำของมาร แต่ถ้าต้องการความสุขถาวรก็จงเดินไปตามทางพระนิพพาน อย่าอาลัยในลาภยศเพียงชั่วแล่นนั้นเลย ถ้าเราทำดีเป็นคนดีที่หมู่คณะต้องการแล้ว ลาภยศมีมาเอง แม้ไม่ปรารถนาก็ต้องได้อยู่ดี จะไปอาลัยตายอยากเอาอะไรกัน เท่าที่เยืองความให้เห็นเหตุผลมาเพียงเท่านี้คงเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ต่อไปนี้ก็หมดปัญหาที่จะแก้ไข ควรเตรียมพร้อมเพื่อรับคำแนะนำในวิธีเจริญวิปัสสนา เพื่อญาณทัสสนะที่ถูกต้องต่อไป.

วิปัสสนาญาณ หยั่งรากฐานลงบนความบริสุทธิ์สะอาดของจิตใจ ความบริสุทธิ์สะอาดของจิตใจนั้นย่อมมีเป็นขั้นๆ ตามลำดับกัน ความบริสุทธิ์ขั้นต้นคือศีล ความบริสุทธิ์ขั้นที่ ๒ คือสมาธิความบริสุทธิ์ขั้นที่ ๓ คือปัญญาหรือญาณทัสสนะ ซึ่งค่อยสุขุมประณีตไปโดยลำดับ จนถึงญาณทัสสนะที่ประณีตที่สุด สามารถฉุดถอนตนออกจากโลกวุ่นวายไปสู่ภาวะที่บริสุทธิ์สะอาดที่สุดในอวสาน ปัญญาญาณในขั้นต่างๆ นั้นมีถึง ๕ ขั้นมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามลักษณะของความรู้นั้นๆ.

การที่ว่าวิปัสสนาญาณหยั่งรากฐานลงบนความบริสุทธิ์นั้น อาศัยหลักเหตุผลในทางอุปมานี้ว่า น้ำใสบริสุทธิ์สงบนิ่งย่อมส่องดูเงาหน้าชัดเจนฉันใด จิตใจบริสุทธิ์ใสสะอาดและสงบนิ่งก็ย่อมส่องเห็นเหตุผลและความจริงได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ฉะนั้น ด้วยเหตุผลข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมรู้ตามความเป็นจริงได้ดังนี้. สมาธิดีเด่นได้ด้วยอำนาจศีลธรรมปัญญาแหลมคมด้วยอำนาจสมาธิอบรม จิตรู้จบสิ้นอาสวะได้เพราะปัญญาบ่ม สมด้วยพระพุทธภาษิตว่า สีลปริภาวิโต สมาธิมหปฺผโล โหติ มหานิสํโส, สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติมหานิสํสา, ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชา-สวา สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วมีผลมีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อมพ้นจากอาสวะ คือ กาม ภพ อวิชชา ด้วยเหตุดังว่ามานี้ท่านจึงวางขั้นของการอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์ตามลำดับต่อไปนี้

วิสุทธิ ๗ ประการ

๑. สีลวิสุทธิ ศีลบริสุทธิ์ ได้แก่มีความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจ บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากโทษน่าติเตียน ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ มีความเย็นใจ นึกถึงคราวไรก็เกิดปีติปราโมทย์ ทำให้เกิดความสุขกายสบายใจ และมีความสงบใจใกล้ต่อความเป็นสมาธิยิ่งขึ้น.

๒. จิตตวิสุทธิ จิตบริสุทธิ์ ได้แก่จิตใจเป็นสมาธิขั้นใดขั้นหนึ่ง มีกำลังพอเป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะได้ สมาธิที่จัดว่ามีกำลังเพียงพอเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะได้นั้นคือฌาน ๔ ซึ่งมีลักษณะจิตใจใสสะอาด มีความรู้สึกเป็นกลางๆ มีสติและความบริสุทธิ์ควบคุมกำกับเป็นจิตใจปราศจากกิเลสเครื่องทำให้หมองมัว มีความนิ่มนวลมั่นคงมีกำลังเพียงพอที่จะพิจารณาสภาวะอันสุขุมได้.

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ทฤษฎีบริสุทธิ์ ได้แก่ปัญญาจักษุมีกำลังสามารถทำลายอัตตานุทิฏฐิเสียได้มีความรู้เห็นเหตุผลว่า นามรูปเป็นสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัยจะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ตกอยู่ในลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ใครจะปรารถนาให้เป็นไปตามใจประสงค์ย่อมไม่ได้ไม่อยู่ในอำนาจและความปรารถนาของใคร ความรู้เห็นตามไตรลักษณ์เช่นนี้เป็นเครื่องชำระความเห็นให้บริสุทธิ์ เป็นยถาภูตญาณทัสสนะขึ้น รู้เห็นชัดว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ อาศัยสัมภวธาตุของบิดามารดาผสมกัน มีกรรมเป็นผู้ตกแต่งเจริญเติบโตด้วยอาหารมีวิญญาณอยู่ ณภายใน เป็นที่รวมแห่งความรู้สึก ซึ่งสืบต่อไปด้วยอายตนะและผัสสะเสมอ นี้เป็นเริ่มแรกแห่งวิปัสสนาญาณ.

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ปัญญาบริสุทธิ์สามารถข้ามความสงสัยได้ ได้แก่วิปัสสนาญาณเล็งเห็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งนามรูปอันสำเร็จมาเป็นตัวตนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตนแก่นสารของตนจริงๆ เล็งเห็นชัดว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรมเป็นตัวเหตุแห่งนามรูป เมื่อนามรูปเกิดขึ้นมาแล้วย่อมอาศัยอาหาร อายตนะ และผัสสะเป็นปัจจัยสืบต่อใหเจริญเติบโตและดำรงอยู่สืบไป เมื่อเหตุและปัจจัยแห่งนามรูปยังสืบต่ออยู่เพียงใดนามรูปก็ต้องสืบต่ออยู่เพียงนั้น นามรูปในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ย่อมอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน แม้ในภพกำเนิดที่ประณีตสักเพียงไร ที่จะพ้นไปจากนามรูปมิได้มี เมื่อมีนามรูปอยู่ย่อมจะประสบความไม่สมหวัง คือ แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ เสมอไป.

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณบริสุทธิ์สามารถรู้จักทางผิดทางถูกได้ คือว่าเมื่อได้รู้เห็นเหตุปัจจัยของนามรูปแจ้งชัดแก่ใจเช่นนั้น จะเกิดอารมณ์วิเศษขึ้นในจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ท่านเรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส คือ

(๑) โอภาส ความสว่างแจ่มจ้าในจิตมองเห็นทุกทิศทางเหมือนบรรลุถึงอาสวักขยญาณแล้วฉะนั้น.

(๒) ญาณ ความรู้เฉียบแหลมคมคายกว่าเดิมหลายเท่าพันทวี มีความรู้เห็นเหตุผลทะลุปรุโปร่งไม่มีติดขัด คล้ายอรหัตตมรรคญาณฉะนั้น.

(๓) ปีติ ความอิ่มเอิบชุ่มชื่นกายใจ มีกำลังเหลือประมาณ ทำให้จิตใจมีประกายแวววาวคล้ายพ้นจากอาสวะเด็ดขาดแล้ว.

(๔) ปัสสัทธิ ความสงบ ได้แก่ความเข้าระงับพักอยู่ ไม่เจริญปัญญาต่อไป ติดอยู่ในความสงบนั้นด้วยความสำราญแช่มชื่น ไม่สามารถจะทิ้งความสงบนั้น.

(๕) สุข ความสบายใจ ปลอดโปร่งใจ เป็นไปอย่างประณีตสุขุมและสม่ำเสมอ ประหนึ่งพ้นทุกข์เด็ดขาดแล้ว.

(๖) อธิโมกข์ ตามรูปศัพท์แปลว่า ความพ้นของจิตใจปรากฏเด่นชัดยิ่งนัก คล้ายกับพ้นเด็ดขาดจากกิเลสอาสวะแล้วฉะนั้น แต่โดยความ หมายเอาน้อมใจเชื่อในเรื่องที่ประสบนั้น โดยปราศจากญาณ.

(๗) ปัคคาหะ ความเพียรกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ประคองจิตไว้ในระดับสูง ไม่ให้จิตใจตกลงสู่ภวังค์เลยแม้แต่น้อย.

(๘) อุปัฏฐาน สติดำรงมั่นคงแข็งแรงกำกับจิตใจเป็นนิตย์ ไม่มีพลั้งเผลอ คล้ายกับมีสติไพบูลย์แล้วฉะนั้น.

(๙) อุเบกขา ความวางเฉยในอารมณ์ และมีใจเป็นกลางเที่ยงตรงอย่างยิ่ง ประหนึ่งบรรลุภูมิที่มีฉฬังคุเบกขาในอารมณ์.

(๑๐) นิกันติ ความรู้สึกพอใจในความเป็นไปของจิตขณะนั้นอย่างซึ้งๆ รู้สึกหยิ่งในใจนิดๆหรือภูมิใจหน่อยๆ ว่าตนพ้นจากอำนาจของมารแล้ว เมื่อได้ประสบกับภาวะทางจิตใจเช่นนี้แล้วหยั่งทราบว่าเพียงเป็นผลวิปัสสนาญาณขั้นข้ามความสงสัย มิใช่ผลสูงสุดของวิปัสสนาญาณที่แท้จริง จึงมิหยุดยั้งความเพียรเพียงนั้น ประคองจิตใจที่เห็นแจ้งนั้นในทางแห่งวิปัสสนายิ่งขึ้น ไม่ยอมให้เขวไปนอกทางแห่งวิปัสสนา.

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณบริสุทธิ์สามารถรู้เห็นทางดำเนินที่ถูกต้องของจิตใจและดำเนินจิตใจไปตามทางนั้นอย่างถูกต้องด้วย คือรวบรวมความรู้ทางวิปัสสนาให้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่ใจทุกๆ ขั้นไปทั้ง ๙ ขั้นอย่างละเอียดลออ ได้ความรู้เห็นแจ่มกระจ่างในทางเหตุผลต้นปลายของสังขารอย่างดี จนมีใจดำรงเป็นกลางเที่ยงตรงอย่างยิ่ง.

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ คือเกิดความรู้ ความเห็นอริยสัจธรรมแจ่มแจ้งขึ้นในใจ สามารถทำลายกิเลสออกจากใจได้เด็ดขาด ขาดเป็นขั้นๆ ไปตามกำลังของญาณทัส-สนะนั้นๆ รู้สึกโล่งใจเบาใจยิ่งขึ้นตามลำดับไป และรู้ได้ด้วยว่ากิเลสอะไรถูกกำจัดไปแล้วงอกขึ้นอีกทิพยอำนาจ ๑๕๖ไม่ได้ เพราะมูลรากของมันถูกขจัดแล้วอย่างเด็ดขาด ความรู้ความสามารถขั้นนี้เป็นขั้นสูงและเด็ดขาด มีอำนาจเหนือกิเลสอันเป็นปัจจนึกของตนๆ ความรู้ความสามารถขั้นสูงสุดนั้นทำลายอาสวะได้สิ้นเชิงเด็ดขาด สิ้นชาติสิ้นภพจบกิจพรหมจรรย์ หมดกรณียะที่จำเป็นต้องทำแล้ว ความรู้เห็นเช่นนี้แหละเรียกว่า ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ เป็นพระพุทธปรีชาสูงสุดของพระพุทธศาสนา.

ท่านกล่าวว่าวิสุทธิ ๗ ประการนี้ย่อมเป็นปัจจัยส่งต่อผู้ปฏิบัติ ไปสู่ภูมิพ้นทุกข์เด็ดขาดในอวสาน เปรียบเหมือนรถโดยสาร ๗ ระยะ ต่างส่งทอดผู้โดยสารไปสู่ที่สุดของทางฉะนั้น เมื่อจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ วิสุทธิ ๗ นี้เป็นขั้นของการปฏิบัติ ๗ ขั้น ค่อยๆ สูงขึ้นไปโดยลำดับ ขั้นที่ ๗เป็นขั้นสูงสุดยอดของการปฏิบัติ การปฏิบัติตั้งแต่ขั้นที่ ๓ เป็นต้นมาถึงขั้นที่ ๗ ล้วนเป็นขั้นของการเจริญญาณทัสสนะ เพื่อรู้จริงเห็นแจ้งทำลายรังของกิเลสทั้งสิ้น ท่านเรียกวิธีการปฏิบัตินั้นว่าวิปัสสนาวิธี เมื่อดำเนินไปตามทางของวิปัสสนาถูกต้องจะเกิดปัญญาญาณขึ้นตามลำดับขั้นเรียกว่าวิปัสสนาญาณ มีกำลังพอแก่การประหารอาสวะในขั้นนั้นๆ เรื่อยไป จนถึงขั้นสูงสุดสามารถทำลายอาสวะได้เด็ดขาด มีอำนาจเหนือกิเลสที่ทั้งปวงเรียกว่าอาสวักขยญาณ วิปัสสนาญาณมี ๙ ประการดังต่อไปนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5076


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2559 23:17:30 »

วิสุทธิ ๗ ประการ

๑. สีลวิสุทธิ ศีลบริสุทธิ์ ได้แก่มีความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจ บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากโทษน่าติเตียน ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ มีความเย็นใจ นึกถึงคราวไรก็เกิดปีติปราโมทย์ ทำให้เกิดความสุขกายสบายใจ และมีความสงบใจใกล้ต่อความเป็นสมาธิยิ่งขึ้น.

๒. จิตตวิสุทธิ จิตบริสุทธิ์ ได้แก่จิตใจเป็นสมาธิขั้นใดขั้นหนึ่ง มีกำลังพอเป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะได้ สมาธิที่จัดว่ามีกำลังเพียงพอเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะได้นั้นคือฌาน ๔ ซึ่งมีลักษณะจิตใจใสสะอาด มีความรู้สึกเป็นกลางๆ มีสติและความบริสุทธิ์ควบคุมกำกับเป็นจิตใจปราศจากกิเลสเครื่องทำให้หมองมัว มีความนิ่มนวลมั่นคงมีกำลังเพียงพอที่จะพิจารณาสภาวะอันสุขุมได้.

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ทฤษฎีบริสุทธิ์ ได้แก่ปัญญาจักษุมีกำลังสามารถทำลายอัตตานุทิฏฐิเสียได้มีความรู้เห็นเหตุผลว่า นามรูปเป็นสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัยจะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ตกอยู่ในลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ใครจะปรารถนาให้เป็นไปตามใจประสงค์ย่อมไม่ได้ไม่อยู่ในอำนาจและความปรารถนาของใคร ความรู้เห็นตามไตรลักษณ์เช่นนี้เป็นเครื่องชำระความเห็นให้บริสุทธิ์ เป็นยถาภูตญาณทัสสนะขึ้น รู้เห็นชัดว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ อาศัยสัมภวธาตุของบิดามารดาผสมกัน มีกรรมเป็นผู้ตกแต่งเจริญเติบโตด้วยอาหารมีวิญญาณอยู่ ณภายใน เป็นที่รวมแห่งความรู้สึก ซึ่งสืบต่อไปด้วยอายตนะและผัสสะเสมอ นี้เป็นเริ่มแรกแห่งวิปัสสนาญาณ.

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ปัญญาบริสุทธิ์สามารถข้ามความสงสัยได้ ได้แก่วิปัสสนาญาณเล็งเห็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งนามรูปอันสำเร็จมาเป็นตัวตนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตนแก่นสารของตนจริงๆ เล็งเห็นชัดว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรมเป็นตัวเหตุแห่งนามรูป เมื่อนามรูปเกิดขึ้นมาแล้วย่อมอาศัยอาหาร อายตนะ และผัสสะเป็นปัจจัยสืบต่อใหเจริญเติบโตและดำรงอยู่สืบไป เมื่อเหตุและปัจจัยแห่งนามรูปยังสืบต่ออยู่เพียงใดนามรูปก็ต้องสืบต่ออยู่เพียงนั้น นามรูปในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ย่อมอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน แม้ในภพกำเนิดที่ประณีตสักเพียงไร ที่จะพ้นไปจากนามรูปมิได้มี เมื่อมีนามรูปอยู่ย่อมจะประสบความไม่สมหวัง คือ แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ เสมอไป.

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณบริสุทธิ์สามารถรู้จักทางผิดทางถูกได้ คือว่าเมื่อได้รู้เห็นเหตุปัจจัยของนามรูปแจ้งชัดแก่ใจเช่นนั้น จะเกิดอารมณ์วิเศษขึ้นในจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ท่านเรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส คือ

(๑) โอภาส ความสว่างแจ่มจ้าในจิตมองเห็นทุกทิศทางเหมือนบรรลุถึงอาสวักขยญาณแล้วฉะนั้น.

(๒) ญาณ ความรู้เฉียบแหลมคมคายกว่าเดิมหลายเท่าพันทวี มีความรู้เห็นเหตุผลทะลุปรุโปร่งไม่มีติดขัด คล้ายอรหัตตมรรคญาณฉะนั้น.

(๓) ปีติ ความอิ่มเอิบชุ่มชื่นกายใจ มีกำลังเหลือประมาณ ทำให้จิตใจมีประกายแวววาวคล้ายพ้นจากอาสวะเด็ดขาดแล้ว.

(๔) ปัสสัทธิ ความสงบ ได้แก่ความเข้าระงับพักอยู่ ไม่เจริญปัญญาต่อไป ติดอยู่ในความสงบนั้นด้วยความสำราญแช่มชื่น ไม่สามารถจะทิ้งความสงบนั้น.

(๕) สุข ความสบายใจ ปลอดโปร่งใจ เป็นไปอย่างประณีตสุขุมและสม่ำเสมอ ประหนึ่งพ้นทุกข์เด็ดขาดแล้ว.

(๖) อธิโมกข์ ตามรูปศัพท์แปลว่า ความพ้นของจิตใจปรากฏเด่นชัดยิ่งนัก คล้ายกับพ้นเด็ดขาดจากกิเลสอาสวะแล้วฉะนั้น แต่โดยความ หมายเอาน้อมใจเชื่อในเรื่องที่ประสบนั้น โดยปราศจากญาณ.

(๗) ปัคคาหะ ความเพียรกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ประคองจิตไว้ในระดับสูง ไม่ให้จิตใจตกลงสู่ภวังค์เลยแม้แต่น้อย.

(๘) อุปัฏฐาน สติดำรงมั่นคงแข็งแรงกำกับจิตใจเป็นนิตย์ ไม่มีพลั้งเผลอ คล้ายกับมีสติไพบูลย์แล้วฉะนั้น.

(๙) อุเบกขา ความวางเฉยในอารมณ์ และมีใจเป็นกลางเที่ยงตรงอย่างยิ่ง ประหนึ่งบรรลุภูมิที่มีฉฬังคุเบกขาในอารมณ์.

(๑๐) นิกันติ ความรู้สึกพอใจในความเป็นไปของจิตขณะนั้นอย่างซึ้งๆ รู้สึกหยิ่งในใจนิดๆหรือภูมิใจหน่อยๆ ว่าตนพ้นจากอำนาจของมารแล้ว เมื่อได้ประสบกับภาวะทางจิตใจเช่นนี้แล้วหยั่งทราบว่าเพียงเป็นผลวิปัสสนาญาณขั้นข้ามความสงสัย มิใช่ผลสูงสุดของวิปัสสนาญาณที่แท้จริง จึงมิหยุดยั้งความเพียรเพียงนั้น ประคองจิตใจที่เห็นแจ้งนั้นในทางแห่งวิปัสสนายิ่งขึ้น ไม่ยอมให้เขวไปนอกทางแห่งวิปัสสนา.

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณบริสุทธิ์สามารถรู้เห็นทางดำเนินที่ถูกต้องของจิตใจและดำเนินจิตใจไปตามทางนั้นอย่างถูกต้องด้วย คือรวบรวมความรู้ทางวิปัสสนาให้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่ใจทุกๆ ขั้นไปทั้ง ๙ ขั้นอย่างละเอียดลออ ได้ความรู้เห็นแจ่มกระจ่างในทางเหตุผลต้นปลายของสังขารอย่างดี จนมีใจดำรงเป็นกลางเที่ยงตรงอย่างยิ่ง.

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ คือเกิดความรู้ ความเห็นอริยสัจธรรมแจ่มแจ้งขึ้นในใจ สามารถทำลายกิเลสออกจากใจได้เด็ดขาด ขาดเป็นขั้นๆ ไปตามกำลังของญาณทัส-สนะนั้นๆ รู้สึกโล่งใจเบาใจยิ่งขึ้นตามลำดับไป และรู้ได้ด้วยว่ากิเลสอะไรถูกกำจัดไปแล้วงอกขึ้นอีกทิพยอำนาจ ๑๕๖ไม่ได้ เพราะมูลรากของมันถูกขจัดแล้วอย่างเด็ดขาด ความรู้ความสามารถขั้นนี้เป็นขั้นสูงและเด็ดขาด มีอำนาจเหนือกิเลสอันเป็นปัจจนึกของตนๆ ความรู้ความสามารถขั้นสูงสุดนั้นทำลายอาสวะได้สิ้นเชิงเด็ดขาด สิ้นชาติสิ้นภพจบกิจพรหมจรรย์ หมดกรณียะที่จำเป็นต้องทำแล้ว ความรู้เห็นเช่นนี้แหละเรียกว่า ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ เป็นพระพุทธปรีชาสูงสุดของพระพุทธศาสนา.

ท่านกล่าวว่าวิสุทธิ ๗ ประการนี้ย่อมเป็นปัจจัยส่งต่อผู้ปฏิบัติ ไปสู่ภูมิพ้นทุกข์เด็ดขาดในอวสาน เปรียบเหมือนรถโดยสาร ๗ ระยะ ต่างส่งทอดผู้โดยสารไปสู่ที่สุดของทางฉะนั้น เมื่อจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ วิสุทธิ ๗ นี้เป็นขั้นของการปฏิบัติ ๗ ขั้น ค่อยๆ สูงขึ้นไปโดยลำดับ ขั้นที่ ๗เป็นขั้นสูงสุดยอดของการปฏิบัติ การปฏิบัติตั้งแต่ขั้นที่ ๓ เป็นต้นมาถึงขั้นที่ ๗ ล้วนเป็นขั้นของการเจริญญาณทัสสนะ เพื่อรู้จริงเห็นแจ้งทำลายรังของกิเลสทั้งสิ้น ท่านเรียกวิธีการปฏิบัตินั้นว่าวิปัสสนาวิธี เมื่อดำเนินไปตามทางของวิปัสสนาถูกต้องจะเกิดปัญญาญาณขึ้นตามลำดับขั้นเรียกว่าวิปัสสนาญาณ มีกำลังพอแก่การประหารอาสวะในขั้นนั้นๆ เรื่อยไป จนถึงขั้นสูงสุดสามารถทำลายอาสวะได้เด็ดขาด มีอำนาจเหนือกิเลสที่ทั้งปวงเรียกว่าอาสวักขยญาณ วิปัสสนาญาณมี ๙ ประการดังต่อไปนี้

วิปัสสนาญาณ ๙ ประการ

๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นนามรูปมีลักษณะเกิดขึ้นเสื่อมไปเสมอๆเหมือนฟองน้ำและพยับแดด ที่ตั้งขึ้นจากเหตุปัจจัยแล้วแตกดับไปฉะนั้น.

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นนามรูปที่มีลักษณะเคลื่อนไปสลายไป เหมือนกระแสน้ำไหลต่อกันไปเรื่อยๆ ฉะนั้น มองดูความเกิดกับความตายแล้วเห็นเป็นลักษณะเดียวกันคือแปรจากสภาวะอย่างหนึ่งไปสู่สภาวะอีกอย่างหนึ่ง สืบเนื่องกันไปเป็นทอดๆ.

๓. ภยตุปัฏฐานญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นนามรูปเป็นสิ่งน่าสะพรึงกลัว ปรากฏประหนึ่งเสือหรือราชสีห์ เพราะเป็นสิ่งมีภัย ประกอบไปด้วยภัยนานาชนิด เมื่อมีนามรูปขึ้นมาแล้วที่จะหวังปราศจากภัยนั้นเป็นไปไม่ได้ นามรูปจึงเป็นตัวภัยอันน่าหวั่นกลัวที่สุด.

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นนามรูปเต็มไปด้วยโทษที่น่าเบื่อหน่ายที่สุดเป็นที่ประชุมของโรคาพาธนานาชนิด เป็นที่ก่อให้เกิดความคับใจแค้นในนานาประการ น่าระอิดระอาใจ เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล เป็นสิ่งเปื่อยเน่าผุพัง ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งอยู่เสมอ ไม่น่าภิรมย์ยินดีประการใด.

๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาเล็งเห็นนามรูปเป็นสิ่งน่าเบื่อหน่ายยิ่งขึ้น จนถึงถอนกามราคะออกจากนามรูปได้ รู้สึกเบื่อรู้สึกหน่ายนามรูปเป็นกำลัง.

๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นเหตุผลว่า เมื่อไม่มีนามรูป ภัยอันตรายสิ่งน่าเบื่อหน่ายทั้งหลายย่อมไม่มี จึงเกิดความพอใจใคร่จะพ้นไปจากนามรูปนั้น.

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นเหตุผลเป็นเครื่องปลดปล่อยตนจากนามรูปคือเห็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งนามรูปแจ่มแจ้งตามความเป็นจริง เมื่อเหตุปัจจัยของนามรูปยังมีอยู่ จะปรารถนาให้นามรูปดับไปย่อมเป็นอฐานะ เมื่อใดกำจัดเหตุปัจจัยของนามรูปได้แล้วเมื่อนั้นนามรูปย่อมดับไป อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม เป็นเหตุแต่งสร้างนามรูปขึ้น อาหารเป็นปัจจัยสืบต่อรูปกายให้เป็นไป อายตนะและผัสสะเป็นปัจจัยสืบต่อนามกายให้เป็นไป เมื่อพิจารณาเห็นเหตุผลเช่นนี้จิตใจย่อมมีกำลังมั่นคง ดำเนินไปในแนวทางเพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของนามรูปยิ่งขึ้น.

๘. สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นเหตุผลว่า นามรูปเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันและมีธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งบีบคั้นและไม่อยู่ในความหวังของใคร จะไปฝ่าฝืนธรรมดาของมันย่อมไม่ควร แล้ววางใจเป็นกลางในนามรูป ไม่ดีใจไม่เสียใจ ในความเปลี่ยนแปลงแปรไปของสังขาร มีญาณรู้เท่าทันเสมอไป.

๙. สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาญาณเล็งเห็นอริยสัจธรรม ๔ ประการ แจ้งชัดตามกำลังของญาณทัสสนะนั้นๆ แล้วกำจัดกิเลสให้ขาดไปตามกำลังของอริยมรรคญาณ ที่เกิดขึ้นถึง ๔ ขั้นตามลำดับกัน ขั้นสุดท้ายสามารถทำลายอาสวะให้ขาดเด็ดไปจากขันธสันดานสิ้นเชิง ผู้บรรลุถึงขั้นสูงสุดนี้เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา บรรลุถึงยอดของพระพุทธปรีชาคืออาสวักขยญาณ.

อารมณ์ของวิปัสสนา

บรรดากิเลสอันเกิดขึ้นครอบงำจิตใจของบุคคลย่อมมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอารมณ์เป็นปัจจัยมีที่อาศัยคือสภาวธาตุในภายในร่างกายและจิตใจ เมื่อไม่รู้จริงซึ่งสภาวะธาตุภายในและอารมณ์เพียงใดย่อมเป็นเหตุและเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสเพียงนั้น ฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาจึงหมายถึงการพิจารณาสภาวธาตุภายในร่างกายจิตใจและอารมณ์ที่มาสัมปยุต ให้รู้เห็นแจ่มแจ้งตามความเป็นจริง เพื่อทำลายรังของอวิชชา สภาวธาตุและอารมณ์ที่ควรพิจารณานั้น มีดังต่อไปนี้

๑. ขันธ์ ๕ =

(๑) รูปขันธ์ ได้แก่ สิ่งประกอบด้วยธาตุ ๔

(๒) เวทนาขันธ์ ได้แก่ ความรู้รสผัสสะ

(๓) สัญญ่าขันธ์ ได้แก่ ความจำอารมณ์และรสผัสสะ

(๔) สังขารขันธ์ ได้แก่ ความคิดอ่านอารมณ์

(๕) วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความรู้จักอารมณ์

๒. อายตนะ ๑๒ =

(๑) อายตนะภายใน ๖ มีจักขุ เป็นต้น

(๒) อายตนะภายนอก ๖ มีรูป เป็นต้น

๓. ธาตุ ๑๘ =

(๑) จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุประสาท มีหน้าที่เห็น

(๒) โสตธาตุ ได้แก่ โสตประสาท มีหน้าที่ฟัง

(๓) ฆานธาตุ ได้แก่ ฆานประสาท มีหน้าที่สูดดม

(๔) ชิวหาธาตุ ได้แก่ ชิวหาประสาท มีหน้าที่ลิ้ม

(๕) กายธาตุ ได้แก่ กายประสาท มีหน้าที่สัมผัส

(๖) มโนธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้คือจิตใจ มีหน้าที่รับรู้

(๗) รูปธาตุ ได้แก่ สิ่งที่เป็นรูปร่างทั้งปวง

(๘) สัททธาตุ ได้แก่ สิ่งที่เป็นเสียงทั้งปวง

(๙) คันธธาตุ ได้แก่ สิ่งที่เป็นกลิ่นทั้งปวง

(๑๐) รสธาตุ ได้แก่ สิ่งทั้งปวงที่เป็นรส

(๑๑) โผฏฐัพพธาตุ ได้แก่ สิ่งสัมผัสได้ทั้งปวง

(๑๒) ธัมมธาตุ ได้แก่ สิ่งเกิดกับใจทั้งปวง

(๑๓) จักขุวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้อารมณ์ทางจักขุประสาท

(๑๔) โสตวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้อารมณ์ทางโสตประสาท

(๑๕) ฆานวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้ทางฆานประสาท

(๑๖) ชิวหาวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้ทางชิวหาประสาท

(๑๗) กายวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้ทางกายประสาท

(๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุรู้ทางมโน

๔. อินทรีย์ ๒๒ =

หมวดที่ ๑ อินทรีย์ ๖ คือ

(๑) จักขุนทรีย์ ได้แก่ จักขุประสาท มีหน้าที่เห็น

(๒) โสตินทรีย์ ได้แก่ โสตประสาท มีหน้าที่ฟัง

(๓) ฆานินทรีย์ ได้แก่ ฆานประสาท มีหน้าที่สูดดม

(๔) ชิวหินทรีย์ ได้แก่ ชิวหาประสาท มีหน้าที่ลิ้ม

(๕) กายินทรีย์ ได้แก่ กายประสาท มีหน้าที่สัมผัส

(๖) มนินทรีย์ ได้แก่ มโน มีหน้าที่รู้

หมวดที่ ๒ อินทรีย์ ๓ คือ

(๑) อิตถินทรีย์ ได้แก่ ความเป็นสตรี (=อิตถีภาวะ)

(๒) ปุริสินทรีย์ ได้แก่ ความเป็นบุรุษ (=ปุริสภาวะ)

(๓) ชีวิตินทรีย์ ได้แก่ ความมีชีวิต (=ชีวภาวะ)

หมวดที่ ๓ อินทรีย์ ๕ คือ

(๑) สุขินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นสุข

(๒) ทุกขินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นทุกข์

(๓) โสมนัสสินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความดีใจ

(๔) โทมนัสสินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความเสียใจ

(๕) อุเปกขินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความเฉยๆ

หมวดที่ ๔ อินทรีย์ ๕ คือ

(๑) สัททินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความเชื่อ

(๒) วิริยินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความเพียร

(๓) สตินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความสำนึก

(๔) สมาธินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความมั่นใจ

(๕) ปัญญินทรีย์ ได้แก่ สภาวะเป็นความรู้

หมวดที่ ๕ อินทรีย์ ๓ คือ

(๑) อนัญญัตตัญญัสสามีตินทรีย์ ได้แก่ ความเป็นพระโสดาบัน

(๒) อัญญินทรีย์ ได้แก่ ความเป็นพระอรหันต์

(๓) อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ ความเป็นพระอริยบุคคลชั้นสกิทาคามิมรรคขึ้นไปจนถึงชั้นพระอรหัตตมรรค

๕. อริยสัจ ๔ =

(๑) ทุกข์ ได้แก่สักกายะอันประกอบด้วยความลำบาก มีอันแปรผันไปตามเหตุปัจจัยของมัน บีบคั้นเผาลนจิตใจ ไม่เป็นไปตามความหวังของใครๆ.

(๒) ทุกขสมุทัย ได้แก่ตัณหา ความทะยานอยาก ซึ่งมีอวิชชาเป็นรากแก้ว เป็นตัวเหตุก่อทุกข์เผาลนใจ เป็นตัวเหตุให้เกิดตาย สืบเนื่องไปในกำเนิดและภพต่างๆ สูงบ้างต่ำบ้าง.

(๓) ทุกขนิโรธ ได้แก่พระนิพพานอันเป็นที่ปราศจากตัณหาพร้อมทั้งอวิชชา เป็นที่ดับสนิทของทุกข์.

(๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ซึ่งมีสมรรถภาพไปสู่พระนิพพาน เป็นที่ดับทุกข์เด็ดขาด ที่พระบรมศาสดาทรงบัญญัติว่าอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ คือมโนสุจริต สัมมาวาจา พูดชอบ คือวจีสุจริต สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือกายสุจริต สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือเพียรละบาปบำเพ็ญบุญ สัมมาสติ สำนึกชอบ คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ สัมมาสมาธิ ความสงบใจชอบ คือฌานมาตรฐาน ๔ ประการ

หมวดที่ ๖ ปฏิจจสมุปบาท คือ

(๑) อวิชชา ได้แก่ ความรู้ไม่แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง

(๒) สังขาร ได้แก่ ความคิดอ่านปรุงแต่งทางใจ

(๓) วิญญาณ ได้แก่ ธาตุรู้ ซึ่งไปถือปฏิสนธิในรูปธาตุตามความคิด

(๔) นามรูป ได้แก่ ร่างกายคือรูปกายและนามกาย

(๕) สฬายตะ ได้แก่ อายตนะ ๖ มีจักขุประสาทเป็นต้น ซึ่งเกิดมีในรูปกายด้วยอำนาจกุศลากุศลกรรมตามความจำนงของใจ

(๖) ผัสสะ ได้แก่ ความกระเทือนใจต่ออารมณ์

(๗) เวทนา ได้แก่ ความรู้รสผัสสะ

(๘) ตัณหา ได้แก่ ความชอบไม่ชอบรสผัสสะ

(๙) อุปาทาน ได้แก่ ความผูกใจไว้ในสิ่งที่ชอบที่ชัง

(๑๐) ภพ ได้แก่ การก่อเรื่องตามความประสงค์ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในจิตใจ คือโครงสร้างของกรรม

(๑๑) ชาติ ได้แก่ ความปรากฏของเบญจขันธ์

(๑๒) ชรามรณะ ได้แก่ ความแก่ และความตาย ตลอดถึงทุกข์อื่นๆ อันเป็นผลทั้งมวล ซึ่งปรากฏขึ้นแก่สักกายะ คือเบญจขันธ์ เมื่อไม่รู้เท่าก็เป็นปัจจัยแก่สังขารวิญญาณวนไปอีก เกิดเป็นวงกลมขึ้น นี่เป็นฝ่ายสมุทัยวาร ฝ่ายนิโรธวารก็มีการดับสืบเนื่องกันเป็นทอดๆ นับแต่ดับอวิชชาตัวต้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ก็พลอยดับตามกันไปจนหมด เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งสิ้นได้ดับไป.

วิธีเจริญวิปัสสนา

ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นนี้ เป็นการกล่าวตามหลักปริยัติธรรม เพื่อเป็นแนวทางทำการเจริญวิปัสสนาให้เป็นไปตามลำดับ ทีนี้จะกล่าวโดยทางปฏิบัติจริงๆ สืบไป วิธีเจริญวิปัสสนามี ๒ วิธี คือ

๑. เจริญวิปัสสนาอย่างพิสดารเพื่อญาณทัสสนะ หรือทิพยอำนาจหลายประการตามแต่จะประสงค์.

๒. เจริญวิปัสสนาอย่างลัดตัดตรงไปเพื่ออาสวักขัยโดยส่วนเดียว จะอธิบายวิธีทั้งสองนี้ไว้พอเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างพิสดาร

 


๑. ประมวลวิธีที่อาจเป็นได้สำหรับผู้มีบารมีใหญ่และอุตสาหะมากเท่านั้น มิใช่วิธีที่จะสาธารณะแก่ผู้บำเพ็ญทุกๆ คน

วิธีเจริญวิปัสสนาแบบนี้ ผู้เจริญมุ่งหมายให้มีความรู้ความเห็นแตกฉานหลายด้านหลายมุม หรือมุ่งให้มีทิพยอำนาจหลายประการ เพื่อเป็นเครื่องมือใช้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่น ในเมื่อบรรลุถึงประโยชน์สูงสุดสำหรับตนแล้ว จึงดำเนินการวิปัสสนาอย่างกว้างขวางละเอียดลออเป็นขั้นๆ ไปคือ

(๑) เจริญสมาธิให้ถึงฌานมาตรฐาน คือฌานที่ ๔ เป็นอย่างต่ำ ให้ช่ำชองชำนิชำนาญในฌานอย่างยิ่ง เพื่อเป็นฐานในการเจริญญาณทัสสนะและทิพยอำนาจนั้นๆ อย่างดี.

(๒) เพื่อป้องกันมิให้หลงตนลืมตัวในเมื่อพบเห็นอะไรๆ อันเป็นส่วนภายนอกที่มาปรากฏในมโนทวาร ในขณะเข้าฌานนั้นๆ พึงเจริญอภิภายตนะ ๘ ประการดังกล่าวแล้วในบทว่าด้วยทิพพจักขุญาณ.

(๓) เพื่อป้องกันความเห็นผิด อันเป็นเหตุยึดถือในอัตตา พึงเจริญยถาภูตญาณทัสสนะ ดังนี้ เข้าฌานถึงขั้นที่ ๔ แล้วพิจารณากายอันปรากฏแก่ญาณจักษุในขณะนั้น ให้เห็นตามเป็นจริงว่า เกิดจากสัมภวธาตุของบิดามารดาผสมกัน มีกรรมเป็นเหตุ มีวิญญาณธาตุเข้าถือปฏิสนธิแล้วเจริญเติบโตจนคลอดออกมา อาศัยอาหารหล่อเลี้ยง อาศัยอายตนะและผัสสะปรนปรือจึงดำรงสืบต่อกันไป เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เป็นของเปื่อยเน่าผุพังไม่จีรังยั่งยืนเป็นทุกข์บีบคั้น ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใครๆ คือตกอยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์เสมอ เมื่อรู้เห็นอยู่โดยนัยนี้ อัตตานุทิฏฐิก็ไม่มีที่อาศัย ชื่อว่าได้กำจัดทิฏฐาสวะให้ตกไป.

(๔) เจริญทิพยอำนาจประการนั้นๆ ดังกล่าวมาในข้อว่าด้วยการเจริญทิพยอำนาจนั้นๆ แล้วจนได้ความรู้เหตุผลต้นปลายของสิ่งทั้งหลาย และมีทิพยอำนาจตามความประสงค์ มีตนเองเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ดี.

(๕) เจริญเพื่อปฏิสัมภิทา ๔ ประการ คือทำการกำหนดพิจารณารู้ความจริงแห่งธรรม อันเป็นไปอยู่ปรากฏอยู่ในภายใน คือ

(๑) ความย่อหย่อนของจิต

(๒) ความสงบอยู่ภายในของจิต

(๓) ความฟุ้งไปภายนอกของจิต

(๔) เวทนาที่เสวยอยู่ กำลังเกิดขั้น ตั้งอยู่ ดับไป

(๕) สัญญาที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

(๖) วิตกที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

(๗) นิมิตคือเครื่องหมายในธรรมทั้งหลาย ได้แก่สบาย ไม่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาวพร้อมด้วยส่วนเปรียบของนิมิตนั้นๆ.

ทำการกำหนดรู้ใส่ใจใคร่ครวญ สอบสวนทวนดูจนรู้ทะลุปรุโปร่งแล้วทุกประการ จะเกิดปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการ คือ

ก. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ รู้แตกฉานในธรรม คือ ตัวเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายและหลักธรรมนั้นๆ.

ข. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ รู้แตกฉานในอรรถ คือตัวผลของเหตุปัจจัย ได้แก่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยและความหมายที่แน่นอนของหลักธรรมนั้นๆ.

ค. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ รู้แตกฉานในสภาวะและภาษาที่จะใช้บัญญัติสภาวะนั้นๆ ให้ได้ความแน่ชัดตายตัวลงไป เป็นที่ฟังเข้าใจกันได้ในหมู่ชนชาติภาษาเดียวกัน.

ฆ. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ รู้แตกฉานในการกล่าวธรรมโดยปฏิภาณ คือความผ่องแผ้วของจิตใจ สามารถมองเห็นเหตุผลและความจริงได้ว่องไวทันทีทันใด.

(๖) เจริญเพื่ออาสวักขยญาณ คือเข้าฌานชั้นใดชั้นหนึ่งตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตลอดถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (ถ้าได้) แล้วพิจารณาสิ่งที่ถึงความเป็นรูป เป็นเวทนาเป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ในฌานนั้นๆ ให้เห็นโดยไตรลักษณะอย่างถี่ถ้วน เห็นแล้วเห็นอีก จนจิตวางอุปาทานในสิ่งนั้นๆ ได้ ก็ชื่อว่าบรรลุถึงอาสวักขยญาณ จะรู้ขึ้นในขณะนั้นเองว่าสิ้นชาติ สิ้นภพจบพรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ต้องทำอีกแล้ว เฉพาะสมาบัติสองประการ คือเนวสัญญานาสัญญายตนะและสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นสมาบัติประณีตเกินไป จะเจริญวิปัสสนาภายในสมาบัตินั้นไม่ได้ท่านว่าพึงเข้าและออกเสียก่อน ในลำดับที่ออกจากสมาบัตินั้น พึงรีบทำการเจริญวิปัสสนาทันทีโดยยกเอาสัญญาเป็นเครื่องกำหนดนั้นมาเป็นอารมณ์ หรือสิ่งใดๆ มาปรากฏแก่จิตใจในขณะออกจากฌานใหม่ๆ นั้นก็พึงยกเอาสิ่งนั้นๆ มาพิจารณาโดยไตรลักษณ์ให้เห็นชัดแจ้งแล้วๆ เล่าๆ จิตใจก็จะถอนความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงได้.
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5076


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2559 23:18:45 »

๒. วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด

วิธีเจริญวิปัสสนาแบบนี้ ผู้ปฏิบัติมุ่งทำลายอาสวะให้เด็ดขาดเลยทีเดียว ไม่พะวงถึงคุณสมบัติส่วนอื่นๆ โดยเชื่อว่าถ้ามีวาสนาเคยสั่งสมมาเมื่อบรรลุถึงอาสวักขัยแล้ว คุณสมบัตินั้นๆจะมีมาเองตามสมควรแก่วาสนาบารมี และเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษนั้นเป็นผลรายทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินตามทางอย่างรีบลัดตัดตรงไปถึงที่สุดแล้วก็จะต้องได้คุณสมบัตินั้นๆ บ้างพอสมควรไม่จำเป็นต้องไปห่วงใยให้เสียเวลา รีบรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์สูงสุดทีเดียว มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. อาศัยสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นฐานทำการพิจารณาอารมณ์ของวิปัสสนาไปตามลำดับๆ จนได้ความรู้กระจ่างแจ้งในอารมณ์นั้นๆ เป็นอย่างๆ ไป สมาธิที่มีกำลังเพียงพอคือฌานที่ ๔ ถ้าต่ำกว่านั้นจะมีกำลังอ่อน จะไม่เห็นเหตุผลแจ่มชัด จะเป็นความรู้กวัดแกว่ง ไม่มีกำลังพอจะกำจัดอาสวะได้ ผู้มีภูมิสมาธิชั้นต่ำพึงทำการเข้าสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไปจึงจะได้ผล อย่ามีแต่พิจารณาหน้าเดียว จิตจะฟุ้งในธรรมเกินไป แล้วจะหลงสัญญาตัวเองว่าเป็นวิปัสสนาญาณไป.

๒. ตีด่านสำคัญให้แตกหัก คือทำการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นแจ้งชัดโดยไตรลักษณะ แจ่มแล้วแจ่มอีกเรื่อยไปจนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด จิตใจจึงจะมีอำนาจเหนือขันธ์ ๕ รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามเป็นจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระเต็มเปี่ยม ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณด้วยประการฉะนี้.

พระไตรลักษณญาณ

การเจริญวิปัสสนา ไม่ว่าวิธีใดและขั้นใด จะต้องมีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดเสมอไป จึงจะเป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องชี้ขาดแล้ววิปัสสนาญาณนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นไปเพื่อความหลงได้ เมื่อมีพระไตรลักษณญาณกำกับอยู่แล้วเป็นอันรับประกันได้ว่าจะไม่หลงทางไปได้ แม้วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ไม่หลงสำคัญว่าเป็นภูมิธรรมสูงสุด แล้วจะยับยั้งชั่งตรองว่าธรรมที่ปรากฏขึ้นนั้นอยู่ในลักษณะของพระไตรลักษณ์หรือไม่ถ้ายังอยู่ในลักษณะพระไตรลักษณ์แล้วชื่อว่ายังเป็นสังขาร มิใช่วิสังขาร ธรรมชาติของสังขารย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเสมอไป ส่วนวิสังขารย่อมพ้นอำนาจของพระไตรลักษณ์ คือเป็นสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนไม่ทุกข์ และเป็นตนของตน พระไตรลักษณญาณนั้น คือ

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ อนิจฺจลกฺขณญาณํ รู้ลักษณะไม่เที่ยงว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีลักษณะผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุ ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความไม่เที่ยงทั้งสิ้น เมื่อมีเกิด ย่อมมีตาย เป็นคู่กันเสมอไป สิ่งใดไม่เกิดสิ่งนั้นจึงจะไม่ตาย ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนิจจลักษณญาณ.

๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ทุกฺขลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะทุกข์ว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งมีทุกข์ มีลักษณะเผาลนบีบคั้น และผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความทุกข์ทั้งสิ้น สังขารที่เที่ยงแท้มิได้มี ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วต้องมีทุกข์เสมอไป เหมือนไฟแม้เพียงน้อยนิดก็ร้อนฉะนั้น จะหาความสุขที่แท้จริงในสังขารย่อมหาไม่ได้เหมือนจะหาความเย็นในไฟย่อมไม่ได้ฉะนั้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า ทุกขลักษณญาณ.

๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ อนตฺตลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะอนัตตาว่า สิ่งทั้งปวง คือตัวเหตุและปัจจัยทั้งหมดเป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งดำรงอยู่ และเป็นไปตามลักษณะของมันเองเช่นนั้น เมื่อมันเป็นตัวเหตุหรือตัวปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเป็นสิ่งสังขารใดๆ ขึ้นมา ให้ตกอยู่ในลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์แล้ว ตัวมันเองก็ต้องไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะเหตุกับผลย่อมเป็นสิ่งคล้ายคลึงกันเสมอไป เหตุเที่ยงผลต้องเที่ยง เหตุทุกข์ผลต้องทุกข์ เหตุมิใช่ตัวตนผลก็มิใช่ตัวตนเช่นเดียวกัน สิ่งใดเป็นไปตามสภาพของมัน อันใครๆ จะไปฝ่าฝืนขัดขืนมิได้ สิ่งนั้นชื่อว่าอนัตตาทั้งสิ้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนัตตลักษณญาณ.

ข้อควรสังเกตของผู้ปฏิบัติ คือพระไตรลักษณ์ครอบงำไปถึงไหน ที่นั้นยังมิใช่ภูมิพ้นทุกข์จริงภูมิพ้นทุกข์จริงแท้นั้น ต้องพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์เด็ดขาด ไตรลักษณ์หมดอำนาจที่จะครอบงำถึง ภูมิจิตใจอันพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์นั้นมีได้อย่างไร เป็นสิ่งจะต้องรู้เองเห็นเองโดยส่วนเดียว เมื่อได้รู้เห็นภูมิอันพ้นอำนาจไตรลักษณ์แล้ว ท่านพ้นทุกข์เด็ดขาดแล้ว เย็นใจได้ทีเดียวว่าท่านจะไม่มีวันกลับมาสู่อำนาจของไตรลักษณ์อีกต่อไปตลอดนิรันดรกาล.

พระอาสวักขยญาณ

ความรู้ว่าอาสวะสิ้นไปแล้ว หรือยังอยู่อย่างไรเป็นความรู้สำคัญ ในชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงควรรู้จักหน้าตาของอาสวะให้เป็นข้อสังเกตในขั้นพิจารณาดังต่อไปนี้อาสวะคือธรรมชาติที่หมักดองจิตใจ ทำให้จิตใจแปรสภาพเป็นสิ่งเศร้าหมองบูดเหม็น เป็นทุกข์เดือดร้อน และก่อทุกข์เดือดร้อนเพิ่มใหม่แก่ตัวเป็นทวีคุณ ท่านจำแนกไว้ ๔ ประการคือ

๑. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นเป็นเหตุให้ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นแก่นสาร ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้ยึดถือตัวตนนั่น ได้แก่ภวทิฏฐิ คือเห็นว่ามีแน่ ได้แก่เห็นว่าอัตตา=ตัวตน เป็นสิ่งแน่นอน แล้ว แล้วยึดถือเอาสิ่งที่ตนเห็นอันใดอันหนึ่งเป็นอัตตา แล้วประพฤติเพื่อความมีอัตตาตามที่ตนปรารถนา ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่มีอัตตาโดยประการทั้งปวงเรียกว่าวิภวทิฏฐิคือเห็นว่าไม่มีแน่ ได้แก่เห็นว่าขาดสูญ ตายแล้วก็สิ้นเรื่องทุกข์ร้อนเพียงนั้น ความเห็นทั้งสองประเภทนี้ย่อมเป็นไปเพื่อก่อทุกข์ด้วยกัน จึงจัดเป็นความเห็นผิดอันควรกำจัด เมื่อปฏิบัติเจริญวิปัสสนาเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์เมื่อใด ทิฏฐิเช่นนี้ก็ถูกกำจัดไปเมื่อนั้น.

๒. กามาสวะ อาสวะคือกาม ได้แก่ความติดใจในกามารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) ที่เรียกว่า กามราคะบ้าง กามฉันทะบ้าง มีความพอใจติดพัน หมายมุ่งลุ่มหลงในกามวัตถุ ครั้นไม่สมหวังหรือได้สิ่งไม่พึงใจ ย่อมเกิดความโกรธแค้นเกลียดชังหน่ายแหนงครั้นได้สมหวังย่อมเพลิดเพลินมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น จนหลงตนลืมตัวไป ความรู้สึก ๒ ฝ่ายเนื่องด้วยกามารมณ์นี้แล เรียกว่ากามาสวะ เป็นเครื่องหมักดองใจให้เศร้าหมอง แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบ คือ โลภะ ความเห็นแก่ได้ และกามราคะ ความใคร่ในทางร่วมประเวณี ที่รุนแรงคือกามมิจฉาจาร อย่างกลางคือ กามฉันทะ ความพออกพอใจในกามารมณ์สามัญทั่วไป มีลักษณะให้อาลัยห่วงใยในสิ่งที่ตนพอใจนั้นๆ.

๓. ภวาสวะ อาสวะคือภพ ได้แก่ภวราคะความพอใจอาลัยในภพ คือภาวะที่เป็นนั้นๆภายในจิตใจของตน ที่เรียกว่า รูปราคะ๑ ความติดใจในรูปฌาน แสดงตัวออกเป็นกิเลส อย่างหยาบคือภวตัณหา ทะยานอยากไปเกิดในภพที่ตนพอใจ อย่างกลางคือโสมนัสความดีใจในเมื่อสมหวัง โทมนัสความเสียใจในเมื่อไม่สมหวัง อย่างละเอียดคืออุเบกขาสุขในตติยฌานภูมิ และมานะความถือตัว.

๔. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ได้แก่ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งนั้นๆ เป็นเหตุให้หลงและสำคัญผิดเข้าใจผิดเห็นผิดไปต่างๆ แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบคือมิจฉาทิฏฐิต่างๆ และวิภวตัณหา อยากดับสูญไม่อยากเกิดอีกโดยความเข้าใจผิดไปว่าตายแล้วสิ้นเรื่องเพียงนั้น อย่างกลางคือ อรูปราคะความติดใจในอรูปฌาน อย่างละเอียดคืออุทธัจจะ ความฟุ้งของจิต หรือความสะเทือนใจตื่นเต้นในธรรมคือภาวะที่เป็นไปในจิตชั้นสูง ที่ท่านเรียกว่าธรรมอุทธัจจะ และตัวอวิชชาเอง.

 

๑. ในพระสูตรว่า ความพอใจในรูปภาพวิจิตร เป็นรูปราคะ.

๒. อวิชชาเป็นพาหนะของกิเลสทั้งหลาย ท่านเปรียบเหมือนช้างคีรีเมขลาสีหมอก.


วัตถุอันเป็นที่ตั้งของอวิชชา มี ๘ ประการ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อดีต อนาคต ปัจจุบัน และปฏิจจสมุปบาท (=ปัจจยาการ ๑๒) เมื่อยังไม่รู้แจ่มแจ้งวัตถุทั้ง ๘ นี้ ตามเป็นจริงเพียงไร อวิชชาสวะยังมีอยู่เพียงนั้น เมื่อแจ่มแจ้งในวัตถุ ๘ ประการนี้แล้วอวิชชาย่อมดับไปสิ้นเชิง อวิชชาอันเป็นรากแก้วของกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดให้ดับไปแล้ว กิเลสทั้งหลายย่อมถูกกำจัดไป เมื่อกิเลสถูกกำจัดแล้ว กรรมอันเป็นตัวเหตุก่อนามรูปในกำเนิดต่างๆ ก็ถูกทำลาย ทุกข์ทั้งหลายอันเป็นผลของกิเลสและกรรมก็สิ้นสุดลง เมื่อนามรูปปัจจุบันอันเป็นวิบากขันธ์ยังมีอยู่ก็เสวยผลของมันไปจนกว่ามันจะสลายไป เมื่อนามรูปปัจจุบันสลายแล้ว นามรูปใหม่ก็ไม่มีอีก เป็นอันหมดสิ่งต้องเกิดตายเพียงนั้น ต่อนั้นไปก็มีแต่สภาวะที่ปราศจากทุกข์โดยส่วนเดียวดำรงอยู่ในสภาพปราศจากทุกข์ตลอดกาลนิรันดร.

เมื่อรู้จักอาสวะ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง รู้เหตุเกิดอาสวะเหล่านั้น รู้จักที่สิ้นอาสวะและรู้จักทางให้สิ้นอาสวะได้แล้ว ย่อมสามารถทำลายอาสวะเด็ดขาดได้ ชื่อว่าได้บรรลุอาสวักขยญาณ ด้วยประการฉะนี้.

วิธีเจริญอาสวักขยญาณอย่างรวบยอด สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆ คือ เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดยไตรลักษณ์ เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที การสำเหนียกพิจารณาในฌานเช่นนี้จะเป็นไปโดยอาการสุขุมประณีตแผ่วเบา ไม่รู้สึกสะเทือนทางประสาทเลย ไม่เหมือนการคิดการอ่านโดยปกติธรรมดา ซึ่งต้องใช้ประสาทสมองเป็นเครื่องมือฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐานให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ.

สัญโยชน์ ๑๐ ประการ

กิเลสอันเป็นเหตุผูกมัดสัตว์ไว้ในวัฏฏสงสาร ๑๐ ประการ ท่านเรียกว่า สัญโยชน์ พึงกำหนดรู้ลักษณะของมันไว้ ดังต่อไปนี้

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกายของตนเองที่แยกออกเป็น ๕ ส่วนว่าเป็นอัตตาตัวตนหรือว่าตน คือสิ่งเหล่านั้น หมายความว่ายังไม่เห็นอนัตตา ยังติดอัตตาอยู่.

๒. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจว่าพระนิพพานมีจริง เป็นเหตุให้สองจิตสองใจ ไม่กล้าปฏิบัติทางพระนิพพานอย่างจริงจัง โดยใจความก็ได้แก่ยังไม่เห็นอนัตตาแน่ชัดนั่นเอง.

๓. สีลพัตตปรามาส ข้อนี้แยกออกเป็น ๒ บทคือ สีลวัตตะ บทหนึ่ง, ปรามาสะ บทหนึ่งสีลวัตตะนั้นท่านแยกออกเป็น ๒ อีกคือ เป็นศีลอันใด วัตรอันนั้นอย่างหนึ่ง ศีลอันใดไม่ใช่วัตรอันนั้นหนึ่ง ศีล ๕ นั้นเป็นศีลอันใดวัตรอันนั้น คือเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วย ส่วนอริยมรรคข้ออื่น เช่นสัมมาสติไม่ใช่ศีลอันใด วัตรอันนั้น คือเป็นแต่วัตร ไม่ใช่ศีล.

คำว่า ปรามาสะ นั้นแปลว่าการลูบคลำหรือการคลำหา ยังเคว้งคว้างอยู่ พระโสดาละสัญ-โยชน์ข้อนี้ไม่ใช่ละศีลวัตร ท่านละการลูบคลำซึ่งศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วยนั้น หมายความว่าท่านไม่ต้องถือศีล ๕ เพราะมีศีล ๕ แล้ว และไม่ต้องไปแสวงหามรรคธรรมในศาสนาอื่นอีก เป็นอันรู้ทางที่จะดำเนินขึ้นสู่อริยผลเบื้องบนแน่นอนแล้ว เป็นแต่จะบำเพ็ญขึ้นไปอีกเท่านั้น.

๔. กามราคะ ความกำหนัดในกามคุณ ติดใจในกามารมณ์ ความอยากได้ใคร่ดีในอารมณ์นั้นๆ.

๕. ปฏิฆะ คาวมคับใจ แค้นใจ หงุดหงิดในใจ เนื่องด้วยประสบอารมณ์น่าโกรธเคือง บางแห่งเรียกพยาบาทก็มี.

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน หรือในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจสูง.

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจชั้นสูง.

๘. มานะ ความสำคัญตนผิดไปจากความเป็นจริง ในที่นี้คงหมายเอาความเคยชินที่เคยถือมาแล้วแต่ก่อน เหลือติดอยู่ ท่านเปรียบเหมือนผ้าที่ฟอกสะอาดจากสิ่งโสโครกแล้ว แต่กลิ่นน้ำด่างยังติดเหลืออยู่ที่ผ้า จะต้องอบให้หมดกลิ่นน้ำด่างนั้นอีกชั้นหนึ่ง.

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งไม่สงบราบคาบ เป็นเหตุให้เห็นธรรมไม่แจ่มแจ้งได้ ความตื่นเต้นสะเทือนใจในภาวะของจิตใจบางประการ ตลอดถึงความมุ่งพยายามเร่งจะก้าวหน้าเลื่อนชั้นขึ้นไปอุทธัจจะในสัญโยชน์ไม่เหมือนอุทธัจจะที่เป็นนิวรณ์.

๑๐. อวิชชา ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งทั้งหลาย เป็นเหตุหลงและสำคัญผิดไปจากความจริง.

สัญโยชน์ ๑ – ๓ พระโสดาบันละได้ขาด พระสกทาคามีละสัญโยชน์ ๓ นั้นได้ และทำราคะโทสะ โมหะ ให้เบาบางลงได้ด้วย สัญโยชน์ ๑ – ๕ พระอนาคามีละได้เด็ดขาด สัญโยชน์ทั้ง ๑๐ พระอรหันต์ละได้ทั้งหมด.

ความจริงเมื่ออริยมรรคญาณเกิดขึ้นกำจัดกิเลสส่วนใดแล้ว อริยผลญาณย่อมเกิดขึ้นในลำดับ ให้หยั่งรู้ว่ากิเลสส่วนนั้นจะไม่งอกขึ้นอีก เมื่อบรรลุถึงอาสวักขยญาณแล้ว ย่อมเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นเองในลำดับนั้นทันทีว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ คือปฏิบัติมรรคเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก ดังนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เองไม่ต้องถามใคร และไม่ต้องสอบสวนกับแบบแผนอะไรด้วย ถ้ายังต้องทำชื่อว่ายังมีสงสัย ญาณตัดสินใจไม่มี ไม่ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณ การที่นำสัญโยชน์มาตั้งไว้ในที่นี้ เพียงเพื่อเป็นข้อสังเกตกำหนดของผู้ปฏิบัติในการกำจัดกิเลสนั้นๆ เท่านั้น ผู้บรรลุอาสวักขยญาณอย่างแท้จริงแล้วย่อมมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ซึ่งทำให้สังเกตได้ว่าเป็นพระอรหันต์ ธรรมเครื่องอยู่นั้นเรียกว่า อริยวาส ดังต่อไปนี้

อริยวาส ๑๐

๑. ปัญจังคปหีโน ละองค์ ๕ แห่งนิวรณ์ได้แล้ว.

๒. ฉฬังคสมันนาคโต ประกอบด้วยองค์ ๖ คือมีอุเบกขาในอารมณ์ทั้ง ๖.

๓. เอการักโข มีอารักขาเอก คือ สติไพบูลย์.

๔. จตุราปัสเสโน มีธรรมเป็นที่อิงอาศัย ๔ ประการ เหมือนกับมีเสนาป้องกัน ๔ ด้านคือ

(๑) พิจารณาแล้วเสพ

(๒) พิจารณาแล้วรับ

(๓) พิจารณาแล้วเว้น

(๔) พิจารณาแล้วบรรเทา

๕. ปนุนนปัจเจกสัจโจ บรรเทาความเห็นผิดตามที่สมณพราหมณ์เป็นอันมากเห็นและถือมั่นกันอยู่ได้แล้ว.

๖. สมวยสัฏเฐสโน ละการแสวงหากามและภพได้แล้ว การแสวงหาพรหมจรรย์ก็สงบระงับลงแล้ว.

๗. อนาวิลสังกัปโป ละความคิดในทางกาม ความคิดพยาบาท และความคิดเบียดเบียนได้แล้ว เป็นผู้มีความคิดผ่องแผ้วอยู่เสมอ.

๘. ปัสสัทธกายสังขาโร มีกายสังขารระงับแล้ว คือบรรลุฌานที่ ๔ ซึ่งละสุข ทุกข์ โสมนัสโทมนัส ได้มีอุเบกขา สติ และความบริสุทธิ์กำกับใจอยู่เสมอ.

๙. สุวิมุตตจิตโตมีจิตพ้นดีแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ.

๑๐. สุวิมุตตปัญโญ มีความรู้ว่าพ้นดีแล้ว กิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ละได้แล้วถูกต้ดรากเหมือนตาลยอดด้วน มีอีกไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป.

อริยวาส ๑๐ นี้ เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในอดีตและปัจจุบัน จักเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลายในอนาคตอีกด้วย.


อินทรีย์แก้ว

ก่อนจบบทนี้ จะพูดถึงอินทรีย์แก้วซึ่งได้พูดแย้มไว้หลายแห่งมาแล้ว พอเป็นแนวศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาพระพุทธศาสนา หวังว่าจะเป็นเรื่องที่สนใจอยากทราบเป็นแน่.

ปกรณ์ฝ่ายมหายานหรืออุตตรนิกาย เขาแบ่งภาคพระพุทธเจ้าเป็นหลายชั้น เช่น

(๑) พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ มีพระรัศมีรุ่งเรืองที่สุดหาเขตจำกัดมิได้ ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย เป็นอยู่ชั่วนิรันดร.

(๒) พระฌานิพุทธเจ้า ได้แก่พระนิรมานกาย ที่ทรงเนรมิตบิดเบือนขึ้นด้วยอำนาจฌานสมาบัติ มีพระรัศมีรุ่งเรือง มิใช่พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก.

(๓) พระมานุสีพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าซึ่งมาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก มีพระกายในความเป็นมนุษย์อย่างสามัญมนุษย์ทั้งหลาย แต่เป็นพระกายดีวิเศษกว่าของมนุษย์สามัญ มีพระฉัพพรรณรังสีพระกายแผ่ซ่านออกข้างละวา.

ส่วนปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณาจารย์ก็แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกัน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อเทียบดูแล้วก็จะเห็นว่าคล้ายคลึงกัน คือ

(๑) พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจากพระพุทธบิดา-พระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์ เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จแต่พระบุญญาบารมี.

(๒) พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่า กายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่า และสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่าสามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหนๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลายแล้วกายชั้นนี้ยังไม่สลาย จึงออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลากุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป.

(๓) พระธรรมกาย ได้แก่พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์หมายถึงพระจิตที่พ้นจากอาสวะแล้ว เป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์โศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่าพระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่.

ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ ไม่สลายไปตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ไม่สูญความเป็นพระอรหันต์นี้ท่านก็จัดเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่งเรียกว่าอัญญินทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่าวิสุทธิเทพ เป็นสภาพที่คล้ายคลึงวิสุทธาพรหมในสุทธาวาสชั้นสูง เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อมีอินทรีย์อยู่ก็ย่อมจะบำเพ็ญประโยชน์ได้ แต่ผู้จะรับประโยชน์จากท่านได้ ก็จะต้องมีอินทรีย์ผ่องแผ้วเพียงพอที่จะรับรู้รับเห็นได้ เพราะอินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมที่สุด แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละเรียกว่าอินทรีย์แก้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็นพระแก้วคือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้.

ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไป ถ้ารู้ไม่ถึงอย่าพึงค้าน อย่าพึงอนุโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ศึกษาค้นคว้าแล้วได้ความรู้ ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้วด่วนวิพากษ์วิจารณ์ ติเตียน ผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ปกติตาไม่ดีญาณไม่โปร่งอยู่แล้ว ถ้าด่วนติเตียนในเมื่อตนเองรู้ไม่ถึง ก็ชื่อว่าบอดตาบอดญาณตนเองยิ่งจะซ้ำร้ายใหญ่ ข้าพเจ้านำเรื่องนี้มาพูดไว้ ด้วยมีความประสงค์จะให้นักศึกษาพระพุทธศาสนาช่วยกันค้นคว้าความรู้ส่วนลึกลับของพระพุทธศาสนาต่อไป.

 

๑. หมายความว่า บรรลุฌานแล้ว.

๒. ความเห็นเข้าข้างตัว เห็นว่าทัศนะของตนถูก ของผู้อื่นผิด ยกทัศนะของตนขึ้นข่มฝ่ายตรงข้ามเสมอ.

๓. มีจิตใจปลอดโปร่ง.

๔. มีปัญญาแจ่มใส.

๕. พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตตผล ได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ ถูกพระสารีบุตรสอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหัตตผลแล้วจึงเห็นตามความเป็นจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งย่อมเป็นไปตามปัจจัย” คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่าไม่ตาย.

๖. โดยปกติ เทวดาสามัญและมนุษยืไม่เห็นวิสุทธิเทพ แต่ถ้าท่านเนรมิตให้เห็นอาจเห็นได้ บาลีว่า “มารานํ อทสฺสนํ” หมายถึงพระนิพพานประณีตที่สุด มารจึงมองไม่เห็นพระนิพพาน ทั้งไม่เห็นผู้บรรลุพระนิพพานด้วย.




จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-14.htm

ลงไว้สำรอง อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php?topic=11778
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทิพยอำนาจ : บทที่ ๖ วิธีสร้างทิพยอำนาจ มโนมัยฤทธิ์ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1300 กระทู้ล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 03:11:16
โดย มดเอ๊ก
ทิพยอำนาจ : บทที่ ๗ วิธีสร้างทิพยอำนาจ เจโตปริยญาณ รู้จักใจผู้อื่น
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 1 1825 กระทู้ล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 03:14:03
โดย มดเอ๊ก
ทิพยอำนาจ : บทที่ ๘ วิธีสร้างทิพยอำนาจ ทิพพโสต หูทิพย์
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 0 1155 กระทู้ล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 03:15:33
โดย มดเอ๊ก
ทิพยอำนาจ : บทที่ ๙ วิธีสร้างทิพยอำนาจ บุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนได้
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 1 1647 กระทู้ล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 03:19:11
โดย มดเอ๊ก
ทิพยอำนาจ : บทที่ ๑๐ วิธีสร้างทิพยอำนาจ ทิพพจักขุ ตาทิพย์
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
มดเอ๊ก 1 1698 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2559 21:25:46
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.317 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กุมภาพันธ์ 2567 17:08:09