[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:21:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ถอดบทเรียน การผนึกกำลังต่อสู้ของ 'คนจนเมืองเขตหล่ายตายา นครย่างกุ้ง' ภายใต้  (อ่าน 121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 มีนาคม 2567 17:38:24 »

ถอดบทเรียน การผนึกกำลังต่อสู้ของ 'คนจนเมืองเขตหล่ายตายา นครย่างกุ้ง' ภายใต้เงา รปห.เมียนมา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-18 13:34</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>สรุปวงพูดคุยจากงานเปิดนิทรรศการ "A Closer look at Myanmar urban poor" บอกเล่าเรื่องราวของคนจนเมืองในเขตอุตสาหกรรม 'หล่ายตายา' ชานเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ที่กำลังเผชิญภาวะความไม่มั่นคง เนื่องจากถูกไล่รื้อที่หลัง รปห.ปี'64</li>
<li>บทเรียนที่สำคัญจากวงพูดคุยคือพลังการรวมตัวกันเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อความอยู่รอดของคนในชุมชน และเพื่อบรรลุความฝันของการมีที่ดินทำกิน คุณภาพชีวิตที่ดี และมีสิทธิมนุษยชน</li>
</ul>
</div>
<p> </p>
<p>16 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 16.37 น. ที่ Hope Space ซอยกรุงธนบุรี 4 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ สรุปวงพูดคุยกับภาคประชาสังคมที่ทำงานกับคนจนเมืองในเมียนมา "ภาวะความเป็นจริงทางสังคม การเมืองของชุมชนคนจนเมืองในเมียนมาก่อนและหลังรัฐประหาร" </p>
<p>วงสนทนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย ศิลปะแบบจัดวาง และสารคดี หัวข้อ "A Closer look at Myanmar urban poor" จัดโดย Hope space มูลนิธิเสมสิกขาลัย ร่วมด้วยกลุ่มภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิคนจนเมืองเมียนมา 'เบดาร์' (Bedar) บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปของคนจนเมืองในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 'หล่ายตายา' (Hlaingthaya) ชานเมืองย่างกุ้ง ทั้งปัญหาคุณภาพชีวิตและสถานการณ์หลังประหารปี 2564 ที่พวกเขาถูกกองทัพพม่าไล่รื้อที่ดิน </p>
<p>ก่อนวงพูดคุยมีการฉายสารคดีสั้น เรื่อง "Home Erased, Home Imagine" กำกับโดย 'หม่องเดย์' (Muang Day) 'โบเค็ต' (Bo keh) แกนนำภาคประชาสังคม กล่าวว่า สารคดีเรื่องนี้บันทึกเรื่องราวของคนจนเมืองหลังรัฐประหารเป็นต้นมา คนจนเมืองเหล่านี้ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง นอกจากนี้ ในสารคดีจะฉายให้เห็นถึงความฝันและความหวังของพวกเขาอีกด้วย</p>
<p>โดยสารคดีครั้งนี้ฉายครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่มาฉายที่กรุงเทพฯ ซึ่งเขาดีใจมากๆ ที่ได้เป็นกระบอกเสียงให้คนจนเมืองของเมียนมา </p>
<p>หม่องเดย์ ผู้กำกับสารคดีสั้น กล่าวว่า เขาเชื่อว่าการผลักดันหรือขับเคลื่อนปัญหาสังคมสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงการนำเสนอผ่านงานศิลปะ เพราะฉะนั้น เขาจึงลองนำเสนอผ่านสารคดี และผลงานนิทรรศการ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53595191905_d561012703_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สารคดีสั้น เรื่อง "Home Erased, Home Imagine"</span></p>
<p>สำหรับนิทรรศการศิลปะแบบจัดวาง (ตั้งอยู่ชั้น 3 ของอาคาร Hope Space) มีการจำลองบ้านของคนจนเมืองในเขตอุตสาหกรรมหล่ายตายา โดยใช้วิธีการ รูปแบบ วัสดุการสร้าง แบบเดียวกันกับที่พม่า </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53594913303_2ce84db2c3_b.jpg" /></div>
<div style="text-align: center;"> </div>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593862957_37a5b94676_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บ้านจำลอง ถอดแบบมาจากบ้านคนจนเมืองเมียนมา ในเขตอุตสาหกรรม หล่ายตายา ชานเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา จัดแสดงในงาน "A Closer look at Myanmar urban poor" ที่ Hope Space ตั้งแต่วันที่ 16-30 มี.ค. 2567</span></p>
<p>เดิมทีทีมผู้สร้างตั้งใจจะนำบ้านจำลองตัวนี้ไปจัดแสดงตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิของคนจนเมือง และไม่อยากให้เรื่องราวของพวกเขาหายไปจากสังคม แต่หลังรัฐประหาร ไม่สามารถทำตามแผนเดิมได้ เลยต้องหาทางเผยแพร่ในรูปแบบอื่นๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรื่องราวของคนจนเมืองในหล่ายตายา นครย่างกุ้ง เป็นใคร</span></h2>
<p>จุดเริ่มต้นของคนจนเมืองในเขตเศรษฐกิจหล่ายตายา มีจุดเปลี่ยนมาจากเมื่อปี 2541 เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติพายุไซโคลนนากิสพัดถล่มประเทศเมียนมา ประชาชนที่อาศัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ประสบปัญหาอุทกภัย และสูญเสียที่ดินทำกิน จึงเลือกอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง โดยเฉพาะในเขตอุตสาหกรรม 'หล่ายตายา' นอกเมืองย่างกุ้ง ที่มีความต้องการด้านแรงงานในโรงงานสูง โดยเฉพาะแรงงานด้านการก่อสร้าง</p>
<p>ทั้งนี้ คนที่เข้ามาอยู่ในชุมชนแออัดในเขตหล่ายตายา ไม่ได้มีเพียงคนจากที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี แต่มีคนจากรัฐยะไข่ (ตะวันตกของเมียนมา) คนจนในเมืองย่างกุ้งที่ออกมาอยู่ชุมชนแออัด ไปจนถึงคนจากภูมิภาคสะกาย นอกจากนี้ มีกรณีที่ชาวบ้านถูกแย่งยึดที่ดินทำกินเพื่อนำไปทำโครงการพัฒนาหรือก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐเช่นการทำเขื่อน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัจจัยที่ทำให้อพยพเข้าเมือง </span></h2>
<p>ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้หลายคนอพยพเข้าเมือง เพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างในเมีอง และต่างจังหวัด คนต่างจังหวัดไม่มีงานทำ เขาก็จะอพยพเข้ามาในเมือง ไปจนถึงโอกาสทางการศึกษา </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593851772_da65319371_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บรรยากาศการพูดคุยและการนำเสนอสถานการณ์คนจนเมืองเมียนมา หลังรัฐประหารปี 2564 โดยกลุ่มเบดาร์ (ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก </span><span style="color:#d35400;">Hope Space</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<p>คนที่เข้ามาทำงานในหล่ายตายา ไม่มีเงินเช่าห้อง เขาเริ่มสร้างที่พักโดยใช้วัสดุชั่วคราว เช่น สังกะสี ไม้ไผ่ และอื่นๆ และเริ่มรวมกลุ่มเป็นชุมชนแออัด โดยเริ่มแรกคนที่เข้ามาอยู่จะเป็นลูกหลาน อนหลังพวกเขามีการพาครอบครัวเข้ามาอยู่อาศัยทำให้ชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้น</p>
<p>"เมื่อย้ายเข้ามาในเมืองก็ไม่มีความพร้อมที่จะรับผู้อพยพใหม่ ทำให้ต้องอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ได้ จนมีการสร้างเป็นชุมชน กระจายกันอยู่ สร้างกันอยู่ จนมาเป็นชุมชนแบบนี้" โบเค็ต กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สถานการณ์ก่อนการทำรัฐประหาร </span></h2>
<p>ในชุมชนแออัดมีคนอยู่ประมาณ 100 ครัวเรือน แต่เนื่องด้วยเป็นคนจนเมืองก็จะไม่ได้ยอมรับจากรัฐบาล ก็จะเข้าไม่ถึงสวัสดิการ และสาธารณูปโภคต่างๆ การประปา ไฟฟ้า หรือการจัดการขยะ ทำให้พวกเขาต้องทำกันเองหมด</p>
<p>คนที่นี่ประกอบอาชีพส่วนใหญ่มีตั้งแต่การเลี้ยงหมู ขายน้ำบาดาล ขายแบตเตอรีให้เช่า เพราะบางคนที่มีเงินเขาจะเอาแบตฯ ไปใช้กับเครื่องปั่นไฟ บางครอบครัวใช้พื้นที่หน้าบ้านขายของ หรือบางคนทำกับข้าวเอาไปขายที่โรงงาน บางคนรับงานมาทำที่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว</p>
<p>การอยู่ในชุมชนแออัด สมาชิกชุมชนมักมีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิด และใช้ระบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่าง ถ้าบ้านนี้สามี-ภรรยาไปทำงาน พวกเขาก็สามารถขอให้เพื่อนบ้านช่วยเลี้ยงดูลูกๆ หรือผู้สูงวัยได้ และมีความปลอดภัยในชุมชน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ชุมชนแออัดต้องเผชิญกับแรงต่อต้านจากผู้ประกอบการธุรกิจ หรือโรงงาน เนื่องจากพวกเขามองว่า การพัฒนาพื้นที่ต้องไม่มีชุมชนแออัด ทางกลุ่มภาคประชาสังคม 'เบดาร์' เริ่มลงพื้นที่เพื่อไปทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเขตหล่ายตายาได้ </p>
<p>ยกตัวอย่าง การจัดการขยะในชุมชน กลุ่มเบดาร์ เคยติดต่อทางเทศบาลให้ช่วยมาเก็บขยะในชุมชน ช่วงแรกถูกหน่วยงานรัฐต่อต้าน เพราะมองว่าไม่ได้เป็นชุมชนที่ทางการยอมรับ แต่ถ้าต้องการให้รถ 1 คันมาเก็บขยะ ต้องเสียค่าใช้จ่าย 45,000 จั๊ตต่อคัน ราคานี้สำหรับคนในชุมชนถือว่าแพงมาก แต่ทางชุมชนก็พยายามจ่ายเงินให้เทศบาลเข้ามาเก็บขยะอย่างต่อเนื่อง จนทางการเห็นความพยายาม จึงเริ่มส่งรถเก็บขยะเข้ามาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย</p>
<p>นอกจากนี้ ในช่วงไวรัสโคโรนา 2019 แพร่ระบาดหนักในเมียนมา (ช่วง 2563-2564) ทางชุมชนก็มีการทำอาหารแจกจ่ายภายในชุมชน และมีการป้องกันการแพร่ระบาด ก็ทำให้ชุมชนผ่านช่วงเวลาอันหนักหน่วงนี้ได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเปลี่ยน การไล่รื้อหลังรัฐประหาร 2564 </span></h2>
<p>ก่อนหน้านี้ชุมชนแออัดเคยถูกภาครัฐไล่ที่ตั้งแต่ก่อนทำรัฐประหารปี 2564 แต่ในช่วงเวลารัฐบาลพลเรือน แกนนำชาวบ้านมีช่องทางในการเจรจา ทำให้ชุมชนแออัดอยู่รอดมาได้ แต่หลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 และกองทัพพม่าขึ้นมาปกครองประเทศ ทางภาครัฐมีการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการเข้ามารื้อถอนชุมชน และไม่เปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชนได้เจรจาต่อรอง มีการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ อย่างรถแบลโฮ หรือรถเครน เข้ามารื้อทำลายบ้านเรือนในชุมชน</p>
<p>ในพื้นที่สลัมจะมีทั้งพื้นที่รัฐ และเอกชน ซึ่งพื้นที่ที่ไล่รื้อสำเร็จเป็นพื้นที่รัฐบาล พอทางเอกชนเห็นว่ารัฐบาลทำได้ เขาก็เริ่มใช้วิธีลักษณะเดียวกันคือการจ้างทหาร และใช้เครื่องจักรใหญ่ ในการไล่รื้อชาวบ้านออกไป ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53594913348_33620220ee_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หนึ่งในผู้เข้าร่วมเสวนาเล่าถึงเรื่องคนจนเมืองในเมียนมา</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คาดกองทัพไม่ชอบที่ชาวบ้านออกมาต่อต้าน รปห. </span></h2>
<p>กองทัพพม่าอ้างว่าที่ต้องไล่รื้อคนจนเมืองออกไป เพื่อความปลอดภัยของประเทศ แต่ชาวพม่าที่มาแลกเปลี่ยนในวงเสวนามองว่าเป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่า เนื่องจากคนในชุมชนแออัดในเขตหล่ายตายา มีบทบาทในการออกมาชุมชนและต่อต้านการทำรัฐประหาร กองทัพพม่าคงเห็นว่าจำเป็นที่ต้องจัดการคนกลุ่มนี้</p>
<p>ทั้งนี้ เคยมีการปราบกลุ่มผู้ประท้วงในเขตหล่ายตายา เมื่อ 14 มี.ค. 2564 หลังการทำรัฐประหารเพียง 2 เดือน เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 ราย</p>
<p>ขณะที่ตัวแทนผู้มาเข้าร่วมเสวนา ระบุว่า ผู้เสียชีวิตอาจจะมากเกินร้อยราย และในช่วงเวลานั้น สำนักข่าวอิรวดี ระบุเลยว่าเป็นการสลายการชุมนุมที่รุนแรงที่สุดในห้วงเวลานั้น</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง </p>
<ul>
<li>พม่านองเลือด ปราบผู้ประท้วงเสียชีวิตวันเดียว 59 ราย</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลกระทบจากชาวบ้านหลังรัฐประหารปี 2564 </span></h2>
<p>ผลกระทบหลังรัฐประหาร คนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ก็ต้องกระจัดกระจายออกไปคนละทิศละทาง สูญเสียอาชีพและพื้นที่ทำกินของตัวเอง และมีปัญหาเรื่องการปรับตัวในพื้นที่ใหม่ๆ</p>
<p>ชาวบ้านต้องไปเช่าห้องในเมืองซึ่งมีราคาสูง แต่พื้นที่คับแคบ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 65,000 จั๊ต และมีเงื่อนไขว่าต้องอยู่เพียง 4 คนต่อห้อง ถ้ามีคนมาเพิ่มต้องจ่ายเพิ่ม บางครอบครัวอยู่เกิน 4 คน จ่ายไม่ไหว ก็ต้องส่งคนกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด</p>
<p>ผู้เข้าร่วมเสวนาอีกรายหนึ่ง แบ่งปันประสบการณ์ว่า เมื่อก่อนครอบครัวของเธอทำงานกัน 2 คน โดยเธอและสามีช่วยกันทำงาน และฝากลูกไว้กับเพื่อนบ้านหรือสมาชิกชุมชน แต่พอความเป็นชุมชนหายไป และต้องย้ายมาอยู่ในห้อง ทำให้สามีทำงานได้แค่คนเดียว ส่วนตัวเธอเองต้องอยู่ที่ห้องดูแลลูก ก็ทำให้รายได้ในบ้านลดลง </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53595156310_ba4a3b51d4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพถ่าย ชุมชนคนจนเมืองในเมียนมาจัดแสดงภายในงานนิทรรศการ "A Closer look at Myanmar urban poor"</span></p>
<p>รายได้อาจจะไม่ได้ลดลงมากนักสำหรับชาวบ้าน เดิมพวกเขาได้รายได้ต่อวันอยู่ที่ 15,000 จั๊ตต่อวัน แต่หลังรัฐประหารเหลือเพียง 12,000 จั๊ตต่อวัน (อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ณ ปัจจุบัน ประมาณ 204 บาท) ถ้าอยากได้ 15,000 บาทต่อวัน ก็ต้องทำงานในเมือง ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางเพิ่มเติม แต่ที่สร้างความลำบากจริงๆ คือเรื่องของค่าครองชีพและค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง ข้าวสาร 1 กระสอบ เดิมราคาเพียง 30,000 จั๊ต แต่ตอนนี้ราคาข้าวสารต่อ 1 กระสอบ เพิ่มขึ้นเกิน 3 เท่าตัว โดยราคาอยู่ที่ 90,000-100,000 จั๊ต</p>
<p>เมื่อรายจ่ายสวนทางมากกว่ารายได้ คนจนบางส่วนก็ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ซึ่งมีดอกเบี้ยสูงเริ่มต้นที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่สามารถจ่ายคืนได้ เจ้าหนี้จะส่งอันธพาลมาตามทวงเงิน </p>
<p>นอกจากนี้ ค่าเช่าบ้านต้องจ่ายให้ตรงเวลาทุกวันที่ 5 ของเดือน ถ้าจ่ายไม่ได้ ก็ต้องย้ายออกนอกพื้นที่ พื้นที่ที่ไกลจากตัวเมืองหรือไกลจากสถานที่ทำงานออกไปเรื่อยๆ บางรายหาห้องเช่าไม่ได้ เพราะว่าสมาชิกครอบครัวเยอะก็ต้องไปอาศัยอยู่ข้างถนน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การปรับตัวและต่อสู้ของคนจนเมืองเมียนมา</span></h2>
<p>การปรับตัวหลังการทำรัฐประหาร เบดาร์ พยายามประสานงานให้คนในชุมชนแออัดเดิม พยายามกลับมารวมกลุ่มกัน แม้ว่าจะยากลำบากเพราะแต่ละคนกระจัดกระจายคนละที่ อีกทั้ง กองทัพพม่าพยายามขัดขวางด้านการสื่อสารหรือการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อให้การลุกฮือต่อต้านเกิดขึ้นได้ยาก</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจากชุมชนแออัดเดิมสามารถรวมตัวกันได้ และมีการเริ่มรวมกลุ่มทำกองทุนเพื่อช่วยเหลือชุมชนหลายรูปแบบ อย่างธนาคารข้าวสารเพื่อจำหน่ายข้าวสารราคาถูกภายในชุมชน โดยจะมีการไปรับข้าวสารและเอาไปเข้าโรงสีด้วยตัวเอง เพื่อลดต้นทุน และสามารถขายในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทำกองทุนกู้เงินฉุกเฉินเพื่อค่าเช่าบ้านและการรักษาพยาบาล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำในราคาที่ชาวบ้านจ่ายคืนได้ หลีกเลี่ยงการพึ่งพิงหนี้นอกระบบ</p>
<p>ผู้ร่วมเสวนาจากพม่า ระบุว่า ตอนแรกเขาก็กังวลว่า ชาวบ้านจะคืนเงินไหวรึเปล่า แต่ปรากฏว่าชาวบ้านสามารถทำได้ และทำให้โครงการนี้สามารถดำเนินการต่อได้เรื่อยๆ ทำตอนนี้ครบ 1 ปีแล้ว ส่วนเงินปันผลก็เอาไปช่วยเหลือผู้หนีภัยสงครามกลางเมือง </p>
<p>เมื่อถามว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้โครงการนี้ยังดำเนินต่อไปได้ โบเค็ต ระบุว่าเป็นเรื่องความเชื่อใจและพลังของการรวมกลุ่มกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิ การต่อสู้ภายใต้เงารัฐประหาร </span></h2>
<p>โบเค็ต (Bo keh) กล่าวว่า การทำงานเพื่อช่วยเหลือพี่น้องคนจนเมืองของกลุ่มเบดาร์ มีเป้าหมาย 3 เป้าหมายหลัก ประการแรก คือว่าความปลอดภัยทางด้านที่ดินและที่อยู่ ประการที่สอง การพัฒนาชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งไม่ได้แค่ได้ที่ดินและที่อยู่ แต่คนในชุมชนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี และข้อสำคัญ คือความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ได้มีแค่คนจนเมือง แต่เป็นคนทั่วประเทศ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53595156355_6ece13ff47_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">โบเค็ต (Bo keh)</span></p>
<p>อย่างไรก็ตาม เบดาร์มองว่าทุกอย่างนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าพวกเขาไม่เริ่มจากรวมพลังกันสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิฯ ของพวกเขาเอง</p>
<p>"นี่เป็นเหตุผลว่าหลังรัฐประหาร ทำไมเราต้องรวมกลุ่มกัน และเราต้องเรียกร้องสิทธิของเขา และความเป็นธรรมของเรา ถ้าเราไม่ทำตอนนี้มันก็คงไม่มีประโยชน์ และเราก็อาจไม่ได้รับอีก 2 ข้อด้านบน (ผู้สื่อข่าว - สิทธิทื่ดินทำกิน และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น) ที่ตั้งเป้ากันไว้" โบเค็ต ทิ้งท้าย</p>
<div class="note-box">
<p>สำหรับผู้สนใจเรื่องราวของคนจนเมืองพม่าหลังรัฐประหาร นิทรรศการชุด"A Closer look at Myanmar urban poor" ประกอบด้วย นิทรรศการภาพถ่าย, ศิลปะการจัดวาง, ภาพยนตร์สารคดีสั้น "Homes Erased, Homes Imagined" จัดแสดงที่ Hope Space ซอยกรุงธนบุรี 4 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 16-30 มี.ค. 2567</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53595042899_a22e8147ee_b.jpg" /></p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108475
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ถอดบทเรียน ‘เติมทรายหาดพัทยา’ กู้คืนหาดทองคำที่หายไปหลายสิบปี
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 161 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2566 02:16:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘ปานปรีย์’ หารือ รมว.กต.เมียนมา ถึงสถานการณ์ขัดแย้ง-ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 189 กระทู้ล่าสุด 08 ธันวาคม 2566 14:32:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'โรม' ยังไม่ยืนยัน 'เมียนมา' ส่งหนังสือค้านจัดสัมมนา 'รับมือวิกฤตเมียนมา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 129 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2567 20:49:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'โรม' ยังไม่ยืนยัน 'เมียนมา' ส่งหนังสือค้านจัดสัมมนา 'รับมือวิกฤตเมียนมา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 144 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2567 12:27:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สภาฯ-ภาคประชาสังคมจัดสัมมนา '3 ปีหลัง รปห.เมียนมา' หวังเป็นเวทีพูดคุย-สะพานแก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 143 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2567 15:28:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.67 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 06:50:31