[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 09:07:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพียรพายสำเภาแก้ว... ๒. เมื่อพระราชาพิโรธ  (อ่าน 1813 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2555 20:49:47 »





คัมภีร์โบราณกล่าวว่า อย่าไว้ใจพระราชาว่าโปรดปราน 
เพราะอาจพิโรธแล้วอาจทำลายล้างชีวิตได้โดยไม่มีความผิด 
ที่พึ่งอันเกษมคือตนเอง  ไม่ต้องมีสุขทุกข์  เนื่องด้วยคนอื่น

เพียรพายสำเภาแก้ว...  ๒. เมื่อพระราชาพิโรธ

พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกาอัครมเหสี ทรงรักใคร่กลมเกลียวกันมากเป็นที่ปรากฏทั่วไปแต่คราวหนึ่งทรงวิวาทกันเรื่องพระแท่นบรรทม (ตำราไม่ได้บอกรายละเอียดไว้ว่า  มีปัญหาขัดแย้งใดๆ เกี่ยวกับเรื่องพระแท่นบรรทม) พระราชาทรงกริ้วมาก  ถึงกับไม่ยอมตรัสกับพระนางมัลลิกา  ไม่เอาพระทัยใส่พระนางว่าจะอยู่อย่างไร
   พระนางมัลลิกาทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ยังไม่ทรงทราบเรื่องนี้  ฝ่ายพระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ได้ด้วยพระญาณไม่ต้องมีใครบอกเล่า  เมื่อทราบแล้ว  เสด็จไปโปรดในพระราชวัง

   พระเจ้าปเสนทิโกศล  ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาจึงรีบมาเฝ้าเตรียมอาหารอันประณีตถวาย  แต่พระพุทธองค์ทรงปิดบาตรเสีย  ไม่ยอมรับ  ตรัสถามว่าพระนางมัลลิกาเสด็จไปไหนเสียจึงไม่เสด็จมา  พระราชาปเสนทิทูลว่า  อย่าเอาพระทัยใส่กับนางผู้มัวเมาในอิสริยยศของตนเลยพระเจ้าข้า  เวลานี้พระนางทรงอวดดีขนาดกล้าทุ่มเถียงกับข้าพระพุทธเจ้า

    พระศาสดาตรัสเตือนพระเจ้าปเสนทิว่าควรจะอดโทษให้พระนางเสีย  เพราะเป็นเรื่องเล็กน้อย  พระองค์ทรงยกย่องพระนางไว้ในที่สูงแล้ว  คนทั่วไปรู้กันแล้ว  ไม่ควรทรงกริ้วขนาดไม่ตรัสปราศรัยด้วย  หากคนทั้งหลายเล่าลือกันไปก็จะไม่เป็นเกียรติยศแก่ราชสกุล  อนึ่ง  จักเป็นตัวอย่างให้สามีภรรยาที่ทะเลาะกันอ้างได้ว่า  แม้แต่พระราชาผู้จอมชนของพวกเราก็ยังทรงทะเลาะกับพระมเหสี เพราะฉะนั้นขอพระองค์จงระงับพระทัยอันขุ่นเคืองพระอัครมเหสีเสียเถิด  พระราชามีความเคารพในพระพุทธเจ้ามาก  จึงทรงยอมรับสั่งให้พระนางมัลลิกามาเฝ้าพระศาสดา  ทั้งสองพระองค์ก็ทรงปรองดองกันดีแล้ว  ช่วยกันอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

    เย็นวันนั้น  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา  ถึงเรื่องที่พระศาสดาให้พระราชาและพระราชินีปรองดองกันได้ว่าเป็นอัศจรรย์ทรงให้พระราชาและพระราชินีปรองดองกันได้ด้วยธรรมข้อเดียว คือ  อานิสงส์แห่งความสามัคคี  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาตรัสว่า  ชาติก่อนพระองค์ก็เคยทรงสมานสามัคคี  แห่งท่านทั้งสองนี้แล้วเหมือนกัน  ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

             

 ในอดีตกาล  พระเจ้าพรหมทัต  เมืองพาราณสีทอดพระเนตร  ผ่านพระแกลไปทางพระลานหลวง  ทรงเห็นหญิงทูนกระเช้าขายพุทราคนหนึ่งกำลังเดินร้องขายพุทราอยู่ว่าพุทราเจ้าข้า  พุทราเจ้าข้า
พระราชทรงสดับเสียงนั้นแล้วเกิดปฏิพัทธ์ให้มหาดเล็กไปตามมาเฝ้า  ทรงทราบว่ายังไม่มีสามี  จึงทรงอภิเษกนางให้อยู่ในตำแหน่งมเหสี  ทรงรักใคร่โปรดปรานมากพระราชทานนามให้ใหม่ว่าสุชาดาราชเทวี
 วันหนึ่ง  สุชาดาราชเทวี  เห็นพระราชากำลังเสวยผลไม้อย่างหนึ่ง สีแดง คล้ายโลหิตกลมเกลี้ยง  สะอาด จึงทูลถามว่า  พระองค์กำลังเสวยผลอะไร ?

 เพียงเท่านั้นเอง  พระราชาพิโรธมากตรัสบริภาษว่า  “ชิชะ  อีแม่ค้าพุทราสุก  ลูกไอ้คนขายผัก  แกไม่รู้จักพุทราอันเป็นผลไม้ประจำตระกูลของแกเสียแล้วหรือ?  เมื่อก่อนนี้เป็นหญิงหัวกล้อน  นุ่งผ้าเก่าๆ  สกปรกเก็บพุทราขาย  พอเอามาเลี้ยงให้ดีหน่อย  ทำเป็นไม่รู้จักพุทรา  อยู่ในราชสกุลคงร้อนรน  ไม่สบายเหมือนเที่ยวทูนพุทราขาย”

 พระราชารับสั่งให้ขับไล่พระนางสุชาดาออกจากพระราชนิเวศน์  แต่มหาอำมาตย์ผู้สอนอรรถธรรมแก่  พระราชาทราบเรื่องนั้นเข้ารีบมาทูลให้พระราชายับยั้งไว้ก่อนแล้วกราบทูลขอให้พระราชาทรงอดโทษให้แก่ พระนางด้วยเหตุผลเดียวกับที่พระศาสดาตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล  จนพระเจ้าพรหมทัตพระทัยอ่อน  และยอมอดโทษให้พระราชเทวีทรงสมานสามัคคีมีความสุขสำราญเช่นเดิม

มหาอำมาตย์ผู้อนุศาสน์ธรรมนั้นมาเป็นพระพุทธเจ้า 
สุชาดาเป็นพระนางมัลลิกา 
พระเจ้าพรหมทัตมาเป็นพระราชาปเสนทิโกศล


 เรื่องนี้แสดงให้เห็นอานุภาพของพระราชาในสมัยที่มีพระราชอำนาจเต็มที่  โปรดปรานใคร  ก็ทรงยกขึ้นสู่ที่สูงได้ทันที  และพอขัดเคืองพระทัย  แม้ในเหตุอันไม่สมควรก็สั่งถอดถอนขับไล่ได้ทันที โบราณท่านจึงว่า  อย่าไว้ใจพระราชาว่าโปรดปราน  อย่าไว้ใจโจรว่าเป็นเพื่อนเก่าอย่าไว้ใจสตรีว่ารักเรา  และอย่าไว้ใจคนมีศัสตราในมือ

ที่พึ่งอันเกษม  คือตนเอง  พึ่งตนได้แล้วไม่ต้องง้อใคร
ไม่ต้องมีสุขทุกข์เนื่องด้วยการโปรดปราน  หรือไม่โปรดของคนอื่น



ขอขอบคุณที่มาบทความ  : หนังสือ เพียรพายสำเภาแก้ว 
เผยแพร่โดย  วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม )
บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี  จ.มุกดาหาร
http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=423

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.38 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 00:22:32