[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 23:15:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “อาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา” ต่างชาติว่า คนไทยอยู่กินดีจนขี้เกียจ  (อ่าน 498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2334


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.212 Chrome 90.0.4430.212


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2564 14:59:58 »



จิตรกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ที่วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แสดงการรับประทานอาหารแบบสำรับของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ

“อาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา” ต่างชาติว่า คนไทยอยู่กินดีจนขี้เกียจ
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2564

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 “ศิลปวัฒนธรรม” จัดกิจกรรมสโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนาในหัวข้อ “อาหารไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา” โดยได้เชิญ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา มาเป็นวิทยากร พร้อมกับคุณดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ในการเสวนาในครั้งนี้ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา กล่าวถึงความสำคัญของอาหารว่า อาหารไม่ใช่สิ่งที่รับประทานเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์เท่านั้น ในเชิงวัฒนธรรมแล้ว อาหารยังเป็นสิ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของชาติ อีกทั้งยังเป็นสิ่งสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

สำหรับในเรื่องของอาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ได้ศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกของชาวไทย บันทึกของชาวต่างประเทศ และหลักฐานจากภาพจิตรกรรมในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งในการค้นคว้าในหัวข้อดังกล่าวนี้ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา พบว่าชาวไทยสมัยอยุธยาบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารน้อยมาก แม้แต่ในวรรณกรรมก็แทบไม่มีพูดถึงอาหาร ดังนั้น หลักฐานที่พึ่งพาได้เป็นส่วนมากคือบันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสยาม ณ เวลานั้น

จากการศึกษาทำให้ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา พบเอกลักษณ์การรับประทานอาหารของคนไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ และมีเหมือนกันในทุกภูมิภาคคือการรับประทานอาหารแบบ “สำรับ” ซึ่งแม้ว่าอาหารที่อยู่ในสำรับอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ แต่โดยหลักแล้วก็มักจะประกอบไปด้วยน้ำพริก ผักพื้นเมือง อาหารแนมจำพวกของปิ้ง ย่าง หรือทอด อาหารพวกแกง ยำ และที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือข้าว

อย่างไรก็ตาม พบว่าสำรับที่ทำถวายพระสงฆ์มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากสำรับที่ชาวบ้านจัดรับประทานกันเองอยู่บ้างกล่าวคือ “สำรับพระ” จะประกอบไปด้วยทั้งอาหารคาวและหวาน ต่างจากของชาวบ้านที่มีแต่อาหารคาวเท่านั้น หากจะมีอาหารรสชาติหวานอยู่บ้างก็อาจเป็นเพียงแค่ผลไม้จัดเตรียมไว้

นอกจากเรื่องของการกินอาหารแบบสำรับแล้ว ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ยังกล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมอาหารในสมัยอยุธยาซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงเนื่องจากหลักฐานของชาวต่างชาติที่ได้บันทึกไว้ตรงกัน นั่นคือ “ความอุดมสมบูรณ์” ของกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น ดังเช่นในจดหมายเหตุของฟานฟลีต พ่อค้าชาวเนเธอแลนด์ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย ได้บันทึกไว้ว่า

“นอกจากประเทศสยามจะมีความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารอย่างล้นเหลือ ประชาชนสามารถยังชีพตนเองด้วยสิ่งของและผลไม้ในประเทศของตนเองได้…พวกเขาสามารถอยู่ได้อย่างดียิ่งโดยไม่ต้องอาศัยผลิตผลของประเทศอื่น ๆ…”

หรือแม้แต่ในบันทึกของ ครูแปง ปอล ซาเวียร์ ก็ยังได้กล่าวถึงสาเหตุความขี้เกียจของชาวสยามว่ามาจากความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศ ดังข้อความที่ว่า

“ข้าวและปลาเค็มปลาแห้งในกรุงสยามราคาถูกอย่างเหลือหลาย เพราะฉะนั้น ชนชาตินี้ไม่ต้องห่วงถึงช่องทางหากิน ปล่อยตัวเกียจคร้าน ทุกบ้านช่องกึกก้องไปด้วยเสียงร้องเพลงและเสียงชื่นชมโสมนัส ซึ่งเราจะไม่ได้ยินจากชนชาติอื่น”

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการตามที่มีบันทึกไว้โดยชาวต่างชาติคือ อาหารที่ราชสำนักนำมาต้อนรับแขกต่างชาตินั้นไม่ใช่อาหารไทยเลย ล้วนแต่เป็นอาหารต่างชาติไม่ว่าจะเป็นจีน ยุโรป แขก ซึ่งจากประเด็นนี้เราอาจคาดเดาได้ว่าในครัวของราชสำนักน่าจะมีพ่อครัวแม่ครัวจากหลายสัญชาติมารวมกันก็เป็นได้

ในช่วงท้ายของการเสวนาได้มีคำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ว่า

“ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายอาหารจำพวกร้านอาหารตามสั่ง หรือย่านอาหารเหมือนในปัจจุบันหรือไม่?”

ในการตอบคำถามนี้อาจารย์ได้หยิบยกหลักฐานข้อมูลที่พบจากหนังสือกรุงสถานอยุธยาและหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดซึ่งมีบันทึกไว้ว่าที่เกาะเมืองอยุธยามีย่านร้านขายอาหารหลากหลายรวมกว่า 61 ร้าน มีทั้งร้านที่ขายผลไม้ ร้านที่ขายข้าวราดแกงที่มีข้าราชการเป็นลูกค้าประจำ มีร้านขายขนมต่าง ๆ เช่น ขนมกงเกวียน ขนมพิมถั่ว ขนมชะมด สัมปันนี ขนมเปีย (ขนมเปี๊ยะ) หินฝนทอง และร้านขายอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เรื่องของร้านอาหารตามสั่งนี้ดูเหมือนว่าจะยังไม่พบว่ามีบันทึกไว้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.238 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 12:13:04