[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => สมถภาวนา - อภิญญาจิต => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 13 กันยายน 2553 20:23:39



หัวข้อ: การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 13 กันยายน 2553 20:23:39
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)


廣欽老法師開示


http://www.youtube.com/v/UYZyaUhEtZI?fs=1&hl=en_US


วิธีดำเนินจิตที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรียกว่า ปฏิปทาของจิต มี 3 นัยที่เป็นหลักใหญ่ควรจดจำการทำความเพียรภาวนาไม่หนีจากทั้ง 3 หลัก ที่จะอธิบายต่อไปนี้ถ้าหากเราจับหลักได้แล้วจิตของเราจะเดินไปในแบบใดเราก็จะได้รู้ว่าอ้อ !  มันเดินอยู่ในแบบนี้ขั้นนี้ เราจะได้รู้เรื่องถ้าหาก
ไม่รู้เรื่องของมันเวลาจิตเดินแบบนี้  ก็อยากให้เป็นแบบโน้น มันเดินแบบโน้นก็อยากให้เดินแบบนั้นอะไรต่าง ๆ แล้วก็เลยจับอะไรไม่ถูก คือไม่รู้จักหลักของความจริงเหตุนั้นจึงอธิบายให้ฟังเมื่อคืนที่แล้วแต่จะขออธิบายซ้ำอีกบางทีผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินก็จะได้เข้าใจและจดจำไว้ในการปฏิบัติต่อไป

การดำเนินของจิตในการปฏิบัติ มีหลักอยู่ 3 อย่าง

อย่างที่ 1 หัดให้จิตสงบอย่างเดียว เรียกว่า เดินสมถะ

อย่างที่ 2 เดินปัญญา - วิปัสสนา

อย่างที่ 3 เดินโพธิปักขิยธรรม คือ เดินองค์ปัญญาโดยเฉพาะ

ถ้าไม่เข้าใจเวลาเดินสมถะอย่างเดียวเมื่อจิตเข้าไปนิ่งแน่ว อยู่ในความสงบก็เข้าใจว่าอันนั้นเป็นของดีแล้วหมดจดบริสุทธิ์ จิตละเอียดเพียงพอแล้วเท่า
นั้นพอแล้ว ถ้าหากว่าผู้ที่เดินปัญญาวิปัสสนา ก็เห็นว่าการหัดสมถะคือหัดทำความสงบของจิตนี้ไม่ใช่ทาง ต้องดำเนินทางวิปัสสนาจึงจะใช่ทางหรือบาง
ทีผู้ที่เดินปัญญา ที่เรียกว่าเดินแถวโพธิปักขิยธรรม ก็เข้าใจว่าจิตของตนฟุ้งและส่งไปเสียไม่ใช่ปัญญามันสับสนกันอยู่อย่างนี้แหละจึงควรเข้าใจหลักใหญ่ในการดำเนินของจิต ซึ่งมีหลักอยู่ 3 หลักทีนี้จะอธิบายเป็นข้อ ๆ ไปสมถะอธิบาย{สมถะ}หัวข้อแรกเสียก่อนวิธีเดินสมถะ ถ้าจะเรียกอีกนัยหนึ่ง
ก็เรียกว่า สมาธิ หรือว่า ฌาน ก็เรียก ผู้เดินสมถะเช่น กำหนดพุทโธพุทโธ ให้จิตกำหนดอยู่กับพุทโธ หรือว่ากำหนดอานาปานสติให้จิตจดจ่ออยู่แต่ในเรื่องลมหายใจนั้นหรือมิฉะนั้นเราเพ่ง อสุภะปฏิกูล เห็นสังขารร่างกายของเราเป็นอสุภะ ของเปื่อยเน่าก็ได้เหมือนกันจิตจะสงบอยู่ในเรื่องนั้น ๆ หรือมิฉะนั้นจิตอาจจะเกิดภาพนิมิตปรากฏเป็นปฏิภาครูปอันใดอันหนึ่งก็ตามอันนั้นก็ยังอยู่ในขั้นสมถะมีสิ่งปลีกย่อยอีกเหมือนกันเรื่อง{สมถะ}อาจจะสงสัยว่าการเดินสมถะจะมีวิปัสสนาเกิดขึ้นได้ไหม ? ตอบว่ามีเรื่องสมถะมันมีวิปัสสนาได้อยู่เหมือนกันไม่ใช่ไม่มีปัญญาสมถะก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกันคือเราเพ่งพิจารณาพุทโธ พุทโธ  ก็จะต้องระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าจิตใจที่น้อมนึกถึงพระคุณความดีของพระองค์ จนเห็นความชัด เกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ มันก็มีปัญญาเหมือนกันเมื่อเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว จิตมันจะสงบลงไปเบื้องต้นนั้นเรียดว่าบริกรรม ที่ท่านเรียกกันว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ นี่พูดเป็นเรื่องเป็นราวแต่เราพูดกันง่าย ๆ ว่าเรากำหนดอารมณ์อันนั้นไม่ใช่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรากำหนดจิตให้อยู่กับอารมณ์อันนั้นจะบริกรรมอะไรก็ตามเราไม่ต้องพูดให้เป็นเรื่องยืดยาวเช่นนั้นถ้าพูดว่า{ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์} ดูมันเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เราไม่ต้องพูดว่า ยกจิต ละคือ กำหนดเอาอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์อันนี้เรียกว่าบริกรรม แล้วเราก็ตั้งจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันนั้น นี่เรียกว่าวิธีเดินสมถะ ยังไม่ถึงตัวสมถะ เป็นการเดินให้เข้าถึงสมถะตราบใดที่จิตสงบจนกระทั่งวางคำบริกรรมหรือวางอุบายที่เราใช้กำหนดนั้นโดยที่มันวางของมันเอง จิตเข้าไปสงบเป็นเอกเทศของมันอยู่อันหนึ่งต่างหากอันนั้นเป็นตัว สมถะแท้เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ มันวางอารมณ์หรือคำบริกรรมวางหายไปเลยจิตเข้าไปสงบอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก นั่นเรียกว่าถึงสมถะ แล้วจิตที่เข้าถึง{สมถะ}ตามลักษณะที่พูดมานี้ยังมีผิดแผกอีกนะบางทีมีหลายเรื่องไม่ใช่น้อย ๆ ที่จิตรวมลงไปสนิทอย่างนี้บางครั้งเวลารวมมันวูบลงไปจนสะดุ้งตกอกตกใจ บางทีมีเสียงดังเหมือนกับเสียงฟ้าผ่านี่ก็มีบางทีตกลงไปเหมือนตกหลุมตกเหวให้สะดุ้งฮวบขึ้นมาตื่นตกใจเลยบางทีพอจิตรวมก็อาจจะเกิดภาพขึ้นมาผู้ที่ภาวนา{พุทโธ}บางทีพอจิตรวมก็เกิดภาพพระพุทธเจ้าก็มีหรือพวกที่พิจารณา อสุภะปฏิกูล เป็นของเปื่อยเน่าในสังขารร่างกายมีของสกปรกโสโครกพอจิตรวมลงแล้วภาพที่ปรากฏมันไม่เป็นอย่างที่พิจารณานั่น  มันปรากฏพิสดารยิ่งกว่านั้นอีก ตัวของเราเวลาที่พิจารณาว่า ตรงนั้นก็เป็นของปฏิกูลโสโครกตรงนั้นก็ของเน่า น้ำเลือด น้ำหนองเป็นอะไรต่าง ๆ เมื่อจิตรวมเวลามันเกิดภาพนิมิตขึ้นมา มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเปื่อยเละไปหมดเลยบางทีเหม็นฉุนขึ้นมาจริง ๆ จัง ๆ ถึงกับอาเจียนออกมาก็มีหลายเรื่องที่มันจะเป็นบางคนสงบนิ่งเฉยลงไปบางคนนั้นเงียบหายไปเหมือนกับนอนหลับตั้งหลายชั่วโมงจึงค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาก็มีถ้าหากทำชำนิชำนาญแล้วมันไม่ถึงขนาดนั้น มันจะรวมละเอียดลงไปถึงขนาดไหนก็รู้มันจะรวมหยาบขนาดไหนก็รู้ รู้ว่าจิตมันปล่อยมันวางรวมเข้ามาถ้าชำนาญแล้วจะรู้ได้นี่อยู่ในขั้นสมถะทั้งนั้น แบบนี้โดยมากมักจะไปในทางที่เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ หรือไปในทางฌานจิตสงบอีกแบบหนึ่ง คือว่าถ้าหากจิตมันค่อยสงบ ค่อยรวมลงไปรู้ตัวอยู่ตลอดว่า จิตมันอยู่อย่างไรวางอย่างไรรู้เรื่องรู้ตัวอยู่เสมอแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวมันปล่อยวางอย่างมี{สติ}รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาอันนี้จิตเป็นพวกสมาธิไม่ได้จัดเป็นพวก ฌานมันหลายเรื่องอย่างนี้ก็เรียกว่าสมถะเหมือนกันบางทีจิตมันรวมที่ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ เราไม่ได้แต่งให้มันเป็นไปหรอกแต่เมื่อเราปฏิบัติเป็นไปแล้วเราจึงมาเทียบกันดู ขณะที่จิตดำเนินเป็นไปนั้นเราไม่รู้ขณิกสมาธิจิตของเราวูบ ๆ วาบ ๆ  เข้าไปแล้วถอนออกไม่เข้าไปอีกแล้วก็ถอนออกมาหรือมิฉะนั้นจิตของคนปกติไม่ได้ฝึกฝนภาวนาก็ตามมันอาจมีพักหนึ่งได้เหมือนกัน  มันรวมประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็พุ่งออกไปอุจารสมาธิ ขณะที่เรากำหนดเพ่งอยู่อย่างนั้นไม่ท้อถอย ทีหลังมันคล้ายกับว่ามันละเอียดแต่มันไม่ละเอียดมันเสียดายอะไรสักอย่างก็ไม่ทราบละมันไม่ทอดธุระลงไปจริง ๆ จัง ๆ อันนั้นเรียกว่า อุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ พอจิตมันทอดธุระ วางหมดพรึบลงไป แน่วลงไปเลยทีเดียวถึงอัปปนาในลักษณะที่มันถึงอัปปนาแล้วนั่นแหละเราจะรู้จักรสชาติของมันว่า ความสงบ สุขสบาย ความเบาความผ่องใสเบิกบานจิตใจอิ่มเอิบพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในขณะนั้นหมด{อัปปนา}นี้ก็มีหลายอย่าง ละเอียดลงไปกว่านี้ก็มี จิตรวมลงครั้งแรกนั่นมันลงจนกระทั่งจะไม่ปรากฏลมหายใจเลยก็มีเวลาจิตเข้าไปถึงอัปปนานั้นคล้ายกับไม่มีลมหายใจ ถ้าหากเราตั้งสติกำหนดดูลมหายใจว่ามีหรือไม่มีหนอ ? นั่นแหละจึงค่อยรู้สึกว่าลมนั้นค่อยระบายออกมาอันนี้เรียกว่าอัปปนาสมาธิทีนี้ภวังค์ก็มี 3อย่างเหมือนกันเรียกว่า ภวังคุบาท ภวังคจารณะ ภวังคุปัจเฉทะ{ภวังคุบาท}ถ้าพูดตามที่ท่านแสดงเป็นขณะจิตอันหนึ่งถ้าพูดตามแนวปฏิบัติแล้วภวังคุบาทคล้ายกับขณิกสมาธิเราเพ่งพิจารณาอยู่ มันมีอาการคล้าย ๆ กับจะวูบไปนิดหนึ่งแต่มันก็ไม่ลงหรือบางทีลงไปนิดเดียวไม่ถึงอึดใจเป็นสักแต่ว่าภวังคจารณะพิจิตมันรวมลงไปแล้ว คราวนี้เพลิดเพลินชอบอกชอบใจ ยินดีในอารมณ์ของมันตรงนั้นแหละ



หัวข้อ: Re: การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 13 กันยายน 2553 20:33:37
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)



{ภวังคุปัจเฉทะ}มันทิ้งอารมณ์ต่าง ๆ หมดเลยไม่เอาอะไรทั้งนั้นไม่เยื่อใยในของที่พิจารณาอยู่ไม่เอาอะไรทั้งหมดโน่นแน่ไปชอบใย
ใจอารมณ์ความสุข ขั้นละเอียดของมันนั่น แน่วแน่อยู่จนกระทั่งสติไม่มีจนกระทั่งเหมือนกับหลับก็มี ภวังคุปัจเฉทะเหมือน ๆ กันกับหลับทีแรก ๆ นั่นเหมือนกับหลับจริง ๆ ถ้านาน ๆ ไปบ่อยเข้ามีความชำนาญ ก็จะไม่เหมือนหลับมันพลิกไปอยู่ของมันอีกหนึ่งต่างหากเหล่านี้ล้วนแต่เรียกว่าเดินสมถะ
การเดินสมถะเป็นอย่างนี้ในระหว่างวิธีเดินสมถะนี้ มันอาจเกิดปัญญาขึ้นมาก็ได้ในขณะใดขณะหนึ่งโดยมากเกิดจากสมาธิเมื่อจิตสงบเข้าไปแน่วแน่อยู่ในเรื่องอารมณ์ที่เราพิจารณานั้นเดี๋ยวมันก็สว่างขึ้นมา คำว่า{สว่าง}ในที่นี้ไม่ใช่แสงสว่างถ้ามันเป็นแสงสว่างนั่นเป็นเรื่องของณานเสียแล้วถ้าสว่างด้วยอุบายปัญญา มันมีความปลอดโปร่งขึ้นมาในที่นั้นคิดค้นพิจารณาอะไรทั้งปวงหมดมันชัดเจนแจ่มแจ้งในเวลานั้นการที่มันชัดเจนแจ่มแจ้ง
นั้น มันเลยเป็นปัญญาขึ้นมาอีกหรือบางทีมันอาจจะหยิบยกเอาธรรมะอะไรขึ้นมาพิจารณา เช่นเรื่องสติปัฏฐาน 4 อะไรเป็น{สติปัฏฐาน}กาย เวทนา จิต หรืออะไรเป็น ? คำว่า{สติ}นั้นคืออะไร ? คำว่า{สติปัฏฐาน}ทำไมจึงต้องเป็นกายานุปัสสนา - เป็นเวทนานุปัสสนา - เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำไมมันจึงต้องเป็นอย่างนี้ทีนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ลำดับเรื่อง สติปัฏฐาน 4 จะต้องคิดค้นถึงเรื่องกายพิจารณาถึงเรื่องกาย เป็นอสุภะปฏิกูล เห็นเป็นธาตุ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม พิจารณาเรื่องเดียวอยู่ในที่เดียวนั่น บางทีมันเข้าไปถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีมันเข้าไปเป็นสัจจธรรมเป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มันเลยกลายเป็นปัญญาไปอันนี้เป็น ปัญญา เกิดขึ้นมาจาก สมถะ สมถะ กลายเป็นปัญญาถ้าพิจารณานานหนักเข้าแล้ว คราวนี้มันหมดเรื่องหมดราวคือว่า มันรู้เห็นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกอย่างเช่น เห็นกายเป็นธาตุชัดเจนมันก็มารวมเป็นอันเดียวอยู่ในที่เดียวอีกเหมือนกัน เรื่องที่พิจารณาอยู่นั้น มันทิ้งหมดไม่เอาแล้วคราวนี้ เลยมารวมเข้าเป็นอันเดียวมาเป็นสมถะอีกคล้าย ๆ กับว่าทำงานเสร็จสรรพแล้ว เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเสียแล้วพักผ่อนเป็นทำนองนั้นนอกจากนั้นอีก มันยังมีอีกเมื่อพิจารณาถึงเรื่อง{กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน}นี่ละเดินแบบสมาธิพิจารณาคิดค้นอะไรต่าง ๆ จะเป็นธาตุ ขันธ์หรืออายตนะหรืออะไรก็ตามในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พิจารณาไป ๆ สติมันอ่อนลงไปมันชอบสงบสุข ยินดีกับความวิเวกสงัด ยินดีกับความชัดความจริงในการพิจารณานั้นเลยนิ่งแน่วเข้าไปหาความสงบจิตน้อมไปตามเลยเข้าไปเป็น ฌาน จิตเป็นภวังค์หายเงียบไป นี่มันสลับซับซ้อนทีเดียวในผลที่สุด จะเป็นวิธีใดก็ช่างมันเถิด เราแต่งมันไม่ได้หรอก เพียงแต่ให้เราจับหลักที่ได้อธิบายนี้ไว้ก็แล้วกันว่าวิธีเดินสมถะเป็นแบบนี้ ๆ อย่างนี้ ๆ
มันจะเป็นอะไรก็ช่างปล่อยให้มันเป็นไปแล้วจึงค่อยมาพิจารณาทีหลังว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ?ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น ? ขณะใดถ้า{สติ} สมาธิ มีกำลังเพียงพอจิตมันจะไม่รวมเข้าเป็นภวังค์สมาธินั้นก็เลยเป็น มรรค จนเกิดปัญญาขึ้นมาดังที่อธิบายเมื่อครู่นี้ เหตุผลชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ในที่เดียวจนทอดธุระหมดทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวดหมดมาอยู่ในที่เดียว ธรรมเกิดมาจากที่เดียวความรู้เกิดจากในที่เดียว แจ่มแจ้งในที่เดียวนั้นเลยเป็นวิธีเดิน มรรค มันต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเองของมันถ้าบางทีอาจจะเกิดพลั้งเผลอ หรืออาจจะเกิดจากสุขภาพไม่ดี หรือมิฉะนั้น{สมถ}เกิดจากมึนเมาอาหารก็ได้เหตุมีหลายเรื่องเหตุเหล่านี้จิตรวมดีเหลือเกินตรงนั้นสงบง่ายเข้าภวังค์ง่ายที่สุดที่เรียกกันว่า{โมหะสมาธิ}เป็นภาษาสำนวนของนักปฏิบัติแต่แท้ที่จริงก็คือภวังค์นั่นเองเหตุนั้นนักปริยัติ หรือปัญญาจารย์ทั้งหลายจึงโทษนักหนาเมื่อจิตเข้าถึงภวังค์ ก็ว่า อวิชชา โมหะ หลง อย่างที่เขาพูดกันพูดในการปาฐกถาทุกวันนี้ พ.ศ. 2517ทางวิทยุกระจายเสียงเขาโจมตีกันเหลือเกินว่า นั่งหลับตาภาวนาเป็นโมหะอวิชชา พวกนี้ตายแล้วเกิด นับภพนับชาติไม่ถ้วนไปไหนไม่รอดหรอกพวกนี้จมอยู่นี่แหละพวกโมหะอวิชชา ภาวนาหาอวิชชาหรือหาปัญญา ? เขาถือกันเป็นอย่างนั้นจริงบางอย่าง แต่ว่าไม่ถูกทั้งหมด เดี๋ยวนี้เรากำลังคิดค้นหาความโง่  คือโมหะอวิชชา มันจะโง่แบบไหนก็ให้มันเห็นเสียให้หมดเรื่องหมดราว แล้วเราจึงจะฉลาด ถ้ามัวแต่กลัวโง่ก็เลยไม่เห็นโง่ไม่รู้จักความโง่นั้นสักทีว่ามันเป็นอย่างไร ? ไม่เห็นโง่ก็เลยไม่ฉลาดเท่านั้นซีเรื่องมันอยู่ตรงนั้นแหละอันที่ว่าไม่ถูกทั้งหมดมันอยู่ตรงนี้เราจะไปฉลาดรู้ก่อนเกิดอย่างที่พูดกันว่า ตายก่อนเกิด มันก็แย่เหมือนกัน คำโบราณท่านว่าไว้น่าฟังมาก คนตายก่อนเกิดดูเอาเถิดหลานเกิดก่อนยายมันก็แปลกเหมือนกันนะ หลานเกิดก่อนยาย มันก็เข้าทำนองเดียวกันนั่น ยังไม่ทันเกิดก็ตายแล้ว ก็เหมือนกันกับหลานเกิดก่อนยาย มันก็พอกันนั่นซีจึงว่า ให้มันรู้จักความโง่ ให้มันรู้จักความหลง มันจะหลงโดยวิธีไหน แบบไหนก็ตาม ที่อธิบายมาวิธีทั้งหมดนั่นแหละคือ ทำให้รู้จักความโง่ความหลงค้นคว้าหาความโง่ความหลงนั่น จึงว่าทำลงไปมันก็ไปหาความโง่ความหลงนั่นแหละแต่เราจะไปหาไปรู้ความหลงอย่างที่ว่านั่นรู้ว่ามันคือเป็นเรื่องสมถะเรียกว่า ฌาน นั่นเองการที่มันติดมันหลงในฌานนี่แหละสำคัญนัก ทีนี้เรารู้เรื่องของมันแล้ว ทีหลังเราก็จะได้ไม่หลงไม่ติด{ฌาน}นั่นแหละ ปัญญาเกิดจากความไม่รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดถ้าผิดเสียก่อนถึงจะทำถูกกฎหมายของบ้านเมืองทั้งหลาย ถ้าไม่มีคนทำผิด เขาก็ไม่ตราเป็นกฎหมายขึ้นมาพระวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกันถ้าไม่มีผู้ทำผิดพระองค์ก็ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท{สิกขาบท 227} ข้อล้วนแต่ผิดแล้วจึงทรงบัญญัติ ไม่ใช่พระองค์ทรงบัญญัติก่อนผิด คณาจารย์ปัญญาจารย์ทั้งหลายสมัยเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องให้ผิดละ บัญญัติหมด บัญญัติผิดก่อนเลย มันไม่ใช่วิสัยของผู้มีปัญญาญาณผู้ฉลาดนั่นเป็นเรื่องความเห็นของคนบางคนจึงว่าพวกเราพากันเรียนให้รู้ถึงเรื่องความโง่เรื่องความหลงเสียที่อธิบายในวันนี้ เป็นการอธิบายถึงเรื่องในการภาวนาการดำเนินจิตของเรามันมี 3 แนวเดินทางสมถะเดินทางปัญญาวิปัสสนาเดินทางปัญญา{โพธิปักขิยธรรม}วันนี้พูดเฉพาะเรื่อง สมถะ หลวงปู่เทสก์ ท่านเชี่ยวชาญชำนาญเดินฌานท่านนึงจำได้จากที่ครูบาอาจารย์เล่า เพราะท่านติดฌาน มุ่งทำความสงบ ติดอยู่เป็น 10 ปี กว่าจะแก้ได้เมื่อเดินทางไปกราบ หลวงปู่มั่นภายหลังองค์หลวงปู่ท่านไม่ติดฌานแล้ว ท่านจึงนำอาการภายในฌานมาแจงได้แจ่มแจ้งกว่าใครอื่นพร้อมทั้งสอนเทคนิคเจริญปัญญามามาย


พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แสดง ณ.วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขนกรุงเทพมหานคร

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517



หัวข้อ: Re: การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 13 กันยายน 2553 21:29:24
สาธุ อนุโมทนามิ


หัวข้อ: Re: การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 กันยายน 2553 23:48:31

(http://www.dhammajak.net/board/files/268_1212381536.jpg_420.jpg)

 (:88:)  (:88:)  (:88:)