[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 05:33:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทางรถไฟสายมรณะในพม่า ประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย เจ็บปวดไม่แพ้ในฝั่งไทย  (อ่าน 69 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2332


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567 09:06:20 »


สะพานข้ามแม่น้ำสาละวินและ ทางรถไฟสายมรณะ ในฝั่งพม่า
ภาพสเก๊ตช์หาดูยากฝีมือเชลยศึกพร้อมด้วยข้อมูลที่สาบสูญ
(ภาพจาก THE ILLUSTRATED LONDON NEW, 5 Jan.1946 ของสะสม คุณไกรฤกษ์ นานา)   


ทางรถไฟสายมรณะในพม่า ประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย เจ็บปวดไม่แพ้ในฝั่งไทย

เขียน - เสมียนนารี
เผยแพร่ -  ศิลปวัฒนธรรม วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567

เมื่อนึกถึง “ทางรถไฟสายมรณะ” ก็จะคิดถึง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” เป็นหลัก แต่ทางรถไฟสายมรณะไม่ได้สร้างอยู่ทางฝั่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ “กองทัพญี่ปุ่น” ยังได้สร้างทางฝั่งประเทศพม่าที่มีประวัติโหดร้าย เจ็บปวดไม่แพ้กัน แต่แทบไม่มีใครพูดถึง ในความเป็นจริงทางรถไฟสายมรณะมีระยะทางทั้งสิ้น 415 กิโลเมตร สร้างอยู่ในเขตแดนไทย 304 กิโลเมตร และอยู่ในเขตแดนพม่า 111 กิโลเมตร

หนังสือพิมพ์ THE ILLUSTRATED LONDON NEWS ของอังกฤษ รายงานเบาะแสนี้เมื่อ พ.ศ.2489 ว่า บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ มีสะพานแห่งที่ 2 ข้ามแม่น้ำสาละวิน ในเขตของพม่าใกล้เมืองตันบูซายัด และแน่นอนว่าที่นั่นมีเชลยศึกต่างชาตินับหมื่นคน ที่สังเวยชีวิตให้ทางรถไฟสายนี้ไม่น้อยไปกว่าทางสายรถไฟบนฝั่งไทย

กองทัพญี่ปุ่น เคลื่อนตัวเข้าสู่พม่าต้น พ.ศ.2485 หลายเมืองถูกทำลายและเกิดความเสียหายอย่างหนัก อังกฤษเองก็ทำลายเครือข่ายทางรถไฟที่วางไว้ในพม่าอย่างไม่เสียดาย เพราะตระหนักว่า กองทัพญี่ปุ่น จะเข้ามาครอบครองทางรถไฟเดิมของตนใช้เคลื่อนพลเดินทัพ ซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในภาวะสงคราม และเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องเริ่มซ่อมสร้างทางรถไฟขึ้นใหม่ในพม่า เพื่อเดินทัพญี่ปุ่นอย่างรวบรัดและเร่งด่วนทดแทนของเก่าทันที

กองทัพญี่ปุ่น เร่งก่อสร้างทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ตันบูซายัด (ทางรถไฟสายไทย-พม่า) หรือที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ “ทางรถไฟสายมรณะ” จนเปิดใช้เดินทางอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ.2486 จากนั้นกองทัพได้ระดมขนส่งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อเป็นกองกำลังสมทบไปเสริมแนวหน้าของกองทัพญี่ปุ่นในพม่า ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาการถูกโจมตีกลับอย่างหนักจากกองกำลังของอังกฤษ ที่อยู่ตามแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับอินเดีย

การลำเลียงทหารญี่ปุ่นและอาวุธหนักจากประเทศไทยผ่านทางรถไฟมีความสำคัญยิ่งขึ้น เมื่อทางรถไฟไทย-พม่า สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟเส้นเดิมของอังกฤษ ซึ่งได้รับการซ่อมแซม จากนั้นก็จะได้ตัดตรงขึ้นไปภาคเหนือเลียบแม่น้ำ “สาละวิน” มุ่งหน้าสู่ Burma Road ในแถบรัฐฉานที่ติดกับชายแดนจีน

ตามชายฝั่งของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดารด้วยป่าเขา ไม่ต่างไปจากฝั่งแม่น้ำแควใหญ่แควน้อยในเขตไทย มีค่ายเชลยศึกตั้งเรียงรายอยู่ ดังเช่น ค่ายขนาดใหญ่อย่าง “ค่ายชองกูไร”

ค่ายชองกูไร คือ ชื่อของค่ายนรกแห่งใหม่ในแนวหลังด่านพระเจดีย์สามองค์ ในพื้นที่ป่าดงดิบลุ่มน้ำสาละวิน ค่ายนี้มีภารกิจสร้างสะพานทางรถไฟเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเข้าด้วยกัน ตามพิมพ์เขียวที่จะสร้างต่อไปยังเมืองตันบูซายัด วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2486 แม่ทัพญี่ปุ่นประจำสิงคโปร์มีคำสั่งให้เกณฑ์เชลยศึกสัมพันธมิตร ณ เรือนจำชางงี ราว 7,000 คน เดินทางไปยังค่ายพักพิงแห่งใหม่ที่มิอาจเปิดเผยได้ ในจำนวนนั้นมีเชลยราว 2,000 คน ที่เป็นผู้ป่วยไม่พร้อมทำงาน แต่ก็ถูกลวงว่าจะย้ายพวกเขาไปค่ายพักฟื้น

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2486 รถไฟ 13 ขบวน นำทหารเชลยกลุ่มดังกล่าวมาถึงบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี) ต่อจากนั้นพวกเขาก็ถูกบังคับให้เดินเท้าผ่านป่าดงจากชายแดนไทยบนระยะทาง 300 กิโลเมตร ท่ามกลางความมืดครึ้มของฤดูมรสุมอันเฉอะแฉะเปียกชื้น กับฝนที่ตกทั้งกลางวันกลางคืน จนถึง “ค่ายชองกูไร” ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2486 โดยมีอหิวาตกโรคที่กำลังระบาดคอยต้อนรับอยู่เมื่อคณะไปถึง แต่งานก่อสร้างสร้างทางรถไฟก็ต้องดำเนินทันทีในวันรุ่งขึ้น

ค่ายชองกูไร ขาดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โรคร้ายต่างๆ จึงแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ภายในค่ายแห่งนี้มีทั้งอหิวาต์, ไข้ป่า, ท้องร่วง, แผลเน่าเปื่อยพุพอง ฯลฯ ขาดก็แต่ยาที่จะรักษาให้หายขาด เชลยอังกฤษจำนวน 1,600 คน ที่ไปถึงค่ายชองกูไรในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2486 ป่วยหนัก และเสียชีวิตหลังจากไปถึงค่ายเพียงเดือนเดียวถึง 1,200 คน เมื่อเวลา 1 ปีผ่านไป เชลยรวมกันมากถึง 5,000 คน ถูกฝังร่างไว้ข้างทางรถไฟที่พวกเขาสร้างนั่นเอง

นี่คือเรื่องย่อๆ ของ ทางรถไฟสายมรณะ ในพม่า และ “สะพานข้ามแม่น้ำสาละวิน” ส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะในพม่า ที่กลืนเชลยศึก 5,000 ชีวิต ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.235 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤษภาคม 2567 05:12:29