[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 06:44:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิดพระพุทธรู  (อ่าน 2957 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1025


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.130 Chrome 43.0.2357.130


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2558 09:16:37 »

.



กำเนิดพระพุทธรูป

"พระพุทธรูปองค์แรกของโลก เกิดขึ้นที่แคว้นคันธารราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในปากีสถานและบางส่วนของอัฟกานิสถาน ในอดีตเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเปอร์เซีย กรีก โรมัน และอินเดีย"

ปฐมอุบัติของพระพุทธรูปองค์แรกในโลก ต้องนับเนื่องจากการเข้ายึดอาณาจักรเปอร์เซียโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีกแห่งมาซิโดเนีย (Macedonia) ก่อนคริสตกาลราว 330 ปีแล้วล่วง ทำให้อารยธรรมกรีก-โรมันมีอิทธิพลในบัคเตรีย (Bactria) และคันธารราษฎร์

แม้จะถูกพระเจ้าจันทรคุปต์ ราชวงศ์โมริยะขับไล่ออกไปในเวลาต่อมาก็ตาม สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อินเดียเป็นผู้นำทางการเผยแพร่พุทธศาสนา พระองค์ขยายอาณาเขตยึดบัคเตรีย และสถาปนาพุทธศาสนาโดยการส่งมัชฌินติกเถระและมหารักขิตเถระมายังดินแดนแถบนี้

พระองค์ทรงสร้างสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนามากมาย อาทิ ธรรมจักรกับกวางหมอบแทนการปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน, แท่นดอกบัวแทนการประสูติ, พระสถูปแทนการปรินิพพาน หรือการสร้างรอยพระพุทธบาท หากยังมิได้มีการสร้างพระพุทธรูปแต่ประการใด

หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์เข้ามามีอำนาจแทน ช่วงนี้เป็นกลียุคของพุทธศาสนาในอินเดีย จนกระทั่งแม่ทัพกรีก ชื่อ เมนันเดอร์ (Menander) หรือรู้จักกันดีในชื่อ พระเจ้ามิลินท์ ผู้ถกเหตุผลทางพุทธศาสนากับพระนาคเสนใน "มิลินทปัญหา" ได้ยึดครองบัคเตรีย อิทธิพลของการนับถือรูปเคารพเยี่ยงกรีกและโรมัน จึงได้แพร่หลายไปตามแถบลุ่มแม่น้ำคาบูลและสินธุ ในแคว้นคันธารราษฎร์ และหลังพุทธศตวรรษที่ 6 พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะได้ยึดครองคันธารราษฎร์ พระองค์ทรงประกาศตัวเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาและแก้ไขดัดแปลงศิลปะพระพุทธรูปขึ้น

จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปองค์แรกในโลกอุบัติขึ้นในแคว้นคันธารราษฎร์ โดยได้รับอิทธิพลของกรีก-โรมัน ทั้งด้านความเชื่อในการสร้างรูปเคารพและศิลปะผสมผสานอยู่ในระดับสูง อันนับเป็นการกำหนดพุทธลักษณะของพระพุทธองค์ในลักษณาการเยี่ยงมนุษย์ครั้งแรกในโลก พระพุทธปฏิมารุ่นแรกๆ ที่ปรากฏจึงดูคล้ายเทพเจ้า โดยมีพระนาสิกโด่ง พระมัสสุดกงาม พระเกศาหยิกเป็นลอน เยี่ยงฝรั่งชาติกรีก ส่วนจีวรเป็นริ้วธรรมชาติแบบประติมากรรมโรมัน และถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนทุกชาติทุกภาษากราบไหว้บูชาตั้งแต่นั้นมา

ด้วยเหตุที่การสร้าง "พระพุทธรูป" ได้ล่วงเลยเวลาที่พระพุทธองค์ปรินิพพานมานาน ทำให้การสร้างยึดตามแบบคัมภีร์ อันจะน้อมนำไปสู่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มากกว่าที่จะสร้างให้เหมือนจริง ต่อมามีผู้นิยมสร้างพระพุทธรูปกันอย่างแพร่หลาย และคิดทำเป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายปาง ตามเรื่องราวและอิริยาบถต่างๆ ในพุทธประวัติ

สำหรับสยามประเทศ มีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คัดเลือกคิดค้นพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติม นับรวมกับแบบเดิม เป็น 40 ปาง ประดิษฐานในหอราชกรมานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันครับผม





ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1025


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.130 Chrome 43.0.2357.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2558 09:20:30 »

.



พระพุทธรูปศิลป์สมัยอู่ทอง ปางมารวิชัย

พระพุทธรูปศิลป์สมัยอู่ทอง ปางมารวิชัย พุทธศตวรรษที่ 18-19 สง่างาม เข้มขรึมแต่ไม่เข้มแข็ง พระพักตร์คลายเครียดออกอาการยิ้มอยู่ในที"

ความสับสนของการพิจารณาพระพุทธรูปไทยสมัยอู่ทอง หรือ ลพบุรีกับพระพุทธรูปเขมรมักมีอยู่เสมอ ซึ่งต้องยอมรับกันว่ามีเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หลายท่านคงเคยได้ยินว่าศิลปะพระบูชาสมัยอู่ทองของเราสร้างเลียนแบบศิลปะพระบูชาหรือเทวรูปเขมรนั้น  เรื่องนี้คงมีความจริงเพียงบางส่วน เพราะถ้าหากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในองค์พระให้ลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว คงบอกได้ไม่ยากว่าพระพุทธรูปองค์ไหนเป็นของไทย องค์ไหนเป็นของเขมร อิทธิพลของงานศิลปะพระเขมร แผ่ขยายเข้ามาในสยามประเทศ ผ่านทางเมืองลพบุรี ในสมัยขอมยุคบายนซึ่งกำลังมีบารมีอำนาจครอบคลุมเข้ามาปกครองแผ่นดินของสยามอยู่หลายส่วน
 
ต่อมากษัตริย์ไทยมีพระปรีชาสามารถ บารมีอำนาจมากขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประกาศอำนาจการปกครองครอบคลุมดินแดน แถบนี้สวนกระแสอำนาจที่เสื่อมลงของขอมและเมื่อบ้านเมืองมีความสงบสุขร่มเย็นลง ปลอดศึกสงคราม ศิลปินสายเลือดไทยจึงเริ่มมีจินตนาการศิลป์ สร้างศิลปะพระพุทธรูปไทยขึ้นในยุคนี้ โดยนำเอาศิลปะความเรียบร้อย อ่อนน้อมละเมียดละไม ซึ่งเป็นอุปนิสัยของคนไทยสอดเข้าผสมผสานกับศิลปะความเข้มแข็ง เงียบขรึมมีอำนาจของขอมก่อให้เกิดพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่สง่างาม เข้มขรึมแต่ไม่เข้มแข็งพระพักตร์คลายเครียดออกอาการยิ้มอยู่ในที มีลักษณะสำคัญให้ได้พิจารณากันดังนี้
 1.พระรัศมี เป็นแบบเปลวเพลิง หรือ แบบปลีกล้วย (กาบกล้วยวางซ้อนกัน)
 2.เม็ดพระศก ละเอียดเล็กปลายเรียวแหลมคล้ายหอยจุ๊บแจง
 3.พระพักตร์ เป็นรูปทรงเหลี่ยมขมับนูน ต้นคางใหญ่ ปลายคางเป็นลอนแบบคางคน
 4.ขอบพระกรรณ (หู) ส่วนโค้งบนใบหูมนุษย์ปลายพระกรรณ (ติ่งหู) ยาวปลายงอนขอบออกด้านหน้า
 5.พระขนง (คิ้ว) โก่งยาวจรดกันแบบปีกกา
 6.พระเนตร (ตา) ยาวรี เหลือบมองต่ำมีเนื้อและเปลือกตา
 7.พระนาสิก (จมูก) ใหญ่พองาม (ระยะแรกสุดจมูกแบนเล็กไม่สมส่วนขาดความงดงาม)
 8.พระโอษฐ์ (ปาก) กว้างริมฝีปากบน-ล่างหนา มุมปากทั้งสองด้านงอนขึ้นเล็กน้อย มองดูแสดงพระอาการยิ้มอยู่ในที
 9.ลักษณะการคล้องผ้าจีวร เป็นแบบห่มลดไหล่เฉียงบ่า พาดผ้าสังฆาฎิมีสายรัดประคดปรากฏทั้งหน้า-หลัง ชายผ้าสังฆาฎิด้านหน้ายาวจรดหน้าท้องปลายตัดเป็นเส้นตรง ชายสังฆาฎิด้านหลังยาวจรดสายรัดประคด
 10.พระพุทธรูปอู่ทอง ส่วนใหญ่ที่พบแสดงการนั่งปางมารวิชัยสมาธิราบ องค์พระนั่งอยู่บนฐานเขียงเรียบไม่มีลวดลาย แอ่นกลาง
 
ภาพพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทององค์นี้ มีความชัดเจนในรายละเอียดของศิลปะคู่ควรแก่การพิจารณาศึกษา เรียนรู้


ข้อมูลจากหนังสือ SPIRIT Art & Antique
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.218 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 20:52:37