[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2567 15:09:07



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กมธ.เศรษฐกิจ ดึง สตง.-ปปช. ให้ข้อมูล ร่วมสอบโครงการเขื่อนปากแบง บนแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2567 15:09:07
กมธ.เศรษฐกิจ ดึง สตง.-ปปช. ให้ข้อมูล ร่วมสอบโครงการเขื่อนปากแบง บนแม่น้ำโขง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-02 14:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน: สำนักข่าวชายขอบ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กมธ.เศรษฐกิจ ดึง สตง. และ ปปช. ร่วมสอบสัญญาโครงการเขื่อนปากแบง บนแม่น้ำโขง ประเทศลาว ด้าน กฟผ. ระบุตนเองปฏิบัติตามนโยบายด้านพลังงานเท่านั้น เมื่อให้ซื้อก็จำเป็นต้องทำตามนโยบายสั่งการ</p>
<p> </p>
<p>เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565 ณ ห้องประชุม CA314 อาคารรัฐสภา ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร โดยมี สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธานกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่ประธาน ซึ่งมีวาระพิจารณาเรื่อง "โครงการพลังน้ำจากเขื่อนปากแบง" ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล อาทิ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย องค์กรแม่น้ำนานาชาติ เลขาคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (สทนช.) และตัวแทนภาคประชาชน</p>
<p>สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธาน กมธ. กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมเกี่ยวกับกรณีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อชุมชนจากการทำสัญญาโครงการไฟฟ้าพลังงน้ำเขื่อนปากแบง สืบเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้ยื่นร้องเรียนมาขอให้มีการตรวจสอบ จึงเชิญหน่วยงานต่างๆ และตัวแทนภาคประชาชน มาเพื่อให้ข้อมูล ข้อเสนอและหาทางออกร่วมกัน </p>
<p>ไพรินทร์ เสาะสาย เจ้าหน้าที่รณรงค์ลุ่มน้ำโขง องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่า โครงการเขื่อนปากแบง ที่จะก่อสร้างอยู่บนแม่น้ำโขง ที่เมืองปากแบง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 912 เมกะวัตต์ โดยได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2566 เป็นระยะเวลา 29 ปี ท่ามกลางความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนในเขตประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ห่างจากชายแดน 97 กิโลเมตร (กม.) ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคมได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการตรวจสอบผลกระทบข้ามพรมแดนและความไม่จำเป็นของการซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม หน่วยงานรัฐกลับเดินหน้าเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นเหตุให้ประชาชนต้องร้องเรียนต่อ กมธ. เพื่อให้มีการตรวจสอบความชัดเจนและหามาตรการแนวทางในการป้องกันและแก้ไขร่วมกันต่อไป </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลผลกระทบข้ามแดน</span></h2>
<p>มนตรี จันทวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญแม่น้ำโขงจากกลุ่ม The Mekong Butterfly กล่าวว่า ข้อมูลความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบนั้นนับว่าเริ่มตั้งแต่กับกระบวนปรึกษาหารือล่วงหน้า ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง (PNPCA) โดยเฉพาะภาวะน้ำท่วมเท้อต่อพื้นที่ชายแดน และเกาะแก่ง พื้นที่เก็บไก สาหร่ายแม่น้ำโขง พื้นที่วางไข่ของนกอพยพ และปัญหาการอพยพของปลาต่างๆ รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ทั้งลุ่มน้ำงาว และลุ่มน้ำอิง ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ และกรณีพื้นที่แก่งผาได บริเวณชายแดนไทยลาว ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำเท้อที่อาจจะสูงขึ้นตลอดทั้งปีหากมีการสร้างเขื่อนปากแบง ขณะที่ปัจจุบันไม่มีการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53504211605_a8bcb3a261_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ที่มา: สำนักข่าวชายขอบ)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ราคารับซื้อสูง สร้างภาระประชาชนระยะยาว</span></h2>
<p>ชื่นชม สง่าราศีกรีเซ่น นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน กล่าวว่า หากดูไทม์ไลน์การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ต.ค. 2563 มีการอนุมัติแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า PDP revised มีการอนุมัติความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีตัวเลขค่อนข้างสูง ค่าพยากรณ์เปรียบเทียบการใช้ไฟสูงสุดที่เกิดขึ้นจริง ที่ผ่านมาการพยากรณ์มักจะสูงเกินจริง ปี 2563 มีปริมาณไฟฟ้าสำรอง (reserve margin) สูงมากถึง 62% และการพยากรณ์มีความทยานขึ้นสูง ช่วงที่มีการออกแผนฉบับนี้ ความต้องการใช้ไฟต่ำกว่า 4,095 เมกะวัตต์ จากค่าพยากรณ์ได้มีการบรรจุความต้องการไฟฟ้าในแผน โดยมีแผนจะซื้อไฟจากต่างประเทศ 3,500 เมกะวัตต์ และไม่ได้ระบุชื่อโครงการและแหล่งที่มาจากประเทศใด เมื่อ 8 พ.ย. 2564 ได้มีการขยายกรอบ MOU รับซื้อไฟฟ้าจากลาว จาก 9,000 เป็น 10,500 เมกะวัตต์ มีการระบุเรื่องการทำ Tariff MOU 3 เขื่อน และ 5 เดือนต่อมา มีการเร่งลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขการซื้อขายไฟฟ้าต่อสาธารณะ  ผลการวิเคราะห์ของนักลงทุนและแผนพีดีพีที่อนุมัติแล้ว จะเห็นว่าการซื้อไฟฟ้าจาก 3 แห่งจาก สปป.ลาว พบว่าราคาการซื้อไฟจากลาว ซื้อ 2.79 -2.29 บาท ต่อหน่วย พบว่าเป็นราคารับซื้อที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ และการลงทุนนี้จะก่อภาระที่ไม่จำเป็นให้กับประชาชนไทย ที่จะกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบทั้งในเชิงด้านสิ่งแวดล้อมและค่าไฟในระยะยาวต่อไป กล่าวได้ว่าการซื้อไฟถูกขับเคลื่อนเป็นการดำเนินการโดยบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ทางกรรมาธิการตรวจสอบในการวางแผนและการผลักดันโครงการดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสี่ยงน้ำเท้อกลับมา </span></h2>
<p>ดร.วินัย วังพิมูล ผู้แทน สนนช. กล่าวว่าภายหลังกระบวน PNPCA มีการศึกษาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาทางภูมิศาสตร์ เพื่อดูระดับน้ำและมีการปักเสาระดับ 340 ม.รทก. เพื่อวิเคราะห์พื้นที่มีโอกาสเสี่ยงกรณีจะมีน้ำเท้อกลับเข้ามาจากกรณีเขื่อนปากแบง แม้จะสิ้นสุดกระบวนการ PNPCA และมีการออกแผนปฏิบัติการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Joint Action Plan) ยังอยู่ในขั้นระดับที่ 1 เป็นการเตรียมการ และทราบว่า บริษัทต้าถัง (จีน) ได้คุยกับผู้นำชุมชนที่อยู่ในลาว เป็นการเตรียมการในประเทศลาวเท่านั้น ส่วนของประเทศไทย ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ส่วนของไทยจะต้องระยะที่ 2 ที่จะเป็นขั้นตอนการออกแบบเขื่อนตามมาตรฐานของ MRC ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ยังไม่มีการก่อสร้าง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กฟผ. มีที่หน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายสั่งการ</span></h2>
<p>สุรชัย สุรเมธี  ผู้แทน กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. เป็นเพียงหน่วยงานฝ่ายปฏิบัติที่ทำตามนโยบายด้านพลังงานกรณีโครงการเขื่อนปากแบงทางการลาว ได้เสนอขายไฟฟ้าตั้งแต่ มิ.ย. 2560 และมีการเซ็นสัญญาซื้อขายใช้เวลาประมาณ 6 ปี โดยจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเชิงพานิชย์ (COD) ปี 2576 การเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้า กฟผ.มีหน้าที่ปฏิบัติตามหน่วยงานกำกับทางนโยบาย ให้ซื้อก็เลยจำเป็นต้องทำตามนโยบายสั่งการ และในสัญญาได้ระบุว่ามีการนำข้อมูลกังวลด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (EIA) บรรจุเข้าไปยังสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ให้ทางผู้พัฒนาโครงการได้ส่งรายงานการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนทุกปี โดยกำหนดระยะแรกที่จะต้องส่ง คือ ภายในวันที่ 1 พ.ย. 2567 และมีการจัดตั้งกองทุนเยียวยา 45 ล้านบาท </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สผผ. และ ปปช. ร่วมเข้ามาตรวจสอบการทำสัญญาซื้อขายไฟ เขื่อนปากแบง</span></h2>
<p>วทัญญู มุ่งหมายกลาง รองเลขาธิการฯ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) กล่าวว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนของภาคประชาชนได้จัดเวทีรับฟังข้อมูลและลงพื้นที่อำเภอเชียงของเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 ประเด็นสำคัญคือมีการลงนามซื้อขายไฟไปแล้ว แต่กว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบจริงๆ อาจจะสัก 10 ปีข้างหน้า และมาตรการที่ผูกอยู่กับสัญญาของไฟ ที่ระบุว่ากองทุนเยียวยา 45 ล้านบาท เป็นข้อกังวลของชาวบ้านว่าถ้าเกิดความเสียหาย ทั้งน้ำเท้อ และวิถีชีวิต จะดำเนินการอย่างไร และโครงการนี้ซื้อไฟยาว 29 ปี ถ้าผลกระทบมีจำนวนมาก กรณีการตรวจสอบหากพบว่า การลงนามสัญญาที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน และประชาชนเดือดร้อน ก็จะเสนอต่อฝ่ายนโยบายและนายกรัฐมนตรีต่อไป</p>
<p>ผู้แทน ปปช. กล่าวว่า อำนาจหน้าที่การตรวจสอบหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการละเมิดการกระทำของหน่วยงานรัฐและการให้สินบน ขณะนี้กรณีเขื่อนปากแบง ยังไม่มีการร้องเรียนแต่อย่างไร แต่ต้องขอข้อมูลจากภาคประชาชน หากเกิดกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรืองบประมาณที่ปฏิบัติไม่ชอบ หรือมีสินบน ให้ร้องเรียนเข้ามา</p>
<p>ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการสอบถามเกี่ยวกับ การตรวจรับรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่ กฟผ.ระบุในสัญญาว่ามีขั้นตอนอย่างไร โดยผู้แทน กฟผ. ตอบว่าได้ระบุว่ามีเงื่อนไขว่า หากส่งรายงานแล้วจะสามารถตรวจสอบและส่งกลับไปภายใน 60 วัน โดยจะต้องส่งกลับไปให้รัฐบาล และเนื่องจากไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ทาง กฟผ.ก็อาจจะส่งให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้ความเห็นและต้องส่งกลับไปให้รัฐบาลลาว โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ในการปรับปรุงแก้ไขหรือบังคับใช้มาตรการใดๆ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เขื่อนแม่น้ำโขง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เขื่อนปากแบง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/the-mekong-butterfly" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">The Mekong Butterfly[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรรมาธิการเศรษฐกิจ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107886