[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 29 สิงหาคม 2553 08:26:01



หัวข้อ: วัดมังกรกมลาวาส วัดแม่แห่งวัดจีนในไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 29 สิงหาคม 2553 08:26:01
ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดมังกรกมลาวาสนั้นมีการวางผังตามแบบสถาปัตยกรรมจีนพื้นถิ่นทางใต้ของจีน สกุลช่างแต้จิ๋ว ตามแบบพุทธศาสนานิกายฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน หรือซี่เตี่ยมกิม ตามแบบอาคารแต้จิ๋ว...
 
 
โดย...สมาน สุดโต
 
 
ปัจจุบันวัดจีนในเมืองไทยมี 14 วัด ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด 9 วัด ในกรุงเทพมหานคร 5 วัด ที่เป็นสำนักสงฆ์ในกรุงเทพฯ 3 สำนัก
 
ร.5 พระราชทานวัดแม่แบบของจีน


(http://www.posttoday.com/media/content/2010/08/22/3DC8973C03EB4E038B39621FC66242ED.jpg)
 
 
วัดที่เป็นแม่แบบวัดจีนทั้งหลายนั้นคือ วัดมังกรกมลาวาส หรือ “วัดเล่งเน่ยยี่” ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานที่ดินให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2414 หรือ 140 ปี นับถึงปัจจุบัน

วัดนี้ตั้งอยู่เลขที่ 423 ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร. 02-222-3975 โดยมีพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) เป็นเจ้าอาวาส

วารสารมังกรสาร เล่าประวัติวัดไว้ว่า เดิมชื่อ “วัดเล่งเน่ยยี่” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬา ลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิที่จะสร้างวัดเล่งเน่ยยี่ ในเนื้อที่ 4 ไร่ 18 ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย ร่วมกับพุทธศาสนิกชน ชาวจีนดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 8 ปี จึงแล้วเสร็จตั้งชื่อว่า “เล่งเน่ยยี่” ซึ่งมีความหมายคือ เล่ง แปลว่า มังกร เน่ย แปลว่า ดอกบัว ยี่ แปลว่า อารามวัด
 
 
การตั้งชื่อวัดตามหลักโบราณจีน คือ การตั้งตามชัยภูมิ ฮวงจุ้ย ทำเลนั้นๆ ซึ่งนับเป็นสังฆารามตามลัทธินิกาย มหายานที่มีศิลปะงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมังกรกมลาวาส” โดยได้อาราธนาพระอาจารย์สกเห็ง เป็นเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2422 พระอาจารย์สกเห็ง จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 1 ได้รับพระกรุณาพระราชทานสมณศักดิ์ และเป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกในประเทศไทย และเป็นปฐมบูรพาจารย์ของวัดมังกรกมลาวาส ท่านเป็นพระที่มีความเมตตาเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านทราบว่าชีวิตของท่านจะดับขันธ์จึงเจริญวิปัสสนาจนหมดลมปราณ และมรณภาพในอิริยาบถนั้น
 
เด่นสุดในเอเชียใต้

ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดมังกรกมลาวาสนั้นมีการวางผังตามแบบสถาปัตยกรรมจีนพื้นถิ่นทางใต้ของจีน สกุลช่างแต้จิ๋ว ตามแบบพุทธศาสนานิกายฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน หรือซี่เตี่ยมกิม ตามแบบอาคารแต้จิ๋ว การจัดวางวิหารถือตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก พระอุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ส่วนวิหารอื่นๆ อยู่ประกอบสมดุลซ้าย-ขวา
 
กลุ่มอาคารทั้งหมดประกอบด้วยอิฐและไม้เป็นโครงสร้างสำคัญ ซึ่งศิลปะการก่อสร้างวัดแห่งนี้จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่มีความสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อปี พ.ศ. 2533 เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเล็งเห็นประโยชน์การศึกษาจึงใช้ตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรมสูง 9 ชั้น เป็นโรงเรียน ชื่อว่าโรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย มีภิกษุสามเณรศึกษาอยู่ประมาณ 200 รูป
 
พระประธาน 3 องค์


(http://www.posttoday.com/media/content/2010/08/22/5799B94B83EC4B05B0BBD3039F35ABA2.jpg)
 
 
ตามพุทธศาสนามหายานนั้น จะบูชาพระประธาน 3 องค์ ในวัดนี้เช่นกันในอุโบสถมีพระประธาน 3 องค์คือ 1.พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (องค์กลาง) คือ พระพุทธโคดมพุทธเจ้าที่บรรดาชาวพุทธทั่วไปกราบไหว้บูชา 2.พระอมิตาภพุทธเจ้า (อามีท้อ หรือ ออมีท้อ) (สังเกตองค์ที่ประดิษฐานทางขวามือ พระศรีศากยมุนี) พระประธานนี้มี 2 ชื่อ คือ อมิตาภะ (มีแสงสว่างประมาณมิได้) และอมิตายุ (มีอายุอันประมาณมิได้) และองค์ที่ 3 คือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสพุทธเจ้า (ซ้ายมือพระศรีศากยมุนี) ชาวจีนออกเสียงว่า เอี๊ยะซือฮุก แปลว่า เป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นครูแห่งยารักษาโรค มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกับพระอมิตาภพุทธเจ้า
 
 
นอกจากนั้น ก็มีเทพต่างๆ ที่ชาวจีนชาวไทยให้ความเคารพกราบไหว้ตั้งแต่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เทพประจำชะตาชีวิต ไท่สวย-ไท่ซุ่ย เทพเจ้าแห่งยา เทพโชคลาภ เป็นต้น
ที่ขาดไม่ได้คือจตุโลกบาลขนาดใหญ่ที่หน้าประตู
แต่ละวันจะมีผู้เข้าไปบูชาเพื่อให้เกิดมงคลแก่ตนและครอบครัว หรือมิเช่นนั้นก็ทำพิธีแก้ชง เสริมดวงชะตาตามที่ต้องการ
 
 
เจ้าอาวาส 9 องค์


ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 140 ปี วัดนี้มีเจ้าอาวาส 9 รูป นอกจากอาจารย์สกเห็ง รูปแรกแล้วตามที่กล่าวแล้ว
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ได้แก่ พระอาจารย์กวยหงอ ได้สร้างหอไตรปิฎกและกุฏิเจ้าอาวาสขึ้นในปี พ.ศ. 2427 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ที่ 2
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 3 พระอาจารย์โล่วเข่ง ได้บูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถ และพระพุทธรูปในปี พ.ศ. 2472 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ที่ 3
 
 
(http://www.posttoday.com/media/content/2010/08/22/1C28088F6B4041B585224359CF3B1341.jpg)
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 4 พระอาจารย์ฮวบจง ได้สร้างเจดีย์ในปี พ.ศ. 2483 แต่เนื่องจากท่านเดินทางกลับไปยังประเทศจีน เพื่อรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน่ำฮัวยี่ จึงไม่ทันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 พระอาจารย์ย่งปิง ได้สร้างศาลาบุญโญทัยในปี พ.ศ. 2491 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร รักษาการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ 4
เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 พระอาจารย์เซี่ยงหงี ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภายในวัดปี พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ที่ 5
เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช ให้เป็นอุปัชฌาย์รูปแรกของจีนนิกาย ในปี พ.ศ. 2493 ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชทรงมีบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาสในปี พ.ศ. 2497 และได้เลื่อนสมณศักดิ์ จากหลวงจีนคณาณัติจีนพรต เป็นที่พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จี
 
 
นิกายองค์ที่ 6 ซึ่งได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ตลอดจนได้ปรับปรุงระเบียบการบรรพชาอุปสมบทฝ่ายจีนนิกายให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนเนตา
 
 
ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและสร้างตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรมสูง 9 ชั้น เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะสงฆ์จีนเป็นล้นพ้น อีกทั้งเพื่อเป็นกิติยานุสรณ์เฉลิมพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ใช้ระยะในการก่อสร้าง 2 ปี 4 เดือน จึงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2520
 

ภายหลังท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) เสมอด้วยชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนา
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 8 พระอาจารย์เย็นเจี่ยว ได้ช่วยดูแลควบคุมการก่อสร้างตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ
 
 
เจ้าอาวาสองค์ที่ 9 องค์ปัจจุบัน พระอาจารย์เย็นเชี้ยวเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์โพธิ์แจ้งมหาเถระ มารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2523 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดในปี พ.ศ. 2542 ได้รับเลื่อนสมศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์
 
 
ท่านฟื้นฟูวัดมังกรกมลาวาสให้เจริญรุ่งเรือง รวมทั้งได้มอบหมายจากคณะสงฆ์จีนนิกายให้เป็นประธานในการสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่บางบัวทอง นนทบุรี
 
http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/สยามอัศจรรย์/45568/วัดมังกรกมลาวาส-วัดแม่แห่งวัดจีนในไทย (http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/สยามอัศจรรย์/45568/วัดมังกรกมลาวาส-วัดแม่แห่งวัดจีนในไทย)


หัวข้อ: Re: วัดมังกรกมลาวาส วัดแม่แห่งวัดจีนในไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ▄︻┻┳═一 ที่ 30 สิงหาคม 2553 15:16:54
ว๊าวววว เพลงเพราะ


หัวข้อ: Re: วัดมังกรกมลาวาส วัดแม่แห่งวัดจีนในไทย
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 02 กันยายน 2554 21:09:09
ไหนเพลง ?