[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 21:35:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผีตองเหลือง  (อ่าน 3942 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2557 17:36:18 »

.


ผีตองเหลือง

เรื่องราวของผีตองเหลืองที่เรารู้กันถึงวันนี้ พวกเขาเริ่มปรับตัวกับชาวบ้าน ยอมทำงานรับจ้างถางป่าทำไร่ฯลฯ ความกลัว คนเมืองที่เคยฝังใจแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เจือจางลงไปบ้างแล้ว

คำถาม...เหตุใด ผีตองเหลืองจึงกลัว และกลัวใคร?

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ใช้ข้อมูลพื้นฐานที่นายเบอร์นาซิก นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ศึกษาชนเผ่าเร่ร่อนทางบก คือผีตองเหลืองทางเหนือของไทย และพวกเงาะ เซมัง ทางภาคใต้ และชาวเลหรือชาวน้ำ (เจ้าบน) ทางเกาะตะวันตกของแหลมไทย รายงานไว้ในวารสารของสยามสมาคม เล่มที่ ๓๒ กันยายน ๑๙๔๐ (พ.ศ.๒๔๘๓)

เขียนไว้ในหนังสือ วัฒนธรรม ไต-จีน (สำนักพิมพ์ แพร่พิทยา) พ.ศ.๒๕๑๙

พวกผีตองเหลือง มีผิวขาวเหลืองบาง ร่างกายล่ำสันสมส่วน แข็งแรง เรียกตัวเองว่า ยุมบริ สร้างที่อยู่อาศัยด้วยเพิงหมาแหงน เอาใบตองมุงกันแดดฝนและน้ำค้าง นอนบนดินใต้ใบตอง พอแห้งเป็นสีเหลืองก็อพยพหาที่ใหม่ เป็นชนชาติล้าหลังยิ่งกว่าพวกเงาะ เซมัง ซึ่งมีสังคมสมัยหินใหม่

ภาษาที่พูด คล้ายภาษาขมุและละว้า ชอบเจาะหูเอาท่อนไม้อุดรูหูไว้ ไม่มีชื่อประจำตัวเอง เรียกกันเองว่า ปิ้น อ้าย อี ปี้น้อง คล้ายคนไทยโบราณ ไม่มีคำเกี่ยวกับหลักนับเลข น้ำหนัก หรือความจุตามปริมาณ แม้กระทั่งการนับนิ้วมือ นับติ้ว นับก้อนหิน หรือใช้ปมขมวดเชือก

ไม่มีคำระบุถึงสีต่างๆ รู้จักแต่สีดำ หรือสีขาว

แต่พวกยุมบริ กลับมีความสามารถ ทำเครื่องจักสาน กับขี้ฟากได้ โดยใช้มีดไม้ไผ่ และทำเสื่อสานกับตะกร้าได้ งานเหล่านี้พวกยุมบริ มีฝีมือดีมาก จึงนำมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนเป็นเงินกับของใช้จากพวกขมุได้

ยุมบริ มีความระแวดระวังภัย มีเข่าอ่อน ลีบเล็ก กลัวอำนาจภูตผีปีศาจและอำนาจมืด มีความเชื่อว่า ถ้าทำชั่วเมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นเสือ พวกเขาจึงกลัวเสือ ไม่เคยล่าเสือ

ยุมบริติดต่อสื่อสารกับพวกขมุพวกเดียว ไม่ไว้ใจคนไทยและลาว ว่ากันว่ามีบางพวกชาวบ้าน เห็นผู้หญิงยุมบริ รูปร่างได้สัดส่วนงดงาม จึงชอบมาก มักไล่ล่าโดยฆ่าผู้ชาย แล้วยื้อแย่งเอาผู้หญิงไปบำเรอกาม

ชุดความรู้ ที่สยามสมาคมเผยแพร่ต่อมา ได้จากนายเวอกินี นักบุกเบิกเหมืองแร่ชาวสวีเดน เมื่อราว ค.ศ. ๑๙๒๔ ได้พบผีตองเหลือง ที่บ้านน้ำพุ ห่างจากถนนสายแพร่-น่าน ๕๐ กิโลเมตร ...พวกยุมบริ แม้จะแยกย้ายกันไปอยู่ตามที่ต่างๆ แต่ก็มีศูนย์กลางการไหว้ผีร่วมกัน อยู่ที่ภูสามเส้า ต้นน้ำว้า สาขาแม่น้ำน่าน ระหว่างน่านกับหลวงพระบาง

ยุมบริ มี ๘ สกุล ๑ เผ่า มีหัวหน้าสกุลและประมุขเผ่า ระบบผัวเดียวเมียเดียว หญิงมีน้อยกว่าชาย ฐานะหญิงเป็นทาส ทำงานทุกอย่างกระทั่งการแบกหาม ผู้ชายอาจขายผู้หญิงโดยแลกกับสัตว์ที่ล่าได้ เช่น กระทิง ๑ ตัว

ระบบแต่งงาน เป็นระบบแต่งนอกสกุลอย่างเคร่งครัด บิดามารดามีเสียงน้อยกว่าหัวหน้าสกุล คนที่ล่าสัตว์เก่งที่สุดจะถูกเลือกเป็นประมุข มีเพลงง่ายๆ เหมือนเพลงขมุ แต่ไม่มีเครื่องดนตรี ในฤดูฝนจะไม่ยอมลงจากยอดเขาเลย

ไม่มียารักษาโรค นับถือผีและเข้าทรงผีรักษาโรค ใช้หมูเป็นเครื่องเซ่น มีการอ่านมนตร์ เวลาคนตายฝังไว้ในหลุมลึก กันเสือกิน เขาเชื่อว่า ถ้าเสือกินจะกลายเป็นปีศาจมารบกวนชาวบ้าน

อาหารของยุมบริ สัตว์เล็ก เช่น หนู งู ด้วง แมลง และหนอนหน่อไม้ ถ้าล่าสัตว์ใหญ่มาได้ ก็จะไปย่างโดยไม่ลอกหนัง ไส้ก็ไม่เอาออก ย่างได้ที่ ก็ใช้ดึงไปกิน

เมื่อได้ข้าวมาก็หุงในกระบอกไม้ไผ่ คล้ายไทยทำข้าวหลาม

พ.อ.สมัคร บุราวาศ บอกว่า นี่คือการเริ่มต้นวัฒนธรรมไม้ไผ่ ซึ่งเกิดหลังวัฒนธรรมน้ำเต้า

วัฒนธรรมน้ำเต้า บ่าน้ำเต้าใส่น้ำสำหรับเดินทางไกล วัฒนธรรมไม้ไผ่ เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่ นอกจากใส่น้ำแล้ว พวกยุมบริยังใส่น้ำผึ้งเก็บไว้ให้พวกเด็กๆ กิน

ในการล่าสัตว์ ยุมบริ ไม่ใช้สุนัขช่วยล่า... แต่ใช้หอกปลายเหล็กที่ซื้อจากพวกขมุ ด้ามเป็นก้านต้นลาน บางเล่มยาวถึง ๑๑ ฟุต รู้จักการใช้ยางน่อง...แต่ไม่ค่อยใช้บ่อย เพราะกลัวพิษ เวลาล่าสัตว์ได้มา ก็ตัดเนื้อตรงปลายหอกออกทิ้ง

สัตว์ใหญ่ ที่ยุมบริล่าเก่งมาก คือ แรด สัตว์ใหญ่ที่ไม่ล่าเลยเพราะกลัว ก็คือเสือ

เมื่อต้องการของใช้ ยุมบริไม่ยอมไปตลาด แต่ไปแลกเปลี่ยนสินค้าริมบ้านขมุ พวกเขาจะนั่งรอจนกว่าจะถูกเชิญเข้าไปในบ้าน แต่ก็ทิ้งกองระวังหลังเอาไว้ เกรงชาวบ้านหักหลัง เมื่อชอบอะไรก็แลกหมด ไม่มีการชั่งตวงกัน

พวกเขาไม่ค่อยรบกันเองระหว่างสกุล หรือกับชนชาติอื่น แต่ถ้าพบใครแล้วเกิดความกลัว ก็อาจโจมตีก่อน

พ.อ.สมัคร บุราวาศ ให้ความเห็นว่า พวกผีตองเหลือง ไม่มีสัตว์เลี้ยงแม้แต่สุนัข คงมีแต่หอกทำด้วยไม้ แต่ไม่มีเครื่องมือหิน เขาใช้ไม้ไผ่ทำกิจกรรมต่างๆ จัดอยู่ในระดับวัฒนธรรมไม้ไผ่ แต่ระบบสังคมเลยไปถึงเผ่าชน การอยู่แบบผัวเดียวเมียเดียว แสดงว่า ระบบสังคมสูงขั้นคนเมือง

ข้อเสนอจาก คุณไกรษีร นิมมานเหมินทร์...ผีตองเหลือง เคยเป็นทาสเจ้าเมืองน่าน หนีความเป็นทาสไปสู่อิสรภาพในป่า...พ.อ.สมัคร เสริมว่าน่าจะเป็นความจริง

รวมทั้งความจริงข้อที่ว่า พวกขมุนั่นเอง ช่วยทาสเมืองน่าน ให้มีชีวิตตลอดรอดฝั่งมาได้ จนกระทั่งบัดนี้.


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤศจิกายน 2558 16:41:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.332 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 08:11:33