[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 11:38:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถอดรหัสวัดเมืองน่าน ตอน พระบรมธาตุแช่แห้ง  (อ่าน 1447 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กันยายน 2559 19:41:15 »



ถอดรหัสวัดเมืองน่าน ตอน พระบรมธาตุแช่แห้ง

มีคำกล่าวว่า สถาปัตยกรรมในจังหวัดน่านก้าวพ้นความวิจิตรอลังการไปแล้ว เหลือไว้แต่พุทธปรัชญาขั้นสูงให้คนรุ่นหลังได้ลองถอดรหัสตีความ “ธรรมะ” ที่แฝงฝังอยู่ภายใน

พระธาตุแช่แห้ง คือ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย ชาวเมืองล้านนามีความเชื่อกันว่า หากได้เดินทางไปสักการบูชาองค์พระธาตุแช่แห้ง จะทำให้ได้รับอานิสงส์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้าและยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีเถาะอีกด้วย



บริเวณทางเข้ามีพญานาคขนาดใหญ่สองตนอยู่บริเวณแนวทางเดิน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ พญานาคสองตนนี้เปรียบได้กับสิ่งที่เชื่อมโลกมนุษย์ (โลกียะ) และสวรรค์ (โลกุตระ) เข้าด้วยกัน หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าในตัวพญานาคแต่ละตนมีทั้งหมด 9 ลอนคลื่น เปรียบได้กับหลักอริยมรรคมีองค์ 8 อันหมายถึงทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้บวกกับ นิพพาน อีก 1 ซึ่งหมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว จึงเท่ากับ 9 อันเป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ เชื่อกันว่า สตรีที่ได้มากราบไหว้พญานาค ชีวิตจะประสบพบเจอแต่ความสุขความสำเร็จ



ปากทางเข้าพระวิหารพุทธไสยาสน์เป็นประตูลักษณะเล็กแคบ การสร้างประตูเช่นนี้จงใจเปรียบเปรยกับชีวิตคนที่อาจไม่ราบรื่นตลอดเวลา มีบางจังหวะชีวิตที่มี “ช่องแคบ” หรือทางตีบตัน แต่เมื่อสู้อดทนแล้วหน้าต่อไป ชีวิตก็จะถึงทางอันโล่งโปร่งเบื้องหน้า

ส่วนบริเวณสันหลังคาพระวิหารมีหางพญานาคขดขึ้นมา แล้วหมุนเป็นเกลียวขึ้นไปสามชั้น เปรียบได้กับหลักคำสอนอันประเสริฐของพุทธองค์ อันได้แก่ ทำความดี ละเว้นความชั่วและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส





พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ แม้จะสร้างขึ้นในยุคสมัยที่พม่ายึดครองล้านนา ทว่ากลับเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะตามแบบสุโขทัย เนื่องจากสมัยนั้นพระเจ้าบุเรงนองกำชับชาวพม่าว่า อย่าทำลายจารีตประเพณีของชาวล้านนา ฉะนั้นจึงไม่มีศิลปะพม่าปรากฏอยู่

ชาวล้านนาสมัยโบราณจงใจปั้นพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ให้มีสองสะดือ เพราะเปรียบเปรยว่า พระพุทธเจ้าคือสัพพัญญู ผู้รู้สิ่งทั้งปวง ซึ่งมีคำสอนทั้งหมดแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ฉะนั้นชาวล้านนาจึงแสดงความระลึกถึงพระพุทธองค์และคำสอนเหล่านั้น ด้วยวิธีคล้ายคลึงกับเวลาจุดเทียนไหว้พระ ที่ต้องใช้เทียน 2 เล่ม เพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ (พระพุทธ) และคำสอน (พระธรรม) โดยสาเหตุที่ต้องนำสัญลักษณ์นี้มาแสดงไว้ที่สะดือ เพราะชาวล้านนามักกล่าวถึงผู้มีความรู้มากๆ ว่า “ความรู้เหล่านั้นไม่ได้อยู่ในสมอง หากแต่อยู่ในไส้ในพุงหมดแล้ว”



ชาวพุทธที่มากราบไหว้องค์พระมักอธิษฐานจิตแล้วนำเหรียญแปะลงบนองค์พระนอน โดยไม่ใช้กาวหรือตัวช่วยใดๆ เชื่อกันว่าหากใครแปะเหรียญแล้วติดองค์พระ พรที่ขอนั้นจะเป็นจริง (หากขอแล้ว ต้องไม่ลืมลงมือทำสิ่งนั้นเองด้วย หากหวังโชควาสนาอย่างเดียวพรคงไม่สัมฤทธิ์ผล) อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่าสาเหตุที่เหรียญติดอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องไฟฟ้าสถิต



หลายคนมุ่งหน้าไปกราบไหว้ “พระเจ้าทันใจ” เพราะเชื่อกันว่า หากขอพรแล้ว พรนั้นจะสำเร็จผลทันใจ โดยเฉพาะใครไม่มีคู่ หากมาขอพระเจ้าทันใจแล้วจะพบเจอเนื้อคู่ ใครไม่มีลูก ก็จะมีลูกได้ไม่ยาก

ความจริงแล้วคำว่า “ทันใจ” มีที่มาที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือการสร้างพระเจ้าทันใจแต่ละองค์ ต้องสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน โดยช่างต้องเตรียม อิฐ หิน ดินทรายไว้รอก่อนวันจริง รุ่งเช้าตื่นขึ้นมาปั้น พอตกบ่ายเมื่อองค์พระขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองผู้สร้างจะทำพิธีเบิกพระเนตรให้เสร็จก่อนขึ้นวันใหม่ การทำเช่นนี้มีนัยยะสอนให้ชาวพุทธเห็นว่า หากคนเรามุ่งมั่นทำความดีร่วมกัน อย่างไรก็ต้องสำเร็จผลทันใจ



มหาเจดีย์แห่งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีชั้นบัวถลา 4 ชั้นอยู่เหนือฐานรองรับ เปรียบได้กับอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธและมรรค





ส่วนพระวิหารแห่งนี้ มีรูปพญานาคราช 8 ตนอยู่ด้านหน้า หมายถึงอริยมรรค 8 ประการของพระพุทธเจ้า หางพญานาคเกี้ยวกระวัดเป็นรูปดอกบัวตูม 7 ชั้น อันหมายถึง หลักทั้ง 7 แห่งชีวิต ได้แก่ โพชฌงค์ 7 (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมนูญแห่งชีวิตของฆราวาส) และอปริหานิยธรรม 7 (หลักธรรมสำหรับนักปกครอง)

นอกจากนี้ดอกบัวทั้ง 7 ดอก ยังนับเป็นอริยทรัพย์ 7 ประการหรือทรัพย์อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้ามอบให้กับเวไนยสัตว์ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะและปัญญา เรียกง่ายๆ ว่าทรัพย์เหล่านี้คือคุณธรรมประจำใจที่มนุษย์ทุกคนควรยึดถือไว้ ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้รูปดอกบัว เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ว่า คนเราแม้เกิดในโคลนตม แต่ที่สุดแล้วก็สามารถโผล่พ้นน้ำขึ้นมาได้

ไม่เพียงเท่านั้น หากลองเพ่งภาพบนซุ้มสามเหลี่ยมนี้ให้ดีๆ โดยลบภาพพญานาคและดอกบัวออกไป จะมองเห็นพระพุทธรูปขัดสมาธิอยู่ในนั้นหนึ่งองค์ มีนัยยะว่า เมื่อมองทะลุเข้าไปในตัวตนของมนุษย์ จะเห็นว่าแท้จริงพุทธะอยู่ในใจเราตลอดเวลา



ด้านในพระวิหารมีพระเจ้าอุ่นเมือง องค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นองค์พระประธานของวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง และพระพุทธรูปทองคำพระนามว่าพระเจ้าล้านทอง ให้ชาวพุทธเข้าไปสักการะ

หลายท่านอาจไม่เคยทราบว่า “แช่แห้ง” อันเป็นชื่อพระบรมธาตุแห่งนี้แท้จริงแล้วมีความหมายสุดลึกซึ้ง คือพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบว่ามนุษย์เรารายล้อมด้วยกิเลส ตัณหา อวิชชาต่างๆ มากมายยิ่งกว่าน้ำทั้งหลายในโลกรวมกัน เสมือนเรากำลัง “แช่” ตัวอยู่ในกิเลสอันเปียกโชกชุ่ม แต่เราควรทำตัวให้ “แห้ง” จากสภาวะกิเลสนั้นให้ได้ คืออยู่ร่วมกับกิเลสและความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยไม่จมไปกับมัน คือไม่ติดอยู่กับโลกนี้

นี่เองคือพุทธปรัชญาอันลึกซึ้งที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของชาวน่านตามที่ได้เกริ่นไว้ตอนต้น…เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณผู้อ่านลองย้อนกลับมาถามตัวเองดูสักนิดว่าเรา “แช่แห้ง” กันแล้วหรือยัง

เรื่องและภาพ รำไพพรรณ บุญพงษ์

**ข้อมูลทั้งหมดผู้เขียนได้ฟังบรรยายมาจาก อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิแห่งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดน่าน

จาก http://www.secret-thai.com/dhamma-practice/place-peace/5754/chairhang-nan/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ถอดรหัสวัดเมืองน่าน ตอน วัดภูมินทร์ แง่งามแห่งนิพพาน
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1242 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2559 19:12:34
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.382 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 เมษายน 2567 23:08:44