[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 พฤษภาคม 2567 17:01:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 1123
621  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "ต๊ะ ตระการตา" ลูกสาว "ชูวิทย์" โต้ข่าวลือว่าพ่อเสียชีวิตแล้ว เปิดภาพคู่ล่ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 12:25:59
"ต๊ะ ตระการตา" ลูกสาว "ชูวิทย์" โต้ข่าวลือว่าพ่อเสียชีวิตแล้ว เปิดภาพคู่ล่าสุด
         


"ต๊ะ ตระการตา" ลูกสาว "ชูวิทย์" โต้ข่าวลือว่าพ่อเสียชีวิตแล้ว เปิดภาพคู่ล่าสุด" width="100" height="100  "ต๊ะ ตระการตา" ลูกสาว "ชูวิทย์" โพสต์ภาพคู่ สยบข่าวลือคุณพ่อเสียชีวิต ระหว่างไปรักษาตัวจากโรคมะเร็งต่างประเทศ
         

https://www.sanook.com/news/9309198/
         
622  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ’ บุกสภาค้านกฎหมายประมงฯ ฉบับใหม่ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 12:18:37
‘สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ’ บุกสภาค้านกฎหมายประมงฯ ฉบับใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-30 10:07</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>‘สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ’ บุกสภา ร่อนแถลงการณ์ถึง ‘ปลอดประสพ-กมธ.ประมงฯ’ ค้านกฎหมายประมงฯ ฉบับใหม่ ฉะยกเลิกการคุ้มครองประมงพื้นบ้าน-ชุมชนประมงท้องถิ่นหดเขตทะเลชายฝั่งลงต่ำกว่า 1.5 ไมล์ทะเล เอื้อประโยชน์ให้ประมงพาณิชย์เข้ามาทำประมงด้วยเครื่องมือหนักทำนายทุนครอบงำ “ประมงพื้นบ้าน”  ซ้ำเลิกโทษจำคุก-ลดค่าปรับพวกเหนือกฎหมายได้ประโยชน์ ขณะที่ ‘เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ’ห่วงกฎหมายใหม่ละเลยประเด็นการคุ้มครองแรงงาน-ใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย ชี้ยกเลิกควบคุมการขนถ่ายแรงงาน-สัตว์น้ำกลางทะเลส่อ ‘เข้าข่ายกักขังในทะเล’ เปิดช่อง ‘ค้ามนุษย์’หลังให้เจ้าหน้าที่ใช้วิจารณญาณตีความเหตุจำเป็นรับฝากคนเรือได้ </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53620200620_42b472fdf4_o_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 ที่รัฐสภา สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เข้ายื่นแถลงการณ์ข้อกังวลต่อการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ถึงนายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ผ่านนายพงษ์สรณัฐ ทองลี เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และนายวิริภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธาน กมธ.วิสามัญฯ คนที่สอง เป็นตัวแทนรับหนังสือ </p>
<p>โดยแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. .... และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นั้น เครือข่ายสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ เห็นด้วยที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประมงตามความเหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร  แต่จากร่างกฎหมายที่มีการเผยแพร่รับฟังความเห็นของรัฐสภา เรามีข้อกังวลใจและเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก จึงขอนำเรียนข้อกังวลและข้อเสนอถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในประเด็นดังต่อไปนี้</p>
<p>1. มีการยกเลิก ข้อกำหนดวัตถุประสงค์ "เพื่อปกป้องคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น" ถือเป็นการลดความสำคัญในการช่วยเหลือการประมงพื้นบ้านหรือการประมงขนาดเล็กลง ทั้งที่ทุกฝ่ายทราบดีว่า ชาวประมงพื้นบ้าน กับชาวประมงพาณิชย์ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ควรมีมาตรการ ปกป้องส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเอาไว้เป็นการเฉพาะที่มีมาตรการแตกต่างจากการประมงพาณิชย์การกำหนดวัตถุประสงค์ช่วยเหลือการประมงแบบรวม ๆ โดยที่ขีดความสามารถต่างกัน ไม่มีการกำหนดให้ต้องปกป้องชุมชนท้องถิ่น แต่ยังคงกำหนดให้รัฐบาลต้องมีแผนในการส่งเสริมการประมงในน่านน้ำ มีแผนส่งเสริมการประมงนอกน่านน้ำ มีแผนส่งเสริมการเพาะเลี้ยง มีแผนส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมง แต่ไม่มีแผนการส่งเสริมการประมงพื้นบ้านทั้งที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาผู้ประกอบการประมงทั้งหมด ข้อเสนอ คือ ให้คงเนื้อหามาตรา 4 (2) ไว้ เช่นเดิม ส่วนที่เพิ่มเติม ให้กำหนดเป็น (3)</p>
<p>2. มีการกำหนดให้สามารถลดเขตทะเลชายฝั่งลงได้อีกให้น้อยกว่า 1.5 ไมล์ทะเล เช่นนี้เท่ากับเปิดให้ประมงพาณิชย์สามารถเข้ามาทำการประมงใกล้เขตทะเลชายฝั่งมากขึ้น และการแก้ไขเขตทะเลชายฝั่งให้หดแคบลงน้อยกว่า 1.5 ไมล์ทะเล (น้อยกว่า 2,800 เมตร) เป็นการถดถอยล้าหลัง ยิ่งกว่า ปี พ.ศ. 2515 (ประกาศ ห้ามอวนลากอวนรุนเข้า 3,000 เมตร) และลดเขตอำนาจรับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลงด้วย ทำให้พื้นที่สำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนลดลงจนส่งผลต่อปริมาณสัตว์น้ำ และส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากร และทำการประมงด้วยเครื่องมือศักยภาพต่ำ</p>
<p>3. มีการกำหนด ให้กรรมการภาคประชาชนในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด มาจากการแต่งตั้ง โดยระบุให้เป็นอำนาจโดยตรงของผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้ไม่มีหลักประกันว่าจะมีการสรรหาคัดสรรอย่างไรให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมและครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้จริง และควรมีสัดส่วนจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่แสวงหากำไรอยู่ด้วย เราเสนอให้ แก้ไขให้มีกลไกการ สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดใหม่ และกระจายอำนาจให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำหนดแผนการจัดการทรัพยากรประมงระดับจังหวัดบนฐานข้อมูล ระบบนิเวศน์ในพื้นที่ และควรกำหนดเขตรับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่ง</p>
<p>4. มีการเปิดช่องให้กลุ่มทุนประมงพาณิชย์ สามารถแทรกแซงครอบงำ "ประมงพื้นบ้าน" ได้  โดยฝ่ายบริหารไม่สามารถกำกับควบคุม ปกป้องสิทธิประโยชน์ของชุมชนประมงท้องถิ่นได้ โดยปัจจุบันมีการเปิดช่องให้ "อวนลากคู่ อวนลากเดี่ยว อวนล้อมจับ อวนปั่นไฟจับปลากะตัก อวนล้อมจับกะตัก เรือคราดทุกชนิด ที่ใช้กับเรือต่ำกว่าสิบตันกรอส ซึ่งเดิม เป็นประมงพาณิชย์ให้ถือเป็นประมงพื้นบ้าน และสามารถมีใบอนุญาตประมงดังกล่าวได้ไม่จำกัดจำนวน โดยจงใจตัดคำว่า "จะออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลใดเกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมิได้" ที่มีในกฎหมายเดิมทิ้งไป </p>
<p>5. เอื้อประโยชน์ให้ผู้ต้องการละเมิดกฎหมาย โดยนอกจากยกเลิกการจำคุกแล้ว ยังลดอัตราค่าปรับในการทำผิดให้น้อยลง และให้ประกันเรือออกไปทำประมงได้ซ้ำอีก ทั้งที่กฎหมายประมงฉบับ 2558 ได้ยกเลิกการลงโทษ "จำคุก" ทั้งหมดไปแล้ว และเปลี่ยนเป็นลงโทษด้วยการ "ปรับ" ในอัตราที่สูงขึ้นแทนอย่างเดียว เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดให้หลาบจำ การที่ร่างกฎหมายประมงใหม่กำหนดให้ลดค่าปรับลง และเมื่อจ่ายค่าปรับแล้ว ให้ถือว่ายุติคดี กล่าวคือไม่ต้องส่งฟ้องศาล ไม่ต้องรับโทษริบเรือ หรือใด ๆ อีก และสามารถให้ญาติ ที่เป็น "ข้าราชการ" หรือ สินทรัพย์ ไป "ประกันเรือ"ออกไปทำประมงได้ปกติ โดยไม่ต้องถูกกักไว้ ระหว่างรอค่าปรับซึ่งจะยิ่งส่งเสริมการทำความผิดไม่สนใจผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน อีกต่อไป  </p>
<p>ขณะที่นายปิยะ แย้มเทศ  นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เราเห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.ก.การประมง 2558 แต่เราเห็นว่าต้องแก้ให้เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อเรือประมงขนาดเล็ก โดยเรามองว่าในเรื่องเจตนารมณ์ วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายของการแก้กฎหมายในครั้งนี้ ซึ่งกฎหมายเดิมในมาตรา 4 (2) เขียนชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือสนับสนุนประมงพื้นบ้านและองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น แต่ร่างกฎหมายของพรรคการเมืองตัดเรื่องนี้ทิ้งไป ดังนั้นเราจำเป็นต้องยื่นหนังสือถึงนายปลอดประสพและกมธ.วิสามัญฯ ทั้งคณะเพื่อให้ทบทวนในเรื่องนี้   เรากังวลเรื่องการให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสามารถลดหรือเพิ่มแนวเขตการทำประมง  หากเพิ่มๆ ได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล ส่วนถ้าลดๆ ได้น้อยกว่า 1.5 ไมล์ทะเล  เราต้องการให้อำนาจคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมีอำนาจเต็มในการกำหนดเขต 12 ไมล์ทะเล และบริหารจัดการว่าเครื่องมือประเภทใดควรอยู่ใน 12 ไมล์ทะเลนี้ แต่ถ้าไปมองว่า 3 หรือ 1.5 ไมล์ทะเลเป็นเขตของประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ มันจะเป็นการแย่งชิงพื้นที่มากกว่ามองเรื่องการบริหารจัดการ </p>
<p>นายปิยะ กล่าวว่า นอกจากนั้นเรายังกังวลเรื่องบทกำหนดโทษ ซึ่งพ.ร.ก.การประมง 2558 นั้น ระบุว่ามีค่าปรับ 5 เท่า ที่อาจเป็นเงินหลายล้านบาท โดย กมธ.วิสามัญฯ ชุดนี้เห็นว่าเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไป จึงอยากปรับลดลง ซึ่งเราเห็นด้วยว่ามันสามารถปรับลดลงได้ แต่ควรมีมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น ลักลอบจับปลาได้ 1 ล้านบาท  ควรมีค่าปรับ 3 ล้านบาท หรือในกรณีที่จับปลาไม่ได้เลย ก็ควรมีมาตรฐานขั้นต่ำในเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน  ส่วนในเรื่องอำนาจของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและที่มาของคณะกรรมการฯ ควรมีสัดส่วนและมีวาระการประชุมต่อปีที่ชัดเจน คณะกรรมการฯ ต้องรู้บทบาทและอำนาจหน้าที่ว่าเข้ามาเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นของส่วนรวม ไม่ใช่เข้าไปเพื่อเพิ่มอำนาจหรือสิทธิประโยชน์ให้กับอาชีพของคนที่คณะกรรมการฯ  รวมถึงมีข้อห่วงใยเรื่องการเปลี่ยนแปลงนิยามการประมงพื้นบ้าน ที่ให้ 7 เครื่องมือ เช่น อวนลากคู่ อวนลากเดี่ยว อวนล้อมจับ อวนล้อมจับปลากระตัก หรือคราดหอยประเภทต่างๆ เข้ามาทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง โดยอาศัยอำนาจคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้านได้ </p>
<p>“เราอยากให้มีความเข้าใจที่ตรงกันว่า เราอยากให้แก้กฎหมาย แต่แก้แล้วมันต้องมีความยั่งยืนและสร้างมาตรฐานที่มันเป็นสากล”นายปิยะ กล่าว </p>
<p>นายปิยะ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะมีการยื่นหนังสือถึง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อทวงถามถึงข้อเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้าน 18 ข้อ เช่น การสนับสนุนน้ำมันราคาต่ำ การทำท่าเทียบเรือ เรื่องบ้านริมน้ำ เรื่องประมง เรื่องกองทุน เป็นต้น ข้อเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้านที่ผ่านมามันยังไม่ได้รับการแก้ไข ยังมีความลักลั่นและความเหลื่อมล้ำของการทำประมงพาณิชย์อยู่ ซึ่งประมงพาณิชย์เรียกร้องไป 19 ข้อและได้รับการแก้ไขไปแล้ว 18 ข้อ จึงต้องมีมาตรฐานในการแก้ปัญหาให้คนในประเทศอย่างเท่าเทียมกันด้วย </p>
<p>ด้านนายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group : MWG)  กล่าวว่า  ทางเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ มีข้อสังเกตและข้อกังวลใจ โดยเฉพาะในเรื่องผลกระทบต่อการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานในงานประมงต่อการพิจารณาการแก้ไขร่างพระราชกำหนดการประมง ดังนี้ </p>
<p>1. การตัดการแสดงเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องการคุ้มครองแรงงานและการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมายในมาตรา 4(4) ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและการใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย โดยให้เหตุผลว่ามีกฎหมายคุ้มครองแรงงานประมงอยู่แล้ว อาจจะทำให้ละเลยประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานและการป้องกันการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศคู่ค้า และมาตรการการค้าระหว่างประเทศได้ให้ความสนใจ การบัญญัติข้อความเจตนารมณ์ของกฎหมายว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองแรงงานและการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานประมงอย่างผิดกฎหมาย จึงเป็นรากฐานที่สำคัญอันหนึ่งของการพัฒนาการประมงของไทยอย่างยั่งยืน </p>
<p>2. การยกเลิกการควบคุม การขนถ่ายกลางทะเลของสัตว์ทะเลที่จับได้ และการขนถ่ายลูกเรือกลางทะเลระหว่างการประมง โดยมีการแก้ไขแก้ไขมาตรา 87 ให้เรือประมงที่จดแจ้งต่อศูนย์ควบคุมเรือเข้าออกสามารถขนถ่ายสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ  และยังได้แก้ไขมาตรา 92 ให้เรือประมงทีได้จดแจ้งสามารถนำเข้าสัตว์น้ำเข้ามายังท่าเทียบเรือได้ จากการแก้ไขทั้งสองมาตราข้างต้นจึงแสดงให้เห็นว่าร่างกฎหมายเปิดโอกาสให้มีการขนถ่ายสัตว์น้ำได้ทั้งประมงในและนอกน่านน้ำไทย ในอดีตการไม่ควบคุมในทั้งสองประเด็นนี้ ทำให้เกิดการควบคุมแรงงานประมงให้ทำงานอยู่บนเรือเป็นเวลานาน ในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการกักขังในทะเล ซึ่งกลายเป็นที่มาของการบังคับใช้แรงงานซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจอาหารทะเล เมื่อต้องทำการค้าขายกับผู้ค้าในหลายประเทศ </p>
<p>3.การรายงานคนประจำเรือ (Crew List) และการแก้ไขรายชื่อลูกเรือหลังจากออกจากท่า โดยการแก้ไขมาตรา 82 โดยกำหนดให้เรือประมงไม่จำเป็นต้องแจ้งจำนวนรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ หรือหลักฐานการอนุญาตตามมาตรา 83 ของคนประจำเรือที่จะออกไปพร้อมกับเรือประมง ยิ่งไปกว่านั้นยังได้บัญญัติมาตรา 83/1 ในร่างของพรรคฝั่งรัฐบาลรวมถึงร่างของพรรคก้าวไกล โดยมีข้อความว่า “ในกรณีที่มีความจำเป็น เรือประมงที่จะออกจากฝั่งเพื่อไปทำการประมง สามารถรับฝากคนประจำเรือหรือลูกเรือที่มีใบอนุญาตและหนังสือประจำตัวแล้วออกไปกับเรือเพื่อนำส่งให้กับเรือประมงลำอื่นที่ได้รับอนุญาตแล้วได้” ซึ่งจะส่งผลให้มีการนำคนงานขึ้นเรือเพิ่มเติมได้หลังจากการตรวจสอบที่ท่าเรืออย่างเป็นทางการแล้วเสร็จ ซึ่งจะเปิดโอกาสต่อความเป็นไปได้ในการค้ามนุษย์และการเอารัดเอาเปรียบแรงงานรวมถึงการใช้แรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อีกทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ใช้วิจารณญาณที่ต้องมาตีความว่าเป็นเหตุจำเป็น</p>
<p>4.ในเชิงการบริหารจัดการการแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการมาตรการทางการปกครอง มีข้อสังเกตที่ว่า การตัดผู้แทนจากกระทรวงแรงงานออกจากคณะกรรมการตามมาตร 112 เดิม ทำให้คณะกรรมการในร่างกฎหมายใหม่ไม่มีผู้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งอาจนำมาซึ่งข้อจำกัดไม่สามารถใช้มาตรการทางปกครองได้หากมีกรณีละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นบนเรือประมงเนื่องจากคณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในบริบทการคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งการกระจายอำนาจให้แก่นักการเมืองท้องถิ่นในเขตทำประมง อาจทำให้อำนาจในการตรวจสอบผู้กระทำความผิดเป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น จากการช่วยเหลือและดำเนินคดีค้ามนุษย์ในเรือประมงในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ต้องหาที่เป็นผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาที่ใช้เรือประมงในการขนย้ายผู้อพยพ ก็ได้มีการดำเนินคดีกับนักการเมืองท้องถิ่นตั้งแต่ระดับเทศบาลไปจนถึงนักการเมืองหลายระดับ</p>
<p>“จากข้อสังเกตข้างต้น เครือข่ายองค์กรองค์กรด้านประชากรข้ามชาติและองค์กรภาคี ยืนยันในหลักการการแก้ไขปัญหาประมงทะเลไทย ต้องวางบนฐานของการลดทอนความยุ่งยากของระบบราชการ เคารพและคุ้มครองในสิทธิแรงงาน ทำการประมงที่รักษาสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน เพื่อให้กิจการประมงและอาหารทะเลไทยยืนหยัดในเวทีการค้าระหว่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยและเศรษฐกิจไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะนำประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อจะไปมุ่งไปสู่การประมงไทยที่ยั่งยืนและยืนยันในหลักการการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมายต่อไป”ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าว </p>
<p>ขณะที่นายพงษ์สรณัฐ กล่าวว่า จะส่งข้อเรียกร้องของภาคประชาชนไปให้ กมธ.วิสามัญฯ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของรัฐสภาพร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายต่างๆ อย่างเต็มที่</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108620
 
623  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - อนุมัติจัดหา 'วัคซีนเอชพีวี 1.7 ล้านโดส' ฉีดให้หญิงไทยอายุ 11-12 ปี ที่ยังไม่ครบ 2 เ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 10:45:50
อนุมัติจัดหา 'วัคซีนเอชพีวี 1.7 ล้านโดส' ฉีดให้หญิงไทยอายุ 11-12 ปี ที่ยังไม่ครบ 2 เข็ม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-30 10:28</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>บอร์ด สปสช. เห็นชอบให้ สปสช. จัดหา “วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 1.7 ล้านโดส” ฉีดให้หญิงไทย  ตอนช่วงอายุ 11 -12 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53619996088_7613071c15_o_d.jpg" /></p>
<p>นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาและมีมติเห็นชอบ “การให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV) และการสนับสนุนตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย” มติบอร์ด สปสช. ในครั้งนี้เป็นคนละส่วนกับนโยบาย สธ. ที่มีการฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV) จำนวน 1 ล้านโดสให้กับหญิงไทย อายุ 11 – 18 ปี ที่ได้บรรลุเป้าหมายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อช่วงปลายปี 2566 โดยรอบนี้จะเป็นการดำเนินการจัดหาวัคซีนเอชพีวี จำนวน 1.7 ล้านโดส เพื่อนำมาฉีดให้กับหญิงไทยในช่วงที่อายุ 11 -12 ปี (เรียนชั้น ป.5 ในขณะนั้น) ระยะเวลาระหว่างปี 2562 – 2565 ซึ่งได้รับวัคซีนเอชพีวีเพียงเข็มเดียว เนื่องจากเมื่อปี 2562 – 2564 วัคซีนเอชพีวีเกิดภาวะขาดคราวทั่วโลก ก่อนจะกลับมาจัดหาได้ในปี 2565 และต่อมาในปี 2566 สปสช. ได้มีการกลับมาดำเนินการฉีดให้อีกครั้งแต่ด้วยจำนวนของวัคซีนที่จัดหาได้เพียง 1.6 ล้านโดส จึงทำฉีดได้แค่คนละ 1 เข็มก่อน</p>
<p>นอกจากนี้ในเวลานั้น บอร์ด สปสช. ได้มอบให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ กรมควบคุมโรค (คร.) ทำข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนการพิจารณาว่าควรจะฉีดวัคซีนเอชพีวีกี่เข็ม ซึ่งเมื่อช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมาทางกรมควบคุมโรคได้มานำเสนอข้อมูลทางวิชาการ โดยระบุว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงแนะนำให้การฉีดวัคซีนเอชพีวี 2 เข็มเป็นแนวทางหลักอยู่ อีกทั้งจากการสำรวจฝั่งหน่วยบริการก็พบว่ายังสามารถให้บริการได้ตามมาตรฐาน และผู้ปกครองเองก็ให้การยอมรับ รวมถึงตัวผู้รับวัคซีนก็สมัครใจที่จะรับวัคซีนเอชพี 2 เข็ม</p>
<p>“ขณะเดียวกัน สปสช. ตรวจสอบแล้วว่าการเพิ่มการฉีดวัคซีนเอชพีวีในครั้งนี้ ไม่มีภาระทางงบประมาณ เพราะทางอนุกรรมกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน สปสช. ได้มีการตั้งงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัคซีนเอชพีวีจำนวนกวา 1.7 ล้านโดสไว้แล้ว ภายใต้วงเงินที่ 643 ล้านบาท จึงเห็นควรให้เดินหน้าต่อ เพื่อให้หญิงไทยได้รับการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นไปตามหลักวิชากรทางการแพทย์” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว</p>
<p>ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวเสริมว่า นอกจากการจัดหาวัคซีนแล้ว ทางบอร์ด สปสช. ยังได้มอบให้ สปสช. ร่วมกับกรมควบคุมโรคในการพิจารณาดำเนินการฉีดวัคซีนและจัดซื้อวัคซีนเอชพีวีทุก 4 ปี ตลอดจนรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยแปปเสมียร์ (PAP Smear) การตรวจคัดกรองด้วยการใช้น้ำส้มสายชู (VIA) และการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีระดับ DNA (HPV DNA test) หรือวิธีอื่นๆ ที่อยู่ในแนวทางการตรวจคัดกรองตามคำแนะนำทางวิชาการด้วย</p>
<p>รวมถึงขอให้กรมควบคุมโรค และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พิจารณาข้อมูลทางวิชาการสำหรับการฉีดวัคซีนเอชพีวีที่เหมาะสมด้วย เช่น เพศ จำนวนครั้งการฉีด ฯลฯ เพื่อนำเข้าสู่กลไกการพัฒนาสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ต่อไป โดยตามมติบอร์ด สปสช. นี้จะมีการดำเนินการในทันทีเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108621
 
624  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "น้องเกล" ทำห้างแตก! ทักทายมหาชนตลอดทาง เซอร์วิสดีมาก เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 10:05:46
"น้องเกล" ทำห้างแตก! ทักทายมหาชนตลอดทาง เซอร์วิสดีมาก
         


&quot;น้องเกล&quot; ทำห้างแตก! ทักทายมหาชนตลอดทาง เซอร์วิสดีมาก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"น้องเกล" ทำห้างแตก! ทักทายมหาชนตลอดทาง เซอร์วิสดีมาก เป็นงานสุดๆ
         

https://www.sanook.com/news/9309242/
         
625  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - AI ติดตามอารมณ์ในที่ทำงาน: พนักงานกลัวถูกสังเกตการณ์-ถูกเข้าใจผิด เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 07:35:06
AI ติดตามอารมณ์ในที่ทำงาน: พนักงานกลัวถูกสังเกตการณ์-ถูกเข้าใจผิด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 15:37</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พบบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกากว่า 50% ใช้ "ปัญญาประดิษฐ์จับอารมณ์" (Emotion AI) เพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจของพนักงาน แต่มีการศึกษาชี้ว่าพนักงานกลัวถูกสังเกตการณ์และการถูกเข้าใจผิด ชี้เทคโนโลยีนี้น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53611285827_b416f2824e_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพประกอบสร้างจากเทคโนโลยี AI ของ Image Creator from Microsoft Designer</span></p>
<p>ปัจจุบันมีการใช้ "ปัญญาประดิษฐ์จับอารมณ์" (Emotion AI) ซึ่งอาศัยสัญญาณชีวภาพต่าง ๆ เช่น น้ำเสียง สีหน้า ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่ที่ติดกับร่างกาย รวมถึงข้อความและการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ความรู้สึกของบุคคล เทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้ในหลากหลายบริบท ตั้งแต่เรื่องทั่วไปอย่างความบันเทิง ไปจนถึงเรื่องสำคัญอย่างการทำงาน การคัดเลือกพนักงาน และการดูแลสุขภาพ</p>
<p>หลายอุตสาหกรรมนำ Emotion AI มาใช้แล้ว เช่น ศูนย์บริการโทรศัพท์, การเงิน, ธนาคาร, งานพยาบาล และงานดูแลผู้สูงอายุ ในสหรัฐอเมริกา บริษัทขนาดใหญ่กว่า 50% ใช้ปัญญาประดิษฐ์จับอารมณ์เพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจของพนักงาน ซึ่งแนวทางนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการโทรศัพท์ใช้ติดตามคำพูดและน้ำเสียงของพนักงาน เป็นต้น</p>
<p>แต่นักวิชาการตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ของเทคโนโลยี Emotion AI นี้และการอ้างอิงทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้สึกก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีการชี้ประเด็นเกี่ยวกับศักยภาพของ Emotion AI ในการละเมิดความเป็นส่วนตัว และความเสี่ยงที่จะเกิดอคติทางเชื้อชาติ เพศ และความพิการ</p>
<p>นายจ้างบางส่วนใช้งานเทคโนโลยีนี้ราวกับว่ามันไร้ที่ติ ขณะที่นักวิชาการบางกลุ่มพยายามลดอคติและพัฒนาความน่าเชื่อถือ  บางกลุ่มเสนอให้ยกเลิกการใช้ Emotion AI โดยสิ้นเชิง หรืออย่างน้อยก็จนกว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจะชัดเจนมากขึ้น</p>
<p>ทั้งนี้มีความจำเป็นต้องตรวจสอบผลกระทบของ Emotion AI จับอารมณ์ที่มีต่อผู้ที่ถูกใช้งานเทคโนโลยีนี้ โดยเฉพาะพนักงาน –  ยิ่งอย่างยิ่งกับพนักงานกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มคนชายขอบทางเชื้อชาติ เพศ และความพิการ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ความกังวลของพนักงาน</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53611389957_9ab78dc199_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพประกอบสร้างจากเทคโนโลยี AI ของ Image Creator from Microsoft Designer</span></p>
<p>เพื่อทำความเข้าใจแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี Emotion AI ในที่ทำงาน นาซานิน อันดาลิบี (Nazanin Andalibi) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านข้อมูลข่าวสาร แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) และ เคเรน บอยด์ (Karen Boyd) ได้วิเคราะห์แนวคิดของเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Emotion AI ในที่ทำงาน โดยได้ศึกษาจากคำขอรับสิทธิบัตรเทคโนโลยี Emotion AI ที่เสนอสำหรับใช้งานในองค์กร สำหรับประโยชน์ที่ผู้ยื่นขอสิทธิบัตรอ้างถึง ได้แก่ การประเมินและส่งเสริมสุขภาพจิตใจของพนักงาน, การสร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน, การเพิ่มผลผลิต และการช่วยเหลือในการตัดสินใจ เช่น การเลื่อนตำแหน่ง, การเลิกจ้างพนักงาน และการมอบหมายงาน</p>
<p>ทีมวิจัยสงสัยว่าพนักงานคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ พวกเขาจะมองเห็นประโยชน์ตามที่ผู้ยื่นขอสิทธิบัตรอ้างถึงหรือไม่ ตัวอย่างเช่น พนักงานจะรู้สึกเป็นประโยชน์หรือไม่ หากนายจ้างให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตใจแก่พวกเขา จึงได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ค่อนข้างเป็นตัวแทนของประชากรสหรัฐฯ รวมถึงกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมที่เน้นคนผิวสี บุคคลข้ามเพศและไม่ยึดติดเพศภาพ และผู้ป่วยโรคทางจิตเวช กลุ่มเหล่านี้มีโอกาสได้รับผลกระทบเชิงลบจาก Emotion AI มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ</p>
<p>การศึกษานี้มีผู้เข้าร่วม 289 คนจากกลุ่มตัวอย่างหลัก และ 106 คนจากกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่า 32% ของผู้ตอบแบบสอบถาม รายงานว่า พวกเขาไม่เคยได้รับหรือคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการใช้ Emotion AI ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคต</p>
<p>แม้ว่าพนักงานบางส่วนมองเห็นศักยภาพในแง่ผลประโยชน์ เช่น การได้รับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้นและความปลอดภัยในที่ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับประโยชน์ที่อ้างในคำขอรับสิทธิบัตร แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขายังแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบด้วย โดยกังวลว่าเทคโนโลยีนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและความเป็นส่วนตัว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและสถานะการจ้างงาน รวมถึงมีความลำเอียงและตีตราทางด้านสุขภาพจิต</p>
<p>นอกจากนี้ยังพบว่า 51% ของผู้เข้าร่วมศึกษา กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว, 36% ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่นายจ้างจะยอมรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจาก Emotion AI โดยไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ และ 33% กังวลว่าข้อมูลที่ประเมินโดย Emotion AI อาจถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมวิจัย</span></h2>
<p>ผู้เข้าร่วมวิจัยท่านหนึ่งซึ่งมีปัญหาสุขภาพหลายอย่างกล่าวว่า “การรู้ว่าตัวเองถูกวิเคราะห์ กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจของฉัน”</p>
<p>สิ่งนี้สะท้อนว่า แม้เป้าหมายที่อ้างถึงของ Emotion AI คือการวิเคราะห์และยกระดับสุขภาพจิตใจของพนักงานในที่ทำงาน แต่การใช้งานเทคโนโลยีนี้กลับส่งผลตรงกันข้าม กล่าวคือ ความเป็นส่วนตัวที่ลดลง ส่งผลให้สุขภาพจิตใจแย่ลง</p>
<p>นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชี้ว่าการสูญเสียความเป็นส่วนตัวอันเกิดจาก Emotion AI ส่งผลกระทบต่อหลายด้านของความเป็นส่วนตัว เช่น ด้านจิตใจ  เสรีภาพ เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์  สุขภาพกาย และการถูกเลือกปฏิบัติ</p>
<p>ผู้เข้าร่วมวิจัยรายหนึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตเวช วิตกกังวลว่าการติดตามอารมณ์อาจส่งผลต่อการรักษาตำแหน่งงาน โดยกล่าวว่า "พวกเขาอาจตัดสินใจว่าฉันไม่เหมาะกับงานนี้อีกต่อไป และไล่ฉันออก พวกเขาอาจตัดสินใจว่าฉันไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือคิดว่าฉันทำงานไม่หนักพอ"</p>
<p>นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัยยังกังวลว่าการใช้ Emotion AI อาจยิ่งขยายช่องว่างของอำนาจในที่ทำงาน พวกเขากังวลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับนายจ้างหากมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในที่ทำงาน  โดยชี้ให้เห็นว่า การใช้ Emotion AI อาจทำให้ความตึงเครียดระหว่างนายจ้างกับพนักงานที่เคยมีอยู่แล้วรุนแรงมากขึ้น</p>
<p>ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถามคนหนึ่งกล่าวว่า "อำนาจควบคุมที่นายจ้างมีเหนือลูกจ้างอยู่แล้ว บ่งบอกว่าจะมีการตรวจสอบน้อยมากว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างไร  'การยินยอม' ใด ๆ (จาก) พนักงานนั้นแทบจะเป็นภาพลวงตาในบริบทนี้"</p>
<p>สุดท้าย ผู้เข้าร่วมวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความไม่แม่นยำทางเทคนิคของ Emotion AI ซึ่งอาจสร้างภาพลักษณ์ที่ผิดพลาดเกี่ยวกับตัวพนักงาน นอกจากนี้ ระบบ Emotion AI ยังอาจสร้างและส่งเสริมอคติและตีตราต่อพนักงาน</p>
<p>ผู้เข้าร่วมวิจัยเน้นย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับการที่นายจ้างจะพึ่งพาระบบ Emotion AI ที่ไม่แม่นยำและมีความลำเอียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนผิวสี ผู้หญิง และบุคคลข้ามเพศ</p>
<p>ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมวิจัยคนหนึ่งกล่าวว่า "ใครเป็นคนตัดสินว่าท่าทางแบบไหน 'ดูรุนแรง'  และเราจะตัดสินว่าใครเป็นภัยคุกคามแค่จากสีหน้าได้อย่างไร? ระบบสามารถอ่านใบหน้าได้ แน่นอน แต่ไม่สามารถอ่านใจได้  ฉันมองไม่ออกเลยว่าเทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์อะไร นอกจากจะเป็นการทำลายโอกาสของชนกลุ่มน้อยในที่ทำงาน"</p>
<p>ผู้เข้าร่วมวิจัยยังกล่าวถึงวิธีรับมือกับ Emotion AI พวกเขาบอกว่าจะปฏิเสธที่จะทำงานในสถานที่ที่ใช้เทคโนโลยีนี้  (ซึ่งเป็นทางเลือกที่หลายคนไม่มี)  หรือ พยายามแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์จับอารมณ์อ่านพวกเขาในแง่ดี  เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของตัวเอง</p>
<p>ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมวิจัยคนหนึ่งกล่าวว่า "ฉันจะใช้พลังงานมหาศาลในการปิดบังตัวเองแม้ว่าจะอยู่คนเดียวในห้องทำงาน ซึ่งจะทำให้ฉันเสียสมาธิและไร้ประสิทธิภาพ"  สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ Emotion AI จะเพิ่มภาระทางอารมณ์ให้กับพนักงาน  ("ภาระทางอารมณ์" - emotional labor  หมายถึง การใช้พลังงานทางอารมณ์เพื่อให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานบริการยิ้มแย้มกับลูกค้า แม้จะรู้สึกเหนื่อยหรือไม่พอใจก็ตาม)</p>
<h2><span style="color:#3498db;">คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่?</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53612722154_3e6014837a_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพประกอบสร้างจากเทคโนโลยี AI ของ Image Creator from Microsoft Designer</span></p>
<p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้สนับสนุน Emotion AI อ้างว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยแก้ปัญหาในที่ทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยิ่งกลับทำให้ปัญหาเดิมของพนักงานเลวร้ายลงไปอีก</p>
<p>แม้ว่า Emotion AI จะทำงานได้ตามที่อ้าง และวัดสิ่งที่มันอ้างว่าจะวัดได้ และแม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอคติจะได้รับการแก้ไขในอนาคต พนักงานก็ยังคงได้รับผลกระทบด้านลบอยู่ดี เช่น ภาระทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้นและการสูญเสียความเป็นส่วนตัว</p>
<p>หากเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้วัดสิ่งที่อ้างไว้หรือมีความลำเอียง บุคลากรก็จะอยู่ภายใต้การควบคุมของอัลกอริทึมที่ถือว่าถูกต้องและเชื่อถือได้ ทั้งที่ไม่เป็นเช่นนั้น พนักงานยังคงต้องใช้ความพยายามเพื่อลดโอกาสที่จะถูกอัลกอริทึมอ่านผิด หรือแสดงอารมณ์ที่อัลกอริทึมจะอ่านในแง่ดี</p>
<p>ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ระบบเหล่านี้ก็ทำหน้าที่คล้ายกับ "แพนติคอน" (panopticon)<span style="color:#c0392b;">*</span> ที่ทำลายความเป็นส่วนตัว สร้างความรู้สึกให้พนักงานเหมือนถูกจับตามมองอยู่ตลอดเวลา</p>
<p><span style="color:#c0392b;">*"แพนติคอน" (panopticon) เป็นเรือนจำที่ออกแบบโดยนักปรัชญาชาวอังกฤษ เจเรมี่ เบนทัม (Jeremy Bentham) มีลักษณะเป็นหอคอยอยู่กลางเรือนจำ นักโทษอยู่ในห้องขังโดยรอบ ผู้คุมสามารถมองเห็นนักโทษได้ทุกคนตลอดเวลา แต่ นักโทษไม่รู้ว่าตนเองถูกมองอยู่หรือไม่ ส่งผลให้เกิดสภาวะที่นักโทษรู้สึกเหมือนถูกจับตามองอยู่เสมอ</span></p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Emotion-tracking AI on the job: Workers fear being watched – and misunderstood (Nazanin Andalibi, StudyFinds, 6 March 2024)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108608
 
626  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สถิติหวยออก 1 เมษายน ย้อนหลัง 10 ปี แนวทางเลขเด็ดงวดนี้ 1/4/67 เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 07:35:05
สถิติหวยออก 1 เมษายน ย้อนหลัง 10 ปี แนวทางเลขเด็ดงวดนี้ 1/4/67
         


สถิติหวยออก 1 เมษายน ย้อนหลัง 10 ปี แนวทางเลขเด็ดงวดนี้ 1/4/67" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สถิติหวยออกย้อนหลัง เลขที่ออกในงวด 1 เมษายน ในแต่ละปีส่วนใหญ่ออกเลขอะไรบ้าง เลขที่เคยออกวันที่ 1 เม.ย. ย้อนหลัง 10 ปี
         

https://www.sanook.com/news/9289446/
         
627  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เซีย' เรียกร้องทบทวนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกอุตสาหกรรม ปรับสูตรคำนวณใหม่ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 06:01:43
'เซีย' เรียกร้องทบทวนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกอุตสาหกรรม ปรับสูตรคำนวณใหม่เพื่อให้ถึงเป้า 600 บาท
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 15:49</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สส.สายแรงงานก้าวไกล เรียกร้องทบทวนปรับค่าจ้างให้เป็นธรรม-เท่าเทียมทั่วประเทศไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวบางพื้นที่ “สหัสวัต” กังขาตกลงอำนาจขึ้นค่าแรงอยู่ที่รัฐบาลหรือบอร์ดค่าจ้างกันแน่</p>
<p>29 มี.ค. 2567 ฝ่ายสื่อสารของพรรคก้าวไกลรายงานถึงการแถลงของ เซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ และ สหัสวัต คุ้มคง สส.ชลบุรี เขต 7 กรณีไม่เห็นด้วยต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง หรือคณะกรรมการไตรภาคี (บอร์ดค่าจ้าง) พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันในกิจการโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป และมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป โดยให้นำร่องในบางพื้นที่ของ 10 จังหวัด โดยเกือบทั้งหมดเป็นการปรับขึ้นเฉพาะบางเขตตำบล ยกเว้นภูเก็ตที่ปรับขึ้นทั้งจังหวัด</p>
<p>เซียกล่าวว่า คนทำงานทุกคนต้องกินต้องใช้เหมือนๆ กัน ตนเข้าใจหัวอกของผู้ใช้แรงงานดีว่าการเพิ่มค่าตอบแทนในแต่ละวัน จะทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเห็นด้วยกับการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่พี่น้องแรงงานทุกอุตสาหกรรมและต้องเท่ากันทั่วประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างเช่นนี้ โดยขอเรียกว่าเป็นการ “ปรับค่าจ้างแบบศรีธนญชัย”</p>
<p>เซียและ สส.ของพรรคเห็นว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้แค่อาหารหนึ่งมื้อก็มากกว่า 85 บาทแล้ว อาหาร 3 มื้อก็มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ยังไม่นับค่าเสื้อผ้า ค่าที่พักอาศัย ยารักษาโรค ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าภาษีสังคม แต่กระทรวงแรงงานกลับปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเฉพาะกิจการประเภทโรงแรมและเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้นโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และ 10 พื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง จึงเป็นพื้นที่นำร่อง</p>
<p>“การปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่และแต่ละประเภทกิจการ เป็นการทำงานแบบศรีธนญชัย ในอนาคตจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นและจะมีส่วนทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานในพื้นที่ที่ค่าตอบแทนสูง เป็นผลให้เกิดการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ไม่กี่แห่ง และไม่เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภค ราคาน้ำมัน ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิงทั่วประเทศ ไม่ได้แตกต่างกันเลย” เซียกล่าวและได้ตั้งคำถามต่อเรื่องนี้ว่าแล้วอุตสาหกรรมประเภทอื่นและแรงงานในพื้นที่อื่นไม่มีความสำคัญหรืออย่างไร</p>
<p>สส.สายแรงงานของก้าวไกลได้เสอนพิจารณาทบทวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ดังนี้</p>
<p>1. ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นธรรมตามหลักสากล ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน โดยปรับจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปสู่การปรับเป็นอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต เพื่อให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p>
<p>2. ด้วยเป้าหมายค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเคยให้คำมั่นสัญญาตอนหาเสียงเลือกตั้ง ขอเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างฯ ปรับสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ดังที่ สส. พรรคก้าวไกลเคยอภิปรายในที่ประชุมสภาฯ เนื่องจากสูตรที่ใช้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง</p>
<p>เซียวิจารณ์ว่าการปรับตามสูตรของกระทรวงแรงงานไม่มีโอกาสที่จะถึง 600 บาทในปี 2570 แน่นอน แต่ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลคือการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 450 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ควบคู่กับการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ส่วนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละปี ให้เป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยประกาศของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรืออัตราเงินเฟ้อตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์</p>
<p>“สิ่งที่เกิดขึ้น ท่านกำลังเล่นละครตบตาผู้ใช้แรงงานหรือไม่ การปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อตอน 1 มกราคม 2567 ระหว่าง 2-16 บาท ท่านนายกฯ พึงพอใจหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร ที่นายกฯ เคยบอกให้กลับไปทบทวนก่อนจะปรับขึ้น แต่สุดท้ายท่านก็ยอมจำนน ไม่เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ทั้งที่นี่คือแนวนโยบายของรัฐบาลในการดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามที่เคยสัญญา” เซียกล่าว</p>
<p>ด้านสหัสวัต กล่าวว่าสูตรของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลไม่ได้ต่างจากเดิมแม้จะตั้งอนุกรรมาธิการศึกษาเรื่องสูตรค่าแรงใหม่ และวันนี้ถ้าคำนวณตามสูตรไม่มีทางเป็น 400 บาท จึงสงสัยว่าได้ยึดตามสูตรจริงหรือไม่ เขาว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นเพราะเมื่อขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ก็จะอ้างว่ามีสูตรล็อกอยู่</p>
<p>นอกจากนี้ เวลาขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ สิ่งที่จะอ้างคือบอร์ดค่าจ้าง แต่วันนี้ที่ขึ้นได้เป็นเพราะบอร์ดค่าจ้างหรือเพราะผลงานของ รมว.แรงงาน หรือรัฐบาล เอาให้ชัดว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อำนาจอยู่ที่ใครกันแน่</p>
<p>“วันนี้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท บอกเป็นผลงานรัฐบาล แต่พอขึ้นไม่ได้ เป็นความผิดของคณะกรรมการไตรภาคี” สหัสวัตกล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108609
 
628  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หนุ่มเจอสิ่งปริศนาเกาะอยู่ในหัวกุ้ง โซเชียลช่วยตอบคืออะไร ชี้อร่อยกว่ากุ้งซะ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 05:02:34
หนุ่มเจอสิ่งปริศนาเกาะอยู่ในหัวกุ้ง โซเชียลช่วยตอบคืออะไร ชี้อร่อยกว่ากุ้งซะอีก
         


หนุ่มเจอสิ่งปริศนาเกาะอยู่ในหัวกุ้ง โซเชียลช่วยตอบคืออะไร ชี้อร่อยกว่ากุ้งซะอีก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หนุ่มเจอสิ่งปริศนาเกาะอยู่ในหัวกุ้ง โซเชียลแห่ช่วยไขข้อสงสัย ชี้อร่อยกว่ากุ้งอีก หากทำสุกด้วยการผ่านความร้อนสูง ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
         

https://www.sanook.com/news/9308502/
         
629  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำร้อง ฟ้องกระทรวงแรงงาน กรณีคนงานข้ามชาติถูกตัดสิทธิเ เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 04:23:31
ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำร้อง ฟ้องกระทรวงแรงงาน กรณีคนงานข้ามชาติถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง สปส.
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 18:10</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ที่มา: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'จ่ายเท่ากัน ได้สิทธิไม่เท่ากัน' ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดไม่รับพิจารณาคำร้องคดีแรงงานข้ามชาติฟ้องเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน กีดกันแรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ศาลมองไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องใน 90 วัน และไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม</p>
<p> </p>
<p>29 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งวานนี้ (28 มี.ค.) ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ทนายความคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด ภายใต้มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน สมาชิกแรงงานข้ามชาติ 'Bright Future' และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) เดินทางมาฟังคำสั่งศาลปกครอง รับพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ กรณีแรงงานผู้ประกันตน ยื่นฟ้อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และให้เพิกถอนกฎและระเบียบที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ</p>
<p>จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความจากคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด HRDF กล่าวว่า กรณีนี้สืบเนื่องจากเมื่อ พ.ค. 2566 ทาง HRDF ได้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน เพื่อขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับระเบียบของคณะกรรมการประกันสังคม ที่กำหนดระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ที่ระบุในข้อ 16 ว่า "แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ตัวแทนคณะกรรมการประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน" </p>
<div style="text-align: center;"> </div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618397343_8a6b24c443_b.jpg" /></p>
<p>จิรารัตน์ กล่าวว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 'ไม่รับคำฟ้อง' เนื่องจากอยู่นอกเหนือจากเขตอำนาจของศาลแรงงาน หลังจากนั้นมีการยื่นอุทธรณ์ และวันนี้มาฟังคำพิพากษาศาลฯ ว่ามีคำสั่งรับคำฟ้องเพิ่มไว้พิจารณาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองมีคำสั่งเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ และศาลระบุว่าไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาเช่นกัน เนื่องจากผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 รายไม่ได้ปฏิบัติตามกรอบระยะคดีกฎหมายทั้ง 2 ราย หรือไม่ได้ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 42 โดยกำหนดว่าให้มีการฟ้องตามระยะเวลากรอบกฎหมาย โดยทางผู้ร้องฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งฯ มาตรา 9 อนุ 1 ซึ่งศาลมองว่า ทางผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน หรือโต้แย้งคำสั่ง ภายใน 90 วัน หลังมีประกาศปี 2564 </p>
<p>จิรารัตน์ ระบุด้วยว่า ศาลปกครองสูงสุดมองว่าคดีนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์สาธารณะ และก็ไม่ได้เป็นประโยชน์ส่วนรวม </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618509989_e4f205316d_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">จิรารัตน์ มูลศิริ (ที่มา: สหภาพคนทำงาน)</span></p>
<p>ทนายความจากคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด กล่าวต่อว่า แม้ว่า ‘คำสั่งไม่รับคำฟ้องพิจารณา’ เป็นคำสั่งเด็ดขาดแล้ว หรือไม่สามารถอุทธรณ์ได้แล้ว แต่พอจะมีแนวทางดำเนินการต่อไปได้ในกรณีที่แรงงานข้ามชาติเมื่อไรก็ตามที่ใช้สิทธิเป็นผู้ประกันตน สามารถที่จะโต้แย้งคัดค้านระเบียบนี้ได้ และต้องดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนด สามารถมาฟ้องที่ศาลปกครองได้โดยไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำฟ้องซ้อน </p>
<p>ธนพร วิจันทร์ สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน มองว่า เวลาเราพูดวงกว้างเราต้องมีวิธีคิดแบบไหนว่า แรงงานข้ามชาติเกือบล้านคนในประเทศไทยเขาได้รับผลกระทบ เขามีปัญหากลไกการเข้าถึงสิทธิ ถึงบอร์ดประกันสังคม ถึงระบบประกันสังคมว่า เขาจ่ายประกันสังคมทุกเดือน แต่สิทธิกลไกการเข้าถึงทำไมมันถึงยาก และวันนี้เขาไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งมันเป็นผลกระทบของแรงงานข้ามชาติ เพราะว่าอย่าลืมว่าสิทธิประกันสังคม มีทั้งเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร ค่าคลอดบุตร ค่าเสียชีวิต การรักษาเจ็บป่วย หรือการทุพพลภาพอะไรต่างๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นวงกว้างของสังคม แต่มันขึ้นกับวิธีคิดของศาลจะมองยังไง </p>
<p>"ศาลมองว่าคนล้านกว่าคนไม่ใช่วงกว้าง แต่เราคิดว่าพี่น้องแรงงานข้ามชาติล้านกว่าคนที่อยู่ในประเทศไทย มันเพียงพอแล้วสำหรับมันเป็นประโยชน์วงกว้าง มันมีผลกระทบต่อวงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะของพี่น้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย" ธนพร กล่าว </p>
<p>ธนพร กล่าวว่าจะมีการเข้าไปคุยหรือแก้ไขระเบียบให้แรงงานข้ามชาติได้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะว่าระเบียบจะถูกนำมาใช้พิจารณากรณีนี้ด้วย และอยากฝากทางคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายประชาธิปไตยที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แรงงานข้ามชาติ และผู้ประกันตน มาตรา 33 39 และ 40 ต่อไป</p>
<p>ทั้งนี้ จำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศกว่า 24 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ประกันตนสัญชาติไทย 22.8 ล้านคน และผู้ประกันตนต่างชาติ 1.2 ล้านคน และผู้ประกันตนต่างชาติกว่าไร้สิทธิ์เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เมื่อ 24 ธ.ค. 2566 เพียงเพราะไม่มีสัญชาติไทย</p>
<p>สุรัช กีรี แรงงานข้ามชาติชาวพม่า กลุ่ม Bright Future มองกรณีศาลไม่รับคำร้องเพราะว่าเลยเวลาใช้สิทธิคัดค้านภายใน 90 วันว่า ศาลน่าจะให้เวลามากกว่านี้ เพราะว่าตอนออกระเบียบเลือกตั้งประกันสังคมปี 2564 ตอนนั้นแรงงานข้ามชาติไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งประกันสังคม และมองว่าประกันสังคมทำงานไม่เต็มที่เรื่องประชาสัมพันธ์</p>
<p>"พอตอนนี้มีปัญหา มันทำให้เราต้องเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ วันนี้ทำให้รับรู้ว่าความยุติธรรมมันไม่ได้มาง่ายๆ เราต้องสู้ สู้จนสุดๆ สู้จนหยดสุดท้าย" ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ กล่าว </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618383083_402f269098_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุรัช กีรี (ที่มา: สหภาพคนทำงาน)</span></p>
<p>สุรัช กล่าวว่า การได้เลือกตั้งประกันสังคมจะช่วยเหลือชาวพม่า เพราะว่าถ้ามีคนของแรงงานข้ามชาติเข้าไปเป็นบอร์ดบริหาร ก็จะช่วยประชาสัมพันธ์สิทธิให้ชาวพม่ารับรู้สิทธิอะไรมากขึ้น เวลาไม่สบาย การคลอด มันต้องมีคนของเราเข้าไปอยู่ในบอร์ดบริหารแรงงานข้ามชาติเขาถึงจะทราบ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108612
 
630  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘บุ้ง’ โพแทสเซียมต่ำ ความดันต่ำ แพทย์กังวลเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 02:41:04
‘บุ้ง’ โพแทสเซียมต่ำ ความดันต่ำ  แพทย์กังวลเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 21:15</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพ แมวส้ม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์ทนายความฯ อัพเดต “บุ้ง” โพแทสเซียมต่ำ ความดันต่ำ แพทย์กังวลเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด</p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">Update การอดอาหารประท้วง ของ #บุ้งทะลุวัง (29 มี.ค.) ที่ รพ.มธ.</p>
<p>▪️ ยังคงมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่นับว่าต่ำ
▪️ ระดับโพแทสเซียมในเลือดยังคงต่ำ โดยวันนี้อยู่ที่ 2.7 mEq/L.
▪️ บุ้งแจ้งว่าแพทย์กังวลความเสี่ยงจะ #ติดเชื้อในกระแสเลือดpic.twitter.com/d82pfNVfli</p>
<p>— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014) March 29, 2024</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p>29 มี.ค.2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานสถานการณ์การอดอาหารของเนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ที่ขณะนี้ยังถูกควบคุมตัวและรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่ตอนนี้น้ำหนักลงมามากกว่า 20 กิโลกรัมแล้ว และเนติพรได้ทราบจากแพทย์ว่ากังวลจะมีความเสี่ยงจะติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย</p>
<p>ศูนย์ทนายความฯ ระบุว่า ขณะนี้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่นับว่าต่ำ และระดับโพแทสเซียมในเลือดยังคงต่ำ โดยวันนี้อยู่ที่ 2.7 mEq/L.</p>
<p>นอกจากนั้นเนติพรแจ้งกับทนายความว่า แพทย์มีความกังวลว่าเธอมีความเสี่ยงจะติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากบุ้งไม่ขับถ่ายอุจจาระเลยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อคืนประมาณ 2 ทุ่ม แพทย์จึงให้บุ้งรับประทาน ‘ยาถ่าย’ หลังกินแล้วบุ้งปวดท้องมาก ลักษณะปวดบิด ปวดอยู่นานจนน้ำตาไหล ขาสั่น และเหนื่อยมากจนกระทั่งเผลอหลับไป</p>
<p>ศูนย์ทนายความระบุอีกว่า เนติพรมีน้ำหนักตัวประมาณ 63 กก. ลดลงจากก่อนหน้านี้ประมาณ 20 กว่า ก.แล้ว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108616
 
631  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ฟองอากาศในต้มซุป ควรตักทิ้งไหม? ผู้เชี่ยวชาญมาเฉลย หลายคนเข้าใจผิดมานาน เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 02:32:14
ฟองอากาศในต้มซุป ควรตักทิ้งไหม? ผู้เชี่ยวชาญมาเฉลย หลายคนเข้าใจผิดมานาน
         


ฟองอากาศในต้มซุป ควรตักทิ้งไหม? ผู้เชี่ยวชาญมาเฉลย หลายคนเข้าใจผิดมานาน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หลายคนเชื่อว่าฟองอากาศที่ลอยขึ้นมาเมื่อเราต้มเนื้อหรือกระดูกสัตว์นั้นเป็นสิ่งสกปรกและจำเป็นต้องตักออก มาฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
         

https://www.sanook.com/news/9308562/
         
632  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ปักหลักชุมนุมหลังคนงานก่อสร้างโรงงานถูกเครนทับดับ เมียนมา 6 จีน 1 ร้องค่าเยียวย เมื่อ: 30 มีนาคม 2567 01:10:26
ปักหลักชุมนุมหลังคนงานก่อสร้างโรงงานถูกเครนทับดับ เมียนมา 6 จีน 1 ร้องค่าเยียวยาศพละ 5 ล้าน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 23:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ที่มา: ประชาสัมพันธ์ระยอง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เหตุเครนถล่มโรงงานขณะก่อสร้าง จ.ระยอง มีผู้เสียชีวิต 7 ราย แบ่งเป็นเมียนมา 6 คน จีน 1 คน ด้านคนงานปักหลักประท้วงเรียกร้องค่าเยียวยาศพละ 5 ล้านบาท ด้านเจ้าของไม่รับข้อเสนอ ตำรวจระดมกำลังเข้าไกล่เกลี่ย</p>
<p> </p>
<p>29 มี.ค. 2567 เว็บไซต์ ไทยพีบีเอส รายงานวันนี้ (29 มี.ค.) เวลา 23.00 น. ที่ผ่านมา ระบุว่า ความคืบหน้าเหตุเครนก่อสร้างในโรงงานเหล็ก จ.ระยอง เกิดพังถล่มทับคนงานเสียชีวิต โดยมีสื่อหลายสำนักรายงาน เช่น ข่าวช่อง One 31, ไทยพีบีเอส และมติชน ออนไลน์ ระบุล่าสุดเมื่อประมาณ 20.00 น. มีผู้เสียชีวิตประมาณ 7 คน โดยเป็นคนเมียนมา 6 คน และคนจีน 1 คน และมีรายงานว่า คนงานคนอื่นๆ มีการชุมนุมปิดล้อม และไม่ให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำตัวผู้บาดเจ็บออกมารักษาโรงพยาบาล และนำร่างผู้เสียชีวิตออกมา เนื่องจากต้องการเรียกร้องให้เจ้าของบริษัทจ่ายเงินเยียวยาชดเชย</p>
<p>ขณะที่ พ.ต.อ.ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผกก.สภ.ปลวกแดง ระยอง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 30 นาย ได้เดินทางเข้าไปเจรจากับแรงงานที่ปิดล้อมไม่ให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมา หลังเรียกค่าเยียวยาศพละ 5,000,000 ล้านบาท</p>
<p>สัญชัย เงินทอง หัวหน้ากองร้อยอาสา อ.ปลวกแดง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีแรงงานพม่าจำนวน 500-600 คน ยืนยันประท้วงโดยมีแกนนำและล่ามเป็นชาวเมียนมา เรียกร้องค่าเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 5,000,000 ล้านบาท ซึ่งเจรจากับเจ้าของบริษัทอยู่ในขณะนี้โดยทางเจ้าของบริษัทยืนยันจ่ายได้เพียงรายละ 500,000 บาท</p>
<p>สถานการณ์ของการเจรจายังสงบ แต่มีบางช่วง หากพูดอะไรไม่พอใจก็จะมีการลุกฮือ เกิดการชุลมุน และส่งเสียงดังออกมาด้านนอก โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานสาเหตุของการถล่มของเครน</p>
<p>ด้านนางเอ (นามสมมติ) ชาวเมียนมาที่อยู่บริเวณใกล้โรงงาน ให้สัมภาษณ์ว่า ตนอยากให้สถานการณ์จบลงโดยเร็วอยากให้ผู้เสียชีวิตและครอบครัวได้รับความยุติธรรม เพราะโดยส่วนตัวถ้าให้เลือกระหว่างเงินกับคน ก็เลือกคนมากกว่า และอยากให้ค้นหาคนให้ครบทั้งหมดโดยเร็ว</p>
<p>โดยสถานการณ์ด้านในตอนนี้มี ผกก.สภ.ปลวกแดง ได้เจรจาผ่านล่าม ไปยังกลุ่มแรงงานเมียนมา แต่ก็ไม่เป็นผล ผ่านการเจรจาไป 3 ชั่วโมง แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยทางบริษัทไม่ยอมรับข้อเสนอ จึงทำให้สถานการณ์ยังคงตึงเครียด แรงงานยังคงรวมกันปิดล้อมอยู่ภายในจุดก่อสร้าง</p>
<p>เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจากเมื่อ 17.00 น. เว็บไซต์ ไทยพีบีเอส รายงานเกิดอุบัติเหตุเครนถล่มลงมาทับคนงานในโรงงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในพื้นที่ ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง โดยอัญวุฒิ โพธิ์อำไพ เจ้าหน้าที่ร่วมกตัญญู เปิดเผยว่า เครนล้มทับคนงาน ซึ่งด้านล่างเป็นแอ่งน้ำ แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่จะนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาจากที่เกิดเหตุ ได้มีคนงานจำนวนมากทำการปิดล้อม และมีการทุบรถไม่ให้เจ้าหน้าที่นำผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่ เพราะต้องการเรียกร้องบริษัทให้จ่ายค่าชดเชยก่อน ซึ่งจุดเกิดเหตุยังมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ ประมาณ 10 คน พร้อมขอให้หน่วยงานปกครองลงพื้นที่ช่วยเหลือ</p>
<p>พ.ต.อ.ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผู้กำกับการ สภ.ปลวกแดง บอกว่า บริเวณจุดเกิดเหตุเป็นโรงงานเหล็กอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ก่อนเกิดเหตุคนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติกว่า 20 คน กำลังทำงานอยู่บนนั่งร้าน ชั้น 5 ที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร นั่งร้านเกิดทรุดตัว และโค่นลงมา ทำให้คนงานที่กำลังทำงานไม่ทันตั้งตัว หล่นมาด้านล่าง พร้อมกับโครงเหล็กนั่งร้าน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618908888_2d732a9b8c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพเหตุเครนถล่มปรากฏบนหน้าสื่อหลายสำนัก เช่น </span><span style="color:#d35400;">มติชนออนไลน์</span><span style="color:#d35400;">, </span><span style="color:#d35400;">ช่อง 8</span><span style="color:#d35400;">, </span><span style="color:#d35400;">ไทยพีบีเอส</span><span style="color:#d35400;">, และ</span><span style="color:#d35400;"> PPTV</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108618
 
633  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สภามีมติให้ส่งศาล รธน.วินิจฉัย ต้องทำประชามติก่อนแก้ รธน.หรือไม่ เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 23:38:22
สภามีมติให้ส่งศาล รธน.วินิจฉัย  ต้องทำประชามติก่อนแก้ รธน.หรือไม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 22:37</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ที่ประชุมรัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าต้องทำประชามติก่อนแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 หรือไม่ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 233 ต่อเสียงไม่เห็นด้วย 103 มีงดออกเสียง 170</p>
<p>29 มี.ค.2567 ที่ประชุมรัฐสภา มีการพิจารณาญัตติของชูศักดิ์ ศิรินิล สส.เพื่อไทย ขอให้สภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210(2) ว่ารัฐสภามีอำนาจหน้าที่เสนอแก้ไขทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน</p>
<p>ทั้งนี้ในการเปิดให้ สส.ได้ลงมติมี พลเพชร วิชิตชลชัย รองประธานสภาทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา โดยที่ประชุมมติเห็นชอบให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 233 เสียง ไม่เห็นด้วย 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง หลังจากที่ประชุมมีมติประธานรัฐสภาได้สั่งปิดประชุม</p>
<p>การส่งประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครั้งนี้สืบเนื่องจากชูศักดิ์ ศิรินิลและ สส.เพื่อไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่แต่ทางสำนังานเลขาธิการสภาแจ้งว่าไม่ใช่การเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ประธานจึงไม่สามารถบรรจุเป็นวาระการประชุมรัฐสภาได้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108617
 
634  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - น้ำแข็งแบบใส vs น้ำแข็งแบบขุ่น อันไหนละลายเร็วกว่ากัน เว็บไซต์ผู้ผลิตมาบอกเอง เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 23:32:22
น้ำแข็งแบบใส vs น้ำแข็งแบบขุ่น อันไหนละลายเร็วกว่ากัน เว็บไซต์ผู้ผลิตมาบอกเอง
         


น้ำแข็งแบบใส vs น้ำแข็งแบบขุ่น อันไหนละลายเร็วกว่ากัน เว็บไซต์ผู้ผลิตมาบอกเอง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ได้รู้สักที น้ำแข็งแบบใส หรือ น้ำแข็งแบบขุ่น อันไหนละลายเร็วกว่า เว็บไซต์ผลิตน้ำแข็งมาบอกเอง
         

https://www.sanook.com/news/9308466/
         
635  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - [Live] เมื่อรัฐขึ้นค่าแรงไม่ตรงปก กับข้อเสนอยกระดับเป็น ‘ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิ เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 22:06:39
[Live] เมื่อรัฐขึ้นค่าแรงไม่ตรงปก กับข้อเสนอยกระดับเป็น ‘ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิต’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 20:34</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/fDuVpLR6730?si=3Zs6qJQILyv2CqEs" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen=""></iframe></p>
<p>บันทึกถ่ายทอดการสนทนากับ กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตหัวหน้าคณะทำงานฯ กมธ.การแรงงาน ว่าด้วยมุมมองหลังคณะกรรมการค่าจ้าง เคาะขึ้นค่าแรง 400 บาทต่อวัน แต่เป็นเฉพาะสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม 4 ดาว มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป และเพียงในพื้นที่ 10 ตำบล-เขตท่องเที่ยว ทั้งที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ เคยตอบกับสภาเมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 ยืนยันว่าตั้งเป้าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทโดยเร็วที่สุด และช่วงหาเสียงยืนยันว่าจะขึ้นทันที 400 บาทในปีหน้า</p>
<p>พร้อมทั้งชวนคุยถึงข้อเสนอ ค่าแรงขั้นต่ำบนหลักการ 'living wage' ที่ไม่ควรต่ำกว่า 21,688.75 บาทต่อเดือน หรือ 723 บาทต่อวัน กรณีผู้ที่ไม่มีสมาชิกพึ่งพิงในครัวเรือน รวมทั้งมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล่าสุดที่ระบุว่ากรณีบริษัทแพลตฟอร์มไม่นับ “ไรเดอร์” เป็นลูกจ้างทั้งที่บริษัทมีอำนาจควบคุมและลงโทษเหมือนเป็นลูกจ้างไม่ใช่หุ้นส่วนอย่างที่บริษัทอ้าง ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน ผิดกฎหมายแรงงานและประกันสังคม เสนอให้แก้ไขปรับค่าแรงและสวัสดิการต่างๆ เหมือนเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภาhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108614
 
636  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยลาววันนี้ 29 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 20:59:32
หวยลาววันนี้ 29 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาววันนี้ 29 มีนาคม 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 29/03/67 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 29 มี.ค. 67
         

https://www.sanook.com/news/9307318/
         
637  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสม. แนะ ราชทัณฑ์ แก้ระเบียบตัดผมผู้ต้องขังที่คดีไม่สิ้นสุด ต้องสอดคล้องกับเพ เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 20:36:08
กสม. แนะ ราชทัณฑ์ แก้ระเบียบตัดผมผู้ต้องขังที่คดีไม่สิ้นสุด ต้องสอดคล้องกับเพศวิถี ศาสนาผู้ต้องขัง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 19:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม.เสนอให้ราชทัณฑ์แก้ระเบียบตัดผมผู้ต้องขัง ไม่ตัดผมผู้ต้องขังในคดีที่ยังไม่สิ้นสุดตามหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่ายังไม่มีความผิด รวมถึงแก้ระเบียบให้ LGBTQ สามารถไว้ผมตามเพศสภาพได้ กสม.ยังชี้ว่าการตัดผมกรณีชาวบางกลอยที่ถูกขังทั้งที่ไม่ยังไม่มีคดีเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ</p>
<p>29 มี.ค. 2567 วสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่ง ระบุว่า ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและเป็นการปฏิบัติไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ โดยเฉพาะกรณีผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ</p>
<p>กสม. เห็นว่า ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565 ที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อพิจารณาแนวความคิดในต่างประเทศ เช่น เรือนจำกลางของสหรัฐอเมริกา เห็นว่ามีแนวคิดไปในแนวทางเดียวกันกับเหตุผลของกรมราชทัณฑ์ของไทยที่การตัดผมยังคงมีความจำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในเรือนจำ แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญและจำกัดสิทธิผู้ต้องขังเกินไป ทำให้การพัฒนาพฤตินิสัยไม่เป็นตามวัตถุประสงค์</p>
<p>กสม. เห็นว่า ปัญหาการตัดผมผู้ต้องขัง ผู้กำหนดนโยบายควรพิจารณาความสมดุลระหว่าง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุขอนามัยในสภาพแวดล้อมของเรือนจำกับการเคารพสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงเห็นควรแบ่งการพิจารณาผู้ต้องขังออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้</p>
<p>กลุ่มที่ 1 ผู้ต้องขังซึ่งมีฐานะเป็นนักโทษเด็ดขาด ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  กสม. เห็นว่า การจำกัดเสรีภาพในการไว้ทรงผมดังกล่าว ถือเป็นมาตรการรักษาสุขอนามัยและความสงบเรียบร้อยภายในสภาพแวดล้อมที่จำกัดด้วยทรัพยากรตามบริบทของเรือนจำ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคและความปลอดภัยในเรือนจำ อีกทั้งนักโทษเด็ดขาดเป็นบุคคลที่ต้องรับโทษจำคุกจริงตามที่ศาลมีคำพิพากษาที่สุดแล้ว ดังนั้น การถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการจึงเป็นการเหมาะสมและไม่เกินกว่าเหตุบนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p>
<p>กลุ่มที่ 2 ผู้ต้องขังซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาคดี แม้จะมีการกำหนดระเบียบไว้แตกต่างกับนักโทษเด็ดขาดแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) รวมทั้ง รัฐธรรมนูญ 2560 จึงเห็นควรยกเลิกการตัดผมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาคดี และให้ผู้ต้องขังมีสิทธิและเสรีภาพพิจารณาความเหมาะสมของทรงผมตนเองได้</p>
<p>กลุ่มที่ 3 ผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ กรมราชทัณฑ์ได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง ปี 2565 เพิ่มเติมรายละเอียด โดยเปิดช่องให้ผู้ต้องขังสามารถตัดผมตามเพศวิถีได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ถือเป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อย่างไรก็ดี กสม. เห็นว่าเมื่อกรมราชทัณฑ์มีความพร้อมมากขึ้น ควรพัฒนากฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวความคิดเพศวิถี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายในเรือนจำ</p>
<p>กลุ่มที่ 4 ผู้ต้องขังที่มีวัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา ระเบียบกรมราชทัณฑ์จะให้ตัดตามศาสนาได้ แต่มีกรณีเมื่อปี 2564 ชาวบ้านบางกลอยถูกจับกุมและเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ตัดผมทั้งที่ไม่มีคดีหรือไม่มีความผิดอีกทั้งการไว้ผมของชาวบางกลอยยังเป็นความเชื่อและวิถีทางวัฒนธรรมของกลุ่ม กสม. เห็นว่า การตัดผมผู้ต้องขังดังกล่าวไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาพฤตินิสัย และกระทบต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนา</p>
<p>กสม.เห็นว่ากรมราชทัณฑ์ควรพิจารณาเรื่องการตัดผมให้เป็นไปตามหลักความเชื่อหรือศาสนาหรือประเพณีนิยมของผู้ต้องขัง ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565 และให้ยกเลิกการตัดผมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาคดี โดยให้ผู้ต้องขังมีสิทธิและเสรีภาพพิจารณาความเหมาะสมของทรงผมตนเองได้</p>
<p>รวมทั้งให้พิจารณาแก้ไขระเบียบที่ใช้บังคับในปัจจุบันให้สอดคล้องกับแนวความคิดเพศวิถี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถมีทางเลือกในการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายในเรือนจำ เช่น แม้ผู้ต้องขังยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ แต่หากได้รับฮอร์โมนเพศมาอย่างต่อเนื่องก่อนเข้าสู่เรือนจำ ควรได้รับโอกาสให้ใช้ชีวิตภายในเรือนจำให้สอดคล้องกับเพศวิถีของตน เป็นต้น รวมถึงให้กำชับ เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้เคารพหลักการสำคัญข้างต้นเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบดังกล่าวอย่างเคร่งครัดด้วย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108613
 
638  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เคสแรกยุค 'เศรษฐา' 2 สมาชิก P-move รับทราบข้อหา ฐานฝ่าฝืนห้ามชุมนุม 50 เมตรรอบทำเนี เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 19:04:12
เคสแรกยุค 'เศรษฐา' 2 สมาชิก P-move รับทราบข้อหา ฐานฝ่าฝืนห้ามชุมนุม 50 เมตรรอบทำเนียบ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 16:08</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: (ซ้าย) จำนงค์ หนูพันธ์ และ (ขวา) ธีรเนตร ไชยสุวรรณ (ภาพจากเครือข่าย)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>2 สมาชิก P-move รับทราบข้อหาฝ่าฝืนห้ามชุมนุม 50 เมตรรอบทำเนียบรัฐบาล จากการชุมนุม #พีมูฟทวงสิทธิ เดือน ก.พ. 2567 ถือเป็นเคสแรกยุค 'เศรษฐา' เบื้องต้น ทั้งคู่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และเรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ชี้ลิดรอนสิทธิ ปชช.</p>
<p> </p>
<p>29 มี.ค. 2567 องค์กร Protection international (PI) รายงานวานนี้ (28 มี.ค.) ว่า ที่สถานีตำรวจนครบาลดุสิต ตัวแทนของขบวนการภาคประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้เดินทางเข้าร่วมให้กำลังใจ ธีรเนตร ไชยสุวรรณ ประธานพีมูฟ และจำนงค์ หนูพันธ์ ที่ปรึกษาพีมูฟ ในกรณีที่ทั้ง 2 คนถูกสถานีตำรวจนครบาลดุสิต ออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ในข้อหาเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม ฝ่าฝืนคำสั่งประกาศ 50 เมตร รอบทำเนียบรัฐบาล </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618050506_2d172b0bf7_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พีมูฟรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ดุสิต (ภาพจากทางเครือข่าย)</span></p>
<p>สมาชิกพีมูฟทั้ง 2 คนได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเอง พร้อมด้วยทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)  และเจ้าหน้าที่จากองค์กร Protection International </p>
<p>สำหรับคดีดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจากพีมูฟ ได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาตามที่สัญญากันไว้โดยการชุมนุมครั้งล่าสุดของพีมูฟเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5-28 ก.พ. 2567 รวมเวลาทั้งสิ้น 24 วัน </p>
<p>ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการชุมนุม ได้มีหมายเรียกผู้ต้องหาส่งมาถึงธีรเนตร ไชยสุวรรณ โดยเป็นคดีระหว่าง พ.ต.ท.ชัยธัช เชียงทา ผู้กล่าวหา กับ จำนงค์ หนูพันธ์กับพวกผู้ถูกกล่าวหา  โดยมีข้อกล่าวหา คือ เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม ฝ่าฝืนคำสั่งประกาศ 50 เมตรรอบทำเนียบรัฐบาล ในคดีอาญา สน.ดุสิตที่ 41/2567, 63/2567 และ 64/2567</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำตามกระบวนการทุกอย่าง กลับถูกฟ้อง</span></h2>
<p>ทั้งนี้ หลังใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมงในการรับทราบข้อกล่าวหา ธีรเนตร เปิดเผยความรู้สึกว่า เบื้องต้น เขาคิดว่า รัฐบาลที่อ้างตัวว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาจากประชาธิปไตยแล้วไม่น่ามาฟ้องร้องหรือแจ้งข้อกล่าวหาประชาชนแบบนี้ และการมาชุมนุมเรียกร้องของพีมูฟก็เป็นสิ่งที่เราทำและยืนยันที่จะทำมาโดยตลอด เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะส่งเสียงถึงผู้มีอำนาจให้มาแก้ปัญหาให้กับประชาชน </p>
<p>ประธานพีมูฟ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการประกาศชุมนุมเราก็ได้แจ้งการชุมนุมไว้แล้ว ด้วยการชุมนุมที่ยืดเยื้อและรัฐบาลแก้ไขปัญหาช้า แต่ก็มีการแก้ปัญหาเป็นระยะตามสภาพของแต่ละกระทรวงซึ่งเราก็ไปแจ้งขยายเวลาการชุมนุมแล้ว แต่สุดท้ายแล้วพอหลังจากเลิกชุมนุมไปวันที่ 28 มี.ค. 2567 ประมาณอาทิตย์กว่าๆ ก็มีหมายไปถึงบ้านตน</p>
<p>จำนงค์ เปิดเผยความรู้สึกหลังรับทราบข้อกล่าวหาเสร็จสิ้นแล้วเช่นกันว่า เรื่องการฟ้องร้องพวกตนในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย และเราก็ยืนย้นมาโดยตลอดว่าเรามาทวงสิทธิในเรื่องที่รัฐบาลรับปากไว้และไม่ได้ทำตาม ตั้งแต่ปีที่แล้ว รัฐบาลทำงานมาเจ็ดเดือนแล้วแต่ยังไม่ได้ทำงานอะไรที่แก้ไขปัญหาให้กับงประชาชน หลายเรื่องที่เรามาตามไม่ใช่เราทำเพื่อพีมูฟอย่างเดียว แต่เราทำเพื่อพี่น้องคนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น เรื่องรัฐสวัสดิการ เรื่องการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญแห่งชาติซึ่ง และในอีกหลายๆ ประเด็น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เห็นตรงกันต้องยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ</span></h2>
<p>ธีรเนตร กล่าวย้ำว่า ตนคิดว่ากระบวนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนเหล่านี้รัฐบาลควรจะยกเลิกกฎหมายนี้ออกไป เรายังยืนยันเหมือนเดิมว่า พ.ร.บ. ชุมนุมไม่ได้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยการปิดปากพี่น้องหรือปิดปากคนที่อยากแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ หรือปิดปากคนที่มีความเดือดร้อนรัฐบาลควรที่จะยกเลิก พ.ร.บ.นี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618055691_49d932cdb5_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) จำนงค์ หนูพันธ์ และ (ขวา) ธีรเนตร ไชยสุวรรณ (ภาพจากเครือข่าย)</span></p>
<p>"เรายืนยันในแนวทางของเราว่าสิ่งที่เราเรียกร้องในการชุมนุมเป็นแนวทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาของพี่น้องได้ เราจะปักหลักที่จะชุมนุมต่อเพื่อให้รัฐบาลลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของพี่น้องและนำไปสู่บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง" ประธานพีมูฟ กล่าว</p>
<p>ที่ปรึกษาพีมูฟ กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ตนรู้สึกผิดหวัง เพราะตนเคยโดนคดีใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สมัยรัฐบาลที่แล้วประมาณ 8 คดี แต่พอมาเป็นรัฐบาลชุดนี้รู้สึกว่าจะเป็นกรณีแรกของภาคประชาชนที่โดน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เขาเลยผลักดันว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มันไม่มีประโยชน์กับประชาชน จะเสนอคณะกรรมาธิการพัฒนาการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มี พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้ยกเลิก เพราะก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีแผนการ กฎในการแก้ไขปัญหาผู้ชุมนุมอยู่แล้ว พอมี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ก็เป็นการเพิ่มภาระ เพิ่มปัญหาให้กับประชาชนที่ออกมาเรียกร้องความเดือดร้อนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเรื่องข้อห้ามชุมนุมเกินรัศมี 50 เมตรรอบทำเนียบรัฐบาลยิ่งไม่สมควรมี เพราะปัญหาต่างมันระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือกระทรวงแก้ไม่ได้แล้วถึงต้องมาที่ส่วนกลางทำเนียบรัฐบาล ดังนั้น ข้อห้ามการชุมนุมเกินรัศมี 50 เมตรของทำเนียบรัฐบาลจึงไม่ควรมี ตนยืนยันว่า พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ควรถูกยกเลิกไปในรัฐบาลชุดนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำเนียบควรใช้เป็นสถานที่แก้ไขปัญหาประชาชนอย่างมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ไม่ควรใช้คุกคามดำเนินคดี</span></h2>
<p>สุธีรา เปงอิน ตัวแทนจาก Protection International ระบุว่า การต่อสู้ของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในพีมูฟ เป็นการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาในเรื่องสิทธิในที่ดิน ทรัพยากร รัฐสวัสดิการ และปัญหาเรื่องปากท้อง  ซึ่งพีมูฟ เรียกร้องเพื่อให้เกิดการแก้ไขมาทุกรัฐบาล แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ และเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ การดำเนินทางด้านนโยบายก็ต้องเริ่มใหม่เช่นกัน </p>
<p>ตัวแทนจาก PI กล่าวว่า  รัฐบาลเศรษฐา ทำงานมาแล้วกว่า 7 เดือน พีมูฟชุมนุมแล้ว 3 ครั้ง กว่า 40 วัน เพื่อให้รัฐบาลเศรษฐาดำเนินการการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และนำนโยบาย 10 ด้านของพีมูฟ ให้บรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหมายรวมถึงนโยบายด้านการคืนสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ แก้ไขกฎหมายและนโยบายด้านป่าไม้-ที่ดิน รัฐสวัสดิการอีกด้วย ก็ยังไม่มีความคืบหน้า แต่กลับถูกคุกคามคือ หมายเรียกในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และเป็นการโจมตีการทำงานที่ชอบธรรมของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน</p>
<p>สุธีรา กล่าวเพิ่มเติมว่า การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่งมือที่สำคัญในการปกป้องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นสิทธิขั้นฐานที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ผ่านมาการชุมนุมของพีมูฟมีการแจ้งการชุมนุมโดยตลอด และทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ที่ใช้ประชุมของคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือ แก้ไขปัญหา หรือกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ดังนั้น จึงควรเร่งรัดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยที่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่มาฟ้องคดีประชาชนในลักษณะนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทนายเผยให้การปฏิเสธ ไม่กังวลเรื่องคดีความ</span></h2>
<p>วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) กล่าวว่า วันนี้โดยหลักคือเราก็ให้การปฏิเสธและหลังจากนี้เราจะยื่นให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมภายในวันที่ 9 เม.ย. 2567  หลังจากเรายื่นคำให้การเพิ่มเติมเสร็จแล้วทางพนักงานสอบสวนจะนัดส่งสำนวนกับตัวผู้ต้องหาให้ทางอัยการในวันที่ 23 เม.ย. 2567 เพื่อที่อัยการจะพิจารณาว่าจะมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องในคดีนี้</p>
<p>ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) กล่าวว่า โดยหลักคดีนี้เป็นการใช้เสรีภาพในแสดงออก คือ การชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและโดยพฤติการณ์ในการชุมนุมก็ไม่ได้มีเหตุการณ์ที่จะเกิดความวุ่นวายมันเป็นการชุมนุมเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านที่เขาได้รับความเดือดร้อนซึ่งทำได้ตามกฎหมาย แต่ในการแจ้งข้อกล่าวหาก็จะเป็นเรื่องของเทคนิคเล็กน้อยของตำรวจที่ตนอ่านดูโดยตำรวจได้อ้างว่าการชุมนุมได้เข้าไปใกล้ทำเนียบอาจจะเกิดความไม่สะดวกหรือความไม่ปลอดภัยในการอารักขาในการดูแลเลยออกกฎมาว่าห้ามเข้าใกล้ 50 เมตร แต่จริงๆ ถ้าเราอ่านกฎหมายการชุมนุมมันสามารถชุมนุมได้ในพื้นที่ของทำเนียบ ถ้ามันไม่มีเหตุรุนแรงหรือเหตุที่มันจะเกิดความไม่สงบและอยู่ในพื้นที่ที่เขาจัดให้มีการชุมนุมก็สามารถชุมนุมได้</p>
<p>"ถ้าเราดูจากรูปคดีก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะเราใช้สิทธิตามกฎหมาย และเมื่อดูพฤติการณ์ประกอบก็ไม่ได้มีเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินราชการหรือความสงบสุขของประชาชนแถวนั้น และการชุมนุมก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และวัตถุประสงค์ของเขาก็ชัดเจนว่าเขามาเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก" วีรวัฒน์ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'พีมูฟ' แถลงถึงรัฐบาลพลเรือน หยุดใช้ กม.ทหารปิดปากประชาชน</span></h2>
<p>วันเดียวกันนี้ พีมูฟ ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง "หยุดปิดกั้นเสรีภาพประชาชน หยุดใช้กฎหมายทหารในรัฐบาลพลเรือน" โดยมีใจความสำคัญบางส่วนระบุว่า จากการชุมนุมพีมูฟทวงสิทธิที่ผ่านมา เราได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ และระหว่างการชุมนุมที่มีแนวโน้มต้องปักหลักชุมนุมนานกว่าเดิม เราก็ได้แจ้งขยายระยะเวลาการชุมนุมไป ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ชุมนุมพีมูฟและตัวแทนรัฐบาลได้มีการประชุมหารือร่วมกันอยู่เป็นระยะจนได้แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล จึงได้ยุติการชุมนุม</p>
<p>อำนาจต่อรองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประชาชนคือการเรียกร้องบนท้องถนนเพื่อให้รัฐบาลเปิดการเจรจา การชุมนุมโดยสงบคือสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นที่ที่ประชาชนคนยากคนจนพึงมีเพื่อให้รัฐบาลเห็นหัว เมื่อการใช้สิทธิกลับผิดกฎหมาย เราจึงขอประณามรัฐบาลโดยการนำของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ยังเดินหน้าละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมอย่างสันติ และยังคงบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 อย่างไร้มนุษยธรรม</p>
<p>กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 163 คดี สำหรับคดีของพวกเราพีมูฟนั้น นับเป็นการถูกดำเนินคดีครั้งแรกจากการชุมนุมในรัฐบาลเศรษฐา บรรยากาศการบังคับใช้กฎหมายปิดปากประชาชนเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในรัฐบาลที่อ้างตัวว่ามาจากการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย และเป็นรัฐบาลพลเรือน</p>
<p>พีมูฟจึงขอเรียกร้องให้ต้องยกเลิกคดีความนี้โดยเร่งด่วน และเรายืนยันว่าจะเคลื่อนไหวในชั้นคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร และช่องทางอื่นๆ เพื่อให้ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนนี้ และเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะในที่สุด</p>
<p>ท้ายที่สุดนี้ เรายืนยันว่า สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 44 และมาตรา 34 รวมถึง ICCPR ที่ไทยร่วมเป็นภาคีด้วยก็ตาม แต่หลังการชุมนุมยุติลง การมีหมายเรียกมายังตัวแทนพีมูฟด้วยข้อกล่าวหาจาก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะเช่นนี้นั้น ชวนให้น่ากังวลใจอย่างยิ่งว่า หลังจากนี้เสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิในการแสดงความเห็นของประชาชนภายใต้รัฐบาล 'เศรษฐา ทวีสิน' จะดำเนินไปในทิศทางใด ขอเชิญชวนประชาชนจับตาร่วมกัน</p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">แถลงการณ์ P-move</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53618058421_76e31d3754_b.jpg" /></p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108610
 
639  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดในญี่ปุ่น ผู้ป่วยพุ่ง 517 ราย อย่าประมาทแม้แผลเล็กๆ เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 18:27:50
โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดในญี่ปุ่น ผู้ป่วยพุ่ง 517 ราย อย่าประมาทแม้แผลเล็กๆ
         


โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดในญี่ปุ่น ผู้ป่วยพุ่ง 517 ราย อย่าประมาทแม้แผลเล็กๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp; โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดในญี่ปุ่น ผู้ป่วยพุ่ง 517 ราย แนะวิธีสังเกต-ป้องกัน อัตราการตายสูง แต่รู้เร็วรักษาได้
         

https://www.sanook.com/news/9307886/
         
640  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสม.ชี้บริษัทไม่นับ ‘ไรเดอร์’ เป็นลูกจ้าง ผิดกม.แรงงานเป็นการละเมิดสิทธิ ให้ปร เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 17:32:22
กสม.ชี้บริษัทไม่นับ ‘ไรเดอร์’ เป็นลูกจ้าง ผิดกม.แรงงานเป็นการละเมิดสิทธิ ให้ปรับค่าแรง-สวัสดิการ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-29 16:50</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม.ชี้บริษัทแพลตฟอร์มไม่นับ “ไรเดอร์” เป็นลูกจ้างทั้งที่บริษัทมีอำนาจควบคุมและลงโทษเหมือนเป็นลูกจ้างไม่ใช่หุ้นส่วนอย่างที่บริษัทอ้าง ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน ผิดกฎหมายแรงงานและประกันสังคม เสนอให้แก้ไขปรับค่าแรงและสวัสดิการต่างๆ เหมือนเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย</p>
<p>29 มี.ค.2567 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รายงานถึงมติที่ประชุมต่อประเด็นมีผู้ร้องเรียนว่าบริษัทแพลตฟอร์มจ้างงานไรเดอร์โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคมและแรงงานสัมพันธ์ ด้วยการทำให้ไรเดอร์เป็นหุ้นส่วนและไม่ถือว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง อีกทั้งยังให้ไรเดอร์รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำงานเองเช่น ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อมสภาพรถ ค่าเครื่องแบบหรืออุปกรณ์</p>
<p>สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า กสม. ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 74 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและให้มีงานทำ และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ ขณะที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในการทำงาน และสิทธิของทุกคนที่จะมีสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ รวมทั้งสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม</p>
<p>จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ไรเดอร์ได้รับค่าตอบแทนหลักเป็นค่ารอบซึ่งเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามผลงานที่ทำได้ตามอัตราที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลกำหนด โดยไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้กำหนดให้ไรเดอร์ได้รับสิทธิในการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เนื่องจากผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับไรเดอร์ไม่มีลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน แต่ให้สิทธิพิเศษอื่น ๆ แทน เช่น ประกันภัย สินเชื่อจากสถาบันการเงิน การฝึกอบรม ส่วนลดในการซื้อสินค้าต่าง ๆ</p>
<p>อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชา
ไรเดอร์โดยตรงด้วยการกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับในการเข้าและออกงาน การแต่งกาย และการจัดส่งสินค้า ซึ่งหากไรเดอร์ไม่ปฏิบัติตามจะมีการลงโทษด้วยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการทำงานบางประการ เช่น วิธีการจ่ายงานและค่าตอบแทน ซึ่งไรเดอร์จำเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิต่อรอง</p>
<p>นอกจากนั้นไรเดอร์ยังไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหรือมีส่วนร่วมในกำไรหรือขาดทุนของผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งต้องหาอุปกรณ์ในการทำงานและต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเองในกรณีเกิดอุบัติเหตุ การทำงานของไรเดอร์จึงไม่ใช่หุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ของผู้ประกอบการ</p>
<p>ไรเดอร์จึงเข้าลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาจ้างทำของ ไรเดอร์จึงมีฐานะเป็นลูกจ้างและผู้ประกอบกิจการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นนายจ้าง ตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 5  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541</p>
<p>นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแนวคำพิพากษาศาลในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีคำพิพากษากรณีนี้ในทำนองเดียวกันว่า ความสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้ที่ทำงานให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม
เป็นความสัมพันธ์ของการอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายจ้างที่มีอำนาจสั่งการและลงโทษ</p>
<p>ดังนั้น ผู้ที่ทำงานให้บริการผ่านแพลตฟอร์มจึงไม่ได้ให้บริการในฐานะผู้ประกอบอาชีพอิสระ แต่มีสถานะทางกฎหมายเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการเจ้าของแพลตฟอร์ม การที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ถูกร้อง ปฏิบัติไปในทางเดียวกันว่า ไรเดอร์ไม่ใช่พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ไรเดอร์ไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงาน อีกทั้งไม่มีหลักประกัน ในเรื่องค่าตอบแทน รวมถึงไม่ได้รับสิทธิในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 จึงมีข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ถูกร้องทั้งสี่ราย และกระทรวงแรงงาน สรุปได้ดังนี้</p>
<p>(1) ให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดำเนินการให้ไรเดอร์ได้รับสิทธิและสวัสดิการ
ที่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสำรวจสภาพการจ้างงานในปัจจุบันว่ามีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่เป็นไปตามกฎหมายกรณีถือว่าไรเดอร์มีสถานะเป็นลูกจ้าง เช่น หลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้าง ระยะเวลาทำงาน การกำหนดวันลา วันหยุด เป็นต้น และกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อให้ไรเดอร์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว เช่น การกำหนดอัตราค่าจ้างหรือค่ารอบและค่าตอบแทนอื่นให้กับไรเดอร์ได้รับไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และกำหนดกรอบเวลาการทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด</p>
<p>(2) ให้กระทรวงแรงงาน เร่งศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายจากการที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลจะต้องปฏิบัติต่อไรเดอร์ในฐานะเป็นนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมาย และกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองให้การใช้แรงงานไรเดอร์เป็นไปด้วยความเป็นธรรม โดยอาจกำหนดกฎกระทรวงให้งานไรเดอร์ที่ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้รับการคุ้มครอง ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในลักษณะเดียวกันกับกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 และนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวมากำหนดในกฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองการใช้แรงงานไรเดอร์ให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงานและการประกันสังคมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป</p>
<p>นอกจากนี้ให้ซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้ทราบถึงนิติสัมพันธ์
ที่ถูกต้องและปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดนโยบายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและสำนักงานประกันสังคมมีมาตรการควบคุม กำกับ และติดตามให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลทุกรายปฏิบัติให้ถูกต้องในเรื่องสภาพการจ้างงานของไรเดอร์ต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะลูกจ้างด้วย</p>
<p>ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงาน ศึกษาความเปลี่ยนแปลงหรือรูปแบบแรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รองรับในระยะยาวต่อไป เช่น การแก้ไขนิยามของนายจ้าง ลูกจ้างและสัญญาจ้าง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และนิยามการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108611
 
หน้า:  1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 1123
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.054 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กันยายน 2566 22:29:47