[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 12 กันยายน 2553 22:02:14



หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : จิตกับวิทยาศาสตร์ทางจิตคืออะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 12 กันยายน 2553 22:02:14
(http://mymindonbooks.com/wp-content/uploads/2008/04/tucson.JPG)


จิตกับวิทยาศาสตร์ทางจิตคืออะไร?

ได้พูดได้เขียนคำว่าจิตและวิทยาศาสตร์ทางจิต (new science of consciousness) มาตั้งแต่ผู้เขียนเริ่มพูดกับเขียนลงในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ใหม่ๆ แต่ไม่เคยเอาคำเหล่านี้มานิยามหรืออธิบายขยายต่อไปอย่างเป็นกิจจะลักษณะว่าคำคำนี้ - ที่ผู้เขียนและนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่เมืองนอกเข้าใจนั้น จริงๆ แล้วในโลกแห่งวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมที่อยู่กับเรามานานแสนนานจนเราเคยชินว่ามันคืออะไร? หรือหมายความว่าอย่างไร? - เพราะว่ากันตามความจริงคำว่าจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่าวิทยาศาสตร์ทางจิตนั้น “ไม่มี” เป็นคำที่นำมาใช้ใหม่ๆ ในหมู่นักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ที่มีมากขึ้นและมากขึ้นอย่างรวดเร็วมากๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่เมืองนอกหลายๆ คนคิดว่าเป็นเพราะเรามีควอนตัมเม็คคานิกส์ หรือ ฟิสิกส์ใหม่ที่นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่มากๆ ทั้งเก่าและใหม่ในปัจจุบันนี้ และนักเคมีส่วนหนึ่งที่มีจำนวนไม่น้อยยอมรับ แต่นักชีววิทยานีโอ-ดาร์วีนิซึ่มและนักชีวเคมีส่วนใหญ่มากๆ ไม่ยอมรับ หรืออาจจะไม่แยแสสนใจมากกว่า และควอนตัมเม็คคานิกส์ ทั้งๆ ที่มีการค้นพบกว่า 80 ปีแล้ว แต่แม้แต่ในวันนี้ก็ยังไม่มีการยอมรับกันเป็นทางการในระหว่างสังคมของมนุษย์โลก สังเกตได้จากการไม่พูดถึงมัน และในประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยเราจนกระทั่งวันนี้ และมักไม่เข้าใจหรือเข้าใจอย่างผิดๆ ทั้งๆ ที่มันมีความถูกต้องกว่าวิทยาศาสตร์เก่าเป็นไหนๆ แต่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างบน ในปัจจุบันแม้นักชีววิทยาเองจำนวนไม่น้อย รวมทั้งสมาชิกของสมาคมวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NAS) ซึ่งมักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต และนักประสาทวิทยาศาสตร์ที่แทบทั้งหมดเป็นนักวิจัยของสถาบันใหญ่ๆ ของโลกหลายต่อหลายคนทีเดียวที่หันไปยอมรับควอนตัมเม็คคานิกส์และวิทยาศาสตร์ทางจิตอย่างรวดเร็วและทันทีทันใด หลังจากได้ศึกษาจนเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว นั่น-ผู้เขียนหมายถึงนักวิทยาศาสตร์เพื่อวิทยาศาสตร์จริงๆ ของเมืองนอก ส่วนนักวิทยาศาสตร์บ้านเราหรือประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาใหม่ๆ ของเอเชียที่ไม่อยากจะพูดถึง รวมทั้งนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์แท้ๆ ได้ถามเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “มีวิทยาศาสตร์ทางจิตด้วยหรือ?” บทความวันนี้จึงใคร่ขออธิบายคำเหล่านี้ตามที่นักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่เข้าใจและใช้เป็นประจำอยู่ในปัจจุบัน


จริงๆ แล้วคำว่าวิทยาศาสตร์ทางจิต (science of consciousness) หากเรารวมคำว่าจิตที่กำลังวิวัฒนาการสู่สภาวะจิตวิญญาณ (spiritualization of consciousness) เราอาจจะย้อนกลับไปที่อับราฮัม  มาสลอฟ นักจิตวิทยาชื่อเสียงโด่งดังที่นักจิตวิทยาทุกคนรู้จักดี ผู้วางพื้นฐานของวิชาจิตวิทยาจิตวิญญาณ  (spiritual psychology) และต่อมาสถาบันที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง (Institute of Noetic Science) ได้ตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางจิตขึ้นมาในปี 1973


มาริโอ บูเรการ์ด นักประสาทวิทยาศาสตร์ นักวิจัยที่มีชื่อเสียง อมิต โกสวามี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นักควอนตัมฟิสิกส์ที่เป็นนักเขียนที่มีชื่อมากๆ รวมทั้งนักปรัชญาเคน วิลเบอร์ ที่ผู้อ่านหลายๆ  คนคงรู้จักดี ต่างคนได้สะท้อนความคิดของนักฟิสิกส์ใหม่ๆ มีนักวิทยาศาสตร์ทางจิตหลายต่อหลายคนที่มีความคิดเห็นเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือคิดเองว่า ทำไม? เราไม่เชื่อพระพุทธเจ้าที่บอกว่าจักรวาลนี้ก็มีแต่รูปกับนามเท่านั้น หรือกายกับจิต ซึ่งก็คือภายนอกกับภายในที่ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งทุกๆ  ปรากฏการณ์ต้องก่อประกอบมีขึ้นมา ฉะนั้น จึงน่าที่จะ “มี” ธรรมชาติทั้งภายนอก - ที่ตั้งอยู่ข้างนอกหรือสิ่งที่ถูกสังเกตแยกออกไปจากตัวเรา - และภายใน - ที่อยู่ข้างในผู้สังเกต ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างต่างล้วนติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวมเป็นบูรณาการ - ทุกๆ คนที่กล่าวนามมาแล้ว ซึ่งเชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตด้วยได้พูดในหนังสือของตน (Mario Beuregard : Spiritual  Brain, 2007 ; Amit Goswami : Creative Evolation, 2008 ; Ken Wilber ; 2005) ไว้ในทำนองเดียวกันว่ามีข้างนอกก็ต้องมีข้างใน มีวิวัฒนาการของจิตสู่จิตวิญญาณก็ต้องมีรูปแบบของที่มาหรือต้นตอของการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ใหม่ มาริโอ บูเรการ์โล กล่าวว่า ต้องระลึกเสมอว่า วิทยาศาสตร์วัตถุนิยมเทียมหรือจอมปลอม (materialist scientism) ซึ่งผู้เขียนรวมเทคโนโลยีไว้ด้วยนั้นหาใช่วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงไม่


ผู้เขียนได้พูดได้เขียนมาตลอดเวลาในช่วงหลังๆ นี้ว่า จิตไม่ใช่สมอง แล้วก็สมองไม่ใช่จิต นั่น-เป็นคำพูดของนักวิทยาศาสตร์หลายคน โดยเฉพาะหมอจอห์น เอ็คเคิลส์ ที่ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งแต่ก่อนนี้ ก่อนทศวรรษที่ 1970 แทบจะพูดได้ว่าไม่มีใครเชื่อหรือแม้แต่จะมีความสงสัยอะไรเลยว่าจิตไม่ใช่สมอง ซึ่งเป็นความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคน โดยเฉพาะนักชีววิทยาและแพทย์ส่วนใหญ่มากๆ รวมทั้งนักวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์แทบทั้งหมดเลยเชื่อหรือไม่พูด เกือบทุกคนตามหากันแต่ “เอ็นแกรม” ที่เข้าใจว่าเป็นตัวแสดงสภาวะของจิตรู้ของสมองในทางกายภาพ การค้นหาและการวิจัยที่สูญเปล่าทั้งเงินและเวลา จนกระทั่งวิสเดอร์ เพ็นฟีลด์ ศัลยแพทย์ชื่อดังของแคนาดาที่บุกเบิกการรักษาโรคทางสมองโดยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นสมองโดยตรงและหา “เอ็นแกรม” ไปด้วยพร้อมๆ กับการักษาผู้ป่วย เขาได้หาที่ตั้งของจิตในสมองอยู่นานจนมั่นใจว่ามันไม่มีจิตในสมองแน่ๆ วันหนึ่งเมื่อเขาพบกับจอร์จ วอสด์ นักชีววิทยารางวัลโนเบล - ซึ่งไม่เหมือนนักชีววิทยาทั้งหลาย คือไม่เชื่อว่าจิตมาจากสมอง กลับเชื่อเหมือนกับที่ผู้เขียนเชื่อในศาสนาพุทธและลัทธิพระเวทว่า จิตน่าจะมีมาก่อนที่จักรวาลจะได้อุบัติขึ้น หรือก่อนจะมีบิกแบ็งเสียอีก นั่นคือมันมีจิตก่อนจักรวาลที่ซึมแทรกอยู่ทุกหนแห่ง และก็เพราะมีจิตมาก่อนจักรวาลอันนี้นั่นเอง ชีวิตและสุดท้ายก็มนุษย์ - ตัวแทนของชีวิตทั้งหมด - ถึงได้มีขึ้นมาได้ ผู้เขียนถึงได้เชื่อมั่นอย่างมั่นใจที่สุดว่า มันจะมีอยู่ 2 ประเด็น ซึ่งรากฐานจริงๆ คือประเด็นเดียวกัน เป็นแต่เพียงก่อนและหลัง 2  ประเด็นที่ว่านั้นก็คือ มันมีจิตก่อน แล้วถึงมีชีวิตและมนุษย์ตามมา ผู้เขียนถึงได้บอกว่า หัวเด็ดตีนขาดจักรวาลนี้จะต้องมีตัวแทนของชีวิตหรือมนุษย์คู่กัน โดยจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ แต่จะมีเท่าไหร่หรือเหลือกี่เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นคนละประเด็น และทั้งหมดนั้นจะต้องมีวิวัฒนาการ คือทั้งภายนอกหรือชีววิทยาที่เสร็จสิ้นแล้ว (จนมีมนุษย์) กับภายในหรือวิวัฒนาการของจิต (ที่ยังไม่เสร็จ) นั่นคือ หน้าที่เพียงหนึ่งเดียวของจักรวาลอันนี้ ผู้เขียนยังบอกด้วยว่า สำหรับผู้เขียนจะมีพระเจ้าที่อยู่ข้างนอกจักรวาลผู้สร้างธรรมชาติทั้งหลาย หรือว่าไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง คือ “มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง” ไม่ได้ต่างกันมากนัก คิดว่ามันอยู่ที่ว่าการแปลพระคัมภีร์ เช่น “that is that” หรือ “thou is that” หรือ “suchness” ว่าใครพูด  หรือธรรมชาติก็เป็นอย่างนั้นเอง ที่ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ต่างเรียกกันว่า การจัดองค์กรให้กับตนเอง (self-organizing system)


ที่ว่าสำคัญอย่างยิ่งคือสิ่งที่ผู้เขียนบอกว่า สมองแม้จะไม่ใช่จิต แต่สมองก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะว่าสมองคืออวัยวะที่ทำหน้าที่ทำให้เรา “รู้” ว่าคือตัวเองที่รู้นั้น นั่นคือสมองเป็นตัวที่บริหารจัดการให้จิตไร้สำนึกของจักรวาลเป็นจิตสำนึก มนุษย์ถึงได้มีจิตสำนึกหรือจิตรู้ (ไม่ใช่จิตที่รู้ตัว หรือ conscious  แต่เป็น cognize) ใหม่ๆ ตลอด เวลาของการมีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะอายุเท่าไร ผู้เขียนคิดว่าเรา - หมายถึงผู้อ่านทั่วไป - จะต้องรู้เสียก่อนว่าที่ผู้เขียนอ่านมามาก คิดมามากและเขียนมาทุกสัปดาห์ตลอดเวลาร่วม  20 ปีนั้น ผู้เขียนเข้าใจเรื่องของจิตแค่ไหนและอย่างไร? จึงอยากจะขอให้ท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านบทความที่ผู้เขียนทบทวนดูอีกครั้งหนึ่งว่า ท่านผู้อ่านยังเข้าใจในเรื่องของจิตที่ลึกลับและซับซ้อนอย่างที่สุดเรื่องหนึ่ง อย่างน้อยก็เข้าใจ - โดยหลักการ - ทำนองเดียวกับผู้เขียนหรือไม่? ทั้งนี้ ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่า ความคิดเห็นของผู้เขียน และการอ่านหนังสือของท่านผู้รู้ในเรื่องจิตจริงๆ ที่อ่านมามากเหล่านั้น   ผู้เขียนเข้าใจได้ถูกต้องหรือเข้ากันได้กับที่ผู้อ่านเข้าใจหรือไม่? และคิดต่อไปอย่างไร? เพื่อที่จะอ่านได้เข้าใจตลอดว่า ที่ผู้เขียนเขียนมาหรือเขียนต่อไปนั้นๆ มีเหตุผลที่ฟังได้ หรือน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร?


ผู้เขียนได้คิดต่อไป ที่เราคิดว่าเรื่องจิตเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนนั้นเป็นเพราะภาษา (language)  ของเราเองที่พยายามจะอธิบายสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่มีทางจะมองเห็น เพราะฉะนั้น ด้วยความที่เรามองไม่เห็นอย่างหนึ่ง กับความไม่รู้ เนื่องจากวิวัฒนาการของภาษาเนิ่นนานมาแล้วตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีภาษาพูดขึ้นมาใหม่อีกอย่างหนึ่ง เรื่องของจิตก็เลยไปกันใหญ่ เลอะเทอะกันใหญ่ คำว่าจิต (consciousness)  เอง ซึ่งภาษาไทยแปลว่าจิตเฉยๆ ก็ได้ แปลว่าจิตสำนึกหรือจิตตระหนักรู้หรือจิตรู้ก็ได้นั้นก็ใช่ว่าจะถูกต้อง   ดังนั้น จิตไร้สำนึก ทั้งๆ ที่มันเป็นจิตเฉยๆ แท้ๆ (unconsciousness as consciousness) จึงต้องอธิบายอย่างที่ผู้เขียนเอามาเขียน จึงยุ่งอีนุงตุงนังกันใหญ่ ทั้งๆ ที่เรื่องของจิตนั้น ถ้าหากเราเข้าใจมัน และวิวัฒนาการของมันแล้วก็ไม่น่าจะยากถึงขนาดนั้น


 นอกเหนือจากจะคิดว่าสมองของคนหรือของสัตว์โลกแต่ละสปีชีส์และแต่ละคน (individually) - เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ - มีหน้าที่ในการบริหารจัดการจิตไร้สำนึกของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมองให้เป็นจิตรู้หรือจิตสำนึก (ซึ่งควรจะเรียกว่า cognized mind แทนที่จะเรียกว่า conscious mind ที่แปลว่าจิตรู้  ในขณะที่เรา-มนุษย์หรือสัตว์โลกนั้นๆ กำลังมีสติรู้ตัว เช่น การฟื้นจากการสลบ เป็นต้น)

ผู้เขียนคิดต่อไปว่า เนื่องจากจิต (เฉยๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตไร้สำนึก จิตใต้สำนึก จิตสำนึกหรือจิตรู้ จิตเหนือสำนึก ฯลฯ) มาจากจิตเดียวกัน คือมีมาก่อนจักรวาลนี้ จิตนั้นมีหนึ่งเดียวโดยเป็นจิตไร้สำนึกโดยรวมก่อนที่แยกออกมาจากที่ว่างกับเวลา (space -time) แยกจากพลังงานปฐมภูมิไม่ได้ เมื่อมีบิกแบ็ง  เมื่อมีจักรวาล จิตไร้สำนึกที่อยู่ในจักรวาลก็เป็นจิตจักรวาล รอคอยอยู่นั่นจนกระทั่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการทางกายภาพหรือชีววิทยาจนมีมนุษย์ จิตจักรวาลถึงได้แยกเป็น 2 ส่วน เป็นจิตร่วมโดยรวมที่มีแก่นแกนคือจิตหนึ่งที่กระจ่างใส ล้อมรอบด้วยจิตแห่งปัจเจกของชีวิตแต่ละชีวิต (สะสมได้หากได้เปลี่ยนเป็นจิตที่ดีงามขณะมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อคนคนนั้นตายไปแล้ว กุศลกรรมที่เรียกว่าการสะสม “บารมี” เรื่องของกฎแห่งกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึกแห่งปัจเจกเกิดในตอนนี้) สมองจะมีหน้าที่บริหารจิตไร้สำนึกให้เป็นจิตสำนึก (เป็นจิตใหญ่ไปเรื่อยๆ เป็นจิตวิญญาณหรือจิตเหนือสำนึกจนถึงนิพพาน) ซึ่งการที่สมองจะบริหารจิตไร้สำนึกให้เป็นจิตสำนึก จิตใหญ่ ฯลฯ ที่เราเรียกว่าวุฒิภาวะนั้น ขึ้นกับระยะเวลาและวิวัฒนาการของจิตไปตามสเปกตรัมของจิตจักรวาลนี้มีเป้าหมายที่จะต้องมีมนุษย์พร้อมๆ กับมีวิวัฒนาการของกายและจิต - ตามสเปกตรัมของจิตจนแต่สะคนจนถึงสภาวะจิตวิญญาณและนิพพาน -  ก่อนที่จักรวาลนี้จะถึงสังวิวัตตาและมิวัตตาใหม่อย่างไม่มีจบสิ้น คือ จะมีพระเจ้าหรือไม่มี “มันเป็นไปเช่นนั้นของมันเอง” และผู้เขียนคิดว่ามนุษย์จะมีความรู้ (knowledge) และความจริงที่แท้จริงอันเดียวหลังจากมนุษย์ (ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่มากๆ) ที่มีจิตสำนึกหรือจิตรู้ที่ตระหนักรู้ว่าตัวเองมีสภาวธรรมจิตแล้ว  (ที่จะเริ่มต้นมีในเร็วๆ นี้) ทั้งนี้ เมื่อศาสนากับวิทยาศาสตร์และวิชาการต่างๆ เป็นหนึ่งเดียวกัน ล้วนตั้งบนความจริงแท้ที่มีหนึ่งเดียว.


http://www.thaipost.net/sunday/120910/27330 (http://www.thaipost.net/sunday/120910/27330)