[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 พฤษภาคม 2567 22:38:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็กซเรย์สภาวธรรม  (อ่าน 6944 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 11 มกราคม 2553 13:31:11 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม


แสดงธรรม ณ ศูนย์วิปัสสนา ตอนที่ 1-4/9


พระครูเกษมธรรมทัต

สุรศักดิ์ เขมรํสี 11 ธันวาคม 2541

นมัตถุ รตนัตตยัสสะ ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมา
ปฏิบัติธรรมทั้งหลายต่อไปนี้ก็ใจฟังธรรมะตามหลักคำาสอน (:LOVE:)ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อเป็นเครื่องส่งเสริมสติปัญญา ยิ้ม
ในแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติวันนี้ก็ป็นวันธรรมสวนะ
ตามความหมายของชื่อวันนีก็เป็นวัน
แห่งการฟังธรรมท่านทั้งหลายซึ่งประกอบด้วยภิกษุสามเณร
อุบาสก - อุบาสิกาก็มาประชุมฟังธรรมส่วนหนึ่งก็มาบวชมา
ถือศีลอยู่ประจำาส่วนหนึ่งก็มาถือศีลอุโบสถเฉพาะวันพระและ
อีกส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ที่เข้ากรรมฐานอยู่ ผู้ที่กำาลังทำาความเพียร
เข้ากรรมฐาน....รวมแล้วก็มีจำานวนก็คงจะ..พระทั้งโยมคงจะ
ใกล้ร้อยท่านด้วยกันที่เป็นผู้เข้ากรรมฐานก็ประมาณสามสิบ
กว่าท่านฉะนัั้นในการพูดธรรมะวันนีก็คงจะเน้นไปเรื่องของ
การสอนผู้เข้ากรรมฐานแม้ท่านที่ไม่ได้เข้ากรรมฐานก็ถือว่าได้
ฟังได้เป็นประโยชน์เช่นเดียวกันฉะนั้น (:SLE:)ในขณะที่ฟังธรรมถ้าจะ
ให้ได้ความเข้าใจได้ดีท่านทัง้ หลายก็ต้องปฏิบัติด้วย ให้ได้เป็นผู้
เจริญสติในขณะฟังธรรมะก็ทำาให้การฟังนั้นเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
เพราะว่าเราใช้สมาธิในการฟังใช้สติในการฟังทั้งผู้ฟัง - ผู้พูดแล้ว
ก็ปฏิบัติธรรมไปด้วยกัน รัก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 18:31:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 13:35:58 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



(:88:)ดังนั้นการปฏิบัติธรรมนั้นสามารถจะทำได้ทุกโอกาส
ทุกเวลาแม้ว่าขณะที่เรากำาลังพูดอยู่ หรือในขณะที่ฟังอยู่ก็เป็นช่วง บ๊าบบาย
ที่เราปฏิบัติธรรมได้ เพียงการที่เราได้เจริญสติให้เกิดขึ้น ระลึกรู้
สภาพธรรมต่าง ๆ ที่กำาลังปรากฏในขณะนี้สภาพธรรมที่ปรากฏ
ทางกายทางจิตใจก็มีอยู่ในส่วนที่เป็นสภาวะส่วนที่เป็นปรมัตถ
ธรรมก็ใช้สติสัมผัสตรง ๆ ไม่ต้องนึกคิด ถ้าหากไปนึกคิดขึ้นมา
มันก็จะเลยไปสู่สมมุติบัญญัติ การระลึกรู้ให้รู้ตรง ๆ สัมผัสตรง
 (:-_-:)หยั่งรู้สังเกตเข้าไปในกายในความรู้สึกรู้ไปทั้งตัวแต่ส่องไปใน แบร่
ความรู้สึกสติสัมปชัญญะเหมือนกับเป็นเครื่อง......เอ็กซ์เรย์......ส่อง
เหมือนกับการที่บุคคลเข้าไป....เอ็กซเรย์........ทั้งตัวมันก็มีเครื่องฉายส่อง
ลงไปอันนี้็เหมือนกันใช้สติสัมปชัญญะให้ เอ็กซเรย์ คือ.......ส่อง
ฉายรู้ลงไปในกายทั้งตัวก็ลองทำดูว่าสามารถจะส่องรู้พร้อมทั้ง
ตัวได้ไหม ? แต่ว่าไม่ใช่รู้แบบเป็นรูปร่างสัณฐานถ้ารู้เป็นรูปทรง
สัณฐานรูปร่างกายทั้งหมดอย่างนีเ้รียกว่าส่องไปติดแค่ผิวนอก
ติดเป็นภาพเป็นรูปทรงสัณฐานไม่ลึกซึ้งฉะนั้นการส่องรู้
เข้าไปนั้นต้องทะลุเนื้อหนังแต่ก็ไม่ใช่ทะลุไปเห็นเป็นเนื้อเป็น
กระดูกแต่ว่ารู้ลงไปในความรู้สึก (:SLE:)ส่องฉายสัมผัสไปที่ความรู้สึก
มันก็จะจับได้สัมผัสได้ในความรู้สึกทางกายทุกส่วนของกายว่า
มันมีความรู้สึกความไหว ความกระเพื่อมความตึงหย่อนหรือ
ว่าความรู้สึกของความไม่สบายกายเรียกว่าทุกขเวทนาก็ดีหรือ
สุขเวทนาสบายกายก็ดีอันนีคื้อตัวสภาวะตัวปรมัตถธรรม ตีหัว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:36:44 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:24:57 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



แล้วเราจะพบว่าการเข้าไปรู้บางขณะก็ติดค้างเป็นรูปทรง
สัณฐานเป็นรูปร่างอวัยวะของกาย บางทีก็เป็นบางส่วนของกาย
บางทีก็เป็นหมดทั้งตัวก็ให้รู้ว่านี่คือติดค้างอยู่ที่.......สมมุติ เหนื่อยใจ
บัญญัติ (:SLE:)บัญญัติแห่งความเป็นรูปทรงสัณฐานบัญญัติรูปร่าง
สัณฐานเรียกว่าอัตถบัญญัติเพราะ...........
ฉะนันให้มีความเข้าใจว่า เวลากำาหนดรู้ลงไปที่จะเป็นวิปัสสนา
นั้นจะต้องไม่ดูเป็นรูปร่างไม่เห็นเป็นสัณฐานของกายไม่มี
ทรวดทรงสัณฐานรูปร่างของกาย (:RL:)แต่ก็ไม่ใช่เป็นความว่างเปล่า
บางคนอาจจะเข้าไปเห็นเป็นความว่างเปล่า ดูลงไปแล้วก็ไม่มี
ร่างกายแขนขาหน้าตา ร่างกายไม่มี อะไรก็ไม่มีมันว่างไปหมด กลอกตา
ไม่มีอะไรเลยอันนี้เป็นสมมุติอีกเช่นเดียวกันเหมือนกับ
การถ่ายภาพไม่ติดอะไรเลยนั่นก็หมายถึงว่าบุคคลนั่นจิต.......มี
สมาธิ มีความสงบ ความรู้สึกทางกายละเอียดก็จับไม่ออกเลย
เข้าไปจับรู้ความรู้สึกละเอียดไม่ออกก็เลยดูว่าไม่มีอะไรว่างเปล่า
ความว่างเปล่านีก้ ็ถือว่าเป็นสมมุติอันหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่เป็น
สมมุติ (:SL:)ไม่ใช่ของจริง (:QS:)ไม่ใช่สภาวปรมัตถ์ อยู่ในประเภทความ
หมายความว่างเปล่านั้นก็คือความหมายอย่างหนึ่ง ความหมาย
แห่งความไม่มีอะไรว่างไปหมดก็หมายถึงมันไม่มีอะไรในความ
หมายนัั้นก็ยังเป็นสมมุติอยู่ ขี้มูกไหล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:37:40 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:26:55 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม




(:6:)สมมุติบัญญัตินี่มันมีทั้งรูปร่างสัณฐานก็เป็นสมมุติ
ความหมายก็เป็นสมมุติ ชื่อภาษาก็เป็นสมมุติ ถ้าเราไม่เข้าใจมันจะไป
อยู่กับสมมุติ จิตใจจะไปรับแต่สมมุติ ไม่เป็นรูปร่างก็เป็นความ
หมายหรือเป็นชื่อเป็นภาษาอยู่อย่างนั้นหาสภาวะไม่เจอ เหงื่อตก
ฉะนัน้ ต้องทำาความเข้าใจให้ดีว่าวิปัสสนาต้องงระลึกสัมผัส
ตรงอยู่กับสภาวะ อยู่กับปรมัตถธรรม คำาว่าสภาวะแปลว่าสิ่งที่
มันมีมันเป็นอยู่จริง ๆ ปฏิบัติต้องระลึกรู้ของจริง เพื่อจะได้แจ้ง
ชัดตามความเป็นจริงเราไปดูของปลอมมันก็ไม่มีโอกาสจะรู้
จริงก็รู้ไปตามปลอมฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความเข้าใจมี
ปัญญาในส่วนหนึ่งเพื่อที่จะแยกอารมณ์ได้ว่าอันไหนบัญญัติอัน
ไหน ? ปรมัตถ์ ต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า.......ถ้าเป็นรูปร่างความ
หมายชื่อภาษา (:UU:)เป็นบัญญัติ วิปัสสนาต้องรู้ปรมัตถ์ ต้อง
ระลึกไปสัมผัสที่สภาวะให้ถูกต้องที่กายนั้นก็ไปสัมผัสที่เป็น
ปรมัตถ์ ก็จะมีความรู้สึก ความเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อนแข็ง
หย่อนตึง รู้สึกมันตึงมันไหวมันกระเพื่อม หรือว่ามันสั่น ตีหัว
สะเทือนหรือมันแข็ง หรือมันรู้สึกเย็น รู้สึกปวดไม่สบายเมื่อย
ชา (:DY:)นี่คือสภาวะเข้าไปรู้ให้จดสภาวะนะการเจริญวิปัสสนานี่ เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:39:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:28:13 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



สติ.....ต้องจดสภาวะคือไปให้ตรง - ตรงตัวของปรมัตถธรรม
ตรงลักษณะของปรมัตถธรรม ส่องเข้าไปที่กายนี่ ไปสัมผัสสัมพันธ์
กับความรู้สึก แต่ไม่มีรูปร่างกาย มีสภาวะความรู้สึกปรากฏให้รู้
อยู่อย่างนีแ้หละจะเป็นวิปัสสนา รัก
สภาวะนั้นก็ไม่ใช่จะมีเฉพาะที่ทางกายมีทางด้านจิตใจ
ด้วยฉะนั้นการระลึกรู้ต้องรู้พร้อมไปทั้งความรู้สึกทางจิตใจ รัก
ด้วย ไม่รู้เฉพาะทางกายเท่านั้น ต้องรู้พร้อมทั้ง จิตทั้งกายกายรู้
อยู่เฉพาะในความรู้สึกทางจิตใจก็รู้ที่สภาพรู้หรืออาการใน
สภาพรู้ที่กำาลังปรากฏ ทางกายดูความรู้สึก พอทางจิตก็ยิ่งมี
ความละเอียดมากขึ้นอีกเพราะว่ามันเป็นนามธรรม มันไม่มีรูป
ร่างสัณฐานจิตใจนี่เป็นอสรีระ ไม่มีรูปร่าง เวลากำาหนดรู้จิต
อย่าไปค้นหาแบบหารูปร่างหาร่างหาเป็นแท่งเป็นก้อน แล้ว
หาไม่เจอ ต้องเข้าใจว่าจิตนัน้ เป็นเพียงสภาพรู้ คือรับรู้อารมณ์
รับรู้อารมณ์ รู้อารมณ์นัน้ รู้อารมณ์นี้แวบไป - แวบมา นึกคิดนี้
เรียกว่าจิต จิต หรือใจ หรือ มโนหรือวิญญาณเป็นธาตุรู้ เป็น
สภาพรับรู้ให้หาให้เจอ กำหนดรู้ให้เจอ คือรู้ลักษณะ รู้สึกแย่
สภาพรู้ ไม่ใช่ไปหาเป็นรูปร่างจิตไม่ใช่เกิดขึ้นมาตามลำพัง
จิตนั้นก็จะมีธรรมชาติที่ประกอบร่วมด้วยหลายชนิดเรียกว่า
เจตสิก มันเกิดร่วมกับจิต เข้าไปแสดงเป็นอาการใน จิตเป็น
ปฏิกิริยาในจิต เช่น เกิดความรู้สึกพอใจไม่พอใจ เกิดสงบไม่
สงบ เกิดขุ่นมัวผ่องใส เกิดความสงสัย เกิดฟุ้ง รำาคาญใจ เหล่านี้
เกิดปีติ เกิดศรัทธา เกิดเมตตากรุณา จะเข้าไปปรุงแต่งในจิตใจ
นีเ้ป็นเรื่องของเจตสิก การปฏิบัติก็จะต้องศึกษาสังเกตอาการ
ในจิตว่า มันมีสภาพธรรมเหล่านี้ปรากฏต่าง ๆ เข้าไปรู้ในลักษณะในอาการในจิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:40:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:30:00 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



จิต.....นั้นเหมือนกับน้ำใส ๆ เปล่า ๆ เจตสิกก็เหมือนกับ
เครื่องแกงที่ผสมอยู่ในน้ำเครื่องแกง ก็มีหลายชนิดแล้วแต่
ว่าอันไหนมันมากมันก็ปรากฏรสชาดของมันมาก ใส่พริก หอม
กระเทียม กะปิ น้ำาปลา อะไรเหล่านี้ ถ้าอันไหนมันมากมันก็มีผลลักษณะโดดเด่นขึ้นมา
คนที่ชิมน้ำแกงก็ใช้ความสังเกต หลับ
สังเกตก็จะบอกว่ามันเป็นรสชาดของอะไร บางอย่างมันก็
ปรากฏน้อยกว่า สังเกตไปแต่ละชนิดก็มีหลายอย่าง ในจิตก็
เหมือนกันเมื่อเข้าไประลึกรู้แล้วก็สังเกตอาการต่าง ๆในจิตใจว่า
ในจิตใจนี้บ้างขณะรู้สึกพอใจ บางครัง้ ก็ไม่พอใจ บางครัง้ ก็สงสัย
บางครั้ง รู้สึกสงบ บางทีก็ไม่สงบ หงุดหงิด รำาคาญ หรือเอิบอิ่ม
หรือเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ สบายใจ บางทีไม่สบายใจ ท่านเรียก
ว่ากำหนดถึงอาการในจิต ดูในรสชาดในความรู้สึกที่ในจิตใจ
เหมือนกับดื่มน้ำาแล้วก็สังเกตในรสชาดในน้ำานัั้น มีความรู้สึก
ต่าง ๆ ดูไปที่จิตก็จะสังเกตอาการต่าง ๆ ของจิต อย่างนีเ้ขาเรียก
ว่าเป็นการได้กำาหนดรู้สภาวะ จิตก็เป็นสภาวะ เจตสิกก็เป็น
สภาวะ...............คือเป็นธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่จริง ๆ ถ้าได้กำาหนดอย่าง
นีมั้นก็จะเป็นวิปัสสนาขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:41:34 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:31:03 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



ฉะนั้น...............ต้องมีการหยั่งรู้มีการสังเกตสังกามีการพิจารณา
ก็จะเห็นสภาวะในจิตใจต่าง ๆ เห็นสภาพของเวทนาในจิต เห็น
สัญญาความจำได้หมายรู้ เห็นสังขารมันปรุงแต่งในจิตใจ คิดนึก
วิพากษ์วิจารณ์ พอใจ - ไม่พอใจ เป็นต้น เห็นสภาพของจิตที่กวัด
แกว่ง ที่ซัดส่าย ที่รับรู้อารมณ์ มันเป็นสิ่งที่ละเอียด รู้ได้ยาก ที่
จะดูรู้เท่าทันจิตใจนี่มันเป็นเรื่องละเอียด (:10:)แต่มันก็ไม่เกินวิสัย
ของผู้ปฏิบัติใช้การพิจารณาอย่างแยบคายสัมผัสสัมพันธ์ใน
กายในจิตพร้อม ๆ กันไป และก็ให้ทำาอย่างเป็นปรกติการ
เข้าไปรับรู้ให้พอดี ๆ เบา ๆ ไม่ได้ไปเพ่งหรือจดจ้องบังคับ มี
การที่จะปรับผ่อนให้มันเป็นปรกติอยู่ เรียกว่าให้มีการปล่อยวาง
อยู่พร้อมกับการเข้าไปรับรู้ อย่าคิดว่าเราจะรู้อะไรก็จะรู้ให้มัน
ชัดทันที ให้มันเห็นเป็นอย่างนัน้ ทันที มันไม่ได้ ต้องรู้ละผ่าน
ไป รู้ละผ่านไป รู้ผ่านไป หมดไป ถ้าทำ - จะทำให้
อยู่กับปัจจุบัน คือไปแจ่มแจ้งกันในครั้งต่อ ๆ ไป ถึงคราวที่ สติ
ปัญญามันมีกำาลังมันก็จะเห็นสภาวะชัดเจนขึ้นไม่ใช่เราจะไป
ทำาให้มันเห็นชัดทันที เอาแค่ว่าให้รู้ทันผ่านไปรู้ทันผ่านไปรู้
ใหม่ ๆ ก็จะเห็นว่ามันมั่ว เหมือนมีอะไรต่าง ๆ หลายอย่างหลาย
ชนิดดูไม่ชัดไม่ทันแต่ก็ต้องรู้แล้วก็ผ่านไป ใครที่รู้สึกว่าแหม.............................. เหนื่อยใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:42:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:32:51 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



กำหนดไม่ทันมันมามากมายก็ต้องใช้ความฉลาดรู้ไปทั้งหมด
เหมือนกับว่าเขาโยนของมาให้ โยนกันมาหลายชิ้นเหลือเกินเรา
ก็มีหน้าที่จะต้องรับก็ต้องรับไว้ทั้งหมดโยนมากมายก็รับ รับไว้
แล้วก็ผ่านไป รับวางลงไป รับวางลง ถ้าไม่วางก็รับอันใหม่ไม่ได้
รับวางไป รับวางไป มันหลายชิ้นมันก็แยกไม่ออกว่าอะไรเป็น
อะไร แต่ก็รับรู้ไว้ ส่งมา - ส่งมารับรู้ เมื่อรับรู้มันมีกำาลังขึ้น
ก็จะค่อยแยกแยะได้เอง แยกแยะสภาวะต่าง ๆที่มันมีมากมายที่
รวดเร็วนัน้ คือจะเห็นสภาวะนัน้ มันมีต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน แล้ว
ก็เกิดหมดไปดับไป สลับของมันอยู่มากมายในปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น
เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมันจะเห็นสภาวะที่ปรากฏให้รับรู้นี่มากมายแตกดับ รู้สึกแย่
ปรากฏหมดไปต่าง ๆ รูปต่าง ๆ นามต่าง ๆ ที่นีใ้หม่ ๆ มันบอก
ไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไร แต่มันเห็นอยู่ เห็นสิ่งที่ปรากฏแตกดับ
เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ ก็รู้ไป ๆ ผ่านไป ๆ ที่ปล่อยให้มันผ่าน
ไป มันก็จะรู้อันใหม่ ทำาให้.....สติสัมปชัญญะ......มันทันต่อปัจจุบันไว้
ไม่ใหลหลงไปตามอดีต ถ้าบุคคลไม่ปล่อยไม่วาง มันก็จะคิดตาม
สิ่งที่ผ่านไปแล้ว พอรับรู้อารมณ์อันใดมันก็คิดตามวิพากษ์
วิจารณ์อารมณ์สภาวะอันใหม่ที่ส่งต่อมามันก็รู้ไม่ได้ เพราะ
จิตไปเกาะในสิ่งที่ผ่านไป ก็เรียกว่าหลงคิดหลงเพลินต่อความ
คิดไปสมมุติบัญญัติก็เกิดขึ้นฉะนั้นผู้ปฏิบัติอย่าหลงเพลิน รัก............................ เหงื่อตก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:44:49 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:35:52 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



ยิ้ม...........................จนเผลอคิดแม้ว่าจะคิดไปในเรื่องของธรรมะ คิดไปในเรื่องรูป
เรื่องนาม เรื่องขันธ์ห้า เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตา เกิดแก่เจ็บตาย
ก็ตาม พอมันคิดไปแล้วมันก็จะเป็นสมมุติ ตกจากสภาวะที่เป็น
ปัจจุบัน สภาวะที่มันจะเกิดสืบต่อกันมามันก็จะไม่รู้ มัวไปคิดถึง
สิ่งที่ผ่านไปแล้ว เป็นเรื่องเป็นราวเป็นความหมายเป็นมโนภาพ
นี่เรียกว่าตกจากปัจจุบันผู้ปฎิบัติจะต้องฉุกรู้ให้จิตใจ รัก
มันฉุกรู้ตัวมันเอง เห็นเกิดการระลึกรู้ตัวขึ้น รู้ความคิด รู้ความ
ตรึกนึก ถ้ารู้ความตรึกนึกได้มันก็จะสลัดอดีตอนาคตกลับมารู้
สภาวะปัจจุบันขึ้น เห็นให้มันรู้สึกตัวขึ้น จิตใจนี่ จิตจะรู้จักตัวมัน
เองได้ก็ต้องรู้สึกตัวของมันเองการดูจิตไม่ใช่ไปดูที่อื่น อกหัก
ไม่ต้องไปหาที่อื่นแต่หาที่ตัวของมันเองคือสภาพรู้หาที่ตัวรู้ของมันเอง
เอารู้มาดูรู้แหละจะดูรู้ก็ต้องทวนเข้ามาสภาพรู้
นัน้ ทวนกระแสของมันเอง แล้วมันก็รู้ตัวมันเอง - รู้ที่รู้ -  รู้ในรู้
รู้สิ่งที่ถูกรู้ รู้ที่รู้ ก็หมายถึงรู้จิตลักษณะของจิตโดยตรง ดูสภาพ
ของจิตที่มันมีกิริยาในการรับรู้ รับรู้อารมณ์ รู้ในรู้ก็คือเข้าไป
สังเกตอาการในจิตว่ามีอาการอย่างไร ผ่องใส สงบ เอิบอิ่ม ปีติ
ชอบ ไม่ชอบ สงสัย เหล่านีเ้ป็นต้น รู้ที่ถูกรู้ก็คือรู้อารมณ์
ต่าง ๆ ตีหัว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:46:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:37:56 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



โทดค๊าบ........มีที่ใจก็มีแต่ให้เป็นเฉพาะปรมัตถ์เพราะอารมณ์ที่
เป็นบัญญัติก็มีคัดออกเมื่อ...........สติ......สัมผัสต่อปรมัตถธรรมที่กาย
มั่นคงดีสมมุติมันจะอันตรธานไปในขณะสมมุติอันตรธานนั้น
ผู้ปฎิบัติใหม่ ๆ ก็จะรู้สึกตกใจเกิดความกลัว เพราะว่าเหมือนกับ
ร่างกายมันไม่มีไปแล้วไม่มีแขนขาร่างกาย บางคนก็มัวไป
ค้นหา......เอ๊ะ.......ขาไปไหน แขนไปไหน พยายามจะหาดู พยายามจะ
ขยับดูอย่างนี้ถือว่าเท่ากับเราพยายามจะย้อนเข้าไปหา
สมมุติความจริงจิตมันทิ้งจากสมมุติไปได้ถือว่าเป็นการได้
พัฒนาขึ้นมาแล้วระดับหนึ่งที่จิต มันทิ้งจากสมมุติที่เคยติดอยู่
เมื่อไม่เข้าใจมันก็จะเข้าไปหาไปค้นหาฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่า
เมื่อ จิต มันมีสติตรงอยู่กับปรมัตถ์หรือมีสมาธิร่วมมันก็จะทิ้ง
สมมุติก็ไม่ต้องไปค้นหา ให้ร่างกายมันหายไป เพราะมันไม่มี
จริงอยู่แล้วไปสร้างขึ้นมานึกขึ้นมาจำาขึ้นมาพอมันไม่จำไม่นึก
ไม่ปรุงแต่ง มันก็ไม่มี เหมือนกับความฝันเราจำว่ามันเป็นจริง
ที่จริงมันไม่จริง มันไม่มีความจริงอยู่แล้วเราไปจำขึ้นมาเอง
ร่างกายสัณฐานของกายเป็นสมมุติฉะนั้นมันหายไปก็ดีแล้ว
แต่ไม่ใช่ว่าหายไปแล้วก็ไปรู้ว่างเปล่า มันก็ไปสู่สมมุติอีกอย่าง
หนึ่งร่างกายมันหายไปในความรู้สึกก็ให้จับรู้ที่ความรู้สึก
ความรู้สึกในกายที่มันเป็นความไหว ความเบา ความกระเพื่อม
หรือรู้ จิต รู้จิตที่มันเป็นตัวรู้อยู่ รู้สึกก็จะรู้สึกของการหายใจที่
เบาลงน้อยลง จิตใจ ที่มีตัวรู้ให้มันน้อยลง ๆ นิดลง ๆ ก็ดูจับ
ความรู้สึก วางจิตใจให้เป็นปรกติ ไม่กลัวไม่หวั่นไหวคนที่
ปฎิบัติเข้าไปสัมผัสอย่างนีใ้หม่ ๆ เขาตกใจกลัวตายความ
จริงแล้วการปฎิบัติได้พัฒนาขึ้นมาเราจะต้องพยายามทำ....................... โทดค๊าบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:47:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:40:30 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



(:VA:)จิตใจเป็นปรกติเฉย ๆ รับรู้ในความรู้สึกที่มีตัวรู้มีความรู้สึก
อยู่มีความสงบมีความสุขใจอยู่เพราะจิตมันอยู่ในระดับนีมั้น รัก
มีความสุขที่เราไม่เคยสุขมาก่อน จะเอิบอิ่มจะผ่องใสเป็นสุข
เราก็จับรู้ความรู้สึกไว้ สติ ไปเกาะรู้ที่ความอิ่มเอิบความผ่องใส
ความสบายจะสังเกตว่ามีตัวรู้อยู่ มีนึกมีคิดไหม มีพอใจไหม ?
หรือมีความสงสัยเอะใจหรือกลัวก็กำาหนดรู้ สิ่งเหล่านีเ้ป็น
ปรมัตถธรรม เมื่อฝึกอย่างนีดู้อย่างนีจ้ นเคยชินแล้วมันก็ไม่
กลัวอะไร ? เป็นธรรมดากำาหนดไปสู่ความรู้สึกร่างกายไม่มี
แขนขาไม่มี ก็ไปรับแต่ความรู้สึก ดูในความรู้สึกทางกาย ดู
ความรู้สึกทางจิตใจคนเรานัน้ มันมีอุปาทานยึดไว้ เป็นตัวเป็นตนไว้มันยังพ้น
ทุกข์ไม่ได้ เพราะเราคอยจะหาความเป็นตัวเป็นตน จิตที่มันจะ
ปล่อยจากความเป็นตัวเป็นตน แต่เราก็กลัว คอยจะคว้าเป็นตัว -
เป็นตน การปฎิบัติมันก็เลยไปไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฎิบัตินัน้ต้อง
กล้า ต้องยอม ยอมตายได้ ไม่กลัวตาย ตายก็ตาย คนเราจะ
ตายอยู่ในการปฎิบัติมันก็ยิ่งดี ถ้าเราสามารถตายในขณะ
ปฎิบัติได้มันก็ไปดีถ้าเราไปกลัวตายมันก็..... การปฎิบัติมัน
ก็ผ่านไม่ได้ ถ้าไม่กลัวมันก็จะวาง จิตใจเป็นปรกติ รู้ไปเรื่อย รู้
สภาวะละเอียดไปเรื่อย แต่มันก็ไม่เคยตาย ไม่มีใครตาย ความ
รู้สึกบางคนใหม่ ๆ ก็เหมือนจะตาย อะไร.....ทุกอย่างมันไม่เคยมา
ก่อนลมหายใจมันก็น้อยลง หรือไม่รู้สึกมีลมหายใจ กายก็ไม่มี
จิตใจก็เหลือน้อย ก็ต้องรับรู้สิ่งเหล่านัน้ ด้วยความที่ไม่กลัว แต่
บางคนนัน้ ก็มีทุกขเวทนามากก็ให้เข้าใจ เป็นเรื่องธรรมดา เรา
ปฏิบัติเราจะสามารถผ่านไปได้มันจะต้องเจอทุกข์ ทุกข์บีบคั้น
แสนสาหัส บางคนเหมือนกับจะจมน้ำจะขาดใจ ถ้าเรา
กลัวเสียแล้ว เราถอยหลังไป ถอยหลังก็ไปไม่ได้ มันจะทุกข์
ขนาดไหน มันจะบีบขนาดไหนมันจะ.... ก็ดูนิ่ง ๆ ยอมสภาพนั้น
รับสภาพนัน้ อย่างดุษณีภาพ มันทุกข์มันแน่นมันเหมือนกับ
มันจะหายใจไม่ออก เราก็ไม่ต้องไปดิ้นรนไม่ต้องไปดิ้นรน ลัลลา
กระวนกระวาย พยายามสะกดความรู้สึก หยุดดู หยุดรู้อย่างนิ่ง ๆ
แล้วทุกอย่างจะคืนสภาพ บ๊าบบาย...........................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:47:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:42:00 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



(an!)เนื่องจากว่าการปฏิบัติบางครั้งมันก็ต้องเจอทุกข์หนักบีบ
คั้นเพื่อให้ จิตมันจะได้เห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยของชีวิตของ
สังขารว่าสังขารนี่เป็นทุกข์จริง ๆ มันจึงเบื่อหน่ายจิตถ้ามันไม่
เห็นทุกข์มันไม่เบื่อหน่ายเพราะว่าเห็นทุกข์เห็นภัยของสังขาร
จิตใจเบื่อหน่ายความเบื่อหน่ายมันจะทำาให้เกิดคลายกำาหนัด
มันคลายกำาหนัดจิตก็จะหลุดพ้น (:BH:)จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
ถ้าเราไม่เห็นทุกข์เห็นโทษของชีวิตของสังขารนี้ มันก็ยังหลงอยู่
เพลิดเพลินอยู่ ต้องเห็นทุกข์ ฉะนัน้ ก็อย่าไปรังเกียจทุกข์
ความทุกข์นัน่ น่ะจะสอนให้เรา ทุกข์ครั้งนี้ยอมทุกข์ครั้งนี้แต่
เราก็จะได้พ้นทุกข์ - แล้วคนกลัวเจ็บ - กลัวเจ็บกลัวปวด - กลัวทุกข์
ก็ไม่อยากทำา ถ้าไม่ทำาอยู่เฉย ๆ มันก็ไม่ทุกข์อะไร แต่มันจะ
ทุกข์ระยะยาว ถึงคราวที่มันบังคับให้ทุกข์ก็จะทนไม่ได้เลย
อุปมาเหมือนกับคนป่วย เรามีโรคร้ายแรงอยู่ในตัว เราจะ
ต้องการให้หายเราต้องรักษา หมอเขาจะต้องฉีดยา แต่บางคนก็
ต้องผ่าตัด แน่นอนขณะที่รักษาจะต้องเจ็บ ยิ่งผ่าตัดนี่ยิ่งบาด
เจ็บ ถ้าเรากลัวเจ็บไม่ยอมรักษามันก็ไม่หาย อยู่เฉย ๆ ไม่ผ่าก็
ดูว่ามันสบายกว่า ถ้าเรากลัวเจ็บไม่ทำาอะไรก็ดูว่ามันไม่บาดเจ็บ
แต่โรคมันก็รุมอยู่ภายใน หนักเข้า ๆ มันก็บังคับให้ต้องเจ็บ
อยู่ดี เจ็บตอนนัั้้น หมอก็ช่วยไม่ได้ คนที่เวลาถึงคราวมันทุกข์
บีบคัน้ ตามสภาพของสังขาร เมื่อแก่เมื่อป่วยเมื่อเจ็บมันก็ต้อง
หนีไม่พ้น ตอนนั้นก็จะทำใจไม่ได้ฉะนั้นเราทำให้ได้เสียตอน
นี้ ตอนที่ยังมีโอกาสพักผ่อน ถ้าถึงคราวที่มันโรคภัยบีบคั้นจริง
ๆ ตอนนั้นหนีไม่พ้นหรอก ต้องยอมรับสภาพ ถ้าเราไม่เคยฝึก
จิตใจเราก็จะแย่ โดยเฉพาะว่าชีวิตที่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสก็
จะต้องมีอย่างนี้ร่ำไป ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้อง
ทุกข์อย่างนี้เรื่อยไป ชีวิตของการเวียนว่ายตายเกิด เราไม่
กลัวหรือกับการที่จะต้องเกิดซ้ำ ๆ แก่ซ้ำ ๆ ตายซ้ำ ๆ ทุกข์อยู่ซ้ำ ๆ
ถ้าเรายอมทุกข์เสียตอนนี้ ยอมผ่าตัดเยียวยา มันจะบาด
เจ็บแต่มันเป็นการที่แลกเปลี่ยนกับการทำลายกิเลส มันก็เป็น
ความทุกข์ที่คุ้มค่า เราปฏิบัตินี่มันต้องลงทุน เอาความทุกข์
ยากลงทุน (:SLE:)ไม่มีใครหลุดพ้นทุกข์ด้วยความสบายพระพุทธเจ้า........... หงุดหงิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:50:00 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:43:21 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



ไม่ได้พ้นทุกข์ด้วยความสบาย ช๊อค
ต้องออกมาจากวังมาอยู่โคนไม้อยู่
ป่าทำความพากเพียรด้วยความยากลำาบากเราฟังประวัติแม้
ครั้งสุดท้ายคืนที่ ตรัสรู้ ยังเกือบจะลุกมีมารมาผจญเขาจึงปั้น
พระพุทธรูปเป็นปางมารวิชัย ปางชนะมาร หรือเรียกว่าสะดุ้ง
มาร ตามประวัติแล้ว พระพุทธเจ้าก็เกือบจะเผลอตัวลุก แต่
ก็ได้สติมือก็เลยเคลื่อนจากการนั่งสมาธิมือก็ไปกดพระเพลาไว้
กดตักไว้ เรียกว่ามารต่าง ๆ มาผจญ ถ้าโดยธรรมาธิษฐานก็คือ
กิเลสต่าง ๆ ทุกข์ต่าง ๆ บีบคั้นในจิตใจ - กาย - จิต มันจะ
หวนระลึกไปถึงชายา พระโอรส บิดา มารดา นึกถึงตนเองทำไม ?
จะต้องมาอยู่ลำาบากอย่างนี้ น่าจะอยู่นอนสุขสบายในนั้นบ้าง
ครั้งปฏิบัติไปมันก็เป็นอย่างนั้นเราก็เหมือนกันมันจะหวน
นึกถึงว่าเราทำาไมต้องมาทำาอยู่จะได้อะไร ทำไมต้องมาหนาวมา
ทุกข์มาเมื่อย เราไปกินนอนไปสุขเสวยไม่ดีกว่าหรือ ถ้ารู้
ไม่ทัน มันก็อาจจะไปตามกิเลส กิเลสมารมันจ้องคอยท่าอยู่
หรือว่าพอเผชิญกับความทุกข์ต่าง ๆ ทนไม่ไหวแล้ว ก็เป็นมาร
เป็นขันธมาร อยู่ธรรมดาไม่ปฏิบัติก็ไม่ค่อยเป็นอะไร พอ
ปฏิบัติทำาไมมันปวดมันเจ็บ เดี๋ยวไม่สบาย ทุกข์ นี่ขันธมาร มาร
คือขันธ์ คอยขัดขวาง ถ้าเรารู้ไม่ทันเราก็..... เรานี่ทำไปเดี๋ยวจะ
ป่วยมาก เดี๋ยวจะเจ็บมาก เดี๋ยวจะตายเสียก่อน ถ้ายอมไปก็เลย
สบาย มารชอบ ถ้าเรารู้ทันแล้ว ไม่ได้เราถึงจะป่วยจะเจ็บก็เจ็บ
กันแค่นี้จะได้ไม่ต้องไปเจ็บกันต่อไป สบายใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:50:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:45:26 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



พระพุทธเจ้าก็ต้องอาศัยอธิษฐานจิต มั่นคงแน่วแน่จึงได้
เอาชนะมารจึงได้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส การนั่งครั้งนี้ถ้าไม่
ประสบความสำเร็จก็จะไม่ลุกจากที่นั่ง (:-_-:)ถ้าเลือดเนื้อจะเหือดแห้ง
เหลือแต่เอ็นกระดูก พระพุทธเจ้าอธิษฐานอย่างนั้น นั่งไป
ปวดเข้ามาเกือบจะลุกขึ้นมาท่านก็มีสติรู้ทัน (:PL:)นึกถึงบารมีที่
บำเพ็ญมาต่าง ๆ บารมีสามสิบทัศน์ก็เพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อ
จะละกิเลส เพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ออกจากทุกข์ ก็ทำให้สะกด
ควบคุมไว้ได้เราก็เหมือนกันเราก็ต้องนึกถึงว่า เราก็ต้องนึกถึงกุศล
บารมีต่าง ๆ ความดีที่เราทำเราจะปล่อยตามกิเลสไป เราก็จะ
ต้องทุกข์แล้วทุกข์อีก ไม่รู้จักจบ หรือเราจะเอาชนะกิเลสบ้าง
เสี่ยงสู้กัน แต่เราไม่ใช่สู้ด้วยเอาแต่กำลัง สู้ด้วยปัญญา มี ไฟลุก
ปัญญามีชัน้ เชิงของการต่อสู้ พระพุทธเจ้าก็ให้อุบายวิธีต่าง ๆ
ไว้แล้ว เราไม่ได้สู้แบบเคร่งเครียด (:-_-:)ในลักษณะของการเจริญ
วิปัสสนา (:SLE:)มีความเพียรต่อเนื่องสม่ำเสมอ แต่ว่าก็ไม่ได้คร่ำาเคร่ง
พยายามที่จะปรับผ่อนเป็นปรกติอยู่เสมอ แต่บางครั้งกิเลสมัน
โจมตีบางอย่างเราก็อาจจะต้องใช้อาวุธบางอย่าง ถ้าเกิดราคะขึ้น
มากลุ้มรุม ถ้าสติระลึกรู้ไม่ทันพ่ายแพ้ก็อาจจะต้องใช้การ
พิจารณาอสุภะบ้าง พิจารณาอาการสามสิบสองในร่างกายของ
เราให้เห็นเป็นของไม่สะอาดเป็นปฏิกูล ให้เห็นว่าตัวเรามัน
สกปรกไม่สะอาด คนอื่นก็เหมือนกัน จริงอยู่แม้ตรงนีจ้ ะไม่ใช่
วิปัสสนา แต่บางครั้ง ก็เหมาะสมที่จะเอามาแก้กิเลสบางตัว
หรือว่าบางครั้งเราฟุ้งซ่านกำหนดไม่ทันเผลอไปคิดเสียมากเลย
ฟุ้งกำหนดไปก็ยิ่งฟุ้งซ่าน  (:-_-:)ดูไปก็ยิ่งเครียด เราก็ปรับปรุงใหม่
ลืมตาปฏิบัติกำาหนดดูธรรมชาติ ทำาความรู้สึกธรรมดาปรกติ............................ สู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:51:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 11 มกราคม 2553 14:49:13 »

http://img193.imageshack.us/img193/5147/49406890.jpg
เอ็กซเรย์สภาวธรรม



ลุกขึ้นมาเดินจงกรม (:88:)เดินให้มากเดินมันก็ช่วยผ่อนคลายความ ขำ
ฟุ้งซ่าน ทำสติใหม่ ประคับประคองใหม่ ทำาแล้วก็ต้องปรับปรุง
พลิกแพลงของเราเรื่อยไป แต่ให้รู้ว่าเวลาที่จะเข้าสู่วิปัสสนาจริง ๆ
นั้นก็จะต้องรู้ปรมัตถ์ เป็นปรกติ ไม่บังคับไม่กดข่ม มีจุดยืนที่
ถูกต้อง นอกจากจะระลึกรู้ตรงต่อสภาวะ ก็ต้องรู้ให้มันถูกต้อง
พอดีไม่ยินดียินร้ายต่อสภาวะเป็นคำแนะนำส่วนหนึ่งที่จะไปประกอบส่วนใหญ่
ก็เป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายจะต้องทำเอง รู้เอง ฝึกเองพิจารณาเอง
ทดสอบ - ทดลอง ความสามารถทั้งหลายนั้นจะต้องอยู่ที่กำลัง
ของผู้ปฏิบัติ (:PL:)คนอื่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยที่จะเป็นผู้ชี้ทางบอก
ทางเท่านั้น เราก็ต้องเป็นผู้ตัดสินเองพิจารณาเอง ก็ไม่ต้อง
เชื่อทันที เอาไปพิสูจน์พิจารณาจนกว่าเราจะเห็นเองรู้เอง ก็ไม่
ต้องเชื่อใคร เชื่อด้วยตัวของตัวเองที่รู้แจ้ง ประสบผลสำเร็จแล้ว
ก็เป็นอันว่าเราก็มีที่พึ่งให้ตัวเราเอง



(:LOVE:)วันนี้ก็คงจะพอสมควรแก่เวลาขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ทุกท่าน.............เทอญ รัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2553 16:51:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 19:52:36